ผู้เขียน หัวข้อ: ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย  (อ่าน 4683 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 05:36:33 am »




ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย
จากฮาร์วาร์ด-สวนโมกข์
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี

อาจารย์พิเศษบัณฑิตวิทยาลัย มจร. กรุงเทพฯ

สาเหตุที่ระบบการศึกษาของคณะสงฆ์กระแสหลักในสมัยของท่านพุทธทาสภิกขุ ทอดทิ้งส่วนที่สำคัญที่สุดของระบบการศึกษา กล่าวคือ ทอดทิ้ง "ปฏิบัติสัทธรรม" (ธรรมคือการปฏิบัติธรรม) และ "ปฏิเวธสัทธรรม" (ธรรมคือการบรรลุมรรคผล) คงไว้แต่ "ปริยัติสัทธรรม"

(การศึกษาธรรมะภาคทฤษฎีซึ่งแม้จะเป็นการศึกษาส่วนที่สำคัญที่สุดที่คณะสงฆ์ยกย่อง แต่กระนั้นก็ยังก้าวไปไม่ถึงการศึกษาที่ตัวพระไตรปิฎกโดยตรง หากยังคงเป็นเพียงการศึกษาผ่านคัมภีร์รุ่นหลัง และยุ่งยากกว่าพระไตรปิฎก กล่าวคือ ศึกษาคัมภีร์อธิบายพระไตรปิฎกซึ่งเนื้อหาเน้นหนักไปทางอักษรศาสตร์มากกว่ามุ่งความแจ่มแจ้งในธรรมะ)

จนกลายเป็นระบบการศึกษาที่ท่านพุทธทาสภิกขุเรียกรวมกันในเวลาต่อมาว่า "การศึกษาหมาหางด้วน" นั้น สืบเนื่องจากเหตุปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน

ซึ่งเหตุปัจจัยเหล่านี้ควรได้รับการอธิบาย เพราะมิเช่นนั้นแล้ว เราจะทำได้อย่างดีเพียงแค่โจมตีพระสงฆ์กระแสหลักในปัจจุบันที่อุดมไปด้วยปัญหานานาชนิด

ซึ่งเมื่อกล่าวอย่างถึงที่สุดและยุติธรรมแล้ว คณะสงฆ์ก็เสมอเป็นเพียง "เหยื่อ" หรือ "ผู้ถูกกระทำ" อย่างหนึ่งของระบบการศึกษาที่พิกลพิการเท่านั้นเอง หาใช่ "สาเหตุหลัก" แห่งความย่ำแย่ของระบบการศึกษาแต่อย่างใดไม่

การที่ระบบการศึกษาของคณะสงฆ์กระแสหลักในยุคของท่านพุทธทาสภิกขุ (คำนวณอย่างไม่เคร่งครัดนัก คือนับแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งวชิรญาณภิกขุเริ่มตั้งคณะธรรมยุติกนิกาย) จวบจนล่วงเลยมาถึงยุคปัจจุบันไม่ให้ความสำคัญกับ "โลกุตรธรรม" อันได้แก่ มรรค ผล นิพพาน ซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนา ทว่า กลับเน้นเพียง "โลกิยธรรม"



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 15, 2012, 11:49:07 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 05:37:57 am »



กล่าวคือ ความเจริญก้าวหน้าในทางสมณศักดิ์ ความมีเกียรติ มีตัวตน มีตำแหน่งหน้าที่การงาน ความมีอำนาจวาสนาในทางการปกครอง รวมทั้งความมั่งคั่ง (และควรเพิ่มค่านิยมความอยากมีปริญญาอย่างที่ชาวบ้านทั่วไปเป็นอยู่ในเวลานี้เข้าด้วยนั้น) อันเป็นค่านิยมแบบโลกีย์ระดับเดียวกันกับที่สังคมคฤหัสถ์เป็นกันอยู่นั้น

