ผู้เขียน หัวข้อ: คำสอนของฮวงโป พุทธทาสภิกขุ แปลเรียบเรียง  (อ่าน 12321 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




   คำสอนของฮวงโป
   พุทธทาสภิกขุ แปลเรียบเรียง
   ธรรมสภาจัดพิมพ์

   คำสอนของฮวงโปนี้ เรียกในภาษาจีนว่า "ฮวงโป ฉวน สิ่น ฟา หยาว" มร. John Bolfeld แปลออกเป็นภาษาอังกฤษ เรียกว่า The Zen Teaching of Huang Po
   
   พวกเราเห็นว่าควรแปลออกสู่ภาษาไทย จึงทำให้เกิดหนังสือเล่มที่ท่านถืออยู่นี้
   ผู้ที่เคยอ่านหนังสือเว่ยหล่างมาก่อนแล้ว พึงทราบว่า ฮวงโป เป็นหลานศิษย์ของเว่ยหล่าง
   
   กล่าว คือ เมื่อเว่ยหล่าง สังฆปริณายกองค์ที่ ๖ แห่งนิกายเซ็น ได้รับการถ่ายทอดธรรมโดยตรง ชนิดที่เรียกว่า จากจิตถึงจิต จากพระสังฆปริณายกองค์ที่ ๕ แล้ว
   
   นิกายเซ็นก็แตกออกเป็น ๒ สาย สายเหนือนำโดย ชินเชา คู่แข่งของเว่ยหล่าง สอนวิธีปฏิบัติการตรัสรู้อย่างเชื่องช้าคือ ค่อยเป็นค่อยไป เจริญรุ่งเรืองอยู่พักหนึ่งโดยราชูปถัมภ์ของพระจักรพรรดิ ตั้งอยู่ไม่นานก็เงียบหายไป ส่วนสายใต้ คือสายของเว่ยหล่าง สอนวิธีการปฏิบัติที่เป็นการตรัสรู้ฉับพลัน (จนได้นามว่า Sudden School) ได้เจริญรุ่งเรืองและขยายตัวออกมาจนแตกเป็นนิกายย่อยๆลงไป
   
   ศิษย์คนที่สำคัญองค์หนึ่งของเว่ยหล่างมีนามว่า มา ตสุ (ตาย อาย) ถึงแก่มรณภาพเมื่อ ค.ศ.๗๘๘ สำหรับฮวงโปนี้ ถือกันว่าเป็นศิษย์ช่วงที่หนึ่งหรือช่วงที่สอง ต่อจากท่าน มา ตสุ เป็นสองอย่างอยู่ และกล่าวกันว่าถึงแก่มรณภาพในปี ค.ศ.๘๕๐ ท่านได้ถ่ายทอดคำสอนนิกายนี้ให้แก่ อาย สื่น ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งนิกายหลินฉิ หรือที่เรียกอย่างญี่ปุ่นว่า รินซาย อันเป็นนิกายที่ยังคงมีอยู่ในประเทศจีน และแพร่หลายที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยเหตุนี้ ฮวงโป จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ก่อกำเนิดพุทธศาสนานิกายนี้

   บางส่วนจากคำนำผู้เรียบเรียง
   -http://witdaeng.tarad.com/product.detail_605658_th_2978024
   -http://fws.cc/leavesofeden/index.php?topic=417.0


   

   บันทึกชึนเชา

   ๑. จิตหนึ่ง
   ๒. ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร
   ๓. ความว่าง
   ๔. เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุด
   ๕. ชื่ออันไร้ตำหนิ

   ๖. ปลดเปลื้อง
   ๗. หลักธรรม
   ๘. ความฝันอันไร้ตัวตน
   ๙. ขอบวงของพุทธะ
   ๑๐. การแสวงหา

