ผู้เขียน หัวข้อ: จากโอ่งมังกร...สู่โมเดิร์นเซรามิก วิวัฒนาการของคนปั้นโอ่งตระกูล "เถ้าฮงไถ่"  (อ่าน 1972 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



"โอ่งมังกร" ถือ​เป็น​สัญลักษณ์​สร้าง​ชื่อ​ประจำ​จังหวัด​ราชบุรี เป็น​ภูมิปัญญา​ท้องถิ่น​ที่​ชาว​ราชบุรีภูมิใจ​นักหนา จน​มี​การ​เรียก​ขาน​ราชบุรี​ว่า “เมือง​โอ่งมังกร” ใน​อดีต​โอ่งมังกร​เป็น​ภาชนะ​ที่​ใช้​กัน​แพร่หลายทุก​ครัวเรือน กระนั้น ด้วย​ยุค​สมัย​ที่​เปลี่ยนแปลง​ไป ทำให้​ความ​นิยม​ใช้​โอ่ง​เพื่อ​กัก​เก็บ​น้ำ​ลด​ฮวบฮาบ​ลง

อย่างไร ก็ดี การ​ทำ​โอ่งมังกร​ใน​ราชบุรี​ยัง​เป็น​ตำนาน​คลาส-สิก​ที่​น่า​กล่าวขวัญ​ ถึง​เสมอ โดย​ผู้​บุกเบิก สร้าง​โรง​งาน​ทำ​โอ่งมังกร​เป็น​เจ้า​แรก​ของ​เมือง​ไทย ก็​คือ “เถ้า​ฮง​ไถ่” ซึ่ง​ยืนหยัด​อยู่​คู่​ราชบุรี​มา​ถึง 78 ปี เริ่ม​ก่อตั้ง​เมื่อ​ปี 2476 โดย “นาย​ซ่งฮง แซ่​เตีย” กับ “นาย​จือ​เห​ม็ง แซ่​อึ้ง” เพื่อน​ซี้​ที่​เคย​ทำเครื่อง​ปั้น​ดิน​เผา​ด้วย​กัน​มา ที่​โรง​งาน​ใน​เมือง​ปัง​โค​ย มณฑล​กวางตุ้ง ประเทศ​จีน ทั้ง​คู่​หอบ​เสื่อ​ผืน​หมอน​ใบ อพยพ​เข้า​มา​ตั้ง​รกราก​ใน​เมือง​ไทย ช่วง​ยุค​ก่อน​สงครามโลก​ครั้ง​ที่​สอง เมื่อ​ได้​มี​โอกาส​มา​เที่ยว​จังหวัด​ราชบุรี ไป​เจอ​ดิน​ตาม​ร่อง​สวน​คันนา ก็​นำ​กลับ​ไป​ทดลอง​เผา​ที่​กรุงเทพฯ ปรากฏ​ว่า​ดิน​ดี​มี​คุณภาพ​สูง คล้าย​กับ​แถวกวางตุ้ง เหมาะ​กับ​การ​ทำ​เครื่อง​ปั้น​ดิน​เผา “เถ้าแก่​เตีย” จึง​ชักชวน​พรรคพวก​มา​ทำ​โรง​งาน​ผลิต​เครื่อง​ปั้นดิน​เผา โดย​แรก​เริ่ม​เน้น​การ​ผลิต​ไห​น้ำปลา กับ​โอ่ง​เก็บ​น้ำ​แบบ​ไม่​มี​ลวดลาย ผล​ปรากฏ​ว่าขาย​ดิบ​ขาย​ดี​มาก เนื่องจาก​เกิด​สงครามโลก​ครั้ง​ที่​สอง เมือง​ไทย​ไม่​สามารถ​นำ​เข้า​เครื่อง​ปั้น​ดิน​เผา​จาก​ประเทศ​จีน​ได้ ทำให้ “เถ้า​ฮง​ไถ่” ผูกขาด​ตลาด​เพียง​เจ้า​เดียว​อยู่​นาน​หลาย​ปี

ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น!! วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ กับเตี่ยชาญชัย

