ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 19 : ธัมมัฏฐวรรค  (อ่าน 4370 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 19 : ธัมมัฏฐวรรค
01.เรื่องมหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัย


พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภมหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัย   ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  น  เตน  โหติ  ธมฺมฏฺโฐ   เป็นต้น

ในวันหนึ่ง   พระภิกษุทั้งหลาย  เที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้าน  ใกล้ประตูด้านทิศอุดรของนครพาราณสี  กลับจากบิณฑบาตแล้ว   จะกลับไปที่วัดพระเชตวัน   เกิดฝนตกหนัก   จึงได้แวะไปพักรอฝนหยุดตก  ที่ศาลยุติธรรมแห่งหนึ่ง   ได้เห็นพฤติกรรมของมหาอำนาจผู้วินิจฉัยทั้งหลาย(พวกตุลาการ  หรือพวกผู้พิพากษา)  รับสินบน  ทำให้ผู้ผิดกลายเป็นผู้ถูก  จึงคิดว่า  พวกมหาอำมาตย์เหล่านี้ไม่ตั้งอยู่ธรรม  แต่พวกเรามีความสำคัญว่าเป็นผู้ทำการวินิจฉัยคดีโดยธรรม   เมื่อฝนหายตกแล้ว  มาถึงวัดพระเชตวัน  เข้าไปถวายบังคมพระศาสดา  กราบทูลสิ่งที่ได้พวกตนประสบให้พระศาสดาทรงทราบ  พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  พวกมหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัย   เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจอคติมีฉันทาคติเป็นต้น  ตัดสินคดีความโดยอำเภอใจ  ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม  ส่วนพวกที่ไต่สวนความผิดแล้ว  ตัดสินคดีความโดยปราศจากอคติ  ตามสมควรแก่ความผิดนั่นแหละ   เป็นผู้ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม” 
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท   สองพระคาถานี้ว่า

น  เตน  โหติ  ธมฺมฏฺโฐ
เยนตฺถํ  สหสา  นเย
โย  จ   อตฺถํ  อนตฺถญฺจ
อุโภ  นิจฺเฉยฺย  ปณฺฑิโต  ฯ

อสาหเสน  ธมฺเมน
สเมน  นยตี  ปเร
ธมฺมสฺส  คุตฺโต  เมธาวี
ธมฺมฏฺโฐติ  ปวุจฺจติ  ฯ


(อ่านว่า)
นะ  เตนะ  โหติ  ทำมัดโถ
เยนัดถัง  สะหะสา  นะเย
โย  จะ  อัดถัง  อะนัดถันจะ
อุโพ  นิดเฉยยะ  ปันดิโต.

อะสาหะเสนะ  ทำเมนะ
สะเมนะ   นะยะตี  ปะเร
ทำมัดสะ  คุดโต  เมทาวี
ทำมัดโถติ  ปะวุดจะติ .

(แปลว่า)
บุคคลตัดสินคดีความโดยอำเภอใจ
ผู้นั้นไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม
ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต
พิจารณาทั้งข้อถูกและข้อผิด

ถึงจะตัดสินคดีความ.

บัณฑิต ไม่ตัดสินคดีความโดยอำเภอใจ
แต่โดยสอดคล้องกับหลักกฎหมาย
เป็นผู้คุ้มครองกฎหมาย
เรากล่าวว่า  เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม.

 
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริบผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
 

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 19 : ธัมมัฏฐวรรค
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2012, 10:34:21 am »


02. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภภิกษุฉัพพัคคีย์  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  น  เตน  ปณฺฑิโต  โหติ   เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง   พระฉัพพัคคีย์(พระกลุ่ม 6 )   ได้เที่ยวทำให้โรงฉัน  ทั้งในวัดและในบ้าน  เกิดสกปรกเลอะเทอะ  วันหนึ่ง  ขณะที่ภิกษุหนุ่มและสามเณรน้อย  กำลังฉันภัตตาหารอยู่นั้น   พระฉัพพัคคีย์ก็ได้เข้าไปคุยโวโอ้อวดต่อหน้าภิกษุหนุ่มและสามเณรน้อยเหล่านั้นว่า  พวกเรานี่แหละเป็นบัณฑิต  จากนั้นก็เริ่มขวางปาสิ่งของต่างๆจนโรงฉันเกิดความเลอะเทอะไปทั่ว   ภิกษุทั้งหลาย  ไปกราบทูลเรื่องนี้แด่พระศาสดา  พระศาสดาตรัสว่า   “ภิกษุทั้งหลาย  เราไม่เรียกคนที่พูดมาก  เบียดเบียนผู้อื่นว่า เป็นบัณฑิต  แต่เราเรียกคนที่มีความเกษม  ไม่มีเวร  ไม่มีภัยเลยว่า  เป็นบัณฑิต
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

