ผู้เขียน หัวข้อ: ๘. สุขแบบชาวบ้าน  (อ่าน 1408 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
๘. สุขแบบชาวบ้าน
« เมื่อ: มิถุนายน 11, 2012, 08:57:26 pm »


               

 ๘. สุขแบบชาวบ้าน
      ชาวบ้าน คือ ผู้ครองเรือน หรือคฤหัสถ์นั้น นอกจากจะต้องขยันหาทรัพย์แล้ว ยังจะต้องมีส่วนประกอบอื่นเพื่อให้บรรลุความสุข ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

         พระพุทธองค์จึงได้ตรัสถึงความสุขแบบชาวบ้าน ซึ่งปรากฏอยู่ในอันนนาถสูตร (๒๑/๗๙) เพื่อช่วยเสริมให้ชีวิตฆราวาส ได้มีความสุขยิ่งขึ้นไป มี ๔ ประการ ดังนี้

         ๑. อัตถิสุข คือ ความสุขอันเกิดจากการมีทรัพย์ ความภูมิใจ มีความอุ่นใจ มีความสุขใจ ที่ตนมีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยลำแข้ง และโดยความสุจริต เป็นต้น
         ๒. โภคสุข คือ ความสุขอันเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ มีความภูมิใจว่า ตนได้ใช้จ่ายทรัพย์นั้น ที่หามาได้โดยชอบธรรม เลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงพ่อแม่ เลี้ยงผู้ที่ควรเลี้ยง ตลอดจนได้บำเพ็ญกุศลต่างๆ เป็นต้น
         ๓. อนณสุข คือ ความสุขอันเกิดจากความไม่มีหนี้สิน มีความอิ่มใจ มีความภฺมิใจ มีความสุขใจว่าตนเป็นไท ไปไหนมาไหนอย่างเชิดหน้าชูตา ไม่ต้องหลบเจ้าหนี้ เป็นต้น
         ๔. อนวัชชสุข คือ ความสุขอันเกิดจากการกระทำการงานอันไม่มีโทษ มีความภฺมิใจ มีความอิ่มใจสุขใจ ว่าตนประพฤติสุจริต ไม่มีความบกพร่องเสียหายให้ต้องระแวงว่าคนอื่นจะท้วงจะกล่าวหาในทางทุจริต เป็นต้น


         บางคนมีทรัพย์มาก แต่ไม่มีความสุขภูมิใจในทรัพย์เหล่านั้น เพราะตนไม่ได้หามาเอง หรือมีส่วนเป็นเจ้าของ ก็จะเป็นเพียง "หุ้นลม" เสียมากกว่า เพระยังไม่เป็นสัดส่วนของตนโดยเฉพาะ คือยังไม่อิสระในทรัพย์สินเหล่านั้น

         การมีโภคทรัพย์ แล้วไม่จับจ่ายใช้สอย ในสิ่งที่ควรใช้ควรสอยมันก็ไม่มีความสุข เหมือนเจว็ดในศาลเจ้า มีก็เหมือนไม่มี การได้ใช้จ่ายทรัพย์ในทางที่ควรจ่าย จึงจัดว่าเป็นความสุขชนิดหนึ่งของคน

         คนที่ไม่เคยเป็นหนี้สินใคร หรือใครที่ไม่เคยเป็นหนี้ที่ถูกเจ้าหนี้ขีดเส้นตาย โดยที่ตัวไม่มีทางจะใช้หนี้ได้นั้น ย่อมจะไม่ซึ้งถึงทุกข์ภัยของการเป็นหนี้ ขนาดคนมีเงินหรือทรัพย์สินเป็นล้านๆ ก็ยังมีข่าวว่ายังต้องฆ่าตัวตายหนีหนี้ ดังนั้น การไม่มีหนี้สินใคร จึงจัดว่าเป็นความสุขใจอย่างหนึ่ง แม้ว่าจะยากจนก็ตาม

         การประกอบการงานที่มีโทษ คือผิดกฎหมายและศีลธรรมนั้น แม้ว่าจะมั่งมีทรัพย์สินเงินทองปานใด ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะภูมิใจในทรัพย์สินเหล่านั้น และมันก็ย่อมจะหาความสุขใจอย่างแท้จริงไม่ได้ อย่างมากจะทำได้ก็เพียง "หน้าชื่นอกตรม" อุปมาเหมือนการเล่นละครเท่านั้น จะอยู่ที่ไหน ? จะไปที่ไหน ? แม้ว่าจะมีมือปืนคุ้มกัน ก็มีแต่ความหวาดระแวง หาความสงบใจหรือสุขใจไม่ได้เลย.



