ผู้เขียน หัวข้อ: ระวังถูกหลอกและเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ของใกล้ตัว  (อ่าน 68969 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เตือนภัย เลขบัตรประชาชน รูปแบบใหม่

-http://money.sanook.com/184745/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0
%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0
%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99-%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0
%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88/-

นอกจากเครดิตการ์ด กรมสรรพากร ตอนนี้มาถึงศาลแล้ว มีเรื่องอยากเตือนทุกท่านให้ระวังเอาไว้ ถึงการหลอกลวงรูปแบบใหม่

มีทนายความท่านหนึ่งได้รับโทรศัพท์จากคนที่ไม่รู้จัก เป็นระบบเสียงอัตโนมัติ อ้างว่าโทรจากศาลจังหวัดกรุงเทพมหานคร และแจ้งว่ามีหมายส่งถึงท่าน แต่ไม่สามารถส่งหมายได้ ให้ติดต่อไปยังศาลอาญา มิฉะนั้นศาลจะออกหมายจับไป

กด 1 หากต้องการฟังซ้ำ

กด 9 เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่

ด้วยความที่เป็นทนายความ ท่านจึงสงสัยและจับพิรุธได้ ดังนี้

1. เกิดมาไม่เคยกระทำความผิดใดๆ ตามกฏหมายที่จะต้องถูกดำเนินคดีอาญา

2. เบอร์โทรศัพท์แปลกๆ เหมือนโทรมาจากต่างประเทศ

3. ในประเทศไทยไม่มีศาลจังหวัดกรุงเทพมหานคร

4. ศาลไม่มีบริการติดตามคู่ความหรือตรวจสอบข้อมูลทางโทรศัพท์ (ยกเว้นท่านจะโทรไปที่ศาลเพื่อขอข้อมูลเองหรือตรวจสอบจากเว็บไซด์)

ทนายความท่านนี้จึงตัดสินใจกด 9 เพราะอยากรู้ว่าเขามีลูกเล่นอย่างไร


สักพักก็จะมีเสียงผู้หญิงรับสาย (มีเสียผู้ชายดังเข้ามาเหมือนกำลังเจรจาเกี่ยวกับคดีความกับคนอื่นอยู่ ทำให้เหมือนจริงว่าโทรมาจากศาล) แจ้งว่าเป็นเจ้าหน้าที่ศาล อาสาจะตรวจสอบข้อมูลให้ ขอทราบชื่อ-นามสกุล จึงแจ้งชื่อ-นามสกุลให้ทราบ จากนั้นผู้หญิงคนดังกล่าวก็จะขอหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ทนายความท่านนี้ไม่ให้ ผู้หญิงคนดังกล่าวก็บอกว่า การติดต่อราชการจะต้องใช้หมายเลขบัตรประชาชน ทนายความจึงบอกไปว่า การตรวจสอบข้อมูลของศาลนั้นไม่ต้องใช้เลขบัตรประชาชนก็ได้ ตรวจจากชื่อนาม-นามสกุลก็ได้แล้ว ผู้หญิงคนดังกล่าวก็ยังยืนยันว่าต้องใช้เลขบัตรประชาชน ทนายความจึงแจ้งว่าจะไปติดต่อศาลเอง ขอทราบชื่อเจ้าหน้าที่ศาลที่จะต้องติดต่อ ผู้หญิงคนดังกล่าวก็ตอบมาด้วยเสียงดุๆ ว่าให้ไปติดต่อได้ที่ศาลอาญารัชดา แล้วก็รีบวางสาย ไม่ยอมแจ้งชื่อให้ทราบ

ทนายความท่านได้ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าวพบว่า

- ไม่ใช่หมายเลขของศาลอาญารัชดาฯ

- เป็นรหัสทางไกล 886 ซึ่งโทรมาจากไต้หวัน

ดังนั้นจึงขอเตือนทุกๆ ท่าน ได้โปรดระวังการหลอกลวงแบบใหม่นี้ไว้ด้วย เพราะหากท่านให้เลขบัตรประชาชน 13 หลักไป ไม่ทราบว่าเขาจะเอาไปทำอะไรบ้าง เลขบัตรประชาชนของท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ของท่านได้ เช่น ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลบัตรเครดิต ฯลฯ

นอกจากนี้ขอให้เตือนเพื่อนๆ ญาติสนิทมิตรสหายของท่านให้ทราบด้วย

(ข้อมูลนี้ได้รับมาจากผู้หวังดีที่แชร์มาให้ หากท่านเห็นว่าเป็นประโยชน์ให้แชร์ต่อๆกันไป)

 

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ อี-คอมเมิร์ซ เวิร์คช็อป (e-Commerce Workshop)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 22, 2014, 08:45:30 am โดย sithiphong »
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เป็นหนี้บัตรเครดิต ทําไงดี เรามีคำแนะนำมาฝาก


-http://money.kapook.com/view89516.html-


ลดหนี้…… บัตรเครดิต เทคนิคดีๆ ที่ควรรู้  (ธนาคารกสิกรไทย)

          เป็นหนี้บัตรเครดิต ทําไงดี ไม่จ่ายบัตรเครดิต หนี้บัตรเครดิต ไม่จ่าย ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ควรทำอย่างไร วันนี้เรามีคำแนะนำมาฝาก

          ปัญหาหนึ่งของคนมีหนี้บัตรเครดิตที่ยังไม่มีวินัยในการใช้จ่ายเงิน แถมใช้จ่ายเงินด้วยความฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเงินไม่เป็น อาจก่อให้เกิดปัญหาไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ทันเวลาที่กำหนด ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ ค่าปรับจากการผิดเงื่อนไขการชำระ ดอกเบี้ยที่คิดจากยอดค้างชำระ ทั้งนี้ ยังไม่รวมผลเสียจากความเครียดที่มีเพิ่มขึ้น และสุขภาพจิตที่เสียไปเมื่อขาดเงินชำระหนี้

          เริ่มแรกเมื่อใช้บัตรเครดิตใหม่ ๆ ไม่มีใครคิดอยากเป็นหนี้ แต่พอเริ่มใช้สักระยะหนึ่งแล้ว รู้สึกว่าตนเองมีกำลังซื้อจากเงินในอนาคตมากขึ้น จากเดิมที่เคยชำระแบบเต็มวงเงิน เริ่มเปลี่ยนเป็นการชำระเพียงบางส่วน ดังนั้น หากไม่มีวินัยในการใช้เงินที่ดีแล้ว จะเริ่มมีการค้างชำระหนี้บัตรเครดิตจาก 1 เดือน เป็น 2 เดือน 3 เดือน และในที่สุดก็ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งส่งผลต่อการขอกู้เงิน หรือการขอสินเชื่อในครั้งต่อ ๆ ไป เช่น ในอนาคตหากมีความประสงค์ต้องการซื้อบ้าน รถยนต์ จะทำให้สูญเสียโอกาสในการกู้เงิน เพราะการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินต่าง  ๆ ในปัจจุบัน ใช้วิธีดูประวัติการผ่อนชำระผ่านทางระบบข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (Credit Bureau) กล่าวคือ หากเป็นผู้ที่มีประวัติการผ่อนชำระไม่ดี อาจไม่สามารถกู้เงินได้อีกในครั้งต่อไป ดังนั้น คุณผู้อ่านควรรู้จักวิธีบริหารจัดการหนี้ เผื่อไว้สำหรับเวลาที่เดือดร้อนเรื่องเงินจริง ๆ จะได้สามารถพึ่งพาเครดิตของตัวเองได้ ไม่ต้องไปขอหยิบขอยืมเงินใครมาใช้

          สำหรับวิธีบริหารจัดการหนี้นั้น ขอเริ่มจากหนี้ที่ง่ายที่สุด คือ หนี้บัตรเครดิต การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมีความง่ายและสะดวกสบาย แต่ หากขาดการวางแผนที่ดี อาจก่อให้เกิดเป็นหนี้สินได้ หนี้บัตรเครดิตเป็นหนี้อันดับแรกที่ควรชำระ เนื่องจากดอกเบี้ยสูงและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะสถาบันการเงินผู้ออกบัตรเครดิตจะ เริ่มคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่มีการจ่ายเงินแทนลูกค้าออกไป สำหรับเทคนิคการบริหารจัดการหนี้บัตรเครดิตอย่างถูกวิธีนั้น มีดังต่อไปนี้

          ไม่มีเงินจ่าย อย่าได้รูดบัตร ใช้จ่ายให้น้อยกว่า หรือเท่ากับเงินสดที่มีเท่านั้น

          ชำระเต็มจำนวน... ตรงตามเวลา จะช่วยลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย รวมถึงค่าปรับต่าง ๆ ได้

          ถือบัตรที่เหมาะกับ Lifestyle มีส่วนช่วยลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลงได้ เช่น เติมน้ำมันผ่านบัตรเครดิตให้ส่วนลดสูงถึง 5% เติมเงินค่าเดินทางรถไฟฟ้าผ่านบัตรเครดิตมีส่วนลดพิเศษ เป็นต้น

