ผู้เขียน หัวข้อ: วันวิสาขบูชา  (อ่าน 9539 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
วันวิสาขบูชา
« เมื่อ: เมษายน 15, 2011, 09:46:13 am »





วันวิสาขบูชา


วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือราวเดือนพฤษภาคม แต่หากตรงกับปีอธิกมาส
คือ มีเดือน ๘ สองหน
วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๗ หรือราวเดือนมิถุนายน

วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (คือเดือน ๖)
ซึ่งปีนี้ตรงกับ วันอังคารที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔
มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ๓ ประการ ในวันวิสาขบูชา ดังนี้












ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วันวิสาขบูชา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 15, 2011, 10:19:32 am »




ประสูติ

๑. เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖
ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี   

เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์
ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี

ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง
เพื่อประสูติในตระกูลของพระนาง ตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น

ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ  ณ สวนลุมพินีวัน
พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน

ก็ได้รับการถวายพระนามว่า  "สิทธัตถะ"  ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช
จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณอันประเสริฐสูงสุด)
สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วันวิสาขบูชา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 15, 2011, 10:33:35 am »



ตรัสรู้

๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์
 ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี

การตรัสอริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ของพระพุทธเจ้า
เป็นการตรัสรู้ อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน 
วันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมี
พระพุทธเจ้าขึ้นในโลก ชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า)
อันมีประวัติว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น
ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ"
จนเวลาผ่านไปจนถึง ...



ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น

ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย

ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่
( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖  ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา

ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่

๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์

ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ
เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วันวิสาขบูชา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 15, 2011, 10:40:49 am »




ปรินิพพาน

๓. เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ร่มไม้รัง (ต้นสาละ) คู่
ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา
เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี  วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่
ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก
เพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีปของโลก 
เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญ ชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลดเสียใจ
และอาลัยสุดจะพรรณนา อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรม
มาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา

ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้น
ทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์
ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์
พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง
แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ
เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า

และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น
พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา
ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวง
อันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด
"



หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น


วันวิสาขบูชา จึงนับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน
เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึก
ถึงพระคุณของพระองค์ ที่มีต่อปวงมนุษย์และสรรพสัตว์อันหาที่สุดมิได้

การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา จุดมุ่งหมายในการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา
เพื่อรำลึกถึง พระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการ
รำลึกถึงเหตุการณ์ อันน่าอัศจรรย์ทั้ง ๓ ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน
และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ



Credit by : http://www.buddhadham.com/index.php?mo=3&art=243246
Pics by : Google
ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ





สมุดภาพพระพุทธประวัติ' ๘o ภาพ
โดย ครูเหม เวชกร จิตรกรฝีมือเอก

คลิ๊กค่ะ :
http://www.sookjai.com/index.php?topic=3330.0

สมุดภาพพุทธประวัติ สำหรับประชาชน
เล่าโดย พระอาจารย์พยอมกัลยาโณ
คลิ๊กค่ะ :
http://www.sookjai.com/index.php?topic=995.0

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2011, 11:43:01 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ดอกโศก

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 862
  • พลังกัลยาณมิตร 595
    • rklinnamhom
    • ดูรายละเอียด
Re: วันวิสาขบูชา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 15, 2011, 10:43:13 am »
อนุโมทนาค่ะ พี่แป๋ม

ออฟไลน์ สายลมที่หวังดี

  • ทีมงานกัลยาณมิตร
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 840
  • พลังกัลยาณมิตร 319
    • ดูรายละเอียด
Re: วันวิสาขบูชา
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 15, 2011, 09:17:46 pm »
อนุโมทนา สาธุค่ะพี่แป๋ม :13:

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วันวิสาขบูชา
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 16, 2011, 10:59:01 am »



กรมการศาสนา จัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
วันวิสาขบูชาปี53
พิมพ์หนังสือบัตรอวยพรกว่า50,000ใบแจกประชาชนร่วมงาน


นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา เปิดเผยว่า กรมการศาสนาร่วมกับองค์กรเครือข่าย ทางพระพุทธศาสนา จัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา  ประจำปี 2553  จัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชาขึ้น ระหว่างวันที่ 22 – 28 พฤษภาคม 2553 แบ่งเป็นส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค



โดยส่วนกลาง ที่กรุงเทพมหานคร

แบ่งเป็น 3 แห่ง ได้แก่ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง  วันที่  22 – 28 พฤษภาคม
วัดสระเกศ วันที่  26 – 28 พฤษภาคม 
วัดยานนาวา วันที่ 28 พฤษภาคม