-http://www.dhammajak.net/book-dhammaraksa/-10-3.html


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สู่ความสุข โดย.. ธรรมรักษา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2012, 02:12:45 pm »


               

สู่ความสุข :ท่านธรรมรักษา
บทนำ

         ความสุข เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา และพากันแสวงหา ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามแต่ระดับของสติและปัญญา ที่จะอำนวยให้ได้ แต่ถ้าระดับของสติและปัญญา อ่อนลงมากเท่าไร ? การแสวงหาความสุขนั้น ๆ ก็ย่อมจะพาเอาความทุกข์ พ่วงเข้ามาด้วยมากเข้าเท่านั้น จะเห็นได้ว่า

         บางคนไปหลงเสพความทุกข์ แต่เข้าใจว่าเป็นความสุข เช่น การกินเหล้า กินเบียร์ สูบบุหรี่ กินหมาก ดมทินเนอร์ สูดไอระเหย สูบกัญชา ตลอดจนเครื่องดื่มบางชนิด เป็นต้น
         โดยหลงไปว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นสุข หรือยอดของความสุขไป กว่าจะรู้ตัวก็เกิดโรคร้ายแรงเสียแล้ว ชีวิตทั้งชีวิตก็มาดับสลายลง กับสิ่งที่ไร้สาระ อย่างน่าเวทนายิ่งนัก
         ความสุขโดยพื้นฐาน ได้แก่ความพอใจ แต่ความพอใจนั้น มันจะซ่อนพิษภัยและโรคร้ายต่าง ๆ ไว้ด้วยหรือไม่ ? ก็จะต้องขึ้นอยู่กับระดับของสติและปัญญาในแต่ละคนด้วย
         การได้เรียนรู้เรื่องของความสุข ตามแนวคำสอนของพระพุทธเจ้า และจากประสบการณ์ จึงจัดว่าเป็น "กำไรของชีวิต" ที่ทุกท่านไม่ควรจะพลายเลย
         หนังสือเล่มนี้ แม้ว่าจะเล็กก็คงจะเล็กแบบ "เล็กพริกขี้หนู" เพราะได้ "เจาะเอาแต่แก่น" ของความสุขมาเสนอไว้ทั้งสิ้น แม้ว่าทางที่จะบรรลุความสุข จะยังมีอีกมาก แต่ก็ได้แตกแขนงไปจากนี้ทั้งสิ้น

         จากประสบการณ์พบว่า การที่คนเราจะมีชีวิตอยู่โลกนี้ อย่างมีความสุขตามอัตภาพ ไม่ว่าในเพศของคนคู่หรือคนเดี่ยวก็ตาม ถ้าได้ยึดถือแนวคำสอนของพระพุทธเจ้าเป้นเครื่องนำทางอย่างถูกต้องแล้ว ก็ย่อมจะไม่ก่อปัญหาที่เป็นทุกข์ร้ายแรงใด ๆ ขึ้นได้เลย
         นั่นก็หมายความว่า จะไม่ต้องกินยาแก้ปวดหัว ไม่ต้องกินยานอนหลับ ไม่ต้องกินยาระงับประสาท และไม่ต้องกินยาฆ่าตัวตาย เพราะถูกความทุกข์มันเล่นงานเอาเสียจนงอมพระรามนั่นเอง
         หนังสือเล่มน้อยนี้ จะเป็นมัคคุเทศก์ช่วยนำทาง ให้ท่านผู้อ่านได้พบกับ "ลายแทงความสุข" ในรูปและแบบต่าง ๆ ตามแต่จริตนิสัยของผู้อ่าน ด้วยการประหยัดทั้งเวลา และทรัพย์ในกระเป๋าอีกด้วย
         แต่หนังสือเล่มนี้ จะบรรลุสู่ความสุขตามชื่อของหนังสือ หรือตามความต้องการของผู้อ่าน ได้มากน้อยเพียงใด ? หรือจะเป็นเพียงชื่อของหนังสือ ก็อยู่ที่ว่า

