ผู้เขียน หัวข้อ: รวมประกันชีวิตและประกันวินาสภัยทีน่ารู้  (อ่าน 5341 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
รวมประกันชีวิตและประกันวินาสภัยทีน่ารู้

ผมจะทยอยนำมาให้อ่านกันในกระทู้นี้ครับ



.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด

กระดานถาม-ตอบ
   ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
   ทำไม อ่านดูในกระดานถามตอบ คปภ.บอกว่า บริษัทประกันต้องจ่ายค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถหากซ่อมรถให้ช้าเกินกว่าที่ ควรจะเป็น แต่พอเรียกร้องไปแล้ว บริษัทประกัน ปฏิเสธ "อย่างไม่มีเยื่อใย" ว่า ไม่อยู่ในเงื่อนไขกรมธรรม์ แถมยังท้าทายให้ไปฟ้อง คปภ. เสมือนว่า จะมั่นใจว่า ไม่ต้องจ่ายแน่ ๆ
   

ชื่อผู้ถาม : รุจิพรรณ Mar 22 2011 8:01AM IP Address : 125.24.xxx.xxx



   ตาม เงื่อนไขกรมธรรม์ กรณีเป็นรถคันเอาประกันภัย หากบริษัทประวิงการซ่อม หรือซ่อมซ่อมล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ก็ต้องจ่ายค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถให้ ส่วนรถคู่กรณี เรียกได้ตั้งแต่วันทีเกิดความเสียหายไม่ได้ใช้รถครับ
   

ชื่อผู้ตอบ : คุ้มครองสิทธิประโยชน์ Mar 22 2011 8:36AM



http://www.oic.or.th/th/webboard/inner_faq.php?id=7358&PageShow=1

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
กระดานถาม-ตอบ
   บริษัทฟินันซ่าประกันภัยและประกันชีวิต ยังมั่นคงอยู่หรือเปล่าค่ะ
     เนื่องจากดิฉันอยู่ฝ่ายตั้งเบิกให้ผู้ประสบภัย กลัวว่าบริษัทดังกล่าวจะมีปัญหาในการตั้งเบิกเหมือนบริษัทฯที่ผ่านมาแล้ว จึงเรียนสอบถามเพื่อจะได้ดำเนินการหาทางแก้ไขได้ทันต่อไปค่ะ
     

ชื่อผู้ถาม : สุพรรณี    Mar 10 2011 1:00PM IP Address : 125.24.xxx.xxx

   

บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด อยู่ในระหว่างคบคุมกิจการอยู่ค่ะ รายละเอียดที่ http://www.oic.or.th/upload/lifeinsurrance/download/814-7586.pdf ค่ะ
     

ชื่อผู้ตอบ : คุ้มครองสิทธิประโยชน์     Mar 10 2011 1:37PM


http://www.oic.or.th/th/webboard/inner_faq.php?id=7210&PageShow=1

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
วัตถุประสงค์ของกองทุนประกันวินาศภัย

   "กองทุนประกันวินาศภัย" มีฐานะเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทได้รับชำระหนี้
ที่เกิดจากการเอาประกันภัยในกรณีบริษัทล้มละลายหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตปะกอบธุรกิจประกันวินาศภัย
และเพื่อพัฒนาธุรกิจประกันวนาศภัย...ให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ

การจัดตั้งกองทุนประกันวินาศภัย

    * จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551
    * กองทุนประกันวินาศภัยเป็นมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้บริหารงานโดยคณะกรรมการบริหารกองทุนและผู้จัดการกองทุน

บทบาทและหน้าที่ของกองทุนประกันวินาศภัย

    * เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการ เอาประกันภัย ในกรณีบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยล้มละลายหรือถูก เพิกถอนใบอนุญาต
    * เพื่อพัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัยให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ

เงินของกองทุนประกันวินาศภัยประกอบด้วย

    * เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัยของสำนักงาน คปภ.
    * เงินที่ได้รับตามมาตรา 58 (ค่าสินไหมทดแทนพ้นอายุความ)
    * เงินที่ได้รับตามมาตรา 80/3
    * เงินเพิ่มที่ได้รับตามมาตรา 80/4
    * เงินค่าปรับตามมาตรา 111 หลังจากหักเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายฯ แล้ว
    * เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีผู้มอบให้
    * ดอกผลหรือรายได้จากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
    * เงินสนับสนุนจากรัฐบาล

http://www.oic.or.th/fund_nonlife/index.html

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
วัตถุประสงค์ของกองทุนประกันชีวิต