           อ่าน Statement อย่างละเอียด เพื่อทบทวนรายจ่ายในแต่ละเดือน

          ใช้ Statement เป็นบันทึกการใช้จ่าย ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็น

          ใช้สิทธิประโยชน์จาก Point อย่างเหมาะสม ไม่เป็นเหยื่อโปรโมชั่น ของบัตรเครดิต

เป็นหนี้บัตรเครดิต ทําไงดี

          สำหรับผู้ที่เริ่มมีหนี้บัตรเครดิต และต้องการหาทางออก มีเคล็ดลับดี ๆ ในการลดหนี้ ก่อนอื่นควรรู้จักกับหนี้ที่เหมาะสมของบัตรเครดิตก่อน คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า มีหนี้บัตรเครดิตเท่าไร ถึงจะไม่เกินตัว สำหรับจำนวนหนี้ที่ต้องผ่อนชำระบัตรเครดิตนั้น ไม่ควรเกิน 10% ของรายได้สุทธิต่อเดือน หรือ ไม่ควรกู้เกิน 20% ของรายได้สุทธิตลอดทั้งปี เพราะจะส่งผลต่อการผ่อนชำระหนี้ได้ ทั้งนี้ เคล็ดลับในการลดหนี้บัตรเครดิต ขอแนะนำ เทคนิคดี ๆ ที่ควรรู้ มีดังต่อไปนี้

          อันดับแรกต้องใจแข็ง ไม่ก่อหนี้เพิ่ม ซื้อเฉพาะสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร ยารักษาโรค ค่าเดินทางมาทำงาน เสื้อผ้าตามความจำเป็น ฯลฯ มีข้อคิดดี ๆ สำหรับการประหยัดเงินเพื่อมาชำระหนี้เพิ่ม คือ “ถึงแม้ว่าจะถูกแค่ไหน ถ้าไม่ใช้ ก็ไม่ซื้อ”

          อันดับต่อมา ควรชำระหนี้ที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูง ๆ ก่อน หากมีเฉพาะบัตรเครดิต ควรเลือกปิดบัตรที่มียอดหนี้คงเหลือต่ำ ๆ ก่อน  แล้วทยอยปิดบัตรที่มียอดคงเหลือน้อยใบต่อไป เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการลดหนี้ ทั้งนี้ ควรมีการบันทึกบัญชีรับ-จ่าย ควบคู่กันไปด้วย เพื่อดูความสามารถในการชำระหนี้เพิ่ม (จะได้หมดเร็ว ๆ) และหากต้องการมีวินัยในการใช้จ่ายเงิน แนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ “บัตรเดบิต” แทน “บัตรเครดิต” เพื่อที่จะได้ใช้จ่ายตามเงินที่มีอยู่ในกระเป๋า ไม่ต้องคอยกังวลว่าจะมีเงินมาชำระหนี้บัตรเครดิตหรือไม่ ซึ่งการใช้บัตรเดบิตก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ดีอีกทางเลือกหนึ่ง และพยายามหาทางเพิ่มรายได้ เพื่อนำมาชำระหนี้

          อันดับสุดท้ายที่แนะนำ คือ การขายสินทรัพย์เพื่อนำมาชำระหนี้ พิจารณาสินทรัพย์ที่มีอยู่และไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หากนำมาชำระหนี้แล้วจะทำให้ลดดอกเบี้ยจ่ายและเงินต้น ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง

          นอกจากนี้ การวางแผนการใช้จ่ายล่วงหน้าเป็นรายเดือน จัดแยกค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภค และใช้จ่ายให้อยู่ในงบประมาณที่กำหนด จะช่วยให้คุณมีเงินเหลือเก็บมาชำระหนี้มากขึ้น



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
-http://k-expert.askkbank.com/Article/Pages/A4_015.aspx-
โดย คนอง ศรีพิบูลพานิชย์
ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล ธนาคารกสิกรไทย

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด

เงินทองต้องรู้ : 'กลโกง' เก่า..เล่าย้ำ
: โดย...ขวัญชนก วุฒิกุล

-http://www.komchadluek.net/detail/20140530/185572.html-
 
                           วันที่ 24 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ตำรวจภูธรภาค 8 แถลงข่าวจับกุมแก๊งสกิมเมอร์ชาวฝรั่งเศส ขณะใช้บัตรเอทีเอ็มปลอมกดเงินสดที่ตู้เอทีเอ็ม ได้ของกลางเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ 71 ใบ เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ
 
                           เบื้องต้นผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่า เป็นแก๊งสกิมเมอร์ที่ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอม กดเงินตามตู้เอทีเอ็มต่างๆ ตามแหล่งท่องเที่ยวของไทยและเอเชีย เนื่องจากระบบป้องกันข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์ง่ายต่อการปลอมแปลง
 
                           ก่อนหน้านี้ไม่นานนัก ระหว่างนั่งคุยกับผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้บริหารรายนี้ก็บ่นให้ฟังว่า เพิ่งจะโทรศัพท์ยกเลิกบัตรเครดิต หลังจากได้รับแจ้งจากสถาบันการเงินเจ้าของบัตรว่า บัตรของเธอสุ่มเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูล และอาจจะถูกนำไปใช้โดยอาชญากร ถามว่ามีอะไรบอกเหตุ เธอเล่าว่า ก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะที่ผ่านมาไม่เคยซื้อของออนไลน์ ไม่เคยให้ข้อมูลแก่แหล่งที่ไม่แน่ใจหรือพิจารณาแล้วว่า มีความเสี่ยง เรียกว่า การใช้งานทุกครั้งเป็นไปอย่างรอบคอบ แต่ก็ยังเข้าข่ายจะเกิดปัญหาจนได้
 
                           สุดท้ายต้องยกเลิกบัตรเก่า และรอสถาบันการเงินส่งบัตรใบใหม่มาให้
 
                           ถึงแม้ “เจ้าของบัตร” จะเข้มงวดแค่ไหน และสถาบันการเงินจะพยายามทั้งป้องกันและปราบปราม แต่ดูเหมือนกับอาชญากรจะมีวิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้น การแชร์แล้วแชร์อีกเพื่อบอกกล่าวถึงวิธีป้องกัน รวมถึงวิธีการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์อย่างปลอดภัย ก็กลายเป็นอีกเรื่องที่ต้องบอกกล่าวซ้ำๆ ล่าสุดผู้ให้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์อย่าง “มาสเตอร์การ์ด” ก็ออกมาให้คำแนะนำ (ซ้ำๆ) ถึง 7 ขั้นตอนง่ายๆ ในการป้องกันการโจรกรรมและปลอมแปลง
 
                           ถึงเป็นเรื่องซ้ำๆ เป็นเรื่องง่ายๆ แต่เชื่อเถอะว่า เป็นเรื่องที่หลายคนมองข้าม
 
                           คำแนะนำข้อแรก คือ เซ็นชื่อบนบัตรของคุณ โดยคุณควรจะต้องเซ็นลายมือชื่อบนบัตรใหม่ทันทีที่คุณได้รับมา ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นเซ็นแทนในกรณีที่บัตรสูญหายหรือถูกขโมยแล้วอาจนำไปรูดซื้อสินค้า สอง - ให้ระวังผู้ไม่หวังดีมาหลอกล้วงข้อมูล อย่าตอบอีเมลหรือข้อความทางโทรศัพท์ที่น่าสงสัย โดยเฉพาะกรณีที่ขอให้คุณบอกข้อมูลส่วนตัว เพราะนั่นอาจเป็นแผนของแก๊งมิจฉาชีพที่จ้องจะขโมยข้อมูลของคุณ
 
                           สาม - หาข้อมูลก่อนเสมอ ก่อนที่จะซื้อสินค้าหรือบริการใดๆ ควรค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่เราไม่คุ้นเคย โดยการค้นหาจากอินเทอร์เน็ต สอบถามเพื่อนๆ หรือโทรสอบถามสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่หมายเลข 1166 ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเราซื้อสินค้าหรือบริการกับบริษัทที่มีชื่อเสียงไว้ใจได้เท่านั้น
สี่ - ป้องกันข้อมูลของตัวเอง โดยเก็บรักษาข้อมูลบัตรในโทรศัพท์ด้วยวิธีที่ปลอดภัยรัดกุม ต้องแน่ใจว่าข้อมูลนั้นสามารถเข้าถึงได้โดยใช้รหัสผ่านหรือรหัสลับเท่านั้น วิธีนี้จะช่วยปกป้องข้อมูลในกรณีที่มือถือสูญหายหรือถูกขโมย
 
                           ห้า - ตรวจสอบซ้ำ หมั่นตรวจสอบบัตรเป็นระยะๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีบัตรใบไหนหายไป หลายคนมักคิดว่าบัตรต่างๆ ยังคงอยู่ในที่ของมัน แต่เพื่อความแน่ใจ ก็ควรตรวจสอบเสมอว่า บัตรทุกใบอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัย หก - ตรวจทานอย่างละเอียด ตรวจทานใบแจ้งหนี้บัตรเครดิตอย่างละเอียดทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีรายการที่น่าสงสัยพ่วงมาด้วย ตรวจสอบค่าใช้จ่ายทุกรายการที่ไม่คุ้นเคย โดยไล่เลียงดูในรายละเอียดของใบแจ้งหนี้ที่ได้รับ
 
