ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : ไอน์สไตน์ชอบศาสนา แต่ไม่ชอบพระเจ้า  (อ่าน 1484 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด




อารัมภบทนี้คงไม่เกี่ยวกับไอน์สไตน์เลย แต่เกี่ยวกับคนเขียนที่เขียนมาได้หน้าหนึ่งก็ต้องหยุดพักนานเพื่อไปนอน หลับบ้างไม่หลับบ้าง ช่วงนี้เรียกว่าเขียนไปพักไป นอนกลางคืนก็หลับยากและตื่นง่าย รู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วกว่ากลางวันมาก นั่นคิดเอาเอง แต่คิดว่าเป็นความ “รู้สึก” ของหลายๆ คน โดยเฉพาะคนอายุมากๆ จะบอกอะไรให้ฟังสักอย่างว่าไอน์สไตน์โชคดีหรือเปล่าที่ตายเร็ว คือ ตายก่อนที่นักฟิสิกส์จะได้พิสูจน์เบ็ดเสร็จไร้คนสงสัยในเรื่องควอนตัมแมคคานิกส์ ซึ่งในสายตาของผู้เขียนคือสิ่งที่มาแทนที่วิทยาศาสตร์กายภาพวัตถุนิยมและเทคโนโลยีที่ได้มาจากวิทยาศาสตร์กายภาพวัตถุนิยมนั้นๆ ต่อไปนี้เทคโนโลยีทั้งหมดจะได้มาด้วยควอนตัมฟิสิกส์แทน เช่น เลเซอร์ลาซิก เอ็มอาร์ไอ ที่ใช้ในวงการแพทย์ เป็นต้น ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ประชากรโลก ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมยังคงอยู่ในสภาพสมดุลพอเพียงพอดี ไม่ติดลบเพราะใช้เกินเช่นทุกวันนี้ หรือเพียงหกสิบกว่าปีเท่านั้น

มนุษย์เรา อดีต ตั้งแต่ก่อนการตั้งหลักแหล่งถิ่นฐานตราบจนปัจจุบัน (ก่อน 2012 หรือ 2020) อยู่กับสามข้อที่ไม่พึงประสงค์ที่ทางพุทธศาสนาเตือนไว้ให้หลีกให้พ้น สามข้อไม่พึงประสงค์ คือ หนึ่ง อุปาทานการยึดมั่นถือมั่น มนุษย์ทำตรงกันข้ามเพราะอ้างว่าเป็น “นิสัยความเคยชิน” ไปแล้ว ทั้งๆ ที่ผิดกันเห็นๆ กันโทนโท่ ระบบสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ผิดทั้งนั้น แต่เพราะคนมีอุปาทานติดยึด สอง ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมการตลาดเสรีโดยเฉพาะ ยิ่งผิดธรรมชาติไปมาก ไม่ว่าระบบการเมืองจะเป็นสังคมนิยมหรือเสรีนิยมก็ผิดทั้งนั้น สาม ซึ่งเป็นข้อสุดท้าย มนุษย์มีความประมาทและขี้เกียจที่สุดโดยสันดาน