         ท่านผู้อ่านนี่แหละ จะน้อมนำเอาข้อเสนอแนะ ไปปฏิบัติได้จริง และปฏิบัติได้ต่อเนื่องมากน้อยแค่ไหน ? ถ้าเพียงแต่เห็นด้วยวิธีการและพอใจ แต่ไม่มีผลของ "การกระทำ" ให้ครบวงจรติดตามมา หนังสือเล่มนี้ก็คงไม่พ้นคำว่า "เป็นเสือกระดาษ" ที่จะต้องถูกวางทิ้งไว้ในที่ใดที่หนึ่งอย่างไม่แยแส หลังจากที่มันได้ผ่านสายตาท่านไปแล้ว !
         อยากขอถามแบบ "จิตสู่จิต" ว่าท่านเป้นอีกคนหนึ่งใช่ไหม ? ที่รู้ว่าอะไรชั่วแล้วไม่ละ ? และรู้ว่าอะไรดีแล้วไม่ยอมทำ ? (ขอให้ตอบตัวเองในใจว่าจริงหรือไม่จริง ?)
         ถ้าท่านเป็นคนดังว่ามานี้ เห็นทีว่า "ทางสู่ความสุข" จะถูกปิดตันสำหรับท่านเสียแล้ว !

         แต่จะอย่างไรก็ตาม ผู้เขียนยังมีความเชื่อมั่นว่า ท่านต้องเป็นคนหนึ่งละ ที่ปรารถนาความสุข ด้วยเหตุผลที่ว่า ถ้าท่านไม่ปรารถนาความสุขแล้ว ท่านก็คงจะไม่ซื้อหนังสือเล่มนี้ หรือหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่านอย่างแน่นอน !
         เมื่อผู้เขียนเป็นหมดเดาที่ถูกใจท่านเช่นนี้แล้ว ก็ขออย่าให้ท่านซึ่งมีความทุกข์อยู่ หรือปรารถนาความสุขอยู่ แล้วมันก็จะขาดวงจรอยู่เพียงแค่นั้นเลย !
         ขอให้ท่านเป็นคนหนึ่ง ที่ได้ใช้ลายแทงในหนังสือเล่มนี้ เป็นมัคคุเทศก์นำทางไปสู่ความสุขให้ครบวงจร โดยเร็วพลันเถิด
         ผู้เขียนจะช่วยท่านได้อย่างมาก หรือสูงสุดก็เพียงแต่ "ชี้บอกทางสู่ความสุข" ให้เท่านั้น แต่การกระทำต้องเป็นหน้าที่ของท่านผู้อ่านเอง สมตามพุทธวจนะ (๒๕/๔๓) ที่ว่า

ความเพียรพยายาม พวกเธอต้องทำเอาเอง
ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้บอกทางให้เท่านั้น !




หนังสือสู่ความสุข
เรียบเรียง  โดย  ธรรมรักษา

๑.ความสุขคืออะไร ?
๒.ทำอย่างไรจะพบสุข
๓.อย่าคบคนพาล
๔.จงคบบัณฑิต
๕.เว้นอบายมุข

๖.งดเว้นเวรภัย
๗.สูตรเศรษฐี
๘.สูขแบบชาวบ้าน
๙.เจริญพรหมวิหาร
๑๐.ยอดมหาเสน่ห์

๑๑.สูตรสำเร็จ
๑๒.ฆราวาสธรรม
๑๓.สุขภาพดี ๔ อ.
๑๔.ธรรมชาติบำบัด
๑๕.เชื่อกฎแห่งกรรม

๑๖.เลี้ยงลูกถูกต้อง
๑๗.สันโดษ
๑๘.ขจัดความหวาดกลัว
๑๙.อย่าสีแกลบ
๒๐.อย่าแบกโลก

๒๑.อย่าอยู่ว่าง
๒๒.สร้างปีติ
๒๓.มองแต่แง่ดี
๒๔.ควรฝึกจิต
๒๕.ฉีดวัคซีนธรรม

๒๖.ถอนอุปทาน
๒๗.เผด็จการโดยธรรม
๒๘.ศิลปะสู่ความสุข

http://www.dhammajak.net/book-dhammaraksa/-2-4.html


ออฟไลน์ magicmo

  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • ***
  • กระทู้: 127
  • พลังกัลยาณมิตร 30
    • ดูรายละเอียด
Re: ๘. สุขแบบชาวบ้าน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2012, 11:21:10 am »
 :37: :37:  สวยๆครับ