ผู้เขียน หัวข้อ: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"  (อ่าน 149425 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #190 เมื่อ: ธันวาคม 07, 2014, 06:06:12 pm »
คลินิกกองทุนรวม : ผิดเงื่อนไขขายกองทุน RMF
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
6 ธันวาคม 2557 09:11 น.
-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000140065-

สัปดาห์ที่ผ่านมา ทางทีมงานคอลัมน์ “คลินิกกองทุนรวม” ได้ทิ้งท้ายคำถามเรื่องประเด็นภาษีเอาไว้ ซึ่งที่ผ่านมา ก็มีคำถามในลักษณะเดียวกันส่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทีมงานพยายามจะคัดเลือก และส่งคำถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตอบให้ ครั้งนี้ก็เช่นกัน เราได้รับเกียรติจาก คุณกรเอก อุ่นปิติพงษา ผู้จัดการส่วนที่ปรึกษาการลงทุน บลจ.กรุงศรี มาเป็นผู้ไขข้อข้องใจในครั้งนี้
       
       ส่วนท่านใดมีคำถามก็สามารถส่งคำถามมาได้ที่ mgrfund@gmail.com เช่นเดิม
       
       คำถาม- ดิฉันปัจจุบันอายุ 59ปี (เกิด พ.ศ.2498)
       
       - ลงทุน RMF มาตลอดตั้งแต่ปี 2552 ปีละ 100,000฿ เท่ากันทุกปี
       
       - ทราบจากเพื่อนขายคืนได้ เพราะอายุเกิน 55ปี แล้ว จึงตัดขายไป 100,000฿ ของปีลงทุน 2552
       
       ปรากฏว่า เงินได้รับไม่ครบ 100,000฿ ที่ขายไป ทราบทีหลังว่า ขายผิดเงื่อนไข จึงเสีย 3% ของกำไร
       
       ?? ช่วยตอบหน่อยคะว่า ดิฉันต้องเสียสิทธิอะไบ้าง และต้องทำอย่างไรต่อสรรพากร (กังวลมากเลยค่ะ)??
       
       ปีลงทุน 2552 : 100,000 บาท
       
       ปีลงทุน 2553 : 100,000 บาท
       
       ปีลงทุน 2554 : 100,000 บาท
       
       ปีลงทุน 2555 : 100,000 บาท
       
       ปีลงทุน 2556 : 100,000 บาท
       
       ปีลงทุน 2557 : 100,000 + ขาย 100,000 บาท
       
       คำตอบ- การขายคืนหน่วยลงทุน RMF ทำได้เมื่อผู้ลงทุนมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก การนับ 5 ปี ให้นับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุนเท่านั้น กล่าวคือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่นับว่ามีอายุการลงทุนในปีนั้นๆ
       
       
       ในกรณีที่ท่านลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และมีการผิดเงื่อนไข ท่านต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ภายในเดือนมีนาคม ของปีถัดไปจากปีที่ผิดเงื่อนไข
       
       ในกรณีนี้ที่ท่านได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขการลงทุนตั้งแต่ในปี 2557 ท่านมีหน้าที่ที่จะต้องนำเงินภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนจากเงินลงทุนใน RMF ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี ไปคืนให้กับกรมสรรพากรโดยการยื่นขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2557 เสียใหม่ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558
       
       ทั้งนี้ หากมีการคืนภาษีภายหลังวันที่ 31 มีนาคม 2558 ท่านจะต้องคืนเงินพร้อมเบี้ยปรับเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนคิดย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 มาจนถึงวันคืนภาษี โดยเศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน แต่จะมีมูลค่าสูงสุดไม่เกิน 1 เท่าของภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนนั้นท่านต้องคืนภาษีย้อนหลังที่ได้รับการยกเว้นจากการซื้อกองทุนรวม RMF ตั้งแต่ปี 2552 โดยต้องคืนเงินภาษีทั้งหมดภายในเดือนมีนาคม 2558
       
       อย่างไรก็ตาม ท่านควรตรวจสอบข้อมูลการซื้อขายกองทุน RMF อย่างละเอียด เช่น ตรวจสอบวันที่ซื้อหน่วยลงทุน RMF วันที่ซื้อครั้งแรก จนถึงวันที่ท่านขายหน่วยลงทุนว่าครบ 5 ปีเต็มหรือไม่ เช่น ถ้าซื้อหน่วยลงทุนในวันที่ 2 ม.ค.2552 ท่านจะสามารถขายหน่วยลงทุนหลังวันที่ 2 ม.ค. 2557 จึงจะถือว่าลงทุนครบ 5 ปี
       
       และในขณะที่ขายหน่วยลงทุน คุณต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ หรือในบางกรณีนักลงทุนบางท่านอาจจะยื่นเอกสารหลักฐานในการซื้อกองทุน RMF ไม่ครบ ทาง บลจ. อาจจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ไว้ หรือสอบถามทาง บลจ. ที่ท่านลงทุนอีกครั้งเพื่อสอบถามถึงสาเหตุของการขายแบบผิดเงื่อนไขครับ
       
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #191 เมื่อ: ธันวาคม 09, 2014, 06:11:19 am »
ลดภาษีเฮือกสุดท้าย (ตอนที่ 1)

-http://money.sanook.com/238241/%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AE%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1/-



ช่วงสิ้นปีแบบนี้หลายคนเริ่มคำนวณคร่าวๆได้แล้วว่าตลอดทั้งปีที่ผ่านมาว่าตนเองมีรายได้เท่าไหร่ ทำให้คำนวณแนวโน้มว่าจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ บางคนคิดว่าตนเองรายได้ไม่มาก แต่ละเดือนก็แทบจะไม่พอใช้ พอเห็นตัวเลขที่ต้องเสียภาษีกลับมีตัวเลขที่ออกมาทำให้ร้อนๆหนาวๆ เพราะไม่คิดว่าจะต้องเสียภาษีสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว

ในช่วงที่ผ่านมารายได้มากขึ้น แต่ทำไมถึงไม่พอใช้ โจทย์นี้ต้องแก้ไขที่พฤติกรรมการใช้เงินของตนเองที่ต้องจัดระเบียบรายจ่ายให้ดีกว่านี้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้มันผ่านไปแล้วกลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นตอนนี้และในอนาคต คือ การจัดระเบียบการใช้เงินและการออมเงิน ที่ตอนนี้เราเลือกได้ว่าจะจ่ายภาษีเต็มจำนวนหรือหาวิธีเปลี่ยนภาษีเป็นเงินออม



การลงทุนที่ส่งเสริมให้คนไทยออมเงินผนวกกับช่วยเรื่องประหยัดภาษีมี 2 ทางเลือก คือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ก่อนตัดสินใจลงทุน เรามาทบทวนหลักเกณฑ์กันนิดนึงนะจ๊ะ

สรุปหลักเกณฑ์การซื้อ LTF
1. การลงทุนขั้นต่ำขึ้นอยู่กับแต่ละ บลจ. กำหนด
2. การลงทุนได้สูงสุด 15% ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
3. ครบกำหนด 5 ปีปฎิทิน จึงจะขายได้ ถ้าไม่ขายก็ถือลงทุนต่อไปได้
4. ซื้อปีไหนก็ลดหย่อนปีนั้น (ซื้อลดหย่อนปีสุดท้ายในปี 2559)

สรุปหลักเกณฑ์การซื้อ RMF
1. ลงทุนขั้นต่ำมากกว่า 3% ของรายได้ทั้งปีหรือปีละ 5,000 บาท แล้วแต่ว่าจำนวนไหนต่ำกว่า
2. ลงทุนได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาทเมื่อรวมกับ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. ประกันชีวิตชนิดบำนาญและกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
3. ขายได้เมื่ออายุเกิน 55 ปีบริบูรณ์และถือ RMF มากกว่า 5 ปีขึ้นไปตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก


เมื่อเรารู้แล้วว่าหลักเกณฑ์การซื้อกองทุนรวมเพื่อลดหย่อยภาษีมีอะไรบ้าง ก็ต้องมาดูต่อว่าจะมีวิธีเลือกซื้อ LTF หรือ RMF อย่างไรให้ตรงใจเรามากที่สุด ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้ที่งาน “มหกรรมมีใช้ตอนแก่ด้วย LTF-RMF” ระหว่างวันที่ 18 – 21 ธันวาคม 2557 ณ โซนอีเดน Central World จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายละเอียดเพิ่มเติมติดตามได้ที่  www.thaimutualfundnews.com/

ผู้เขียน : อภินิหารเงินออม
สนับสนุนข้อมูลโดย : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  (www.set.or.th/onlineinvestor)

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #192 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2014, 08:22:40 am »
ประวัติศาสตร์ทองคำจะซ้ำรอย ?

-http://money.sanook.com/237993/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%8B%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2/-



คอลัมน์ สถานีลงทุน โดย ธนรัชต์ พสวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด


ราคาทองคำเคลื่อนไหวในทิศทางขาลง และทำจุดต่ำสุดในรอบ 4 ปีครึ่ง ที่ระดับ 1,130 ดอลลาร์/ออนซ์ จากทิศทางดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ซึ่งดอลลาร์เทียบกับเยนแข็งค่าขึ้นสุดในรอบ 7 ปี และดัชนีเงินดอลลาร์ (Dollar index) แข็งค่าสุดในรอบ 4 ปี

โดยเป็นผลมาจากเศรษฐกิจสหรัฐที่มีแนวโน้มฟื้นตัวแข็งแกร่งหลังการถอนนโยบายการเงินผ่อนคลายของเฟดเริ่มตั้งแต่การยุติมาตรการ QE ที่สิ้นสุดลงในเดือนตุลาคม 2557 และการเตรียมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในช่วงกลางปี 2558 ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลางญี่ปุ่นมี

นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น สำหรับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับลงแรงในปีนี้ถึง 40% และลงไปต่ำสุดในรอบ 5 ปี ทำให้มีแนวโน้มที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง และความต้องการทองคำเพื่อป้องกันเงินเฟ้อลดลง

ราคาทองคำที่ปรับลงแรงในช่วงนี้ ทำให้เจอคำถามบ่อยๆ ว่า ราคาทองจะลงไปอีกมั้ย ในช่วงนี้ซื้อทองได้หรือยัง สำหรับทองคำมีวัฏจักรของราคาเหมือนกับตลาดหุ้นมีภาวะตลาดขาขึ้น (Bullish) ภาวะตลาดขาลง (Bearish) และแกว่งตัวในกรอบแคบ (Sideways) รวมทั้งภาวะฟองสบู่ที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงท้ายตลาดขาขึ้น

เมื่อพิจารณาจากวัฏจักรของราคาทองคำในอดีตในช่วงที่ราคาทองคำเป็นขาลงกินระยะเวลาประมาณ2 ปี ดังนั้น คาดว่าราคาทองคำรอบนี้น่าจะเป็นขาลงราว 2 ปี ทำให้ราคาทองคำจะสิ้นสุดขาลงในช่วงปลายปีนี้ หรืออย่างช้าที่สุดไตรมาส 1 ของปีหน้า

ในช่วงที่ราคาทองคำเป็นขาลง เป็นเรื่องธรรมดาที่ตลาดมีมุมมองต่อราคาทองคำในเชิงลบ บางโบรกเกอร์มีการคาดการณ์ว่าราคาทองคำจะลงไปถึง 1,000 ดอลลาร์/ออนซ์ บางแห่งมองว่าอาจจะต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์/ออนซ์

