ผู้เขียน หัวข้อ: บทสวดพุทธมนต์พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ (เเปล)  (อ่าน 3388 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
บทสวดพุทธมนต์พระธรรม ๗ คัมภีร์ (เเปล)

พระสังคิณี
กุสะลา ธัมมา,
ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล,
อะกุสะลา ธัมมา,
ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล,
อัพ๎ยากะตา ธัมมา,
ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต,

กะตะเม ธัมมา กุสะลา,
ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล,
ยัส๎มิง สะมะเย,
ในสมัยใด,
กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติ,
กามาวจรกุศลจิต ที่สหรคต ด้วยโสมนัส,
โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะ สัมปะยุตตัง,
สัมปยุตด้วยญาณเกิดขึ้นปรารภอารมณ์ใดๆ,

รูปารัมมะณัง วา,
จะเป็นรูปารมณ์ก็ดี, (รูป)
สัททารัมมะณัง วา,
สัททารมณ์ก็ดี, (เสียง)
คันธารัมมะณัง วา,
คันธารมณ์ก็ดี, (กลิ่น)
ระสารัมมะณัง วา,
ระสารมณ์ก็ดี, (รส)
โผฏฐัพพารัมมะณัง วา,
โผฏฐัพพารมณ์ก็ดี, (สัมผัส)
ธัมมารัมมะณัง วา ยัง ยัง วาปะนารัพภะ,
ธรรมารมณ์ก็ดี,

ตัส๎มิง สะมะเย ผัสโส โหติ,
ในสมัยนั้น ผัสสะความฟุ้งซ่านย่อมมี,
อะวิกเขโป โหติ,
อีกอย่างหนึ่ง ในสมัยนั้นธรรมเหล่าใด,
เยวาปะนะตัส๎มิง สะมะเย,
แม้อื่นมีอยู่ เป็นธรรมที่ไม่มีรูป,
อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะ สะมุปปันนา อะรูปิโน ธัมมา อิเม ธัมมา กุสะลา.
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล.

พระวิภังค์
ปัญจักขันธา, ขันธ์ ๕ คือ,
รูปักขันโธ, รูปขันธ์,
เวทะนากขันโธ, เวทนาขันธ์,
สัญญากขันโธ, สัญญาขันธ์,
สังขารักขันโธ, สังขารขันธ์,
วิญญาณักขันโธ, วิญญาณขันธ์,

ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ, บรรดาขันธ์ทั้งหมด รูปขันธ์เป็นอย่างไร,
ยังกิญจิ รูปัง, รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง,
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง, ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน,
อัชฌัตตัง วา, ภายในก็ตาม,
พะหิทธา วา, ภายนอกก็ตาม,
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม,
หีนังวา ปะณีตังวา, เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม,
ยัง ทูเรวา สันติเกวา, อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม,
ตะเทกัชฌัง อะภิสัญญู หิต๎วา อะภิสังขิปิต๎วา, ย่นกล่าวรวมกัน,
อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ.เรียกว่ารูปขันธ์.

พระธาตุกะถา
สังคะโห อะสังคะโห,
การสงเคราะห์ การไม่สงเคราะห์ คือ,
สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง,
สิ่งที่ไม่ให้สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์แล้ว,
อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง,
สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,
สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง,
สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ได้,
อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง,
สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,
สัมปะโยโค วิปปะโยโค,
การอยู่ด้วยกัน การพลัดพราก คือ,
สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง,
การพลัดพรากจากสิ่งที่อยู่ด้วยกัน,
วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง อะสังคะหิตัง.
การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไป, จัดเป็นสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้.

พระปุคคลบัญญัตติ
ฉะ ปัญญัตติโย,
บัญญัติ ๖ คือ,
ขันธะปัญญัตติ,
ขันธ์บัญญัติ,
อายะตะนะปัญญัตติ,
อายตนบัญญัติ,
ธาตุปัญญัตติ,
ธาตุบัญญัติ,
สัจจะปัญญัตติ,
สัจจะบัญญัติ,
อินท๎รียะปัญญัตติ,
อินทรีย์บัญญัติ,
ปุคคะละปัญญัตติ,
บุคคลบัญญัติ,
กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ,
บุคคลบัญญัติของบุคคลมีเท่าไร,
สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต,
มีการพ้นจากสิ่งที่ควรรู้, การพ้นจากสิ่งที่ไม่ควรรู้,
กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม,
ผู้มีธรรมที่กำเริบได้, ผู้มีธรรมที่กำเริบไม่ได้,
ปะริหานะ ธัมโม อะปะริหานะ ธัมโม,
ผู้มีธรรมที่เสื่อมได้, ผู้มีธรรมที่เสื่อมไม่ได้,
เจตะนา ภัพโพ อะนุรักขะนา ภัพโพ,
ผู้มีธรรมที่ควรแก่เจตนา, ผู้มีธรรมที่ควรแก่การรักษา,
ปุถุชชะโน โคต๎ระภู,
ผู้เป็นปุถุชน ผู้รู้ตระกูลโคตร,
ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต,
ผู้เข้าถึงภัย, ผู้เข้าถึงอภัย,
ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน,
ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ควร, ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ไม่ควร,
นิยะโต อะนิยะโต,
ผู้เที่ยง ผู้ไม่เที่ยง,
ปะฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต,
ผู้ปฏิบัติ ผู้ตั้งอยู่ในผล,
อะระหา อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน.
ผู้เป็นพระอรหันต์, ผู้ปฎิบัติเพื่อพระอรหันต์.

