ผู้เขียน หัวข้อ: ปลาทุ่ง  (อ่าน 1468 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ปลาทุ่ง
« เมื่อ: มิถุนายน 17, 2012, 12:06:04 pm »
ปลาทุ่ง

คอลัมน์ วัฒน์ วรรลยางกูร
-http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOakUzTURZMU5RPT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1pMHdOaTB4Tnc9PQ==-



"นั่งอยู่ที่ครัวครูจุก อากาศดีมาก"

เป็นเมสเสจ จากน้องๆ แถวทุ่งเชียงราก ปทุมธานี ยั่วใจพิลึก ครัวครูจุก เป็นร้านอาหารริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในแถบถิ่นบ้านท้องคุ้ง ไม่ไกลจากวัดสำแล เป็นบ้านเกิดของ คีตกวีลูกทุ่ง ครูไพบูลย์ บุตรขัน

ครัวครูจุก เขาเป็นร้านอาหารขายดีชนิดไม่ต้องโปรโมต โต๊ะหินอ่อนติดน้ำจะมีป้าย จองแล้ว ตั้งแต่บ่าย ตกเย็นบรรยากาศดีมาก แม่น้ำเจ้าพระยาช่วงนั้นเป็นคุ้งน้ำกว้างมาก เห็นพระอาทิตย์ตกฝั่งตรงข้าม

และถ้ามองเยื้องลงไปทางใต้ ก็จะเห็นชุมชนบ้านกระแชง ซึ่งสมัยก่อนที่ยังไม่มีร้านเซเว่นฯ ย่านบ้านกระแชงเป็นตลาดน้ำ (อยู่ตรงข้ามกับวัดสำแล) ซึ่งผมสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ครูไพบูลย์เขียนเพลงหนุ่มเรือนแพ ให้ กาเหว่า เสียงทอง ขับร้อง

"บางกอกน้อยตลาดน้ำ เรือพายจ้ำแจวกันขรม เสียงเรือหางครางระงม ฟังเสียงขรมเหมือนพี่คราง ครวญหาน้องมองหานุช ไม่สิ้นสุดจน ฟ้าสาง มองทางไหนไม่พบนาง สุดอ้างว้าง โอ้อาวรณ์"

ถึงแม้จะบอกว่าเป็น "บางกอกน้อย" แต่ภาพและบรรยากาศตลาดน้ำบ้านกระแชงก็น่าจะฝังใจครูเพลงยิ่งกว่า เพราะคลุกคลีมาตั้งแต่เด็ก

ครัวครูจุกเขาไม่ต้องโปรโมต แต่หนังสือ "คีตกวีลูกทุ่ง ไพบูลย์ บุตรขัน" ต้องโปรโมตหน่อย ฉบับปรับปรุงใหม่ เพิ่มเนื้อหาหนากว่าเดิม ต้นทุนกระดาษสูง พิมพ์เสร็จเมื่อไรช่วยสนับสนุนด้วย

ผ่านไปทางทุ่งเชียงรากคราใด ผมต้องแวะไปกินอาหารรสชาติลูกทุ่ง ส่วนมากเป็นเมนูอาหารปลา ถึงแม้จะชอบทำกับข้าวเป็นกิจกรรมคลายเครียด แต่ไม่รู้เป็นไร ซื้อเขากินอร่อยกว่าทำกินเองทุกที-ฮา

อาหารเด็ดเมนูทุ่งเชียงรากอย่างหนึ่งคือ ฉู่ฉี่ปลาหมอไทย เคยพา หนุ่มสาววัยรุ่นไปกิน แล้วก็พบว่า คิดผิด

ปลาหมอเป็นปลาทุ่งที่หาได้ง่าย จะเป็นทุ่งไหนๆ ภาคกลาง ภาคอีสาน ทางโน้นเขาเรียกปลาเข็ง เป็นปลาเกล็ดแข็ง และหัวแข็ง คือในยามแล้ง มันสามารถฝังตัวอยู่ในดินรอวันฝนตกก็จะผุดขึ้นมาคะนองฝนได้อีกครั้ง สามารถเพ่นไปตามดินได้ไกลๆ หรือเพ่นข้ามถนนรถก็ยังได้