เห็นจะต้องทำความเข้าใจกับผู้อ่านต่อความกระจ่างที่ชื่อเรื่องของบทความของวันนี้สักเล็กน้อยว่าผู้เขียนหมายถึงอะไร? ชื่อของบทความเป็นความเข้าใจของผู้เขียนเอง และในที่นี้จะพูดถึงไอน์สไตน์กับศาสนาคริสต์เท่านั้น - ถูกหรือผิดโทษผู้เขียนคนเดียว - ที่เข้าใจว่าไอน์สไตน์ไม่ชอบพระเจ้า เพราะผู้เขียนเข้าใจเอาเองว่าที่ไม่ชอบเนื่องจาก หนึ่ง พระเจ้าลงโทษผู้ที่ตัวพระเจ้าเองเป็นผู้สร้างขึ้นมา แถมยังเป็น “คุณพ่อ” ด้วยได้อย่างไร? สอง พระเจ้าเป็นผู้ที่มีความเป็น “ส่วนตัว” (personal God) ที่ให้รางวัลหรือลงโทษผู้ทำความชอบหรือทำผิดเป็นบุคคลๆ หรือหากได้รับการขอร้องวิงวอนของแต่ละบุคคลได้อย่างไร?
ที่ต้องบอกเพราะเป็นเรื่องสำคัญเหลือเกิน แต่เรามักจะลืมหรือคิดว่าไม่สำคัญ คือ หนึ่ง เราต้องรู้ว่าธรรมชาตินั้นไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา ไม่เปลี่ยนไม่เสื่อมด้วยซ้ำถึงจะไม่เป็นธรรมดา อันนี้เป็นตรงกันข้ามกับสัตว์หรือ มนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่มีชีวิตอันเป็นนิสัยความเคยชิน (ขี้เกียจและประมาทอันเป็นธรรมชาติของสัตว์โลกที่ห้ามไม่ได้) นั่นคือสัตว์โลกที่เมื่ออิ่ม “จะต้องขี้เกียจและประมาท” สอง ความเชื่อกับความรู้ก็ต้องเปลี่ยนแปลงหรือวิวัฒนาการเป็นธรรมดาด้วย สาม มนุษย์จะต้องรู้ความจริง “ที่แท้จริง” ของสิ่งแวดล้อม ทั้งใกล้ - ไกล หรือรู้จักธรรมชาติของโลกของจักรวาลให้จงได้ และต้องรู้ทั้งหมดด้วย สัตว์โลกรวมทั้งมนุษย์มีเป้าหมายอันเดียวเท่านั้นคืออยู่ในโลกในจักรวาลสามมิติ (บวกหนึ่ง) นี้ให้รอดและปลอดภัย (existentialism)ไปจนตายตามธรรมชาติและมนุษย์เท่านั้น (สัตว์โลกไม่เกี่ยว) ก็มีเป้าหมายอย่างเดียวเท่านั้นคือการรู้ความจริงที่แท้จริง ซึ่งก็คือการเรียนรู้การสังเกตสำรวจวิจัยนั่นเอง ศาสนาก็คือการค้นหาความจริงครั้งแรกสุดของมนุษย์ซึ่งมีแต่ความเชื่อความศรัทธาอันเป็นประเด็นของจิตไร้สำนึกก่อนที่จะมีจิตสำนึกเป็นหัวหอก และมีประเพณีพิธีกรรมหรือวัฒนธรรมเป็นผู้ช่วย ส่วนความรู้ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์นั้นมาทีหลังเนิ่นนานนัก และอาศัยเหตุผลและคณิตศาสตร์ซึ่งเป็น “กาย” เป็นผู้ช่วยความเข้าใจ และที่สำคัญยิ่งก็คือทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีวิวัฒนาการหรือความก้าวหน้าสู่ความซับซ้อนยิ่งกว่าเสมอไป (นั่นหากเรามองตามลูกศรแห่งเวลาอันเป็นความจริงทางโลก ไม่ใช่ความจริงของธรรมชาติหรือจักรวาลที่อยู่ห่างไกลออกไปมากจริงๆ) สำหรับทางวิทยาศาสตร์นั้น ความจริงที่แท้จริงไม่แน่ว่าหรือคงไม่ใช่การเนรมิตสรรค์สร้างของพระเจ้าดังที่ศาสนาคริสต์คิด นักวิทยาศาสตร์คงจะพอใจที่จะเรียกว่ากฎทางฟิสิกส์ หรือกฎทางวิทยาศาสตร์มากกว่า - แทนที่จะเรียกว่าสัจธรรมความจริงที่แท้จริง - เพราะวิทยาศาสตร์ไม่มี “ทวิตา” จนกระทั่งเรามีควอนตัมฟิสิกส์แล้ว (duplex world of Heisenberg) ขึ้นมาทำให้ไอน์สไตน์ที่ไม่เชื่อพระเจ้าเหมือนกับคนทั่วไปอยู่แล้วพลอยไม่เชื่อพระเจ้าซึ่งเป็นแบบ “คุณพ่อ” (personal God) ไปด้วย จึงเสียหน้าไปเลย
อ่านเรื่องของวิทยาศาสตร์ - ซึ่งผู้เขียนเข้าใจเองว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับเทคโนโลยีที่คนส่วนใหญ่รวมทั้งคนไทยเข้าใจ เพราะดิกชันนารีภาษาอังกฤษก็แปลชุ่ยๆ เช่นนั้น - กับศาสนาซึ่งเขียนโดยบรรณาธิการวารสารทางวิทยาศาสตร์ดิสคัฟเวอรี่เมื่อเร็วๆ นี้  ที่ว่าอ่านนั้น จริงๆ เมียอ่านให้ฟังเพราะมองหนังสือยากมาก เกือบมองไม่เห็นแล้วคงต้องบอด แต่หวังว่าคงไม่สายเกินไป ศาสนาที่บางศาสนามีพระเจ้า เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม แต่บางศาสนาก็ไม่มี เช่น พุทธศาสนา ศาสนาเต๋า วิทยาศาสตร์ที่ว่าหมายถึงวิทยาศาสตร์กายภาพวัตถุนิยม หรือที่ผู้เขียนเชื่อว่าเป็นสิ่งเดียวกับแมตทีเรียลลิซึ่ม บรรณาธิการที่ว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่ที่ชื่อว่า คอรี พาวเวลล์ (Corey S. Powell) นั้น ได้เขียนว่า “ศาสนากับวิทยาศาสตร์คือความโง่เขลาเบาปัญญาของคนที่เอามาเปรียบเทียบกัน แต่ว่าคนก็ยังเอาไปเปรียบเทียบกันเรื่อยๆ” พาวเวลล์ได้กล่าวต่อไปที่มีใจความว่า วิทยาศาสตร์นั้นตั้งอยู่บนการสังเกตและพิสูจน์ โดยอวัยวะประสาทสัมผัส (sense organs) ซึ่งใช้ในการสังเกตนั้นๆ ในขณะที่ศาสนา (คริสต์) ใช้แต่เพียงความเชื่อศรัทธาแต่ประการเดียว (ซึ่งศาสนาพุทธบอกว่า ใช้การทำสมาธิ (ที่เป็นคนละเรื่องกับความเชื่อความศรัทธาซึ่งเป็นหัวหอกในการกระทำสิ่งใดๆ) สมาธินั้นจะต้องทำเป็นประจำ และจะต้องใช้เวลาที่ยาวนานมากๆ ถึงจะได้ intuition ที่เป็นปัจจัตตังๆ ไม่ใช่เชื่อศรัทธาดั่งคนตาบอด) แต่เมื่อเป็นความเชื่อที่คนส่วนมากคนที่เป็นคริสเตียนจะเข้าโบสถ์กันตั้งแต่ยังแบเบาะ (แบ็บติสมัล) ซึ่งปลูกฝังความเชื่อได้ง่าย จึงไม่ว่ากัน