พระกถาวัตถุ
ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะ ปะระมัตเถนาติ,
(ถามว่า) ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายที่แท้จริงหรือ,
อามันตา โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล,
(ตอบ) เออ! ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือ โดยความหมายที่แท้จริง,
อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะ ปะระมัตเถนาติ,
(ถามว่า) ปรมัตถ์ คือความ หมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ?
นะ เหวัง วัตตัพเพ อาชา นาหิ นิคคะหัง,
(ตอบ)ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนี้, ท่านจงรู้นิคคะหะเถิด, ถ้าท่าน ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์,
หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะเร วัตตัพเพ,
คือโดยความหมายอันแท้จริงแล้ว, ท่านก็ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่าปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์คือโดยความหมายอันแท้จริงนั้น,
โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล, อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะ ปะระมัตเถ นาติ มิจฉา.
คำตอบของท่าน ที่ว่าปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นจึงผิด.

พระยมก
เยเกจิ กุสะลา ธัมมา,
ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล,
สัพเพเต กุสะละ มูลา,
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล,
เย วา ปะนะ กุสะละมูลา,
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใด มีกุศลเป็นมูล,
สัพเพเต ธัมมา กุสะลา,
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดก็เป็นกุศล,
เย เกจิกุสะลา ธัมมา,
ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล,
สัพเพเต กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา,
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีอันเดียวกับธรรมที่มีกุศลเป็นมูล,
เย วา ปะนะ กุสะละ มูเลนะ เอกะมูลา,
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่เป็นกุศล,
สัพเพเต ธัมมา กุสะลา.
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล.

พระมหาปัฏฐาน
เหตุปัจจะโย,
ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย,
อารัมมะณะปัจจะโย,
ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย,
อะธิปะติปัจจะโย,
ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย,
อะนันตะระปัจจะโย,
ธรรมที่มีปัจจัยหาที่สุดมิได้,

สะมะนันตะระปัจจะโย,
ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน,
สะหะชาตะปัจจะโย,
ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย,
อัญญะมัญญะปัจจะโย,
ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน,
นิสสะยะปัจจะโย,
ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย,

อุปะนิสสะยะปัจจะโย,
ธรรมที่มีอุปนิสัยเป็นปัจจัย,
ปุเรชาตะปัจจะโย,
ธรรมที่มีธรรมเกิดก่อนเป็นปัจจัย,
ปัจฉาชาตะปัจจะโย,
ธรรมที่มีธรรมเกิดภายหลังเป็นปัจจัย,
อาเสวะนะปัจจะโย,
ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย,

กัมมะปัจจะโย,
ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย,
วิปากะปัจจะโย,
ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย,
อาหาระปัจจะโย,
ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย,
อินท๎รียะปัจจะโย,
ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย,

ฌานะปัจจะโย,
ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย,
มัคคะปัจจะโย,
ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย,
สัมปะยุตตะปัจจะโย,
ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย,
วิปปะยุตตะปัจจะโย,
ธรรมที่มีการไม่ประกอบเป็นปัจจัย,

อัตถิปัจจะโย,
ธรรมที่มีปัจจัย,
นัตถิปัจจะโย,
ธรรมที่ไม่มีปัจจัย,
วิคะตะปัจจะโย,
ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย,
อะวิคะตะปัจจะโย.
ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย.

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดพุทธมนต์พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ (เเปล)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 16, 2011, 02:25:55 pm »
คำชักบังสุกุลตาย
อะนิจจา วะตะสังขารา,
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ,
อุปปาทะวะยะธัมมิโน,
มีอันเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา,

อุปปัชชิต๎วา นิรุชฌันติ,
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป,
เตสัง วูปะสะโม สุโข,
ความเข้าไประงับแห่งสังขารทั้งหลายเหล่านั้นเป็นสุข,
สัพเพ สัตตา มะรันติ จะ,
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่ตายอยู่ก็ดี,

มะริงสุ จะ มะริสสะเร,
และที่จะตายไปอีกก็ดี, ที่ตายไปแล้วก็ดี,
ตะเถวาหัง มะริสสามิ,
เราก็จะเป็นเช่นกับพวกท่านทั้งหลาย,
นัตถิ เม เอตถะ สังสะโย.
เราไม่สงสัยในความตายของเราเลย.

คำชักบังสุกุลเป็น
อะจิรัง วะตะยัง กาโย,
กายนี้มันไม่นานหนอ,
ปะฐะวิง อะธิเสสสะติ,
จักนอนทับซึ่งแผ่นดิน,
ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโณ,
มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งเสียแล้ว,
นิรัตถัง วะกะลิง คะรัง.
ราวกับว่าท่อนฟืนไม่มีประโยชน์.