น  เตน  ปณฺฑิโต  โหติ
ยาวตา  พหุ  ภาสติ
เขมี  อเวรี  อภโย
ปณฺฑิโตติ  ปวุจฺจติ.


(อ่านว่า)
นะ  เตนะ  ปันดิโต   โหติ
ยาวะตา  พะหุ  พาสะติ
เขมี  อะเวรี   อะพะโย
ปันดิโตติ  ปะวุดจะติ.

(แปลว่า)
บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิต
เพราะเหตุเพียงพูดมาก
ส่วนผู้มีความเกษม  ไม่มีเวร  ไม่มีภัย
เรากล่าวว่า  เป็นบัณฑิต.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 19 : ธัมมัฏฐวรรค
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2012, 10:45:42 am »


03.เรื่องพระเอกุทานเถระ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระขีณาสพ(พระผู้สิ้นกิเลส)ชื่อว่าเอกุทานเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  น  ตาวตา  ธมฺมธโร   เป็นต้น

พระเอกุทานเถระ (พระเถระมีคำอุทานบทเดียว) พำนักอยู่ในป่าแห่งหนึ่งองค์เดียว  ท่านชอบกล่าวคำอุทานกถาบทเดียวนี้ว่า “ความโศกทั้งหลาย  ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีจิตมั่นคง  ไม่ประมาท  เป็นมุนี  ศึกษาในทางโมนปฏิบัติ  ผู้คงที่  ระงับแล้ว  มีสติทุกเมื่อ” พอถึงวันอุโบสถ  ท่านพระเอกุทานเถระก็จะป่าวประกาศให้ผู้คนทั้งหลายมาฟังธรรมกัน   แล้ว  ท่านพระเอกุทานเถระก็จะกล่าวอุทานกถาบทนี้    และเมื่อท่านเอกุทานเถระกล่าวอุทานกถาบทนี้จบลง  พวกเทวดาในป่าก็จะส่งเสียงสาธุการดังสนั่นหวั่นไหว  ต่อมา  ในวันอุโบสถวันหนึ่ง  ภิกษุทรงจำพระไตรปิฎก  2  รูป  พร้อมบริวารรูปละ  500  พากันไปยังสถานที่ท่านพระเอกุทานเถระพำนักอยู่นั้น   พระเอกุทานเถระได้นิมนต์พระเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกทั้งสองรูปนั้นแสดงธรรม   พระเถระทรงพระไตรปิฎกสองรูปนั้นได้ถามท่านพระเอกุทานเถระว่า   ที่นี่มีคนฟังธรรมด้วยหรือ   ท่านพระเอกุทานเถระเรียนว่า  มีเทวดามาฟังธรรมและจะส่งเสียงสาธุการทุกครั้งที่การแสดงธรรมจบลง  แต่พอพระทรงจำพระไตรปิฎกทั้งสององค์ผลัดกันแสดงธรรม  พอการแสดงธรรมของแต่ละองค์จบลง  ก็ไม่มีเสียงสาธุการของเทวดาทั้งหลายให้ได้ยิน   พระทรงจำพระไตรปิฎกั้งสององค์เกิดความสงสัยในคำพูดของพระเอกุทานเถระที่บอกว่าเมื่อการแสดงธรรมจบลงก็จะมีเสียงเทวดาส่งเสียงสาธุการสนั่นหวั่นไหว   แต่พระเอกุทานเถระก็ยังยืนยันอย่างแข็งขันว่า  ที่ผ่านมาเมื่อการแสดงธรรมจบลงจะมีเสียงสาธุการของเทวดาในทุกครั้ง 