โดยมุ่งเน้นให้ เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนเห็นความสำคัญวันวิสาขบูชา ซึ่งถือเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้  และเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า   ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก

       

สำหรับกิจกรรมของงานเทศกาลวิสาขบูชาประกอบด้วยพิธีทำบุญตักบาตร เจริญพระพุทธมนต์ การแสดงพระธรรมเทศนา พิธีเวียนเทียน โดยเฉพาะที่บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง จะมีการเปิดศูนย์จริยศึกษา เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เข้าร่วมกิจกรรม การประกวด แข่งขันสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัยทำนองสรภัญญะ การตอบปัญหาธรรมะ เล่านิทาน รวมทั้งการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ สำหรับในส่วนภูมิภาคได้มอบหมายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประสานความร่วมมือในการจัดกิจกรรม ณ วัด หรือ ศาสนสถานที่สำคัญทั่วประเทศ นอกจากนี้  ยังได้จัดพิมพ์บัตรอวยพรจำนวน  50,000 ใบ และหนังสือพุทธวิธีแก้ปัญหาชีวิต  จำนวน  25,000  เล่ม  แจกจ่ายให้กับประชาชนที่มาร่วมงาน




:http://www.posttoday.com/



พุทธสังเวชนียสถานเนื่องด้วยวันวิสาขบูชา
               เหตุการณ์สำคัญทั้ง 3 เหตุการณ์ที่เกิดในวันวิสาขบูชา เกิดภายในบริเวณที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล หรือประเทศอินเดียและเนปาลในปัจจุบัน โดยสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงประสูติอยู่ที่ลุมพินีวัน ประเทศเนปาลในปัจจุบัน, สถานที่ตรัสรู้ อยู่ที่ พุทธคยา และสถานที่ปรินิพพานอยู่ที่ กุสินารา ประเทศอินเดียในปัจจุบัน โดย 2 ใน 3 ของพุทธสังเวชนียสถานที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชาได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก

มีที่น่าสนใจมากมาย รวมภาพด้วยค่ะ...  -http://skly.in.th/buddhism2yourmind/?m=200905

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 03, 2012, 04:27:08 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วันวิสาขบูชา
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: เมษายน 16, 2011, 11:03:58 am »



ร่วมอนุโมทนาบุญ
ในสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาวิสาขบูชา..

พระรัตนตรัย

สัญลักษณ์สูงสุดในพระพุทธศาสนาคือ พระรัตนตรัยในฐานะที่เป็นองค์รวมสูงสุดแห่งมนุษย์ ธรรมชาติและสังคมเป็นแม่แบบแห่งความสมบูรณ์สูงสุด และเป็นองค์คุณธรรมที่สัมพันธ์กับมนุษย์ในฐานะเป็นแบบอย่างและเป็นอุดมคติ ชีวิต พิธีกรรมการแสดงถึงความเป็นพุทธศาสนิกชน ก็คือการปฏิญาณตนนับถือพระรัตนตรัยโดยการเปล่งวาจา 3 ครั้ง ดังนี้

1. พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า
2. ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า
3. สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า


พระรัตนตรัยแปลว่า ดวงแก้วอันประเสริฐ 3 ดวงคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ซึงอาจจำแนกอธิบายได้ดังนี้

ก. พระรัตนตรัย ในฐานะสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา

1. พระพุทธเจ้า

องค์แห่งพระรัตนตรัยที่ 1 คือพระพุทธเจ้า
ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงคุณลักษณะ 2 ประการ

ประการที่หนึ่ง พระพุทธเจ้าในฐานะบุคคลหรือมนุษย์ในประวัติศาสตร์ พระนามว่าสิทธัตถะ ทรงเป็นราชโอรสของพระมหากษัตริย์ พระนามว่าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายาเผ่าพันธุ์ศากยะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงประสูติ ณ สวนลุมพินีวันในวันเพ็ญเดือน 6 ณ ชมพูทวิป อายุ 16 พรรษา อภิเษกสมรสกับพระนางสิริยโสธรา มีพระโอรส 1 พระองค์ พระนามว่า ราหุล

ประการที่สอง พระพุทธเจ้าในฐานะมนุษย์ผู้มีตนอันพัฒนาสูงสุด และเป็นแม่แบบที่มนุษย์ทั้งปวงที่จะต้องถือไว้เป็นตัวอย่าง เพราะทรงมีพัฒนาการสูงสุดในความเป็นมนุษย์ โดยทรงคุณสมบัติ 9 ประการ กล่าวคือเป็นพระอรหันต์