บทสวด ธัมมะสังคิณีมาติกา พร้อมคำแปล
ธัมมะสังคิณีมาติกา
(หันทะ มะยัง ธัมมะสังคิณีมาติกะคาถาโย ภะณามะ เส)

กุสะลา ธัมมา, ธรรมที่เป็นกุศล ก็มี
อะกุสะลา ธัมมา, ธรรมที่เป็นอกุศล ก็มี
อัพยากะตา ธัมมา, ธรรมไม่เป็นทั้งกุศลและอกุศลก็มี
สุขายะ เวทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา, ธรรมที่ประกอบด้วยความรู้สึกเป็นสุขก็มี
ทุกขายะ เวทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา, ธรรมที่ประ กอบด้วยความรู้สึกเป็นทุกข์ ก็มี
อะทุกขะมะสุขายะ เวทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา, ธรรมที่ประกอบด้วยความ รู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ ก็มี

วิปากา ธัมมา, ธรรมที่เป็นผล ก็มี
วิปากะธัมมะ ธัมมา, ธรรมที่เป็นเหตุแห่งผล ก็มี
เนวะวิปากะนะวิปากะ ธัมมะ ธัมมา, ธรรมที่ทั้งไม่เป็นผลและไม่เป็นเหตุแห่งผล ก็มี
อุปาทิน นุปาทานิยา ธัมมา, ธรรมที่ถูกยึดมั่น และเป็นที่แห่งความยึดมั่น ก็มี
อะนุปาทินนุปาทานิยา ธัมมา, ธรรมที่ไม่ถูกยึดมั่น แต่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น ก็มี
อะนุปาทินนานุปาทานิยาธัมมา, ธรรมที่ทั้งไม่ถูกยึดมั่นและไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น ก็มี

สังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมา, ธรรมที่เศร้าหมองและเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมองได้ ก็มี
อะสังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมา,ธรรมที่ไม่เศร้าหมองแต่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมองได้ ก็มี,
อะสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกา ธัมมา, ธรรมที่ทั้งไม่เศร้าหมองและไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมองได้ ก็มี
สะวิตักกะสะวิจารา ธัมมา, ธรรมที่มีวิตก คือความตรึกและมีวิจาร คือความตรอง ก็มี
อะวิตักกะวิจาระมัตตา ธัมมา, ธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกมีแต่วิจาร ก็มี
อวิตักกาวิจารา ธัมมา, ธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ก็มี

ปีติสะหะคะตา ธัมมา, ธรรมที่เป็นไปพร้อมกับความเอิบอิ่มใจ ก็มี
สุขะสะหะคะตา ธัมมา, ธรรมที่เป็นไปพร้อมกับความสุขก็มี
อุเปกขาสะหะคะตา ธัมมา, ธรรมที่เป็นไปพร้อมกับความวางเฉยก็มี
ทัสสะเนนะปะหาตัพพา ธัมมา, ธรรมที่พึงละด้วยทัศนะก็มี
ภาวะนายะ ปะหาตัพพา ธัมมา, ธรรมที่พึงละด้วยภาวนาก็มี
เนวะ ทัสสะเนนะ นะ ภาวะนายะปะหาตัพพา ธัมมา, ธรรมที่ละไม่ได้ทั้งด้วยทัศนะ และด้วยภาวนา ก็มี
ทัสสะเนนะ ปะหาตัพพะเหตุกา ธัมมา, ธรรมมีสาเหตุที่พึงละด้วยทัศนะก็มี
ภาวะนายะ ปะหาตัพพะเหตุกา ธัมมา, ธรรมมีสาเหตุที่พึงละด้วยภาวนาก็มี
เนวะ ทัสสะเนนะ นะ ภาวะนายะ ปะหาตัพพะ เหตุกา ธัมมา, ธรรมมีสาเหตุที่ละมิได้ด้วยทัศนะและมิได้ด้วยภาวนาก็มี,

อาจะยะคามิโน ธัมมา, ธรรมที่นำไปสู่การสั่งสม ก็มี
อะปะจะยะคามิโน ธัมมา, ธรรมที่นำไปสู่ความปราศจากการสั่งสม ก็มี
เนวาจะยะคามิโน นาปะจะยะคามิโน ธัมมา, ธรรมที่ไม่นำไปทั้งสู่การสั่งสม และสู่ความปราศจากการสั่งสมก็มี,

เสกขา ธัมมา, ธรรมที่เป็นของอริยบุคคลผู้ยัง ต้องศึกษาอยู่ ก็มี
อะเสกขา ธัมมา, ธรรมที่เป็นของผู้บรรลุอรหัตผล ซึ่งไม่ต้องศึกษาแล้ว ก็มี,
เนวะเสกขา นาเสกขา ธัมมา, ธรรมที่ไม่เป็นทั้งของผู้ยังต้องศึกษาและผู้ไม่ต้องศึกษาก็มี

ปะริตตา ธัมมา, ธรรมที่ยังเล็กน้อย ก็มี
มะหัคคะตา ธัมมา, ธรรมที่ถึงภาวะใหญ่แล้วก็มี
อัปปะมาณา ธัมมา, ธรรมที่ประมาณมิได้ ก็มี
ปะริตตารัมมะณา ธัมมา, ธรรมที่มีสภาวะที่ยังเล็กน้อยเป็นอารมณ์ ก็มี
มะหัคคะตารัมมะณา ธัมมา, ธรรมที่มีสภาวะที่ถึงภาวะใหญ่แล้วเป็นอารมณ์ก็มี
อัปปะมาณารัมมะณา ธัมมา, ธรรมที่มีสภาวะอันประมาณมิได้เป็นอารมณ์ ก็มี
หีนา ธัมมา, ธรรมอย่างทราม ก็มี
มัชฌิมา ธัมมา, ธรรมอย่างกลาง ก็มี
ปะณีตา ธัมมา, ธรรมอย่างประณีต ก็มี
มิจฉัตตะนิยะตา ธัมมา, ธรรมที่แน่นอน ฝ่ายผิดก็มี
สัมมัตตะนิยะตา ธัมมา, ธรรมที่แน่นอนฝ่ายถูก ก็มี
อะนิยะตา ธัมมา, ธรรมที่ไม่แน่นอน ก็มี
มัคคารัมมะณา ธัมมา, ธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี
มัคคะเหตุกา ธัมมา, ธรรมที่มีมรรคเป็นเหตุ ก็มี
มัคคาธิปะติโน ธัมมา, ธรรมที่มีมรรคเป็นประธานก็มี