                           สุดท้าย - ฉีกเอกสารก่อนทิ้ง ถ้าเราได้รับใบแจ้งยอดบัญชี หรือข้อมูลบัตรที่เป็นเอกสาร ควรฉีกเอกสารเหล่านั้นก่อนทิ้งลงถังขยะ ทั้งนี้ เพื่อรักษาข้อมูลสำคัญให้ปลอดภัย หลังจากที่เอกสารพวกนั้นหลุดจากมือไปแล้ว
 
                           มาสเตอร์การ์ดยังแนะนำเรื่องการช็อปปิ้งออนไลน์อย่างไรให้ปลอดภัย โดยอ้างถึงรายงานการศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของมาสเตอร์การ์ด โดยระบุว่า คนไทยเป็นหนึ่งในผู้ที่นิยมซื้อสินค้าออนไลน์มากที่สุด นอกจากมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดที่มาสเตอร์การ์ดนำมาใช้ในกระบวนการซื้อขายสินค้าออนไลน์แล้ว ลูกค้าสามารถป้องกันตัวเองได้ โดยข้อแรก - ต้องรู้จักร้านค้าที่จะซื้อสินค้าหรือบริการนั้นดีพอ ตรวจสอบชื่อเสียงเรียงนามของผู้ขาย โดยหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทนั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สอบถามจากเพื่อนๆ ตรวจสอบกับ สคบ. และดูว่ามีเว็บไซต์ที่ลูกค้ารายอื่นๆ แสดงความเห็นไว้หรือไม่ พึงระวังร้านค้าออนไลน์ที่เสนอราคาถูกเกินไป เพราะร้านพวกนี้มีแนวโน้มที่จะหลอกลวงลูกค้า
 
                           สอง - ตรวจสอบมาตรการรักษาความปลอดภัย ถ้าต้องให้หมายเลขบัตรเครดิตทางออนไลน์ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าการเชื่อมต่อของเรามีความปลอดภัย เบราว์เซอร์ส่วนใหญ่จะแสดงไอคอนพิเศษ เช่น รูปกุญแจเพื่อแสดงว่าเว็บไซต์นั้นมีความปลอดภัย นอกจากนี้ บนเว็บไซต์ของร้านค้าจำนวนมาก ยังแจ้งให้ทราบกรณีมีข้อควรระวังด้านความปลอดภัย ดังนั้น ควรมองหา คำแนะนำนี้ ถ้าหาไม่พบ ก็ควรสอบถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย
 
                           สาม - ป้องกันอีเมลของตัวเอง อีเมลไม่ถือเป็นรูปแบบของการสื่อสารที่มีความปลอดภัย ดังนั้น เพื่อปกป้องหมายเลขบัญชีและหลีกเลี่ยงการโจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิต ไม่ควรส่งหมายเลขบัญชีหรือข้อมูลทางการเงินอื่นๆ ทางอีเมล สุดท้าย - ป้องกัน PIN และหมายเลขบัญชีของตัวเอง อย่าไว้ใจพนักงานขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ ทางโทรศัพท์ หรือใครก็ตามที่ไม่รู้จัก ถ้าข้อเสนอฟังดูดีเกินจริง ควรสละสิทธิ์นั้น การให้หมายเลขบัตรสำหรับชำระเงินก็ต่อเมื่อตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว หรือหากได้เริ่มต้นเจรจาต่อรอง ก็ไม่ควรเปิดเผยรหัส PIN หรือรหัสผ่านเข้าบัญชีใดๆ แก่ร้านค้าออนไลน์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม และไม่ควรใช้หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือ PIN เป็นรหัสผ่าน
 
                           ส่วนถ้าหากสงสัยว่า โดนโจรกรรมหรือปลอมแปลง สิ่งที่ต้องทำ ก็คือ โทรหาธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ออกบัตรให้ทันที บัตรอาจถูกยกเลิกและผู้ออกบัตรจะออกบัตรใหม่ให้ แต่ควรตรวจสอบที่อยู่ให้ถูกต้องก่อนสิ้นสุดขั้นตอนนี้
 
                           อย่าไปบ่น อย่าไปท้อ โลกมันก็ซับซ้อนแบบนี้นั่นแหละ
 
----------------------------
 
(เงินทองต้องรู้ : 'กลโกง' เก่า..เล่าย้ำ : โดย...ขวัญชนก วุฒิกุล)
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
รวบแก๊งเงินกู้โหดร้อยละ 60 ไม่จ่ายบุกบ้านยึดทรัพย์

-http://hilight.kapook.com/view/103239-






เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก รายการเรื่องเล่าเช้านี้โพสต์โดย คุณเรื่องเล่าเช้านี้ บีอีซี-เทโร สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม

          ตำรวจ สภ.สัตหีบ ร่วมกับทหาร รวบตัวแก๊งเงินกู้นอกระบบ คิดดอกเบี้ยโหดร้อยละ 60 หากไม่จ่ายดอกเบี้ยเจอบุกบ้านยึดทรัพย์

          วันนี้ (4 มิถุนายน 2557) รายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 รายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.สัตหีบ จ.ชลบุรี และทหารจากฐานทัพเรือสัตหีบ ได้ร่วมกันแถลงข่าวการจับกุมแก๊งเงินกู้นอกระบบ โต๊ะเงินกู้ฮั้ว พัทยา ได้ทั้งหมด 7 คน คือ

            นายเวชยัน หลักทอง อายุ 35 ปี
            นายต่อศักดิ์ นิกรพล อายุ 26 ปี
            นายทนงศักดิ์ ทิวะกะลิน อายุ 35 ปี
            นายสุทัศน์ โอ้ระลึก อายุ 29 ปี
            นายอรินันท์ นันชัยเครือ อายุ 30 ปี
            นายวิชิต หลักทอง อายุ 31 ปี
            นายสันติกุล บังกุล อายุ 34 ปี

          พร้อมของกลางเป็นคีมตัดเหล็ก อาวุธปืน และกระสุนปืน จำนวน 15 นัด

          โดยนางสาวบรรเจิด ทองก้อน อายุ 45 ปี หนึ่งในผู้เสียหาย เปิดเผยว่า ตนกู้เงินมาจำนวน 200,000 บาท และต้องส่งดอกเบี้ยวันละ 4,000 บาท ทุกวันเป็นประจำ แต่หากวันไหนไม่มีส่งก็จะถูกข่มขู่ และหากไม่ยอมจ่ายก็จะโดนกลุ่มผู้ต้องหาบุกเข้ามายึดทรัพย์สินในบ้าน เพื่อนำไปขายหาเงินมาขัดดอก แต่ตนไม่กล้าแจ้งความเพราะเกรงว่าจะเป็นอันตราย

          ในขณะที่นางปรียาพร หมดจด อายุ 42 ปี ผู้เสียหายอีกราย ให้การว่า ตนกู้เงินมาจำนวน 50,000 บาท และจะต้องจ่ายดอกวันละ 1,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 60 ต่อเดือน ซึ่งตนได้ส่งดอกไม่เคยขาดจนเมื่อวานไม่อยู่ จึงบอกกลุ่มผู้ต้องหาให้มารับเงินในอีกวัน แต่กลุ่มผู้ต้องหาไม่ยอม พร้อมทั้งนำคีมตัดเหล็กตัดกุญแจบ้านของตนและเข้ามายึดรถจักรยานเพื่อนำไปขายขัดดอก เมื่อเพื่อนบ้านเห็นจึงโทรศัพท์มาบอก ตนจึงตัดสินใจเข้าแจ้งตำรวจเพราะคิดว่ากลุ่มผู้ต้องหากระทำเกินกว่าเหตุ

          ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เผยว่า ได้ทำการติดตามดูพฤติกรรมของกลุ่มผู้ต้องหามาโดยตลอด จนได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทหาร เข้าจับกุมกลุ่มคนร้ายมาดำเนินคดีดังกล่าว



เรื่องเล่าเช้านี้ รวบแก๊งเงินกู้รีดดอกโหด ร้อยละ 60 ไม่จ่ายบุกยึดทรัพย์ 4 มิถุนายน 2014
-http://www.youtube.com/watch?v=QbGAunkbbxk-

 คลิป เรื่องเล่าเช้านี้ รวบแก๊งเงินกู้รีดดอกโหด ร้อยละ 60 ไม่จ่ายบุกยึดทรัพย์ 4 มิถุนายน 2014 เครดิตจากรายการเรื่องเล่าเช้านี้ โพสต์โดย คุณ เรื่องเล่าเช้านี้ บีอีซี-เทโร
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยๆ 

และยังคงเกิดขึ้นอีกต่อๆไป 

ยังไม่มีวี่แววจะไม่เกิดขึ้นอีก

เพราะฉะนั้น  จะทำอะไร  จะทำอย่างไร  ที่เกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ทั้งหลาย  ต้องมีความระมัดระวังกัน