ดังนั้น   พระทรงจำพระไตรปิฎกทั้งสองรูป   จึงขอให้พระเอกุทานเถระแสดงธรรมดูบ้าง  พระเอกุทานเถระจึงได้จับพัดมาบังหน้าแล้วกล่าวอุทานกถาดังข้างต้นนั้น  พอพระเอกุทานเถระกล่าวอุทานกถาบทนั้นจบลง   ก็มีเสียงเทวดาส่งเสียงสาธุการดังสนั่นหวั่นไหว   พระภิกษุบริวารของพระเถระผู้ทรงจำพระไตรปิฎกทั้งสององค์นั้น  กล่าวหาว่าพวกเทวดาในป่าลำเอียง  จึงได้นำความขึ้นกราบทูลพระศาสดา   เมื่อเดินทางกลับมายังพระเชตวัน  พระศาสดาตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  เราไม่เรียกผู้เรียนมากหรือพูดมากว่า  เป็นผู้ทรงธรรม  ส่วนผู้ใดเรียนคาถาแม้คาถาเดียวแล้วแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย  ผู้นี้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม
จากนั้น  พระศาสดาตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

น  ตาวตา  ธมฺมธโร
ยาวตา  พหุ  ภาสติ
โย  จ  อปฺปํปิ  สุตฺวาน
ธมฺมํ  กาเยน  ปสฺสติ
ส  เว  ธมฺมธโร  โหตุ
โย  ธมฺมํ  นปฺปมชฺชติ ฯ


(อ่านว่า)
นะ  ตาวะตา  ทำมะทะโร
ยาวะตา  พะหุ  พาสะติ
โย  จะ  อับปังปิ  สุดตะวานะ
ทำมัง กาเยนะ  ปัดสะติ
สะ  เว  ทำมะทะโร  โหตุ
โย  ทำมัง  นับปะมัดชะติ.

(แปลว่า)
บุคคล  ไม่ชื่อว่าทรงธรรม
เพราะเหตุที่พูดมาก
ส่วนบุคคลใด  ฟังแม้นิดหน่อย
ย่อมเห็นธรรมด้วยนามกาย

บุคคลใด  ไม่ประมาทธรรม
บุคคลนั้นแล  เป็นผู้ทรงธรรม.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริบผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 19 : ธัมมัฏฐวรรค
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2012, 10:52:20 am »


04.เรื่องลกุณฏกภัททิยะ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระลกุณฏกภัททิยเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  น  เตน  เถโร  โหติ   เป็นต้น

วันหนึ่ง  พระจำนวน 30 รูป  มาเฝ้าพระศาสดา  และพระศาสดาทรงทราบว่า  พระทั้ง 30  รูปนั้นมุอุปนิสัยที่จะได้สำเร็จพระอรหัตตผล   ดังนั้น  พระศาสดาจึงทรงสอบถามพระภิกษุเหล่านั้นว่า   เห็นพระเถระรูปหนึ่งก่อนจะเข้ามาในห้องพระคันธกุฎีหรือไม่  เมื่อพระเหล่านั้นกราบทูลว่าไม่เห็นพระเถระเห็นแต่สามเณรรูปหนึ่ง   พระศาสดาตรัสว่า”  “ภิกษุทั้งหลาย  นั่นไม่ใช่สามเณร  นั่นเป็นพระเถระ”  เมื่อพระเหล่านั้นกราบทูลว่า “องค์เล็กจัง  เป็นพระเถระได้อย่างไร”   พระศาสดาจึงตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  เราไม่เรียกว่า เถระ  เพราะความเป็นคนแก่  เพราะเหตุสักว่านั่งบนอาสนะพระเถระ  ส่วนผู้ใด  แทงตลอดสัจจะทั้งหลายแล้ว   ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่เบียดเบียนมหาชน  ผู้นี้  ชื่อว่าเป็นเถระ
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท สองพระคาถานี้ว่า

น  เตน  เถโร  โหติ
เยนสฺส  ปลิตํ  สิโร
ปริปกฺโก  วโย  ตสฺส
โมฆชิณฺโณติ  วุจฺจติ ฯ

ยมฺหิ  สจฺจญฺจ  ธมฺโม จ
อหึสา  สญฺญโม  ทโม
ส  เว  วนฺตมโล  ธีโร
โส  เถโรติ  ปวุจฺจติ ฯ


(อ่านว่า)
นะ  เตนะ  เถโร  โหติ
เยนัดสะ  ปะลิตัง  สิโร
ปะริปักโก   วะโย  ตัดสะ
โมคะชินโนติ  วุดจะติ .