กระนั้น ภายใน​ระยะ​เวลา 30 ปี ธุรกิจ​การ​ทำ​โอ่งมังกร​ใน​ราชบุรี​ได้​เติบโต​รวดเร็ว​เกิน​ต้านทาน จาก​โรง​งาน​ทำ​โอ่ง​เพียง​ไม่​กี่​แห่ง​ใน​ยุค​บุกเบิก ก็​ขยาย​ตัว​เพิ่ม​ขึ้น​เป็น 20-30 แห่ง ทำให้​การ​แข่ง​ขัน​ขับเคี่ยว รุนแรง​มาก และ​มี​การ​ผลิต​โอ่ง​ล้น​ตลาด​เกิน​ความต้องการด้วย​การ​มอง​การณ์​ไกล​ของ ​ทายาท​รุ่น​ที่​สอง คือ “เถ้าแก่​ชาญชัย สุ​พา​นิชวรภาชน์” ลูก​ชาย​คน​ที่​สอง​ของ “เถ้าแก่​เตีย” ทำให้ “เถ้า​ฮง​ไถ่” ไม่​ยอม​หยุด​นิ่ง​อยู่​กับ​ที่ และ​ลุก​ขึ้น​สู้ ด้วย​การ​พัฒนาผลิตภัณฑ์​ใหม่ๆที่​ไม่​จำกัด​เฉพาะ​เซรามิก​เพื่อ​ประโยชน์​ ใช้สอย โดย​เขา​ได้​ริเริ่ม​นำ​ดิน​ขาว​จาก​ประเทศ​จีน มา​วาด​ลวดลาย​บน​โอ่ง​เพื่อ​สร้าง​มูลค่า​เพิ่ม ขณะ​เดียวกัน ก็​สร้างสรรค์​เครื่อง​ปั้น​ดิน​เผา​สำหรับ​ใช้​ตกแต่ง​เพื่อความ​สวย​งาม โดย​เลียนแบบ​จาก​ของ​เก่า​เป็น​หลัก ยุค​นี้​ยัง​เป็น​ยุค​แรก​ที่​มี​การ​ทำ​เซรามิก​สี​เขียวไข่กา และ สีน้ำเงิน​ขาว ด้วย​กลยุทธ์​นี้​เอง ทำให้ “เถ้า​ฮง​ไถ่” สามารถ​รักษา​ความ​เป็น​ผู้​นำ​ใน​ตลาด​เครื่อง​ปั้น​ดิน​เผาไว้​ได้​อีก​ ครั้ง และ​ผงาด​ขึ้น​เป็น​ผู้​ผลิต​เซรามิก​ยักษ์​ใหญ่​ที่​ทันสมัย​ที่สุด​ของ​ เมือง​ไทย โดย​มี​ฐาน​ลูกค้า​หลัก​เป็น กลุ่ม​โรงแรม​และ​รีสอร์ต สร้าง​ราย​ได้​เพิ่ม​ขึ้น​จาก​เดิม​อีก​หลาย​เท่าตัว

จน​มา​ถึง​ ปัจจุบัน “เถ้า​ฮง​ไถ่” ได้​พัฒนา​ขึ้น​ไป​อีก​ขั้น เพื่อ​ให้​สอดคล้อง​กับ​โลก​ยุค​ดิจิตอล โดย​ได้​ทายาทรุ่น​ที่​สาม “ติ้ว-วศิน​บุรี สุ​พา​นิชวรภาชน์” ลูก​ชาย​คน​โต วัย 40 ปี ของ “เถ้าแก่​ชาญชัย” เป็น​ผู้​บุกเบิกตลาด​โมเดิร์น​เซรามิก พัฒนา​รูป​แบบ​ดีไซน์​และ​สีสัน​ให้​มี​เอกลักษณ์​ไม่​ซ้ำ​ใคร นับ​เป็น​ยุค​แรก​ที่​งาน​เซรามิก​ของราชบุรี ได้​รับ​การ​ยกย่อง​เทียบเท่า​กับ​งาน​ศิลป์​ชิ้น​มาสเตอร์​พี​ซ