---------------------------------------------------------


น้องคว้าอีโต้ฟันพี่ดับคาที่ หลังขอแบ่งมรดกจากแม่






เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สปริงนิวส์

          สลด น้องชายคว้ามีดอีโต้กระหน่ำฟันพี่ชายดับคาที่ เหตุทะเลาะขอแบ่งมรดกจากแม่

          เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 6 มิถุนายน 2557 พนักงานสอบสวน สภ.เมืองศรีสะเกษ ได้รับแจ้งเหตุฆาตกรรมภายในบ้าน 2 ชั้นที่ ต.ซำ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ หลังเจ้าหน้าที่ตรวจสอบที่เกิดเหตุ พบผู้เสียชีวิตคือ นายไพบูลย์ อาจวงศ์ อายุ 42 ปี สภาพศพถูกของมีคมฟันตามร่างกาย 4-5 แห่ง นอนจมกองเลือดเสียชีวิตคาที่ โดยมี นางทุมมา อาจวงศ์ อายุ 70 ปี มารดาของผู้ตาย นั่งร้องไห้น้ำตานองหน้าอยู่ใกล้ศพ

          จากการสอบสวนเบื้องต้น นางทุมมาให้การว่า ก่อนเกิดเหตุนายไพบูลย์พร้อมด้วย นายสัญญา อาจวงศ์ อายุ 30 ปี น้องชายของผู้ตาย ได้นั่งดูทีวีกันอยู่ และได้ดูข่าวมีคนนำเด็กไปทิ้ง จากนั้นนายสัญญาได้พูดขึ้นว่าจะไปขอเด็กมาเลี้ยง แต่ผู้ตายกลับบอกว่าไม่มีสมบัติจะแบ่งให้ นายสัญญาจึงไม่พอใจและขอแบ่งที่นาซึ่งมีอยู่ 9 ไร่จากตน แต่ตนไม่แบ่งให้เนื่องจากนายสัญญาได้ยืมเงินจากพี่สาวและยังไม่นอมคืน โดยยื่นเงื่อนไขว่าหากอยากได้ที่นาจะต้องคืนเงินพี่สาวก่อน นายสัญญาจึงไม่พอใจและปรี่เข้ามาทำร้ายตน

          ด้านนายไพบูลย์ผู้ตายเห็นดังนั้นจึงเข้ามาขวาง ก่อนเกิดการชกต่อยขึ้น จากนั้นนายสัญญาได้วิ่งไปคว้ามีดอีโต้ที่วางอยู่บนแคร่ มากระหน่ำฟันเข้าร่างของผู้ตายไม่ยั้งมือ จนนายไพบูลย์เสียชีวิตคาที่

          ต่อมา พ.ต.อ.วินัย เกตุพันธุ์ ผกก.สภ.เมืองศรีสะเกษ ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไปติดตามจับกุมนายสัญญา ผู้ต้องหารายนี้ได้โดยละม่อม ที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ โดยผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่าลงมือกระทำผิดจริง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงนำตัวไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพในที่เกิดเหตุ พร้อมตั้งข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา จากนั้นได้ควบคุมตัวไปดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก-http://news.springnewstv.tv/49182
/%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94-%E0%B8
%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7
%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%89-

.


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 22, 2014, 08:46:15 am โดย sithiphong »
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ไม่อยากต้องเป็นแบบข้างล่าง  อย่าให้ยืมเงิน

ถ้าจะให้ยืมเงิน ให้ตัดสินใจ(ในใจ)ว่า ยกเงินให้ หรือ ตัดหนี้สูญ



------------------------------------------------------------------



5 วิธีทวงเงินลูกหนี้

-http://money.sanook.com/188901/5-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89/-




กระแสเงินสดในองค์กรถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการอยู่รอดสำหรับเจ้าของธุรกิจรายย่อยเลยทีเดียว มีบริษัทมากมายที่ต้องปิดตัวลงไปอย่างน่าเสียดายเพราะสนใจแต่รายรับและยอดขายโดยลืมให้ความสำคัญกับกระแสเงินสดหมุนเวียนในระบบ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการที่เรามีลูกค้ามากและผลประกอบการเยอะก็ไม่ได้หมายความว่าในช่วงเวลานั้นเราจะมีเงินสดในระบบเยอะตามเสมอไป เพราะในการทำธุรกิจลูกค้าบางส่วนมักเลือกที่จะใช้วิธีผ่อนจ่ายหรือค้างชำระหนี้ไว้จนกว่าจะถึงวันสุดท้ายที่กำหนดชำระแทนที่จะจ่ายสดทุกครั้ง

ทั้งนี้เพราะลูกค้าเองโดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นองค์กรใหญ่ๆ ก็ต้องการให้มีเงินหมุนเวียนอยู่ในระบบเช่นกัน ก่อนที่จะเริ่มเกิดปัญหาว่าเราขาดเงินสดในการใช้จ่ายหมุนเวียนซึ่งมีสาเหตุต่อเนื่องมาจากลูกค้าชำระหนี้ล่าช้า เราควรพิจารณาหาวิธีในการทวงเงินจากลูกค้าแบบละมุนละม่อมแต่มีประสิทธิภาพและใช้ได้ผล เพื่อป้องกันปัญหาขาดเงินสดในระบบอันอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายกับธุรกิจเราได้



1.ให้ส่วนลดหากจ่ายก่อนกำหนด

กระตุ้นให้ลูกค้าชำระค่าสินค้าบริการเร็วขึ้นด้วยการเสนอส่วนลดราคาให้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องชำระเงินก่อนเวลาที่กำหนดเท่านั้น อาจใช้เทคสร้างความน่าสนใจโดยไฮไลท์เงื่อนไขส่วนลดเหล่านี้ลงไปในสัญญาหรือใบแจ้งหนี้ด้วยเพื่อให้มองเห็นได้ชัด โดยปกติแล้วลูกค้าส่วนมากมีแนวโน้มที่จะคว้าโอกาสเหล่านี้เพราะผลประโยชน์ตกเป็นของฝั่งลูกค้าเองอย่างเห็นได้ชัด บางทีการยอมเสียเงินส่วนน้อยเป็นค่าส่วนลดให้กับลูกค้าเพื่อได้เงินก้อนมาเพื่อไปหมุนเวียนหรือนำไปลงทุนอย่างอื่นอาจทำให้เราได้ผลประโยชน์มากกว่าที่คิด

2.ให้ชำระแบบออนไลน์

ในปัจจุบันมีธุรกิจหลายรายแล้วที่เริ่มใช้ระบบชำระเงินออนไลน์ โดยการไปผูกบัญชีกับทางธนาคารต่างๆ ซึ่งส่วนที่ดีที่สุดของวิธีนี้ก็คือเงินของลูกค้านั้นจะถูกตัดออกจากบัญชีเพื่อมาโอนเข้าบัญชีเงินฝากเราอัตโนมัติและตรงตามเวลาที่เรากำหนดไว้อย่างแน่นอน โดยวิธีนี้ช่วยให้การบริหารเงินทั้งของทางฝั่งเราและฝั่งลูกค้าสะดวกขึ้นด้วย

3.ถ่วงเวลางาน


นี่เป็นข้อที่สามารถทำได้ยากในสถานการณ์จริง แต่เมื่อไรที่เราพบว่างานที่ลูกค้าสั่งหรือกระบวนการขายได้ดำเนินมาถึงครึ่งทาง แต่ลูกค้าชำระหนี้ได้ช้าหรือไม่ตรงตามที่ตกลงไว้ เราก็ควรหยุดสิ่งที่เราทำอยู่ก่อนชั่วคราว พร้อมกับยืนกรานว่าต้องได้รับเงินตามที่ตกลงกันไว้ก่อนเราจึงจะดำเนินการต่อจนเสร็จสิ้น วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความกดดันและทำให้เราถือไพ่เหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัด

แต่ถึงแม้ว่าวิธีถ่วงเวลางานนี้จะเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่เด็ดขาดและมีประสิทธิภาพ แต่การต่อรองด้วยผลประโยชน์ของลูกค้าก็ถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ถ้าหากต่อรองไม่ดีก็อาจทำให้เสียความรู้สึกและลามไปถึงขั้นเสียความสัมพันธ์กับลูกค้าที่สั่งสมกันมาเลยก็ได้ ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจใช้วิธีนี้ก็ควรลองใช้วิธีอื่นดูก่อน ถ้าหากวิธีอื่นใช้ไม่ได้ผลและลูกค้าแสดงอาการว่าจะเอาเปรียบเราอย่างเห็นได้ชัด วิธีการจัดการขั้นเด็ดขาดเช่นนี้ก็อาจจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

