ผู้เขียน หัวข้อ: น้อมคารวะ อมตกวี 26 มิถุนายน " วันสุนทรภู่ "  (อ่าน 8071 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


น้อมคารวะ อมตกวี 26 มิถุนายน " วันสุนทรภู่ "



อ้างถึง

อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
แค่องค์พระปฎิมายังราคิน คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา


การติฉินนินทานั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องเจอ แม้แต่พระพุทธเจ้าเองยังหนีไม่พ้น
ไฉนคนธรรมดาอย่างเราจะไม่ถูกนินทา (จากวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี)


หากเอ่ยถึงบรมครูผู้เป็นเลิศในการประพันธ์บทกวีของไทย เชื่อว่าหนึ่งในรายชื่อบรมครูเหล่านั้นย่อมมีชื่อของ "สุนทรภู่" กวีเอกของไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่ "องค์การยูเนสโก" ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้ท่านเป็น บุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ ๒๐๐ ปีเกิดของท่าน เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๒๙ ด้วยความเป็นเลิศและความสามารถในกวีนิพนธ์ของท่านทั้งประเภทนิราศ นิทาน สุภาษิต เสภา บทละครและบทเห่กล่อม

หนึ่งในผลงานวรรณกรรมชิ้นเอกที่ได้รับความนิยมอย่างสูงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคือ เรื่อง พระอภัยมณี ซึ่งเป็นนิทานคำกลอน ที่มีความยาวถึง ๖๔ ตอนหรือ ๙๔ เล่มสมุดไทย ซึ่งนายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและประธานมูลนิธิสุนทรภู่ได้เคยกล่าวไว้ว่า พระอภัยมณี ถือได้ว่าเป็นกวีนิพนธ์ที่ยาวที่สุดในโลก เพราะมีความยาวถึง ๑๒,๗๐๖ บทในขณะที่บทประพันธ์เรื่องอีเลียต ( Iliad) และโอเดดซี (Odyssey) ของฝรั่งที่ว่ายาวที่สุด ยังมีเพียง ๑๒,๕๐๐ บทเท่านั้น

นอกจากนั้น เนื้อหาในเรื่องยังแสดงให้เห็นถึงภูมิรู้อันไพศาล จินตนาการ อันล้ำยุคล้ำสมัย ที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด อีกทั้งยังแฝงคติสอนใจในเรื่องต่างๆ ไว้มากมายซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสัจธรรมร่วมสมัยที่สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตในยุคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
อาทิ บทกลอนสุดอมตะตอน "สุดสาครถูกชีเปลือยหลอกผลักตกเหว" แล้วลักเอาไม้เท้ากับม้านิลมังกรไป แต่พระเจ้าตามาช่วยสุดสาครหลังจากสลบไป ๓ คืน และพระเจ้าตาก็สอนสุดสาครดังกลอนบทนี้



อ้างถึง

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ไม่เคี้ยวคดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
มนุษย์นี้มีที่รักอยู่สองสถาน บิดามารดารักมักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา
แม้ใครรักรักมั่งชังชังตอบ ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี


เป็นคำสอนให้เราตระหนักว่า ใจมนุษย์นั้นยากที่จะคาดเดา จะเชื่อสิ่งใดควรคิดให้รอบคอบ



หรือ เมื่อตอนอุศเรนพ่ายแพ้ในการรบ แต่พระอภัยมณีรำลึกถึงบุญคุณครั้งเก่า
จึงให้ปล่อยตัวอุศเรน นางวาลีได้เตือนพระอภัยว่า

อ้างถึง

ประเวณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทำร้ายเอาภายหลัง
จระเข้ใหญ่ไปถึงน้ำมีกำลัง แม้เสือขังเข้าถึงดงก็คงร้าย
อันแม่ทัพจับได้แล้วไม่ฆ่า ไปข้างหน้าศึกจะใหญ่ขึ้นใจหาย
ต้องตำรับจับให้มั่นคั้นให้ตาย จะทำภายหลังยากลำบากครัน


เป็นคำเตือนสติเราว่า เมื่อจะทำอะไรก็ต้องตัดสินใจทำโดยเด็ดขาดหรือจริงจังลงไป
อย่าทำครึ่ง ๆ กลาง ๆ มิฉะนั้นผลร้ายจะเกิดขึ้นได้ภายหลัง



หรือ เมื่อตอน พระอภัยมณีขอร้องสินสมุทร ให้คืนนางสุวรรณมาลีแก่อุศเรน

อ้างถึง

แล้วตรัสบอกลูกน้อยกลอยสวาท เจ้าหน่อเนื้อเชื้อชาติดังราชสีห์
อันรักษาศีลสัตย์กตเวที ย่อมเป็นที่สรรเสริญเจริญคน
ทรลักษณ์อกตัญญุตาเขา เทพเจ้าก็จะแช่งทุกแห่งหน
ให้ทุกข์ร้อนงอนหง่อทรพล พระเวทมนตร์เสื่อมคลายทำลายยศ
เพราะบิดามาด้วยอุศเรนนี้ คุณเขามีมากล้นพ้นกำหนด
เจ้าทำผิดก็เหมือนพ่อทรยศ จงออมอดเอ็นดูพ่อแต่พองามฯ


เป็นคำสอนเราว่า การเป็นคนที่รักษาคำพูดและตอบแทนผู้มีคุณ จะเป็นคนที่น่ายกย่อง
แต่หากเป็นคนที่ลืมบุญคุณคนอื่น ก็จะเป็นคนไม่ดีและจะได้รับความทุกข์ คุณงามความดีที่ทำมาก็จะสูญหายไปหมดสิ้น


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: น้อมคารวะ อมตกวี 26 มิถุนายน " วันสุนทรภู่ "
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2012, 05:28:54 pm »


ชีวประวัติสุนทรภู่


ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พระสุนทรโวหาร หรือที่รู้จักกัน ในนามของ สุนทรภู่ เกิดเมื่อ วันจันทร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนแปด ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๓๘ ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๑ บิดาของท่านเป็นชาวบ้านกร่ำ เมืองแกลง ส่วนมารดาเป็นคนกรุงเทพฯ สันนิษฐานว่าน่าจะทำหน้าที่เป็นพระนมในพระธิดาของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ภายหลังได้แยกกันอยู่โดยไม่ทราบสาเหตุและบิดาของท่านได้กลับไปอยู่ที่เมืองแกลง ทำให้สุนทรภู่ต้องอยู่กับมารดาจนเติบโตขึ้นจึงได้รับการถวายตัวเป็นข้าราชบริพารในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขนั่นเองสุนทรภู่ได้เรียนหนังสือตั้งแต่ยังเล็ก ณ สำนักวัดชีปะขาวหรือวัดศรีสุดารามในปัจจุบัน

