ช่วงน้ำท่วมแบบไร้ทิศไร้ทาง ภัยหนึ่งที่ทุกคนควรระวังนอกจากโรคน้ำกัดเท้า หรือพยาธิ ปลิง และสารเคมี หนีไม่พ้นในเรื่องของภัยจากไฟฟ้าดูด เนื่องจากกระแสไฟแม้จะตัดไปแล้วสำหรับพื้นที่น้ำท่วมสูง แต่ก็ไม่ควรชะล่าใจในบางจุดอาจมีไฟฟ้ารั่วลงในแหล่งน้ำได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ทีมวิจัยจากสจล.จึงพยายามพัฒนาอุปกรณ์ตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วใน น้ำเพื่อป้องกันการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตขึ้น
นายดุสิต สุขสวัสดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า เป็ดน้อยกู้ภัยน้ำท่วมเป็นไอเดียที่เกิดขึ้นหลังเห็นข่าวคนโดนไฟดูดจาก เหตุการณ์น้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง จนเกิดความตั้งใจว่าจะต้องพัฒนาอุปกรณ์ตรวจสอบการเกิดไฟฟ้ารั่วบริเวณที่ เกิดเหตุอุทกภัยให้ได้ เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์เสริมในการดำรงชีวิตของผู้ประสบภัยน้ำท่วม หรืออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ที่ต้องลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
“อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นจะลดความเสี่ยงให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมจาก เหตุการณ์ไฟฟ้าดูด รวมถึงอำนวยความสะดวกกับเจ้าหน้าที่ในการลงพื้นที่ทำงานช่วยเหลือผู้ประสบ อุทกภัยให้ทำงานได้อย่างปลอดภัยเช่นกัน”นักวิจัย กล่าว
อุปกรณ์เป็ดน้อยกู้ภัยน้ำท่วม ถูกออกแบบขึ้นในเวลาเพียง 3 สัปดาห์โดยเป็นการนำเอาเซ็นเซอร์ตรวจวัดกระแสไฟมาประกอบเป็นวงจรเข้ากับหลอด แอลอีดี และลำโพงบัซเซอร์ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการเกิดไฟฟ้ารั่วในแหล่งน้ำที่ต้องเดินทางเข้าไป ด้วยการส่งสัญญาณเตือนในรูปของแสงและเสียงด้วยพลังงานจากถ่าน 2 เอ จำนวน 4 ก้อน ที่ผ่านมาการตรวจสอบกระแสไฟรั่วต้องใช้ไขควงเทสไฟราคาอันละ 20-30 บาทตรวจวัด แต่ก็ไม่เหมาะกับการนำมาใช้กับกระแสไฟฟ้าที่รั่วในแหล่งน้ำโดยตรงเรื่องจาก ตัวผู้ตรวจสอบอาจได้รับอันตรายโดยตรงก็ได้
วิธีการใช้งานเป็ดน้อยกู้ภัย เพียงเปิดสวิซ แล้วนำตัวเป็ดหย่อนลงบริเวณที่ต้องการตรวจสอบการรั่วของไฟฟ้า ตัวเป็ดจะแสดงไฟสีเขียวบอกสถานะพร้อมทำงาน และเมื่อตรวจพบกระแสไฟฟ้ารั่วอยู่ในน้ำจะแสดงผลเป็นไฟสีแดงพร้อมส่งเสียง เตือนให้รู้ว่าบริเวณที่ตรวจสอบมีการรั่วของกระแสไฟ
ขณะนี้ทีมวิจัยอยู่ระหว่างช่วยกันผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อจะส่งมอบให้ กับผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อป้องกันชีวิตทั้งตนเองในช่วงน้ำท่วม ซึ่งกระบวนการผลิตมีทีมงานที่เป็นนักศึกษาอยู่ประมาณ 20 คน ซึ่งเป้าหมายที่ทีมวิจัยวางไว้ ตั้งใจจะผลิตให้ได้ก่อนประมาณ 500 ตัว เพื่อส่งมอบให้กับผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วม
นักวิจัย กล่าวต่อว่า อุปสรรคที่พบในตอนนี้คือ ทีมผู้ร่วมงานยังขาดความชำนาญในการต่ออุปกรณ์ทำให้ต้องมีการตรวจสอบอย่าง ละเอียด เพราะหากสายไม่แน่นหรือวงจรหลวม อุปกรณ์ก็อาจไม่ทำงานในสถานการณ์จริงได้เช่นกัน
“การพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่มีความเสี่ยง ซึ่งการผลิตเป็ดน้อยกู้ภัยน้ำท่วมล็อตแรกประมาณ 200 ตัวซึ่งมีราคาต้นทุนประมาณ 300 บาทต่อชุดได้รับการสนับสนุนจากสจล.” นักวิจัย กล่าวและว่า หากมีอาสาสมัครที่บ้านใกล้สนใจมาช่วยกันประกอบอุปกรณ์ สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ที่สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังในเวลา 21.00-02.00 น.หรือเข้ามาเป็นแฟนเพจทำความรู้จักกับนวัตกรรมดังกล่าวกันได้ในเฟซบุ๊ค
www.facebook.com/floodduck54 ทั้งนี้หน่วยงานใดที่ประสงค์จะนำเครื่องตรวจสอบไฟฟ้ารั่วในบริเวณที่มี น้ำท่วมไปใช้ประโยชน์ หรือขอความช่วยเหลือในด้านต่างๆ สามารถติดต่อลงชื่อได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมพระจอมเกล้า ลาดกระบังโทร.0 2329 8277, 0 2329 8288 และ 0 2329 8299 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น หรือร่วมบริจาคเงินสนับสนุน ได้ที่ชื่อบัญชี พระจอมเกล้าลาดกระบังปันน้ำใจช่วยภัยน้ำท่วม เลขที่บัญชี 088-251-3376 ธนาคารไทยพาณิชย์
ช่วงนี้หลายๆคนประสบภัยน้ำท่วมกัน ก็รักษาสุขภาพกายใจนะครับ
เป็นกำลังใจให้นะครับผม
ขอบคุณทุกลิ้งค์ที่มานะครับ
ขอบคุณครับ
www.facebook.com/floodduck54http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/416110http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000136820