4.ทวงน้อย แต่ทวงบ่อย



เมื่อไรก็ตามที่เราออกใบแจ้งหนี้โดยมียอดรวมเป็นจำนวนเงินมากๆ จะสังเกตได้ว่าหนี้ก้อนนั้นมักจะชำระกลับมาช้ากว่าปกติ ลูกค้าบางรายมักจะจ่ายเงินคืนนานกว่า 30 วันเมื่อต้องชำระหนี้เป็นแสน แต่ถ้าเราแบ่งแจ้งหนี้ทีละ 20,000 - 30,000 บาทมักจะได้รับเงินคืนใกล้เคียงกับเวลาที่กำหนดกว่ามากๆ จึงเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องวิเคราะห์และหาจำนวนเงินที่แน่นอนว่า เราต้องกำหนดใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้าแต่ละรายสักเท่าไรที่จะทำให้ลูกค้าเหล่านั้นคืนเงินได้ตรงเวลาที่สุด และใช้วิธีแบ่งจ่ายในจำนวนเงินเท่านั้นเป็นงวดๆ แทน

5.ปรับความเข้าใจ



การพูดคุยกับลูกค้าเพื่อปรับความเข้าใจเรื่องรายละเอียดในงาน รวมถึงเพื่อรักษาความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่สำคัญ แต่บางครั้งเราก็กลับมองข้ามการพูดคุยไปอย่างน่าเสียดายเมื่อเป็นเรื่องของการทวงหนี้ ลองเริ่มต้นสนทนากับลูกค้าเกี่ยวกับระบบเจ้าหนี้-ลูกหนี้ตั้งแต่เริ่มต้นทำธุรกิจด้วยกัน ว่าถ้าซื้อขายกับเราจะมีการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ อย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นวันที่ชำระ อัตราดอกเบี้ยเมื่อชำระหนี้ช้ากว่ากำหนด หรือส่วนลดเมื่อลูกค้าจ่ายก่อน ทั้งนี้เราอาจพูดตรงๆ กับลูกค้าว่าในการทำธุรกิจเราก็มีเจ้าหนี้ที่ต้องชำระเหมือนกัน ถ้าหากลูกค้าชำระเงินจากเราช้าแล้วจะมีผลกระทบอะไรต่อการทำงานบ้าง ซึ่งลูกค้าที่ดีส่วนมากก็จะเข้าใจและพร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เรากำหนดไว้แต่แรกเพื่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดี


 
เงินสดถือเป็นกุญแจสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจ ถึงแม้ว่าเราจะมีรายได้หรือกำไรมากแค่ไหน แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในรูปแบบของกระแสเงินสดก็จัดว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เพราะในการทำธุรกิจเราต้องอาศัยเงินสดหมุนเวียนในกระบวนการต่างๆ การที่ยอมให้ลูกค้าทั้งหลายชำระเงินได้ช้าไม่ตรงตามเวลาอาจกลายเป็นปัญหาที่ตามมาเมื่อเราไม่มีเงินหมุนเวียนในระบบเพื่อนำไปชำระหนี้ต่ออีกที ทำให้บางครั้งเราอาจต้องทำความเข้าใจเรื่องระบบการชำระเงินกับลูกค้าให้ชัดเจน รวมถึงอาจต้องยอมเสียสละส่วนน้อยเพื่อให้เงินในระบบมีเสถียรภาพและมีสำรองไว้ในยามฉุกเฉินตลอดเวลา

ข้อมูลและภาพประกอบจาก http://www.sentangsedtee.com/


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
“แก๊งฉกข้อมูลบัตร ATM” รู้ทันภัยใกล้ตัว

-http://www.sentangsedtee.com/news_detail.php?rich_id=1105&section=1&column_id=1-


 สมเจตน์ หงษ์ไกรเลิศ
เรื่องเด่นประจำฉบับ
วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557







ไทยยังเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังใช้บัตรแบบแถบแม่เหล็กอยู่ ก็ย่อมเป็นเป้าหมายจากมิจฉาชีพอยู่แล้ว ยิ่งประเทศเพื่อนบ้านเราเปลี่ยนไปใช้ชิปการ์ดกันหมด แก๊งเหล่านี้ก็ยิ่งพุ่งเป้ามายังไทยมากขึ้น


เมื่อปลายปีที่แล้ว ผมจำได้ว่าเคยเตือนเกี่ยวกับการใช้บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตสำหรับกดเงินจาก ìตู้เอทีเอ็มî อย่างปลอดภัยมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่กระนั้น ช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา เรื่องนี้ก็กลับขึ้นมาเป็นกระแสข่าวอีกครั้ง เมื่อมีลูกค้าบางรายที่ถูกมิจฉาชีพเหล่านี้ขโมยข้อมูลบัตร เพื่อไปปลอมบัตรขึ้นใหม่ในต่างประเทศและกดเงินออกจากบัญชีไปเรียบร้อย

          ครั้งนี้ก็ยังเจอปัญหากันไปอีกหลายราย วงเงินความเสียหายแต่ละคนก็แตกต่างกันไปครับ บางรายก็โดนหนักเป็นหลักแสนบาท ซึ่งธนาคารเจ้าของบัตรก็ออกตัวว่ายินดีรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับลูกค้าทุกราย

          โอกาสนี้ผมจึงอยากจะแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหานี้อีกครั้ง จากที่เคยได้คุยกับผู้บริหารของธนาคารหลายแห่ง ซึ่งดูแลปัญหานี้โดยตรง รวมถึงวิธีป้องกัน เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจวิธีการโจรกรรมข้อมูลของมิจฉาชีพเหล่านี้ และสามารถป้องกันได้อย่างถูกต้อง

แกะกลโกงก๊อบปี้บัตรเอทีเอ็ม

          กลโกงของแก๊งนี้อยู่ที่ "สร้างบัตรใบใหม่ขึ้นมา" เพื่อไปกดเงินจากบัญชีของเรา ดังนั้น จึงต้องการ "ข้อมูล" ของเรา 2 อย่างก็คือ "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของบัตร" เพื่อไปทำปลอมขึ้นมาใหม่ และ "รหัสบัตร" เพื่อสามารถเข้าถึงบัญชีเงินฝากของเราและทำคำสั่งเบิกถอนเงินได้

          ฉะนั้น แก๊งเหล่านี้ก็จะทำ 2 อย่าง คือ ติด "อุปกรณ์คัดลอกข้อมูลบัตร" หรือเรียกว่า สกิมเมอร์ (Skimmer) ครอบหน้าช่องเสียบบัตรของตู้เอทีเอ็ม เมื่อเราเสียบบัตรเข้าไปตามปกติ อุปกรณ์นี้ก็จะคัดลอกข้อมูลซึ่งถูกเก็บอยู่ใน ìแถบแม่เหล็กî ด้านหลังของบัตร ก่อนจะส่งไปยังขบวนการในต่างประเทศเพื่อสร้างบัตรใบใหม่ขึ้นมา อีกอย่างหนึ่งก็จะติด ìกล้องขนาดเล็กî ไว้ตรงบริเวณตู้เอทีเอ็มด้วย เพื่อจับภาพการกด "รหัสบัตร"

          เมื่อได้ 2 อย่างนี้ไปก็เรียบร้อยครับ เขาสามารถกดเงินออกจากบัญชีเราโดยตรง หรือจะโอนออกไปยังบัญชีปลายทางที่ต้องการ

ไทย คือประเทศเป้าหมายหลัก

          ผู้บริหารแบงก์ท่านหนึ่งเล่าให้ผมฟังว่า จากคำสัมภาษณ์มิจฉาชีพที่เคยจับกุมได้ ระบุว่า ìไทยî คือหนึ่งในประเทศเป้าหมายหลักของการโจรกรรมลักษณะนี้ครับ เพราะเหตุผลเดียวก็คือ ìบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตî ที่ใช้ในไทยกว่า 57 ล้านใบนั้น เกือบ 98% ยังเป็นบัตรแบบ "แถบแม่เหล็ก" ซึ่งสามารถคัดลอกข้อมูลได้ง่าย และมีเพียงส่วนน้อยราว 2% เท่านั้นที่เป็นบัตรเดบิตแบบ "ชิปการ์ด" ซึ่งไม่สามารถคัดลอกข้อมูลด้วยเจ้าเครื่อง Skimmer

          หากยังจำกันได้ เมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว ìบัตรเครดิตî ก็เคยเจอปัญหานี้เช่นกัน โดยเฉพาะการรูดชำระค่าน้ำมัน จากนั้นผู้ให้บริการบัตรเครดิตในไทยก็หันมาใช้ระบบชิปการ์ดกันหมดเพื่อป้องกันปัญหา ฉะนั้น ปัญหานี้จึงมาผุดที่บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแทน

          "ไทยยังเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังใช้บัตรแบบแถบแม่เหล็กอยู่ ก็ย่อมเป็นเป้าหมายจากมิจฉาชีพอยู่แล้ว ยิ่งประเทศเพื่อนบ้านเราเปลี่ยนไปใช้ชิปการ์ดกันหมด แก๊งเหล่านี้ก็ยิ่งพุ่งเป้ามายังไทยมากขึ้น"

