กิเลสเครื่องผูกพันทางกายคือ
สีลัพพตปรามาส กิเลสเครื่องผูกพันทางกายคือความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง ละได้ด้วย
โสดาปัตติมรรค. กิเลสเครื่องผูกพันทางกายคือ
พยาบาท ละได้ด้วย
อนาคามิมรรค. กิเลสเครื่องผูกพันทางกายคืออภิชฌา ละได้ด้วย
อรหัตตมรรค ดังนี้แล.
กิเลสเครื่องผูกพัน ๔ อย่างเหล่านี้มีอยู่แก่ผู้ใด ย่อมผูกพันคือสืบต่อผู้นั้นไว้ใน
วัฏฏะ ด้วยสามารถจุติและปฏิสนธิ ดังนั้นจึงชื่อว่ากิเลสเครื่องผูกพัน. กิเลสเครื่องผูกพันเหล่านั้นมี ๔ ประเภท สัตว์ทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งด้วยอภิชฌานี้คือตัวอภิชฌาเองเพ่งเล็งก็ตาม อภิชฌานี้เป็นเพียงความเพ่งเล็งเท่านั้นก็ตาม
ดังนั้นจึงชื่อว่าอภิชฌา คือความโลภนั่นเอง. ชื่อว่ากิเลสเครื่องผูกพันทางกาย เพราะอรรถว่าผูกพันนามกาย คือสืบต่อไว้ในวัฏฏะด้วยสามารถจุติและปฏิสนธิ.
ชื่อว่า
พยาบาท เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องที่จิตถึงความพินาศ คือถึงความเป็นจิตเสีย หรือทำอาจาระคือวินัย รูปสมบัติ ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขเป็นต้น ให้ถึงความพินาศ.
ความลูบคลำว่าหมดจดด้วยศีล หมดจดด้วยวัตรของเหล่าสมณพราหมณ์นอกศาสนานี้ ชื่อว่าสีลัพพตปรามาส. ชื่อว่าความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง เพราะอรรถว่าห้ามแม้ภาษิตของพระสัพพัญญูเสียแล้วยึดมั่นโดยอาการเป็นต้นว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ.
พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะแสดงสิ่งที่ปรุงแต่งมีวอเป็นต้น เป็นเครื่องเปรียบเทียบในการแยกแยะกิเลสเครื่องผูกพันทั้งหลาย จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ยถา วยฺหํ วา ดังนี้.
บทว่า น ชเนนฺติ ความว่า ไม่ให้เกิดขึ้น.
บทว่า น สญฺชเนนฺติ ความว่า ไม่ให้บังเกิด. ท่านขยายบทว่า นาภินิพฺพตฺเตนฺติ ด้วยอุปสรรค.
บทว่า น สญฺชเนนฺติ ความว่า ไม่ยังลักษณะที่เกิดขึ้นให้บังเกิด.
บทว่า นาภินิพฺพตฺเตนฺติ ท่านกล่าวหมายเอาลักษณะที่เป็นไป.
พระอรหันต์ชื่อว่าล่วงแดนแล้ว เพราะล่วงแดนคือกิเลส ๔, และชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยบาปเสียแล้ว และพระอรหันต์นั้นผู้เป็นอย่างนี้ รู้ด้วยปรจิตตญาณและปุพเพนิวาสญาณ
หรือเห็นด้วยมังสจักษุและทิพยจักษุ จึงไม่มีความยึดถืออะไรๆ. ท่านอธิบายว่า ตั้งมั่น.
อนึ่ง พระอรหันต์นั้น ชื่อว่ามิได้มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด เพราะไม่มีกามราคะ.
ชื่อว่ามิได้กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด เพราะไม่มีรูปราคะและอรูปราคะ. เพราะพระอรหันต์นั้นเป็นอย่างนี้ จึงไม่มีความนับถืออะไรๆ ในที่นี้ว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยเอกคือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า จตสฺโส สีมาโย ความว่า เขตที่กำหนด ๔ อย่าง.
บทว่า ทิฏฺฐานุสโย ความว่า ทิฏฐินั้นด้วย เป็น
อนุสัยเพราะอรรถว่า
ยังละไม่ได้ด้วย ดังนี้จึงชื่อว่าทิฏฐานุสัย แม้ใน
อนุสัยคือ
วิจิกิจฉาเป็นต้นก็นัยนี้แหละ.
