ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธาธิคุณ  (อ่าน 7286 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

mind

  • บุคคลทั่วไป
พระพุทธาธิคุณ
« เมื่อ: มีนาคม 30, 2012, 07:48:50 am »

 

               พระพุทธาธิคุณ
จาก เอกอัจฉริยะบรมบุรุษ "พระพุทธเจ้า"
Credit:"เนาว์สถิตย์" (NAOSATITT)

เพื่อเป็นการแสดงพระพุทธอัจฉริยภาวะอันประเสริฐสูงสุด หาใดเสมอสองมิได้แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ให้ปรากฏทั่วไป อันจะพึงเป็นมหากุศลใหญ่และแรงบันดาลใจอย่างไร้ขอบเขตที่สิ้นสุดสืบไปเมื่อหน้า
จึงเป็นการอันสมควรแล้วที่จะได้รวบรวมเอาพระพุทธาธิคุณทั้งปวงอย่างสรุปรวบยอดมาประมวลบันทึกและนำเสนอไว้ ณ ที่นี้แท้ทีเดียว....

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ


พระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมีเป็นเอนกประการ สุดที่จะพรรณนา
แต่เมื่อรวบรัดกล่าวโดยย่อแล้วก็มี ๙ ประการ คือ

๑. อรหํ เป็นผู้ไกลจากข้าศึก คือ กิเลส อีกนัยหนึ่งว่า เป็นผู้ที่ไม่มีที่รโหฐาน หมายความว่า แม้แต่ในที่ลับ ก็ไม่กระทำบาป
๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นผู้ที่ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง
๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ วิชาและจรณะนี้ได้แสดงแล้วในปริจเฉทที่ ๗ ตอน สัพพสังคหะ ตรงมรรคอริยสัจจ ขอให้ดูที่นั่นด้วย

๔. สุคโต แปลว่า ทรงไปแล้วด้วยดี ซึ่งในที่นี้มีความหมายถึง ๔ นัย คือ
ก. เสด็จไปงาม คือไปสู่ที่บริสุทธิ์ อันเป็นที่ที่ปราศจากโทษภัยทั้งปวง ซึ่งหมายถึง อริยสัจจทั้ง ๔
ข. เสด็จไปสู่ฐานะอันประเสริฐ คือ อมตธรรม อันเป็นธรรมที่สงบระงับจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง
ค. เสด็จไปในที่ถูกที่ควร คือพ้นจากวัฏฏะ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
ง. ทรงตรัสไปในทางที่ถูกที่ชอบ คือทรงเทศนาในสิ่งที่เป็นความจริงและเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้ฟัง
ประมวลลักษณะแห่งพระพุทธดำรัสได้เป็น ๖ ลักษณะ ดังจะแสดงโดยย่อที่สุด ดังนี้
(๑) ไม่จริง ไม่กอปร์ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น ไม่ตรัส
(๒) ไม่จริง ไม่กอปร์ด้วยประโยชน์ แม้จะเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น ก็ไม่ตรัส
(๓) จริง แต่ไม่กอปร์ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น ไม่ตรัส
(๔) จริง แต่ไม่กอปร์ด้วยประโยชน์ แม้จะเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น ก็ไม่ตรัส
(๕) จริงและกอปร์ด้วยประโยชน์ถึงจะไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่นก็รู้กาลที่จะตรัส
(๖) จริงและกอปร์ด้วยประโยชน์และเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่นด้วยก็รู้กาลที่จะตรัส


๕. โลกวิทู พระพุทธองค์ทรงรู้โลกอย่างแจ่มแจ้งด้วยประการทั้งปวง คือ ทรงรู้จักโลก รู้จักเหตุเกิดของโลก รู้จักธรรมที่ดับของโลก และรู้จักทางปฏิบัติให้ถึงธรรมที่ดับของโลก
อีกนัยหนึ่ง หมายถึงการแจ้งโลกทั้ง ๓ คือ สังขารโลก สัตวโลก และโอกาสโลก

ก. สังขารโลก หมายถึง สังขารธรรม คือ รูปนาม ได้แก่ จิต เจตสิก รูปทั้งหมด ซึ่งเกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย ด้วยการปรุงแต่ง ทำให้หมุนเวียนไปในสังสารวัฏฏ จำแนกโลกได้เป็นหลายนัย เช่น