ดังปรากฏหลักฐานที่ท่านสุนทรภู่เขียนไว้ในนิราศสุพรรณ ตอนที่เดินทางผ่านวัดนี้เมื่อเติบใหญ่ขึ้นได้รับราชการในกรมพระคลังข้างสวนซึ่งมีหน้าที่เก็บอากรสวน และวัดระวางแต่ในที่สุดก็ต้องกลับไปอยู่ที่พระราชวังสถานพิมุขอย่างเดิม ณ ที่นี้จึงได้เกิดรักใคร่ชอบพอกับข้าราชบริพารหญิงชื่อ "จัน"จนต้องถูกลงอาญา ดังที่สุนทรภู่บรรยายไว้ในนิราศเมืองแกลงซึ่งสุนทรภู่แต่งขึ้นในคราวที่เดินทางไปพบบิดา หลังจากเกิดเรื่องราว และพ้นโทษแล้ว ในราวปี พ.ศ.๒๓๔๙หลังจากกลับจากเมืองแกลงสุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นข้าราชบริพารในพระองค์เจ้าปฐมวงศ์และได้แต่งงานกับ "แม่จัน" คนรักสมประสงค์แต่ชีวิตคู่ของท่านมักจะมีปัญหาเสมอเพราะสุนทรภู่ชอบดื่มสุราเมามายเป็นประจำซึ่งในเรื่องนี้สุนทรภู่เขียนไว้ในนิราศภูเขาทอง ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ชีวิตของสุนทรภู่ดีขึ้นถึงขั้นเจริญรุ่งเรืองที่สุดเพราะสุนทรภู่ได้สร้างผลงานที่แสดงถึงความเป็นยอดด้านกลอนโดยท่านเป็นกวีผู้หนึ่งที่รัชกาลที่ ๒ ทรงโปรดมาก เนื่องจากสามารถใช้ปฏิภาณเสนอแนะบทกลอนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระราชประสงค์ที่จะแก้ไขกลอนที่เป็นบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางสีดาผูกคอตาย ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่๑

โดยที่มีเนื้อความกล่าวถึงนางสีดาจะผูกคอตายแต่หนุมานเข้าช่วยไว้ได้ทันแต่บทพระราชนิพนธ์นั้นใช้กลอนถึง ๘ คำกลอนรัชกาลที่ ๒ ทรงเห็นว่าชักช้าเกินไป ไม่ทันการณ์จึงทรงแก้ไขใหม่เพื่อให้ดีขึ้น แต่ทรงติดขัดว่าจะพระราชนิพนธ์ต่ออย่างไรที่แสดงให้เห็นว่าหนุมานได้เข้ามาช่วยได้อย่างทันท่วงทีซึ่งท่านสุนทรภู่ได้กราบทูลกลอนต่อได้ทันที สุนทรภู่คงจะได้แสดงถึงปรีชาญาณของท่านสนองพระเดชพระคุณอีกหลายครั้งจนในที่สุด รัชกาลที่ ๒ จึงได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนสุนทรโวหาร กวีที่ปรึกษาในกรมพระอาลักษณ์ผลงานที่สร้างชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งในขณะนั้นคือบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงามในขณะที่ชีวิตกำลังรุ่งโรจน์นั้น กลับต้องตกอับลงเพราะการดื่มสุราเป็นสาเหตุถึงขั้นต้องถูกลงอาญาด้วยการจำคุก เป็นที่สันนิษฐานกันว่าเรื่อง "พระอภัยมณี" ได้เกิดขึ้นในขณะที่ถูกจำคุกครั้งนี้เองในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๖๔ - ๒๓๖๗ เป็นช่วงที่สุนทรภู่พ้นจากโทษแล้ว

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทราบดีถึงความสามารถของท่านจึงได้โปรดเกล้าฯให้สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรเจ้าฟ้าอาภรณ์เจ้าฟ้ากลาง และเจ้าฟ้าปิ๋ว ซึ่งเป็นพระราชโอรสทั้ง ๓ พระองค์จนเกิดวรรณคดีสำคัญอีก ๒ เรื่องคือ สวัสดิรักษาและสิงหไกรภพ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๖๗ สิ้นรัชกาลที่๒แล้ว ชีวิตของสุนทรภู่ต้องตกระกำลำบากจนถึงขั้นถูกถอดยศและต้องหนีราชภัยด้วยไม่เป็นที่ทรงโปรดของรัชกาลที่ ๓ ดังที่ท่านพรรณนาความไว้ในนิราศภูเขาทองตอนหนึ่งจากการที่ไม่ทรงโปรดสุนทรภู่ดังหลักฐานจากการที่เมื่อมีการประชุมเหล่ากวีในสมัยนั้นเพื่อร่วมกันแต่งคำประพันธ์จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามซึ่งถือเป็นงานใหญ่ แต่กลับไม่มีชื่อของสุนทรภู่อยู่ด้วยเรื่องนี้สุนทรภู่ได้กล่าวไว้ในนิราศภูเขาทอง ช่วงที่ชีวิตตกต่ำที่สุดนั้นผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากรมีความเห็นว่าคงจะเป็นช่วงปี พ.ศ.๒๓๗๑ซึ่งเป็นปีที่แต่งนิราศภูเขาทอง

เพราะเนื้อหาใจความหลายตอนที่ท่านสุนทรภู่ได้พรรณนาความไว้พ.ศ. ๒๓๗๒ สุนทรภู่ได้กลับมาเป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรแก้เจ้าฟ้ากลาง และเจ้าฟ้าปิ๋วอีกครั้งโดยท่านได้แต่งเพลงยาวถวายโอวาทถวาย ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๗๔ - ๒๓๗๕ เป็นช่วงที่สุนทรภู่บวชเป็นพระโดยจำพรรษาอยู่หลายวัดนอกจากนั้นได้ออกเดินทางไปเมืองต่างๆ


และได้แต่งนิราศขึ้นเช่น เมืองเพชรบุรีได้แต่งนิราศเมืองเพชร วัดเจ้าฟ้าเมืองอยุธยา เพื่อเสาะหายาอายุวัฒนะ ได้แต่งนิราศวัดเจ้าฟ้านอกจากนั้นยังได้แต่ง นิราศอิเหนาซึ่งเป็นนิราศเรื่องเดียวที่ไม่ได้เขียนบันทึกการเดินทางแต่นำเอาเรื่องอิเหนา ตอนนางบุษบาถูกลมพายุหอบและอิเหนาออกติดตามหาแต่งพรรณนาความตามแนวที่ท่านถนัดเพื่อถวายพระองค์เจ้าลักขณานุคุณในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๘๒ - ๒๓๘๓ ได้เกิดนิราศสุพรรณภายหลังจากที่ท่านเดินทางไปเมืองสุพรรณบุรีโดยนิราศเรื่องนี้แต่งเป็นคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพนอกจากนั้นยังได้แต่งเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาซึ่งเป็นคำกาพย์ที่ใช้สำหรับการสอนอ่าน การผันสระและตัวสะกดมาตราต่างๆ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นตำราเรียนภาษาไทยก็ได้ รวมทั้งท่านยังได้แต่งนิทานเป็นคำกลอนเรื่องสิงหไกรภพ (ตอนจบ) และเรื่องลักษณวงศ์ขึ้นอีกด้วยเช่นกันพ.ศ. ๒๓๘๕ แต่งเรื่องรำพันพิลาป ซึ่งนักวรรณคดีเชื่อว่าท่านสุนทรภู่ได้พรรณนาเกี่ยวกับชีวิตของท่านมีผู้เข้าใจว่าท่านเขียนขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งผลงานชิ้นสุดท้ายทั้งนี้เพราะท่านเกิดสังหรณ์ขึ้นมาว่าในขณะนั้นอาจจะเป็นวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของท่านอีกทั้งยังเกิดนิมิตเป็นความฝันนอกจากรำพันพิลาปแล้วยังได้แต่งนิราศพระประธมเมื่อคราวเดินทางไปนมัสการพระปฐมเจดีย์