ยำหิ  สัดจันจะ  ทำโม  จะ
อะหิงสา  สันยะโม  ทะโม
สะ  เว  วันตะมะโล  ทีโร
โส  เถโรติ  ปะวุดจะติ.

(แปลว่า)
บุคคล  ไม่ชื่อว่าเถระ
เพราะมีผมหงอกบนศีรษะ
ผู้มีวัยแก่หง่อมแล้วนั้น
เราเรียกว่า แก่เปล่า.


ส่วนผู้ใด  มีสัจจะ  ธรรมะ
อหิงสา  สัญญมะ  และทมะ
ผู้นั้นแล  ผู้มีมลทินอันคายแล้ว
ผู้มีปัญญา เรากล่าวว่า  เป็นพระเถระ.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ภิกษุเหล่านั้น  บรรลุอรหัตตผล.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 19 : ธัมมัฏฐวรรค
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2012, 12:59:39 pm »


05.เรื่องภิกษุมากรูป

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภภิกษุมากรูป  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น  วากฺกรณมตฺเตน  เป็นต้น

ในวัดนั้น  ภิกษุหนุ่มและสามเณรน้อย  จะทำการดูแลอาจารย์ผู้บอกธรรมของตน  ด้วยกิจต่างๆ เช่น การย้อมจีวรเป็นต้น   พระเถระพวกหนึ่งสังเกตเห็นวัตรปฏิบัติเหล่านี้  ก็เกิดความริษยา  และได้คิดแผนอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อจะให้เกิดประโยชน์แก่พวกตนบ้าง  โดยแผนนี้ก็คือ  พวกพระเถระเหล่านี้จะกราบทูลแนะนำพระศาสดาว่าให้ออกกฎว่า  พวกภิกษุหนุ่มและสามเณรน้อย  แม้ว่าจะทำวัตรปฏิบัติแก่อาจารย์ของตนแล้ว  ก็จะต้องมาขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากพระเถระเหล่านี้ด้วย   เมื่อพระเถระเหล่านี้ไปกราบทูลเรื่องนี้แด่พระศาสดา  พระศาสดาทรงทราบวัตถุประสงค์แอบแฝงของพระเถระเหล่านั้น  ได้ตรัสว่า  “เราไม่เรียกพวกเธอว่า คนดี  เพราะเหตุสักว่าพูดจัดจ้าน  ส่วนผู้ใด  ตัดธรรมมีความริษยาเป็นต้นเหล่านี้ได้แล้ว  ด้วยอรหัตตมรรค  ผู้นี้แหละชื่อว่าคนดี
พระศาสดา  ได้ตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

น  วากฺกรณมตฺเตน
วณฺณโปกฺขรตาย  วา
สาธุรูโป  นโร  โหติ
อิสฺสุกี  มจฺฉรี  สโฐ ฯ

ยสฺส  เจตํ  สมุจฺฉินฺนํ
มูลฆจฺฉํ  สมูหตํ
ส  วนฺตโทโส  เมธาวี
สาธุรูโปติ  วุจฺจติ  ฯ


(อ่านว่า)
นะ  วากกะระนะมัดเตนะ
วันนะโปกขะระตายะ  วา
สาทุรูโป  นะโร  โหติ
อิดสุกี  มัดฉะรี  สะโถ.

ยัดสะ  เจตัง  สะมุดฉินนัง
มูละคัดฉัง  สะมูหะตัง
สะ  วันตะโทโส  เมทาวี
สาทุรูโปติ  วุดจะติ.

(แปลว่า)
นระ  ผู้มีความริษยา  มีความตระหนี่  โอ้อวด
จะชื่อว่าคนดี  เพราะเหตุสักว่าทำการพูดจัดจ้าน
หรือเพราะมีผิวกายงามก็หาไม่.
 
