ผู้เขียน หัวข้อ: ส้มโอทับทิมสยาม  (อ่าน 2215 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ส้มโอทับทิมสยาม
« เมื่อ: มิถุนายน 10, 2012, 08:23:55 pm »
ส้มโอทับทิมสยาม ที่ลุ่มน้ำปากพนังวันนี้กำลังมีชื่อ

-http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=24817.0-

ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ระบุไว้ว่า ที่บ้านแสงวิมาน หมู่ที่ 13 ตำบลคลองน้อย  อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นหมู่บ้านแรกของอำเภอปากพนังที่มีการปลูกส้มโอเต็มพื้นที่ ภายหลังจากที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริดำเนินการ โดยนำพันธุ์มาจากอำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม สภาพพื้นที่ของบ้านแสงวิมานนั้นเป็นที่ราบลุ่มป่าชายเลนมีน้ำขังเป็นส่วนใหญ่
 
บ้านแสงวิมานเป็นชื่อของสองตระกูล คือ ตระกูลของนายแสงกับนางมาน ซึ่งเป็นบุคคลที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2481 หรือประมาณ 70 ปีที่แล้ว โดยมีเครือญาติ ประมาณ 20 ครัวเรือน อพยพมาจากบ้านปากกลัด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และบางครอบครัวจากจังหวัดนนทบุรี มาอยู่ในช่วงแรกมีอาชีพทำนา แต่รายได้ไม่เพียงพอ ประกอบกับภูมิรู้ในเรื่องทำสวนมาก่อน จึงนำมาใช้ในพื้นที่แห่งนี้ เริ่มด้วยการ ขุดยกร่อง เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้ เช่นแถบสวนของเมืองนนทบุรี ช่วงยกร่องใหม่ ๆ ปลูกพืชล้มลุก และไม้ผลหลายชนิด แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วมขังในฤดูมรสุม และบางปีน้ำเค็มทะลักคันกั้นน้ำ เข้าไปท่วมขังร่องสวนพืชผลได้รับความเสียหาย



บ้านแสงวิมานเป็นชื่อของสองตระกูล คือ ตระกูลของนายแสงกับนางมาน ซึ่งเป็นบุคคลที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2481 หรือประมาณ 70 ปีที่แล้ว โดยมีเครือญาติ ประมาณ 20 ครัวเรือน อพยพมาจากบ้านปากกลัด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และบางครอบครัวจากจังหวัดนนทบุรี มาอยู่ในช่วงแรกมีอาชีพทำนา แต่รายได้ไม่เพียงพอ ประกอบกับภูมิรู้ในเรื่องทำสวนมาก่อน จึงนำมาใช้ในพื้นที่แห่งนี้ เริ่มด้วยการ ขุดยกร่อง เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้ เช่นแถบสวนของเมืองนนทบุรี ช่วงยกร่องใหม่ ๆ ปลูกพืชล้มลุก และไม้ผลหลายชนิด แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วมขังในฤดูมรสุม และบางปีน้ำเค็มทะลักคันกั้นน้ำ เข้าไปท่วมขังร่องสวนพืชผลได้รับความเสียหาย
       
ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้นำ กิ่งพันธุ์ส้มโอมาทดลองปลูก ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากส้มโอเป็นพืชที่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขัง น้ำกร่อย ประกอบ ดินมีสภาพเป็นดินเหนียว จึงทำให้ส้มโอมีรสชาติหวานเข้มไม่ขมแตกต่างจากส้มโอจากพื้นที่อื่น



เมื่อประสบความสำเร็จเกษตรกรรายอื่น ๆ ในอำเภอปากพนัง จึงนำมาปลูกบ้างจนเป็นผลให้ทั่วทั้งพื้นที่เต็มไปด้วยสวนส้มโอปลูกส้มโอ ที่มีรสชาติหวานเข้ม กุ้งมีสีแดงอมชมพู พันธุ์ขาวพวง มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว
   