   "กองทุนประกันชีวิต" มีฐานะเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้
ที่เกิดจากการเอาประกันภัยในกรณีบริษัทล้มละลายหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตปะกอบธุรกิจประกันชีวิต
และเพื่อพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ

   โดยกองทุนประกันชีวิตจัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคล ตามมาตรา 84 แห่งพระราชบัญัญติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญัญิประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551

วัตถุประสงค์
1. เพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกัน ภัย ในกรณีที่บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตล้มละลาย หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต
2. เพื่อพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ

กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการภายในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ ซึ่งรวมถึง (มาตรา 85/1)
1. ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครองและมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
2. ก่อตั้งสิทธิ หรือกระทำนิติกรรมใดๆ ทั้งในและนอกราชอานาจักร
3. ให้บริษัทกู้ยิมเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
4. ลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน
5. กระทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

เงินกองทุนสามารถใช้จ่ายเพื่อ
1. ให้ความช่วยเหลือเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกัน ภัย ในกรณีบริษัทล้มละลายหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต
2. เป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ ทั้งนี้ ไม่เกินวงเงินที่ได้รับตามกฎหมาย
3. เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุน และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดกิจการของกองทุน ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด
โดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 ประกอบพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 มาตรา 87 ได้กำหนดให้มี "ผู้จัดการกองทุน" ซึ่งคณะกรรมการบริหารกองทุนแต่งตั้งการทำสัญญาจ้างผู้จัดการ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจทำสัญญาในนามของกองทุน

http://www.oic.or.th/fund_life/index.html

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

.

http://www.oic.or.th/th/victims/inner.php

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ความเป็นมา และวัตถุประสงค์
   

" เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากรถได้ทวีจำนวนมากขึ้นในแต่ละปี เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยผู้ประสบภัยดังกล่าวไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายหรือได้รับชดใช้ค่าเสีย หายไม่คุ้มกับความเสียหายที่ได้รับจริง และหากผู้ประสบภัยจะใช้สิทธิทางแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายก็จะต้องใช้เวลา ดำเนินคดียาวนาน ดั้งนั้น เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น ที่แน่นอน และทันท่วงทีสมควรกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ "

      พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีความมุ่งหมายให้ประชาชน ทุกคนได้รับความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย และอนามัยอันเกิดจากอุบัติเหตุจากรถ ให้ได้รับการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องห่วงกังวลกับค่ารักษาพยาบาล ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับการชดใช้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ในกรณี บาดเจ็บ ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ ในกรณีเสียชีวิต หรือค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพ ในกรณีผู้ประสบภัยบาดเจ็บและต่อมาเสียชีวิต จากบริษัทประกันภัยหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เพื่อเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและทายาท

วัตถุประสงค์การจัดตั้ง "พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ" ได้แก่

(1) เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งได้รับอันตรายความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียหายเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีและแน่นอน

(2) เพื่อให้พระราชบัญญัตินี้เป็นหลักประกันว่าผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับการชด ใช้ ค่าเสียหายและค่าเสียหายเบื้องต้นอย่างแน่นอนและทันท่วงที และเป็นหลักประกันได้ว่าสถานพยาบาล ทุกแห่งจะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลอย่างแน่นอนและรวดเร็วในการรับรักษา พยาบาลแต่ผู้ประสบภัย

(3) เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจประกันภัย ให้มีส่วนร่วมในการแบ่งเบาค่าเสียหายของผู้ประกันภัยอันเนื่องมาจาก อุบัติเหตุจากรถ ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยบรรเทาภาระความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและครอบครัว แล้ว ยังเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในด้าน สวัสดิสงเคราะห์อีกด้วย

สำหรับวัตถุประสงค์การ จัดตั้ง "กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย" คือ เพื่อเป็นทุนสำหรับจ่าย ค่าเสียหายเบื้องต้น ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้แก่ผู้ประสบภัย หรือทายาทสำหรับค่ารักษาพยาบาลและหรือค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพในกรณีเสียชีวิตให้แก่ผู้ประสบ ภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิดภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ และเป็นค่าใช้จ่ายอื่นในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