เราสามารถสืบสาวหาสาเหตุของปรากฏการณ์เช่นนี้ได้ตั้งแต่สมัยของรัชกาลที่ 3 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

แต่เดิมนั้น โลกทัศน์หรือระบบความคิดความเชื่อของสังคมไทยอิงอยู่กับพระพุทธศาสนาอย่างชนิดที่แยกกันไม่ออก และรากฐานสำคัญของการที่พระพุทธศาสนาเข้าไปมีบทบาทสำคัญต่อประชาชนอย่างแน่นแฟ้น ก็คือ ระบบความคิดความเชื่อที่ส่งผ่านมาทางไตรภูมิพระร่วง ความเชื่อเรื่อง "นรก-สวรรค์" กลายเป็นกรอบอ้างอิงทางศีลธรรมที่ทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันมาได้อย่างสันติสุข

โลกทัศน์เช่นนี้ยืนยาวสืบต่อมาแม้จนในสมัยของรัชกาลที่ 1, 2, 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น เราจะพบว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น เมื่อทรงตั้งพระราชปณิธานก็ยังทรงอ้างเอา "พุทธภูมิ" เป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งพระชนม์ชีพ เช่น

ข้อความที่ปรากฏในพระราชกำหนดใหม่ (ในกฎหมายตราสามดวง) ตอนหนึ่งว่า "...มีพระราชประณิธานปรารถนาพระพุทธภูมิโพธิญาณ"

อุดมคติสูงสุดของชนชั้นนำไทยในลักษณะนี้ เป็นอุดมคติพื้นฐานสำหรับคนไทยในยุคสมัยที่พุทธศาสนายังเฟื่องฟูอย่างยิ่ง ซึ่งเราสามารถอ้างอิงย้อนกลับไปได้ถึงสมัยพระยาลิไท ที่พระองค์โปรดให้จารึกข้อความทำนองนี้ไว้ในจารึกหลักหนึ่งความว่า

"พระองค์มีพระราชประสงค์พระโพธิญาณในอนาคตกาล แลปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อจะนำสัตว์ให้พ้นจากสงสารวัฏ ไปสู่พระนฤพานในอนาคตกาล"



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 15, 2012, 12:05:26 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 05:43:23 am »



หรือแม้แต่พระเจ้ากรุงธนบุรี ก็ยังทรงเชื่อในโลกทัศน์แบบพุทธภูมิคือที่หมายสุดท้ายของชีวิตเช่นนี้ พระองค์ได้ทรงตั้งพระสัตยาธิษฐานไว้ในคราวบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดบางยี่เรือใต้ว่า "เดชะผลทานนี้... จงเป็นปัจจัยแก่พระโพธิญาณในอนาคตกาลโน้นเทอญ"

หลังสมัยรัชกาลที่ 1 มาถึงสมัยรัชกาลที่ 3 อุดมคติแห่งชีวิตที่ผูกโยงอยู่กับมรรค ผล นิพพาน ของชนชั้นนำไทย (ซึ่งเป็นเหมือนตัวแทนของประชาชนในสมัยนั้นด้วย) ก็ยังคงเด่นชัดอยู่ ดังปรากฏอยู่ในพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จารึกไว้ในฐานพระสมุทรเจดีย์ ที่จังหวัดสมุทรปราการ ว่า

"ทรงปรารถนาพระโพธิญาณศรัทธิกบารมี...ทรงพระวิริยะภาพเพียรพะยายามตามประเพณีพระมะหาโพธิสัตว์เจ้าแต่ปางก่อนสืบมา...ปลงพระไทยแต่จะให้สำเร็จแก่พระสรรเพชญโพธิญาณจะรื้อขนสัตว์จากสงสารทุกข์"

ในศิลาจารึกสมัยพุทธศตวรรษที่ 13-14 ที่จังหวัดนครราชสีมา มีข้อความตอนหนึ่งว่า "ขอให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย...จงเป็นพุทธองค์...และลุถึงพุทธภูมิ"