          นี่คือคำเตือนจากผู้บริหารแบงก์คนหนึ่งที่อยู่ในแวดวงพัฒนาบัตรมานับสิบปี

ขอความร่วมมือแบงก์ใช้ชิปการ์ด

          ช่วง 3-4 เดือนหลังจากที่เป็นข่าวครั้งที่แล้ว ทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ก็ขอความร่วมมือกับบรรดาธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ให้เร่งพัฒนาระบบไปสู่การใช้ "ชิปการ์ด" มากขึ้น ตั้งเป้าหมายภายใน 2 ปีข้างหน้าต้องเริ่มต้นได้แล้ว

          ในมุมของธนาคารพาณิชย์เองก็นับเป็นภาระไม่น้อยกับการลงทุนใหม่ ทั้งเปลี่ยนตู้เอทีเอ็มหลายหมื่นตู้ และบัตรอีกหลายสิบล้านใบ แม้แต่ "ธนาคารกรุงเทพ" ซึ่งเป็นรายเดียวในไทยเวลานี้ที่ให้บริการบัตรเดบิตแบบชิปการ์ด หลังจากทำมา 5-6 ปีแล้ว ก็ยอมรับว่าเพิ่งจะเปลี่ยนระบบตู้เอทีเอ็มให้รองรับชิปการ์ดได้ครบ 100% ในปีที่แล้ว ขณะที่ลูกค้าซึ่งใช้บัตรแบบชิปการ์ดก็ยังมีไม่มากนัก ประมาณ 1 ล้านใบ เทียบกับบัตรทั้งระบบดังกล่าวมาแล้วก็ยังน้อยมาก

          อย่างไรก็ตาม หลายแบงก์ก็พยายามพัฒนาระบบมาสกัดเรื่องนี้ครับ บางแบงก์พยายามติดตั้งระบบป้องกันที่ตู้เอทีเอ็ม บางแบงก์พยายามออกแบบตู้ให้ไม่สามารถนำเครื่อง Skimmer มาติดได้ง่ายๆ เป็นต้น แต่ก็อย่าลืมนะครับว่า โจรยุคนี้ก็พัฒนาได้เร็วไม่แพ้กัน สามารถสรรหาวิธีที่จะโจรกรรมได้แนบเนียนขึ้น และเร็วขึ้นเรื่อยๆ

วิธีใช้บัตรกดเงินอย่างปลอดภัย

          แม้ธนาคารจะหามาตรการป้องกันปัญหานี้กันอย่างเต็มที่ แต่เงินของเรา ก็ต้องเป็น "เรา" ที่ต้องรู้จักป้องกันตัวเองกันก่อนครับ เพื่อมิให้มิจฉาชีพเหล่านี้ได้ข้อมูล 2 อย่างของเราไปได้ก็คือ ข้อมูลบัตร และรหัสผ่าน ซึ่งผมขอแนะนำวิธีการดังต่อไปนี้ครับ

          - สังเกตถึงความผิดปกติของตู้เอทีเอ็มก่อนครับ ว่ามีอะไรผิดปกติไปจากที่ควรจะมีหรือเปล่า เช่น ฝาครอบจุดรับบัตร หรือกล้องตัวเล็กๆ ที่อาจแอบติดไว้ เป็นต้น รวมถึงถ้าเป็นไปได้ควรเลือกตู้เอทีเอ็มที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดูปลอดภัยและถ้าเป็นตู้ที่เรากดประจำก็จะสังเกตความผิดปกติได้ง่ายที่สุด

          - ขณะกดรหัสผ่าน ควรใช้มือหรืออุปกรณ์อื่นมาปิดให้มิดชิด ปกติผมจะใช้กระเป๋าสตางค์นี่แหละครับ กางออกแล้วคว่ำปิดมือเลย หรือถ้าถือหนังสือไปด้วยผมก็จะใช้หนังสือทั้งเล่มปิดเลยครับ พร้อมกับใช้ตัวบังมิให้คนด้านหลังหรือด้านข้างสังเกตเห็นด้วย ใครจะว่าเราโอเวอร์ก็ช่างเขาครับ นึกเอาไว้ "นี่เงินเรา"

          - ควรเปลี่ยนรหัสเป็นระยะครับ และควรเป็นรหัสที่รู้คนเดียว ไม่ใช่รหัสที่เดาได้ง่ายเกินไป รวมถึงควรทำธุรกรรมการเงินด้วยตนเองครับ ไม่ควรให้คนอื่นไปทำแทน

          -ข้อนี้แนะนำไว้เพิ่มเติม เพราะจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ก็คือ อาจสมัครบริการแจ้งเตือนความเคลื่อนไหวของบัญชีผ่าน SMS ซึ่งธนาคารจะคิดค่าบริการปีละ 150-200 บาท แต่หากเทียบแล้วเฉลี่ยต่อวันแล้วก็ยังไม่ถึง 1 บาทด้วยซ้ำนะครับ เงินเข้า-เงินออก ก็รู้ได้ทันทีตลอดเวลา โดยเฉพาะคนที่ใช้บริการอินเตอร์เน็ตแบงกิ้งและโมบายแบงกิ้ง ผมแนะนำครับ อุ่นใจดี นอกจากนี้ก็อาจเปลี่ยนมาใช้บัตรเดบิตแบบ "ชิปการ์ด" แทนครับ แต่มีข้อจำกัดนิดหน่อยตรงที่มีเฉพาะธนาคารกรุงเทพเท่านั้น และทำธุรกรรมได้ที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารกรุงเทพเท่านั้นด้วย ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 8,300 ตู้ทั่วประเทศ ช่วงนี้ธนาคารก็พยายามโปรโมตให้ลูกค้าหันมาใช้บัตรนี้แทน โดยคิดค่าธรรมเนียมเท่าบัตรเดบิตปกติครับ

          ทุก "ความสะดวกสบาย" ก็เป็นเรื่องปกติที่จะตามมาด้วย "ต้นทุน" เสมอ ไม่ว่าจะเป็นในรูป "ความเสี่ยง" หรือ "ค่าใช้จ่าย" บางอย่าง แม้โลกนี้ไม่มีอะไรฟรีครับ แต่เราสามารถอยู่อย่างมีความสุขได้เสมอครับ


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทำบัตรพ่วง "สินเชื่อ-ประกัน" เมื่อการแข่งขันละเมิดผู้บริโภค


-http://www.naewna.com/scoop/107711-






 หากยังจำกันได้ ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีประเด็นเล็กๆ ประเด็นหนึ่งที่ถูกส่งต่อกันในโลกออนไลน์ กรณีลูกค้าไปทำบัตรกดเงินสดอัตโนมัติ (ATM) ที่ธนาคารเอกชนแห่งหนึ่ง และพบว่าพนักงานมักเสนอขายบัตรเงินสดสำหรับซื้อสินค้า (Debit Card) บ้าง หรือขายบัตรชนิดที่พ่วงประกันชีวิตบ้าง โดยอ้างว่าบัตร ATM แบบธรรมดาหมด แม้กระทั่งบอกว่าธนาคารได้ยกเลิกบัตร ATM แบบธรรมดาไปแล้ว หรือกรณีคล้ายๆ กัน คือการขายพ่วงระหว่างประกันชีวิต-ประกันภัย กับสินเชื่อรูปแบบต่างๆ

หลังจากนั้นได้มีผู้เข้ามาบอกเล่าประสบการณ์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ซึ่งเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นกับธนาคารหลายเจ้า กระทั่งผู้บริหารธนาคารยักษ์ใหญ่ ต้องออกมาปฏิเสธผ่านสื่อ ว่าไม่เคยมีนโยบายบังคับขายบัตรเดบิตหรือขายประกัน และคาดว่าน่าจะเป็นเรื่องที่ผู้จัดการสาขาทำกันเอง เพื่อหวังให้มียอดขายมากๆ อันจะมีผลต่อการประเมินประจำปี

ทว่าในมุมของพนักงานเอง กลับบอกว่าทางธนาคารบางเจ้า มีนโยบายให้พนักงานต้องทำยอดขายบัตรเดบิต ประกันชีวิต รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของธนาคาร เช่น กรณีของ “ธนาคารกรุงไทย” ทั้งที่เป็นรัฐวิสาหกิจ แต่ก็มีนโยบายดังกล่าวเช่นกัน

ไม่นานมานี้ พนักงาน ธ.กรุงไทย กลุ่มหนึ่ง ได้ร้องเรียนผ่านมาทาง “รายงานพิเศษแนวหน้า” เล่าว่านโยบายของผู้บริหารใหม่ ต้องการทำให้ธนาคารสามารถแข่งขันได้เหมือนเอกชน และกลายเป็นธนาคารอันดับ 1 ของประเทศภายใน 3 ปี ซึ่งจริงๆ แล้วก็ถือเป็นความคิดที่ดี แต่ปัญหาคือการปรับเปลี่ยนทำอย่างกะทันหันจนพนักงานส่วนใหญ่ปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้ ยังมีการตั้งเกณฑ์ชี้วัดประสิทธิภาพพนักงานจากการขายผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นหลัก