ปัจจุบันสำนักงานกอง ทุนทดแทนผู้ประสบภัย มีทั้งสิ้น 80 แห่ง ได้แก่ สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจังหวัด 75 แห่ง สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเขต 4 แห่ง และส่วนกลาง 1 แห่ง ภายใต้การบริหารจัดการส่วนกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ สำนักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์

หน้าที่และความรับผิดชอบ
     

1. จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถเมื่อมีกรณีตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

2. บริหารเงินกองทุนและการลงทุนให้มีประสิทธิภาพมั่นคง และมีสภาพคล่องเพียงพอต่อ การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นและค่าใช้จ่ายอื่นของสำนักงาน

3. ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา และปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงาน อาทิ อัตราเงินสมทบ งานการเงิน งานบัญชี งานค่าเสียหายเบื้องต้น งานติดตามไล่เบี้ยเรียกคืน และงานเครื่องหมายฯ เป็นต้น

4. พัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายระเบียบของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยให้ทันสมัยสอดคล้องและเป็นธรรม

5. ติดตามไล่เบี้ยเรียกคืนเงินกองทุนตามจำนวนที่ได้จ่ายไปโดยสามารถไล่เบี้ย เรียกคืนค่าเสียหายเบื้องต้นจากเจ้าของรถพร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 หรือใช้สิทธิเรียกคืนจาก ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายตามมาตรา 31 หรือใช้สิทธิยึดรถที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ตามมาตรา 28-30 หรือใช้สิทธิเรียกคืนจากหน่วยงานเจ้าของรถ ตามมาตรา 32 ทางใดทางหนึ่งแล้วแต่กรณี

6. ส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้ประสบภัยจากรถ ให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ

7. พัฒนาระบบปฏิบัติการและระบบฐานข้อมูลกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยให้มีความสมบูรณ์ทันสมัย โดยการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

8. พัฒนาบุคลากรด้านประกันภัยรถให้มีศักยภาพพร้อมต่อการเปิดเสรีในอนาคต

9. จัดทำและดำเนินการตามนโยบายและแผนงานตามประมาณการรายจ่ายประจำปีตามระบบงบ ประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน และระบบประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน


http://www.oic.or.th/th/victims/inner.php

http://www.oic.or.th/th/victims/inner4.php

.

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
แหล่งที่มาของเงินกองทุน
   

กฎหมายกำหนดให้เงินกองทุนฯ ประกอบด้วย

1. เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
2. เงินที่บริษัทจ่ายสมทบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามาตรา 36 คือ ให้บริษัทจ่ายเงินสมทบให้แก่กองทุนทุกรอบ 3 เดือนในอัตราไม่เกินร้อยละ 10
    ของเบี้ยประกันภัยที่ได้รับจาก ผู้เอาประกันภัยในแต่ละ 3 เดือนและ เงินเพิ่มที่ได้รับตามมาตรา 36 ทวิ คือ
    หากบริษัทใดไม่จ่ายเงินสมทบให้แก่กองทุนให้ถูกต้องและครบถ้วนตามาตรา 36
    ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของเงินสมทบที่ไม่ได้จ่าย
3. เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
4. เงินหรือทรัพย์สินที่ได้ตามมาตรา 28 มาตรา 30 มาตรา 31 หรือ มาตรา 32
5. เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
6. ดอกผลของเงินกองทุน
7. เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินที่ได้ตาม (4) และ (5)
8. เงินรายได้อื่นๆ

เงินและทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นของกรมการประกันภัย เพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของ กองทุน โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้ของแผ่นดิน

วิสัยทัศน์ ภารกิจ และแผนกลยุทธ์
   กระทรวงการคลัง :
ได้คัดเลือกให้กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเป็นกองทุนหมุนเวียนนำร่องที่ต้องเข้า สู่ระบบการประเมินผลการดำเนินงานตั้งแต่ ปี 2547 โดยกำหนดให้กองทุนฯ จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ประจำปี 2547 เพื่อนำส่งกรมบัญชีกลาง และบริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) ตามตัวชี้วัดที่กำหนด ดังนี้
 
   วิสัยทัศน์ :
คุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้ประสบภัยจากรถ โดยรณรงค์ให้มีการจัดทำประกันภัยรถตามที่กฎหมายกำหนดและพัฒนาบริหารจัดการ กองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
 