ข้อความในศิลาจารึกฉบับนี้สะท้อนให้เห็นโลกทัศน์ของประชาชนทั่วไปที่มีความเชื่อ หรือมีอุดมคติในชีวิตเช่นเดียวกันกับชนชั้นนำของตน

แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 อุดมคติแห่งชีวิตที่ผูกพันความฝันอันสูงสุดของตนเองเอาไว้กับพุทธภูมิหรือนัยหนึ่งกับโลกุตรธรรม เริ่มสั่นคลอนและเลือนหายไปในที่สุด ดังที่พระองค์ทรงระบุเอาไว้ในเอกสารฉบับหนึ่งว่า "มิได้ทรงเอื้อมอาจปรารถนาพุทธภูมิ ดังท่านผู้อื่นๆ เป็นอันมาก"

แต่ข้อความสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่า คติการถือเอาพุทธภูมิหรือมรรค ผล นิพพาน เป็นเป้าหมายสูงสุดได้ "ขาดตอน" ลงอย่างจริงจังในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ตอนที่พระองค์ทรงระบุถึงคนที่ "ได้มรรคผลรู้พระนิพพาน" ว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่ "...ทุกวันนี้ ไม่มีคนเช่นนั้นแล้ว"

นอกจากนี้แล้ว ทัศนะของชนชั้นนำไทยอย่างเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ ผู้เขียนหนังสือ "แสดงกิจจานุกิจ" ที่กล่าวว่า "ทุกวันนี้ พระอริยบุคคลที่จะเป็นเนื้อนาบุญไม่มีแล้ว" ก็เป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่ยืนยันได้ว่า ปฏิเวธสัทธรรม ได้ถูกทำให้เป็นเรื่องที่ไม่มีความหมายอีกต่อไปในสมัยพระจอมเกล้านี่เอง

และเมื่อปฏิเวธสัทธรรมกล่าวคือ มรรค ผล นิพพาน หรือพุทธภูมิ ไม่ได้รับความสำคัญอีกต่อไปในสมัยรัชกาลที่ 4 สิ่งที่ถูกนำมาเน้นย้ำก็คือประโยชน์ในปัจจุบันหรือโลกิยธรรม (เข้ามาแทนที่โลกุตรธรรม)



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 15, 2012, 01:39:53 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 05:49:47 am »



คําถามสำคัญก็คือ ทำไมโลกุตรธรรม หรือปฏิเวธสัทธรรม และ/หรือมรรค ผล นิพพาน ซึ่งเคยมีบทบาทสำคัญถึงขนาดเป็นโลกทัศน์หลักของชนชั้นนำไทยและประชาชน จึงมาขาดช่วงหรือไม่มีความสำคัญอีกต่อไปในสมัยรัชกาลที่ 4

คำตอบก็คือ เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการศึกษาแผนใหม่ที่รับอิทธิพลมาจากประเทศตะวันตกนั่นเอง การศึกษาแผนใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญนั้น ถูกถ่ายทอดผ่านมายังภาษาอังกฤษ

หรือกล่าวให้ตรงกว่านั้นก็คือ
ผ่านมายังตำรับตำราภาษาอังกฤษมากมายที่พระองค์ทรงศึกษาเพื่อเตรียมรับมือกับจักรวรรดินิยมตะวันตก รวมทั้งผ่านตำราแขนงอื่นๆ ที่ต่างออกไปจากภูมิปัญญาไทยแบบเดิม และผ่านวิธีวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ซึ่งทรงสนพระทัยศึกษาค้นคว้าเป็นพิเศษจนต่อมาทรงได้รับการยกย่องให้เป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ของเมืองไทย นับแต่สมัยที่พระองค์ยังทรงครองเพศสมณะและเป็นที่รู้จักกันในฐานะ "วชิรญาณภิกขุ" เสียด้วยซ้ำ