อุปปันนา ธัมมา, ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็มี
อะนุปปันนา ธัมมา, ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็มี
อุปปาทิโน ธัมมา, ธรรมที่จักเกิดขึ้น ก็มี
อะตีตา ธัมมา, ธรรมที่เป็นอดีต ก็มี
อะนาคะตา ธัมมา, ธรรมที่เป็นอนาคต ก็มี
ปัจจุปปันนา ธัมมา, ธรรมที่เป็นปัจจุบันก็มี
อะตีตา รัมมะณา ธัมมา, ธรรมที่มีอดีตเป็นอารมณ์ก็มี
อะนาคะตารัมมะณา ธัมมา,ธรรมที่มีอนาคตเป็นอารมณ์ก็มี
ปัจจุปปันนารัมมะณา ธัมมา, ธรรมที่มีปัจจุบันเป็นารมณ์ก็มี
อัชฌัตตา ธัมมา, ธรรมภายใน ก็มี
พะหิทธา ธัมมา, ธรรมภายนอก ก็มี
อัชฌัตตะพะหิทธา ธัมมา, ธรรมทั้งภายในและภายนอกก็มี
อัชฌัตตา รัมมะณา ธัมมา, ธรรมที่มีสภาวะภายในเป็นอารมณ์ ก็มี
พะหิทธา รัมมะณา ธัมมา, ธรรมที่มีสภาวะภายนอกเป็นอารมณ์ ก็มี
อัชฌัตตะพะหิทธา รัมมะณา ธัมมา, ธรรมที่มีสภาวะทั้งภายในและภายนอกเป็นอารมณ์ก็มี

สะนิทัสสะนะสัปปะฏิฆา ธัมมา, ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ ก็มี
อะนิทัสสะนะสัปปะฏิฆา ธัมมา, ธรรมที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ก็มี,
อะนิทัสสะนาป ปะฏิฆา ธัมมา, ธรรมทั้งที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ก็มี.


- http://dhamma.vayoclub.com/index.php?topic=389.0
*********************************

พระสะหัสสะนัย สุทธิกะปะฏิปะทา
กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพ๎ยากะตา ธัมมา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัส๎มิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ตัส๎มิง สะมะเย ผัสโสโหติ อะวิกเขโป โหติ อิเมธัมมา กุสะลา

กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัส๎มิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปา ภิญญัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ตัส๎มิง สะมะเย ผัสโสโหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
                     **************************************

{พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 593
                                        สุทธิกปฏิปทา
         [๒๖๐]  ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
         โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตตระ   อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่
นิพพานเพื่อละทิฏฐิ     เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น     สงัดจากกาม   สงัดจากอกุศลธรรมทั้ง
หลายแล้ว     บรรลุปฐมฌาน    เป็นทุกขาปฏิปทา   ทันธาภิญญา ฯลฯ   อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ  ฯลฯ   อวิกเขปะ  มีในสมัยนั้น   ฯลฯ  สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า    ธรรมเป็นกุศล.

         [๒๖๑]  ธรรมเป็นกุศล  เป็นไฉน  ?
         โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตตระ   อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่
นิพพานเพื่อละทิฏฐิ     เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น    สงัดจากกาม   สงัดจากอกุศลธรรมทั้ง-
หลายแล้ว     บรรลุปฐมฌาน   เป็นทุกขาปฏิปทา  ขิปปาภิญญา ฯลฯ    อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ  ฯลฯ  อวิกเขปะ  มีในสมัยนั้น  ฯลฯ
         สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า   ธรรมเป็นกุศล.

         [๒๖๒]  ธรรมเป็นกุศล  เป็นไฉน  ?
         โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตตระ   อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่
นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น  สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
แล้ว  บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทา   ทันธาภิญญา ฯลฯ  อยู่ในสมัยใด  ผัสสะ  ฯลฯ
อวิกเขปะ  มีในสมัยนั้น ฯลฯ}
-http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=14506

[ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง - ปฏิบัติลำบาก เข้าถึงได้ช้า (บุคคลผู้จะปฏิบัติธรรมแต่เหตุต่างๆไม่เกื้อหนุนให้ปฏิบัติธรรม  พอปฏิบัติก็ยังเข้าถึงธรรมได้ช้า ต้องให้ความเพียรเป็นเวลานาน แปลว่าในอดีตไม่สนับสนุนให้คนปฏิบัติธรรม  ไม่สร้างศาสนสถาน  แล้วยังสะสมปัญญาบารมีคือการปฏิบัติธรรมมาน้อยด้วย)

ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง - ปฏิบัติลำบาก แต่เข้าถึงได้เร็ว (บุคคลผู้จะปฏิบัติธรรมแต่เหตุต่างๆไม่เกื้อหนุนให้ปฏิบัติธรรม    แต่พอปฏิบัติก็สามารถเข้าถึงได้ไว  แปลว่าอดีตชาติสะสมปัญญาบารมีคือการปฏิบัติในอดีตมาดี  แต่ไม่ค่อยสนับสนุนให้คนปฏิบัติธรรม ไม่สร้างศาสนาสถาน สร้างทานบารมีมาน้อย)

สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง  - ปฏิบัติสะดวก  แต่เข้าถึงได้ช้า (บุคคลผู้จะปฏิบัติธรรม มีเหตุอันเหมาะสม เกื้อกูลแก่การประพฤติธรรม มีที่สัปปายะอย่างยิ่ง  แต่พอปฏิบัติธรรมก็เข้าถึงได้ช้า ต้องใช้ความเพียรอยู่นาน แปลว่าในอดีตสนับสนุนให้คนปฏิบัติธรรม  ทำบุญสร้างศาสนสถานไว้มาก แต่สะสมปัญญาบารมี คือการปฏิบัติธรรมมาน้อยครับ)

สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง - ปฏิบัติสะดวก เข้าถึงได้เร็ว (บุคคลผู้ที่ปฏิบัติธรรม  มีเหตุอันเหมาะสม เกื้อกูลแก่การประพฤติธรรม  มีที่สัปปายะอย่างยิ่ง  และเวลาปฏิบัติธรรมก็สามารถเข้าถึงได้เร็ว แปลว่าในอดีตสะสมทานบารมี คือการสนับสนุนการปฏิบัติธรรม  สร้างศาสนสถาน อยู่บ่อยครั้ง และยังสะสมปัญญาบารมีมามาก คือทำความเพียร ปฏิบัติธรรมอยู่เนืองนิจ) ]

-http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=11233

สุญญะตะมูละกะปะฏิปะทา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัส๎มิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะ คามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุญญะตัง ทุกขา ปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง ตัส๎มิง สะมะเย ผัสโสโหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัส๎มิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุญญะตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง ตัส๎มิง สะมะเย ผัสโสโหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา

อัปปะณิหิตะปะฏิปะทา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัส๎มิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง อัปปะณิหิตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง ตัส๎มิง สะมะเย ผัสโสโหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัส๎มิง สะมะเยโลกุตตะรัง ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะ วิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขา ปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง อัปปะณิหิตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง ตัส๎มิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา

อธิปะติ
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัส๎มิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง ฉันทาธิ ปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัต เตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง ตัส๎มิง สะมะเย ผัสโสโหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา

กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัส๎มิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะ คามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะ วิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง อะทุกขะมะสุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง อะทุกขะมะสุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง ตัส๎มิง สะมะเย ผัสโสโหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา

  :13: http://topray-br.blogspot.com/p/blog-page_5907.html


หมายเหตุ : บทสวดมนต์บทนี้ หลวงปู่เจี๊ยะ จันโท
       ได้บันทึกไว้สมัยที่อยู่กับหลวงปู่มั่นว่า....
              เสียงเพลงเสียงธรรม

......อยู่มาวันหนึ่ง เรา (หลวงปู่เจี๊ยะ) ปลีกออกมาเดินจงกรมอยู่ในป่าที่ป่าเปอะ ในขณะที่เดินจงกรม มีผู้หญิงคนหนึ่งเขาเดินไปทำไร่ เดินร้องเพลงไป เพลงที่เขาขับร้องนั้น เป็นสำเนียงทางอีสาน ผ่านมาใกล้ๆ ทางจงกรมที่เราเดินอยู่ คาดคะเนว่าน่าจะเป็นคนทางภาคอีสานมาอยู่ทางเหนือ เนื้อเพลงนี้มาสะดุดจิตในขณะที่ภาวนา โอปนยิโก คือน้อมมาใส่ตัวเรา มันร้องเสียงเพราะน่าฟังนะ ร้องเพลงขับอันประกอบด้วยอรรถรสแห่งธรรม ประสานกลมกลืนกับธรรมที่กำลังสัมผัสเพ่งพิศพินิจพิจารณาอยู่ ภาษาธรรมที่เขาร้องเอื้อนด้วยความไม่มีสตินั้น กลับย้อนเข้ามาสู่ดวงใจที่กำลังเพ่งพิศธรรมนั้นอยู่ จิตนั้นก็รวมลงสู่ฐานของจิตโดยฉับพลัน เพลงขับนั้นเขาร้องเป็นทำนองอีสานว่า

“ทุกข์อยู่ในขันธ์ห้า โฮมลงมาขันธ์สี่ ทุกข์อยู่ในผ้าอ้อมป้อมผ้าฮ้าย โฮม อ้ายอยู่ผู้เดียว ทุกข์อยู่ในโลกนี้มีแต่สิทน ทุกข์อยู่ในเมืองคน มีแต่ตนเดียวอ้าย... ทุกข์ในขันธ์ห้า โฮมลงมาขันธ์สี่ทุกข์ในโลกนี้ลงข้อยผู้เดียว”
เขาร้องเป็นทำนองไพเราะมาก

