ผู้เขียน หัวข้อ: ตีทะเบียน16โบราณสถาน ′วัดผีดุ-กรุงเก่า′ติดโผ  (อ่าน 1935 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ตีทะเบียน16โบราณสถาน ′วัดผีดุ-กรุงเก่า′ติดโผ
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1344754959&grpid=01&catid=&subcatid=-


ศาลเจ้าเกียนอังเกง


วัดพระยาทำวรวิหาร


วัดแก้วนอก บางบาล

ถึงวันนี้ มีแหล่งโบราณสถานทั้งวัด วัง และบ้านโบราณทั่วประเทศ ซึ่งกรมศิลปากรสำรวจแล้วเห็นว่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และเป็นสมบัติชาติ สมควรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วประมาณ 2,095 แห่ง จากแหล่งโบราณสถานในประเทศกว่า 6,493 แห่ง

 

ล่าสุด คณะกรรมการวิชาการเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานเห็นควรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 อีก 16 รายการ

 

สำหรับในกรุงเทพฯได้รับขึ้นทะเบียน 4 แห่ง คือ บ้านเลขที่ 130 เขตธนบุรี, ศาลเจ้าเกียนอังเกง, บ้านพระยาชลภูมิพานิช, วัดพระยาทำวรวิหาร

 

สำหรับศาลเจ้าเกียนอังเกง (บ้านกุฎีจีน) เขตธนบุรี หรือรู้จักกันในชื่อบ้านกุฎีจีน และตัวกุฎีจีน ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดกัลยาณมิตร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

 

เล่ากันว่า ศาลเจ้าเกียนอังเกงเป็นศาลเจ้าที่สร้างขึ้นโดยคนจีนที่ตามเสด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ปากคลองบางหลวง หรือคลองบางกอกใหญ่

 

ส่วนวัดพระยาทำวรวิหาร เขตบางกอกน้อย กทม. เดิมชื่อว่า "วัดนาค" เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ที่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ

 

เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานกันว่า สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แต่ยังไม่พบหลักฐานทางเอกสาร อย่างไรก็ตาม ประวัติวัดนาค ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า เมื่อราวปี พ.ศ.2313 พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปทรงปราบก๊กพระฝาง (เรือน) ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ในฝ่ายเหนือได้สำเร็จ และรับสั่งให้จับพระสงฆ์ฝ่ายเหนือที่ร่วมกับพระฝางทำความเดือดร้อนแก่ประชาชนทั้งหลายมาลงพระราชอาญาตามโทษานุโทษ และโปรดให้สังฆการีลงมาอาราธนาพระราชาคณะ และพระสงฆ์อันดับจากกรุงธนบุรีขึ้นไปบวชพระสงฆ์ในหัวเมืองเหนือทุกๆ เมือง

 

 1 ใน 6 พระเถระที่ขึ้นไปรับหน้าที่บวชพระครั้งนั้น มีพระธรรมเจดีย์ เจ้าอาวาสวัดนาค ไปจัดการคณะสงฆ์ที่เมืองพิษณุโลก รวมอยู่ด้วย

 

ต่อมา พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระพิมลธรรม และโปรดให้ไปครองวัดโพธาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ในปัจจุบัน ซึ่งแสดงว่า มีวัดนาคอยู่ก่อนสมัยกรุงธนบุรีแน่นอน

 

ยังมีโบราณสถานเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้รับขึ้นทะเบียน ได้แก่ บ้านขุนพิทักษ์บริหาร (บ้านเขียว) อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา, วัดดงหวาย อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา, วัดพระนอน อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา, วัดแก้วนอก (ร้าง) อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา, วัดธรรมาราม อ.พระนครศรีอยุธยา, วัดทองบ่อ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา, วัดดง อ.เมือง จ.นครนายก, วัดโพธิ์ไทร อ.เมือง จ.นครนายก,วัดจินดาราม (ดงข่า) อ.ปากพลี จ.นครนายก, วัดบ้านธาตุเหนือ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี, วัดบ้านธาตุใต้ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

 

ขณะที่มีโบราณสถานในเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี 1 รายการ คือเมืองศรีมโหสถ อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี

ผู้สื่อข่าวมติชนไปสำรวจที่วัดแก้วนอก (ร้าง) ต.มหาพราหมณ์ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ทั้งสิ้น 21 ไร่ สภาพเป็นเนิน มีทุ่งนาล้อมรอบทุกทิศ ที่ตั้งถือว่าเปลี่ยวห่างไกลชุมชน

 

บรรกาศภายในวัด เย็น ร่มรื่น เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ทั้ง ก้ามปู ต้นโพธิ์ ต้นไทร บนยอดเนินดินมีอาคารทรงบ้านปัจจุบันชั้นเดียว หลังคาจั่ว สร้างด้วยปูน หน้ากว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร มีพระพุทธรูปโบราณอยู่ภายใน 3 องค์

ไม่มีพระหรือผู้คนอาศัยอยู่แต่อย่างใด แต่มีร่องรอยว่าเคยมีคนอยู่ เนื่องจากมีการเดินสายไฟฟ้า และที่ประตูอาคารมีกุญแจคล้องอยู่แน่นหนา

 

โดยรอบอาคาร มีพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก 5-9 นิ้วปางต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปใหม่ตั้งอยู่ ด้านหน้าอาคารเป็นเนินดินมีร่องรอยการเตรียมการก่อสร้างอาคาร แต่ถูกทิ้งร้างมานานแล้วเช่นกัน

เยื้องไปทางทิศตะวันตกมีกุฏิก่อสร้างด้วยไม้แบบง่ายๆ ขนาดความกว้าง 3 คูณ 3 เมตร ปลูกอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่กว่า 10 หลัง ประตูกุฏิใส่กุญแจไว้ทุกหลัง

 

ด้านทิศตะวันออกพบอาคารไม้ปลูกแบบง่าย ๆ คล้ายศาลา ด้านในมีการตั้งโต๊ะหมู่บูชา และเช่นเคย ประตูถูกปิดล็อกด้วยกุญแจอย่างดี

 

จากคำบอกเล่า ไม่มีพระสงฆ์หรือคนมาอยู่อาศัยหรือดูแล เป็นวัดร้าง เพียงแต่มีร่องรอยของการตั้งสำนักสงฆ์เพื่อปฏิบัติธรรม แล้วถูกทิ้งร้าง แต่คงไม่นานนักเพราะข้าวของในวัดยังมีสภาพใหม่

 

นายสุรินทร์ ในเพียร อายุ 57 ปี และ นางเครือฟ้า ในเพียร อายุ 56 ปี สองสามีภรรยาที่มีบ้านพักห่างออกไปกว่า 700 เมตร แต่ก็ถือว่าอยู่ใกล้วัดที่สุด เล่าว่า เห็นวัดนี้มาแต่เกิด เป็นวัดร้างและผีดุมาก ไม่ค่อยมีใครอยากเข้าไปในวัดเพราะผีดุ หลอกทั้งกลางวันและกลางคืน

 

"จำได้ว่าแต่ก่อนไม่มีอาคารอะไร มีแต่เนินดินหลายเนินใต้ต้นโพธิ์ และมีศาลาเล็กสภาพเก่าคลุมพระประธานที่เป็นพระปูนเก่า 3 องค์ ชื่อหลวงพ่อแก้ว ซึ่งถูกโจรชั่วตัดเศียรไปนาน ตั้งแต่พวกเราเป็นวัยรุ่น วัดร้างมานาน เพิ่ง 4-5 ปีที่แล้ว มีพระสงฆ์จากที่อื่นเข้ามาพัฒนา ทำเป็นสำนักสงฆ์ร่วมกับโยมในกรุงเทพฯเข้ามาพัฒนาพื้นที่ แต่เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรเข้ามาห้าม เพราะเป็นการบุกรุกโบราณสถาน"

 

เมื่อมีประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานออกมา ชาวบ้านตอบรับเป็นอย่างดี เพราะอยากให้มีการพัฒนาวัด จะทำเป็นโบราณสถานหรือทำเป็นวัดมีพระจำพรรษาก็ไม่เกี่ยง ดีกว่าปล่อยให้ร้างอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

บรรยากาศเงียบเชียบวังเวงของวัดยามโพล้เพล้ ถ้ามีการขุดแต่ง อาจเปลี่ยนโฉมหน้าของสถานที่เก่าแก่แห่งนี้ให้สว่างไสว มีผู้สนใจมาชมมาศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาก็ได้

.


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)