ผู้เขียน หัวข้อ: ถนนใหม่เชื่อม "เกียกกาย-วงแหวน ตต." ผ่าชุมชนหนาแน่นย่าน กฟผ.-เรือกสวน  (อ่าน 1305 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ถนนใหม่เชื่อม "เกียกกาย-วงแหวน ตต." ผ่าชุมชนหนาแน่นย่าน กฟผ.-เรือกสวน

-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1344052842&grpid=01&catid=&subcatid=-

กลับมาเป็นโครงการที่ถูกเอ่ยถึงอีกครั้ง โครงการเชื่อมต่อโครงข่ายถนนระหว่างโครงการสะพานเกียกกาย บริเวณถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ (Local Road) กับถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนตะวันตก) ของ "ทช.-กรมทางหลวงชนบท" สังกัดกระทรวงคมนาคม

ครั้งนี้รัฐบาลมีเป้าหมายชัดเจน ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ในปี 2556 กำหนดแล้วเสร็จในปี 2558 ทาง "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" ได้เสนอแนวเส้นทางโครงข่ายคมนาคมเพิ่มเติมบรรจุไว้ในแผนแก้ไขปัญหาการจราจรโดยรอบรัฐสภาแห่งใหม่นี้ด้วย

ตามแผนจะเป็นโครงการก่อสร้างถนนตัดใหม่เชื่อมกับ ถ.วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตกของ ทช. เพื่อเสริมโครงข่ายโดยรอบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกเหนือจากโครงข่ายรถไฟฟ้าหลากสี สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณแยกเกียกกาย และถนนต่อเชื่อมของ "กทม.-กรุงเทพมหานคร" และทางด่วนสายใหม่ "ศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก" ของ "กทพ.-การทางพิเศษแห่งประเทศไทย"



ล่าสุด ทาง ทช.เตรียมขอจัดสรรงบประมาณศึกษาความเหมาะสมโครงการ คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการ 1 ปีนับจากนี้ เพื่อให้ทันรับกับอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ และโครงข่ายของ กทม.ที่จะเสร็จและเริ่มสร้างในปี 2558

ปัจจุบันแนวเส้นทางโครงการถนนสายนี้ ทช.เคยขีดเป็นแนวเบื้องต้นไว้เมื่อครั้งยังอยู่ในสังกัด "กรมโยธาธิการและผังเมือง" ในปี 2544 ถึงแม้ว่ากาลเวลาจะผ่านมาร่วม 10 ปี แต่แนวเส้นทางยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

"ประชาชาติธุรกิจ" ตรวจสอบแนวเส้นทางไปยัง ทช. พบว่าแนวเส้นทางโครงการมีจุดเริ่มต้นบริเวณถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ (Local Road) ตัดผ่านชุมชนปากเกร็ดใกล้กับ "กฟผ.-การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย" มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก

จากนั้นตัดผ่าน ถ.ราชพฤกษ์ บริเวณด้านทิศเหนือคลองมหาสวัสดิ์ เชื่อมต่อกับ ถ.วงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก แนวเส้นทางจะขนานกับแนวโครงการทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกของการทางพิเศษฯ มีระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร

"ตามแนวเส้นทางจะมีการเวนคืนหนาแน่นช่วงต้นทางย่าน กฟผ. พอหลุดจากตรงนี้ไปจะพาดผ่านพื้นที่ว่างที่เป็นที่ดินเปล่าและสวนของชาวบ้าน รูปแบบโครงการจะเป็นถนน 4 ช่องจราจร คาดว่าจะใช้เงินก่อสร้างเฉลี่ยกิโลเมตรละ 50 ล้านบาท ระยะทาง 10 กิโลเมตรน่าจะใช้เงินสร้างตก 500 ล้านบาท ส่วนค่าเวนคืนที่ดินอยู่ที่ผลสำรวจพื้นที่จริงหลังจากที่ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาแล้ว" แหล่งข่าวจาก ทช.กล่าวเพิ่มเติมสำหรับประโยชน์ของโครงการ

จะช่วยบรรเทาปัญหาความคับคั่งปริมาณจราจรในพื้นที่ โดยเฉพาะบนสะพานกรุงธนบุรี สะพานพระราม 5 ถ.นครอินทร์ ถ.จรัญสนิทวงศ์ ถ.สิรินธร ถ.บรมราชชนนี และ ถ.ราชพฤกษ์

รวมทั้งจะเป็นโครงข่ายช่วยสนับสนุนการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะและระบบขนส่งมวลชน เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ที่กำลังก่อสร้างในปัจจุบันให้เกิดความต่อเนื่องของการเดินทางได้ดียิ่งขึ้น

.

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1344052842&grpid=01&catid=&subcatid=

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)