   ๑๑. ตัวตน
   ๑๒. การแบ่งแยก
   ๑๓. วิธีชั้นสุดยอด
   ๑๔. ธรรมกาย
   ๑๕. พุทธภาวะ

   ๑๖. สัจจธรรม
   ๑๗. ว่างเปล่า
   ๑๘. การรู้แจ้งเห็นแจ้ง
   ๑๙. แดนแห่งสิ่งล้ำค่า
   ๒๐. จิตนั่นแหละคือธรรม

   ๒๑. การหลบหลีก
   ๒๒. การเพิกถอน
   ๒๓. การถ่ายทอก
   ๒๔. กาย ๓ กาย
   ๒๕. เอกสภาวะ

   ๒๖. สัจจยาน
   ๒๗. ความรู้สึก
   ๒๘. คำตอบ
   ๒๙. ทาง
   ๓๐. เด็กสวาปาม

   ๓๑. มายา
   ๓๒. ฉันจะปล่อยเสียทั้งสองมือ
   ๓๓. เงาสะท้อน
   ๓๔. กาฝาก
   ๓๕. ความพากเพียร

   ๓๖. หลักที่ว่าไม่มีธรรม




   บันทึกวาน-ลิง

   ๑. การปลุกจิต / ๒. พุทธะ / ๓. ความคิด
   ๔. ยานเดียว / ๕. สภาพที่เป็นจริง
   ๖. ลักษณะ
   ๗. เดินผิดทาง / ๘. พุทธยาน
   ๙. ความพลาดอันน่าทุเรศ

   ๑๐. จิตถึงจิต / ๑๑. โพธิ / ๑๒. จิตนั้นแหละคือพุทธะ
   ๑๓. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว
   ๑๔. บทบัญญัติของพระพุทธเจ้าทั้งปวง
   ๑๕. ความคิดกับสิ่งต่างๆ
   ๑๖. ความตระหนัก

   ๑๗. พุทธกิจ / ๑๘. โพธิมิใช่เป็นภาวะ
   ๑๙. โพธิมิได้เป็นสิ่งซึ่งต้องลุถึง
   ๒๐. ธาตุแท้
   ๒๑. การสั่งสอน
   ๒๒. ความขยันอย่างกระตือรือร้น

   ๒๓. การสร้างความมีอยู่
   ๒๔. การข้ามขึ้นพ้นจากโลกทั้งสาม
   ๒๕. ธรรมะแห่งจิตหนึ่ง
   ๒๖. ทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
   ๒๗. เพื่อนรัก
   ๒๘. การแก้เผ็ด

   ๒๙. การแสดงความเคารพ
   ๓๐. ผู้แก่อาวุโส
   ๓๑. ความนิ่งเงียบ
   ๓๒. จะใช้อะไรตัดผักเหล่านั้นเล่า ?
   ๓๓. ภิกษุผู้เป็นนักล่าเลียงผา
   ๓๔. เธออยู่ที่ไหน ?



baby@home : http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=320.0


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอนของฮวงโป ๑. ( จิตหนึ่ง )
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2012, 07:40:04 pm »


๑. ( จิตหนึ่ง )
   ท่านครูบาได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า :
   พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง (One mind) นอกจากจิตหนึ่ง นี้แล้ว มิได้ มีอะไรตั้งอยู่เลย

   จิต หนึ่ง ซึ่งเป็นที่ปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่ของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งทั้งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ มันไม่อาจจะถูกลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น

   จิต หนึ่ง นี้ เป็นสิ่งที่เธอเห็นว่าตำตาเธออยู่แท้ ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เธอจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเหมือนกับความว่างอันปราศจากขอบทุก ๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้

   จิต หนึ่งนี้เท่านั้น เป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่าง พุทธะ กับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลาย ไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น จึงได้แสงหา พุทธะภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้น นั่นเอง ทำให้เขาพลาดจาก พุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็น พุทธะ ให้เที่ยวแสวงหา พุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวย จิต แม้เขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็ม ๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงมันได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้ ก็คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ ก็คือ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่ง ๆ นี้เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวง ก็หาไม่


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


   ๒. (ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร)