 ต่อมาในปี พ.ศ.2523 นายหวัง มัสแหละ  ได้นำ พันธุ์ส้มโอ 3 ต้นมาจาก บ้านบราโอ  ตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เป็นส้มโอที่มีผลเหมือน พันธุ์ขาวพวง มีกุ้ง เนื้อสีชมพูค่อนข้างแดง เป็นพันธุ์พื้นเมือง ผลมีขนาดใหญ่ แต่มีรสขม แต่เมื่อนำมาทดลองปลูกที่บ้านแสงวิมาน ผลปรากฏว่าออกลูกและมีรสชาติหวานขึ้น ผิวผลมีสีเขียวเข้ม และมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมทั่วผล คล้ายกำมะหยี่ จากนั้นได้มีการปรับปรุงคุณภาพ สายพันธุ์แบบภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้เวลาหลายปี ในที่สุดก็ได้ส้มโอพันธุ์เนื้อสีแดงเข้ม แบบ สีทับทิมรสชาติหวาน หอม นุ่ม จึงมีการตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ เป็น      “พันธุ์ทับทิมสยาม”
 
ลักษณะประจำพันธุ์ ของส้มโอพันธ์นี้คือ  ใบค่อนข้างกว้าง ปลายใบแหลม ใต้ใบมีขนอ่อนนุ่ม ผลมีขนาดใหญ่ เส้นรอบผลประมาณ 16-22 นิ้ว หัวจีบ  ผิวผลมีขนอ่อนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ปกคลุมทั่วทั้งผล เปลือกบางจากความอร่อยและต้องปากของคนไทย จึงทำให้ส้มโอพันธุ์นี้เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันราคาขายที่หน้าสวนจะอยู่ที่ ผลละ 50 บาท ราคาร้านค้าริมทางหลวง ผลละ 80-100 บาท ทุกวันนี้ที่อำเภอปากพนัง มีเกษตรกรปลูกส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามกว่า 67.5 ไร่ จำนวน 40 ราย ในพื้นที่ 3 ตำบล ประกอบด้วย คลองน้อย เกาะทวด และ ปากพนังฝั่งตะวันตก โดยมีส้มโอที่ให้ผลแล้ว 30 ไร่  ยังไม่ให้ผลผลิต 37.5 ไร่ ซึ่งผลผลิตที่ได้เฉลี่ยที่ 40 ต้น ต่อ 1 ไร่
 
อันนับเป็นอีกหนึ่งในความภาคภูมิใจของเกษตรกรชาวปากพนัง และที่สำคัญเนื่องจากระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่แบบภาครวม ที่ดีได้เข้ามามีผลให้พื้นที่มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นจนเกษตรกรสามารถประสบความสำเร็จในการเพาะปลูก ที่เป็นผลมาจากการบริหารจัดการน้ำในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นั่นเอง

.

http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=24817.0
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ส้มโอทับทิมสยาม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2012, 08:28:14 pm »
เล่าเรื่องเมืองใต้ ส้มโอทับทิมสยาม ช่วงที1 12 6 54


เล่าเรื่องเมืองใต้ ส้มโอทับทิมสยาม ช่วงที1 12 6 54

-http://www.youtube.com/watch?v=4XAT85fAe_k-


.

เล่าเรื่องเมืองใต้ ส้มโอทับทิมสยาม ช่วงที1 12 6 54

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ส้มโอทับทิมสยาม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2012, 08:34:18 pm »
.

