ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : เส้นทางที่จิตวิวัฒนาการ  (อ่าน 1560 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ก่อนอื่นเราจะต้องรู้ปรัชญาทางศาสนาตะวันออกว่าด้วยความจริง โดยเฉพาะพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเวดิคหรือลัทธิพระเวทสักเล็กน้อยว่าความจริงตามลัทธิความเชื่อทางตะวันออกที่พัฒนาต่อมาเป็นศาสนานั้น มันมีอยู่ 2 ความจริง คือ ความจริงทางโลก กับความจริงทางธรรม หรือความจริงที่แท้จริง ภายหลังความรู้ทางตะวันตกได้แพร่สะพัดและเป็นที่ยอมรับทั่วทั้งโลกเท่านั้นที่ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว คือเท่าที่ตาเห็นตรงกับความเชื่อโบราณของกรีซที่บอกว่า  ที่แรกมีเพียง 2 สิ่ง 2 อย่างเท่านั้น คือ วัตถุกับอากาศ และการมี 2 วัฒนธรรม -  ตะวันตกกับตะวันออก - ของเรานั่นเองที่ก่อให้เกิดความแตกแยกทางความรู้และความเข้าใจ จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ เพราะควอนตัมเม็คคานิกส์เป็นส่วนใหญ่  อย่างไรก็ตาม แม้ว่าควอนตัมฟิสิกส์ได้รับการยอมรับที่เร็วมากๆ จากนักวิทยาศาสตร์บ้าง แต่ก็คงมีการยอมรับกันในเฉพาะระหว่างนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าหรือนักฟิสิกส์เท่านั้น ส่วนนักวิชาการทั่วไปและสาธารณชนส่วนใหญ่มักไม่อ่านไม่ติดตาม เพราเหตุผล 3 ประการ คือ 1.วิทยาศาสตร์มีมานานร่วม 500 ปี  (ฟิสิกส์) และยอมรับว่าเป็นความจริง (ทางตะวันตกยังคงมีความจริงเพียงอย่างเดียวคือเท่าที่ตามองเห็น ซึ่งสนับสนุนด้วยวิทยาศาสตร์ จึงเป็นความจริงที่มีอย่างเดียวสำหรับสาธารณชน 2.สิ่งประดิษฐ์คิดค้นขึ้น หรือเทคโนโลยีให้คุณภาพชีวิตมนุษย์ได้จริงๆ 3.มนุษย์เชื่อหรือไม่เชื่อเพราะสมอง (wiring) ถ้าหากเชื่อแล้วยากกว่าที่สมองจะเปลี่ยน (unwired)

จักรวาลมีหน้าที่อันเดียวคือวิวัฒนาการของทุกสิ่งที่ก่อประกอบเป็นจักรวาลนั้น ความรู้ที่ใช้ๆ กันอาจบอกว่าวิวัฒนาการคือการเปลี่ยนแปลงอย่างมีระบบที่แน่นอน ซึ่งจะมี 2 ส่วน คือ เจริญเติบโตและซับซ้อนขึ้น กับเสื่อมและสลายลงจนดับไป