ไอน์สไตน์นั้นชอบอ้างพระเจ้าบ่อยๆ เมื่อมีใครก็ตามพูดถึงควอนตัมแมคคานิกส์ นีลส์ บอห์ร พูดว่า “เลิกพูดถึงพระเจ้าที่จะทำอะไรก็ช่าง - เสียทีได้ไหม?” ไอน์สไตน์นั้นนับถือบารัก สปิโนซา นักปรัชญาว่าด้วยเหตุปัจจัยยิ่งนัก ผู้มีความเชื่อมั่นว่ากฎแห่งฟิสิกส์ก็คือกฎแห่งพระเจ้าเทวดา ไอน์สไตน์ถึงได้นับถือพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธองค์ก็บอกว่า สัจธรรมความจริง (Supreme Reality) ที่แท้จริง (หรือกฎทางฟิสิกส์) ก็คือ “ตถาตา” ไม่ใช่พระเจ้าพระบิดา - พ่อคนทั่วทั้งโลก (personal God or the Creator) จนนักคิดนักเขียนชาวเยอรมันบอกว่า “ไอน์สไตน์ผู้ไม่มีศาสนา แต่ทว่า “เป็นผู้ที่เคร่งศาสนา (แห่งจักรวาล) มากที่สุด และคงจะนับถือพุทธศาสนา หากได้รู้จักและเข้าใจพุทธศาสนาก่อนหน้านี้และมากกว่านี้” (Gerhard Staguhn : God S’ Laughter, 1994) จริงๆ แล้วหากจะพูดว่าเป็นสปิโนซากับไอน์สไตน์ที่ดึงทั้งสองศาสตร์ซึ่งต่างก็พยายามให้ความจริงที่แท้จริง -  และความหมายของการเกิดมาซึ่ง “ชีวิต” ซึ่งนีลส์ บอห์ร เป็นคนที่พูดเองว่า มองจักรวาลที่มีการเกิดกับการดับของดาวตลอดเวลา แล้วก็จะรู้ว่าชีวิตคนนั้นมีความหมายจริงๆ นั่น - เป็นคำพูดของนีลส์ บอห์ร แต่ผู้เขียนขอเสริมเติมต่อดังนี้ หนึ่ง ในพุทธศาสนานั้นพูดว่า อนิจจัง วัตสังขารา อุปาจารธัมมีโน....ที่ผู้เขียนขอแปลว่า ในโลกนี้จักรวาลอันเป็นวัฏสงสาร (หรือแหล่งที่มีการว่ายเวียนตายเกิด - เพราะกรรมเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งเดียว) นี้ ชีวิตต่างๆ ของสัตว์โลกที่รวมมนุษย์นั้นโดยธรรมชาติแล้วจะมีวิวัฒนาการกับการเปลี่ยนแปลงของจิตไปตลอดเวลา และความหมายของชีวิตจะกำหนดด้วยกรรมที่ได้ก่อในภพภูมินั้นๆ ไม่ใช่ความหมายของชีวิตนั้นจะจบในภพภูมิเดียว แต่จะต่อเนื่องเชื่อมโยงกันมากหลายภพภูมิทีเดียว และความตายจากชาติภพหนึ่งเดียวไม่ใช่การดับสูญทั้งหมดที่แท้จริง ความหมายจึงจะนับแต่ชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์ภพภูมิเดียวไม่ได้เพราะผิดพุทธศาสนา