ชื่อว่าอนุสัย ด้วยอรรถว่าอะไร? ด้วยอรรถว่า
นอนเนื่อง.
ชื่อว่ามีอรรถว่านอนเนื่องนี้ เป็นอย่างไร? มีอรรถว่า
ละไม่ได้. เพราะกิเลสเหล่านี้
ชื่อว่าย่อมนอนเนื่องในสันดานของสัตว์นั้นๆ เพราะอรรถว่ายังละไม่ได้ จึงเรียกว่า
อนุสัย.
บทว่า อนุเสนฺติ ความว่า ได้เหตุที่สมควรย่อมเกิดขึ้น.
หากจะมีคำถามว่า อาการที่ละไม่ได้ ชื่อว่ามีอรรถว่านอนเนื่อง ก็ไม่ควรจะกล่าวว่า อาการที่ละไม่ได้ เกิดขึ้น ฉะนั้น อนุสัยทั้งหลายจึงไม่เกิดขึ้น.
ในข้อนั้นมีคำตอบดังนี้ อาการที่ยังละไม่ได้ ไม่ใช่อนุสัย
แต่กิเลสที่มีกำลัง ท่านเรียกว่า อนุสัย เพราะอรรถว่ายังละไม่ได้
อนุสัยที่เป็นจิตตสัมปยุต เป็นไปกับด้วยอารมณ์ เป็นไปกับด้วย
เหตุเพราะอรรถว่าเป็นไปกับด้วย
ปัจจัย เป็นอกุศลโดยส่วนเดียว เป็นอดีตบ้าง เป็นอนาคตบ้าง เป็นปัจจุบันบ้าง
ฉะนั้นจึงควรกล่าวว่าเกิดขึ้น นี้เป็นประมาณในข้อนั้น.
ในอภิสมยกถา คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ท่านถามก่อนว่า ละกิเลสที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้อย่างไร ดังนี้แล้วกล่าวว่า
ผู้มีกำลังย่อมละอนุสัยได้ เพราะอนุสัยทั้งหลายมีความเป็นปัจจุบัน.
ในบทภาชนะแห่งโมหะคัมภีร์ธัมมสังคณี ท่านกล่าวความที่โมหะเกิดขึ้นกับอกุศลจิตว่า อนุสัยคืออวิชชา การครอบงำคืออวิชชา ลิ่มคือวิชชา โมหะเป็นอกุศลมูล โมหะนี้มีในสมัยนั้น.
ในคัมภีร์กถาวัตถุ ท่านปฏิเสธวาทะทั้งหมดว่า
อนุสัยเป็นอัพยากฤต อนุสัยเป็นอเหตุกะ อนุสัยเป็นจิตตวิปปยุต. ในอุปปัชชนวาระบางแห่งแห่งมหาวาร ๗ ในอนุสยยมก ท่านกล่าวคำเป็นต้นว่า อนุสัยคือกามราคะเกิดขึ้นแก่ผู้ใด อนุสัยคือปฏิฆะก็เกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่ไหม? เพราะฉะนั้น คำที่ท่านกล่าวว่า บทว่า อนุเสนฺติ ความว่าได้เหตุที่สมควรย่อมเกิดขึ้นนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวดีแล้ว โดยประมาณที่เป็นแบบแผนนี้.
คำที่ท่านกล่าวแล้วว่า อนุสัยที่เป็นจิตตสัมปยุตเป็นไปกับด้วยอารมณ์เป็นต้น แม้นั้นก็เป็นอันท่านกล่าวดีแล้วทีเดียว. ในข้อนี้พึงตกลงว่า ก็ชื่อว่าอนุสัยนี้สำเร็จแล้ว เป็นอกุศลธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต. บรรดาอนุสัยเหล่านั้นทิฏฐานุสัย ท่านกล่าวไว้ในอนุสัยที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔.
วิจิกิจฉานุสัย กล่าวไว้ในอนุสัยที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา.
อวิชชานุสัย กล่าวไว้ในอกุศลจิต ๑๒ ดวง ด้วยสามารถแห่งสหชาตธรรมและด้วยสามารถแห่งอารมณ์. ทิฏฐิวิจิกิจฉาและโมหะแม้ทั้ง ๓ กล่าวไว้ในธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ที่เหลือ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์.