   ภารกิจ :
1. ปรับปรุงให้ความช่วยเหลือเพื่ออำนวยความสะดวกสูงสุดต่อผู้ประสบภัยจากรถทุก คนและประชาชนโดยทั่วไป
2. ดำเนินการให้รถทุกคันจัดทำประกันภัยตามกฎหมาย
3. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงสิทธิประโยชน์และหน้าที่ตามกฎหมายอย่างต่อ เนื่อง
 
   วัตถุประสงค์ :
1. เพื่อคุ้มครองให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากรถให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน รวดเร็ว
    และเป็นธรรม
2. เพื่อกำกับดูแลและส่งเสริมการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ พ.ศ. 2535
3. เพื่อให้เจ้าของรถ ผู้ประสบภัยจากรถ และประชาชนตระหนักถึงความสำคัญ ความจำเป็น
    และสิทธิประโยชน์ในการจัดทำประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบ ภัยจากรถ
4. เพื่อให้บริการผู้ประสบภัยจากรถ ประชาชน ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ
 
   เป้าหมายประจำปี 2547 :
1. คุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้ประสบภัยจากรถให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นร้อยละ 100
2. พิจารณาเรื่องร้องเรียนตามสัญญาประกันภัยรถภาคบังคับเสร็จสิ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70
3. สามารถให้รถทุกคันที่ต่อทะเบียนและจดทะเบียนใหม่กับกรมการขนส่งทางบก (ไม่รวมรถ ยกเว้นตามมาตรา 8
    แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535) จัดทำประกันภัยตามกฎหมายไม่น้อยกว่า ร้อยละ 95
 
   ยุทธศาสตร์ :
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
 
   แผนงาน/โครงการ สำหรับปี 2547 :
1. การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้ประสบภัย
2. การจัดให้ทำประกันภัยรถตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
3. โครงการยุวชนประกันภัย




.

http://www.oic.or.th/th/victims/inner2.php

http://www.oic.or.th/th/victims/inner3.php

.



.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด

กระดานถาม-ตอบ
   ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
   ทำไม อ่านดูในกระดานถามตอบ คปภ.บอกว่า บริษัทประกันต้องจ่ายค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถหากซ่อมรถให้ช้าเกินกว่าที่ ควรจะเป็น แต่พอเรียกร้องไปแล้ว บริษัทประกัน ปฏิเสธ "อย่างไม่มีเยื่อใย" ว่า ไม่อยู่ในเงื่อนไขกรมธรรม์ แถมยังท้าทายให้ไปฟ้อง คปภ. เสมือนว่า จะมั่นใจว่า ไม่ต้องจ่ายแน่ ๆ
   

ชื่อผู้ถาม : รุจิพรรณ Mar 22 2011 8:01AM IP Address : 125.24.xxx.xxx



   ตาม เงื่อนไขกรมธรรม์ กรณีเป็นรถคันเอาประกันภัย หากบริษัทประวิงการซ่อม หรือซ่อมซ่อมล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ก็ต้องจ่ายค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถให้ ส่วนรถคู่กรณี เรียกได้ตั้งแต่วันทีเกิดความเสียหายไม่ได้ใช้รถครับ
   

ชื่อผู้ตอบ : คุ้มครองสิทธิประโยชน์ Mar 22 2011 8:36AM



http://www.oic.or.th/th/webboard/inner_faq.php?id=7358&PageShow=1

.

กระดานถาม-ตอบ
   ค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถ
     รถเราถูกชนต้องนำเข้าซ่อม ซึ่งในระหว่างที่ซ่อมนั้นเราต้องเช่ารถเพื่อใช้ในระหว่างที่ซ่ออยากทราบว่า เราสารถเรียกร้องค่าเสียหานได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง บิลเงินสดท่ไม่ระบุชื่อบริษัทได้หรือไม่
     

ชื่อผู้ถาม : มู่ลี่    Mar 21 2011 9:09PM IP Address : 183.89.xxx.xxx

   เรียกได้ครับถ้าเช่าจริง  หลักฐานต้องมีนำหนักน่าเชื่อถือ มีพยานบุคคลประกอบ และขึ้นอยู่กับฐานานุนุรูปของเราด้วยครับ
     

ชื่อผู้ตอบ : คุ้มครองสิทธิประโยชน์     Mar 22 2011 8:52AM
     

http://www.oic.or.th/th/webboard/inner_faq.php?id=7354&PageShow=1

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)