ส่วนผู้ใด  ตัดความริษยาเป็นต้นได้ขาดแล้ว
ถอนขึ้นให้รากขาด

ผู้นั้น  มีโทสะอันคายแล้ว  มีปัญญา
เราเรียกว่า  คนดี.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย   มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
 

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 19 : ธัมมัฏฐวรรค
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2012, 01:07:23 pm »


06.เรื่องภิกษุชื่อหัตถกะ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี  ทรงปรารภภิกษุชื่อหัตถกะ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  น  มุณฑเกน  สมโณ  เป็นต้น

พระหัตถกะ   ชอบไปท้าพวกเดียรถีย์ให้มาโต้วาทีกันกับท่าน ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง  เมื่อถึงกำหนดเวลาที่นัดหมายกันนั้น  พระหัตถกะก็จะไปยังสถานที่นัดหมายกันนั้นก่อนเวลา   แล้วคุยโอ้อวดว่า “ ดูเถิดท่านทั้งหลาย  พวกเดียรถีย์ไม่มา  เพราะกลัวผม  นี่แหละเป็นความแพ้ของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น”  พระศาสดาทรงทราบพฤติกรรมของพระหัตถกะนั้นแล้ว  ตรัสเรียกมาสอบถาม  และเมื่อพระหัตถกะยอมรับความจริงนั้น  ตรัสว่า  “เหตุไฉน  เธอจึงทำอย่างนั้น  ? ด้วยว่า  ผู้ทำมุสาวาทเห็นปานนั้น  จะชื่อว่าเป็นสมณะ  เพราะเหตุสักว่ามีศีรษะโล้นเป็นต้นหามิได้  ส่วนผู้ใด  ยังบาปน้อยหรือใหญ่ให้สงบแล้วตั้งอยู่  ผู้นี้แหละชื่อว่าสมณะ
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

น  มุณฺฑเกนะ  สมโณ
อพฺพโต  อลิกํ  ภณํ
อิจฺฉาโลภสมาปนฺโน
สมโณ  กึ  ภวิสฺสติ ฯ

โย  จ  สเมติ  ปาปานิ
อณุถูลานิ  สพฺพโส
สมิตตฺตา  หิ  ปาปานํ
สมโณติ  ปวุจฺจติ  ฯ


(อ่านว่า)
นะ  มุนทะเกนะ  สะมะโน
อับพะโต  อะลิกัง  พะนัง
อิดฉาโลพะสะมาปันโน
สะมะโน   กิง  พะวิดสะติ.

โย  จะ  สะเมติ  ปาปานิ
อะนุงถูลานิ  สับพะโส
สะมิตัดตา  หิ  ปาปานัง
สะมะโนติ  ปะวุดจะติ.

(แปลว่า)
ผู้ไม่มีวัตร   พูดเหลาะแหละ
ไม่ชื่อว่าสมณะ  เพราะศีรษะโล้น
ผู้ประกอบด้วยความอยาก และความโลภ
จะเป็นสมณะอย่างไรได้”

ส่วนผู้ใด  ยังบาปน้อยหรือใหญ่ให้สงบ
โดยประการทั้งปวง

ผู้นั้น  เรากล่าวว่า  เป็นสมณะ
เพราะยังบาปให้สงบแล้ว.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย   มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 19 : ธัมมัฏฐวรรค
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2012, 01:12:21 pm »


07.เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  น  เตน  ภิกขุ  โส  โหติ  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  พราหมณ์ผู้หนึ่ง  บวชในศาสนาอื่นที่มิใช่พุทธศาสนา  และเดินเที่ยวบิณฑบาต   วันหนึ่ง  พราหมณ์ผู้นี้คิดว่า  พระสมณโคดมประกาศว่า  ผู้ที่มีชีวิตจากการบิณฑบาตเรียกว่าภิกษุ  เมื่อเป็นเช่นนั้น  เราก็น่าจะถูกเรียกว่าภิกษุได้เหมือนกัน  เมื่อคิดดังนี้แล้ว  พราหมณ์ก็ได้ไปเฝ้าพระศาสดา  ทูลว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ  แม้ข้าพเจ้าก็เที่ยวภิกษา  เลี้ยงชีพอยู่  พระองค์จงเรียกแม้ข้าพเจ้าว่าภิกษุ”  พระศาสดาตรัสกับพราหมณ์นั้นว่า “ พราหมณ์  เราหาเรียกว่า ภิกษุ  เพราะอาการเพียงขอเขาไม่  เพราะผู้สมาทานธรรมอันเป็นพิษแล้วประพฤติอยู่  ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าภิกษุหาได้ไม่  ส่วนผู้ใดเที่ยวไปด้วยพิจารณาสังขารทั้งปวง  ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ
จากนั้น  พระศาสดาตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

