ผู้เขียน หัวข้อ: ๓.มหาปรินิพพานสูตร(๑๖)[มิใช่ฐานะมิใช่โอกาส,ในฐานะและอฐานะ]  (อ่าน 1759 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


             

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค

๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖)
..........
..........
.........
            [๑๓๘] ก็สมัยนั้น ปริพาชกนามว่า สุภัททะ อาศัยอยู่ในเมืองกุสินารา
สุภัททปริพาชกได้สดับว่า พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรี
ในวันนี้แหละ สุภัททปริพาชกได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ก็เราสดับถ้อยคำของพวก
ปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์และปาจารย์กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก ในบางครั้งบางคราว
พระสมณโคดมจัก
ปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้แหละ อนึ่ง ธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้
ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่เราก็มีอยู่
เราเลื่อมใสในพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม
ย่อมสามารถจะแสดงธรรมแก่เรา โดยประการที่เราจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัย
นี้ได้ ฯ


            ลำดับนั้น สุภัททปริพาชกเข้าไปยังสาลวันอันเป็นที่แวะพักของพวกเจ้า
มัลละ เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์
ข้าพเจ้าได้สดับถ้อยคำของพวกปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์และปาจารย์
กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก ในบางครั้ง
บางคราว พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้แหละ อนึ่ง
ธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าก็มีอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระ-
*สมณโคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมย่อมสามารถจะแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าโดย
ประการที่ข้าพเจ้าจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ได้ ข้าแต่ท่านอานนท์ ขอโอกาส
เถิด ข้าพเจ้าควรได้เฝ้าพระสมณโคดม เมื่อสุภัททปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวตอบสุภัททปริพาชกว่า อย่าเลย สุภัททะ ท่านอย่า
เบียดเบียนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาคทรงลำบากแล้ว แม้ครั้งที่สอง สุภัทท-
*ปริพาชก ... แม้ครั้งที่สาม สุภัททปริพาชกก็ได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์
ข้าพเจ้าได้สดับถ้อยคำของพวกปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์และปาจารย์
กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก ในบางครั้ง
บางคราว พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้แหละ
อนึ่ง ธรรมเป็นที่สงสัยนี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าก็มีอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใสใน
พระสมณโคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมย่อมสามารถจะแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า
โดยประการที่ข้าพเจ้าจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ได้ ข้าแต่ท่านพระอานนท์
ขอโอกาสเถิด ข้าพเจ้าควรได้เฝ้าพระสมณโคดม แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์
ก็ได้กล่าวตอบสุภัททปริพาชกว่า อย่าเลย สุภัททะ ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคต
เลย พระผู้มีพระภาคทรงลำบากแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงได้ยินถ้อยคำท่าน
พระอานนท์เจรจากับสุภัททปริพาชก จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า อย่า
เลยอานนท์ เธออย่าห้ามสุภัททะ สุภัททะจงได้เฝ้าตถาคต สุภัททะจักถามปัญหา
อย่างใดอย่างหนึ่งกะเรา จักมุ่งเพื่อความรู้ มิใช่มุ่งความเบียดเบียน อนึ่ง เราอัน
สุภัททะถามแล้ว จักพยากรณ์ข้อความอันใดแก่สุภัททะนั้น สุภัททะจักรู้ทั่วถึงข้อ
ความนั้นโดยฉับพลันทีเดียว ฯ

            ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้บอกสุภัททปริพาชกว่า ไปเถิดสุภัททะ
พระผู้มีพระภาคทรงทำโอกาสแก่ท่าน สุภัททปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย
พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์เหล่านี้ใด เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์
มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นคนดี คือบูรณกัสสป
มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครณฐนาฏบุตร
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ได้ตรัสรู้ตามปฏิญญาของตนๆ หรือว่าทั้งหมด
ไม่ได้ตรัสรู้ หรือว่าบางพวกไม่ได้ตรัสรู้ ฯ


            พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อย่าเลย สุภัททะ ที่ข้อถามนั้นงดเสียเถิด
ดูกรสุภัททะ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว
สุภัททปริพาชกทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มี-
*พระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยใด ไม่มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ในธรรมวินัยนั้น ไม่มีสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔
ในธรรมวินัยใด มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้น มีสมณะที่ ๑
ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยนี้ มีอริยมรรคประกอบด้วย
องค์ ๘ ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ลัทธิอื่นๆ
ว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระ-
อรหันต์ทั้งหลาย ฯ


            [๑๓๙] ดูกรสุภัททะ เราโดยวัยได้ ๒๙ ปี บวชแล้ว ตามแสวงหาว่า
            อะไรเป็นกุศล ตั้งแต่เราบวชแล้ว นับได้ ๕๑ ปี แม้สมณะผู้
เป็นไปในประเทศแห่งธรรมเป็นเครื่องนำออก ไม่มีในภายนอก
แต่ธรรมวินัยนี้ ฯ
            สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔ ก็มิได้มี ลัทธิอื่นว่างจากสมณะ
ผู้รู้ทั่วถึง ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ

            [๑๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภัททปริพาชก ได้กราบ-
ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป

ดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้น เหมือน
กัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค ฯ

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสุภัททะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา
หวังอุปสมบท ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุ
ทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่า
เรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้ ฯ

            สุภัททปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้ที่เคยเป็นอัญญ-
*เดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน
เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความ
เป็นภิกษุไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสสี่ปี เมื่อล่วงสี่ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว
จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบทเถิด ฯ

            ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์
ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้สุภัททปริพาชกบวชเถิด ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคแล้ว สุภัททปริพาชกได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรท่านอานนท์
ผู้มีอายุ เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่พระศาสดาทรงอภิเษกด้วยอันเตวาสิกา-
*ภิเษก ในที่เฉพาะพระพักตร์ในพระศาสนานี้ สุภัททปริพาชกได้บรรพชา อุปสมบท
ในสำนักพระผู้มีพระภาค ก็ท่านสุภัททปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทแล้วไม่นาน
หลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่
ไม่ช้านานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตร
ทั้งหลายผู้มีความต้องการ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญา
อันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ
แล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ท่านสุภัททะ
ได้เป็นอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านเป็นสักขิสาวกองค์
สุดท้าย
ของพระผู้มีพระภาค ฯ

จบภาณวารที่ห้า
...........
      ----------
...........
      -----------
* http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1888&Z=3915


     

         ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
         ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ ฯ
พระไตรปิฎก เล่มที่ 20
     [๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสอง
พระองค์ จะพึงเสด็จอุบัติขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกันนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่
โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์
เดียว จะพึงเสด็จอุบัติขึ้นในโลกธาตุอันหนึ่งนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
                         จบวรรคที่ ๑
......................

พระไตรปิฎก เล่มที่ 14
     (๑๐) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ พระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธ ๒ พระองค์ พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลัง
กัน นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ พระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธพระองค์เดียว พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว นั่นเป็นฐานะ
ที่มีได้ ฯ

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=14&start_byte=236343