ช่วงกลางปีที่แล้ว นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังอย่าง Nouriel Roubini หรือ Dr.Doom ได้คาดการณ์ว่าราคาทองคำจะลงไปถึง 1,000 ดอลลาร์/ออนซ์ ในปี 2558 คงไม่ต่างจากราคาทองคำที่เกิดภาวะฟองสบู่ในปี 2554 ในช่วงเวลานั้นมองว่าราคาทองคำน่าจะขึ้นอย่างต่อเนื่องที่มีการคาดการณ์ราคาทองคำจะขึ้นไปถึง 2,000 ดอลลาร์/ออนซ์ บางโบรกเกอร์มองไปถึง 2,300-2,400 ดอลลาร์/ออนซ์

สำหรับตัวแปรหลักที่กระทบต่อราคาทองคำในช่วงนี้มี 2 ตัวแปร คือเงินดอลลาร์และราคาน้ำมัน ตัวแปรแรก ถึงแม้เงินดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นก็ตาม แต่เราคาดการณ์ว่าดัชนีเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นได้อีกไม่มากนัก ราว 1.5% ซึ่งเป็นจุดสูงสุดในเดือน มี.ค. 2552 นอกจากนี้ มาตรการ QE หรือมาตรการซื้อพันธบัตรรัฐบาลของอีซีบีน่าจะเกิดได้ยาก ทำให้เงินดอลลาร์อาจจะอ่อนค่าลงในบางช่วง ดังนั้น คาดราคาทองคำจะอยู่ที่ระดับ 1,130 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มลดลงจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอยู่ระดับที่ต่ำ ซึ่งอาจจะทำให้เฟดลังเลในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปี 2558

ตัวแปรสุดท้าย ราคาน้ำมันที่ปรับลงแรงอย่างต่อเนื่อง หลังการประชุมกลุ่มโอเปกในวันที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมา ตัดสินใจไม่ปรับลดกำลังการผลิตเพื่อสกัดกั้นการร่วงลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX และราคาน้ำมันดิบเบรนต์ต่ำกว่า 70 ดอลลาร์/บาร์เรล อย่างไรก็ดี การปรับตัวลงของราคาน้ำมันคาดว่าจะเริ่มมีกรอบจำกัด เนื่องจากต้นทุนการผลิตหินน้ำมัน (Shell Oil) อยู่ที่ระดับ 70 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งจะทำให้ปริมาณการผลิตน้ำมันจาก Shell Oil จะลดลงเมื่อราคาน้ำมันดิบต่ำกว่าต้นทุน และราคาน้ำมันจะมีแนวโน้มปรับขึ้นเองตามกลไกตลาด

ดังนั้น ในระยะสั้นทองคำมีแนวรับหลักที่ 1,130 และ 1,100 ดอลลาร์/ออนซ์ ตามลำดับ ขณะที่มีแนวต้านหลักที่ 1,200 และ 1,230 ดอลลาร์/ออนซ์ ตามลำดับ

การลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สควรตั้งจุดตัดขาดทุน (Cut Loss) อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดสถานะซื้อ หรือเปิดสถานะขายก็ตาม เนื่องจากราคาทองคำยังมีแนวโน้มผันผวนค่อนข้างสูง แนะนำ "รอเปิดสถานะซื้อ" ที่แนวรับ 1,130 และ 1,100 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนฝั่งซื้อที่ 1,090 ดอลลาร์/ออนซ์ กรณีที่ราคาทองคำปรับตัวขึ้นมาที่แนวต้าน 1,200 ดอลลาร์/ออนซ์ แนะนำ "เปิดสถานะขาย" โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนฝั่งขายที่ 1,205 ดอลลาร์/ออนซ์




คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #193 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2014, 09:30:49 am »
เปิดเกณฑ์ กองทุนการออมแห่งชาติ

-http://money.sanook.com/238797/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4/-



เปิดดูหลักเกณฑ์ กองทุนการออมแห่งชาติ หลักประกันของผู้ใช้แรงงานนอกระบบ กว่า 24 ล้านคน แค่อายุ15 ก็เข้าสมัครสมาชิกกองทุนได้

เมื่อวานนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบมาตรการคืนความสุขให้ประชาชนเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่2558 ไปแล้ว ซึ่งมีมาตรการทั้งเรื่องการเงิน และการลดค่าใช้จ่ายค่าครองชีพสำหรับประชาชนรากหญ้าหรือผู้มีรายได้น้อย รวมถึงผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีด้วย

ในมาตรการที่ออกมามีมาตรการหนึ่งที่น่าสนใจและได้ประโยชน์กับคนจำนวนมาก ที่ขาดโอกาสในการออมเพื่อเกษียณอายุเนื่องจากไม่ได้อยู่ในระบบแรงงานหรือเป็นลูกจ่างของบริษัท ก็คือ การเดินหน้าจัดตั้ง กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) โดยขอศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อให้ครม.เห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง

ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นการหยิบการจัดตั้งกองทุนการออมที่ได้ผ่านพระราชบัญญัติจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติมาแล้วตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ แต่ยังไม่ได้ออกแนวปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมา ก็เปลี่ยนรัฐบาลเสียก่อน

โดยในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร ได้แช่แข็งการจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติเอาไว้  แล้วไปผลักดันการออมที่มีหลักการคล้ายกับกองทุนการออม ผ่านกองทุนประกันสังคมแทน หรือที่เรียกว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ซึ่งเพิ่งหมดเขตการสมัครเป็นผู้ประกันตนไปเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2557 ที่ผ่านมานี้เอง

อย่างไรก็ตามการเดินหน้าจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติเพื่อให้เป็นรูปธรรม นั้นถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะจะทำให้แรงงานไทยประมาณ 24.6 ล้านคน  ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ มีโอกาสสร้างหลักประกันตนเพื่อชีวิตหลังเกษียณขึ้นมาได้