โลกนับว่ามี ๑ ได้แก่ สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิกา สัตว์ทั้งหลายย่อมอยู่ได้ด้วยต้องอาศัยอาหารเหมือนกันหมด
โลกนับว่ามี ๒ ได้แก่ นาเม จ รูเป จ คือ นาม ๑ รูป ๑ หรืออีกนัยหนึ่ง ว่าได้แก่ อุปาทินนกสังขาร ๑ อนุปาทินนกสังขาร ๑
โลกนับว่ามี ๓ ได้แก่ ตีสุ เวทนาสุ คือ เวทนา ๓ มี สุขเวทนา ทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา
โลกนับว่ามี ๔ ได้แก่ จตูสุ อาหาเรสุ คือ อาหาร ๔ มี กพฬีการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ สติปัฏฐาน ๔
โลกนับว่ามี ๕ ได้แก่ ปญฺจสุ อุปาทานกฺขนฺเธสุ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ อินทรีย ๕
โลกนับว่ามี ๖ ได้แก่ ฉสุ อชฺฌตฺติเกสุ อายตเนสุ คืออายตนะภายใน ๖ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ นิสสรณียธาตุ ๖
โลกนับว่ามี ๗ ได้แก่ สตฺตสุ วิญฺญาณฏฺฐิตีสุ คือวิญญาณฐีติ ๗ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ โพชฌงค์ ๗
โลกนับว่ามี ๘ ได้แก่ อฏฺฐสุ โลกธมฺเมสุ คือ โลกธรรม ๘ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมัคค ๘
โลกนับว่ามี ๙ ได้แก่ นวสุ สตฺตาวาเสสุ คือ สัตตาวาส ๙ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ โลกุตตรธรรม ๙
โลกนับว่ามี ๑๐ ได้แก่ ทสสุ อกุสลกมฺมปเถสุ คือ อกุสลกรรมบถ ๑๐ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ กุสลกรรมบถ ๑๐
โลกนับว่ามี ๑๒ ได้แก่ อายตนะ ๑๒
โลกนับว่ามี ๑๘ ได้แก่ ธาตุ ๑๘

ข. สัตวโลก บาลีเป็น สัตตโลก หมายถึง บุคคล คือสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งทรงแจ้ง ประเภท (บุคคล ๑๒) , เหตุให้เกิด, นิสัย, จริต, บารมี แห่งสัตว์เหล่านั้นทั้งสิ้น
ค. โอกาสโลก หมายถึง ภูมิ อันเป็นที่ตั้งแห่งสังขารธรรม คือ เป็นที่อาศัยเกิด อาศัยอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีจำนวนรวม ๓๑ ภูมิ

๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ ทรงสามารถฝึกอบรมสั่งสอนแนะนำผู้ที่สมควรฝึกได้เป็นอย่างเลิศไม่มีใครเสมอเหมือน ทั้งนี้เพราะทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์นั้น ๆ
๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งไม่มีศาสดาใดจะเทียมเท่า เพราะทรงนำสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากกองทุกข์ได้
๘. พุทฺโธ ทรงเห็นทุกอย่าง (สพฺพทสฺสาวี), ทรงรู้ทุกสิ่ง (สพฺพญฺญู) ทรงตื่น , ทรงเบิกบานด้วยธรรม
๙. ภควา ทรงเป็นผู้ที่มีบุญที่ประเสริฐสุด ทรงสามารถจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ตามควรแก่อัตตภาพของสัตว์นั้น ๆ

mind

  • บุคคลทั่วไป
Re: พระพุทธาธิคุณ :พระพุทธคุณ ๑๐๐ ประการ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 30, 2012, 08:07:01 am »




พระพุทธคุณ ๑๐๐ ประการ
"ดูก่อนท่านผู้เจริญ ! ขอท่านจงฟังซึ่งคำของข้าพเจ้าเถิด
: ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :-
1. เป็นนักปราชญ์ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญา
2. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากโมหะ
3. เป็นผู้มีเสาเขื่อนเครื่องตรึงจิตอันหักแล้ว
4. เป็นผู้มีชัยชนะอันวิชิตแล้ว
5. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากสิ่งคับแค้นสะเทือนใจ
6. เป็นผู้มีจิตสม่ำเสมอด้วยดี
7. เป็นผู้มีปรกติภาวะแห่งบุคคลผู้เป็นพุทธะ
8. เป็นผู้มีปัญญาเครื่องยังประโยชน์ให้สำเร็จ
9. เป็นผู้ข้ามไปได้แล้วซึ่งวัฏฏะสงสารอันขรุขระ
10. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากมลทินทั้งปวง


ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
11. เป็นผู้ไม่มีการถามใครว่าอะไรเป็นอะไร
12. เป็นผู้อิ่มแล้วด้วยความอิ่มในธรรมอยู่เสมอ
13. เป็นผู้มีเหยื่อในโลกอันทรงคายทิ้งแล้ว
14. เป็นผู้มีมุทิตาจิตในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
15. เป็นผู้มีสมณภาวะอันทรงกระทำสำเร็จแล้ว
16. เป็นผู้ถือกำเนิดแล้วแต่กำเนิดแห่งมนูโดยแท้
17. เป็นผู้มีสรีระอันมีในครั้งสุดท้าย
18. เป็นผู้เป็นนรชนคือเป็นคนแท้
19. เป็นผู้อันใครๆ กระทำอุปมามิได้
20. เป็นผู้ปราศจากกิเลสอันพึงเปรียบได้ด้วยธุลี


ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
21. เป็นผู้หมดสิ้นแล้วจากความสงสัยทั้งปวง
22. เป็นผู้นำสัตว์สู่สภาพอันวิเศษ
23. เป็นผู้มีปัญญาเครื่องตัดกิเลสดุจหญ้าคาเสียได้
24. เป็นสารถีอันประเสริฐกว่าสารถีทั้งหลาย
25. เป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่าโดยคุณธรรมทั้งปวง
26. เป็นผู้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความชอบใจของสัตว์ทั้งปวง
27. เป็นผู้มีกังขาเครื่องข้องใจอันทรงนำออกแล้วหมดสิ้น
28. เป็นผู้กระทำซึ่งความสว่างแก่ปวงสัตว์
29. เป็นผู้ตัดแล้วซึ่งมานะเครื่องทำความสำคัญมั่นหมาย
30. เป็นผู้มีวีรธรรมเครื่องกระทำความแกล้วกล้า

ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
31. เป็นผู้เป็นยอดมนุษย์ แห่งมนุษย์ทั้งหลาย
32. เป็นผู้มีคุณอันใครๆ กำหนดประมาณมิได้
33. เป็นผู้มีธรรมสภาวะอันลึกซึ้งไม่มีใครหยั่งได้
34. เป็นผู้ถึงซึ่งปัญญาเครื่องทำความเป็นแห่งมุนี
35. เป็นผู้กระทำความเกษมแก่สรรพสัตว์
36. เป็นผู้มีเวทคือญาณเครื่องเจาะแทงซึ่งโมหะ
37. เป็นผู้ประดิษฐานอยู่ในธรรม
38. เป็นผู้มีพระองค์อันทรงจัดสรรดีแล้ว
39. เป็นผู้ล่วงกิเลสอันเป็นเครื่องข้องเสียได้
40. เป็นผู้หลุดรอดแล้วจากบ่วงทั้งปวง


ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
41. เป็นผู้เป็นดังพระยาช้างตัวประเสริฐ
42. เป็นผู้มีการนอนอันสงัดจากการรบกวนแห่งกิเลส
43. เป็นผู้มีกิเลสเครื่องประกอบไว้ในภพสิ้นสุดแล้ว
44. เป็นผู้พ้นพิเศษแล้วจากทุกข์ทั้งปวง
45. เป็นผู้มีความคิดเหมาะเจาะเฉพาะเรื่อง
46. เป็นผู้มีปัญญาเครื่องทำความเป็นแห่งมุนี
47. เป็นผู้มีมานะเป็นดุจธงอันพระองค์ทรงลดลงได้แล้ว
48. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากราคะ
49. เป็นผู้มีการฝึกตนอันฝึกแล้ว
50. เป็นผู้หมดสิ้นแล้วจากกิเลสเครื่องเหนี่ยวหน่วงให้เนิ่นช้า


ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
51. เป็นผู้แสวงหาพบคุณอันใหญ่หลวง องค์ที่เจ็ด
52. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากความคดโกง
53. เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งวิชชาทั้งสาม
54. เป็นผู้เป็นพรหมแห่งปวงสัตว์
55. เป็นผู้เสร็จจากการอาบการล้างแล้ว
56. เป็นผู้มีหลักมีเกณฑ์ในการกระทำทั้งปวง
57. เป็นผู้มีกมลศันดานอันระงับแล้ว
58. เป็นผู้มีญาณเวทอันวิทิตแล้ว
59. เป็นผู้ทำลายซึ่งธานีนครแห่งกิเลสทั้งหลาย
60. เป็นผู้เป็นจอมแห่งสัตว์ทั้งปวง


ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
61. เป็นผู้ไปพ้นแล้วจากข้าศึกคือกิเลส
62. เป็นผู้มีตนอันอบรมถึงที่สุดแล้ว
63. เป็นผู้มีธรรมที่ควรบรรลุอันบรรลุแล้ว
64. เป็นผู้กระทำซึ่งอรรถะทั้งหลายให้แจ่มแจ้ง
65. เป็นผู้มีสติสมบูรณ์อยู่เองในทุกกรณี
66. เป็นผู้มีความรู้แจ้งเห็นแจ้งเป็นปรกติ
67. เป็นผู้มีจิตไม่แฟบลงด้วยอำนาจแห่งกิเลส
68. เป็นผู้มีจิตไม่ฟูขึ้นด้วยอำนาจแห่งกิเลส
69. เป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหวด้วยอำนาจแห่งกิเลส
70. เป็นผู้บรรลุถึงซึ่งความมีอำนาจเหนือกิเลส

ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
71. เป็นผู้ไปแล้วโดยชอบ
72. เป็นผู้มีการเพ่งพินิจทั้งในสมาธิและปัญญา
73. เป็นผู้มีศันดานอันกิเลสตามถึงไม่ได้แล้ว
74. เป็นผู้หมดจดแล้วจากสิ่งเศร้าหมองทั้งปวง
75. เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้แล้ว
76. เป็นผู้ไม่มีความหวาดกลัวในสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกลัว
77. เป็นผู้สงัดแล้วจากการรบกวนแห่งกิเลสทั้งปวง
78. เป็นผู้บรรลุแล้วซึ่งธรรมอันเลิศ
79. เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งโอฆกันดาร
80. เป็นผู้ยังบุคคลอื่นให้ข้ามซึ่งโอฆะนั้น


ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
81. เป็นผู้มีสันดานสงบรำงับแล้ว
82. เป็นผู้มีปัญญาอันหนาแน่น
83. เป็นผู้มีปัญญาอันใหญ่หลวง
84. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากโลภะ
85. เป็นผู้มีการไป การมาอย่างพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
86. เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
87. เป็นบุคคลผู้ไม่มีบุคคลใดเปรียบ
88. เป็นบุคคลผู้ไม่มีบุคคลใดเสมอ
89. เป็นบุคคลผู้มีญาณอันแกล้วกล้า
90. เป็นผู้มีปัญญาละเอียดอ่อน


ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
91. เป็นผู้เจาะทะลุข่ายคือตัณหาเครื่องดักสัตว์
92. เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานเป็นปรกติ
93. เป็นผู้มีกิเลสดุจควันไฟไปปราศแล้ว
94. เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่ฉาบทาได้อีกต่อไป
95. เป็นผู้เป็นอาหุเนยยบุคคลควรแก่ของที่เขานำไปบูชา
96. เป็นผู้ที่โลกทั้งปวงต้องบูชา
97. เป็นบุคคลผู้สูงสุดแห่งบุคคลทั้งหลาย
98. เป็นผู้มีคุณอันไม่มีใครวัดได้
99. เป็นผู้เป็นมหาบุรุษ
100. เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเลิศด้วยเกียรติคุณ ;

ข้าพเจ้า เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น; ดังนี้ แล.

(คำของอุบาลีคหบดี ผู้เคยเป็นสาวกของนิคันถนาฏบุตรมาก่อน กล่าวตอบแก่คณะนิครนถ์
ว่าเหตุใดเขาจึงเปลี่ยนใจมานับถือพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ม.ม. ๑๓/๗๗/๘๒ - พุทธประวัติจากพระโอษฐ์, พุทธทาส)


Credit:"เนาว์สถิตย์" (NAOSATITT)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 25, 2013, 11:53:16 am โดย ฐิตา »

mind

  • บุคคลทั่วไป
Re: พระพุทธคุณอันมีอานุภาพเป็นอจินไตย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 30, 2012, 08:34:38 am »



