ผู้เขียน หัวข้อ: ปราณปรัชญา  (อ่าน 1553 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ปราณปรัชญา
« เมื่อ: ตุลาคม 31, 2011, 12:46:16 am »

             

ปราณปรัชญา
เรียงร้อย ถ้อยคำ ตำนาน กำเนิดปราณ
Prann Philology
        By Jiradaj Meemalai
                 
        [ ปราณ ] ส. [ ป.ปาณ ] น. หมายถึงลมหายใจ, ชีวิต อาจแสดงออกตามลักษณะของลม (ปราณ) อันมีความเกี่ยวเนื่องกับชีวิต, และเมื่อใดที่เราต้องการศึกษาความสัมพันธ์อันเป็นปัจจัยในการแสดงตัวของลม (ปราณ) เราก็มีความจำเป็นในการศึกษาพื้นที่ว่าง (SPACE)

        ลม (ปราณ) มีความสำคัญอันเกี่ยวเนื่องกับชีวิต ทั้งทางชีวภาพและกายภาพ ทั้งยังมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ และกายภาพ อย่างกว้างและอย่างลึก, ทั้งกับสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม

        หากแต่ตัวตนของลม (ปราณ) กลับเป็นสิ่งที่จับต้องมิได้ แลเห็นมิได้ ยินเสียงมิได้ ไร้รส ไร้กลิ่น เพียงเผยตัวเองผ่านสิ่งที่มีปฎิสัมพันธ์กันในสิ่งแวดล้อม

        เราอาจกล่าวได้ว่า ลม (ปราณ) มีลักษณะอันเป็นนามธรรม ที่มีความสำคัญลำดับต้น ๆ ในการดำรงชีวิตของสรรพสิ่ง ในสากลจักรวาล และเป็นลมหายใจของจักรวาล ดังที่ ANAXIMANDER1. นักปราชญ์ลัทธิ MILESIAN ของกรีก กล่าวว่า "PMEUMA" คือลมหายใจของจักรวาล และจักรวาลเป็นระบบองค์รวมและหล่อเลี้ยงด้วยอากาศธาตุ อย่างขาดเสียมิได้.
                                   
        ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา (AMERICAN NATIVE) แสดงภาพลักษณะแห่งนามธรรมของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ของลม (ปราณ) ผ่านคำกล่าวเชิงปัญญาที่ว่า "ร่างกายของฉันคืออะไร ? แขน-ขา-ตา-หู หรือส่วนต่าง ๆ - ถ้าฉันขาดแขน-ขา ฉันก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ แต่ถ้าฉันขาดอากาศ (บริสุทธิ์) แม้เพียงไม่กี่นาที ฉันตาย !

        คนในยุคบุพกาล ได้สอนให้เรารู้ถึงความหมายอันลุ่มลึก ของสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ และสามารถแสดงภาพของสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็นรูปธรรม ด้วยวิธี (มรรค) อันหลากหลาย.

        และถึงแม้ด้วยเหตุปัจจัยบางประการจะทำให้เราเหล่ามนุษย์ปุถุชน มิสามารถเข้าถึงองค์ญาณ ความรู้เชิงนามธรรม หรือแม้แต่ปัญญาของนักวิทยาศาสตร์จะสำเนียกไปถึงได้ เราก็ยังไม่สามารถปฏิเสธความหมายและคุณลักษณ์ทางนามธรรมได้ โดยสิ้นเชิง.
                                         
        พุทธศาสนาในธิเบต ลัทธิตันตระ (TANTRA)2. ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องของลม (ปราณ) เอาไว้อย่างน่าสนใจ ในหนังสือชื่อ THE TIBETIAN BOOK OF THE DEAD รจนาโดยท่าน ยังเจนกาเวย์โลโดร ซึ่งเป็นพระนิกาย เกลุกปะ เมื่อราว 200 ปีมาแล้ว กล่าวว่า

        'ลม (ปราณ) หรืออากาศธาตุมีความสำคัญต่อผู้รู้แจ้งในการเตรียมตัวเข้าสู่พระอริยมรรค ด้วยการกำหนดลมปราณ, การปฏิบัติอนุตตรโยคตันตระ พระโยคาวจร อาจทำลมที่หยาบและละเอียดให้สลายตัว กลายเป็นลมอย่างละเอียดยื่งขึ้น ชนิดที่คงไว้ ณ ดวงหทัย.