สำหรับหลักการและใครที่จะสามารถเข้ากองทุนการออมได้บ้างนั้นเราไปดูรายละเอียดกัน

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเป็นสมาชิก กอช. คือ
 
1เป็นบุคคลสัญชาติไทย
2 อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
3 ไม่เป็นสมาชิกของกองทุนเพื่อการชราภาพใด ๆ ที่มีการสมทบเงินจากรัฐหรือนายจ้าง เช่น
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น กองทุนประกันสังคม (ซึ่งส่งเงินเพื่อได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เป็นต้น
นอกจากนี้ยัง เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปที่ไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญใดๆ สามารถออมต่อไปได้อีก 10 ปี โดยมีสิทธิขอรับบำนาญได้เมื่ออายุครบ 60 ปีอีกด้วย

เงื่อนไขการการจ่ายเงินเข้ากองทุนมาจาก 2 ฝ่าย คือ
1  สมาชิกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 50 บาท แต่ไม่เกินจำนวนที่จะกำหนดในกฎกระทรวง  ทั้งนี้สมาชิกไม่จำเป็นต้องส่งเงินสะสมทุกเดือน และไม่จำเป็นต้องส่งเงินจำนวนเท่ากันทุกเดือนนอกจากนี้ หากในปีใดไม่สามารถส่งเงินสะสมได้ กอช. จะยังคงสิทธิความเป็นสมาชิกไว้ แต่รัฐก็จะไม่ส่งเงินสมทบให้

2 รัฐบาลจ่ายเงินสมทบให้แก่สมาชิกตามระดับอายุของสมาชิก และเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุน
โดยก่อนหน้านี้มีการกำหนดอัตราไว้ คือ
-  15-30 ปี รัฐจ่ายให้ 50% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 600 บาทต่อปี
-  อายุ 30-50 ปี รัฐจ่ายให้ 80% ของเงินสะสม แต่ต้องไม่เกิน 960 บาทต่อปี
-  อายุมากกว่า 50 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี รัฐจะสมทบจ่ายให้ 100% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 1,200 บาทต่อปี


สำหรับผลประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ เมื่อครบเกษียณ(อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์) ใน 4 กรณี คือ
1 จะได้รับเงินบำนาญจากเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลจากเงินสะสม เงินสมทบ ตามจำนวนเงินในบัญชีของผู้ออมแต่ละคนไปจนตลอดอายุขัย เป็นลักษณะของบำนาญรายเดือนตลอดชีวิต
2 หากสมาชิกทุพพลภาพก่อนอายุครบ 60 ปี จะได้รับเงินสะสมและดอกผลของเงินสะสม ส่วนเงินสมทบและดอกผลของเงินสมทบจะได้รับเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
3 หากลาออกจากกองทุน จะได้รับเงินสะสมและดอกผลของเงินสะสม
4 หากเสียชีวิต จะได้รับเงินเท่ากับจำนวนเงินในบัญชีของแต่ละบุคคลที่ออมไว้

ทั้งนี้หากสมาชิกได้งานและไปเป็นสมาชิกของกองทุนประกันสังคม กองทุน กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนการออมเพื่อการชราภาพอื่น ๆ ก็ยังคงความเป็นสมาชิกและมีสิทธิส่งเงินสะสมกับ กอช. ได้ต่อไป ไม่จำเป็นต้องลาออกจากกองทุน แต่รัฐจะไม่สมทบเงินให้ และเงินที่สะสมในช่วงเวลาดังกล่าว จะไม่ถูกนำมารวมคำนวณเป็นเงินบำนาญ

และในระหว่างเป็นสมาชิก กอช. จะไม่สามารถถอนเงินออกมาใช้ก่อนได้

ทั้งหมดคือ  หลักการของกองทุนการออมแห่งชาติ ที่ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #194 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2014, 02:25:28 pm »
AIMC แจงลดหย่อนภาษี LTF ยังอยู่ถึงปี 59 ส่วนการต่ออายุอยู่ในช่วงพิจารณาของ ก.คลัง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000141878-


AIMC ทำหนังสือแจงสื่อมวลชน หลังเกิดข่าวลือว่าสิทธิยกเลิกภาษีของกองทุน LTF ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ล่าสุดให้ความมั่นใจว่าการลดหย่อนภาษี LTF ยังอยู่ถึงปี 2559 ส่วนการต่ออายุภาษีนั้นยังอยู่ในช่วงพิจารณาของกระทรวงการคลัง
       
       นายเอกชัย จงวิศาล เลขาธิการสมาคมและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาคมบริษัทจัดการลงทุน หรือ AIMC ได้ทำหนังสือชี้แจงว่า เนื่องจากมีผู้สอบถามมาเป็นจำนวนมากว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ได้ถูกยกเลิกไปแล้วในปีนี้หรือไม่
       
       ทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุนจึงขอแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันว่า สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุน LTF จะยังคงมีอยู่ตามประกาศเดิมไปจนถึงสิ้นปี 2559
       
       ส่วนเรื่องการขยายอายุออกไปนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง เพื่อส่งเสริมให้ผู้มีรายได้มีการออมระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุที่เพียงพอต่อไป


.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #195 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2014, 06:56:23 pm »
.
-http://www.sso.go.th/wpr/content.jsp?lang=th&cat=876&id=3694-

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

ที่มา
การขยายประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบโดยผลักดันร่าง พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ฉบับแก้ไข เพื่อรัฐร่วมจ่ายในมาตรา 40 และแก้ไขพระราชกฤษฎีกา เพื่อพัฒนาสิทธิประโยชน์ของมาตรา 40 ให้เป็นที่จูงใจ โดยเป็นระบบสมัครใจ

ความหมาย
ผู้ประกันตนมาตรา 40 หมายถึง บุคคลที่มิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39 เรียกว่า ผู้ประกันตนโดยอิสระ