ครั้งหนึ่ง ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรนั้นได้ตามไประลึกถึง พระพุทธคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในครั้งนั้นพระสารีบุตรได้เกิดความอัศจรรย์ใจว่า พระสัพพัญญูคุณนั้นเป็นอจินไตย ไม่มีข้อกำหนด มีอานุภาพมาก
พระสัพพัญญูคุณเหล่านี้ เป็นโคจรแห่งพุทธญาณอย่างเดียวเท่านั้น โดยประการทั้งปวง มิได้เป็นโคจรแก่ผู้อื่นเลย

พระพุทธคุณอันมีอานุภาพเป็นอจินไตยมีอาทิอย่างนี้คือ
1. ศีลคุณ
2. สมาธิคุณ
3. ปัญญาคุณ
4. วิมุตติคุณ
5. วิมุตติญาณทัสสนคุณ
6. หิริโอตตัปปะ
7. ศรัทธา
8. วิริยะ
9. สติสัมปชัญญะ
10. ศีลวิสุทธิ

11. ทิฏฐิวิสุทธิ
12. สมถะ
13. วิปัสสนา
14. กุศลมูล ๓
15. สุจริต ๓
16. สัมมาวิตก ๓
17. อนวัชชสัญญา ๓ (สัญญาที่ไม่มีโทษ)
18. ธาตุ ๓
19. สติปัฏฐาน ๔
20. สัมมัปปธาน ๔

21. อิทธิบาท ๔
22. อริยมรรค ๔
23. อริยสัจ ๔
24. ปฏิสัมภิทา ๔
25. โยนิปริจเฉทกญาณ ๔ (ญาณกำหนดกำเนิด)
26. อริยวงศ์ ๔
27. เวสารัชชญาณ ๔
28. ปธานิยังคะ ๕ (องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร)
29. สัมมาสมาธิมีองค์ ๕
30. อินทรีย์ ๕

31. พละ ๕
32. นิสสรณิยธาตุ ๕ (ธาตุนำออกไป )
33. วิมุตตายตนญาณ ๕ (ญาณมีอายตนะพ้นไปแล้ว)
34. วิมุตติปริปาจนียธรรม ๕ (ธรรมอันเป็นความงอกงามแห่งวิมุติ)
35. สาราณิยธรรม ๖
36. อนุสสติ ๖
37. คารวะ ๖
38. นิสสรณิยธาตุ ๖
39. สัตตวิหารธรรม ๖ (ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนื่องๆ)
40. อนุตตริย ๖

41. นิพเพธภาคิสัญญา ๖ (สัญญาอันเป็นส่วนแทงตลอด)
42. อภิญญา ๖
43. อสาธารณญาณ ๖
44. อปริหานิยธรรม ๗
45. อริยทรัพย์ ๗
46. โพชฌงค์ ๗
47. สัปปุริสธรรม ๗
48. นิททสวัตถุ ๗ (เรื่องชี้แจง)
49. สัญญา ๗
50. ทักขิไณยบุคคลเทศนา ๗

51. ขีณาสวพลเทศนา ๗ (การแสดงถึงกำลังของพระขีณาสพ)
52. ปัญญาปฏิลาภเหตุเทศนา ๘ (การชี้แจงถึงเหตุได้ปัญญา)
53. สัมมัตตะ ๘
54. การก้าวล่วงโลกธรรม ๘
55. อารัมภวัตถุ ๘ (เรื่องปรารภ)
56. อักขณเทศนา ๘ (การแสดงแบบสายฟ้าแลบ)
57. มหาปุริสวิตก ๘
58. อภิภายตนเทศนา ๘ (การแสดงอายตนะของท่านผู้เป็นอภิภู)
59. วิโมกข์ ๘
60. โยนิโสมนสิการมูลกะ ๙ (ธรรมเป็นมูลแห่งโยนิโสมนสิการ)

61. ปาริสุทธิปธานิยังคะ ๙ (องค์แห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเพียรอันบริสุทธิ์)
62. สัตตาวาส ๙
63. อาฆาตปฏิวินัย ๙ (การกำจัดความอาฆาต)
64. ปัญญา ๙
65. นานัตตเทศนา ๙ (การแสดงความต่างกัน)
66. อนุปุพพวิหารธรรม ๙
67. นาถกรณธรรม ๑๐
68. กสิณายตนะ ๑๐
69. กุศลกรรมบถ ๑๐
70. สัมมันตะ ๑๐

