พาหุสัจจะ : ความเป็นผู้ได้สดับมาก-พาหุสัจจะ แปลว่า ความเป็นผู้ได้สดับมาก หมายถึงการได้ศึกษาเล่าเรียนมาก การมีความรู้ประสบการณ์มาก เรียกบุคคลผู้มีภาวะอย่างนั้นว่า พหูสูต คือผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมากมาก ผู้มีความรู้มาก ผู้คงแก่เรียน นักปราชญ์ หนังสือบางฉบับเรียกว่า "หัวใจนักปราชญ์"
-พาหุสัจจะ เกิดจากการศึกษาและการศึกษาที่ดีเกิดจากการศึกษา๔แบบคือศึกษาด้วยการฟัง ด้วยการคิด ด้วยการสอบถามและด้วยการจดจำบันทึก
-มีคาถาบทหนึ่งที่ถือว่าเป็นหัวใจนักปราชญ์คือ "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปํณฑิโต ภเว
"แปลว่าผู้ปราศจาก สุ จิ ปุ ลิ จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร
-----สุ ย่อมาจาก สุตะ แปลว่า ฟัง
-----จิ ย่อมาจาก จินตะ แปลว่า คิด
-----ปุ ย่อมาจาก ปุจฉา แปลว่า ถาม
-----ลิ ย่อมาจาก ลิขิต แปลว่า จด
-พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก,
ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน มีองค์ ๕ คือ-----๑. พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก
-----๒. ธตา ทรงจำไว้ได้
-----๓. วจสา ปริจิตา คล่องปาก
-----๔. มนสานุเปกฺขิตา เจนใจ
-----๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี
-พหุสูต,พหูสูต ผู้ได้ยินได้ฟังมามาก คือทรงจำธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก,
ผู้เล่าเรียนมาก, ผู้ศึกษามาก, ผู้คงแก่เรียน
-อัครพหูสูต พหูสูตผู้เลิศ,ยอดพหูสูต,ผู้คงแก่เรียนอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง พระอานนท์
- พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 10พาหุสัจจะของพหุสุตบุคคลชื่อว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งอิฏฐผลมีสรรเสริญเป็นต้น,และชื่อว่าเป็นมงคลแม้ เพราะเหตุแห่งการละอกุศล และการบรรลุกุศล ด้วยประการฉะนี้.
--สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในนคโรปมสูตร๒ ทุติยวรรค ทุติยปัณณาสก์ในสัตตกนิบาต อังคุตตรนิกายดังนี้ว่า"
ภิกษุทั้งหลายก็อริยสาวกผู้สดับแล้วแล ย่อมละอกุศลเสียได้ ทำกุศล ให้เจริญ,ย่อมละกรรมอันมีโทษเสียทำกรรมไม่มีโทษให้เจริญบริหารตนให้หมดจด"
--อนึ่ง พาหุสัจจะ ชื่อว่าเป็นมงคลแม้เพราะเป็นเหตุแห่งการทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจโดยลำดับ.สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์ชื่อภารทวาชะ ตรัสไว้ว่า"กุลบุตรผู้เกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปหา(บัณฑิต),ครั้นเข้าไปหาแล้ว ย่อมนั่งใกล้,เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสต,เงี่ยโสตแล้ว ย่อมสดับธรรม,ครั้งสดับแล้ว ย่อมทรงธรรมไว้,ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว,เมื่อเขาพิจารณาเนื้อความอยู่,ธรรม ทั้งหลายย่อมทนซึ่งความเพ่งพินิจ,เมื่อความทนซึ่งความเพ่งพินิจ แห่งธรรมมีอยู่, ความพอใจย่อมเกิด,เขาเกิดความพอใจแล้วย่อมอุตสาหะ,ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง,ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร,เขาเป็นผู้มีตนตั้งความเพียรแล้ว ย่อมทำปรมัตถสัจให้แจ้งด้วยกายและย่อมเห็น(แจ้ง)แทงตลอดปรมัตถสัจนั้นด้วยปัญญา."
--ปฏิสัมภิทาญาณคือความแตกฉาน,ความรู้แตกฉาน,ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ
-----๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
-----๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
-----๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา
-----๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ
--ปัจจัยเครื่องอุดหนุนของปฏิสัมภิทา มี ๘ คือ
-----ปุพพโยคะ ๑ พาหุสัจจะ ๑
-----เทศภาษา ๑ อาคม ๑
-----ปริปุจฉา ๑ อธิคม ๑
----ครุสันนิสัย ๑ และมิตตสมบัติ ๑
-ในปัจจัยเหล่านั้น ปุพพโยคะก็มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล ความฉลาดในคัมภีร์และกระบวนศิลปะทั้งหลาย ชื่อว่า พาหุสัจจะ …