        ในร่างกายเรานั้นมีช่องว่าง (SPACE) อยู่ถึง 7 หมื่น 2 พันช่อง ที่ลมจะสามารถเคลื่อนไหวไปสู่ เมื่อตอนตาย ลมที่เป็นฐานของจิตสำนึก (วิญญาณขันธ์) ก็จะสลายตัวไปตามช่องต่าง ๆ.

        สภาพความตาย เกิดขึ้นตอน กองลมต่าง ๆ แปรสภาพ, ช่องต่าง ๆ ก็แปรสภาพ อันเป็นสัญญาณทางรูปธรรม และเมื่อลมสลายตัว จะสูญสมรรถภาพที่จะเป็นฐานให้กับวิญญาณขันธ์ และจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ทางด้านประสบการณ์ของจิต อันเป็นสัญญาณทางนามธรรม.

        ความตายจะเริ่มขึ้นเมื่อกองลมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับแต่ละธาตุทั้ง 4 เริ่มสลายตัวตามลำดับ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม.'
                     
        ส่วนในคัมภีร์ 'I CHING' ของเต๋า ก็ได้เอ่ยถึงลม (ปราณ) ในฐานะเป็นพลังขับเคลื่อนของจักรวาล โดยเรียกพลังแห่งปราณนั้นว่า 'CHE' ฉี', ฉี' สามารถแสดงออกให้เห็นอย่างชัดขึ้น โดยผ่านขบวนท่าทางอันเคลื่อนไหว (เลื่อนไหล) ของ 'TAI CHE' กล่าวคือ การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสัมพันธ์กับลม (ปราณ) ในทางปฏิบัติของ 'TAI CHE' จะมีแต่การกระทำ แต่ไม่มีผู้กระทำ หมายความว่า เรา มิได้เป็นผู้ขับเคลื่อนเรือนร่าง ขับย้าย โยกเอียงเปลี่ยนท่า หากแต่พลัง CHE' เป็นตัวขับเคลื่อนทั้งหลายทั้งสิ้นนั้น โดยร่างกายของเราเป็นเพียงทางผ่านของพลัง CHE' ทั้งภายในและภายนอกอย่างสัมพันธ์กัน.

        พลังของ ฉี' ผ่านเข้าสู่ร่างกายของเราจากปลายจมูกสัมผัส ในขณะเริ่มแรกเคลื่อนไหวจนจบ, หยุดขบวนท่าด้วย ถ่ายพลังฉี ออกจากร่างกายผ่านปลายจมูกสัมผัส แต่ในขณะแห่งการเคลื่อนไหลทั้งหลายนั้น เป็นไปตามคุณลักษณะของฉี.

        พลังของ ฉี', เป็นสิ่งที่ไม่มีต้น, ไม่มีปลาย เข้าและออก ผ่านและไหลไปตามพื้นที่ว่าง (SPACE) ตามจังหวะแห่งการคลายตัวและหดตัว สำเนียกเป็นดั่งบทเพลงของจักรวาล ซึ่งขับบรรเลง เสียงเพลงแห่งลมหายใจ.
                                               
        ณ ที่แห่งนี้ บทเพลงแห่งไพรพฤกษ์ขยับไหว แกว่งไกว ตามสายลม กำเนิดสรรพเสียงของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ และในท่วงทำนองอันเอื่อยไหล, รินเรียบ, เงียบสงบนั้น ก็มิได้หมายความว่า บทเพลงบรรเลงสิ้นลง หากแต่เป็นทำนองขยับ เพื่อตอบรับการโหมโรงอีกเพลา.

        ปราณ, บทเพลงที่ไม่มีต้น-ไม่มีปลาย ขยับเคลื่อนเลื่อนไหวไปตามจังหวะจักรวาล.
        บรรณสารอ้างอิง
        1 : THE TAO OF PHYSICS, โดย FRIJOF CAPPA (CHAPTER 1 : MODERN PHYSIC P.25)
        2 : THE TIBETIAN BOOK OF THE DEAD แปลโดย ส. ศิวลักษณ์ (ขยายความนอกเหนือพระนิพนธ์ P.71)

    หมายเหตุ LOGO ประกอบทั้งหมดโดยคุณจิระเดช มีมาลัย แห่ง Jidaj Studio 
:http://www.reocities.com/SunsetStrip/Studio/1727/prnphilo.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 31, 2011, 01:23:35 am โดย ฐิตา »