ทั้งพูดทั้งเขียนตามชื่อเรื่องของบทความวันนี้ แต่นึกไม่ออกจริงๆ ว่าได้เขียนเรื่องนี้ในรายละเอียดแต่เมื่อไหร่และที่ไหน นั่น-หมายถึงเขียนอย่างเป็นระบบเป็นกิจจะลักษณะที่อธิบายวิวัฒนาการของจิตที่ผู้เขียนใช้บ่อยๆ นั้นจริงๆ  แล้วคืออะไร? ในทำนองเดียวกัน ก็ได้พูดถึงสเปกตรัมของจิต (spectrum of  consciousness) มาตลอด และพูดถึงวิวัฒนาการของสิ่งที่อยู่ในจักรวาลแห่งนี้มาตลอด แต่ไม่ได้บอกว่ามันคืออะไร? และทำไม? ถึงต้องรู้ด้วย ซึ่งที่พูดมาเหมือนกับว่าผู้อ่านรู้เรื่องจิตดีกระนั้น ซึ่งหากไม่แปลกก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร? นอกจากนี้ ที่อยากจะเล่าในบทความนี้คืออยากจะเล่าถึงความก้าวหน้าของวิทยาการ เผื่อว่าคนที่ไม่รู้หรือไม่ได้ติดตามวิทยาศาสตร์ประจำ โดยเฉพาะจักรวาลวิทยาใหม่จะได้รู้ว่าวิทยาศาสตร์แนวหน้าใหม่ๆ ไปกันถึงไหนแล้ว? (frontier sciences) หรือได้พิสูจน์ศาสนามาเรื่อยๆ อย่างไร? ผู้อื่นผู้เขียนไม่รู้ แต่ผู้เขียนที่ได้ติดตามวิทยาศาสตร์แนวหน้าที่ว่านี้แล้ว รู้สึกแปลกใจมากใน 2 ประการ คือ 1.มีผู้ที่ติดตามอ่านความก้าวหน้าทางวิชาการแท้ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่อาจเรียกว่าน้อยที่สุดในโลกก็ว่าได้ รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ของไทยเอง 2.วิทยาศาสตร์แนวหน้าที่ว่านี้ในความเห็นส่วนตัวได้ค่อยๆ พิสูจน์ประเด็นต่างๆ ของพุทธศาสนาทีละประเด็นๆ มาเรื่อยๆ เป็นต้นว่า วารสารดิสคัฟเวอรี่ฉบับปีนี้เองได้ลงภาพถ่ายจักรวาลที่มีมาก่อนหน้าจักรวาลของเรา ที่กล่าวมานั้นมีความสำคัญกับพุทธศาสนา เพราะพุทธศาสนายืนยันตามลัทธิพระเวทว่ามันไม่มีหรอกเอกภพนั่น  จักรวาลมีจำนวนที่ไม่มีวันจบสิ้น (นะ อันโต นะชาติ) ดังนั้น องค์ทะไล ลามะ ถึงได้พูดว่าไม่มีบิ๊กแบ็งครั้งเดียวจบ มันมีแต่บิ๊กแบ็งๆ ไปเรื่อยๆๆ หากเป็นจริงตามนั้นนั่นคือข้อพิสูจน์ว่าจักรวาลมีจำนวนที่ไม่สิ้นสุดตามที่พุทธศาสนาและจักรวาลวิทยาใหม่ที่มีอายุไม่ถึง 10 ปี นั่น - ก็เป็นเช่นเดียวกับฟิสิกส์ใหม่ควอนตัมเม็คคานิกส์ที่ตามพิสูจน์ความจริงทางพุทธศาสนา เช่นเดียวกับทางพุทธศาสนาไม่พูดว่ามีพระเจ้า พระบิดา และผู้สร้าง พุทธศาสนาถึงบอกตลอดมาว่า  จริงแล้วไม่มีพระบิดา คนทั้งโลกเป็นผู้สร้างสวรรค์ (จักรวาล) ผู้สร้างโลก ผู้สร้างแสงสว่าง ผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่งหรอก มันคือธรรมชาติที่หยาบที่มองเห็น  กับธรรมชาติที่ละเอียดสุดๆ ที่ไม่มีทางมองเห็น จึงเรียกทั้ง 2 ว่า “ธรรมะ” ส่วนใครจะเรียกธรรมชาติที่ละเอียดสุดๆ ที่ไม่มีทางจะเห็นว่าพระเจ้าก็ว่าไป ลัทธิพระเวทมีทั้งพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระอินทร์ ฯลฯ (ซึ่งก็คือพระเจ้าหนึ่งเดียวกัน เดเวสวา เอกา สัต มันจึงอยู่ที่คุณสมบัติหรือหน้าที่ สุดแท้แต่ใครจะเลือกบูชาหน้าที่ใด พระเจ้าองค์ไหน) วิทยาศาสตร์ก็ได้ค้นพบข้อพิสูจน์พุทธศาสนาก็ว่าได้ (self-organiziing system) หรือพิสูจน์ความเป็น 2 (dualism)  ความจริงทางโลกและความจริงทางธรรม (duplex world of Heisenberg)   

  เช่นเดียวกับที่ผู้เขียนตอนเขียนใหม่ๆ ที่รู้สึกประหลาดใจที่อะไรก็ตามที่พุทธศาสนาบอกหรือศาสนาใดก็ได้ (ถ้าหากรู้) พูดถึง และถ้าหากผู้เขียนสามารถตีความได้ว่าเป็นความจริงที่แท้จริง โดยผู้เขียนไม่มีข้อสงสัยกังขาเลย  เช่น ในศาสนาคริสต์ในบทเจเนสิส คนต่างศาสนาจะไม่สนใจหรือละเลยในคำในศาสนาคริสต์ เพราะ “ไม่ใช่ศาสนากู” ส่วนนักวิทยาศาสตร์วัตถุนิยมมักจะละเลย  เพราะว่า “มันไม่ใช่วิทยาศาสตร์” บางคนยังใช้นิสัยความเคยชินโดยหาว่างมงายไร้สาระด้วยซ้ำไป ส่วนผู้เขียนสามารถ “ตีความ” และเข้าใจได้สบายมาก เช่น คำว่าทีแรกไม่มีอะไรเลย นอกจากความว่างเปล่า (void) และความมืด...” หรือ “ลมของพระเจ้ากวาดพื้นน้ำที่ลึก...กระแส” หรือ “พระเจ้าต้องการแสง...จึงแยกตัวออกจากความมืด...” หรือกอสเปลของจอห์นที่แปลว่า “ทีแรกก็ไม่มีอะไรเลยนอกจากความว่างเปล่า ทันใดนั้นก็มีเสียง...เป็นเสียงของพระเจ้า เสียงคือพระเจ้า...”   ฯลฯ ซึ่งผู้เขียนคิดว่า ใครก็ตามที่รู้จักควอนตัมฟิสิกส์ รู้จักทฤษฎีซูเปอร์สตริงเล็กน้อย และอาศัยจินตนาการบ้างก็คงไม่ยากที่จะมองเห็น