71. อริยวาสะ ๑๐
72. อเสกขธรรม ๑๐
73. รตนะ ๑๐
74. ตถาตคพล ๑๐
75. เมตตานิสสังสะ ๑๑ (อานิสงส์เมตตา)
76. อาการของธรรมจักร ๑๒
77. คุณธุตังคะ ๑๓
78. พุทธญาณ ๑๔
79. วิมุตติปริปาจนียธรรม ๑๕
80. อานาปานัสสติ ๑๖

81. อปรัมปริยธรรม ๑๖ (ธรรมที่ไม่เป็นปรัมปรา)
82. พุทธธรรม ๑๘
83. ปัจจเวกขณญาณ ๑๙
84. ญาณวัตถุ ๔๔
85. อุทยัพพยญาณ ๕๐
86. กุศลธรรมเกิน ๕๐
87. ญาณวัตถุ ๗๗
88. มหาวชิรญาณอันเป็นจารีต ร่วมกับสมาบัติสองล้านสี่แสนโกฏิและเทศนญาณเป็นเครื่องค้นคว้าและพิจารณา
89. สมันตปัฏฐาน อันมีนัยไม่มีที่สุด
90. อาสยาทิญาณ - ญาณประกาศ

อัธยาศัยเป็นต้นของส้ตว์ไม่มีที่สุด ในโลกธาตุ อันหาที่สุดมิได้ของ พระปัญญาธิกสัมมาสัมพุทธเจ้า อันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น
พระสารีบุตรนั้น เมื่อท่านตามระลึกถึงพระพุทธคุณก็มิสามารถที่จะทำให้ถึงที่สุดได้
ความอัศจรรย์ในพุทธคุณอันเป็นอจินไตย ได้เกิดขึ้นในครั้งนั้น
อันพระสัพพัญญูคุณเหล่านี้ เป็นโคจรแห่งพุทธญาณอย่างเดียวเท่านั้นโดยประการทั้งปวง สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า


"แม้พระพุทธเจ้าก็กล่าวคุณของพระพุทธเจ้าและหากแม้ว่ากล่าวถึงพระพุทธคุณ
แม้ตลอดกัปป์ กัปป์พึงเสื่อมสิ้นไป
ในระหว่างเวลายาวนานนั้นก่อน แต่พระคุณของพระตถาคต หาได้สิ้นไปไม่
"

อ้างอิงและที่มา :ปรมัตถทีปนีอรรถกถาจริยาปิฎก ในขุททกนิกาย
Credit :"เนาว์สถิตย์" (NAOSATITT)
:http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=37195&start=15

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




พระพุทธาธิคุณ :คุณของจิตผู้รู้- คือ ทวารทั้ง 9 ที่อยู่ในตัวเรา...
พุทธคุณ- คือ คุณของผู้รู้..ผู้ตื่น...ผู้เบิกบาน.......
คุณของจิตผู้รู้- คือ ทวารทั้ง 9 ที่อยู่ในตัวเรา......
การศึกษาทวารทั้ง 9- คือ การศึกษา เพื่อออกจากความไม่รู้ เข้าสู่จิตตัวรู้ ที่อยู่ในกาย
โดยการเรียนรู้คุณของทวารทั้ง 9 ประการ
คือ.-

1) ปาก -รู้ได้เพราะปากพูด อยู่ได้เพราะปากกินแต่สิ่งที่มีประโยชน์
ใช้ปากเป็น ก็คือ พระธรรม คำสั่งสอน เป็น"ไตรปิฎก"ก็ได้ เพราะเกิดจาก การคิด-พูด-แล้วลงมือกระทำ......
2) -3) รูจมูกซ้าย-ขวา : ชีวิตเกิดได้ เพราะหายใจเข้า
เรียกว่า "ผู้รู้" กิลส-ตัณหา-อุปาทาน-อกุศล-อวิชชา
-นิวรณ์ 5 เครื่องเศร้าหมอง 5 ประการ มีกามคุณ 5-หดหู่-ท้อถอย-ผูกโกรธ-ฟุ้งซ่าน-สงสัยลังเล.....
ล้วนแต่เป็นเรื่อง ที่ชีวิตเอาเข้ามาใส่"จิต" แล้วทำให้"ตัวรู้" วุ่นวายไม่รู้จบ โดยแท้.....