คุณสมบัติผู้สมัคร

อายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม
บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม
เฉพาะปีแรก (มีผลบังคับใช้วันที่ 9 ธันวาคม 2556 - วันที่ 8 ธันวาคม 2557) เปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่มีอายุ 60-65 ปี สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ทุกทางเลือก
สำหรับผู้สมัครที่มีอายุเกินกว่า 65 ปี เฉพาะปีแรก (มีผลบังคับใช้วันที่ 9 ธันวาคม 2556 - วันที่ 8 ธันวาคม 2557) สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้เฉพาะทางเลือก 3 เท่านั้น และไม่มีสิทธิเปลี่ยนทางเลือก

หลักฐานการสมัคร

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้ (ใบอนุญาตขับขี่รถ)

สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศเลือกทางเลือกใน การจ่ายเงินสมทบได้ 3 ทางเลือก คือ

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน (จ่ายเอง 70 บาท รัฐสนับสนุน 30 บาท)

ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท)

ทางเลือกที่ 3 มี 3 ทางเลือก ดังนี้

ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 200 บาท/เดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 100 บาท)

ทางเลือกที่ 1 และทางเลือก 3 (1+3) จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน (จ่ายเอง 170 บาท รัฐสนับสนุน 130 บาท)

ทางเลือกที่ 2 และทางเลือก 3 (2+3) จ่ายเงินสมทบ 350 บาท/เดือน (จ่ายเอง 200 บาท รัฐสนับสนุน 150 บาท)

หมายเหตุ

รัฐสนับสนุนในระยะแรกทั้งนี้ จนกว่าสำนักงานประกันสังคมจะประกาศเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ในการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเป็นรายเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง และจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน แต่ไม่สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้
ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่ประสงค์รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาทต่อเดือน ยกเว้น กรณีทางเลือกที่ 5 (2+3) สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมได้ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่เลือกความคุ้มครองทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ไม่เกินเดือนพฤษภาคม 2555 แต่ต้องจ่ายในระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2556 ถึง วันที่ 8 ธันวาคม 2557

การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล

เมื่อเป็นผู้ประกันตนแล้วหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนคำนำหน้านาม ชื่อ - สกุล ที่อยู่ที่ติดต่อขอเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบ หรือแจ้งความไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนต่อไป (ลาออก) เป็นต้น ให้แจ้งต่อสำนักงานประกันสังคม
กรณีขอเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบจะทำได้ปีละ 1 ครั้ง โดยเมื่อยื่นขอเปลี่ยนแปลทางเลือกแล้วจะมีผลในเดือนถัดไป

ประโยชน์ทางภาษี

เงินสมทบในแต่ละปี ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยใช้ใบเสร็จรับเงินที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเป็นหลักฐาน หรือขอหนังสือรับรองการชำระเงินสมทบจากสำนักงานประกันสังคม

สิทธิประโยชน์พื้นฐาน

กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี เงื่อนไขจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)

กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 - 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานถึง 15 ปี เงื่อนไข เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนขึ้นไป (ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการ แพทย์)

กรณีตาย จะได้รับค่าทำศพจำนวน 20,000 บาทต่อราย เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต ยกเว้น เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต

กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) ผู้ประกันตนสามารถรับเงินก้อนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เงื่อนไข มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)

- ผู้ประกันตนสามารถรับเงินบำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

- ต้องจ่ายเงินสมทบถึงบำนาญขั้นต่ำหรือไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี) ได้รับเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำเดือนละ 600 บาท ตลอดชีวิต

ทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณ เพื่อสิทธิประโยชน์ดังกล่าวสำนักงานประกันสังคมขอเสนอทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณด้วย ชุดสิทธิประโยชน์ ดังนี้

ทางเลือกที่ 1 (จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน)

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย

ทางเลือกที่ 2 (จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน)

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ)

ทางเลือกที่ 3 มี 3 ทางเลือก ดังนี้

ทางเลือกที่ 3

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 1 กรณี คือ กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)

ทางเลือกที่ 1 และทางเลือก 3 (1+3)

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/จ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)

ทางเลือกที่ 2 และทางเลือก 3 (2+3)

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/จ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)

วิธีการนำส่งเงินสมทบ
จ่ายเป็นเงินสด

สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม
เคาน์เตอร์เซอร์วิส
เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำักัด (มหาชน)
ห้างเทสโก้โลตัส
ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)

หักผ่านบัญชีธนาคาร

ธนาคารเพื่่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ธนาคารออมสิน
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุ การชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสจะเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 10 บาท ในส่วนการชำระผ่านการหักธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จะมีค่าธรรมเนียม 5 บาทต่อครั้ง โดยจะได้รับใบเสร็จรับเงินทันที แต่ผู้ประกันตนที่ชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสต้องนำใบเสร็จรับเงินที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่ออกให้พร้อม สมุดนำส่งเงินสมทบมาตรา 40 ไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ทำการบันทึกข้อมูลในสมุดนำส่งเงินสมทบ เนื่องจากต้องใช้ประกอบการยื่นเรื่องเมื่อมีการรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ

เอกสารประกอบการสมัคร

แบบการขึ้นทะเบียนการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 (สปส.1-40)
บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้พร้อมสำเนา

สถานที่ในการขึ้นทะเบียน

สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม

ข้อมูล ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2557
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #196 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2014, 08:40:59 am »
ใครได้เงินรางวัลปีนี้ อย่าลืมจ่ายภาษีให้ถูกต้อง

-http://money.sanook.com/239213/%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87/-


ใกล้สิ้นปีเข้าไปเต็มที  นอกจากการวางแผนเที่ยวในช่วงสิ้นปีแล้ว มนุษย์เงินเดือน และผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องเตรียมตัววางแผนสำหรับการจ่ายภาษี ในช่วงต้นปีหน้าให้ดีด้วย

ในส่วนของการลงทุนเพื่อนำมาใช้หักค่าใช้จ่ายก่อนเสียภาษีไม่ว่า LTF RMF หรือประกันชีวิตมีการแนะนำออกมาค่อนข้างเยอะในช่วงนี้ แต่ มีรายได้อีกอย่างหนึ่งที่คนมักจะผิดพลาดไม่นำมาจ่ายภาษีจนบางครั้งถูกกรมสรรพากรเรียกปรับ จนเป็นข่าวโด่งดังมาหลายครั้งหลายคราว นั้นก็คือ เงินรางวัล
 