น  เตน  ภิกฺขุ  โส  โหติ
ยาวตา  ภิกฺขเต  ปเร
วิสํ  ธมฺมํ  สมาทาย
ภิกฺขุ  โหติ  น  ตาวตา ฯ

โยธ  ปุญฺญญฺเจ  ปาปญฺจ
วาเหตฺวา  พฺรหฺมจริยวา
สงฺขาย  โลเก  จรติ
ส  เว  ภิกฺขูติ  วุจฺจติ ฯ


(อ่านว่า)
นะ  เตนะ  ภิกขุ  โส  โหติ
ยาวะตา  ภิกขะเต  ปะเร
วิสัง  ทำมัง  สะมาทายะ
พิกขุ  โหติ  นะ  ตาวะตา.

โยทะ  ปุนยันเจ   ปาปันจะ
วาเหดตะวา  พรำมะจะริยะวา
สังขายะ  โลเก  จะระติ
สะ  เว  โหติ  นะ  ตาวะตา.

(แปลว่า)
บุคคลชื่อว่าเป็นภิกษุ
เพราะเหตุที่ขอกะคนพวกอื่นหามิได้
บุคคลสมาทานธรรมอันเป็นพิษ
ไม่ชื่อว่าภิกษุ  ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น.

ผู้ใดในศาสนานี้
ลอยบาปและบุญได้แล้ว

ประพฤติพรหมจรรย์
รู้ธรรมในโลก  ด้วยการพิจารณาเที่ยวไป
ผู้นั้นแลเราเรียกว่า  ภิกษุ.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
 

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 19 : ธัมมัฏฐวรรค
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2012, 01:25:19 pm »


08. เรื่องเดียรถีย์

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพวกเดียรถีย์  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  น  โมเนน เป็นต้น

พวกเดียรถีย์   จะกล่าวคำอำนวยอวยพร  แก่คนที่นำสิ่งของหรืออาหารมาให้   ว่า   “ความเกษมจงมี  ความสุขจงมี  อายุจงเจริญ  ในที่ชื่อโน้นมีเปือกตม  ในที่ชื่อโน้นมีหนาม  การไปสู่ที่เห็นปานนั้นไม่ควร”  ในขณะนั้น   เป็นช่วงปฐมโพธิกาล (ช่วง 25 ปีแรกหลังจากตรัสรู้) พระศาสดายังไม่ทรงอนุญาตวิธีอนุโมทนา  ภิกษุทั้งหลาย  จึงยังไม่ทำอนุโมทนาแก่พวกมนุษย์ในโรงฉัน  พวกมนุษย์จึงพูดกันว่า  “พวกเราได้ฟังมงคลแต่สำนักของเดียรถีย์ทั้งหลาย  แต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายนิ่งเฉยหลีกไปเสีย”  ภิกษุทั้งหลายจึงนำความขึ้นกราบทูลพระศาสดา

พระศาสดาจึงทรงอนุญาตว่า “ ภิกษุทั้งหลาย  ตั้งแต่นี้ไป  ท่านทั้งหลาย  จงทำอนุโมทนา  ในที่ทั้งหลายมีโรงฉันเป็นต้น  ตามสบายเถิด  จงกล่าวอุปนิสินนกถา(ถ้อยคำที่กล่าวกับบุคคลผู้เข้าใกล้) เถิด”   และภิกษุทั้งหลายได้กระทำตามพุทธานุญาตแล้ว  โดยได้กล่าวคำอำนวยอวยพรแก่ญาติโยมที่ถวายทาน เพราะผลของการกล่าวคำอำนวยอวยพรของภิกษุทั้งหลายนี้เอง  จึงมีผู้คนมานิมนต์พระภิกษุทั้งหลายไปรับภัตตาหารมากขึ้นๆ   พวกเดียรถีย์กล่าวตำหนิว่า “ พวกเราเป็นมุนีทำความเป็นผู้นิ่ง  พวกสาวกของพระสมณโคดม  เที่ยวกล่าวกถามากมาย  ในที่ทั้งหลายมีโรงฉันเป็นต้น