สองสิ่ง- คือ "เอาเข้า" หมายเอา "อัตตา"......."อนัตตา"- คือ ตัวตน และจิตใจ
ที่เกิดภพ เกิดชาติ หรือ กาย-ใจ ที่ให้ชีวิตอยู่ในโลก แล้วหลงอยู่ในดีชั่ว ผิดถูก ผูกแก้ แท้เทียม
.......แล้ว"หายใจออก"- ความชั่ว หรือความดี อย่างไรเสีย ก็ต้องเอาออก
จาก "จิต-ตัวรู้" ไม่ติดส่วนสุด 2 อย่าง...
.จึงคือ "ไตรลักษณ์" ที่จะออกจากดีชั่ว
ผูกแก้ เหนือความพอใจ ไม่พอใจ แล้วก็ถึง
4) คือ ทุกข์เบา -หมายถึงทวารเบาหรือทุกข์เบา......
อริยสัจ 4 คือ การศึกษาเข้าสู่หลักการและวิธีการ ที่จะรู้ทุกข์ รู้เหตุ รู้ดับ และรู้ปฏิบัติ......
การควบคุมทวารเบาได้ ก็คือ การควบคุมการเกิดทุกข์ได้......

5) คือ หูซ้าย -การเรียนรู้ การศึกษา เพื่อพัฒนาตน เป็นผู้รู้ เพื่อเป็นครูของผู้อิ่น.....
6) ตาซ้าย -การเห็น เพื่อไปสู่การรู้แจ้งโลก การเรียนรู้โดยการเห็น เป็นจุดเริ่มต้นของการแจ้งโลก
ต้องศึกษาโลก เรียนรู้ด้วยแสงสว่างแห่งสสารและแสงสว่างแห่งพลังงาน......
7) หูขวา -คือ การเป็นพหูสูต เป็นปราชญ์แห่งการเรียนรู้ ในสาขาแห่งชีวิต จิตวิญญาณ......
8.) ทวารหนัก -หรือ ทุกข์หนัก คือ อัตตา-ตัวตน ที่ยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งที่ผิด ที่ละทิ้งแล้ว จะเกิดสุขอย่างถาวร.......
9) ตาขวา -คือ การรู้แจ้งโลก ในการปล่อยวาง เห็นสักแต่ว่าเห็น ในจิตวิญญาณ
โดยไม่ต้องปรุงแต่งใดๆทั้งสิ้น นี่ คือ พุทธคุณ 9 ข้อ ในตัวเรา



การมอบสิ่งดีๆ ให้กับใครสักคน.. ไม่จำเป็นต้อง.. “รู้จักกัน”..
หรือจะมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันหรือไม่..
หากแต่.. “การให้”.. คือการช่วยเหลือเกื้อกูลแก่กัน.. เพื่อนำไปสู่ความสุข
ในการอยู่ร่วมบนโลกใบนี้..อย่างสวยงาม..!!
Pattita Suksatit
-http://www.facebook.com/pattita.suksatit



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธาธิคุณ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2013, 08:37:37 pm »




"พระนามของพระพุทธเจ้า"
พระพุทธเจ้า ในที่นี้ หมายถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ของเราทั้งหลาย หรือ พระพุทธเจ้า องค์ปัจจุบัน นั้นเอง
มีคำเรียก กล่าวนาม พระพุทธเจ้า ของเรามากมาย ซึ่งพอจะนำมาประมวลไว้ได้ ดังต่อไปนี้

๑.พระบรมโพธิสัตว์, พระโพธิสัตว์ หมายถึงท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตา อุเบกขา
๒.อังคีรส หมายถึง มีรัศมีแผ่ซ่าน จากพระกาย เป็นพระนามแรก เมื่อพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำหน้าที่ ถวายพระนามและทำนายลักษณะพระกุมาร กล่าวถึงเมือพินิจ จากลักษณะแรกพบเห็น
๓.สิทธัตถกุมาร เป็นพระนามที่ พราหมณ์ ๘ คนผู้ทำหน้าที่ถวายพระนามและ ทำนายลักษณะ พระกุมาร ตั้งถวาย "สิทธัตถ" แปลว่า มีความต้องการสำเร็จ หรือสำเร็จตามที่ต้องการ คือสมประสงค์จะ ต้องการอะไรได้หมด
๔.สิทธัตถะ , เจ้าชายสิทธัตถะ , พระสิทธัตถะ พระนามเดิมของพระพุทธเจ้า ก่อนเสด็จออกบรรพชา
๕.พระมหาบุรุษ หมายถึง บุรุษผู้ยิ่งใหญ่เป็นคำใช้เรียกพระพุทธเจ้าเมื่อ ก่อนตรัสรู้