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: น้อมคารวะ อมตกวี 26 มิถุนายน " วันสุนทรภู่ "
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2012, 06:05:38 pm »



ในสมัยรัชกาลที่ ๔ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ชีวิตของท่านสุนทรภู่ได้กลับฟื้นมาดีอีกคำรบหนึ่งโดยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหารเจ้ากรมอาลักษณ์ จากองค์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในช่วงชีวิตบั้นปลายของท่านกลับได้รับความเจริญรุ่งเรืองเสมือนในรัชกาลที่ ๒ และได้ทำให้เกิดผลงานขึ้นอีกหลายเรื่องได้แก่ บทละครเรื่อง อภัยนุราช เสภาพระราชพงศาวดารบทเห่เรื่องกากี พระอภัยมณี โคบุตร และบทเห่กล่อมจับระบำ เพื่อถวายเป็นบทเห่กล่อมเจ้านายที่ทรงพระเยาว์

ในที่สุดบั้นปลายแห่งชีวิตก็สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. ๒๓๙๘รวมอายุได้ ๖๙ ปี ท่านสุนทรภู่ถือได้ว่าเป็นกวีสามัญชนที่สร้างผลงานอันทรงคุณค่ามากที่สุดบทกลอนของท่านได้เป็นแบบอย่างที่คนไทยยึดถือมาจนถึงปัจจุบันนี้นอกจากนั้นท่านยังได้ชื่อว่าเป็นกวีเอกของโลกท่านหนึ่งโดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือที่รู้จักกันในนามของ ยูเนสโก ( UNESCO )ได้ประกาศเกียรติคุณให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ในวาระที่ครบรอบ ๒๐๐ ปีเกิดของท่าน สุนทรภู่เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก นับว่าท่านเป็นกวีสามัญชนคนแรกที่ได้รับการประกาศ เกียรติคุณเช่นนี้

ผลงาน มีอยู่มากมาย มีทั้งที่เป็น
- ประเภทนิราศ เช่น นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศเมืองสุพรรณ นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศพระประธม นิราศเมืองเพชร ฯ
- ประเภทนิทาน เช่น โคบุตร พระอภัยมณี พระไชยสุริยา ลักษณวงศ์ สิงหไกรภพ
- ประเภทบทเสภา เช่น ขุนช้างขุนแผน พระราชพงศาวดาร
- ประเภทบทเห่กล่อม เช่น เห่จับระบำ เห่เรื่องพระอภัยมณี เห่เรื่องโคบุตร

ตัวอย่างของงานกวีของสุนทรภู่
นิราศเมืองแกลง
นิราศเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกของท่านสุนทรภู่ แต่งในปี พ.ศ. ๒๓๕๐เมื่อคราวเดินทางโดยเรือจากพระนคร และไปขึ้นบกเดินทางด้วยเท้าต่อไปถึงเมืองแกลง เพื่อไปเยี่ยมบิดาซึ่งบวชอยู่ที่ วัดบ้านกร่ำเมืองแกลง (ในเขตจังหวัดระยองปัจจุบัน)นิราศเมืองแกลงนี้พรรณนาสภาพความเป็นไปหลายอย่างของกรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ ๑ นอกจากนั้นยังจะบรรยาย และพรรณนาถึงสภาพบ้านเมืองตามหัวเมืองแถบชลบุรี ระยอง ทั้งยังแสดงประวัติชีวิตวัยหนุ่มอันเกี่ยวกับหญิงคนรักที่ชื่อ จัน ซึ่งเป็นภรรยาคนแรกไว้อย่างชัดเจน นิราศเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกของท่านสุนทรภู่ แต่งในปี พ.ศ. ๒๓๕๐เมื่อคราวเดินทางโดยเรือจากพระนคร และไปขึ้นบกเดินทางด้วยเท้าต่อไปถึงเมืองแกลง เพื่อไปเยี่ยมบิดาซึ่งบวชอยู่ที่ วัดบ้านกร่ำเมืองแกลง (ในเขตจังหวัดระยองปัจจุบัน)นิราศเมืองแกลงนี้พรรณนาสภาพความเป็นไปหลายอย่างของกรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ ๑ นอกจากนั้นยังจะบรรยาย และพรรณนาถึงสภาพบ้านเมืองตามหัวเมืองแถบชลบุรี ระยอง ทั้งยังแสดงประวัติชีวิตวัยหนุ่มอันเกี่ยวกับหญิงคนรักที่ชื่อ จัน ซึ่งเป็นภรรยาคนแรกไว้อย่างชัดเจน เช่น

ขอให้น้องครองสัตย์ปฏิญาณ ได้พบพานภายหน้าเหมือนอารมณ์
พอควรคู่รู้รักประจักษ์จิต จะได้ชิดชื่นน้องประคองสม
ถึงต่างแดนแสนไกลไพรพนม ให้ลอยลมลงมาแอบแนบอุรา
อย่ารู้จักผลักพลิกทั้งหยิกข่วน แขนแต่รอยเล็บเจ็บหนักหนา
ให้แย้มยิ้มพริ้มพร้อมน้อมวิญญาณ์ แล้วก็อย่าขี้หึงตะบึงบอน


หรือในนิราศเมืองแกลงที่สุนทรภู่ต้องจากแม่จันไปโดยมิได้ร่ำลาว่า
พี่จากไปได้แต่รักมาฝากน้อง มากกว่าของอื่นอื่นสักหมื่นแสน
พอเป็นค่าผ้าห่มที่ชมแทน อย่าเคืองแค้นเลยที่ฉันไม่ทันลา


เนื้อความในนิราศจะยกเอาสถานที่ ภูมิประเทศ หรือเหตุการณ์ หรือแม้แต่พันธุ์ไม้ที่ได้พบเห็นแล้วพรรณนา หรือบรรยายความรู้สึกถึงผู้ที่ท่านกำลัง มีจิตผูกพันอยู่ในขณะนั้น ด้วยลีลา และสำนวนกลอนที่เป็นเอกลักษณ์ของท่าน เช่น
ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี
ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว


หรือในนิราศพระประธม ซึ่งสุนทรภู่เขียนถึงแม่นิ่ม ภรรยาอีกคนของท่านซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้วโดยท่านพรรณนาความไว้ว่า
ถึงคลองขวางบางกรวยระทวยจิต ไม่ลืมคิดนิ่มน้อยละห้อยหา
เคยร่วมสุขทุกข์ร้อนแต่ก่อนมา โอ้สิ้นอายุเจ้าได้เก้าปี
แต่ก่อนกรรมทำสัตว์ให้พลัดพราก จึงจำจากนิ่มน้องให้หมองศรี
เคยไปมาหาน้องในคลองนี้ เห็นแต่ที่ท้องคลองนองน้ำตา


จะเห็นได้ว่าวิธีการดังกล่าวนี้มีมากกว่าที่พบได้ในบทกลอนเพลงยาวหรือโคลงนิราศที่มีมาก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นสิ่งที่เราจะพบได้อีกประการหนึ่งคือ การที่สุนทรภู่กล่าวถึงภรรยาหรือคนรัก ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งในด้านที่ก่อให้เกิดความเศร้าโศกทุกข์ยาก หรือเป็นสุขนั้น ท่านได้มาจากเรื่องจริงๆของตัวท่านเองทั้งสิ้น

มิใช่เป็นเรื่องปรุงแต่ง หรือสร้างขึ้นมาแต่อย่างใดดังนั้นเมื่อเราอ่านนิราศทุกเรื่องของท่าน เราจึงได้ทราบชีวประวัติของท่านไปด้วย นี่คือความดีเด่น ในด้านเนื้อหานอกจากจะแต่งกลอนด้วยความชำนาญเป็นพิเศษแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยคติข้อคิดสุภาษิตต่างๆ ซึ่งท่านได้ยกมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจแก่ผู้อ่านอย่างมากมาย เช่น
ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าให้น่าอาย


และ ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา


ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ สุนทรภู่ เป็นผู้ที่มีอารมณ์สนุก บางเรื่องหรือบางเหตุการณ์ท่านได้หยิบยกขึ้นมาถ่ายทอด เราในฐานะผู้อ่านคงจะอดอมยิ้มมิได้แน่ เช่น
เห็นพวกชายฝ่ายมอญแต่ก่อนมา ล้วนสักขาเขียนหมึกจารึกพุง
ฝ่ายสาวสาวเกล้ามวยสวยสะอาด แต่ขยาดอยู่ว่านุ่งผ้าถุง
ทั้งผ้าห่มตาถี่เหมือนสีรุ้ง ทั้งผ้านุ่งนั้นก็ออมลงกรอมดิน
เมื่อยกเท้าก้าวย่างสว่างแวบ เหมือนฟ้าแลบแลผาดแทบขาดศีล
นี่หากเห็นเป็นเด็กเหมือนเจ๊กจีน เจียนจะปีนซุ่มซ่ามไปตามนาง


ดังนั้น นิราศ จึงเป็นผลงานในเชิงสร้างสรรค์ที่ทรงคุณค่า ที่มีรูปแบบเฉพาะของท่าน ดังจะเห็นได้จากที่ ไม่มีกวีคนใดในรุ่นหลังที่จะสามารถแต่งกลอนนิราศได้ดีเท่าท่านสุนทรภู่แม้แต่คนเดียว

จบชีวประวัติสุนทรภู่ และที่มาของวันสุนทรภู่

ขอขอบคุณที่มา: เว็บสนุก , เว็บทุ่งสง , เว็บอักษร
รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปัน โดย...
Mckaforce
-http://www.sookjai.com/index.php?topic=35772.new#new


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: น้อมคารวะ อมตกวี 26 มิถุนายน " วันสุนทรภู่ "
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2012, 06:13:44 pm »




                  ๒๖ มิถุนาคือวันสุนทรภู่
                  บรมครูกวีไทยในสยาม
                  ที่กล่าวขานเลื่องลือระบือนาม
                  แม้เมื่อยามผ่านยุคเฟื่องเรื่องกวี



                  อันกลอนไทยไพเราะเสนาะหู
                  ศิษย์มีครูรู้จักแต่งทุกแห่งหน
                  ทั้งใส่ถ้อยร้อยคำไม่จำนน
                  ใครได้ยลขอเล่นต่อล้อกันเอย


                  nongnart


-http://archived.okkid.net/old_blog_journal_detail.php?journal_id=4628&member_id=277

วันสุนทรภู่
26 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเกิดของ สุนทรภู่ (พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมพระยาอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวัง) คือวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๙ เพื่อระลึกถึงกวีเอกของวรรณคดีไทย เป็นการให้ความยกย่องในความเป็นอัจฉริยะงานนิพนธ์ของท่าน เป็นการสะท้อนประเพณีวัฒนธรรมในยุคนั้นได้อย่างชัดเจน

ประวัติความเป็นมา
พระสุนทรโวหารเกิดที่บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (ปัจจุบันเป็นสถานีรถไฟบางกอกน้อย) บิดาชื่อ ภู่ เป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็นข้าหลวงในพระราชวังหลัง บิดามารดาได้เลิกร้างตั้งแต่ท่านยังเป็นเด็ก โดยที่บิดาท่านออกบวช ณ ที่ภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าถวายตัวเป็นนางนมของพระธิดาในกรมพระราชวังหลัง
ท่านสุนทรภู่ ได้รับการศึกษาครั้งแรกที่พระราชวังหลัง และที่วัดชีปะขาว (ปัจจุบันคือ วัดศรีสุดาราม) เมื่ออายุประมาณ ๒๐ ปี ได้ลอบรักกับหญิงชาววังชื่อ จันทร์ จนโดนจับได้จึงต้องโทษจำคุกอยู่ระยะหนึ่ง แต่ไม่นานท่านก็พ้นโทษเพราะความสามารถในทางบทกลอน เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒)

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ท่านสุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมอาลักษณ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น ขุนสุนทรโวหาร ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องโคลงกลอนต่าง ๆ ครั้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ (สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) เสด็จขึ้นครองราชย์ ถูกปลดออกจากราชการ เนื่องจากได้ดื่มสุราอย่างหนัก ท่านจึงออกบวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) และได้เดินทางไปที่ต่าง ๆ ท่านจึงแต่นิราศไว้มากมาย รวมอายุพรรษาที่ท่านบวชได้ ๑๐ พรรษา ท่านก็ลาสิกขาบท ชีวิตของท่านในช่วงนี้ลำบากมาก อยู่มาสักระยะหนึ่ง ท่านก็ได้บวชอีกครั้ง แต่ก็บวชได้ ๒ พรรษา และได้ถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าขุนอิศเรศรังสรรค์

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ ได้ขึ้นครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอดิศเรศรังสรรค์เป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่พระบวรราชวัง
ท่านสุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวัง ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ ท่านก็ถึงมรณกรรม รวมอายุได้ ๗๐ ปี
ปัจจุบันแม้ท่านจะได้เสียชีวิตไปนานแล้ว แต่คุณประโยชน์ที่ท่านได้สร้างได้ ก็เป็นที่ประจักษ์ แก่ชาวโลก และชาวไทยเรา องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นบุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ ๒๐๐ ปี

-http://blog.eduzones.com/ezine/6743#.T-mIdBc0PNU

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2013, 12:46:41 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: น้อมคารวะ อมตกวี 26 มิถุนายน " วันสุนทรภู่ "
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2012, 09:27:03 pm »




จะหักอื่น ขืนหัก ก็จักได้
หักอาลัย นี้ไม่หลุด สุดจะหัก
สารพัด ตัดขาด ประหลาดนัก
แต่ตัดรัก นี้ไม่ขาด ประหลาดใจ


บางตอนจาก “นิราศอิเหนา



แล้วสอนว่า อย่าไว้ ใจมนุษย์
มันแสนสุด ลึกล้ำ เหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์ พันเกี่ยว ที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คด เหมือนหนึ่งใน น้ำใจคน


บางตอนจากเรื่อง “พระอภัยมณี

นั่นคือบางเสี้ยวบางตอน ของความไพเราะอัน แฝงคติสอนใจ
ในบทกลอนของ “สุนทรภู่” กวีที่ได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งยอดกวีเอกของไทย
ผู้เปี่ยมไปด้วยปฏิภาณแห่งการประพันธ์  และเนื่องในวันที่ 26 มิ.ย.
เวียนมาบรรจบอีกครั้ง  จึงขาดไม่ได้ที่ชาวไทยจะร่วมรำลึกถึงครูกวีเอกผู้นี้

ประวัติ
“สุนทรภู่” นามเดิมคือ “ภู่”  เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อย เกิดในรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148  เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2329 ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย สุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าจากกันฝ่ายบิดากลับไปบวชที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง จ.ระยอง ส่วนมารดา คงเป็นนางนมพระธิดา ในกรมพระราชวังหลัง (กล่าวกันว่าพระองค์เจ้าจงกล หรือเจ้าครอกทองอยู่) ได้แต่งงาน มีสามีใหม่และมีบุตรกับสามีใหม่ 2  คนเป็นหญิง ชื่อฉิมและนิ่ม

ตัวสุนทรภู่เองได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก สุนทรภู่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน สันทัดทั้งสักวาและเพลงยาว เมื่อรุ่นหนุ่มเกิดรักใคร่ชอบพอกับนางข้าหลวงในวังหลัง ชื่อแม่จัน ครั้นความทราบถึงกรมพระราชวังหลัง พระองค์ก็กริ้ว รับสั่งให้นำสุนทรภู่ และจันไปจองจำทันที แต่ทั้งสองถูกจองจำได้ไม่นาน เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี

                         

ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้อยู่ในใต้หล้าสุธาธาร
ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา

แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ
พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้ เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา
เชยผกาโกสุมปทุมทอง

แม้นเป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์
จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง
เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป


           พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง

                     

พ.ศ. 2349 ทั้งสองก็พ้นโทษออกมา เพราะเป็นประเพณีแต่โบราณที่จะมีการปล่อยนักโทษ เพื่ออุทิศส่วนพระ ราชกุศลแด่ พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เมื่อเสด็จสวรรคตหรือทิวงคตแล้ว แม้จะพ้นโทษ สุนทรภู่และจันก็ยังมิอาจสมหวังในรัก สุนทรภู่ถูกใช้ไปชลบุรี สุนทรภู่ได้เดินทางเลยไปถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัด ระยอง เพื่อไปพบบิดาที่จากกันกว่า 20 ปี สุนทรภู่เกิดล้มเจ็บหนักเกือบถึงชีวิต

กว่าจะกลับมากรุงเทพฯ ก็ล่วง ถึง เดือน 9 ปี พ.ศ.2349 หลังจากกลับจากเมืองแกลง สุนทรภู่ได้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสองค์เล็กของกรมพระราชวังหลัง ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆัง
ในช่วงนี้ สุนทรภู่ก็สมหวังในรัก ได้แม่จันเป็นภรรยา สุนทรภู่คงเป็นคนเจ้าชู้ แต่งงานได้ไม่นานก็เกิดระหองระแหงกับแม่จัน ยังไม่ทันคืนดี สุนทรภู่ก็ต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาท จ.สระบุรี ในวันมาฆบูชา สุนทรภู่ได้แต่งนิราศ เรื่องที่สองขึ้น คือ นิราศพระบาท สุนทรภู่ตามเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ในเดือน 3 ปี



พระครวญคร่ำร่ำไรมาในรถ
โศกกำสรดแสนเสียดายสายสมร
พอเวลาสายัณห์ตะวันรอน
ปักษาร่อนรีบกลับมาจับรัง

โอ้นกเอ๋ยเคยอยู่มาสู่ถิ่น
แต่ยุพินลิบลับไม่กลับหลัง
ครั้นแลดูสุริย์แสงก็แดงดัง
หนึ่งน้ำครั่งคล้ำฟ้านภาลัย

เหมือนครั้งนี้พี่มาโศกแสนเทวษ
ชลเนตรแดงเดือดดังเลือดไหล
โอ้ตะวันครั้นจะลบภพไตร
ก็อาลัยโลกยังหยุดรั้งรอ

ประหลาดนักรักเอ๋ยมาเลยลับ
เหมือนเพลิงดับเด็ดเดี่ยวไปเจียวหนอ
ชลนัยน์ไหลหลั่งลงคลั่งคลอ
ยิ่งเย็นย่อเสียวทรวงให้ร่วงโรย

ชะนีน้อยห้อยไม้เรไรร้อง
เสียงแซ่ซ้องเริ่มรัวเรียกผัวโหวย
เหมือนอกพี่ที่ถวิลให้ดิ้นโดย
ละห้อยโหยหานางมากลางไพรฯ


           

พ.ศ 2350 สุนทรภู่มีบุตรกับแม่จัน1 คน ชื่อหนูพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่นนัก ในที่สุดแม่จันก็ร้างลาไป พระองค์เจ้าจงกล (เจ้าครอกทองอยู่) ได้รับอุปการะหนูพัดไว้ชีวิตของท่านสุนทรภู่ ช่วงนี้คงโศกเศร้ามิใช่น้อย ประวัติชีวิตของสุนทรภู่ในช่วงปี



เมื่อแรกเชื่อว่าเนื้อทับทิมแท้
มาแปรเป็นพลอยหุงไปเสียได้
กาลวงว่าหงส์ให้ปลงใจ
ด้วยมิได้ดูหงอนแต่ก่อนมา

คิดว่าหงส์จึงหลงด้วยลายย้อม
ช่างแปลงปลอมท่วงทีดีหนักหนา
ดังรักถิ่นมุจลินทร์ไม่คลาดคลา
ครั้นลับตาฝูงหงส์ก็ลงโคลน


             
               -http://topicstock.pantip.com/rajdumnern/topicstock/P2394074/P2394074.html

พ.ศ.2350 – 2359 ก่อนเข้ารับราชการ ไม่ชัดแจ้ง แต่เชื่อว่าท่านหนีความเศร้าออกไปเพชรบุรี ทำไร่ ทำนา อยู่กับหม่อมบุญนาค ในพระราชวังหลัง นักเลงกลอนอย่างท่านสุนทรภู่ ทำไร่ทำนาอยู่นานก็ชักเบื่อ ด้วยเลือดนักกลอนทำให้ท่านกลับมากรุงเทพฯ หากินทางรับจ้างแต่งเพลงยาว บอกบทสักวา จนถึงบอกบทละครนอก บางทีนิทานเรื่องแรกของท่านคงจะแต่งขึ้นในช่วงนี้ การที่เกิดมีนิทานเรื่องใหม่ๆ ทำให้เป็นที่สนใจมาก เพราะ สมัยนั้นมีแต่กลอนนิทานจักรๆ วงศ์ๆ ไม่กี่เรื่อง ซ้ำไปซ้ำมาจนคนอ่านคนดูรู้เรื่องตลอดหมดแล้ว นิทานของ ท่านทำให้นายบุญยัง


-http://www.oknation.net/blog/chailasalle/2009/05/23/entry-1

เจ้าของคณะละครนอกชื่อดัง ในสมัยนั้นมาติดต่อว่าจ้างสุนทรภู่ ท่านจึงได้ร่วมคณะละคร เป็นทั้งคนแต่งบทและบอกบทเดินทางเร่ร่อนไปกับคณะละครจนทั่ว รับราชการครั้งแรกก็สมัยพระ พุทธเลิศหล้านนภาลัย ที่ได้อาจจะมาจากมูลเหตูที่รัชกาลที่ 2 ชอบบทกลอนเหมือนกัน แต่หลังจากรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต นอกจากแผ่นดินและผืนฟ้าจะร่ำไห้ ไพร่ธรรมดาคนหนึ่งที่มีโอกาสสูงสุดในชีวิตได้เป็นถึงกวีที่ปรึกษาในราชสำนักก็หมดวาสนาไปด้วย สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ถึงเหตุที่สุนทรภู่ไม่กล้ารับราชการต่อในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ

สุนทรภู่ก็ได้ทำการไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย ประกอบกับอาลัยในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่จึงลาออกจากราชการ และตั้งใจบวชเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ เมื่อกลับจากกรุงเก่า พระสุนทรภู่ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอรุณราชวรารามหรือวัดแจ้ง


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: น้อมคารวะ อมตกวี 26 มิถุนายน " วันสุนทรภู่ "
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2012, 09:29:17 pm »




ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง
มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา
ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย

ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ
พระสรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย
ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป

ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก
สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป
แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ


               

ปี พ.ศ.2372 เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงฝากเจ้าฟ้ากลาง และเจ้าฟ้าปิ๋ว พระโอรสองค์กลางและองค์น้อยให้เป็นศิษย์สุนทรภู่ การมีศิษย์ชั้นเจ้าฟ้าเช่นนี้จึงทำให้พระสุนทรภู่สุข สบายขึ้น พระสุนทรภู่อยู่วัดอรุณฯ ราว 2 ปี จึงข้ามฟากมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ สาเหตุที่พระสุนทรภู่ย้ายวัดมาเพราะสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงชักชวนให้มาอยู่ด้วยกัน

สมเด็จฯ ทรงเป็นกวีองค์สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์พระองค์หนึ่ง เชื่อว่าคงจะทรงคุ้นเคยกับสุนทรภู่ในฐานะที่เป็นกวีด้วยกัน โดยเฉพาะสมัยที่สุนทรภู่เป็นขุนสุนทรโวหารในรัชกาลที่ ๒ ชีพจรลงเท้าสุนทรภู่อีกครั้งเมื่อท่านเกิดไปสนใจเรื่องเล่นแร่แปรธาตุและยาอายุวัฒนะ ถึงแก่อุตสาหะไปค้นหา ทำให้เกิดนิราศวัดเจ้าฟ้า และนิราศสุพรรณ

ปีพ.ศ. 2383 สุนทรภู่มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม  อยู่ได้ 3 พรรษา คืนหนึ่งเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จะถึงแก่ชีวิต จึงได้แต่งเรื่องรำพันพิลาป ซึ่งทำให้ทราบเรื่องราวในชีวิตของท่านอีกเป็นอันมาก จากนั้นจึงลาสิกขาบทเมื่อปี พ.ศ.2385 เพื่อเตรียมตัวจะตาย

           

อันที่จริงหญิงชายย่อมหมายรัก
มิใช่จักตัดทางที่สร้างสม
แม้นจักรักรักไว้ในอารมณ์
อย่ารักชมนอกหน้าเป็นราคี

ดังพฤกษาต้องวายุพัดโบก
เขยื้อนโยกก็แต่กิ่งไม่ทิ้งที่
จงยับยั้งช่างใจเสียให้ดี
เหมือนจามรีรู้จักรักษากาย



ที่มาวันสุนทรภู่
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน ด้านวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปีขึ้นไป ประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ให้ปรากฎแก่มวลสมาชิกทั่วโลก และเพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกับ ประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ

ในการนี้ รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่อง “สุนทรภู่” ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกิด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529


ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้แพร่หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็น “วันสุนทรภู่” ซึ่งนับแต่นั้น เมื่อถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่วัดเทพธิดาราม” และ ที่จังหวัดระยอง และมีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป

บทประพันธ์ของสุนทรภู่นั้น แม้จะล่วงเลยผ่านไปหลายทศวรรษแล้ว หากแต่ยังมีความถูกต้อง นามธรรมเป็นจริง เรียกว่ายังคงความร่วมสมัย ไม่ว่ากาลจะผ่านไปนานเพียงใด และพอถึงวันสุนทรภู่คราใด คนไทยก็จะจัดกิจกรรมแต่งกลอนเพื่ออณุรักษ์ไว้ซึ่งภาษา และวัฒนธรรมอันดีงามเสมอมา.

-http://www.xn--l3c1adoo7d5d2c.com/


ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: น้อมคารวะ อมตกวี 26 มิถุนายน " วันสุนทรภู่ "
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2012, 05:48:22 am »
น้อมคารวะแด่อมตกวี  " วันสุนทรภู่ "

ขอบคุณพี่แป๋มครับ

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: น้อมคารวะ อมตกวี 26 มิถุนายน " วันสุนทรภู่ "
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2013, 02:39:23 pm »


                   

น้ อ ม ค า ร ว ะ - บ ร ม ค รู ก ล อ น - สุ น ท ร ภู่     
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~     
         สุนทรภู่     ครูกวี                ศรีสยาม
ระบือนาม          ปราชญ์เปรื่อง  เรื่องอักษร
ประดิษฐ์ถ้อย    ร้อยลำนำ         เป็นคำกลอน
" พระสุนทรโวหาร "                    คนขานไกล

        ผู้เป็นเอก    ในอักษร         กลอนสุภาพ
อีกทั้งกาพย์        โคลง ฉันท์     ประพันธ์ได้
เป็นมณี                กวีศิลป์           แผ่นดินไทย
ขอน้อมไหว้         กราบมา         บูชาครู ฯ

                              ชี ว ป ร ะ วั ติ สุ น ท ร ภู่
         สุนทรภู่ เป็นกวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดเมื่อวันที่
26  มิถุนายน 2329  ณ    บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง
(สถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน)   บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ
อำเภอแกลง  จังหวัดระยอง   สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวง
อยู่ในพระราชวังหลัง บิดามารดาเลิกร้างกัน  ตั้งแต่สุนทรภู่เกิด
บิดาออกไปบวชที่วัดป่า  ตำบลบ้านกร่ำ  อำเภอแกลง   อันเป็น
ภูมิลำเนาเดิม มารดากลับเข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ได้ถวาย
ตัวเป็นนางนมของพระธิดาในกรมฯนั้น

     สุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระราชวังหลัง  และได้
อาศัยอยู่กับมารดา   สุนทรภู่ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลัง
และที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม)  ตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัย
รักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสือ
อยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิต
และกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี

        ในสมัยรัชกาลที่  2    สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระ
อาลักษณ์    และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธ
เลิศล้านภาลัย   จนได้รับแต่งตั้งเป็นขุนสุนทรโวหาร      เป็นกวี
ที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด ต่อมาในราว พ.ศ2364 สุนทรภู่
ต้องติดคุก เพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายผู้ใหญ่  แต่ติดอยู่
ไม่นานก็พ้นโทษ

        ในสมัยรัชกาลที่ 3  สุนทรภู่ถูกกล่าวหาเรื่องเสพสุรา     และ
เรื่องอื่น ๆ จึงถูกถอดออกจากตำแหน่งขุนสุนทรโวหาร ต่อมาได้
ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) และเดินทางไปจำพรรษาตาม
วัดต่างๆ    และได้รับอุปการะ จากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ  จน
พระองค์ประชวรสิ้นพระชนม์   สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท    สุนทรภู่
ออกมาตกระกำลำบากอยู่   จึงหนีกลับไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่
ได้เีพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขาบท  และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้ากรม
ขุนอิศเรศรังสรรค์    พระราชวังเดิม     รวมทั้งได้รับการอุปการะ
จากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย

        ในสมัยรัชกาลที่ 4   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงสถาปนาเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จ
พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบรมราชวัง) สุนทรภู่
จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น  พระสุนทรโวหาร  ตำแหน่ง
เจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวัง  ในปี  พ.ศ. 2394 และได้รับ
ราชการต่อมาได้ 4 ปี  ก็ถึงแก่มรณกรรม ในปี 2398   รวมอายุได้
70 ปี
        องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งชาติ(ยูเนสโก)
ได้ประกาศยกย่อง  "สุนทรภู่ "    ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทาง
วัฒนธรรมระดับโลกในวาระครบรอบ  200  ปีเกิดของท่าน
ทางราชการจึงได้กำหนดเอาวันที่  26  มิถุนายนของทุกปี  เป็นวัน
สุนทภู่
( กวีเอกรัตนโกสินทร์   4  แผ่นดิน ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 - 4)





๏ ถ้าแม้นว่าข้าศึกมันโจมจับ
จะรบรับสารพัดให้ขัดสน
เอาปี่เป่าเล้าโลมน้ำใจคน
ด้วยเล่ห์กลโลกาห้าประการ

คือรูปรสกลิ่นเสียงเคียงสัมผัส
เกิดกำหนัดลุ่มหลงในสงสาร
ให้ใจอ่อนนอนหลับดังวายปราณ
จึงคิดอ่านเอาไชยเหมือนใจจง
"""""""""""""""""""""""""""""""

“ถึงการเล่นเป็นที่ประโลมโลก ได้ดับโศกสูญหายทั้งชายหญิง”
"""""""""""""""""""""""""""""""

“แล้วพาไปยอดเขาให้เป่าปี่  ที่อย่างดีสิ่งใดก็ได้สิ้น
แต่เสือช้างกลางไพรถ้าได้ยิน  ก็ลืมกินน้ำหญ้าเข้ามาฟัง”

"""""""""""""""""""""""""""""""

อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป  ย่อมใช้ได้ดั่งจินดาค่าบุรินทร์
ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช  จตุบาทกลางป่า พนาสิน
แม้ปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน  ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา
ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ  อันลัทธิดนตรีดีหนักหนา
ซึ่งสงสัยไม่สิ้นในวิญญาณ์  จงนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง

""""""""""""""""""""""""""""""""


                                  ผ ล ง า น ข อ ง สุ น ท ร ภู่
1. ประเภทนิราศ มี 9 เรื่อง คือ
    นิราศเมืองแกลง   นิราศพระบาท  นิราศภูเขาทอง  นิราศสุพรรณ
    นิราศเจ้าฟ้า   นิราศอิเหนา   นิราศพระประธม  นิราศเมืองเพชร
    และรำพันพิลาป
2. นิทาน มี 5 เรื่อง คือ
    พระอภัยมณี ซึ่งได้รับการยกย่องว่าสุดยอดของวรรณคดีไทย ประเภทนิทานกลอน
    โคบุตร  พระไชยสุริยา  ลักษณวงศ์  และสิงหไตรภพ
3. สุภาษิต มี 3 เรื่อง คือ
    สวัสดิรักษา  เพลงยาวถวายโอวาท  และสุภาษิตสอนหญิง
4. บทละคร มี 1 เรื่อง คือ  อภัยนุราช
5. บทเสภา  มี 2 เรื่อง คือ ขุนช้างขุนแผน และพระราชพงศาวดาร

บางตอนจาก  ขุนช้างขุนแผน
ตอน.. พลายแก้ว บวชเณร

เมื่อแม่ทองประศรี ได้เจรจาขอบวชลูกชายกับ พระอาจารย์บุญ วัดส้มใหญ่
ในเมืองกาญจน์นั้นแล้ว ต่อไปก็ถึงเวลาเตรียมงานกันละ
ความโกลาหลอลหม่านในความปลื้มปีตินี้ ความตอนนี้มาจาก.. ฉบับหลวง...

..ว่าแล้วจึงสั่งพวกบ่าวข้า
ชวนกันเร็วหวาอย่าช้าได้
กูจะบวชลูกชายสุดสายใจ
เอ็งจงไปเที่ยวหาผ้าเนื้อดี
ทำจีวรสบงสไบลาด
หาทั้งย่ามบาตรมาตามที่
ลงมือพร้อมกันในวันนี้
อ้ายถี อีหล้า มาช่วยกู

ฝ่ายพวกข้าไทไปหาของ
หมากพลูใบตองที่มีอยู่
บ้างก็มาเย็บกรวยช่วยกันดู
ปอกหมากพันพลูทั้งฟั่นเทียน
เอาผ้าขาวมาวัดตัดสบง
เย็บลงฝีเข็มเหมือนเล็มเลี่ยน
ตัดจีวรสะไบตะไกรเจียน
เย็บทับจับเนียนเป็นเนื้อเดียว
อังสะนั้นแพรหนังไก่นุ่ม
รังดุมหูไหมใส่เย็บเสี้ยว
มานั่งพร้อมล้อมทั่วตัวเป็นเกลียว
เอิกเกริกกราวเกรียวด้วยศรัทธา ฯ


:http://topicstock.pantip.com/writer/topicstock/W3437104/W3437104.html



สวัสดีครับกัลยาณมิตร วันนี้ 26 มิถุนายน 2556
ประเทศของเรามีการจัดงานวันสุนทรภู่ ครบรอบ 200 ปี ด้วย
มีกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น จัดนิทรรศการ ละคร จินตลีลา ฯลฯ
ผมค้นแหล่งเรียนรู้มาให้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่นะครับ
th.m.wikipedia.org/wiki/วันสุนทรภู่
http://www.zabzaa.com/event/soonthonpoo.th


ธรรมรักษา คุณพระคุ้มครองครับ
G+ บูชา ธรรมาภิบาล
26   มิถุนายน  2556




*รำลึกครูกวี...สุนทรภู่ ๐-....- ๒๖.๐๖.๒๕๕๖ -..........*

๐ *ยกมือบรรจบไหว้.........วันทา*
ก่อนร่ายเรียงอักษรา........ฝากไว้
สุนทรภู่ครูอา-................จารย์ที่ ระลึกเนอ
ฝากบทคำโคลงได้..........ดั่งเพี้ยงบูชา ๚




๐ *จินตนาการท่านแพร้ว.....พริ้งพราย*
ผ่านบทกลอนสื่อสาย........สู่หล้า
ล้ำหลากเรื่องเรืองราย.......เล่าผ่าน สมัยเอย
ยงอยู่คู่ดินฟ้า.................ฝากไว้ในสยาม ๚๛



มารบูรพา มยุรธุชราชันย์

******************




**
๏ *เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า......ดาดาว*
จรูญจรัสรัศมีพราว............พร่างพร้อย
ยามดึกนึกหนาวหนาว.......เขนยแนบ แอบเอย
เย็นฉ่ำน้ำค้างย้อย........... เยือกฟ้าพาหนาวฯ




๏ *มหานากฉวากวุ้ง...........คุ้งคลอง*
ชุ่มชื่นรื่นรุกขีสอง.............ฝั่งน้ำ
คุกคิดมิศหมายครอง.........สัจสวาดิ ขาดเอย
กล้าตกรกเรื้อซ้ำ..............โศกทั้งหมางสมรฯ

"นิราศสุพรรณ"




...*ขอขอบคุณ- มารบูรพา มยุรธุชราชันย์ .....๒๕.๐๖.๒๕๕๖*
...*บางบทจาก "นิราศสุพรรณ" ของท่านบรมครูสุนทรภู่....
...*ขอบคุณภาพวาด..ภาพวาดของ อ.สมภพ บุตราช *


G+ เหมยฮัว แซ่ตั้ง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2013, 07:56:22 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: น้อมคารวะ อมตกวี 26 มิถุนายน " วันสุนทรภู่ "
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2014, 10:52:47 pm »








สาฑิต ฐานสุพร
Shared publicly -
" วั น สุ น ท ร ภู่" :: 2 6 มิ ถุ น า ย น ::

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: น้อมคารวะ อมตกวี 26 มิถุนายน " วันสุนทรภู่ "
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มกราคม 27, 2015, 11:47:30 am »


           อันมนุษย์สุดจะเชื่อมันเหลือปด      พูดสะบถแล้วสะบัดไม่ขัดสน
           เพราะแต่คำน้ำจิตคิดประจญ             ปากเป็นผลใจเป็นพาลเหลือมารยา
           ใครหลงลิ้นกินลูกยอก็พอม้วย             ต้องตายด้วยปากมนุษย์ที่มุสา
           คนทุกวันมันมิซื่อถือสัจจา                  สู้สัตว์ป่าก็ไม่ได้ใจลำพองฯ

                                                                                            จากเรื่องโคบุตร
*´¨)
¸.•´¸.•*´¨) ¸.•*¨)
(¸.•´ (¸.•` ♪♫♪
ถึงบางเดื่อโอ้มะเดื่อเหลือประหลาด   บังเกิดชาติแมลงหวี่มีในไส้
        เหมือนคนพาลหวานนอกย่อมขมใน         อุปไมยเหมือนมะเดื่อเหลือระอา
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์                มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
         แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร                   จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ

                                                              จากนิราศภูเขาทอง

   เป็นสาวแส้แร่วิ่งมาชิงผัว .........อันความชั่วดังเอามีดเข้ากรีดหิน
   ถึงจะคิดปิดหน้าสิ้นฟ้าดิน..........ก็ไม่สิ้นสุดอายเป็นลายลือฯ
   บาทหลวงว่าวิสัยในมนุษย์ .......ฟันจะหลุดแล้วก็ห้ามปรามไม่ไหว
   ห้ามเกศาว่าอย่าหงอกยังนอกใจ....... มันขืนหงอกออกจนได้มันไม่ฟัง
*´¨)
¸.•´¸.•*´¨) ¸.•*¨)
(¸.•´ (¸.•` ♪♫♪
 แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์          มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด          ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน          บิดามารดารักมักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน          เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา
แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ         ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา          รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดีฯ

                                                                         จากพระอภัยมณี

Ladatipamon Trirat
Shared publicly  -  11:07 AM 27/1/58







          “พระชนกชนนีเป็นที่ยิ่ง   
          ไม่ควรทิ้งทอดพระคุณให้สูญหาย
          ถึงลูกเมียเสียไปแม้นไม่ตาย   
          ก็หาง่ายดอกพี่เห็นไม่เป็นไร
          พระบิดามารดานั้นหายาก   
          กำจัดจากแล้วไม่มีที่อาศัย”
          สิงหไกรภพ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2015, 12:35:44 am โดย ฐิตา »