ทั้งนี้ผู้ที่ได้รางวัลจากการชิงโชคต่างๆคิดว่า เมื่อตอนรับรางวัลมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว พอถึงสิ้นปีภาษีไม่ได้นำรายได้มาคำนวณเพื่อเสียภาษีอีก เป็นการเข้าใจผิดอย่างยิ่ง  วันนี้เรามาทบทวนกันในเรื่อง ภาษีเงินรางวัล เพื่อจะได้ไม่ผิดพลาดถูกเสียค่าปรับเงินเพิ่ม กันอีก

 สำหรับประเด็นที่มักจะเข้าใจกันคลาดเคลื่อนก็คือ “เมื่อถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตอนรับเงิน/ของรางวัล กันแล้วที่ 5% ก็เป็นอันหมดสิ้นภาระทางภาษีแล้ว” โดยแท้จริงแล้ว ภาระภาษีจะหมดไปได้ก็ต่อเมื่อสิ้นปีภาษีแล้วผู้ได้รับเงิน/ของรางวัล ได้ดำเนินการยื่นแบบคำนวณและนำส่งภาษีประจำปี (ภ.ง.ด.90) ซึ่งมีกำหนดเวลาให้ยื่นได้ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

สมมุติ มีผู้ได้รับเงินรางวัลจากการชิงโชค จำนวน 10 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวถือเป็น เงินได้พึงประเมิน (มาตรา 40(8)
แต่ทั้งนี้ในการเสียภาษีสามารถ หัก รายจ่ายตามจริงและสมควร(หากมี) และเงินดังกล่าวนำมาหัก ลดหย่อนส่วนตัวผู้มีเงินได้ ได้ 30,000 บาท ทำให้มียอดสุทธิที่ต้องเสียภาษี  9,970,000 โดยต้องนำไปคำนวณตามอัตราตามที่กรมสรรพากรกำหนด


โดยส่วนที่เกิน 4 ล้านบาท หรือ 4,000,001-9,970,000 บาทเสียภาษี 35 %
ส่วนที่ต่ำกว่า 4 ล้านบาทลงมา สามารถหักค่ายกเว้นจำนวน 150,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่ต้องเสียภาษีออกไปก่อน จากนั้นนำมาคำนวณภาษีตามขั้นบันใด คือ 


จำนวน 150,001-300,000 บาท เสียภาษีอัตรา 5 %
จำนวน 300,001-500,000บาทเสียภาษีอัตรา 10 %
จำนวน 500,001-750,000บาท เสียภาษีอัตรา 15 %
จำนวน 750,001-1,000,000บาท เสียภาษีในอัตรา 20 %
จำนวน 1,000,001-2,000,000 บาท เสียภาษีอัตรา 25 %
จำนวน 2,000,001-4,000,000 บาทเสียภาษี 30 %


จะเห็นได้ว่า เงินรางวัล เป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีและดำเนินการให้ถูกต้อง ดังนั้น ในช่วงปีที่ผ่านมาใครได้โชคได้รางวัลต้องนำมาคำนวณภาษีให้ถูกต้องด้วยเพื่อจะได้ไม่ถูกกรมสรรพากรปรับ ซึ่งอาจต้องเสียเงินเพิ่มให้เจ็บใจด้วย



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #197 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2014, 08:20:04 am »
เปิดสูตรคำนวนค่าลดหย่อนภาษีจาก LTF RMF

-http://money.sanook.com/239569/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81-ltf-rmf/-.






.

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #198 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2014, 08:34:58 pm »
คลินิกกองทุนรวม : เช็กผลการดำเนินงานกองทุน LTF-RMF ได้ที่นี่

-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000145873-


คอลัมน์ “คลินิกกองทุนรวม” ในสัปดาห์นี้หยิบผลการดำเนินงานของกองทุนที่น่าสนใจจากงาน “มหกรรมมีใช้ตอนแก่ด้วย LTF-RMF” เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของนักลงทุน ... อย่าลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ทุกครั้งก่อนที่ตัดสินใจลงทุนนักลงทุนควรประเมินความเสี่ยงของตนเองก่อนทุกครั้ง และทีมงานขอยก "5 อย่างที่ไม่ควรทำกับการเลือก LTF & RMF" บทความดีๆ จาก บลจ.กรุงศรีมานำเสนออีกครั้ง สำหรับนักลงทุนที่กำลังตัดสินใจซื้อกองทุน LTF-RMF ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนสิ้นปีนี้...

ส่วนท่านผู้อ่านท่านใดมีคำถามก็สามารถส่งคำถามมาได้ที่ mgrfund@gmail.com ทางทีมงานจะทยอยตอบคำถามให้ ขอบคุณทุกท่านที่ส่งคำถามเข้ามาคะ

1. อย่ามองแค่ผลตอบแทนระยะสั้น :วัตถุประสงค์ของการลงทุนในกองทุน LTF-RMF มี 2 ข้อ คือ ประหยัดภาษี และเน้นการลงทุนในระยะยาว น่าเสียดายตรงที่นักลงทุนส่วนใหญ่มองเรื่องของภาษีเป็นหลัก และมองผลตอบแทนในระยะยาวเป็นเรื่องรอง โดยให้ความสนใจแค่ผลตอบแทนระยะสั้นๆ ว่า 3 เดือนที่แล้ว 6 เดือนที่ผ่านมา หรือไกลสุดย้อนไปดู 1 ปีก่อนหน้าว่าแต่ละกองทุนได้ผลตอบแทนเป็นอย่างไร กองทุนใดสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุด แต่กลับลืมไปว่าระยะเวลาการถือครองกองทุน LTF อย่างน้อยๆ คือ 3 ปีปฏิทิน