   สำหรับ การบำเพ็ญปารมิตาทั้งหกก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วนเหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเมื่อเธอเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว (คือเป็น จิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว) เธอก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้น มิใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำ ก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน

   ถ้า เธอยังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้น คือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเธอยังยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อพิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเธอก็ยังผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกับทาง ทางโน้นเสียเลย

   จิต หนึ่ง นั่นแหละ คือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิ เช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตจองเธอให้ปรุงความคิดฝันไปต่าง ๆ นั้น เท่ากับเธอละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองกับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก

   พุทธะ ซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้นไม่ใช่พุทธะทางรูปธรรมหรือพุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะได้เป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าไปทีละขั้น ๆ แต่พุทธะ ซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่

   เรื่อง มันเพียงแต่ตื่น และลืมตาต่อ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละ คือ พุทธะ ที่แท้จริง พุทธะ และสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


  ๓ คำสอนของฮวงโป (ความว่าง)

   จิต เป็นเหมือนความว่าง ซึ่งภายในนั้น ย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น และให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น ก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่างและความมืด ย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง

   จิต ของ พุทธะ และของสัตว์ทั้งหลาย ก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเธอมองดู พุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใสและรู้แจ้ง ก็ดี หรือมองดูสัตว์โลกทั้งหลาย ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้น อันเป็นผลเกิดมาจากความยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเธอไว้เสีย จากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเธอจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม

   มีแต่ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น และไม่มีสิ่งอื่นใด แม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะว่า จิต นั่นเอง คือ พุทธะ ถ้าพวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่องทาง ทาง ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิต นี้ พวกเธอจะต้องปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเธอเอง พวกเธอจะเที่ยวแสวงหาพุทธะนอกตัวเธอเอง และพวกเธอจะยังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้ เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้น แต่อย่างใดเลย


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๔ คำสอนของฮวงโป (เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุด)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2012, 09:14:54 am »


   ๔ คำสอนของฮวงโป (เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุด)

   การ ถวายทานใด ๆ ต่อพระพุทธเจ้าทั้งปวงในสากลโลก ไม่เท่ากับการถวายทานต่อผู้ที่ดำเนินการตาม ทาง ทางโน้น แม้เพียงคนเดียว ซึ่งเป็นผู้กำจัดความคิดปรุงแต่งเสียได้แล้ว เพราะเหตุใดเล่า ? เพราะบุคคลประเภทนั้น ย่อมไม่ก่อความคิดในรูปใด ๆ ทั้งสิ้น

   เนื้อ แท้แห่ง สิ่งสูงสุด สิ่งนั้น โดยภายในแล้ว ย่อมเหมือนกับไม้หรือหิน คือ ภายในนั้นปราศจากความเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนความว่าง กล่าวคือปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใด ๆ สิ่งนี้มิใช่เป็นฝ่ายนามธรรม (หรือฝ่ายกรรตุการก) หรือฝ่ายรูปธรรม (หรือฝ่ายกรรมการก) มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้

   ผู้ที่รีบจะไปให้ถึง ก็ไม่กล้าเข้าไป เพราะกลัวว่าจะพุ่งลงไปสู่ที่ว่าง โดยไม่มีสิ่งใดจะให้เกาะ หรือให้อาศัยไม่ให้ตก เมื่อเป็นอย่างนั้นเขาจึงดูอยู่แต่ที่ขอบ และถอยออกมา ข้อนี้ เล็งถึงพวกแสวงหาความหลุดพ้นโดยการเรียนรู้ เพราะฉะนั้น พวกที่แสวงหาความหลุดพ้นโดยการเรียนรู้จึงมีมากเหมือนขนสัตว์ และพวกที่ได้ประสบความรู้แห่งทาง ทางโน้นด้วยใจตนเอง มีน้อยเหมือนเขาสัตว์


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๕ คำสอนของฮวงโป (ชื่ออันไร้ตำหนิ)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2012, 09:35:27 am »


   ๕ คำสอนของฮวงโป (ชื่ออันไร้ตำหนิ)