มี​แวว​มา​ตั้งแต่​เด็ก​ไหม​คะ ถึง​ได้​รับ​การ​วางตัว​ให้​สืบ​ทอด​กิจการ “เถ้า​ฮง​ไถ่”

(ส่าย ​หัว) ผม​เกิด​ใน​โรง​งาน​ทำ​โอ่ง ตอน​เด็กๆก็​ปั้น​ดิน​เล่น​ไป​ตาม​ประสา แต่​ไม่​เคย​ชอบ​เรื่อง​เครื่อง​ปั้นดิน​เผา​เลย จำ​ได้​ว่าเห็น​เตี่ย​ทำ​งาน​หนัก​มา​ตลอด เห็น​แล้วก็​อู้​หู!! ไม่​ไหว​นะ ไม่​อยาก​ทำ​เหมือน​เตี่ย!! ก่อน​เข้ากรุงเทพฯ​มา​เรียน​ต่อ​ที่​สวน​กุหลาบฯ ยัง​เคย​ถาม​แม่​ว่า แล้ว​ใคร​จะ​ทำ​โรง​งาน​ต่อ​ล่ะ แม่​บอก​เดี๋ยว​ก็​มี​คน​ทำ ไม่​ต้องห่วง​หรอก เพราะ​ลูก​หลาน​เยอะ​แยะ คุณ​ลุง ซึ่ง​เป็น​พี่​ชาย​ของ​พ่อ ก็​มี​ลูก​ชาย หลังจาก​ผม​เรียน​จบ​มัธยม​ปลาย เอน​ท์ติด​มหาวิทยาลัย​ขอนแก่น ไป​เรียน​ได้​อยู่​เทอม​เดียว จู่ๆวัน​หนึ่ง​เตี่ย​ก็​ถาม​ว่า ไป​เรียน​ต่อ​ที่​เยอรมัน​ไหม เตี่ย​อยาก​ให้​มี​ลูก​หลาน​เรียน​ด้าน​เซรามิก​โดย​ตรง จะ​ได้​กลับ​มา​ ช่วย​กิจการ​ที่​บ้าน ผม​อึ้งๆนิดหนึ่ง แต่​เตี่ย​อยากให้​เรียน​ก็​ต้อง​ไป​เรียน เตี่ย​วาง​แผน​ไว้​ว่าจะ​ให้​เรียน​วิศวะ ด้าน​ไฮเทค​เซรามิก เพราะ​มี​อนาคต​ดี และ​สามารถนำ​เทคโนโลยี​กลับ​มา​ช่วย​พัฒนา​โรง​งาน​ที่​บ้าน​ได้