ลักษณะจำเพาะอย่างหนึ่งของของการศึกษาแผนใหม่ที่พระจอมเกล้าทรงศึกษา ก็คือ วิทยาการต่างๆ ล้วนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวิธีวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ที่เน้นความมีเหตุผล และเน้น "ความรู้เชิงประจักษ์" เป็นสำคัญ ทั้งนี้ โดยมีระบบเหตุผลหรือลัทธิเหตุผลนิยมเป็นเครื่องมือสนับสนุนที่หนักแน่นยิ่งนัก

ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เมื่อศึกษาวิทยาการแผนใหม่อย่างลึกซึ้งแล้ว โลกทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเปลี่ยนแปลงไปจากคนในสมัยก่อนหน้านั้นอย่างแทบจะสิ้นเชิง

ผลของการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการศึกษาแผนใหม่ก็คือ ทำให้พระองค์ทรงกลายเป็นนักเหตุผลนิยม และนักมนุษยนิยม ที่โดดเด่นของยุคสมัย คำสอนของพระองค์อันเนื่องด้วยพุทธศาสนาแต่เมื่อเป็นวชิรญาณภิกขุก็ดี แม้เมื่อทรงลาสิกขาออกมาเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์เต็มตัวแล้วก็ดี มีน้ำเสียงของความเป็นนักเหตุผลนิยมและเน้นความจริงเชิงประจักษ์อย่างชัดเจน เช่น

เรื่องนรกสวรรค์ พระองค์ก็ทรงอธิบายเสียใหม่โดยเน้นไปที่ "สวรรค์ในอก นรกในใจ" เป็นสำคัญ

คติเรื่องพระนิพพานคืออุดมคติสูงสุดของชีวิตก็ทรงไม่ให้ความสำคัญ เพราะเป็นเรื่องเหนือวิสัยไกลตัวนัก



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 15, 2012, 11:23:57 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 05:55:33 am »



หลักฐานที่เด่นชัดที่สุดก็คือ การที่ทรงปรับเปลี่ยนวิธีบรรพชาของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย โดยในคำขอผ้ากาสายะ ทรงโปรดให้ตัดข้อความบาลีที่แปลว่า "เพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน เป็นที่ออกไปจากทุกข์ทั้งปวง : นิพฺพานสจฺฉิกรณตฺถาย" ออกเสีย

ทั้งนี้ โดยทรงให้เหตุผลว่า การกล่าวข้อความเช่นว่านั้น "ไม่ตรงต่อความจริงใจของผู้กล่าวมากกว่ามาก" ซึ่งเราอาจตีความได้อีกอย่างหนึ่งว่า การบวชไม่ใช่เป็นเรื่องของการทำพระนิพพานให้แจ้ง หรือไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อการก้าวไปให้ถึงพระนิพพานอีกต่อไป

โลกทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับอิทธิพลมาจากระบบการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์วัตถุนิยมเต็มรูปแบบนี้ ไม่เพียงปรากฏในขณะเมื่อยังทรงเป็นภิกษุเท่านั้น ทว่า เมื่อเสวยราชย์แล้ว พระองค์ก็ทรงเลิกเชื่อมั่นในโลกทัศน์แบบไตรภูมิอย่างชัดเจน แล้วหันมาทรงเน้นศักยภาพของมนุษย์ (มนุษยนิยม) มากกว่า เช่น

เมื่อทรงเอ่ยถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ของพระองค์ ก็ทรงปฏิเสธว่าไม่ใช่ได้มาเพราะ "บุญญาธิการ" แต่ปางก่อนเหมือนอย่างที่เคยเชื่อกันมา ทว่า พระองค์กลับทรงเชื่อว่า การทั้งปวงที่ทำให้ได้เป็นพระมหากษัตริย์นั้นเป็นเพราะ "มนุษย์" มากกว่า