เสียดายและเสียใจที่มนุษย์เรา - ส่วนใหญ่มากๆ - จากอีโก้อหังการที่บ้าและหลงใหลแต่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกายภาพวัตถุนิยม กับเงิน เงินและเงิน จนอาจจะพูดได้ว่ามันคือความสุขที่แท้จริง เพราะไม่รู้ว่าความสุขที่แท้จริง -  ความสุขทางจิตใจที่นำด้วยความปีติปราโมทย์ หรือความอิ่มเอิบของจิตใจที่รู้สึกทั่วสรรพางค์กายที่มาอย่างกะทันหันทันด่วน (bliss) - เป็นอย่างไร? เพราะส่วนใหญ่มากๆ รู้แค่นั้น และให้ความสำคัญและจำเป็นกับมันอย่างที่สุด จึงมักไม่ได้ติดตามวิทยาศาสตร์แนวหน้าใหม่ๆ อะไรเลย โดยถือว่าเป็นเรื่องไกลตัว และอย่าว่าแต่วิทยาศาสตร์เลยแม้แต่ศาสนาตัวเองก็ยังไม่รู้จักดีเลย นับประสาอะไรกับศาสนาอื่นๆ และมนุษย์ทั่วทั้งโลกโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาใหม่ๆ ของเอเชียได้ทราบ (ไม่ยืนยัน) ว่าในทุกวันนี้มีประชาชนของตนเป็นจำนวนมากเหลือเกินที่ไม่มีศาสนา คนเหล่านี้จึงไม่เชื่อเรื่องจิตวิญญาณ (spirituality) ไม่เชื่อกระทั่งว่ามีจิตจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิทยาศาสตร์กายภาพวัตถุนิยมหรือแม็ตทีเรียลลิสติก นักนิยมวัตถุจ๋าๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 70-80% และนี่คือตัวอันตราย เพราะว่าดังได้กล่าวมาแล้ว คนเหล่านี้ไม่มีทางที่จะละเลยศาสนาและศีลธรรม (morality) จริยธรรม อย่างดีคนเหล่านี้ก็จะคงไว้ซึ่งความยุติธรรมและมนุษยธรรมอย่างที่ชวนชื่อว่า “เมื่อเต๋าจากไป โลกจะคงเหลือแต่จริยธรรมและศีลธรรมอยู่บ้าง แต่หากศีลธรรมจริยธรรมจากไป โลกก็เหลือแต่ความยุติธรรม  (รัฐธรรมนูญ)” ที่ต่ำที่สุด และหลงใหลไปกับระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่ทั่วทั้งโลกใช้ หลงใหลอยู่กับเงิน เงินและเงินอันเป็นเป้าหมายแห่งโลกียกาม