1.         ตรัสรู้เองโดยชอบ
2.         ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
3.         เสด็จไปดีแล้ว
4.         เป็นผู้รู้แจ้งโลก
5.         เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า
6.         เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
7.         เป็นผู้มีโชค

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถย่นย่อได้ 3 อย่างคือ

1.         พระปัญญาคุณ ทรงมีพระปัญญาคือ ความรู้สัพพัญญูญาณ
2.         พระกรุณาคุณ ทรงคุณความดี คือความกรุณาในฐานะที่เป็นคุณธรรมที่ทำให้ความดีอื่น ๆ ทั้งหลาย และประโยชน์สุขเกิดขึ้นแก่คนอื่น
3.         พระวิสุทธิคุณ ทรงบริสุทธิ์ทั้งพระชาติ และความประพฤติทางกาย วาจา ใจ โดยทรงประกอบด้วยวิมุติ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 16, 2011, 02:15:49 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วันวิสาขบูชา
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: เมษายน 16, 2011, 11:05:41 am »


2. พระธรรม

พระธรรมคือความจริงที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยปัญญา ซึ่งทำให้ผู้ค้นพบเป็นพุทธะ และถ้าเป็นผู้นำพระธรรมนั้นมาประกาศสั่งสอนผู้อื่น เผยแพร่ให้ผู้อื่นรู้ตามหรือตั้งศาสนาได้ เรียกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าค้นพบเอง แต่ถ้าไม่ได้เผยแพร่พระธรรมนั้นแก่คนอื่น เรียกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะไม่สามารถจะตั้งศาสนาได้ ถ้าเป็นผู้รู้ธรรมตามที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนนั้น เรียกว่าอนุพุทธหรือ สาวก                                                                     

คุณของพระธรรมมี 6 อย่างคือ

1.) เป็นธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว
2.) เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
3.) เป็นธรรมไม่ประกอบด้วยกาล (หรือกาลเวลา)

4.) เป็นธรรมอันควรเรียกให้มาดู (พิสูจน์ได้)
5.) เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาในตน
6.) เป็นธรรมอันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ความหมายของพระธรรมอาจแยกได้ 5 ประการคือ

1.) ตัวธรรมชาติ คือ กลุ่มหรือปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหลาย
2.) ตัวกฎธรรมชาติ คือ กฎแห่งเหตุผล กฎแห่งกรรม เป็นต้
3.) หน้าที่ตามธรรมชาติ คือ การทำหน้าที่ให้ผลอย่างตรงตัวและพันธกรณีในทิศทั้ง 6
4.) ผลที่เกิดจากหน้าที่ คือความสุข ทุกข์ บาป บุญ เกิดขึ้นตามการปฏิบัติทั้งในส่วนตัว และสังคมมีลักษณะเป็นธรรมาธิปไตย เพราะถือหลักการหรือธรรมเป็นใหญ
5.) ธรรมวินัย คือคำแนะนำสั่งสอนและข้อบัญญัติห้ามมิให้การกระทำอีก

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นคุณชาติที่ทำให้ปุถุชนผู้ปฎิบัติตามกลายเป็นพระอริยบุคคลมี 4 ระดับ คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ พระธรรมมีวิมุติเป็นแก่น และความพ้นทุกข์เป็นรส

พระคัมภีร์รองรับพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว เรียกพระไตรปิฎกแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ พระวินัยปิฎก ว่าด้วยระเบียบวินัยและศีล พระสุตตันตปิฏก ว่าด้วยหลักธรรมที่แสดงแก่บุคคลต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เวลา และสถานที่ และพระอภิธรรมปิฎกว่าด้วยองค์แห่งสภาวธรรมล้วน ๆไม่ปรารภบุคคลหรือสถานที่  พระธรรมทั้งปวงรวมเป็นสามอย่างคือ ปริยัติธรรม การศึกษาเล่าเรียน อันเป็นส่วนเบื้องต้น ปฏิบัติธรรม ได้แก่ความประพฤติตามธรรมที่ตนได้สดับมา และปฏิเวธธรรม คือผลของการปฏิบัติที่เรียกว่า อริยมรรค อริยผล มีโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล เป็นต้น มีอรหันต์ผลเป็นที่สุด



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วันวิสาขบูชา
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: เมษายน 16, 2011, 11:07:45 am »