เช่น ที่พระองค์ตรัสยืนยันแนวคิดเช่นนี้ไว้ว่า
"ที่ได้เปนเจ้าแผ่นดินทั้งนี้ ครั้นจะว่าไปว่าได้เปนด้วยอำนาจเทวดา ก็จะเปนอันลบหลู่บุญคุณของท่านผู้หลักผู้ใหญ่ที่ท่านพร้อมใจกันอุปถัมภ์ค้ำชูให้เปนเจ้าแผ่นดินนั้นไป ด้วยว่า ความที่ได้เปนเจ้าแผ่นดิน เพราะท่านผู้หลักผู้ใหญ่ค้ำชูอุดหนุนนั้น รู้อยู่แก่ตา เห็นอยู่แก่ตา ของคนเปนอันมากตรงๆ ไม่อ้างว่าอำนาจเทวดาแล้ว"

ข้อความที่ว่า "รู้อยู่แก่ตา เห็นอยู่แก่ตา ของคนเปนอันมาก ไม่อ้างว่าอำนาจเทวดาแล้ว" นั้น สะท้อนท่าทีแบบเหตุผลนิยม (ไม่อ้างอำนาจพิเศษเหนือสามัญวิสัย) มนุษยนิยม (ยอมรับศักยภาพของมนุษย์) และสะท้อนท่าทีวิทยาศาสตร์แบบประจักษ์นิยม/วัตถุนิยม (เน้นความจริงเชิงประจักษ์ที่เห็นผ่านประสาทสัมผัส) อย่างไม่ต้องสงสัย

และด้วยเหตุดังนั้นเอง เราจึงอาจกล่าวได้ว่า โลกทัศน์ที่ถือเอาโลกุตรธรรมอย่างคติการถึงพุทธภูมิเป็นที่หมายสุดท้ายของชีวิตก็ดี การเชื่อมั่นว่ามรรค ผล นิพพาน และนรกสวรรค์เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงก็ดี

ได้ "ขาดตอน" ลงและหายไปจากโลกทัศน์ไทยเอาในสมัยรัชกาลที่ 4 นี่เอง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 15, 2012, 06:54:05 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 05:57:08 am »



ต่อมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็นพระโอรสองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้นำในการปฏิรูปการศึกษาของคณะสงฆ์ พระองค์ซึ่งทรงได้รับการศึกษาแผนใหม่ ภายใต้โลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์เหตุผลนิยม/มนุษยนิยมเช่นเดียวกับพระราชบิดา ก็ได้สานต่อแนวคิดแบบลดทอนความสำคัญของโลกุตรธรรมลงให้เด่นชัดยิ่งขึ้น เป็นต้นว่า ตำราที่ทรงรจนานั้นก็เน้นเฉพาะ "ประโยชน์ในปัจจุบัน" (ทิฏฐธรรมมิกัตถประโยชน์) เป็นหลัก

หนังสือเล่มหนึ่งซึ่งสำคัญมากคือ "นวโกวาท" นั้นต้องนับว่าเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดที่แสดงให้เห็นแนวความคิดแบบเหตุผลนิยม และความจริงเชิงประจักษ์แบบวิทยาศาสตร์ เพราะในหนังสือเล่มนี้ไม่กล่าวถึง "โลกุตรธรรม" เอาเลย

เมื่อกล่าวถึงหลักธรรมสำคัญต่างๆ แล้ว ก็มาหยุดอยู่เพียง "คิหิปฏิบัติ" (หลักธรรมสำหรับคฤหัสถ์) หรือเมื่อทรงกล่าวถึงสมาธิภาวนาบ้าง ก็ทรงกล่าวถึงแต่ในฐานะที่เป็นวิชาการทางปริยัติ (ทฤษฎี) ล้วนๆ ทั้งนี้ จึงไม่จำต้องกล่าวถึงธรรมขั้นลึกอย่างปฏิจจสมุปบาทหรืออิทัปปัจยตาว่าจะได้รับการยกขึ้นมาเน้นย้ำหรือไม่