พระศาสดา  ทรงสดับความนั้นแล้ว  ตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย   เราไม่กล่าวว่ามุนี  เพราะเหตุสักว่าเป็นผู้นิ่ง
เพราะคนบางพวกไม่รู้  ย่อมไม่พูด   บางพวกไม่พูด  เพราะความเป็นผู้ไม่แกล้วกล้า   บางพวกไม่พูด  เพราะตระหนี่ว่า  คนเหล่าอื่นอย่ารู้เนื้อความอันดียิ่งนี้ของเรา  เพราะฉะนั้น  คนไม่ชื่อว่ามุนี  เพราะเหตุสักว่าเป็นคนนิ่ง  แต่ชื่อว่าเป็นมุนี  เพราะยังบาปให้สงบ

จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

น  โมเนน  มุนิ  โหติ
มุฬฺหรูโป  อวิทฺทสุ
โย จ  ตุลํว  ปคฺคยฺห
วรมาทาย  ปณฺฑิโต  ฯ

ปาปานิ  ปริวชฺเชติ
ส  มุนิ  เตน  โส  มุนิ
โย  มุนาติ  อุโภ  โลเก
มุนิ  เตน  ปวุจฺจติ  ฯ


(อ่านว่า)
นะ  โมเนนะ  มุนิ  โหติ
มุนหะรูโป  อะวิดทะสุ
โย  จะ  ตุลังวะ  ปักเคยหะ
วะระมาทายะ  ปันดิโต.

ปาปานิ  ปะริวัดเชติ
สะ  มุนิ  เตนะ  โส  มุนิ
โย  มุนาติ  อุโพ  โลเก
มุนิ  เตนะ  ปะวุดจะติ.

(แปลว่า)
บุคคลเขลา  ไม่รู้โดยปกติ
ไม่ชื่อว่าเป็นมุนี
เพราะความเป็นผู้นิ่ง
ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต

ถือธรรมอันประเสริฐ  ดุจบุคคลประคองตราชั่ง.

เว้นบาปทั้งหลาย  ผู้นั้นเป็นมุนี  เพราะเหตุนั้น
ผู้ใดรู้อรรถทั้ง 2  ในโลก
ผู้นั้นเรากล่าวว่า  เป็นมุนี  เพราะเหตุนั้น.

ผู้นั้นเรากล่าว่า  เป็นมุนี  เพราะเหตุนั้น.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 22, 2012, 01:36:12 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 19 : ธัมมัฏฐวรรค
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2012, 01:34:43 pm »


09. เรื่องพรานเบ็ดชื่ออริยะ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพรานเบ็ดชื่ออริยะ   ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  น  เตน  อริโย   เป็นต้น

วันหนึ่ง   พระศาสดา  ทรงเห็นอุปนิสัยที่จะได้บรรลุโสดาปัตติมรรค  ของนายพรานเบ็ดชื่ออริยะ   เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในบ้านใกล้ประตูเมืองด้านทิศอุดรแห่งกรุงสาวัตถี   พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย   เมื่อเสด็จกลับมาจากบิณฑบาต  ได้ทรงแวะในที่ซึ่งนายอริยะกำลังตกปลาอยู่ นั้น  เมื่อนายอริยะเห็นพระศาสดา   ก็ได้โยนเบ็ดทิ้ง  แล้วเข้าไปยืน ณ  ที่ใกล้พระศาสดา  พระศาสดาทรงเริ่มต้นด้วยการถามชื่อของพระภิกษุทั้งหลาย   ที่ตามเสด็จพระองค์มาในครั้งนี้   ต่อหน้านายอริยะ   และในที่สุดได้ตรัสถามชื่อของนายอริยะบ้าง   เมื่อเขาตอบว่าชื่ออริยะ  ตรัสว่า  “อุบาสก  ผู้ที่ฆ่าสัตว์เช่นท่าน  จะชื่อว่าอริยะไม่ได้  ส่วนผู้ที่ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียนมหาชน  จึงจะเรียกว่าอริยะ
จากนั้น  พระศาสดาจึงตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