   พระ โพธิสัตว์มัญชุศรี เป็นตัวแทนกฎแห่งธรรมที่เป็นมูลฐานของสัตว์ และพระโพธิสัตว์สมันตภัทร เป็นตัวแทนกฎแห่งกรรม สิ่งแรกหมายถึงกฎแห่งความว่างอันแท้จริง และไม่ถูกจำกัดขอบเขต และสิ่งหลังหมายถึงการเคลื่อนไหวที่ไม่รู้จักหมดกำลัง ซึ่งอยู่ภายนอกวงเขตของรูปธรรม

   พระ โพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นตัวแทนของความเมตตากรุณาอันไม่มีสิ้นสุด พระโพธิสัตว์ มหาสถามะ เป็นตัวแทนของปัญญาอันยิ่งใหญ่ และวิมลกีรติ เป็นตัวแทนของชื่ออันไร้ตำหนิ คำว่าไร้ตำหนิ เล็งถึงธรรมชาติอันแท้จริงของสิ่งทั้งปวง ในเมื่อคำว่า ชื่อ เล็งถึงรูปร่าง ถึงกระนั้น รูปโดยแท้จริงก็ยังเป็นสิ่งเดียวกันกับธรรมชาติที่แท้จริง ดังนั้นจึงเกิดมีคำรวมว่า “ชื่ออันไร้ตำหนิ” ดังนี้

   คุณสมบัติ ทั้งหลายนี้ ซึ่งถูกทำเป็นบุคคลาธิษฐาน ว่าเป็นโพธิสัตว์ผู้ยิ่งใหญ่ ชื่อนั้นชื่อนี้ขึ้นมาเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งซึ่งมีประจำอยู่ในคนเรา และก็ไม่แยกออกไปต่างหากจาก จิตหนึ่ง ที่กล่าวแล้ว จงลืมตาดูมันเถิด มันอยู่ที่ตรงนั้นเอง พวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น เมื่อไม่ลืมตาต่อสิ่ง ๆ นี้ ซึ่งมีอยู่ในใจของเธอเองแล้ว และยึดมั่นถือมั่นต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ หรือแสวงหาสิ่งบางสิ่งฝ่ายรูปธรรมจากภายนอกใจของเธอเอง อยู่ดังนี้แล้ว ย่อมเท่ากับหันหลังให้ต่อทาง ทางโน้นด้วยกันทุกคน

   เม็ดทรายแห่งแม่น้ำคงคานั้นน่ะหรือ ? พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงทรายเหล่านี้ว่า “ถ้า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และพระโพธิสัตว์ทั้งปวงทุก ๆ พระองค์ รวมทั้งพระอินทร์และเทพเจ้าทั้งหมด พากันเดินไปบนทรายนั้น ทรายเหล่านั้นก็ไม่มีความยินดีปรีดาอะไร และถ้าโค แกะ สัตว์เลื้อยคลาน และแมลงต่าง ๆ ทั้งหลาย จะพากันเหยียบย่ำ เลื้อยคลานไปบนมัน ทรายนั้นก็ไม่รู้สึกโกรธ สำหรับเพชรนิลจินดาและเครื่องหอม ทรายนั้นก็ไม่มีความปรารถนา และสำหรับความปฏิกูลของคูถและมูตรอันมีกลิ่นเหม็น ทรายนั้นก็ไม่มีความรังเกียจ


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๖ คำสอนของฮวงโป (ปลดเปลื้อง)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2012, 09:56:33 am »


  ๖ คำสอนของฮวงโป (ปลดเปลื้อง)

   จิตนี้ มิใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวง จึงไม่แตกต่างกันเลย ถ้าพวกเธอเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเอง ออกมาเสียจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเธอจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง

   แต่ถ้าพวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ปลดเปลื้องตัวเองจากความคิดปรุงแต่งเสียให้ได้ฉับพลันแล้ว แม้จะเพียรพยายามอยู่กัปแล้วกัปเล่า เธอก็จะไม่ประสบความสำเร็จ นั้นเลย ถ้าพวกเธอถูกผูกพันอยู่กับการปฏิบัติเพื่อหวังบุญต่าง ๆ ตามแบบของยานทั้งสาม อยู่ดังนี้ เธอจะไม่สามารถลุถึงความรู้แจ้งเลย

   อย่างไรก็ดี การรู้แจ้งแทงตลอดต่อ จิตหนึ่ง นี้อาจจะมีได้ทั้งจากการปฏิบัติซึ่งกินเวลาน้อยหรือกินเวลานาน มีอยู่หลายคนที่เมื่อได้ฟังคำสอนนี้แล้ว สามารถปลดเปลื้องความคิดปรุงแต่งออกจากตนได้โดยแว็บเดียว แต่ก็ยังมีพวกอื่น ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างนี้โดยการปฏิบัติตามหลักแห่งศรัทธา ๑๐ ภูมิ ๑๐ กรรมบถ ๑๐ และบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ และยังมีพวกอื่นอีก ซึ่งประสบความสำเร็จหลังจากการปฏิบัติตามหลักแห่งภูมิ ๑๐ ในความก้าวหน้าของพระโพธิสัตว์ แต่ไม่ว่าเขาจะอยู่เหนือความคิดปรุงแต่งเหล่านั้นได้ด้วยทางที่ยาวหรือสั้น ก็ตาม ผลที่ลุถึงก็มีแต่สิ่งเดียว คือภาวะแห่ง สภาวะ อย่างหนึ่งเท่านั้น ที่แท้ไม่มีการบำเพ็ญบุญและการทำให้เห็นแจ้งอะไรที่ต้องทำ คำพูดที่ว่า ไม่มีอะไรที่ต้องลุถึงนั้น มันไม่ใช่คำพูดพล่อย ๆ แต่เป็นความจริง

   ยิ่งกว่านั้นไปอีก ไม่ว่าเธอจะประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมายของเธอ ได้ด้วยเวลาชั่วความรู้สึกแว็บเดียว หรือตลอดเวลาอันยาวนานแห่งการบำเพ็ญตามหลักแห่งภูมิทั้งสิบของความก้าวหน้า ของพระโพธิสัตว์ก็ตาม ผลที่ได้รับก็จะเป็นอย่างเดียวกัน เพราะภาวะแห่ง สภาวะอันนี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่มีอันดับลดหลั่น เพราะฉะนั้นวิธีอย่างหลัง จึงเป็นวิธีที่ทำให้เสียเวลาเป็นกัปป์ ๆ ด้วยต้องทนทุกข์และพากเพียรเปล่า ๆ โดยไม่จำเป็น


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๗.คำสอนของฮวงโป (หลักธรรม)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 12:42:32 pm »


   ๗.คำสอนของฮวงโป (หลักธรรม)

   การสร้างสมความดีและความชั่ว ทั้งสองอย่างนี้ เนื่องมาจากความยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรม. ผู้ที่ยึดมั่นในรูปธรรม ซึ่งทำความชั่วจะต้องทนรับการเกิดแล้วเกิดอีก ด้วยประการต่างๆ อย่างไม่จำเป็น. ส่วนผู้ที่ยึดมั่นในรูปธรรม ซึ่งทำความดี ก็ทำตัวเองให้ตกลงไปเป็นทาสของความพยายาม มันจะเกิดความรู้สึกว่าตนเป็นผู้ขาดแคลนอยู่เสมอโดยเท่าเทียมกัน อย่างไม่มีที่มุ่งหมาย. ในทั้งสองกรณีนั้นมันจะเป็นการดีเสียกว่า ถ้าหากว่าเขาจะทำให้เกิดความเห็นแจ้งในตนเองอย่างฉับพลัน และในการที่จะยึด หลักธรรม อันเป็นหลักมูลฐานของสัตว์ทั้งหลาย ดังที่กล่าวแล้ว.