ไป​เรียน​ต่อ​ที่​เยอรมัน​ได้​วิชา​ความ​รู้​อย่าง​ที่​คาด​หวัง​ไหม

ทุก ​อย่าง​ไม่ได้​ง่าย​อย่าง​ที่​คิด!! เพราะ​มี​ทาง​เลือก​น้อย​มาก สมัย​นั้นมี​มหาวิทยาลัย​ที่​สอน​เรื่อง​เซรามิกแค่​แห่ง​เดียว อยู่​ที่​เมือง​คาสเซิล ช่วง​แรก​ผม​ไป​เรียน​ด้าน​เทคนิค​ก่อน และ​เรียน​ภาษา​ไป​พลางๆ เพื่อ​เตรียม​เข้า มหาวิทยาลัย ปี​แรก​เครียด​มาก จน​ลมพิษ​ขึ้น​ทั้ง​ตัว เพราะ​พูด​กับ​ใคร​ไม่​รู้​เรื่อง ภาษา​อังกฤษ​ก็​ห่วย​มาก แถม​ยังเจอ​อาจารย์​ที่​ไม่​ชอบ​คน​ต่าง​ชาติ จะ​ขู่​ตลอด​ว่าถ้า​คริสต์มาส​นี้​ยัง​ปั้น​ไม่ได้ ก็​ให้หา​อาชีพ​ใหม่​ทำ!! แรง​กดดันพวก​นี้​ทำให้​ผม​ฮึด​สู้ ท่อง​ศัพท์​วัน​ละ 50 คำ รู้สึก​ว่าเรา​ต้อง​ขยัน​แล้ว ต้อง​เอาจริงเอาจัง​แล้ว ถึง​จะ​ไม่ได้​ชอบเซรามิก​มา​ก่อน แต่​ยัง​ไง​ก็​กลับ​บ้าน​มือ​เปล่า​ไม่ได้​เด็ดขาด!! ญาติ​คน​ไทย​ที่​ผม​อยู่​ด้วย​พา​ไป​ลง​คอร์ส​เรียนปั้น​ดิน​ปั้น​หม้อ​ปั้น ​ไห​กับ​พวก​แม่บ้าน เพื่อ​ทำ​พอร์ต​สอบ​เข้า​มหาวิทยาลัย เพราะ​เราไม่​มี​พอร์ต​มา​ก่อน ช่วง​นั้น​เกิดสงคราม​อิรัก​บุก​คูเวต ใครๆก็​กลัว​จะ​เป็น​สงครามโลก​ครั้ง​ที่​สาม ก็​ขอ​เตี่ย​กลับ​เมือง​ไทย แต่​เตี่ย​บอก​ว่าไม่​มี​อะไรหรอก อยู่​เรียน​ไป​เหอะ พอ​ขึ้น​ปี​สอง​เริ่ม​มี​เพื่อน​เยอะ​ขึ้น เห็น​เพื่อน​เยอรมัน​เป็น​ลูก​ศิลปิน​ขโมย​ดิน​จาก​โรงเรียนกลับ​มา​ปั้น​ ที่​บ้าน เรา​ก็​ลอง​ดู​บ้าง ตอน​ปี​หนึ่ง​เรา​เรียน​แบบ​เด็ก​ไทย พยายาม​ปั้น​ตาม​โจทย์ เพื่อ​เอาใจ​ครู แต่​ปี​สอง มี​อิสระ​มาก​ขึ้น ทำให้​สนุก​กับ​การ​เรียน​มาก​ขึ้น เหมือน​เส้น​ผม​บัง​ภูเขา พอ​ทำ​เป็น​แล้ว อะไรๆก็​ง่าย​ไป​หมด ผม​โชค​ดี​ได้​เพื่อน​ดี​ตลอด คน​เยอรมัน​ไม่​หยิ่ง​เลย ถ้า​เรา​เข้าถึง​เขา​แล้ว เขา​จริงใจ​มาก ไม่​มี​ใคร​ทิ้ง​เรา​เลย ผม​ใช้​เวลา 5 ปี ก็​จบ​ปริญญา​โท​ด้าน​ไฟ​น์​อาร์ต โดย​เน้น​เจาะ​ลึก​เรื่อง​เซรามิก​เป็น​พิเศษ ตอน​อยู่​เยอรมัน ผม​ไม่​ต้อง​รบกวน​เงิน​ทาง​บ้าน​เลย เพราะ​ทำ​งาน​พิเศษ​ส่งตัว​เอง​เรียน




งาน​เซรามิก​ของ​ยุโรป มี​ความ​แตก​ต่าง​จาก​เอเชีย​เยอะ​ไหม

จาก​ที่​ได้​สัมผัส​มา ทาง​ยุโรป​ค่อนข้าง​ดูถูก​งาน​เซรามิก เพราะ​มอง​ว่าปั้น​เป็น​ภาชนะ​เท่านั้น หรือ​ไม่​ก็​ปั้นเป็นต้น​แบบ​งาน​ศิลปะแต่​เซรามิก​ไม่​ใช่​งาน​ศิลป์ ซึ่ง​ตรงกันข้าม​กับ​ทาง​เอเชีย ที่​ยกย่อง​งาน​เซรามิก​มาก ถือ​เป็นผล​งาน​ศิลปะ​ที่​ล้ำ​ค่า และ​มี​ราคา​แพง