พอได้ฟังเท่านั้นแหละจิตนี้รวมลงทันที เป็นการรวมที่อัศจรรย์ นี้แหละธรรมะเป็นสมบัติกลางที่ผู้ประพฤติปฏิบัติน้อมมาพินิจพิจารณา ก็จะก่อให้เกิดธรรมขึ้นมายในใจตน ถ้ารู้จักน้อมมาสอนตนเสียงร้องเหล่านี้เป็นเสียงธรรมได้ทั้งนั้น

สมัยนั้นก็ยังหนุ่มอยู่ แต่ว่ามันก็ไม่รู้ยังไง ฟังบทขับร้องแล้วชอบกลอยู่ เขาร้องอย่างนี้ “ทุกข์ในขันธ์ห้า... โฮมลงมาขันธ์สี่ ทุกข์ในโลกนี้ลงข้อยผู้เดียว” คนอีสานเขามาอยู่ทางเหนือ เขาขับร้องเพราะมาก มีเสียงเอื้อนตามแบบของคนอีสาน

ทุกข์ในขันธ์ห้า มีเมียก็ต้องเลี้ยงเมีย หากเมื่อมีลูกขึ้นมาหนึ่ง ก็ต้องเลี้ยงหนึ่ง เลี้ยงสอง เลี้ยงสามฯลฯ เมียสองก็ต้องเลี้ยงสี่ เลี้ยงห้า เอาเข้าไปแล้ว เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่สารพัด เลี้ยงกันมาจนกระทั่งถึงเรา นี่มันเป็นอย่างนั้น นี่ทุกข์ที่สุด เราก็มีพ่อมีแม่ พ่อแม่ก็ไม่ค่อยได้เข้าวัดเข้าวาฮิ นึกแล้วน่าสงสาร แต่ดึงเท่าไหร่ก็ไม่ยอมขึ้น เราหลุดออกมานี่มีชีวิตอันประเสริฐที่สุด ใครสามารถพินิจพิจารณาได้แล้ว รอดลงไปได้แล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นบ่วงลึกที่สุด ท่านอาจารย์ฝั้นท่านว่า..เรื่องการครองเรือน เรื่องความหลง ท่านพูดยิ่งเด็ดขาด... แต่เราพูดออกมาอย่างท่านไม่ได้

เพราะฉะนั้นอันนี้เอง เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญญา เมื่อเราน้อมนำมา พินิจพิจารณาใจของเรา สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องขัดเกลา เหมือนแฟ้บที่ซักเสื้อผ้า หรือเหมือนสบู่ที่ขัดเหงื่อไหลของเรา ขัดขี้เหงื่อคราบไคลของเราให้ออกไป เปรียบอย่างนั้นมันเหมาะดี

ธรรมะบทใดบทหนึ่ง เมื่อเราน้อมเข้ามาพินิจพิจารณาให้เกิดความสังเวชสลดใจได้แล้ว นั่นมีคุณค่าจะหาราคาอันใดมาเปรียบมิได้เลยนั่นท่านเรียกว่าเป็นปัญญา ส่วนที่ความรู้สึกในขณะที่พิจารณาอย่างนั้น จนเกิดความสังเวชสลดใจ เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ใจนั้นก็มีความสงบ เมื่อความสงบปรากฏอย่างนั้น ใจนั้นก็เป็นใจที่ปกติ เมื่อใจเป็นปกตินั่นเอง มีความรู้ตัวอยู่อย่างนั้น ใจไม่วอกแวกไปไหน นี่แหละท่านเรียกว่า “ญาณทัสสนะ”

บทเพลงพระอรหันต์
แม้ในสมัยพุทธกาล บทเพลงของพระอรหันต์ก็มีเช่นเดียวกัน เท่าที่ทราบท่านนิยมสวดเป็น ทำนองสรภัญญะ ในสมัยพุทธกาลมีเล่าไว้ว่า พระโสณะกุฏิกัณณะสวดสรภัญญะ ถวายพระพุทธเจ้า และได้รับคำชมจากพระพุทธองค์ว่า เธอสวดเสียงไพเราะดี

ปัจจุบันเราก็นิยมสวดสรภัญญะกัน แม้เราเองกชอบฟังสวดสรภัญญะบท พระสหัสสนัย ที่ท่านบรรยายเกี่ยวกับการปฏิบัติยากง่ายของแต่ละดวงจิต สวดสรภัญญะก็คือ ร้องเพลงแบบหนึ่งนั้นเอง เรื่องนี้มีมูลเหตุอยู่ว่า ปัณจสิขะเทพบุตรขณะรอเข้าเฝ้าพระพุทธองค์อยู่หน้าถ้ำแห่งหนึ่ง หยิบพิณขึ้นมาดีดขับเพลงรักของตนที่มีต่อคนรัก เปรียบความรักของเขากับความรักโพธิญาณของพระโพธิสัตว์ ก็ได้รับคำชมเชยจากพระพุทธองค์เซ่นเดียวกัน

ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุบางรูปยืนฟังนางทาสีขณะตักน้ำร้องเพลงด้วยความเพลิดเพลินใจ พิจารณาความตามเนื้อเพลงได้บรรลุพระอรหัตก็มี การสวดการร้องบ่อยๆ เสียงที่สวดอันเป็นบทกรรมที่ไพเราะ จะดึงให้จิตจดจ่อเฉพาะเสียง ลืมโลกภายนอกหมดสิ้น จิตเกิดดิ่งเป็นสมาธิ พลังสมาธิเช่นนี้ใช้กับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

