ผู้เขียน หัวข้อ: ท่านเปรียบไว้ว่า บิดามารดา.. เหมือนพรหม :พระกตัญญู.. ช่วยแม่ไถนา  (อ่าน 2473 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




พระกตัญญู ช่วยแม่ไถนา

ผู้สื่อข่าวของไทยทีวีสีช่อง 3 พบกับครอบครัวของ คุณยายทองมี ศรีสันงาม อายุ 63 ปี บ้านเลขที่ 91 หมู่ที่ 5 บ้านอาคุณ ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ กำลังทำนาอยู่ใกล้กับหมู่บ้าน และมีพระสงฆ์มาช่วยไถนา และช่วยดำนา เมื่อสอบถามคุณยายทองมี ทราบว่า พระ ชื่อ ว่าพระดับ ศรีสันงาม เป็น ลูกชายคนสุดท้องของคุณยายในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน ซึ่งออกไปมีครอบครัวกันหมดแล้ว มีพระดับ ลูกชายบวชมาได้ 3 ปี และจำพรรษาอยู่ที่วัดใกล้กับหมู่บ้าน เวลาทำนาทุกปี พระลูกชายจะมาช่วยแม่ไถนา ดำนา ถอนกล้าดำนา ทำมาตั้งแต่บวชได้ปีแรก เพราะว่าสงสารแม่ แม้จะอายุ 63 ปี ก็ยังมาขุดดิน ดำนา แม่ก็จะทำอาหารเพลไว้คอยพระมาช่วยไถ่นา ดำนาเสร็จก็ฉันเพล เมื่อฉันอาหารเพลแล้วพระจะกลับวัดเพื่อไปเรียนหนังสือ คุณยายทองมี บอกว่าดีใจมาก ภูมิใจมาก ที่ลูกมีความกตัญญูสงสารแม่ มาช่วยแม่ทำนาทุกปีแม้จะบวชแล้วก็ตาม


ส่วนพระดับ ลูกชายบอกว่า สงสารแม่ เห็นแม่ทำงานหนัก ก็เป็นห่วงสุขภาพเพราะแม่แก่แล้ว เมื่อลูกๆคนอื่นๆ แยกย้ายกันไปมีครอบครัวหมด ต่างคนต่างทำนา พระอยู่ใกล้แม่จึงตัดสินใจมาช่วยแม่ทำนา ทำมาตั้งแต่บวชปีแรก จนถึงปีนี้ เป็นเวลา 3 ปี ดีใจที่ได้ช่วยผ่อนแรงให้แม่ได้บ้างจะได้ไม่ทำงานหนักจนเกินไป










-http://talk.mthai.com/topic/122883

บิดามารดา ท่านเปรียบไว้ว่า บิดามารดาเปรียบเหมือนพรหม
เราเคารพบูชาท่านด้วยการ มีสติระลึกถึงเทวดานุสติ

๗. พรหมสูตร
[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใด บุตรบูชามารดาและบิดา
อยู่ในเรือนของตน ตระกูลนั้นชื่อว่ามีพรหม มีบุรพเทวดา
มีบุรพาจารย์ มีอาหุไนยบุคคล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าพรหม เป็นชื่อของมารดาและบิดา
คำว่าบุรพเทวดา เป็นชื่อของมารดาและบิดา
คำว่าบุรพาจารย์ เป็นชื่อของมารดาและบิดา
คำว่าอาหุไนยบุคคล เป็นชื่อของมารดาและบิดา

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะมารดาและบิดาเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้ถนอมเลี้ยง
เป็นผู้แสดงโลกนี้แก่บุตร ฯ มารดาและบิดาเรากล่าวว่า เป็นพรหม
เป็นบุรพาจารย์ เป็นอาหุไนยบุคคลของบุตร
เพราะเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร

เพราะเหตุนั้นแหละ บัณฑิตพึงนอบน้อมและพึงสักการะ
มารดาและบิดาทั้งสองนั้น ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน
การขัดสี การให้อาบน้ำ และการล้างเท้า
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นในโลกนี้ทีเดียว เพราะการ
ปฏิบัติในมารดาและบิดา บุคคลนั้นละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์