นำ​ประสบการณ์​ที่​ได้​จาก​เมืองนอก กลับ​มา​พัฒนา​ธุรกิจ​ที่​บ้าน​อย่างไร​บ้าง

ผม ​รู้สึก​เลย​ว่า สิ่ง​ที่​อา​กง​และ​เตี่ย​ทำ​มา​ตลอด​ยิ่ง​ใหญ่​มาก ขณะ​เดียวกัน สิ่ง​ที่​เรา​เห็น​ที่​เยอรมัน​ก็​เปิดโลก​ทัศน์​ใหม่ๆ ทำให้​ผม​คิด​ว่า เรา​น่า​จะ​พัฒนา​เซรามิก​ได้​อีก​เยอะ ทำ​อะไร​ใหม่ๆได้​มาก​กว่า​การ​เลียนแบบของ​เก่า ผม​เรียน​จบ​กลับ​มา​ปี 1999 ตอน​นั้นเตี่ย​อายุ​เกือบ 60 แล้ว ผม​ว่า​เรื่อง​โน​ว์​ฮา​ว​ไล่​ตามทัน​กัน​ไม่​ยาก แต่​ทำ​ยัง​ไง​ถึง​จะ​พัฒนา​สินค้า​ให้​ฉีก​จาก​คน​อื่น​ไป​ได้ ทำให้​คน​อื่น​ไล่​ตาม​เรา​ไม่ทัน ผม​เสนอ​เตี่ย​ว่า เรา​ควร​ใช้ของ​ที่​เรา​ถนัด​ที่สุด​ให้​เป็น​ประโยชน์ คือนำ​งาน​ศิลปะ​ที่​ผม​ร่ำเรียน​มา​ไป​ต่อ​ยอด เพื่อ​สร้าง​มูลค่า​เพิ่มแบบ​ก้าวกระโดด ผม​ก็​เริ่ม​จาก​การ​ทำ​สีสัน​ฉีก​ออก​ไป​เลย​จาก​ที่​โรง​งาน​เคย​ทำ โดย​ทำ​เป็น​สี​แดง​สี​ส้ม​แรงๆ พัฒนา​จน​มีสีสัน​ร่วม​สมัย​ให้​เลือก​เกือบ​พัน​เฉด​สี ซึ่ง​สมัย​นั้น​เมือง​ไทย​ยัง​ทำ​ไม่ได้ ต้อง​ซื้อ​โน​ว์​ฮา​ว​มา​จาก​เยอรมัน ส่วน​เรื่องรูป​ทรง​ก็​ประยุกต์​ของ​เก่า​กับ​ของ​ใหม่​เข้า​ด้วย​กัน