๖.โคดม , โคตมะ , พระโคดม ,พระโคตมะ , พระสมณโคดม, โคดมพระพุทธเจ้า หมายถึง ชื่อตระกูลของพระพุทธเจ้า มหาชนเรียกพระพุทธเจ้าตามพระโคตรของพระองค์
๗.ตถาคต พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรง เรียกหรือ ตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่างคือ ๑. พระผู้เสด็จ มาแล้วอย่างนั้น ๒. พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น ๓. พระผู้เสด็จ มาถึงตถลักษณะ ๔. พระผู้ตรัสรู้ตถธรรม ตามที่มันเป็น ๕. พระผู้ ทรงเห็นอย่างนั้น ๖. พระผู้ตรัสอย่างนั้น ๗. พรุผู้ทำอย่างนั้น ๘. พระผู้เป็นเจ้า
๘.ตถาคตโพธิสัทธา หมายถึง เชื่อปัญญา ตรัสรู้ของพระตถาคต
๙.ธรรมกาย หมายถึง ผู้มีธรรมในกาย เป็นพระนามอย่างหนึ่งของ พระพุทธเจ้า
๑๐.ธรรมราชา คือพระราชาแห่งธรรม หมายถึง พระพุทธเจ้า

๑๑.ธรรมสวามิศร, ธรรมสามิสร คือผู้เป็นใหญ่ โดยฐานเป็นเจ้าของธรรม หมายถึง พระพุทธเจ้า
๑๒.ธรรมสามี คือ ผู้เป็นเจ้าของ ธรรม เป็นคำเรียกพระพุทธเจ้า
๑๓.ธรรมิศราธิบดี คือ ผู้เป็นอธิปดี โดยฐาน เป็นใหญ่ในธรรมเป็นคำกวี หมายถึง พระพุทธเจ้า
๑๔.บรมศาสดา, พระบรมศาสดา คือ ศาสดาที่ยอดเยี่ยม พระผู้เป็นครูสูงสุด พระบรมครู หมายถึง พระพุทธเจ้า
๑๕.พระผู้มีพระภาคเจ้า หมายถึง พระนาม ของพระพุทธเจ้า

๑๖. พระพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้เอง โดยชอบ แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม, ท่านผู้รูดีรู้ชอบ ด้วยตนเอง ก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติ ชอบด้วยกาย วาจา ใจ
๑๗.พระศาสดา หมายถึงผู้สอน เป็นพระนามเรียกพระพุทธเจ้า
๑๘. พระสมณโคดม เป็นคำที่คนภายนอกนิยมใช้เมื่อกล่าวถึงพระพุทธเจ้า
๑๙.พระสัมพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า,พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า,สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้เอง หมายถึงพระพุทธเจ้า
๒๐. ภควา คือ พระนามของพระพุทธเจ้า แปลว่า ทรงเป็นผู้มีโชค คือหวังพระโพธิญาณ ก็ได้สมหวัง ประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรม สมปรารถนา มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายได้ คำแปลอีกนัยหนึ่งว่า ทรงเป็น ผู้จำแนกแจกธรรม

๒๑. มหาสมณะ พระนามหนึ่ง สำหรับเรียก สมเด็จพระสัมพุทธเจ้า
๒๒. โลกนาถ, พระโลกนาถ เป็นที่พึ่งแห่งโลก หมายถึงพระพุทธเจ้า
๒๓.สยัมภู,พระสัมภู พระผู้เป็นเอง คือตรัสรู้ ได้เอง โดยไม่มีใครสั่งสอน หมายถึง พระพุทธเจ้า
๒๔.สัพพัญญู, พระสัพพัญญู สัมพุทธเจ้า หมายถึง ผู้รู้หมด,ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง คือ พระนามของพระพุทธเจ้า
๒๕.พระสุคต,พระสุคโต หมายถึง ผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า

-http://www.dhammathai.org/buddha/g29.php
-http://www.facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า/166387296709841