“ระบบใหม่มันเป็นอย่างไรถึงทำให้พนักงานเครียด? คือการทำงานเน้นขายเต็มร้อย มีทั้งเดินตลาด โทรหาลูกค้า ประชุมกันทุกวันเช้า-เย็น ทุกๆ วันต้องมีรายชื่อลูกค้าที่สนใจผลิตภัณฑ์กันทุกๆ คน ทั้งเบอร์โทรวันละ 10 รายต่อคน กลับบ้านก็ดึกทุกวันเพราะต้องหาข้อมูลลูกค้า และเปิดบัญชีทำบัตร ATM เอามาจากคนที่ไปเดินตลาดกลับมาตอนเย็น เป้าหมายสาขาก็สูงมากๆ ขายไม่ได้ตามเป้าเงินเดือน-โบนัสก็จะได้น้อย ตามเป้าหมายที่แต่ละคนหามาได้”

พนักงานกลุ่มนี้ เล่าว่าทุกวันนี้เงินเดือนส่วนใหญ่มาจากยอดขายผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นหลัก นอกจากนี้ ไม่ว่าจะทำงานตำแหน่งใดก็ตาม ก็จะต้องถูกบังคับให้ทำยอดขายด้วย เช่นสมุห์บัญชีอาจต้องไปขายสินเชื่อ ก็จะต้องรู้เรื่องสินเชื่อและไปทำงานด้านสินเชื่อ ลงนามอนุมัติสัญญาสินเชื่อแทนหัวหน้าสินเชื่อ ในทางกลับกัน หัวหน้าฝ่ายสินเชื่อก็ต้องไปทำงานตำแหน่งสมุห์บัญชีได้ด้วย ทั้งที่งานของ 2 ฝ่ายนี้ใช้ความรู้ความชำนาญคนละด้านกัน

ขณะที่โครงการลาออกก่อนเกษียณ (Early Retire) ที่ผ่านมาระบุว่าผู้เข้าร่วม ต้องเป็นพนักงานที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือเป็นพนักงานที่มีอายุงานไม่น้อยกว่า 20 ปี แต่โครงการนี้ในปี 2557 กลับให้ เฉพาะพนักงานที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นเพราะกลัวพนักงานจะลาออกเป็นจำนวนมาก เพราะไม่สามารถทนกับระบบดังกล่าวได้

“ท่านผู้บริหารทำไมไม่ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนระบบงานไปทีละนิด เล่นเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมืออย่างนี้ ใครบ้างจะไม่ลาออกเพราะปรับตัวไม่ทัน แต่พอพนักงานอยากลาออกก็ไม่ให้สิทธิ์เขา บีบให้พนักงานลาออกไปเองโดยไม่ต้องเข้าโครงการนี้ มันรู้สึกไม่เป็นธรรมเลย”

พนักงานกลุ่มนี้กล่าว และย้ำว่าพนักงานรุ่นเก่าส่วนมากเคยชินกับการทำงานระบบเดิมในลักษณะองค์กรภาครัฐ ดังนั้นหากต้องการให้ธนาคารกรุงไทยแข่งขันได้เทียบเท่ากับธนาคารเอกชนเจ้าอื่นๆ ควรจะแปรรูปไปเสียดีกว่า และหากจะแปรรูปจริง ก็ควรมีมาตรการเยียวยาที่เป็นธรรมกับบรรดาพนักงานเก่าๆ ด้วย มิใช่ใช้วิธีการลดต้นทุนด้วยการบีบพนักงานออก อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

อีกด้านหนึ่ง นายเวทย์ นุชเจริญ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธุรกิจรายย่อยและเครือข่าย รักษาการผู้บริหารสายงาน สายงานเครือข่ายธุรกิจขนาดเล็กและรายย่อย ธนาคารกรุงไทย เคยให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เมื่อ 26 พ.ย. 2555 ระบุว่า การขายผลิตภัณฑ์ของธนาคารและบริษัทลูกพ่วงกัน เป็นนโยบายที่ธนาคารทุกแห่งดำเนินการอยู่แล้ว เพื่อให้ลูกค้าได้ประโยชน์มากขึ้น แต่ย้ำว่าเป็นเพียงการเสนอทางเลือกให้ลูกค้าเท่านั้น มิใช่การบังคับขายแต่อย่างใด

สอดคล้องกับคำชี้แจงของธนาคาร 3 เจ้า คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกรไทย เมื่อเดือน พ.ค. 2556 กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ไม่ใช่นโยบายของทางธนาคารที่จะเพิ่มยอดขายบัตรเดบิตพ่วงประกันชีวิต แต่น่าจะเป็นบางสาขาที่ทำกันเองมากกว่า เพราะต้องการทำยอดเพื่อให้ได้ผลงานสำหรับการประเมินประจำปี

และยังย้ำด้วยว่า เรื่องแบบนี้เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง เพราะบัตรเดบิตพ่วงประกันชีวิตเป็นเพียงบัตรทางเลือก ที่ธนาคารคิดขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับ Life Style (วิถีชีวิต) ของลูกค้า ไม่ใช่ให้พนักงานไปบังคับลูกค้าสมัครบัตรดังกล่าว หรือใช้โอกาสช่วงที่บัตรเอทีเอ็มหมด เสนอขายบัตรเดบิตพ่วงประกันชีวิต ที่พนักงานได้ค่า Commission (ส่วนแบ่งการขาย) ด้วย

ทั้งนี้หากเกิดกรณีบัตร ATM หมด ให้ลูกค้าสอบถามพนักงานของแต่ละสาขาเลยว่า อีกกี่วันบัตร ATM จะมา แล้วให้เดินทางไปในวันดังกล่าว แต่ถ้าถึงเวลาที่พนักงานแจ้งไว้แล้ว บัตรเอทีเอ็มยังไม่มาอีก ลูกค้าสามารถโทรร้องเรียนไปที่ Call Center ของแต่ละธนาคารได้ทันที

อีกด้านหนึ่ง นางสาลินี วังตาล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวเมื่อ 29 เม.ย. 2557 ว่า ที่ผ่านมาได้รับเรื่องร้องเรียนทำนองนี้บ่อยมาก ซึ่งได้กำชับธนาคารต่างๆ ไปแล้วใน 3 ประเด็น คือ 1.กำชับธนาคารพาณิชย์ห้ามบังคับขายสินเชื่อพ่วงประกัน และให้สิทธิกับลูกค้าในการตัดสินใจเลือกบริษัทประกันด้วยตนเอง

2.ให้ใช้ข้อความที่เข้าใจง่ายในการเสนอสินเชื่อและประกันกับลูกค้า เพราะที่ผ่านมามีรายละเอียดและความซับซ้อนที่อาจทำให้ลูกค้ามีความเข้าใจที่สับสน และ 3.ให้สาขาธนาคารพาณิชย์ดูแลลูกค้าหลังการซื้อประกัน เพราะถือเป็นนายหน้าที่เป็นตัวแทนของลูกค้า หลังพบกรณีมีข้อร้องเรียนว่าไม่ได้รับความสะดวกในการรับค่าสินไหมทดแทน

นอกจากนี้ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ได้กำชับธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ไม่ให้มีการขายผลิตภัณฑ์เงินฝากและประกันทางโทรศัพท์มากเกินไปจนเป็นการรบกวนผู้บริโภค และหากเจ้าหน้าที่ธนาคารมาเสนอขายประกันทางโทรศัพท์ ประชาชนสามารถตอบปฏิเสธการขายได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งไปยังศูนย์รวมข้อมูลของธนาคารแต่ละแห่ง เพื่อไม่ให้มีการมาเสนอขายซ้ำซ้อนอีก

ปัญหา “ขายบัตรพ่วงประกัน-ขายประกันพ่วงสินเชื่อ” ยังคงมีเรื่องร้องเรียนผ่านสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง และในจำนวนนี้มักเป็นธนาคารระดับชั้นนำของประเทศ 4-5 แห่งที่มีการแข่งขันสูง คำถามคือ..แนวทางแบบนี้เป็นธรรมหรือไม่? เพราะด้านหนึ่งกระทบต่อสิทธิผู้บริโภค ที่ถูกธนาคารบีบให้ต้องซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องการ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงเกินความจำเป็น

อีกด้านหนึ่ง พนักงานธนาคารก็ถูกบีบให้ต้องขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมากๆ ทั้งที่อาจจะไม่ได้มีความชำนาญ ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า ตัวแทนขายประกันที่มีคุณภาพ ต้องผ่านการอบรมจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) หรือผู้ที่จะเป็นตัวแทนขายกองทุนต่างๆ ก็ต้องผ่านการอบรมจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เช่นกัน ปัญหาคือพนักงานที่มาขายประกัน หรือกองทุนต่างๆ ของธนาคาร มีความรู้เพียงพอหรือเปล่า?