แต่หลักฐานชิ้นสำคัญที่ทำให้เราเห็นได้ว่า แนวคิดเรื่องมรรค ผล นิพพาน ถูกทำให้เลือนหายไปอย่างเด่นชัดในสมัยของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ก็คือ การที่ทรงปฏิเสธที่จะนับเอา "ปฏิบัติสัทธรรม" (สมถกรรมฐาน, วิปัสสนากรรมฐาน) เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาคณะสงฆ์ โดยทรงให้เหตุผลว่า "เพราะเป็นวิชาที่ไม่มีหลักที่จะสอบไล่ได้"

นอกจากไม่ทรงสนพระทัยที่จะจัดให้ปฏิบัติสัทธรรม (โลกุตรธรรม) เป็นวิชาสำคัญในหลักสูตรการศึกษาของคณะสงฆ์แล้ว พระองค์ยังไม่ทรงมีนโยบายในทางส่งเสริมให้พระสงฆ์สนใจในวิปัสสนากรรมฐาน หากแต่ทรงหันมาส่งเสริมให้พระสงฆ์สนใจแต่เรื่องปริยัติธรรมและการปกครองอย่างเป็นด้านหลัก

เครื่องมือสำคัญของพระองค์ที่ทรงใช้เพื่อการนี้ก็คือ ระบบสมณศักดิ์ นั่นเอง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 15, 2012, 07:23:40 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 05:59:43 am »



และด้วยเหตุดังที่กล่าวมา การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสมถกรรมฐาน/วิปัสสนากรรมฐานอันเกี่ยวเนื่องกับมรรคผลนิพพานหรือโลกุตรธรรม จึงค่อยๆ เลือนหายไปจากวิถีชีวิตและจากระบบการศึกษาของคณะสงฆ์โดยลำดับอย่างเป็นรูปธรรม และกลายเป็นมรดกที่ตกทอดมาจนถึงยุคสมัยของ พระมหาเงื่อม อินทปัญโญ (พ.ศ.2475-ปัจจุบัน)

จนเป็นเหตุให้ท่านปฏิเสธระบบการศึกษาของคณะสงฆ์กระแสหลักโดยให้เหตุผลว่า ไม่ใช่แนวทางที่จะทำให้ค้นพบความบริสุทธิ์ และการศึกษาพระปริยัติธรรมทางเจือด้วยยศศักดิ์ ก็เป็นการ "ก้าวผิด" ไปก้าวหนึ่ง จนทำให้ท่านเลิกก้าวตามโลกอย่างสิ้นเชิงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2475 ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงหนึ่งเดือน

การค้นพบ "เงื่อน" ที่ทำให้เราได้รับคำตอบว่าโลกุตรธรรมกล่าวคือ มรรค ผล นิพพาน หายไปจากระบบการศึกษาของคณะสงฆ์กระแสหลักได้อย่างไร ทำให้เราเข้าใจคณะสงฆ์ในปัจจุบันได้ชัดขึ้น รวมทั้งสามารถอธิบายสาเหตุแห่งความเสื่อมทรามของคณะสงฆ์ได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้น

และประการสำคัญยังทำให้เราได้ค้นพบคำตอบด้วยว่า เหตุไรการศึกษาที่เป็นผลมาจากการปฏิรูปพุทธศาสนาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความใฝ่รู้ความจริงของท่านพุทธทาสภิกขุได้

             

และสิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ทำให้เราได้เห็นความแตกต่างระหว่างท่านพุทธทาสภิกขุ กับนักปฏิรูปพุทธศาสนาชั้นนำอย่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญารวโรรส ซึ่งเติบโตมากับโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์เหตุผลนิยม/มนุษยนิยมเหมือนกัน แต่ทว่า นักปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งสองฝ่ายกลับมีปฏิสัมพันธ์ต่อพระพุทธศาสนาหรือโลกุตรธรรมแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะท่านพุทธทาสภิกขุได้นำเอาโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์เหตุผลนิยมและมนุษยนิยมนั้นเองมาช่วยในการขับเคลื่อนเพื่อ "รื้อฟื้น" โลกุตรธรรมให้คืนกลับมา

ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กลับนำเอาโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์นั้นแหละมาเป็นเครื่องมือเพื่อลดทอนโลกุตรธรรม จนหายไปจากวิถีชีวิตของพระสงฆ์ และระบบการศึกษาของคณะสงฆ์อย่างแทบจะสิ้นเชิง




Credit by :http://info.matichon.co.th/weekly/wk_txt.php?srctag=MTMyMzAwNjQ5
Pics by : Google
ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
กราบ.. อนุโมทนาสาธุค่ะ...

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 15, 2012, 07:33:53 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ กระตุกหางแมว

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 943
  • พลังกัลยาณมิตร 545
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 09:55:41 am »
ขยันจังครับ
หลับตื่นเป็นสุขครับพี่แป๋ม
อัน1เพ ของดี มีตำหนิ แต่พอใจ
-อยากอยู่อย่างเพียงพอ แต่ใจไม่ยอมพอเพียง-

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 01:11:15 pm »
ขยันจังครับ
หลับตื่นเป็นสุขครับพี่แป๋ม

คุ้นๆนะคำนี้ ทีคุงเพื่อนเลิฟ คุ้นมากอ่ะ 55+
 :13: ขอบคุณครับพี่แป๋ม อนุโมทนาจิตครับ
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เหตุปัจจัย ที่พระศาสนา จะตั้งอยู่นาน
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2012, 02:09:20 pm »


                 

เหตุปัจจัย ที่พระศาสนา จะตั้งอยู่นาน
ภายหลัง พุทธปรินิพพาน

“ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุ อะไร เป็นปัจจัย
ที่เมื่อพระตถาคต ปรินิพพานแล้ว
พระสัทธรรม จะไม่ตั้งอยู่นาน ?
ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่เมื่อ
พระตถาคต ปรินิพพานแล้ว
พระสัทธรรม จะตั้งอยู่นาน พระเจ้าข้า !”

พราหมณ์ ! เพราะไม่มีการทำให้เจริญ เพราะไม่มี
การกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐานทั้งสี่ ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว สัทธรรมย่อมไม่ตั้งอยู่นาน.

แต่พราหมณ์เอ๋ย ! เพราะมีการกระทำให้เจริญ
มีการกระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐานทั้งสี่ ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว สัทธรรมย่อมตั้งอยู่นาน.

สติปัฏฐานสี่ อย่างไรเล่า ?
พราหมณ์ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติตามเห็น
กายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออก เสียได้ซึ่ง อภิชฌาและ
โทมนัสในโลก;

เป็นผู้ตามเห็น เวทนาใน เวทนาทั้งหลายอยู่เป็น
ประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌา และ โทมนัสในโลก;

เป็นผู้ตามเห็นจิตใน จิตอยู่เป็นประจำ มีความ
เพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่ง
อภิชฌาและโทมนัสในโลก;

เป็นผู้ตามเห็นธรรมใน ธรรมทั้งหลายอยู่เป็น
ประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌา และ โทมนัสในโลก
.

พราหมณ์ ! เพราะ ไม่มีการทำให้ เจริญ เพราะไม่
มีการกระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ทั้งสี่เหล่านี้แล
ในเมื่อ
ตถาคตปรินิพพาน แล้ว สัทธรรม ย่อมไม่ตั้งอยู่นาน.
แต่เพราะมี การกระทำให้เจริญ มีการกระทำ ให้มาก ซึ่ง
สติปัฏฐานทั้งสี่เหล่านี้แล
ในเมื่อ ตถาคต ปรินิพพานแล้ว
สัทธรรมย่อมตั้ง อยู่นาน
, ดังนี้.

พราหมณสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๓๒/๗๗๘ - ๗๗๙.
-http://www.facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า