ปลาหมอที่กินกันเป็นประจำ มีสองชนิด คือ ปลาหมอไทย กับปลาหมอโค้ หรือปลาช้างเหยียบ เนื่องจากเป็นปลาเกล็ดที่ตัวแบนกว้างราวกับโดนช้างเหยียบ

ปลาชนิดหลังนี้ไม่ค่อยชอบอยู่ทุ่ง มันชอบอยู่น้ำลึกในคลอง อยู่ตามดินหรือซอกขอน ถ้ามือเซียนสักหน่อย เขาจะใช้มือเปล่าต้อนปลาเข้าไปจนมุมในซอกขอนไม้ แล้วค่อยๆ จับปลาด้วยมือเปล่าได้โดยละม่อม

ใครที่เป็นโจรขโมย อ่านคอลัมน์นี้มีข้อเตือนใจนะครับ ว่าถ้าสถานีตำรวจไหนมีตำรวจชื่อ จ่าละม่อม โจรขโมยต้องระวัง เพราะจ่าละม่อมแกจับโจรเก่งมาก อ่านข่าวไหนๆ ก็บอกแต่ว่า "ตำรวจจับได้โดยละม่อม" - ฮา

ปลาหมอไทยหรือปลาเข็งของทางอีสาน เกล็ดแข็ง ก้างและเหงือกทั้งแข็งทั้งคม คนรุ่นใหม่กินปลาไม่เป็นก็จะอันตรายมาก อย่าเสี่ยง อีกอย่างคือกินอาหารตามร้านต้องใช้ช้อน ต้องระวังมารยาท ขณะที่การกินปลานั้น ปู่ย่าตายายสอนว่าต้องใช้มือ จึงจะเรียบร้อยปลอดภัย ก้างปลาติดคอนั้นแสนสาหัส โดยเฉพาะถ้าเป็นก้างปลาหมอไทย

คนรุ่นใหม่กินปลา จึงต้องระดับประถมๆ เช่น ฉู่ฉี่ปลาเนื้ออ่อน ทอดให้กรอบ กินได้ทั้งตัว

ปลาหมอไทย อร่อยทั้งฉู่ฉี่และทาเกลือปิ้งไฟให้มันหยดฉ่า สมัยก่อนหากินไม่ยาก แค่ทำหลุมโจน ดักตามทุ่งตามหนอง หรือไม่ก็วิดตามแอ่งน้ำเล็กๆ

ส่วนตามแหล่งน้ำใหญ่หรือตามคลอง ปลาหมอ จะเป็นปลาประเภท "ปลาหมอตายเพราะปาก" คือจะลอยตัวเป็นฝูงอยู่ตรงผิวน้ำ พร้อมทำปากงับลม ยิบ-ยิบ ให้คนเห็น คนก็หย่อนเบ็ดเกี่ยวเหยื่อจำพวกไส้เดือน หรือกุ้งฝอย ปลาหมอฮุบเหยื่อ จึงเป็นปลาหมอตายเพราะ (คนเห็น) ปาก

เรื่องปลาหมอไม่มีแง่คิดอะไร ถ้าจะคิดอะไรในช่วงนี้ ผมคิดถึงคนแก่ที่เลอะจนหลง ดื้อและเชย อย่างที่เรียก กันว่า เล่นขี้เล่นเยี่ยว เล่นแบบการบ้านก็ว่ากันไป แต่ถ้ามาเล่นระดับการเมือง ก็เป็นเรื่องยุ่ง

มุ่งเอาชนะแบบไม่รู้ถูก-ผิด เสี่ยงที่จะลุกลามบานปลายเอาไม่อยู่

-http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOakUzTURZMU5RPT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1pMHdOaTB4Tnc9PQ==-

.

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)