ก็ในที่นี้ กามราคานุสัย กล่าวไว้ในจิตที่สหรคตด้วยโลภะทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งสหชาตธรรมและด้วยสามารถแห่งอารมณ์.
โลภะที่เกิดขึ้น กล่าวไว้ในธรรมเป็นกามาวจรที่เหลือ ซึ่งเป็นที่ชอบใจด้วยสามารถแห่งอารมณ์นั่นแล.
ปฏิฆานุสัย กล่าวไว้ในจิตที่สหรคตด้วยโทมนัส ด้วยสามารถแห่งสหชาตธรรมและด้วยสามารถแห่งอารมณ์.
โทสะที่เกิดขึ้น กล่าวไว้ในธรรมเป็นกามาวจรที่เหลือ ซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์นั่นแล.
มานานุสัย กล่าวไว้ในจิตที่วิปปยุตด้วยทิฏฐิและสหรคตด้วยโลภะ
ด้วยสามารถแห่งสหชาตธรรมและด้วยสามารถแห่งอารมณ์.
มานะที่เกิดขึ้น กล่าวไว้ในธรรมเป็นกามาวจรที่เหลือ และในธรรมเป็นรูปาวจรและอรูปาวจรซึ่งเว้นจากทุกขเวทนา ด้วยสามารถแห่งอารมณ์นั่นแล. ภวราคานุสัย แม้เมื่อเกิดขึ้น ก็กล่าวไว้ในจิตที่วิปปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ด้วยสามารถแห่งสหชาตธรรม.
แต่โลภะที่เกิดขึ้น กล่าวไว้ในธรรมเป็นรูปารูปาวจระด้วยสามารถแห่งอารมณ์นั่นแล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐานุสโย ได้แก่
ทิฏฐิ ๖๒ อย่าง.
บทว่า วิจิกิจฺฉานุสโย ได้แก่ วิจิกิจฉามีวัตถุ ๘.
บทว่า ตเทกฏฺฐา จ กิเลสา ความว่า
ตั้งอยู่โดยความเป็นอันเดียวกัน ด้วยสามารถเกิดร่วมกันและตั้งอยู่แห่งเดียวกัน คือ ด้วยสามารถทิฏฐิและวิจิกิจฉาเกิดร่วมกันและตั้งอยู่แห่งเดียวกัน.
บทว่า มานานุสโย ได้แก่
มานะ ๙ อย่าง.
บทว่า ปรจิตฺตญาเณน วา ญตฺวา ความว่า
รู้ด้วยปัญญาเครื่องรู้วาระจิตของผู้อื่น. ท่านอธิบายว่า รู้ด้วยเ
จโตปริยญาณ.
บทว่า ปุพฺเพ นิวาสานุสฺสติญาเณน วา ความว่า
รู้ด้วยญาณเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในอดีต.
บทว่า มํสจกฺขุนา วา ได้แก่ ด้วยจักษุปกติ (ตาธรรมดา).
บทว่า ทิพฺพจกฺขุนา วา ความว่า เห็นด้วยทิพยจักษุ ซึ่งคล้ายทิพย์หรืออาศัยทิพยวิหาร.
บทว่า ราครตฺตา ความว่า ยินดีด้วยราคะ. บทว่า เย ปญฺจสุ กามคุเณสุ ความว่า ชนเหล่าใดกำหนัดในส่วนคือวัตถุกามมี
รูปเป็นต้น ๕ อย่าง.
บทว่า วิราครตฺตา ความว่า กำหนัดยิ่ง คือติดแน่นในรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติ กล่าวคือ
วิราคะ.
บทว่า ยโต กามราโค จ ความว่า
ในกาลใด กามราคะ. แม้ในรูปภพและอรูปภพก็นัยนี้แหละ.
สัทธัมมปัชโชติกา
อรรถกถาขุททกนิกาย
มหานิทเทส
อรรถกถาสุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
จบสูตรที่ ๔ -----------------------------------------------------
.. อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส จบ.:http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29.0&i=109&p=3:http://agaligohome.com/index.php?topic=4868.msg13477#msg13477Pics by :
Googleใต้ร่มธรรมดอทเน็ต *
อกาลิโกโฮม สุขใจดอทคอม อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