3. พระสงฆ์

พระสงฆ์ คือผู้ที่เข้าถึงธรรมตามที่ทรงแสดง โดยอาศัยพระกรุณาคุณ ของพระพุทธเจ้าทำให้เข้าถึงธรรม มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นองค์แรก และต่อมาได้สำเร็จมรรคผล เรียกอริยสงฆ์ที่ยังไม่สำเร็จมรรคผลอย่างพระภิกษุทั่วไป เรียกว่าสมมติสงฆ์ เพราะท่านเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าและเป็นพยานการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตาม และได้สั่งสอนธรรมต่อมาจึงเป็นที่ควรเคารพนับถือ พระสงฆ์ คือผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติถูกต้อง ตรงกับพระธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงและบัญญัติไว้

พระสงฆ์คือ บุคคลที่เมื่อบวชเป็นพระสงฆ์แล้ว จะมีฐานะแตกต่างไปจากคฤหัสถ์หรือบุคคลทั่วไปถือเพศเป็นสมณะ ต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัย มีหน้าที่ 2 ประการคือ

1. ทำหน้าที่ตนเอง คือการศึกษาพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง และทรงบัญญัติไว้เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในพระธรรมวินัยถูกต้องตามความเป็นจริง

2. หน้าที่ต่อสังคม พระสงฆ์นอกจากจะปฏิบัติในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วพระสงฆ์ในฐานะกัลยาณมิตรของสังคม มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ 6 ประการ กล่าวคือ

2.1) แนะนำอบรมชี้แจงให้เขาละเว้นความชั่ว

2.2) แนะนำสั่งสอนเชิญชวนให้เขาปฏิบัติดี

2.3) สงเคราะห์เขาด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตากรุณา มุ่งดี ปรารถนาดีต่อเขา

2.4) ให้เขาได้ยินได้ฟังเรื่องที่เขาไม่เคยได้ยินได้ฟัง

2.5) อธิบายสิ่งที่เขาได้ฟังมาแล้ว แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจชัดเจน ให้เข้าใจให้ชัดเจน                                                                     
2.6) บอกทางสุข ทางเจริญ และทางสวรรค์แก่เขา

พระสงฆ์ทรงคุณลักษณะ 9 ประการ คือ

1. เป็นผู้ปฏิบัติดี มุ่งปฏิบัติชอบด้วยพระวินัย พัฒนาตนเองไปตามลำดับไม่เป็นข้าศึกต่อผู้อื่น พยายามขัดเกลาจิตใจ และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตนไปตามลำดับความสามารถของตน

2. เป็นผู้ปฏิบัติตรง คือพยายามทำตนให้ตรงต่อคำสอนเหล่านั้น เป็นผู้ตรงต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อภารกิจการงานที่ต้องจัดต้องทำ

3. เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม คือ ปฏิบัติมุ่งให้สงบกาย วาจา ใจ จนถึงหลุดพ้นจากความทุกข์

4. เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือ ปฏิบัติตามสมควรแก่สมณเพศ สมควรแก่ฐานะจนสามารถขจัดกิเลสได้โดยลำดับจนถึงหมดสิ้น

5. เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา คือ ปฏิบัติตนดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติสมควร ดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นที่เคารพสักการะของคนทั้งหลาย

6. เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ คือ เป็นผู้เมื่อประชาชนต้อนรับแล้ว ย่อมเกิดความสุขสบายใจคือประสบบุญ อันมีผลเป็นความสุขทั้งในปัจจุบันและกาลภายหน้าด้วย

7. เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน คือ เป็นผู้ปฏิบัติดีงามเหมาะสมเป็นรับทักษิณาทาน เพราะช่วยให้ทานที่เขาบริจาคมีผล มีอานิสงส์มาก

8. เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คือ เป็นผู้ปฎิบัติชอบ ควรแก่การประณมมือไหว้ท่านด้วยความเคารพ เป็นการแสดงความเคารพต่อท่านผู้มีคุณความดี

9. เป็นเนื้อนาบุญของชาวโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งไปกว่าเพราะคุณความดีองท่าน ดังกล่าวมาแล้ว เป็นเหมือนกับนาที่ดี ชาวโลกที่ต้องการความดีอันเป็นสุข ย่ิอมคบหาสมาคมเพราะความเป็นกัลยาณมิตรบ่อเกิดแห่งความดีทั้งปวงเมื่อเข้าสมาคมย่อมได้รับสิ่งที่เป็นกุศล และความสุขเต็ม ที่

ดังนั้น พระสงฆ์ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม