ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานเทพเจ้า :ประวัติที่มาพระฤาษี (ไหว้ครู ครอบครู คาถาบูชา)  (อ่าน 12808 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


พระฤาษี

***โอม นะโม นะมัสสะการะ อะหังเม สาธุ
สะระนัง ปัญจะพุทธา นะมามิหัง นะโมยะมะ
สิตะวายะ อะหังระอะ ติการะรันตะรัง อิศะ วะรัง
อุมา นารายะรัง พรหมมะธาดา มะหาวิยัง
เนาวะสัพพะเทวานัง ธุสาสะนัม โลเกตรียัมพะยัม
ชัยยะมังคะละ สาธุสะ ประสิทธิเม
***

***โอม อิมัสมิง สักการะวันทานัง มุนิพรหมานัง
ปุชิตตะวา มะหาลาโภ สุขขัง พะลัง ปูชายะ ภะวันตุเม
***

***โอม นะโม นะมัสสะการะ อะหังเมสา ธุสระนัง
ปัญจะพุทธา นะมามิหัง นะโมยะมะ สิตะวายะ
อะหังระอะ สาธุ ติกานะนัน ตะรัง มุนิเทวา
มะหามุนิเทวา วันทะนานัง สัพพะกัมมะ ประสิทธิเม
***

***โอม อิมัง วันทานัง สันติโลเก อิมัสมิง มุนิมะนุสสานัง
ปูชา อาราธะนานัง สัพพะกัมมะ ประสิทธิเม มะหาลาโภ
ประสิทธิเม
***



ตำนานพระฤาษี ตอนที่ 1
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ หมายความว่า ศาสนาพุทธล่วงเลยมาแล้วถึง ๒๕๕๐ ปี
นับว่าเป็นศาสนาที่เก่าแก่และมั่นคงมาก แม้ว่าเวลาที่ผ่านมาจะมีเหตุการณ์ต่างๆผันแปร
ทำให้ศาสนาพุทธ สึกกร่อน ลงไปบ้าง แต่ปัจุบันศาสนาพุทธก็ยังเป็นศาสนาหนึ่ง
ที่มีผู้คนนับถือมากมายและกระจายไปทั่วทุกมุมโลก
ก่อนศาสนาพุทธยังมีศาสนาและลัทธิต่างๆอีกมากมายเช่น ศาสนาพราหมณ์ เป็นต้น

ปัจจุบันศาสนาพุทธกับศาสนาพราหมณ์ใกล้ชิดสนิทสนมจนแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน
เมื่อมีพิธีทางศาสนาพุทธ ก็จะต้องมีพิธีทางศาสนาพราหมณ์ร่วมด้วยทุกครั้ง
เพราะคนไทยเราเก่งในการ ผนวก


พระฤาษี เป็นคำเรียกขานของคนที่บำเพ็ญเพียรด้วยความอุตสาหะ เป็นความเชื่อของ คนว่าต้องการจะหลุดพ้นจากความทุกข์บ้าง ก็ต้องการที่จะสร้างฤทธิ์ สร้างบารมี จึงเกิดมีลัทธิ มีการตั้งตัวเป็นอาจารย์สอนศิษย์ให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักการที่วางไว้ พระฤษี เป็นคำที่เรียกคนที่มีพลังจิตเด็ดเดี่ยว มุ่งปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จในอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่าง เช่น สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ มีวาจาสิทธิ์ และอีกมากมาย บางท่านก็เก่งเรื่องยาสมุนไพรเช่น ปู่ชีวกโกมารภ้ทร ซึ่งเป็นแพทย์ประจำพระองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็รวมเรียกท่านอยู่ในกลุ่มของฤาษีเช่นกัน พระฤาษีจัดคัดแยกเอาไว้ ๔ ชั้น หรือ ๔ จำพวก คือ

ชั้นที่ ๑ เรียกว่า ราชรรษี แปลว่า เจ้าฤษี ชั้นนี้จะมีความเป็นอยู่ตามพื้นธรรมชาติ คือมีความปกติเป็นพื้นฐานเพียงแต่มีความริเริ่มและความพยายามที่จะบำเพ็ญเพียรในเบื้องต้น และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ชั้นที่ ๒ เรียกว่า พรหมรรษี แปลว่า พระพรหมฤาษี เมื่อปฏิบัติเพียงพอกับความต้องการ ในเบื้องต้นแล้ว จึงได้ไปบังเกิดเป็น พระพรหม
ชั้นที่ ๓ เรียกว่า เทวรรษี แปลว่า เทพฤาษี ผู้ที่ปฏิบัติอย่างมุ่งมั่นด้วยตบะ จึงมีบารมีมาก พร้อมทั้งมีอิทธฤทธิ์และมีอำนาจมหาศาล
ชั้นที่ ๔ เรียกว่า มหรรษี แปลว่า มหาฤาษี ชั้นนี้นอกจากมีอิทธิฤทธิ์ที่เกิดจากบารมีแล้ว ยังมีภูมิปัญญามาก มีอาคมแก่กล้าเป็นที่สุด


เมื่อนำ เอามาเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นชัดเจนว่าทั้ง ๔ ชั้นมีความสามรถไม่เหมือนกัน หรือไม่เท่ากัน แล้วแต่การปฏิบัติของแต่ละตน ผู้ใดมีความมุ่งมั่นหมั่นเพียรและตั้งใจปฏิบัติ ทำ ได้เท่าใดผลก็จะส่ง บุญก็จะบันดาล ให้ไปถึงขั้นนั้นๆ พระฤาษีที่ปรากฏในวรรณคดีมีอยู่หลายท่าน โดยมากมักเป็นฤาษีที่ละจากเรื่องทางโลก มุ่ง สู่การบำเพ็ญบารมี เป็นที่นับถือแก่มนุษย์และเทพเทวดาทั่วไป ยิ่งบำเพ็ญบารมีมากเท่าไรก็มีอำนาจวิเศษตามบารมีที่สั่งสมมามากขึ้นเท่านั้น ฤาษี ตามรากศัพท์ดูเหมือนจะแปลกันว่า เป็นผู้มี ปัญญา อันได้มาจาก พระเป็นเจ้า ตามพจนานุกรมฉบับมติชนปี ๒๕๔๗ ว่า ฤษี (รือ-สี) ผู้สละบ้านเรือนออกบำเพ็ญพรต ส่วนฤาษีที่ปรากฎชื่อใน ทศฤาษี หรือที่เรียกกันว่า เป็น พระประชาบดี นั้นในมานวธรรมศาสตร์กล่าวว่ามี ๑๐ ตน คือ



๑.มรีจิ
๒.อัตริ
๓.อังคีรส
๔.ปุลัสยตะ
๕.ปุลหะ

๖.กรตุ
๗.วสิษฐ
๘.ประเจตัส หรือ ทักษะ
๙.ภฤคุ
๑๐.นารท



พระพิราพ

ตำนานพระฤาษี ตอนที่ 2
แต่บางตำราว่ามีแค่ 7 เรียกกันว่า สัปตฤาษี หรือมานัสบุตร (ลูกเกิดแต่มโนของพระพรหมา)
ทั้ง 7 ตน มีชื่อดังนี้

๑.โคดม (โคตม)
๒.ภรัทวาช
๓.วิศวามิตร
๔.ชมัทอัคนี(บางตำราว่า ชมทัศนี)
๕.วสิษฐ
๖.กศป(กัศย์ป)
๗.อัตริ


ส่วนมหาภารตะระบุไว้ว่า
๑.มรีจิ
๒.อัตริ
๓.อังคีรส
๔.ปุละหะ
๕.กระตุ
๖.ปุลัสตยะ
๗.วสิษฐ
วายุปุราณะเติม ภฤคุ อีก ๑ ตน แต่ยังเรียกรวมว่า สัปตฤาษี ส่วนวิษณุปุราณะเพิ่ม
อีก ๒ ตน คือ ภฤคุ กับ ทักษะ เรียกแปลกไปอีกว่า
พรหมฤาษีทั้งเก้า
ตามชั้นและฐานะของพรหมฤษีนั้น
ก็ยังแยกระดับตามสรรพนามออกไป และชั้นที่ได้ยกระดับหรือแยกออกมาอีกก็คือ

๑.พระสิทธา
๒.พระโยคี
๓.พระมุนี
๔.พระดาบส
๕.ชฎิล
๖.นักสิทธิ์
๗.นักพรต
๘.พราหมณ์




เมื่อรวมทั้งแปดนามเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือท่านเป็น”ผู้ทรงศีล
ผู้ที่มุ่งหวังตั้งใจบำเพ็ญเพียรตบะ
เพื่อเสริมสร้างบารมี มุ่งหวังในผลสำเร็จ ถึงกับยอมสละทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกันหมด

ในบรรดากลุ่มพระฤษีที่มีชื่อแยกออกไป ก็ยังมีความหมายต่างๆกัน เช่น

๑.พระสิทธา แปลว่า พระฤาคี ประเภทมีคุณธรรมวิเศษ มีหลักฐานมั่นคง ที่สถิตสถาน
มีวิมานอยู่บนเทือกเขาและถ้ำ ตามแต่ว่าจะเห็นสมควรในความสะดวกสบาย
อยู่ในระหว่างพระอาทิตย์ลงมาสู่พื้นแห่งโลกมนุษย์โดยกำหนด

๒.พระโยคี แปลว่า เป็นผู้ที่มีความสำเร็จ หรือผู้ที่กำลังศึกษาสังโยค ในด้านหลักวิชาโยคกรรม
มักจะเที่ยวทรมานตนอยู่ตามเทือกเขาและป่าตามความเหมาะสมในความสันโดษ ที่จะมีและเท่าที่จะเห็นว่าสมควร

๓.พระมุนี แปลว่า ในกลุ่มพราหมณ์ที่มีความพยายาม กระทำกิจพิธีบำเพ็ญ
ด้วยความพากเพียร มุมานะพยายามจนกระทั่งพบความสำเร็จ
จึงกลายเป็นผู้ที่มีปัญญาและมีความรู้ความสามารถอยู่ในระดับสูง

๔.พระดาบส แปลว่า ผู้บำเพ็ญตนสร้างบารมี มุ่งมั่นในตบะธรรมที่คิดว่า
จะเผาผลาญกองกิเลสให้หมดสิ้นไปใช้ความพยายามพากเพียร พยายาม
มุ่งแต่ในทางทรมานร่างกายและจิตใจ เพื่อมุ่งหวังในโลกุตตรสุขที่เป็นผลแห่งบารมี



๕.ชฎิล แปลว่า นักพรตจำพวกหนึ่ง ที่ชอบเกล้ามุ่นมวยผมเป็นแบบชฎาเอาไว้
หนวดเครารกรุงรังราวกับคนบ้า ทั้งผ้าที่นุ่งห่มก็รุ่มร่าม
ไม่ชอบในการรักสวยรักงาม ทำตนเป็นพราหมณ์รอนแรมอยู่ตามป่าดงพงไพร

๖.นักสิทธิ์ แปลว่า เป็นผู้ทรงศีลที่กึ่งมนุษย์กึ่งเทพ หรือเทวดา พวกนี้มักจะรักสัจจะวาจา
มีความเที่ยงธรรมเป็นที่ตั้งชอบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอๆ
มีที่อยู่อาศัยอยู่ในระหว่างกลางที่ว่างเปล่าและบริสุทธิ์วัดระยะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลงมาจนกระทั่งถึง
โลกมนุษย์ พวกนี้มีอยู่กันเป็นจำนวนมากมายหลายแสนองค์
เที่ยวตระเวนไปในที่ต่างๆ เพื่อที่จะสอดส่องหาทางลงมาช่วยเหลือมวลมนุษย์

๗.นักพรต แปลว่า เป็นผู้ที่ปฏิบัติดีเคร่งครัดในการปฏิบัติ ทรงศีลอันประเสริฐมิยอมให้ศีลบกพร่อง
แต่ประการใด ตั้งใจบำเพ็ญพรต บำเพ็ญตบะ เพื่อที่จะเสริมสร้างบารมีให้มากๆ อยู่ประจำ
ชอบสถิตย์อยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร และตามถ้ำหน้าผา มักไม่ยอมให้ผู้ใดได้พบเห็น มีความเป็นอยู่
อย่างเรียบง่าย แต่มีอิทธิฤทธิ์มาก

๘.พราหมณ์ แปลว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับฤษีเหมือนกัน แต่เป็นด้านการปฏิบัติบูชาบำเพ็ญตบะ
สร้างบารมีอย่างมุ่งมั่นเป็นผู้สละแล้ว สละเรื่องของโลกภายนอกได้หมดแล้วมีความมุ่งมั่นว่า
จะต้องออกไปปฏิบัติการช่วยเหลือมนุษย์และสรรพสัตว์โดยทั่วไป พราหมณ์มักจะชุมนุมรวมกลุ่มกัน
เป็นหมู่คณะ ตามเทวสถานต่างๆ ด้วยความพร้อมเพรียงและสามัคคีกันอย่างดี
 
เมื่อมีผู้ใดเชิญให้ช่วยกระทำพิธีให้ ไม่ว่าจะเป็นพิธีอะไร
ที่จะต้องเกี่ยวกับพระฤษีหรือองค์เ้ทพต่างๆ
พราหมณ์ก็ออกไปทำพิธีให้ทันที ไม่เรียกร้องค่าป่วยการหรือค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น

ไม่เห็นแก่ลาภ ไม่เห็นกับประโยชน์ส่วนตัว (นั่นเป็นพราหมณ์สมัยก่อน สมัยนี้ก็คงจะต้องมีค่าใช้จ่าย
มากน้อยตามแต่จะเห็นสมควร) สำหรับพราหมณ์พวกนี้ก็มักมีกันอยู่เป็นจำนวนมาก
ชอบฝักใฝ่ในธรรม โปรดสัตว์ ช่วยเหลือมนุษย์ด้วยความเต็มใจ
เมื่อเสร็จสิ้นจากภารกิจแล้ว ก็จะเข้าจำศีลภาวนาต่อไปอย่างไม่มีคำว่าพอ


-http://www.maameu.net/forum/index.php?topic=6575.0

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2015, 06:32:46 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ตำนานพระฤาษี ตอนที่ 3
ต่อจากนี้จะเป็นการลำดับรายชื่อย่อๆ ในส่วนหนึ่งของพระฤษีในแต่ละชั้น
จะแบ่งแยกเป็นชั้นๆดังต่อไปนี้

๑.พระฤษีชั้นพรหม พระฤษีในชั้นพรหมนั้นมีรายชื่อดังต่อไปนี้ พระฤษีพรหมเมศร์
พระฤษีพรหมมา พระฤษีพรหมมุนี พระฤษีพรหมนารถ พระฤษีพรหมวาลมีกิ
เป็นต้น

๒.พระฤษีชั้นเทพ พระฤษีชั้นเทพนั้นมีรายชื่อดังต่อไปนี้ พระฤษีบรมโกฏิ
พระฤษีประลัยโกฏิ พระฤษีนารอด พระฤษีนารายณ์ พระฤษีนาเรศร์ พระฤษีอิศวร พระฤษีพิฆเนศ
พระฤษีเพชรฉลูกัณฑ์ พระฤษีปัญญาสด พระฤษีตาไฟ พระฤษีหน้าวัว พระฤษีหน้าเนื้อ
พระฤษีปัญจสิขร
(หรือพระประคนธรรพ) บางทีเรียกว่า
พระประโคนทัพ)
เป็นต้น

๓.พระฤษีชั้นมนุษย์ พระฤษีชั้นมนุษย์ก็มีมากมายเช่นเดียวกัน เช่น พระฤษีโกเมน
พระฤษีโกเมท พระฤษีโกมุท พระฤษีสัตตบุตร พระฤษีสัตบัน พระฤษีสัตบงกช
พระฤษีโคบุตร พระฤษีโคดม พระฤษีสมมิตร พระฤษีลูกประคำ
เป็นต้น

๔.พระฤษีชั้นอสูร พระฤษีชั้นอสูรก็มีตามรายชื่อดังนี้ ท่านท้าวคีรีเนศร์
ท่านท้าวเวสสุวัณ ท่านท้าวหัสกัณฑ์ ท่านท้าวหิรัญฮู พระฤษีพิลาภ พระฤษีพิรอด
ท้าวพลีหิรัญยักษ์ อนันตยักษ์ วาณุราช วาหุโลม
เป็นต้น



รูปร่างลักษณะของพระฤษีพรหมเมศร์
พระฤษีพรหมเมศร์มี ๔ พระพักตร์เหมือนกับพระพรหมโดยทั่วไป พระเศียรเป็นกรวย
เช่นเดียวกับเศียรพระฤษีทั้งหลาย มี ๘ กร พระพักตร์สีทอง ผิวกายสีทอง
นุ่งห่มด้วยผ้าโขมพัตถ์ (ผ้าสีขาวอย่างดี ที่สะอาดบริสุทธิ์)
พระฤษีพรหมเมศร์นี้ ท่านมีอิทธิฤทธิ์และปาฏิหารย์มากมาย ทั้งในด้านบุญฤทธิ์บารมี
ก็ไม่มีผู้ใดจะเทียบเทียมท่านได้ ชอบช่วยเหลือมวลมนุษย์
และสรรพสัตว์โดยทั่วๆไป ด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดีงามของท่าน

รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปันโดย.. กุหลาบขาว...
หนังสืออ้างอิง... ตำนานพระฤษีของ
อ.ว จีนประดิษฐ์

*****************************



พระปรคนธรรพ (พระนารท)
นุ่งหนังหมี ห่มหนังเสือ
ปรคนธรรพ หรือ บรมคนธรรพ์ คือ ครูของคนธรรพ์ทั้งปวง
หมายถึง ยอดฤาษี ราชาแห่งฤาษี  บ้างก็เรียกว่า เทพคนธรรพ์ หรือ คนธรรพราช
มีชื่อจริงว่า นารท และยังมีชื่ออื่นอีก เช่น พระปิศุนา แปลว่า ผู้สื่อข่าว
พระกลิการกะ (ผู้ทำให้เกิดการถกเถียงต่อสู้ทะเลาะวิวาท)
พระกปิพักตร (หน้าลิง) และพระนารทยังมีปางที่เป็นเพศหญิงด้วยค่ะ
ชื่อว่า นางนารที เป็นภรรยาของพระนารายณ์แปลง ชื่อ พราหมณ์สันนยาสี
มีบุตรด้วยกัน 60 คน

พระปรคนธรรพ มีร่างกายสีเขียว มีขนวนเป็นขด วงทักษิณาวรรตรอบตัว
ทรงชฎายอดฤาษี 1 พักตร์ 2 กร


พระฤษีเพชรฉลูกัณฑ์
-http://p-i-e.exteen.com/20071126/entry


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


ตำนานพระฤาษี ตอนที่
ประวัติ
ของ
พระฤาษีพรหมบุตร



จะกล่าวถึงกุมารหนึ่งนามว่า พรหมบุตร ซึ่งเกิดแต่พรหมนารีนางหนึ่งผู้ตกสวรรค์ 
หลังจากที่กุมารเจริญวัยขึ้นมา ก็ไต่ถามมารดาถึงเรื่องของผู้เป็นบิดา
และก็ได้ความตามเรื่องราวที่มารดาเล่าให้ฟังโดยละเอียดว่า
พระฤษีพรหมเมศร์นั้นเป็นบิดาบังเกิดเกล้า แต่บัดนี้มารดาไม่สามารถที่จะขึ้นไป
อยู่บนพรหมโลกได้อีกแล้ว เพราะเป็นคำสั่งห้ามของเจ้าสวรรค์คือ พระิอิศวร นั่นเอง

มิหนำซ้ำยังขับไล่ให้มาอยู่ในภาคพื้นดินอีกด้วย พระพรหมบุตรในระหว่างนี้ก็กระทำตน
เป็นพระฤษีบำเพ็ญตบะบารมีอยู่ในป่าหิมพานต์ เมื่อรู้เรื่องราวจากมารดาก็โกรธ
และมีความน้อยใจเป็นอย่างมากจึงคิดมุ่งแต่บำเพ็ญตบะเพื่อสร้างบารมีให้แก่กล้า
และสูงขึ้นๆ เรื่อยๆ ทั้งจะต้องมีทั้งอำนาจ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ ด้วยพระคาถาอาคมที่
แข็งแกร่งและแก่กล้าจะต้องเอาชนะพระฤษีทั้งหลายให้ทั่วทุกชั้นได้สำเร็จ จึงพยายาม
พากเพียร บำเพ็ญ อยู่อย่างนั้นเป็นเวลานานแสนนานในระยะเวลาถึงหนึ่งพันปี



ก็บังเกิดบุญฤทธิ์ และบารมีที่มุ่งมั่น ทำให้มีฤทธิ์อำนาจ มีคาถาอาคมอันศักดิ์สิทธิ์มีภูมิธรรม
อยู่ในชั้นสูงไม่มีผู้ใดจะเทียบได้ พระฤษีพรหมบุตรจึงเป็นหนึ่งในความสำเร็จ

เมื่อพระฤษีพรหมบุตร มีความเก่งกล้าเป็นที่หนึ่งในจักรวาลและแดนพิภพแล้ว
ก็มีใจกำเริบด้วยฤทธิ์เดช ด้วยความที่ยังมีใจเจ็บแค้นพระอิศวรเจ้าสวรรค์
จึงออกเที่ยวหาหมู่พระฤษีทั้งหลาย ที่บำเพ็ญตบะอยู่ในป่าทั้งหมด เมื่อพบกับองค์ใด
องค์หนึ่งก็ตาม พระฤษีพรหมบุตรก็ด่าและท้าทายพระฤษีเหล่านั้นมาต่อสู้
จนพระฤษีทั้งหลายพากันหวาดกลัวและเข็ดขยาด เพราะไม่สามารถต่อสู้ได้ ต่างไม่เป็น
อันทำตบะเพราะความเกรงกลัว ต่างพากันหลบหนีซุกซ่อนมิยอมให้ได้พบเห็น



เพราะหากพบกันครั้งใดภัยก็จะเกิดขึ้นครั้งนั้น ยิ่งทำให้พระฤษีพรหมบุตร กำเีริบ คิดว่า
ตนเก่งกล้าไม่มีผู้ใดออกมาต่อกรได้ ด้วยความคับแค้นแน่นอยู่ในอกจึงคิดว่า ถึงเวลาแล้ว
ที่จะต้องกระทำการแก้แค้นให้กับมารดา และหมายใจที่จะให้มารดากลับขึ้นไป
อยู่บนพรหมโลกอีกครั้งหนึ่งให้จงได้ เมื่อคิดได้ดังนั้นแล้วจึงแสดงอิทธิฤทธิ์เหาะขึ้นไป
สู่ยังพรหมโลก เมื่อขึ้นมาแล้วก็สืบเสาะหาพระฤษีพรหมเมศร์ผู้ที่เป็นบิดา หวังว่า
เมื่อได้พบกันแล้วจะเจรจากันได้โดยง่าย แต่กลับตรงกันข้าม พระฤษีพรหมเมศร์
กลับปฏิเสธไม่ยอมรับ ถึงแม้พระฤษีพรหมบุตรจะพยายามขอร้องสักเพียงใด
เพื่อให้มารดากลับขึ้นมาอยู่บนพรหมโลกให้ได้ มิเพียงไม่ยอม
เท่านั้นยังประกาศขับไล่พระฤษีพรหมบุตรรีกลับลงไปจากพรหมโลกอีกด้วย

เมื่อเกิดความโกรธขึ้นมาก็ลืมตัวว่าพระฤษีพรหมเมศร์นั้นคือบิดา
ไม่ยอมรับแล้วยังขับไล่อีก จึงท้าทายให้ต่อสู้กันตัวต่อตัว
ด้วยวาจาที่แสนโอหังและหยิ่งผยอง ไม่ยอมลดละให้กับผู้เป็นบิดา
หวังจะต้องรู้แพ้รู้ชนะให้ได้ ด้วยความอาฆาตมาดร้ายต่อผู้เป็นบิดาเป็นอย่างมาก
การต่อสู้ได้เกิดขึ้นแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างมีฤทธิ์เดชด้วยกัน แม้จะต่อสู้กันตัวต่อตัวก็ทำให้
สวรรค์ทั้งพรหมโลกและชั้นอื่นๆจนถึงพื้นภิภพสะเทือนเลื่อนลั่น ราวกับจะพังพินาศไป
เหล่าเทวดาทั้งหลายต่างพากันตระหนกตกใจโดยไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ



จึงต้องพากันออกมาจากวิมานเพื่อดูสถานการณ์ เมื่อรู้เห็นแล้วก็รู้ว่าไม่มีผู้ใด
จะจัดการสงบศึกครั้งนี้ลงได้แน่ต่างก็เหาะมุ่งหน้าไปสู่เขาไกรลาสรายงานเรื่องที่เกิดขึ้น
ให้ พระอิศวร ได้ทรงทราบว่าพระฤษี ในชั้นสูง ผู้ที่เป็นพรหมทั้งสองฝ่าย
ฝ่ายหนึ่งเป็นบิดา ฝ่ายหนึ่งเป็นบุตร กำลังต่อสู้กันอย่างดุเดือด
พระอิศวรเมื่อได้รับรู้ความเดือดร้อนของเหล่าเทวดา จึงหันมาชวนพระนารายณ์ที่เฝ้าอยู่
ณ.ที่นั้นไปด้วย ดูซิว่าสองพ่อลูกทำไมถึงต้องต่อสู้กันทำให้เหล่าเทวดาพากันเดือดร้อน

ใครผิดใครถูกค่อยไปตัดสินกัน เมื่อเสด็จมาถึงก็ตรงเข้าห้ามปรามพระฤษีทั้งสอง
จนเป็นที่เข้าใจ เมื่อรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น ท่านก็ยังปราณีต่อพระฤษีพรหมบุตร
ได้กล่าวตักเตือนด้วยเหตุผลต่างๆ หวังว่าจะยอมเข้าใจและเชื่อฟัง แต่แทนที่พระฤษี
พรหมบุตรจะเข้าใจและยอมเชื่อฟัง กลับดันทุรังไม่มีความเกรงกลัว
ต่อองค์พระอิศวรผู้เป็นเจ้าสวรรค์ กลับใช้วิธียั่วยวนกวนโทสะ อยู่ตลอด

ด้วยจิตใจที่อาฆาตแค้นเป็นทุนอยู่แล้ว พระอิศวรเมื่อเจอเข้าอย่างนี้ก็ยิ่งเพิ่ม
ความพิโรธขึ้นเป็นทวีคูณ และเห็นว่าการที่บุตรจะมาต่อสู้ลองฤทธิ์กับผู้เป็นบิดานั้น
หาสมควรไม่ ด้วยความโกรธจึงตวาดออกไปว่า ”
เหม่..เหม่..เจ้านี้ช่างบังอาจ อวดฤทธิ์เดชก่อให้เกิดเหตุอันยิ่งใหญ่
คิดว่าเจ้ามีฝีมืออันเกรียงไกรกระนั้นหรือ เอ้า..องค์นารายณ์จงจัดการมันเดี๋ยวนี้ “



พระนารายณ์เมื่อได้ฟังรับสั่งเช่นนั้นก็ไม่รอช้า เข้าทำการปราบปรามทันที
พระฤษีพรหมบุตรรอทีอยู่แล้วก็ทำการต่อสู้อย่างไม่เกรงกลัวในศักดิ์ศรี
ต่างเข้ารุกรบคลุกคลีหมายที่จะเอาชนะกันให้ได้ แต่พระฤษีพรหมบุตรนั้น
ช่างมีฤทธิ์เหลือเกิน พระนารายณ์เองก็ยังต้องยอมรับในข้อนี้
และคิดคำนึงต่อไปว่าหากจะต่อสู้กันอย่างนี้โอกาสที่จะเอาชนะคงยากคิดดังนั้นแล้ว

ก็ถอยฉากออกมานิดหนึ่งแล้วขว้างจักรอันทรงฤทธิ์ขึ้นไปบนอากาศ
สาดส่องรัศมีแผ่กระจายไปทั่วบริเวณใครที่เห็นรัศมี จักรทรงของพระนารายณ์
จะแสบตามองอะไรไม่เห็น จักรนั้นลอยหมุนติ้วต่ำลงมาด้วยความเร็ว..เร็วขึ้น..เร็วขึ้น..ยิ่ง
เพิ่มความเร็วและแรงเป็นร้อยเท่าทวีคูณ

จักรนั้นลอยต่ำลงมาต่ำลงมาและในช่วงพริบตาเดียวเท่านั้นพระฤษีพรหมบุตร
ก็ไม่ทันระวังตัว จักรอันทรงฤทธิ์ก็ตรงลิ่วเข้าตัดคอของพระฤษีพรหมบุตรขาดกระเด็น
ออกจากร่างในบัดดล แต่ด้วยเดชะพระบารมีได้เคยบำเพ็ญมาจึงทำให้
พระฤษีพรหมบุตรไม่ตาย แม้ว่าคอจะขาดออกจากร่างแล้วก็ตาม
องค์พระอิศวรเห็นเช่นนั้นก็รู้ว่า พระฤษีพรหมบุตรจะใช้เวทมนต์คาถาต่อหัวให้ติดกับตัว
ตามเดิมจึงจำเป็นจะต้องใช้ตาพิเศษคือตาที่สามที่อยู่ตรงกลางหน้าผากจัดการ
จึงทรงลืมตาที่สามทันทีแล้วเพ่งไปยังร่างของพระฤษีพรหมบุตรกระทั่งไฟกรดลุกท่วมร่าง
มอดไหม้กลายเป็นธุลีไปในบัดดล

เมื่อเหลือแต่หัว พระฤษีพรหมบุตร ก็สำนึกถึงความผิดพลาด ยอมรับการอบรมสั่งสอน
ของพระอิศวรและพระนารายณ์แต่โดยดี
ให้พระฤษีพรหมบุตรตั้งตนอยู่ในความดีคอยปฏิบัติบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
และห้ามมิให้มายุ่งเกี่ยวกับพรหมโลกให้กลับไปอยู่ในสถานป่าหิมพานต์
เหมือนเช่นเดิมเมื่อถึงเวลาก็ให้ขึ้นมาเข้าเฝ้าตามหน้าที่ตลอดไป นับแต่นั้นเป็นต้นมา
พระฤษีพรหมบุตรจึงมีแต่เศียร แต่ไม่ตาย ประพฤติปฏิบัติแต่ความดี คอยช่วยเหลือผู้อื่น

และยังบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ให้กับมวลมนุษย์ได้เห็นในอิทธิฤทธิ์และบารมีของท่าน
มนุษย์ทั้งหลายจึงมีความเคารพนับถือมาก จึงทำพิธีปั้นเศียร
ของพระฤษีพรหมบุตรจำลองขึ้นมา เพื่อที่จะเป็นประธานในพิธีการต่างๆ
และยังใช้เศียรจำลองนี้ ครอบบรรดาศิษย์
ที่มีความเคารพนับถือต่อองค์ พระฤษีพรหมบุตร เพื่อความเป็นสิริมงคล
ป้องกันอุบาทว์ และเสนียดจัญไรทั้งหลายทั้งปวงให้ห่างหายไป




-http://bertarot.exteen.com/page-4
-http://www.maameu.net/forum/index.php?topic=6575.0

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 10, 2015, 02:40:00 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



ท้าวมหาพรหม (พระพรหม)




พระฤาษีเพชรฉลูกรรม (วิศวกรรม)

การใหว้ครูและครอบครู

การใหว้ครูและครอบครู เป็นการแสดงกตเวทีต่อบุพการี ครูบาอาจารย์ในพิธีการนั้น จะต้องจัดให้มีเครื่องสังเวย และครูผู้อ่านโองการตามแบบแผน ส่วนใหญ่จะเลือกกระทำพิธี ในวันพฤหัสบดี
“ประเพณี การไหว้ครูมีมาแต่โบราณ คนไทยเป็นคนที่มีกตัญญูอย่างแรงกล้า และได้รับการอบรมต่อๆกันมาให้เป็นผู้มีกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ การที่จะกระทำ กิจการใดๆ ก็ต้องได้รับคำแนะนำจากครู แม้แต่การเลียนแบบหรือลักจำเขามาก็ ต้องเคารพผู้ให้กำเนิด หรือประดิษฐ์สิ่งนั้น ในการศึกษาศิลปวิทยาการต่างๆ ต้องมีการไหว้ครูก่อนทั้งนั้น การไหว้ครูถือว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในการเรียนศิลปการดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นพิธีการที่ค่อนข้างยิ่งใหญ่ และมีพิธีรีตองมากกว่าการไหว้ครูทางหนังสือ

“พิธี ไหว้ครูที่ปฏิบัติกันเคร่งครัด ได้แก่ พิธีไหว้ครูอาจารย์ทางดุริยางคศิลป์ และ นาฏศิลป์ ถือกันว่าเพลงหน้าพาทย์ ดนตรีบางเพลง และท่ารำบางท่า เป็นเพลง และท่ารำที่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้ายังไม่ได้ทำพิธีไหว้ครู และพิธีครอบเสียก่อนแล้ว บรรดาครูอาจารย์ทั้งหลายก็ไม่กล้าสอนกล้าหัดให้ศิษย์ ด้วยเชื่อกันว่าจะเกิดผลร้ายแก่ครูผู้สอน และแก่ศิษย์เองด้วย ถ้าเกิดอุบัติเหตุใดๆขึ้นก็จะกล่าวกันว่า “ครูแรง” เหตุนี้โรงเรียนนาฏศิลปของกรมศิลปากรจึงได้กำหนดงานพิธีไหว้ครูและพิธีครอบ ขึ้นเป็นประจำปีละครั้งในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นวันครูในตอนต้นภาคเรียนแรกแต่ละปีการศึกษา ทำนองเดียวกับโรงเรียนต่างๆ เพียงแต่มีพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ และดุริยางคศิลป์เพิ่มจากไหว้ครูธรรมดา และมีพิธีครอบประกอบด้วย เพื่อครู ศิษย์ และนักเรียนจะได้เริ่มสอนเริ่มเรียนกันไปอย่างเรียบร้อย และสบายใจ”

ความเชื่อการจัดพิธีไหว้ครูนั้น มักนิยมจัดกันในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือว่าเป็นวันครูอันเกี่ยวข้องกับตำนานเทพเจ้าพระพฤหัสบดี ในปัจจุบันบางครั้งก็นิยมจัดกันในวันอาทิตย์ได้อีก ๑ วัน แต่ไม่ว่าจะจัดวันพฤหัสบดีหรือวันอาทิตย์ จะต้องไม่ตรงกับวันพระเพราะถือว่าครูจะไม่ลงมา และหาซื้อเครื่องสังเวยลำบาก เดือนที่นิยมกระทำพิธีไหว้ครูตามแบบโบราณนั้น นิยมประกอบพิธีในเดือนที่เป็นเลขคู่ ยกเว้นเดือน ๙ เดือนเดียวที่อนุโลม เพราะถือเป็นเคล็ดว่าเป็นเลขที่ดีก้าวหน้า และมักทำกันในวันข้างขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวันฟู ข้างแรมอันถือว่าเป็นวันจมไม่นิยมประกอบพิธีกัน





พิธีกรรมครอบเศียรบรมครู ที่บ้านพุทธพรหมปัญโญธัมมโชโต

พิธีไหว้ครู
หมายถึง การสำรวมใจรำลึกถึงพระคุณของบรมครูที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่ ศิษย์
และพร้อมใจกันเปล่งเสียงวาจาด้วยความเคารพตามครูผู้กระทำพิธีขณะอ่านโองการ



พิธีครอบครู
เป็นพิธีที่นิยมกันมาช้านาน หมายถึง การนำศีรษะครูมาครอบ (เพื่อรับเป็นศิษย์)
และครูจะคอยควบคุมรักษา คอยช่วยเหลือให้ศิษย์มีความจำในกระบวนท่ารำ จังหวะดนตรี
หากมีสิ่งใดที่ไม่งามจะเกิดขึ้นกับศิษย์ ครูจะช่วยปัดเป่าให้พ้นจากตัวศิษย์

พิธีครอบครูนั้นนับว่าเป็นการทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจว่าครูจะคุ้มครองรักษา ครูจะช่วยเหลือ
แม้จะรำผิดพลาดไปบ้าง จะทำให้ผู้เรียนไม่ตระหนกตกใจจนเกินไป
เพราะมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองได้ทำพิธีครอบครูแล้ว ครูคงให้อภัยในความผิดพลาด อีกประการหนึ่ง
พิธีครอบครูนั้น ผู้ศึกษานาฏศิลป์ทุกคนถือว่าเป็นพิธีสำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติ
ท่ารำที่อยู่ในระดับสูง เช่น การรำเพลงหน้าพาทย์
ก่อนจะรำผู้ศึกษาต้องผ่านพิธีครอบครูก่อนจึงจะต่อท่ารำได้



การจัดตั้งหิ้งบูชา
การ จัดตั้งหิ้งบูชา.จะต้องหันหน้าไปทางทิศ
๑.เหนือ
๒.ตะวันออกเฉียงเหนือ
๓.ตะวันออก เท่านั้น

ที่เหลืออีก 5 ทิศเป็นทิศที่ไม่เป็นมงคล ควรไว้รองจากพระพุทธรูป
การจัดตั้งเครื่องสังเวยหน้าหิ้งบูชาควรจัดข้าวน้ำ ผลไม้ให้ครบองค์ กล้วยสุก มะพร้าวอ่อน
ขนุน ขนมถ้วยฟู ต้มแดง ต้มขาว คันหลาว หูช้าง ขนมถั่ว-ขนมงา
เครื่องกระยาบวช ทั้ง ๕ คือ

๑.กล้วยบวชชี
๒.ฟักทองแกงบวช
๓.เผืกแกงบวช
๔.มันแกงบวช
๕.ขนมบัวลอย

จะทำรวมกันเป็นที่เดียวก็ได้ ถ้าหากมีทุเรียน ทับทิม ฟักเงิน(ฟักทอง) แตงไทย แตงกวา แตงโม
สัปปะรด จะเป็นมงคลยิ่ง โดยเฉพาะกล้วยควรใข้กล้วยน้ำไทย หาไม่ได้ก็ไช้ กล้วยน้ำว้า
พิธีเช่นนี้ จะขาดไม่ได้คือ บายสีปากชาม ถ้าหากว่าจะทำได้มากกว่านี้ ก็ยิ่งเพิ่มบารมีมากขึ้นอีก
เช่น บายสีพรหม บายสีเทพ บายสีตอ เป็นต้นการจัดตั้งหิ้งถ้าหากเจตนาอัญเชิญเทพ
ไม่ควรจะมีของคาว ควรจะจัดเพิ่มให้มีนม เนย เผือก มัน ทั้งดิบ และสุก ถั่วงา ทั้งสุกและดิบ ให้ครบ
ทุกๆพิธี จะต้องมี น้ำร้อน น้ำชา หมากพลู บุหรี่ น้ำเปล่า ตั้งเอาไว้ประจำไม่ต้องลา
ทั้งกล้วย อ้อย มะพร้าวอ่อน
ปูอาสนะด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์เครื่องใช้ทุกชิ้น ไม่ว่าจะเป็นอะไรทุกอย่างจะต้องเป็นของใหม่ๆ ทุกอย่าง

ผลไม้ที่เป็นมงคล
๑.ขนุน
๒.ทุเรียน
๓.กล้วยหอม
๔.ทับทิม
๕.ลูกอินทร์

๖.ลูกจันทร์
๗.องุ่น
๘.แตงไทย
๙.มะม่วง
๑๐.ลูกเกตุ

๑๑.ลูกตาล
๑๒.ลูกอินทผลัม
๑๓.แอปเปิ้ล
๑๔.ลิ้นจี่
๑๕.ลำใย
๑๖.สัปปะรด

ผลไม้ที่ห้ามขึ้นหิ้งบูชา
๑.ละมุด
๒.มังคุด
๓.พุทรา
๔.น้อยหน่า
๕.น้อยโหน่ง

๖.มะเฟื่อง
๗.มะไฟ
๘.มะตูม
๙.มะขวิด
๑๐.กระท้อน

๑๑.ลูกพลับ
๑๒.ลูกท้อ
๑๓.ระกำ
๑๔.ลูกจาก
๑๕.รางสาด




คาถาบูชาพ่อแก่ พระฤาษี 108 พระองค์
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ตัสสะ (3 จบ)

อุกาสะ อิมัง อัคคีพาหูบุพผัง อะหังวันทา อาจาริยัง สัพพะสัยยัง วินาสสันติ สิทธิการิยะ
อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม ทุติยัมปิ อิมัง อัคคีพาหูบุพผัง อะหังวันทา อาจาริยัง สัพพะสัยยัง
วินาสสันติ สิทธิการิยะ อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม ตะติยัมปิ อิมัง อัคคีพาหูบุพผัง อะหังวันทา
อาจาริยัง สัพพะสัยยัง วินาสสันติ สิทธิการิยะ อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม

คาถาบูชาพระฤาษี
โอม…อิมัสมิง พระประโคนธัพ พระมุนีเทวา หิตาตุมเห ปะริภุญชันตุ
ทุติยัมปิ…อิมัสมิง พระประโคนธัพ พระมุนีเทวา หิตาตุมเห ปะริภุญชันตุ
ตะติยัมปิ…อิมัสมิง พระประโคนธัพ พระมุนีเทวา หิตาตุมเห ปะริภุญชันตุ

คาถาบูชาพระฤาษี 108 (รวม)
โอม สะระเวโภย ฤาษิโภย นะมัท



บทอธิษฐานขอพรพระฤาษี(ใช้ได้กับทุกๆ พระองค์)
โอม ตะวะเมวะมาตา จะบิตา ตะวะเมวะ ตะวะเมวะพันธุศจะ
สะขา ตะวะเมวะ ตะวะเมวะวิทะยา ทรวิณัม ตะวะเมวะ ตะวะเมวะสรวัม มะมะ เทวะ เทวะ….



BERTAROT
หมอเบิร์ต ยศบุรินทร์ -http://bertarot.exteen.com/page-4
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 02, 2014, 12:22:14 pm โดย ฐิตา »