ตลาด​ตอบ​รับ​งาน​เซรามิก​แนว​ใหม่​ของ “เถ้า​ฮง​ไถ่” ไหม​คะ

ตอน ​แรกๆเตี่ย​รับ​ไม่ได้!! บอก​ว่าทำ​อะไร​เหมือน​อีกา​คาบ​พริก รูป​ทรง​ก็​บิดเบี้ยว​ประหลาด แต่​พอ​ผมเล่า​ให้​ฟัง​ว่า “คุณ​โฆษิต ปั้น​เปี่ยม​รัษฎ์” ผู้​บริหาร​ใหญ่​ของ​แบงก์​กรุงเทพ ชม​ว่า​สวย​ดี และ​เพิ่ง​ขาย​สถาปนิก​ชื่อ​ดัง คือ “จุ​ต​ติ ศุภ​บัณฑิต” ไป​เมื่อกี้ เตี่ย​เลย​เปลี่ยนใจ​บอก​ว่า อีกา​คาบ​พริก​ก็​ดู​สวย​ดี​นะ (หัวเราะ) ผม​ไม่ได้​คิด​เรื่องการ​ตลาด​เลย คิด​อย่าง​เดียว​คือ ผม​ไม่​เคย​เปลี่ยน​สิ่ง​ที่​อา​กง​และ​เตี่ย​ทำ ซึ่ง​ทำ​ไว้​ดี​มากๆอยู่​แล้ว เพียง​แต่ผม ทำ​อะไร​เพิ่ม​เพื่อ​ต่อ​ยอด​จาก​ของ​เดิม โดย​ใส่​ดีไซน์​และ​ไอเดีย​ใหม่ๆเข้าไป ปรากฏ​ว่า​งาน​ของ​ผม​ไป​โดน​ใจพวก​ดี​ไซ​เนอร์ที่​ตกแต่ง​ให้​โรงแรม​และ​ รีสอร์ต​ใหม่ๆ ทำให้​ได้​ฐาน​ลูกค้า​เพิ่ม​ขึ้น​เยอะ คราว​นี้ผม​เลย​ขอ​เตี่ย เซต​ทีม​ดี​ไซ​เนอร์​มา​ช่วย 3-4 คน เพื่อ​จะ​ได้​เพิ่ม​มุม​มอง​ใหม่ๆ ก็​เดิน​ตาม​แนวทาง​นี้​มา​ตลอด ทำให้​โรง​งานของ​เรา​ไม่​หยุด​นิ่ง และ​มี​ลูกค้า​กลุ่ม​ใหม่ๆเข้า​มา​ต่อ​เนื่อง นอกจาก​นี้ ผม​ยัง​ขอ​งบประมาณ​เตี่ย เพื่อ​นำ​มาสนับสนุน​ให้​นักศึกษา​ได้​มา​ฝึกงาน และ​จัด​แสดง​งาน​ด้วย ถือ​เป็น​การ​ช่วย​พัฒนา​วงการ​เซรามิก​เมือง​ไทย




จนถึง​ทุก​วัน​นี้ “เตี่ย” วางมือ​ได้​หรือ​ยัง

คุณ ​พ่อ ซึ่ง​นั่ง​อยู่​ข้างๆลูก​ชาย ตอบ​อย่าง​อารมณ์ดี​ว่า ก็​เหนื่อย​น้อย​ลง​เยอะ เพราะ​เตี่ย​แทบ​ไม่​ต้อง​ทำอะไร​แล้ว ปล่อย​ลูก​ชาย​ลุย​เต็มที่ จน​พัก​หลัง​คน​เริ่ม​ทัก​แล้ว​ว่าเตี่ย​เป็น​พี่​ชาย​ของ “ติ้ว” (หัวเราะ)




ใน​ฐานะ​ทายาท​ของ​คน​ปั้น​โอ่ง คิด​ว่า​เสน่ห์​ของ​เซรามิก​อยู่​ตรง ไหน

เซ รามิก​เป็น​งาน​ที่​แตก​ต่าง​จาก​ศิลปะ​แขนง​อื่น เพราะ​มนุษย์​ควบคุม​ได้​แค่​ระดับ​หนึ่ง ถ้า​เจอ​แล้ว​ชอบ ก็​ต้อง​ซื้อ​เลย เพราะ​ทำ​ออก​มา​ใหม่​ไม่​เหมือน​เดิม​แล้ว หลายๆโรง​งาน​พยายาม​ทำ​เลียนแบบ​เรา วิ่ง​ไล่​ตาม​เรา แต่​ผม​กลับ​คิด​แตก​ต่าง​ออก​ไป จะ​บอก​น้องๆดี​ไซ​เนอร์​ตลอด​ว่า ไม่​ต้อง​นึกถึง​ตลาด และ​คู่แข่ง​มาก ขอ​ให้​รู้สึกสนุก​กับ​สิ่ง​ที่​ทำ อยาก​ทำ​อะไร​ก็​ทำได้​อย่าง​อิสระ แล้ว​ลูกค้า​จะ​มา​หา​เรา​เอง ผม​ยัง​คุย​กับ​เตี่ย​ว่า การ​แข่ง​ขัน​ยุค​นี้สูง​ขึ้น​เยอะ ถ้า​เรา​ไม่​ต่อ​ยอด​จาก​ของ​เก่า ซึ่ง​ดี​อยู่​แล้ว ใน​ที่สุด​ก็​อาจ​ทำให้​ทุก​อย่าง​หยุด​นิ่ง และ​ถึง​จุดอิ่มตัว!!
ทีมข่าวหน้าสตรี
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...