น  เตน  อริโย  โหติ
เยน  ปาณานิ  หึสติ
อหึสา  สพฺพปาณานํ
อริโยติ  ปวุจฺจติ  ฯ


(แปลว่า)
บุคคลไม่ชื่อว่าอริยะ
เพราะเหตุที่เบียดเบียนสัตว์
บุคคลที่เรากล่าวว่า เป็นอริยะ
เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   พรานเบ็ดบรรลุโสดาปัตติผล   พระธรรมเทศนามีประโยชน์  แม้แก่บุคคลผู้มาประชุมกัน.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 19 : ธัมมัฏฐวรรค
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2012, 02:02:37 pm »



10. เรื่องภิกษุมากรูป

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน   ทรงปรารภภิกษุมากรูป  ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณมีศีลเป็นต้น  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  น  สีลพฺพตมตฺเตน  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง   ในหมู่ภิกษุทั้งหลาย  บางพวกมีศีลสมบูรณ์  บางพวกทรงไว้ซึ่งธุดงค์  บางพวกเป็นพหูสูต    บางพวกอยู่ในเสนาสนะอันสงัด  บางพวกได้ฌาน  บางพวกบรรลุอนาคามิผล   ภิกษุเหล่านี้ต่างคิดว่า  เมื่อพวกตนมีคุณสมบัติที่ดีอย่างนี้แล้วเช่นนี้  การที่พวกตนจะบรรลุพระอรหัตตผลนั้น  เป็นเรื่องที่ไม่ยากเลย   อยู่มาวันหนึ่ง  พระภิกษุเหล่านี้ได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดา  เมื่อถวายบังคมแล้ว  พระศาสดาได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย   กิจแห่งบรรพชิตของพวกเธอถึงที่สุดแล้วหรือหนอ” ภิกษุแต่ละพวกก็ได้กราบทูลรายงานถึงคุณธรรมที่พวกตนปฏิบัติหรือได้บรรลุแล้วนั้น  และได้กราบทูลความมั่นใจของพวกตนด้วยว่า “เพราะฉะนั้น  พวกข้าพระองค์จึงคิดว่า  พวกเราสามารถเพื่อบรรลุพระอรหัตในขณะที่ปรารถนาแล้วๆ นั่นเอง

พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  ชื่อว่าภิกษุจะเห็นว่า  ทุกข์ในภพของเราน้อย  ด้วยคุณสักว่าความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์เป็นต้น  หรือด้วยคุณสักว่าความสุขของพระอนาคามี  ไม่สมควร  และยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะ  ไม่พึงให้ความคิดเกิดขึ้นว่า  เราถึงสุขแล้ว
จากนั้น  พระศาสดาจึงตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

น  สีลพฺพตมตฺเตน
พาหุสจฺเจน  วา  ปน
อถวา  สมาธิลาเภน
วิวิตฺตสยเนน  วา  ฯ

ผุสามิ  เนกฺขมฺมสุขํ
อปุถุชฺชนเสวิตํ
ภิกฺขุ  วิสฺสาสมาปาทิ
อปฺปตฺโต  อาสวกฺขยํ  ฯ


(แปลว่า)
ภิกษุ   ภิกษุยังไม่ถึงอาสวักขัย
อย่าเพิ่งถึงความวางใจ
ด้วยเหตุสักว่าศีลและวัตร
ด้วยความเป็นพหูสูต

ด้วยอันได้สมาธิ
ด้วยอันนอนในที่สงัด
หรือด้วยเหตุเพียงรู้ว่า
เราถูกต้องสุขในเนกขัมมะ

ซึ่งปุถุชนเสพไม่ได้แล้ว.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ภิกษุเหล่านั้น  บรรลุพระอรหัตตผล  พระธรรมเทศนา  มีประโยชน์  แม้แก่บุคคลผู้มาประชุมกัน.



-http://www.oknation.net/blog/dhammapada/page2