กลับมาที่บทความนี้ กลับมาที่เรื่องวิทยาศาสตร์ได้ตามพิสูจน์ศาสนาโดยเฉพาะพุทธศาสนา ฉะนั้นบทความนี้ที่พูดถึงวิวัฒนาการของจิตไปตามสเปกตรัม (รู้หรือจิตสำนึกที่บริหารโดยสมอง เพราะฉะนั้นการรู้หรือ cognition  จึงเป็นเช่นความรู้ หรือ knowledge ที่เป็นรูปกาย) จริงๆ แล้ววิวัฒนาการของจิตรู้หรือจิตสำนึกในศาสนาพุทธแตกต่างจากความรู้ที่เราเรียนกันทุกวันนี้ อันเป็นความรู้ของฝรั่งตะวันตกที่จิตรู้หรือจิตสำนึกเป็นจิต (mind or mental) ที่ผ่านการบริหารจิตจักรวาลหรือจิตไร้สำนึก ซึ่งลัทธิพระเวท ศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธถือว่าเป็นจิตปฐมภูมิจริงๆ เรื่องจิตจึงเป็นเรื่องยาก เพราะการตีกันของความรู้ (ฝรั่ง) ที่เราใช้ทั่วทั้งโลกในปัจจุบันกับลัทธิพระเวทกว่า 4,500 ปี ถึงได้มีคำว่าคอนเชียสเนสที่แปลว่าจิตและจิตรู้ (consciousness) ผู้เขียนเท่าที่อ่านมาก็เห็นแต่ คาร์ล ซี. จุง เท่านั้นที่เขียนถึงจิตไร้สำนึก (ปฐมภูมิ) ร่วมจักรวาล  (universal unconscious continuum) และจิตไร้สำนึกร่วมจักรวาลนี้เองที่ คาร์ล  ซี. จุง บอกว่าสามารถที่จะจำได้ รู้ได้ (unconsciousness cognition) โดยไม่ต้องการบริหารจากสมองและที่สมอง ผู้เขียนคิดว่าจิตวิทยาก็เป็นวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง แม้ว่าแม็ตทีเรียลลิสต์จะไม่ยอมรับเรื่องจิต แต่แม็ตทีเรียลลิสต์และเทคโนโลยีวัตถุนิยมก็ไม่ใช่จะอยู่ค้ำฟ้า แม้ว่ากำลังฮือฮาอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาหรือพัฒนาใหม่ๆ ของเอเชีย ดังนั้นจิตวิทยาในฐานะเป็นวิทยาศาสตร์ก็ตามพิสูจน์ศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนาด้วย ปรัชญาอินเดียโบราณชื่อสังฆียะและศาสนาพุทธจึงมีส่วนถูก ถ้าหากคาร์ล ซี. จุง ปรัชญาสังฆียะและพุทธศาสนาถูก ชีวิตเป็นแค่หัวข้อหนึ่งของสายโซ่ที่ยาวไม่รู้จบจนกว่าได้นิพพาน แม้ ระหว่างมีชีวิตอยู่ กำลังจะตาย ตายแล้ว ช่วงระหว่างการเกิด (ใหม่) พุทธศาสนาของทิเบตก็บอกว่า ช่วงเวลานั้นคือห่วงข้อหนึ่งของโซ่นั้นๆ (บาร์โด) คนเราจึงไม่ตายทั้งหมด จิตไร้สำนึกของจักรวาลไม่ตายและยังรู้ทั้งหมดได้ด้วย แต่เป็นการรู้เฉพาะในปรภพ

วิวัฒนาการทางจิตตามสเปกตรัมนั้นคือการบริหารจิตไร้สำนึกจักรวาลที่สมองให้เป็นจิตรู้หรือ “ตัวรู้” นั่นคือ จิตสำนึกที่พุทธศาสนาเรียกว่าวิญญาณขันธ์  ซึ่งต่างจากวิญญาณที่แท้จริงอันเป็นความจริงที่เป็นปรมัตถ์ หรือคือนิพพานนั่นเอง นั่นคือความจริงทางธรรมอันสมบูรณ์ยิ่ง วิวัฒนาการทางจิตเพื่อให้ตัวรู้  “วิญญาณ” ที่สูงยิ่งกว่าสิ่งใดนี้คือเป้าหมายของพุทธศาสนาที่สัตว์โลกและมนุษย์ทุกคนจะต้องไปถึงแม้จะนานถึงอสงไขยชาติ เกิดแล้วเกิดอีก ตายแล้วตายอีก  แทบไม่รู้จบ เพียงต่ำกว่าอินฟินิตี้เวียนว่ายตายเกิดในจักรวาลแล้วจักรวาลเล่าไปทำไม? เมื่อทางจะไปถึงฝั่งได้เร็วกว่านี้? วิวัฒนาการทางจิต “เพื่อที่จะได้พ้นทุกข์แห่งวัฏสงสาร และมีปัญญาอย่างแท้จริง (เหนือกว่า  intelligence มากนัก)”  นักจิตวิทยาซึ่งในปัจจุบัน ส่วนไม่น้อยเป็นนักฟิสิกส์ด้วย มักคิดว่าวิวัฒนาการทางจิต (สู่จิตรู้ สู่จิตวิญญาณ (ที่มี 4 ระดับขั้น - psychic subtle causal และสู่  non-dual ตัวรู้หรือจิตสำนึกหรือวิญญาณขันธ์ในพุทธศาสนา ทำให้ความรู้ทางตะวันตกมีแค่ 5 อวัยวะประสาทสัมผัส (sense organs) ในขณะที่ความรู้ทางตะวันออกเรามี 6 อวัยวะสัมผัส โดยเพิ่ม “จิตใจ” ด้วย และระดับ non-dual ซึ่งความเป็น 2 (Dualism) จะอันตรธานหายไป เพราะว่าจะเหลือความจริงเพียงหนึ่งเดียว นั่นคือภาวะตรัสรู้นิพพานอันเป็นประดุจแสงอันใสกระจ่างนิรันดร.

http://www.thaipost.net/sunday/240411/37550
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...