ไหนๆ ช่วงนี้ก็เข้าสู่บรรยากาศการปฏิรูปประเทศแล้ว “สิทธิผู้บริโภค” เรื่องใกล้ตัวชีวิตประชาชนมากที่สุด ก็น่าจะถูกบรรจุเข้าเป็นหัวข้อปฏิรูปด้วยอีกเรื่องหนึ่ง

-SCOOP@NAEWNA.COM-

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เว็บเอ็มไทยรายงาน - ปล่อยลูกซื้อไอเท็มคุ้กกี้รัน โดนบิลเรียกเก็บเงินกว่า 3 หมื่นบาท!

-http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd016TXpNak00TlE9PQ==&sectionid=-


เอ็มไทย : วันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา สมาชิกเฟซบุ๊คท่านหนึ่ง ได้โพสต์ภาพเตือนภัยชาวสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับการปล่อยให้เด็กเล่นเกมส์ในโทรศัพท์มือถือ และกดซื้อไอเท็มเกมส์โดยไม่ได้อยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง อาจจะเกิดเหตุการณ์อึ้งแบบนี้ได้

โดยสมาชิกเฟซบุ๊คคนดังกล่าวได้โพสต์ภาพบิลโทรศัพท์ของผู้ให้บริการเครือข่ายรายหนึ่งที่มีการเรียกเก็บค่าบริการรายเดือนเป็นเงิน 33,415.49 บาท ซึ่งเป็นค่าแพคเกจ 599 บาท ส่วนที่เหลือเป็นค่าไอเท็มที่ซื้อจากเกมส์คุ้กกี้รัน 

ทั้งนี้ชาวสังคมออนไลน์ได้แสดงความคิดเห็นว่าเรื่องนี้น่าจะมีความรอบคอบปลอดภัยและดูแลเด็กให้มากขึ้นรวมถึงการผูกบัญชีเกมส์กับโทรศัพท์มือถือควรมีการตั้งรหัสก่อนซื้อ ซึ่งหากเป็นแบบกรณีนี้ก็คงต้องชำระเงินตามความเป็นจริง








คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
 8 เทคนิคช็อปออนไลน์แบบสบายใจ


-http://www.komchadluek.net/detail/20140622/186848.html-



 
                           อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ถูกเปรียบเทียบให้เป็นเสมือนปัจจัยที่ 5 ของชีวิตผู้คนในเมือง บวกกับอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีให้เลือกอย่างหลากหลายมากขึ้นครอบคลุมทุกระดับราคา นับเป็น 2 ปัจจัยสำคัญที่เร่งเครื่องให้ความนิยมในการช็อปปิ้งออนไลน์ในหมู่คนไทยขยายวงกว้างขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้จากอัตราการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซขยับตัวสูงขึ้นเกินกว่า 30% ต่อปี เพื่อส่งเสริมให้นักช็อปออนไลน์ชาวไทยมีประสบการณ์ที่ดีทุกครั้งที่ช็อปออนไลน์ พร้อมทั้งเพลิดเพลินไปกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว “ราคูเท็น (Rakuten)” เจ้าของราคูเท็นตลาดดอทคอม (Rakuten TARAD.com) ในประเทศไทย มีการรวบรวมคำแนะนำในการช็อปปิ้งซื้อสินค้าออนไลน์ให้สบายใจมาแบ่งปันแก่นักช็อปชาวไทยใน 8 แง่มุมดังนี้
 
                           1.ช็อปออนไลน์ผ่านอุปกรณ์ส่วนตัว เพิ่มความปลอดภัยให้ข้อมูลสมาชิกตลอดจนข้อมูลการชำระเงินของคุณได้ง่ายๆ แค่หลีกเลี่ยงทำรายการช็อปออนไลน์ผ่านคอมพิวเตอร์สาธารณะ
 
                           2.ดูรายละเอียดให้ถี่ถ้วนแน่ใจก่อนคลิกซื้อ นักช็อปออนไลน์มืออาชีพต้องไม่ลืมที่จะเลื่อนเม้าส์ลงอ่านข้อมูลสินค้าอย่างถี่ถ้วนก่อนคลิกสั่งซื้อ นอกเหนือจากราคาสินค้า ไม่ว่าจะเป็น ชื่อรุ่น สี ไซส์ น้ำหนัก คุณสมบัติ การรับประกันและแหล่งที่มาของสินค้า อาทิ ประกันครอบคลุมศูนย์บริการในเมืองไทยหรือไม่ หรือวันหมดอายุและวันที่ผลิตสำหรับสินค้าเพื่อการบริโภค หากเป็นไปได้ ควรมองหาช่องทางการซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ซึ่งมักจะมีนโยบายการันตีคืนเงินกรณีไม่ได้รับสินค้า หรือกรณีสินค้าที่ได้รับบกพร่องด้านคุณภาพ เขียนไว้บนเว็บไซต์อย่างชัดเจน เพื่อมอบความเชื่อมั่นและความคุ้มครองแก่ผู้บริโภค
 
                           3.ทำความรู้จักร้านค้าออนไลน์ ดูตัวตนและความน่าเชื่อถือของร้านค้า การซื้อสินค้าจากร้านค้าที่มีหน้าโฮมเพจเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเต็มรูปแบบ นอกเหนือจากจะอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ให้แก่ลูกค้าได้มากกว่าแล้ว ยังเป็นส่วนสะท้อนความตั้งใจในการทำธุรกิจออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
 
                           4.เลือกรูปแบบการชำระเงินที่ตรงสไตล์คุณ ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างสะดวก รวดเร็ว การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้ง Paysbuy หรือบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตของธนาคารต่างๆ การชำระเงินสดปลายทางเมื่อสินค้าส่งถึงมือ (Cash on Delivery) หรืออาจเลือกชำระผ่านช่องทางออฟไลน์ที่คุ้นเคยอย่างเครื่องเอทีเอ็ม หรือ จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสต่างๆ ด้วยการสั่งพิมพ์เอกสารแล้วนำไปชำระด้วยบาร์โค้ด
 
                           5.สำรวจโปรโมชั่นให้ครบแบบนักช็อปมือโปร จากฟีด (Feed) สินค้าที่คุณสนใจบนโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ หากมีลิงค์ให้คลิกกลับมาที่หน้าร้านค้าบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเมื่อไหร่ อย่าลืมมองหาโปรโมชั่นเสริม ซึ่งโดยปกติแล้วเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจะร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ เพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกค้า อาทิ โค้ดส่วนลดพิเศษ ของแถม คูปองต่างๆ ตลอดจนทางเลือกในการผ่อนชำระด้วยบัตรเครดิตจากธนาคารต่างๆ
 
                           6.สมัครสมาชิกก่อนซื้อเพื่อสิทธิประโยชน์ที่มากกว่า หากพบว่าเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซดังกล่าวมีระบบสมาชิกให้บริการอยู่แล้ว เพราะการมีระบบสมาชิกย่อมหมายถึงสิทธิประโยชน์ที่มากกว่าเฉพาะสมาชิกที่แลกมาด้วยระยะเวลาการสมัครไม่กี่นาที ทั้งยังสะดวกและง่ายต่อการสื่อสารกับร้านค้าหรือเว็บไซต์ได้อย่างฉับไวเพียงแค่อ้างอิงข้อมูลหรือหมายเลขสมาชิก
 
                           7.รอรับสินค้าอย่างไรสบายใจหลังช็อป ภายหลังจากทำรายการสั่งซื้อสินค้าพร้อมชำระเงินเสร็จสิ้นก็เข้าสู่ระยเวลาการรอคอย โดยปกติระยะเวลาการส่งสินค้ามีตั้งแต่ 1-7 วันขึ้นอยู่กับรูปแบบการชำระเงินและการส่งสินค้าที่ท่านเลือก อาทิ ท่านที่เลือกชำระเงินด้วย Cash on Delivery เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการใช้สินค้าโดยด่วนได้วันทำการรุ่งขึ้น เป็นต้น หากยังไม่ได้รับสินค้าภายในระยะเวลาดังกล่าว ได้เวลาที่นักช็อปควรเข้าไปตรวจสอบสถานะการสั่งซื้อบนระบบ หรือเทคโนโลยีในปัจจุบัน เปิดเราให้สามารถติดต่อร้านค้าหรือผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆได้มากมาย ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ รวมถึงการส่งอีเมล เพื่อลดเวลาการรอคอย และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากการโทรศัพท์ไปสอบถาม
 
                           8.รีวิวหรือให้คะแนนร้านค้าหลังช็อป จะดีแค่ไหนหากนักช็อปออนไลน์สามารถเห็นคำยืนยัน/คำแนะนำจากนักช็อปท่านอื่นๆ ให้มั่นใจก่อนช็อป ธุรกิจอีคอมเมิร์ซสมัยใหม่จึงให้ความสำคัญกับฟังก์ชั่นรีวิวร้านค้า เพื่อสร้างความมั่นใจในการช็อปสินค้าในรูปแบบของการบอกต่อ ทำให้นักช็อปออนไลน์ทุกคนมีส่วนช่วยเพิ่มความมั่นใจในการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ให้แก่เพื่อนนักช็อปด้วยกัน ด้วยการให้ความเห็นต่อร้านค้าบนบริการรีวิวร้านค้า
 
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)