“ส้มโอทับทิมสยาม” อีกครั้ง



หลังจาก เคยแนะนำ “ส้มโอทับทิมสยาม” หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “ส้มโอแดงสยาม” ไปในฉบับวันพุธที่ 26 ม.ค. 54 ว่า เป็นสุดยอดของส้มโอในยุคปัจจุบัน และมีกิ่งพันธุ์วางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ปรากฏว่า ได้รับความนิยมจากผู้ปลูกอย่างแพร่หลาย และกิ่งพันธุ์ของ “ส้มโอทับทิมสยาม” หรือ “ส้มโอแดงสยาม” ได้ขาดตลาดไประยะหนึ่ง ทำให้ผู้ปลูกที่ยังต้องการกิ่งพันธุ์อยู่หาซื้อไม่ได้ สอบถามกันมาเยอะ เนื่องจากต้องการปลูกในช่วงฤดูฝนจะได้ไม่ต้องดูแลมากนัก ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยเลี้ยงบางเวลา ซึ่งเมื่อสอบถามผู้ขายกิ่งพันธุ์ทราบว่า กิ่งพันธุ์ของ “ส้มโอทับทิมสยาม” หรือ “ส้มโอแดงสยาม” ชุดใหม่เพิ่งจะติดรากแข็งแรงและเริ่มทยอยออกวางขายได้อีกครั้งแล้ว จึงรีบแจ้งให้ทราบทันที

ส้มโอทับทิมสยาม หรือ “ส้มโอแดงสยาม” มีประวัติความเป็นมาของสายพันธุ์คือ เมื่อประมาณปี 2523 “นายสมหวัง มันแหละ” อยู่บ้านแสงวิมาน อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ได้ซื้อส้มโอพันธุ์พื้นเมืองจาก อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ที่ชาวบ้านนิยมเรียกส้มโอสายพันธุ์ดังกล่าวว่า “ส้มโอสีชมพู” เพราะสีของเนื้อส้มโอจะเป็นสีชมพู แต่รสชาติไม่เป็นที่นิยมรับประทาน เนื่องจากไม่อร่อย จำนวน 3 กิ่ง ไปทดลองปลูกที่บ้าน ปรากฏว่า เมื่อต้นโตจนติดผลแก่และนำเนื้อออกมารับประทาน กลับมีรสชาติหวานมากขึ้นกว่าเดิมเยอะ แต่ก็ยังมีรสขมปนอยู่ จึงใช้วิธีปรับปรุงพันธุ์เข้าช่วย ด้วยการตอนกิ่งแบบต่อเนื่องหลายๆรุ่น

จนกระทั่งในรุ่นสุดท้าย นำกิ่งตอนไปปลูกจนติดผล แล้วนำเอาเนื้อรับประทานดู ปรากฏว่า รสขมได้หายไป เหลือเพียงรสหวานเพียงอย่างเดียว ส่วนสีสันของเนื้อส้มโอยังคงเป็นสีแดงเข้มเช่นเดิมและสีเข้มขึ้นด้วย ทำให้ดูคล้ายสีของทับทิมสดใสมาก “นายสมหวัง มันแหละ” เจ้าของผู้ปรับปรุงพันธุ์ เลยตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “ส้มโอทับทิมสยาม” หรือ “ส้มโอแดงสยาม” ดังกล่าว พร้อมทำการขยายพันธุ์ปลูกเก็บผลออกวางขายได้รับความนิยมจากผู้ซื้อรับประทานอย่างแพร่หลาย เพราะนอกจากรสชาติจะหวานอร่อยแล้ว สีสันของเนื้อยังงดงามอีกนั่นเอง

ส้มโอทับทิมสยาม หรือ “ส้มโอแดงสยาม” มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับส้มโอทั่วไปทุกอย่าง เพียงแต่จะมีลักษณะประจำพันธุ์คือ ใบค่อนข้างกว้าง ปลายแหลม ผลมีขนาดใหญ่ วัดรอบผลประมาณ 16-22 นิ้วฟุต หัวผลเป็นรูปจีบ เปลือกนุ่มและบางขนส่งระยะไกลช้ำง่าย ปัจจุบันมีกิ่งพันธุ์ขายรอบใหม่ ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผง “คุณนก” หน้าตึกกองอำนวยการ และโครงการ 19 แผง “ดาบสมพร” ราคาสอบถามกันเองครับ.

“นายเกษตร”
ไทยรัฐออนไลน์

    โดย นายเกษตร
    12 สิงหาคม 2554, 05:00 น.


-http://soclaimon.wordpress.com/2011/08/30/%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1/-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)