สำหรับกองทุน RMF นั้นมีระยะเวลาการถือครองยาวนานกว่า โดยผู้ลงทุนจะขายหน่วยลงทุนก็ตอนเกษียณอายุ และการถือครองต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของสรรพากร ดังนั้น อย่าดูแค่ผลตอบแทนระยะสั้นๆ โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ

2. อย่าซื้อเพราะโปรโมชันแรง!! : กองทุนรวมไม่ใช่การชอปปิ้ง ใครลดแหลก ทั้งแจกทั้งแถมเยอะสุด แปลว่ากองทุนนั้นน่าลงทุนที่สุด ถ้าคิดแบบนี้ ถือว่า “คิดผิด” โปรโมชันล่อใจในระยะสั้นอาจทำให้คุณต้องติดกับดักกับกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนไม่เหมาะสมกับตัวคุณเอง ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ ผลตอบแทนที่ได้รับเมื่อขายคืนหน่วยลงทุนมีมูลค่าน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ แถมของโปรโมชันที่ได้รับแจกตั้งแต่ตอนลงทุนก็อาจใช้ไม่คุ้ม หรือวางทิ้งในบ้านจนลืมไปเลยก็มี อาจมีนักลงทุนบางท่านแย้งว่า “ก็ไม่รู้นี่” ว่ากองทุนใดจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี ก็เลยเลือกของที่ดูชัวร์ที่สุด นั่นก็คือ ของแถม” ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงต้องศึกษานโยบายการลงทุน ระดับความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนรวม ซึ่งมีความแตกต่างกัน และควรศึกษาคู่มือภาษีให้เข้าใจก่อนการลงทุน ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก บลจ. หรือธนาคารที่เป็นตัวแทนขายกองทุน

3. อย่าคิดว่า LTF & RMF กองไหนๆ ก็เหมือนกัน: ถึงแม้จะเป็นกองทุนที่ได้ชื่อว่า LTF-RMF เหมือนกัน แต่จริงๆ แล้วนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานก็แตกต่างกันในรายละเอียด ยกตัวอย่างเช่น กองทุน LTF บางกองมีนโยบายกระจายความเสี่ยงโดยการลงทุนในตราสารหนี้บางส่วน ในขณะที่บางกองทุนเลือกลงทุนในหุ้นทั้งหมด 100%เต็ม หรือกองทุน RMF ก็มีตัวเลือกทั้งนโยบายที่ลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุน ลงทุนในทองคำ หรือกระทั่งกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะของกองทุนที่แตกต่างกัน หากผู้ลงทุนเลือกลงทุนเพราะคิดว่าเป็นกองทุน RMF เหมือนกันนักลงทุนก็อาจได้ผลตอบแทนไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง แล้วมานั่งเสียใจเมื่อขายคืนหน่วยลงทุนยามเกษียณ

4. อย่าคิดว่าลงทุนใน LTF - RMF ไปแล้วจะสับเปลี่ยนไม่ได้: จริงๆ แล้วหากเราพบว่ากองทุน LTF- RMF ที่เลือกลงทุนไว้มีนโยบายการลงทุนหรือระดับความเสี่ยงที่ไม่เหมาะกับตนเองเราสามารถสับเปลี่ยนการลงทุนไปยังกองทุนอื่นภายใต้กองทุนประเภทเดียวกันได้ เช่น การสับเปลี่ยน LTF กองเดิมไปยัง LTF อีกกองหนึ่ง หรือการสับเปลี่ยนกองทุน RMF ไปยังกองทุน RMF ด้วยกัน แต่เราไม่สามารถสับเปลี่ยนจากกองทุน LTF ไปยังกองทุน RMF หรือกองทุนรวมทั่วไปได้

5. อย่าเข้าใจผิดว่าลงทุนไปแล้วไม่สามารถโอนย้าย บลจ.ได้:มีผู้ลงทุนหลายท่านเข้าใจผิดว่าถ้าลงทุนในกองทุน LTF RMF กับ บลจ.ใดแล้วจะต้องถือครองไว้จนครบกำหนดตามเงื่อนไขของสรรพากร ในความเป็นจริงแล้วเราสามารถโอนย้ายกองทุน LTF -RMF จาก บลจ.เดิมไปยัง บลจ.อื่นได้ แต่อาจมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าธรรมเนียมการโอนย้ายที่ บลจ.ต้นทางจะเรียกเก็บ โดย บลจ.แต่ละแห่งจะมีอัตราค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ การโอนย้าย LTF-RMF ข้าม บลจ.ก็จะต้องโอนย้ายกองทุนไปยังกองทุนประเภทเดียวกัน เช่น LTF โอนย้ายไป LTF หรือ RMF โอนย้ายไป RMF ด้วยกัน
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #199 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2014, 08:35:37 pm »
คลินิกกองทุนรวม : เช็กผลการดำเนินงานกองทุน LTF-RMF ได้ที่นี่

-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000145873-


คลินิกกองทุนรวม : เช็กผลการดำเนินงานกองทุน LTF-RMF ได้ที่นี่

-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000145873-


คอลัมน์ “คลินิกกองทุนรวม” ในสัปดาห์นี้หยิบผลการดำเนินงานของกองทุนที่น่าสนใจจากงาน “มหกรรมมีใช้ตอนแก่ด้วย LTF-RMF” เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของนักลงทุน ... อย่าลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ทุกครั้งก่อนที่ตัดสินใจลงทุนนักลงทุนควรประเมินความเสี่ยงของตนเองก่อนทุกครั้ง และทีมงานขอยก "5 อย่างที่ไม่ควรทำกับการเลือก LTF & RMF" บทความดีๆ จาก บลจ.กรุงศรีมานำเสนออีกครั้ง สำหรับนักลงทุนที่กำลังตัดสินใจซื้อกองทุน LTF-RMF ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนสิ้นปีนี้...