สำหรับผู้รักษาศีลอย่างเคร่งครัด ก็ไม่ต้องสวดหรือร้อง เพียงแต่ฟังเฉยๆ หรือพิจารณาสิ่งที่ได้ยินเข้าตามเนื้อเพลง น้อมเข้ามาใส่ตนให้เป็นธรรม ถ้าบทเพลงนั้นมีคติเตือนใจ บทเพลงวิมุตติหรือเรียกอีกอย่างว่าบทเพลงพระอรหันต์ เพราะพระภิกษุ ภิกษุณี ท่านได้บรรลุพระอรหัตเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เปล่งวาจาเป็นภาษากวี บรรยายความสุขใจที่ได้รับหลังการบรรลุธรรม

มีบทเพลงที่ท่านพระสิริมัณฑเถระ ได้เปล่งเป็นบทกวีไว้ เดิมพระเถระรูปนี้เกิดในตระกูลพราหมณ์แห่งเมืองสุงสุมารคิรี ท่านบวชมาแล้วบำเพ็ญพรหมจรรย์อย่างเคร่งครัด ขณะฟังพระปาฏิโมกข์แล้วพิจารณาว่า ภิกษุต้องอาบัติแล้ว ถ้าไม่เปิดเผย (ปกปิดความชั่วไว้) ย่อมเศร้าหมอง แต่ว่าไม่ปกปิด (บอกความจริงแล้วปลงอาบัติเสีย) ก็จะบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในที่สุด พระศาสนาของพระพุทธองค์ช่างบริสุทธิ์จริง ๆ ท่านคิดพิจารณาดังนี้ ด้วยความที่จิตฝึกมาดี ก็ได้บรรลุอรหัตผล หลังการบรรลุธรรมจึงได้เปล่งคาถาเป็นบทเพลงกวีว่าไว้ว่า

......“สัตว์โลกถูกมฤตยูดักฆ่า ถูกชราไล่ต้อน
ยิงด้วยลูกศรคือความทะเยอทะยาน
เผาให้เป็นเถ้าถ่านด้วยความปรารถนา มฤตยู พยาธิ ชรา ทั้งสาม
คือกองไฟลามลุกไหม้ แรงจะต้านใดก็ไม่มี จะบึ่งหนีก็ไม่พ้น
ไม่ควรปล่อยวันเวลาล่วงไปเปล่า ไม่ว่ามากหรือน้อย
กี่วันผันผ่าน ชีวิตกาลยิ่งใกล้ความตาย เดินหรือยืน นั่งหรือนอน
วาระสุดท้ายอาจมาถึง จึงไม่ควรประมาท”

และบทเพลงกวีของพระเชนตะ ท่านเป็นคนช่างคิด คิดว่าครองเพศฆราวาสก็ยาก หาเงินทองมาเลี้ยงครอบครัวก็ลำบาก บวชก็ลำบาก จะเลือกทางดำเนินชีวิตแบบไหนดี ในที่สุดก็ตัดสินใจไปบวช ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วท่านก็กล่าวโศลกเตือนใจเพื่อนมนุษย์ให้เห็นความเป็นอนิจจังของสิ่งทั้งปวงเป็นบทเพลงว่า

.....“ครองเพศบรรพชิตนั้นแสนลำบาก
ฆราวาสวิสัยก็ยากเย็นเช่นเดียวกัน
พระธรรมอันคัมภีรภาพนั้นยากเข้าใจ
โค ทรัพย์กว่าจะหามาได้ก็เหน็ดเหนื่อย
มีชีวิตเรื่อยๆ อย่างสันโดษก็ยากเย็น
ฉะนี้น่าจะเห็น น่าจะคิด อนิจจังฯ”

ที่มา - http://larndharma.org
>> http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=1071
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 07, 2015, 08:55:03 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เสียงสวดพุทธมนต์พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์+เเปลค่ะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2014, 01:47:06 pm »
http://youtu.be/MhOOfL8J_4U พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ อักษรขอม Test(3)
ThaiEsan4 Published on Mar 8, 2013
สวดพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ อักษรขอม Test(3)

อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับขอ­งพระพุทธศาสนา ที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรม แปลว่า "ธรรมอันยิ่ง" ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เ­ป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเ­ลย

สำหรับพระอภิธรรมปิฎกนั้นแบ่งออกเป็นเจ็ดค­ัมภีร์ ซึ่งเรียกย่อว่า สํ. วิ. ธา. ปุ. ก. ย. และ ป. ตามลำดับ ประกอบไปด้วย

1. สังคณี หรือธัมมสังคณี (เรียกโดยย่อว่า "สํ.") - รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละ­ประเภท

2. วิภังค์ (เรียกโดยย่อว่า "วิ.") - ยกหมวดธรรมขึ้นตั้งเป็นหัวข้อเรื่องแล้วแย­กแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด

3. ธาตุกถา (เรียกโดยย่อว่า "ธา.") - สังเคราะห์หรือจัดประเภทข้อธรรมต่าง ๆ เข้าเป็นหมวดเป็นหมู่ดังต่อไปนี้ คือ ขันธ์ อายตนะ และธาตุ

4. ปุคคลบัญญัติ (เรียกโดยย่อว่า "ปุ.") - บัญญัติความหมายบุคคลประเภทต่าง ๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่