   หลักธรรม ที่กล่าวนี้ ก็คือ จิต ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย, และ จิต นี่แหละ คือ หลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีจิต. จิต นั้น โดยตัวมันเอง ก็ไม่ใช่จิต, แต่ถึงกระนั้น มันก็ยังมิใช่จิต. การที่กล่าวว่า จิต นั้นมิใช่จิตดังนี้นั่นแหละย่อมหมายถึงสิ่งบางสิ่ง ซึ่งมีอยู่จริง. ขอให้มีความเข้าใจอย่างนิ่งเงียบเถิด! ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น.

   จงละเลิกความคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น. เมื่อนั้นเราอาจจะกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และพฤติการณ์ของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นโดยสิ้นเชิงแล้ว.

   จิตนั้น คือ พุทธโยนิอันบริสุทธิ์ ที่มีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน. สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี, และพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี. ล้วนแต่เป็นของสิ่งหนึ่งแห่ง ธรรมชาติ อันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย. ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากความคิดผิดๆ เท่านั้น และย่อมนำไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิด ไม่มีหยุด.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๘.คำสอนของฮวงโป (ความฝันอันไร้ตัวตน)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 12:49:34 pm »


   ๘.คำสอนของฮวงโป (ความฝันอันไร้ตัวตน)

   ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว. สิ่ง นี้ เป็น ความว่าง, เป็นสิ่งที่มีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบและไม่มีอะไรเจือปน, มันเป็นศานติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ, และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง. จงเข้าไปสู่สิ่งนี้ให้ลึกซึ้งโดยการลืมตาต่อมันด้วยตัวเองเถิด.

   สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเธอนั่นแหละ คือ สิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้นของมัน และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว. ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว. ถึงแม้เธอได้ก้าวไปจนถึง ความเป็นพุทธะ โดยผ่านทางภูมิทั้งสิบ แห่งความก้าวหน้าของพระโพธิสัตว์ ทีละขั้นๆ ไปตามลำดับ จนกระทั่งวาระสุดท้าย และเธอได้ลุถึงความรู้แจ้งเต็มที่โดยแว็บเดียวก็ตาม, เธอก็จะเพียงแต่ได้เห็นแจ้ง ซึ่ง ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ อันนั้น ซึ่งที่แท้ก็ได้มีอยู่ในตัวเธอเองแล้วตลอดเวลา. การปฏิบัติก้าวหน้าตามลำดับดังกล่าวแล้วทั้งหมด ของเธอนั้น ก็หาได้เป็นการเพิ่มอะไรให้แก่ สิ่ง สิ่งนี้ไม่เลย แม้แต่หน่อยเดียว.

   ในที่สุด เธอก็จะมองเห็นว่า การบำเพ็ญบุญและผลที่เธอจะได้รับมาตลอดเวลาเป็นกัปป์ๆ นั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่าการกระทำในความฝันอันไร้ตัวจริง. นั่นแหละ คือข้อที่ว่า ทำไมพระตถาคตจังตรัสว่า “โดยแท้จริงแล้ว เราตถาคตไม่ได้ลุถึงอะไรจากการตรัสรู้ที่สมบูรณ์และไม่มีอะไรยิ่งกว่า. ถ้ามีอะไรลุถึงแล้ว พระพุทธเจ้าทีปังกรก็จะไม่ทรงทำการพยากรณ์เกี่ยวกับเรา” ดังนี้.

   พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า “ธรรมสภาวะ นี้เป็นสิ่งซึ่งไม่มีทางที่จะถูกแยกเป็นฝักฝ่ายโดยเด็ดขาด เช่น ไม่เป็นของสูงหรือของต่ำและมันมีชื่อว่า โพธิ” สิ่ง นี้ คือจิตล้วนๆ ที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. มันเป็นสิ่งที่ให้กำเนิดของทุกๆ สิ่ง. และไม่ว่าจะปรากฏออกมาเป็นแม่น้ำและภูเขาในโลก ซึ่งมีรูปร่าง หรือเป็นสิ่งอื่นที่ไม่มีรูปร่าง หรือเป็นสิ่งที่ซึมแทรกอยู่ทั่วสากลโลกก็ตาม มันก็ยังเป็นสิ่งซึ่งไม่มีทางที่จะถูกแยกเป็นฝักฝ่ายโดยเด็ดขาดอยู่นั้นเอง, ไม่มีทางที่จะเกิดสมญานามต่างๆ เช่น สมญาว่า “ตัวเอง” หรือ “ผู้อื่น” ขึ้นมาได้เลย


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๙.คำสอนของฮวงโป (ขอบวงของพุทธะ)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 01:06:33 pm »


   ๙.คำสอนของฮวงโป (ขอบวงของพุทธะ)

   จิตล้วนๆ นี้ ซึ่งเป็นที่กำเนิดของสิ่งทุกสิ่ง ย่อมส่องแสงอยู่ตลอดกาล และส่องความสว่างจ้าแห่งความสมบูรณ์ของมันเองลงบนสิ่งทั้งปวง, แต่ชาวโลกไม่ประสีประสาลืมตาต่อมัน ไปมัวเข้าใจเอาแต่สิ่งซึ่งทำหน้าที่ดู ทำหน้าที่ฟัง ทำหน้าที่รู้สึก และทำหน้าที่คิดนึก ว่าแหละคือ จิต. เขาเหล่านั้นถูกการดู การฟัง การรู้สึก และการคิดนึกของเขาเอง ทำเขาให้ตาบอด เขาจึงไม่รู้สึกต่อแสงอันสว่างจ้าของสิ่งซึ่งเป็นต้นกำเนิดทางฝ่ายจิต.

   ถ้าเขาเหล่านั้น จะเพียงแต่ได้ขจัด ความคิดปรุงแต่ง เสียชั่วแว็บเดียวเท่านั้น สิ่งซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวงดังที่ได้กล่าวนั้น จะแสดงตัวมันเองออกมาทันที เหมือนดวงอาทิตย์ที่โผล่ขึ้นมาท่ามกลางที่ว่างและส่องสว่างทั่วจักรวาล โดยปราศจากสิ่งบดบังและขอบเขต.

   เพราะ ฉะนั้น ถ้าพวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นมุ่งทำความก้าวหน้าโดยการดู การฟัง การรู้สึก และการคิดนึกอยู่ เมื่อถูกหลอกโดยสัญญาต่างๆ ของเธอเองเสียแล้ว ทางที่เธอจะเดินตรงไปยัง จิต โน้น ก็จะถูกตัดขาดออก และเธอก็จะหาทางเข้าไม่พบ.

   พวกเธอจงเพียงแต่มองให้เห็นชัดว่า แม้ จิต จริงแท้นั้นจะเป็นสิ่งที่ถูกกล่าวรวมอยู่กับสัญญาเหล่านี้ก็ตาม มันก็ไม่ได้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นส่วนประกอบของสัญญาเหล่านี้ แต่ก็ไม่ได้แยกออกไปต่างหากจากสัญญาเหล่านี้.

   เธอไม่ควรตั้งต้นการใช้เหตุผลไปจากสัญญาเหล่านี้ หรือยอมให้มันก่อความคิดปรุงแต่งขึ้นมา, แม้กระนั้น เธอก็ไม่ควรแสวงหา จิตหนึ่ง นั้น ในที่ต่างหากไปจากสัญญาเหล่านั้น หรือละทิ้งสัญญาเหล่านั้นเสีย ในการคิดค้น ธรรม นั้นของเธอ. พวกเธออย่าเก็บมันไว้และอย่าทิ้งมันเสีย หรือพวกเธออย่าอยู่ในมัน และอย่าแยกไปจากมัน. เบื้องบนก็ตาม เบื้องล่างก็ตาม และรอบๆ ตัวเธอก็ตาม สิ่งทุกสิ่งย่อมมีอยู่เองตามปรกติ เพราะว่าไม่มีที่ไหนที่อยู่ภายนอกขอบวงของ พุทธะ หรือ จิต นั้น.