นักคิดนักเขียนมากหลายทั้งที่เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักศาสนศาสตร์ได้พยายามดึงศาสตร์ทั้งสองศาสตร์เข้ามาหากัน โดยเฉพาะภายในสอง - สามทศวรรษหลังๆ มานี้ ทั้งนี้ นักคิดนักเขียนส่วนใหญ่เหล่านั้นคงจะลืมที่จะคิดว่าจักรวาลมีหน้าที่เพียงอย่างเดียวคือวิวัฒนาการให้สิ่งที่อยู่ในจักรวาลทั้งหลายทั้งปวงจะต้องมีวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงสู่ความซับซ้อนยิ่งกว่าก่อนที่จะล่มสลายดับสูญไปเพื่อการเกิดใหม่ ดังนั้นความเชื่อและความรู้ก็จะต้องมีวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงไปด้วย และความเชื่อกับศาสนาก็มีก่อนวิทยาศาสตร์และความรู้อันเป็นวิวัฒนาการของจิตรู้ไปตามสเปกตรัมของจิต ความคิดของนักคิดนักเขียนเหล่านั้นจึงไม่เป็นการยากที่จะมองเห็น นั่นคือ ทั้งสองศาสตร์ต่างก็อ้างว่าศาสตร์ของตนคือความจริงที่แท้จริงที่มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ต่างศาสตร์ก็ต่างมุ่งหวังที่จะให้อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อทางฝ่ายของตัว ซึ่งเป็นไปได้ยากเย็นแสนเข็ญยิ่งนักเพราะว่าทั้งสองศาสตร์เกิดต่างเวลากันมากดังกล่าวมาแล้ว วิทยาศาสตร์ใช้วิธีการสังเกตซ้ำๆ และตั้งอยู่บนความรู้และเหตุผล ในขณะที่ศาสนศาสตร์ใช้แต่ความเชื่อความศรัทธาและปาฏิหาริย์และช่วงวัยเมื่อยังเป็นเด็กๆ  เพราะฉะนั้นต่างฝ่ายต่างก็มีจุดอ่อนจุดแข็งจึงไม่ยอมกัน ไม่ว่าเป็นความงมงายเชื่อง่ายของศาสนศาสตร์ หรือความไม่คงที่แน่นอนของทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องเปลี่ยนแปลงทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์กายภาพวัตถุนิยมกันบ่อยๆ จริงๆ แล้ววิทยาศาสตร์กายภาพวัตถุนิยมเอง นักวิทยาศาสตร์กายภาพก็บอกว่าเป็นความจริงได้เพียง 98-99 % เท่านั้น ฉะนั้นวิทยาศาสตร์จึงหวังพึ่งควอนตัมแมคคานิกส์ที่แม้ว่ามีความไม่แน่นอนอยู่บาง (คลื่นของความเป็นไปได้) แต่นั่นก็เป็นความจริงที่แท้จริงของทฤษฎีที่รู้กันว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก คือ ต้องเป็นความจริงที่แท้จริงเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม (นั่นคือ ควอนตัมแมคคานิกส์เป็นความจริงมากกว่าวิทยาศาสตร์กายภาพวัตถุนิยมเป็นหมื่นเป็นแสนเท่า) 

ฉะนั้น ดังที่เล่าไปแล้วหลายหนในคอลัมน์นี้ว่า เมื่อวันที่ 26 เดือนพฤษภาคม ปี 1996 นักควอนตัมฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยโอเรกอน อมิต โกสวามี ได้รับเชิญให้ไปพูดเรื่องที่คล้ายๆ กับเรื่องนี้ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่เบิร์กเลย์ อมิต โกสวามี ได้กล่าวต่อหน้าอาจารย์และนักศึกษา 3,000 คนว่า ควอนตัมแมคคานิกส์บอกว่าในทางวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่แล้ว ศาสนศาสตร์ให้ความจริงแท้อย่างไม่มีข้อโต้แย้งสงสัยใดทั้งนั้น (in complete agreement)
ไม่รู้ว่าที่เล่ามานั้น จะเกี่ยวอะไรกับไอน์สไตน์หรือไม่?

http://www.thaipost.net/sunday/170411/37227
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...