- http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 5&item=286


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



การตอบแทนพระคุณบิดา-มารดานั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้บุตรจะให้แม่นั่งบ่าขวา พ่อนั่งบ่าซ้าย ให้ท่านถ่ายอุจจาระและปัสสาวะรดลงบนบ่าลูก ลูกเช็ดให้ หาอาหารมาป้อนให้ จนกระทั่งท่านตาย หรือลูกตายจากกันไป ก็ไม่สามารถทดแทนค่าน้ำนม ค่าที่ท่านได้ช่วยกันทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยง เลี้ยงดูเรามาจนเติบโตมา ให้หมดสิ้นได้เลย

การที่จะตอบแทนบุญคุณของท่านให้ได้หมด จะต้องตอบแทนด้วยบุญที่เป็นโลกุตตระเท่านั้น

พระพุทธองค์ท่านได้ตรัสไว้อีกว่า 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรคนใดสามารถทำให้บิดามารดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้เป็นผู้มีศรัทธา ผู้ไม่มีศีล ให้รู้จักการถือศีล ผู้ไม่รู้จักให้ทาน ให้เป็นผู้ชอบบริจาค ผู้มีปัญญาทราม ให้เป็นผู้มีปัญญาดี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรคนใดทำได้อย่างนี้ บุตรคนนั้นชื่อว่าสามารถทดแทนพระคุณท่านได้จนหมดสิ้
เมื่อพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่า การทดแทนบุญคุณบิดา-มารดา เป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อย ไม่ง่ายเกินไป และไม่ยากเกินไปจนเราทำไม่ได้ แต่คนในปัจจุบันนี้ส่วนมากมักปล่อยปะละเลยเรื่องนี้กันมาก ไ่ม่ถือเอาเรื่องการตอบแทนบุญคุณพ่อแม่เป็นเรื่องใหญ่่ แต่กลับไปถือเอาเรื่องการเลี้ยงดูลูกเมียเป็นเรื่องใหญ่

มีนักปราชญ์นิรนามท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า
"ถ้าเพียงแต่คนเรานำเอาความรักที่มีต่อบุตรภริยา (สามี) ไปมอบให้แก่คุณพ่อ-คุณแม่บ้าง โลกนี้ก็จะน่าอยู่ไม่น้อย"
ผู้ที่ไม่กตัญญูต่อบิดา-มารดาเท่าที่ควร มีผลทำให้การทำมาหากินฝืดเคือง มีอุปสรรคมาก แม้ว่าจะมีบารมีข้ออื่นๆ มาก เช่น ปัญญา ขันติ วิริยะ เป็นต้น

การที่พ่อแม่ยอมลงทุนมีบุตรสักคน เพราะท่านเล็งเห็นว่า

ยามมีกิจ หวังให้เจ้า เฝ้ารับใช้
ยามป่วยไข้ หวังให้เจ้า เฝ้ารักษา
ครั้นเมื่อยาม ล่วงลับ ดับชีวา
หวังให้เจ้า ปิดตา เวลาตาย





"การให้ธรรมะพ่อแม่ เป็นการทดแทนพระคุณที่สูงสุด"
(สมเด็จโต พรหมรังสี)

ลูกเอ๋ย...ยามที่พ่อแม่ของเจ้ามีอายุมากขึ้น ย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บ
มาเบียดเบียน
ความแข็งแรงของร่างกายที่เคยมีก็ลดลง ใจน้อย โกรธง่าย
ความจำก็เสื่อม ขี้หลงขี้ลืม จิตใจก็หมดความสุขสดชื่น
ถึงแม้พวกเจ้า
จะคอยเอาใจใส่ดูแลใกล้ชิดสักเพียงใดก็ตาม
ก็ไม่อาจช่วยให้พ่อแม่ของเจ้า มีความสุขได้เต็มที่
เพราะพวกเจ้าทุกคนต่างก็มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ

เจ้าช่วยท่านให้ได้รับความสุขเพียงการให้กินอยู่หลับนอน
อันเป็นความสุขทางกายเท่านั้น
แต่จิตใจของท่าน หาได้ร่าเริงสดชื่นผ่องใสไม่
เจ้าจงจำไว้ว่า การให้ความสุขแก่พ่อแม่อย่างแท้จริง
ก็คือ การให้ธรรมะ
ด้วยการสอนหลักธรรมง่ายๆให้พ่อแม่ของเจ้า
พาท่านไปทำบุญทำทาน สอนท่านให้รู้จักการปฏิบัติบูชา
สวดมนต์ ภาวนา แผ่เมตตา
ธรรมะจะอยู่ในจิตใจของพ่อแม่เจ้า ทุกภพทุกชาติ
ถือว่าเป็นการทดแทนพระคุณที่สูงสุด
เจ้าจงจำไว้นะลูกเอ๋ย.....
"ธรรมโอสถ".....