5. กถาวัตถุ (เรียกโดยย่อว่า "ก.") - แถลงและวินิจฉัยทัศนะที่ขัดแย้งกันของนิกา­ยต่าง ๆ ในสมัยสังคายนาครั้งที่ 3 โดยเน้นความถูกต้องของฝ่ายเถรวาท คัมภีร์นี้เป็นบทนิพนธ์ของพระโมคคัลลีบุตร­ติสสเถระ

6. ยมกะ (เรียกโดยย่อว่า "ย.") - ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ

7. ปัฏฐาน หรือมหาปกรณ์ (เรียกโดยย่อว่า "ป.") - อธิบายปัจจัย 24 และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมทั้งหลายอย­่างละเอียด

เสียงสวดพุทธมนต์พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์+เเปลค่ะ
http://youtu.be/6_3c5qiDAsg บทสวดพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ แปล
rapin paiwan Uploaded on Dec 19, 2011
*********************


‪#‎มหาจักรพรรดิ‬ @หลวงปู่ดู่
หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังถึงการปลุกเสก หรืออธิษฐานวัตถุมงคลของท่านว่า?“นอกจากการมีพลังจิตแล้ว ที่ท่านใช้อยู่เสมอคือ บทสวดมนต์ตามเจ็ดตำนาน”?ซึ่งท่านบอกว่า ดีกว่าคาถาอาคมมากมาย เพราะเป็นเรื่องราวของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ทั้งนั้น ไม่จัดเป็นเดรัจฉานวิชา บทที่ท่านทำทุกครั้งคือ บทพระพุทธเจ้าทรมานพญาชมพูบดี หรือที่เรียกว่า?“ชมพูปติสูตร”?ซึ่งแสดงถึงอำนาจหรือบารมีของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นครูของมนุษย์และเทวดาทั้งปวง แสดงถึง ธรรมที่ชนะอธรรม ท่านเรียกบทนี้ว่า?“มหาจักรพรรดิ”?พญาชมพูบดีเป็นจักรพรรดิที่มีอิทธิฤทธิ์มาก แต่พ่ายแพ้บุญฤทธิ์ ในที่สุดอุปสมบทได้สำเร็จอรหัตผล หลวงปู่ท่านกล่าวว่า
“ข้าเป็นคนโลภมาก ทำอะไรก็อยากทำให้มากที่สุด ดีที่สุด
เดี๋ยวนี้ใช้แค่บทนี้ทั้งนั้น
ใครนั่งคุมเวลาข้าเสก เขาก็รู้เองแหละว่า ทำจริงหรือไม่จริง”
..
..
ท่านเคยมีลูกศิษย์คนหนึ่งเป็นพระ ต่อมาท่านไม่มาหาหลวงปู่อีก
เนื่องจากหลวงปู่ท่านพูดว่า
“ยังไม่นิพพาน เพราะต้องโปรดคน”

แต่พระองค์นี้ตีความไปว่า หลวงปู่ยังติดอยู่กับลาภยศ ชื่อเสียง ซึ่งความจริง ท่านมีเมตตา และบอกปรารถนาของท่านให้ทราบว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ ผู้เขียนคัดลอกเกี่ยวกับบทชมพูปติสูตร หรือบทมหาจักรพรรดิมาลงไว้ เนื่องจากในปัจจุบันขาดผู้สนใจ เห็นเป็นเรื่องเหลวไหล แม้แต่พระบางองค์ท่านยังกล่าวว่าเกินความจริง โดยท่านลืมนึกถึงคำว่า?“อจินไตย”?คือสิ่งที่ไม่ควรคิด เพราะไม่สามารถนำเหตุผลทางโลกหรือทางทฤษฎีมาทำให้เกิดความกระจ่างได้ เป็นเรื่องของผู้ปฏิบัติพึงรู้ได้เอง ถ้าคิดมากในที่สุดอาจจะเป็นบ้าได้ สิ่งเหล่านี้ได้แก่

๑. พุทธวิสัย วิสัยของพระพุทธเจ้า เช่น ทำไมท่านถึงตรัสรู้ได้? ท่านมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์จริงหรือ? ฯลฯ
๒. วิสัยของกรรม เช่น ทำไมคนนั้นคนนี้รวย จน สมบูรณ์ กำพร้า?
๓. วิสัยของพระอรหันต์ เช่น ท่านหมดโลภ โกรธ หลง หรือ?
๔. วิสัยของโลก เช่น โลกเกิดมาได้อย่างไร?
๕. วิสัยของผู้ปฏิบัติธรรม เช่น ลักษณะที่สงบเป็นอย่างไร? สงบจริงหรือไม่?

ท่านผู้อ่านทั้งหลาย ลองคิดดู พระเจ้าแผ่นดินที่เกิดมาภายใต้เศวตฉัตร ถ้าพระองค์ไม่มีบุญญาธิการแล้ว ท่านจะเป็นได้อย่างไร เพราะคนไทยมีเป็นหลายสิบล้านคน นั่นแสดงถึงวาสนาบารมีของแต่ละบุคคลไม่เท่าเทียมกัน มีเหตุปัจจัยจากสิ่งที่ท่านได้สร้างสมอบรมมาแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมีมากขนาดไหน จึงสามารถโปรดคนได้มากมายทั้งสามแดนโลกธาตุ
>>> F/B Jeng Dhammajaree

อ่านต่อ...
ตำนานพระปริตร : สิ บ ส อ ง ตำ น า น
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,10407.0.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 01, 2015, 07:09:57 pm โดย ฐิตา »