ส่วนท่านผู้อ่านท่านใดมีคำถามก็สามารถส่งคำถามมาได้ที่ mgrfund@gmail.com ทางทีมงานจะทยอยตอบคำถามให้ ขอบคุณทุกท่านที่ส่งคำถามเข้ามาคะ

1. อย่ามองแค่ผลตอบแทนระยะสั้น :วัตถุประสงค์ของการลงทุนในกองทุน LTF-RMF มี 2 ข้อ คือ ประหยัดภาษี และเน้นการลงทุนในระยะยาว น่าเสียดายตรงที่นักลงทุนส่วนใหญ่มองเรื่องของภาษีเป็นหลัก และมองผลตอบแทนในระยะยาวเป็นเรื่องรอง โดยให้ความสนใจแค่ผลตอบแทนระยะสั้นๆ ว่า 3 เดือนที่แล้ว 6 เดือนที่ผ่านมา หรือไกลสุดย้อนไปดู 1 ปีก่อนหน้าว่าแต่ละกองทุนได้ผลตอบแทนเป็นอย่างไร กองทุนใดสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุด แต่กลับลืมไปว่าระยะเวลาการถือครองกองทุน LTF อย่างน้อยๆ คือ 3 ปีปฏิทิน

สำหรับกองทุน RMF นั้นมีระยะเวลาการถือครองยาวนานกว่า โดยผู้ลงทุนจะขายหน่วยลงทุนก็ตอนเกษียณอายุ และการถือครองต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของสรรพากร ดังนั้น อย่าดูแค่ผลตอบแทนระยะสั้นๆ โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ

2. อย่าซื้อเพราะโปรโมชันแรง!! : กองทุนรวมไม่ใช่การชอปปิ้ง ใครลดแหลก ทั้งแจกทั้งแถมเยอะสุด แปลว่ากองทุนนั้นน่าลงทุนที่สุด ถ้าคิดแบบนี้ ถือว่า “คิดผิด” โปรโมชันล่อใจในระยะสั้นอาจทำให้คุณต้องติดกับดักกับกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนไม่เหมาะสมกับตัวคุณเอง ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ ผลตอบแทนที่ได้รับเมื่อขายคืนหน่วยลงทุนมีมูลค่าน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ แถมของโปรโมชันที่ได้รับแจกตั้งแต่ตอนลงทุนก็อาจใช้ไม่คุ้ม หรือวางทิ้งในบ้านจนลืมไปเลยก็มี อาจมีนักลงทุนบางท่านแย้งว่า “ก็ไม่รู้นี่” ว่ากองทุนใดจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี ก็เลยเลือกของที่ดูชัวร์ที่สุด นั่นก็คือ ของแถม” ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงต้องศึกษานโยบายการลงทุน ระดับความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนรวม ซึ่งมีความแตกต่างกัน และควรศึกษาคู่มือภาษีให้เข้าใจก่อนการลงทุน ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก บลจ. หรือธนาคารที่เป็นตัวแทนขายกองทุน

3. อย่าคิดว่า LTF & RMF กองไหนๆ ก็เหมือนกัน: ถึงแม้จะเป็นกองทุนที่ได้ชื่อว่า LTF-RMF เหมือนกัน แต่จริงๆ แล้วนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานก็แตกต่างกันในรายละเอียด ยกตัวอย่างเช่น กองทุน LTF บางกองมีนโยบายกระจายความเสี่ยงโดยการลงทุนในตราสารหนี้บางส่วน ในขณะที่บางกองทุนเลือกลงทุนในหุ้นทั้งหมด 100%เต็ม หรือกองทุน RMF ก็มีตัวเลือกทั้งนโยบายที่ลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุน ลงทุนในทองคำ หรือกระทั่งกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะของกองทุนที่แตกต่างกัน หากผู้ลงทุนเลือกลงทุนเพราะคิดว่าเป็นกองทุน RMF เหมือนกันนักลงทุนก็อาจได้ผลตอบแทนไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง แล้วมานั่งเสียใจเมื่อขายคืนหน่วยลงทุนยามเกษียณ

4. อย่าคิดว่าลงทุนใน LTF - RMF ไปแล้วจะสับเปลี่ยนไม่ได้: จริงๆ แล้วหากเราพบว่ากองทุน LTF- RMF ที่เลือกลงทุนไว้มีนโยบายการลงทุนหรือระดับความเสี่ยงที่ไม่เหมาะกับตนเองเราสามารถสับเปลี่ยนการลงทุนไปยังกองทุนอื่นภายใต้กองทุนประเภทเดียวกันได้ เช่น การสับเปลี่ยน LTF กองเดิมไปยัง LTF อีกกองหนึ่ง หรือการสับเปลี่ยนกองทุน RMF ไปยังกองทุน RMF ด้วยกัน แต่เราไม่สามารถสับเปลี่ยนจากกองทุน LTF ไปยังกองทุน RMF หรือกองทุนรวมทั่วไปได้

5. อย่าเข้าใจผิดว่าลงทุนไปแล้วไม่สามารถโอนย้าย บลจ.ได้:มีผู้ลงทุนหลายท่านเข้าใจผิดว่าถ้าลงทุนในกองทุน LTF RMF กับ บลจ.ใดแล้วจะต้องถือครองไว้จนครบกำหนดตามเงื่อนไขของสรรพากร ในความเป็นจริงแล้วเราสามารถโอนย้ายกองทุน LTF -RMF จาก บลจ.เดิมไปยัง บลจ.อื่นได้ แต่อาจมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าธรรมเนียมการโอนย้ายที่ บลจ.ต้นทางจะเรียกเก็บ โดย บลจ.แต่ละแห่งจะมีอัตราค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ การโอนย้าย LTF-RMF ข้าม บลจ.ก็จะต้องโอนย้ายกองทุนไปยังกองทุนประเภทเดียวกัน เช่น LTF โอนย้ายไป LTF หรือ RMF โอนย้ายไป RMF ด้วยกัน
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)