คำสอนของสมเด็จโต ท่านได้บันทึกเอาไว้ด้วยลายมือของท่าน
อันเป็นอมตะวาจา......


ศรัทธากับกฎแห่งกรรม
ยก ตัวอย่างว่า ท่านไม่มีศรัทธาที่จะกวาดลานวัด สมภารบังคับท่าน ท่านจะไม่ได้บุญ ทำไปโดยถูกบังคับ ท่านจะได้บุญกันอย่างไรเล่า แต่ถ้าท่านตั้งใจทำ ท่านมีศรัทธากวาดเว็จ กุฎี ข้อปฏิบัติแล้ว ท่านจะได้บุญหมื่นเปอร์เซ็นต์ ไม่มีใครแบ่งของท่านไปได้ ท่านเป็นผู้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าตีระฆังปั๊บขอให้ภิกษุนวกะทำกิจวัตร ไม่ทำไม่ได้เพราะถูกบังคับ แหม! ถ้าเราไม่ทำไม่ได้ เดี๋ยวท่านจะว่า ต้องทำโดยซังกะตายทำ ทำโดยเสียไม่ได้ ท่านจะไม่ได้บุญ

ถ้าหากท่านถู เรือน กวาดบ้าน แล้วก็ทำด้วยศรัทธา เหงื่อหยดลูกคาง เดี๋ยวท่านก็จะหายเหนื่อยด้วยความชื่นใจ บ้านก็จะเรียบร้อย สะอาดหมดจดด้วยศรัทธา

ถ้าพ่อแม่บังคับให้ทำ แล้วก็ทำอย่างเสียไม่ได้ รับรองแล้วเสร็จแล้วก็ยังเหนื่อยใจ เสียใจว่าพ่อแม่บังคับเรา ไม่น่าจะมาข่มใจเราเลย ทำนองนี้เป็นต้น มันก็เกิดผลออกมาในรูปแบบนี้ ใจคอก็ไม่สบาย เสร็จด้วยความไม่สบายใจ แล้วผลของงานนั้นก็เสร็จด้วยความไม่เรียบร้อย สะอาดไม่หมดจด สะอาดไม่เรียบร้อย เพราะจิตใจไม่ดี

เหมือนกับว่าท่านตั้งใจเขียน หนังสือวิชาการบทหนึ่ง ท่านมีศรัทธาเขียน ท่านตั้งใจเขียน ท่านมีสติสัมปชัญญะ กำหนดจิตในการเขียน รับรองภาษาหนังสือท่านเรียบร้อย วรรคตอนก็เหมาะเจาะ ย่อหน้าก็เหมาะเจาะ เขียนติดหรือเว้นวรรคเป็นขั้นเป็นตอน ถูกทำนองคลองธรรม รับรองจดหมายหรือหนังสือนั้นจะสวยงาม เรียบร้อย อ่านก็ง่าย คล่องแคล่วว่องไวในการอ่าน คนอื่นก็อ่านออกหมด

เดี๋ยวนี้เขียน หนังสือกันตัวยึกยือ เขียนโดยเสียไม่ได้ ก็ทำไปโดยเสียไม่ได้ มันก็เลยเอาดีไม่ได้ อย่างนี้มันเป็นกฎแห่งกรรม เราจะเห็นได้ชัด
(วิธีใช้หนี้พ่อแม่ ฉบับหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน)



-http://wat-buddha-apa.de.tl/
%26%233588%3B%26%233640%3B%26%233603%3B%26%
233610%3B%26%233636%3B%26%233604%3B%26%
233634%3B_%26%233617%3B%26%233634%
3B%26%233619%3B%26%233604%3B%26%233634%3B.htm

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 24, 2012, 04:00:30 pm โดย ฐิตา »