ผู้เขียน หัวข้อ: ๔. ปริญเญยยสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้  (อ่าน 10388 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
           

๔. ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้


[๒๘๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้ ความ
กำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน? คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้.
[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนดรู้เป็นไฉน? ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้น
ไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้.
[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้กำหนดรู้แล้วเป็นไฉน? บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว
ควรจะกล่าวว่าพระอรหันต์ กล่าวคือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว

-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 530&Z=3541

รูปนามมันก็ประกอบด้วยขันธ์ห้านั้นแหล่ะ และขันธ์ห้าก็คือชีวิต
แต่ชีวิตจะเป็นขันธ์ห้าได้ ต้องกำหนดรู้หรือรู้

คนจึงแตกต่างจากสัตว์ในเรื่องขันธ์ห้า ทั้งๆที่มีชีวิตเหมือนกัน
สัตว์กำหนดรู้ไม่ได้ ส่วนพืชมันไม่มีขันธ์ห้า...

แล้วทำไมต้องรู้หรือกำหนดรู้ เพราะพระพุทธเจ้าทรงบอกว่า
การรู้ต้องรู้ด้วยสัมมาทิฐิ รู้สภาพตามความเป็นจริง
ดังนั้นถ้ามีใครบอกว่า ชีวิตคือขันธ์ห้ามันไม่ถูกต้องเพราะ
ขันธ์ห้าต้องกำหนดรู้ด้วยตัวของตัวเอง ไม่ใช่อ่านตามตำรา


43170.ชีวิต (ชีวิตินทรีย์- อินทรีย์คือชีวิต)
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43170&p=306880#p306880


ชีวิตเป็นสมมุติบัญญัติ ที่บรรดาอรรถกถาจารย์กำหนดขึ้นมา
เพื่อให้ทราบถึงสภาวะปรมัตถ์ธรรมที่เรียกว่า...ปฏิจสมุบาท

เกิด...แก่....เจ็บ...ตาย เป็นวัฎฎะสงสาร หรือเรียกว่าช่วงเวลาของชีวิต
ช่วงชีวิตหนึ่ง หมายถึงการดำเนินการของปฏิจจสมุบาท เริ่มตั้งแต่รูปนามจนถึง
มรณะนี่คือหนี่งช่วงชีวิต

ถ้าเราจะเอาขันธ์ห้าไปเปรียบกับชืวิต มันไม่ถูกต้องนัก..เพราะ
ช่วงเวลาหนี่งชีวิต มีการเกิดดับของขันธ์ห้านับครั้งไม่ถ้วน


และที่สำคัญชีวิต(ปฏิจจสมุบาท)เป็นเรื่องของ...อวิชา
ส่วนขันธ์ห้าเป็นเรื่องของ...วิชชา

ที่เกิดปฏิจจสมุบาท(ชีวิต)ขึ้นเป็นเพราะ เรายังไม่รู้ความมีอยู่ของขันธ์ห้า
การจะรู้ความมีอยู่ของขันธ์ห้าได้นั้น เราจะต้องได้รู้หรือเห็นกฎธรรมนิยามหรือไตรลักษณ์เสียก่อน
กระบวนการขันธ์ห้าจึงจะเกิดขึ้นได้ ธรรมนิยามหรือไตรลักษณ์มีลักษณะดังนี้...
ธรรมนิยาม กำหนดแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติ,
ความจริงที่มีอยู่หรือดำรงอยู่ธรรมชาติของมัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
แล้วทรงนำมาแสดงชี้แจงอธิบายให้คนทั้งหลายให้รู้ตาม มี ๓ อย่าง
แสดงความตามพระบาลีดังนี้
๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง
๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวง คงทนอยู่มิได้
๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นตัวตน;


เมื่อเราได้รู้ไตรลักษณ์หรือธรรมนิยามแล้ว พระพุทธองค์ทรงสอนว่า
กำหนดรู้ไตรลักษณ์เพื่อรู้ สฬายตนะ*12 และขันธ์ห้า ให้รู้ว่า ทั้งสองเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน

สรุปก็คือ ควรกำหนดรู้ไตรลักษณ์ สฬายตนะ**12 และขันธ์ห้าด้วยความเพียร
ก็จะรู้ว่า ชีวิตเป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เป็นกองทุกข์ ทำให้เกิดกระบวนการวัฏฏสงสารไม่สิ้นสุด


แยกให้ดูความแตกต่างของขันธ์ห้ากับชีวิตตามเหตุปัจจัย....
ขันธ์ห้าไม่ใช่ชีวิตแต่เป็นรูปนาม อันมีเหตุปัจจัยมาจาก...วิญญาณ
ส่วนชีวิตมีเหตุปัจจัยมาจากกระบวนการวัฏฏสงสาร นั้นคือการทำงานของรูปนามจนถึงมรณะ

--------------
        .................

ที่กายของเราเคลื่อนไหวได้ต้องอาศัยนามมาคอยบ่งการ
และตัวที่บ่งการ เรียกว่า....ชีวิตินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ไม่ใช่รูปแต่เป็นนาม ในทางปรมัตถ์มันเป็นอาการของจิต
เป็นสิ่งที่มาทำให้เกิด อาการ32 ทางกาย

-------------------------
                 ....................

ทำความเข้าใจสักนิด ปฏิจสมุบาทกับไตรลักษณ์เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน
ไตรลักษณ์เป็นกระบวนการขันธ์ห้า เป็น....วิชชา
ปฏิจสมุบาทเป็นวงจรชีวิต เป็น.............อวิชา

ไตรลักษณ์ มีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
แต่ปฏิจสมุบาท เกิดแล้วเป็นเหตุปัจจัยที่สืบต่อเนื่อง

บางท่านเกิดความเข้าใจผิดว่า ไตรลักษณ์เป็นอันหนื่งอันเดียวกับปฏิจสมุบาท
อาจเป็นเพราะคำบัญญัติที่ว่า อนุโลมปฏิจจสมุบาทกับปฏิโลมปฏิจจสมุบาท
อนุโลมเป็นปฏิจจสมุบาทสายเกิด ...สมุทยวารหรือสมุทัยสัจจ์
แต่ปฏิโลมปฏิจจสมุบาทสายดับ......นิโรวาธหรือนิโรธสัจจ์

ปฏิจจสมุบาทสายเกิด ก็คือความคงอยู่ของปฏิจสมุบาท
ปฏิจจสมุบาทสายดับ ก็คือความดับไปของวงปฏิจสมุบาท ความหมายอีกอย่างก็คือ
ความไม่มีปฏิจจสมบาท

การเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ห้า เป็นคุณลักษณะที่เอามาดับ
สมุทยวารหรือเหตุแห่งทุกข์ นั้นก็คือการดับไปแง่กระบวนการปฏิจจสมุบาท
ลืมบอกว่า ปฏิจจสมุบาทเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดทุกข์

ดังนั้นที่กล่าวมาตรงกับที่เคยกล่าวไว้ว่า

ทุกข์และสมุทัย..อยู่ในกระบวนการปฏิจจสมุบาท
ไตรลักษณ์ซึ่งเป็นมรรคและนิโรธผลของมรรค...อยู่ในกระบวนการขันธ์

------------------------
                      ....................

สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรู้เป็นอันดับแรก นั้นก็คือรู้ทุกข์และสาเหตุแห่งทุกข์
สิ่งที่ทำให้พุทธศาสนาแตกต่างจากศาสนาอื่นก็ตรงนี้ พระพุทธองค์ทรงบอกให้รู้
ความหมาย
ของทุกข์และสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

ทุกข์ของพระพุทธเจ้าก็คือ ...การเกิด แก่ เจ็บ ตายหรือวัฎฎสงสารเป็นทุกข์
และสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ก็คือชีวิตหรือกระบวนการปฏิจจสมุบาท

ต่อมาจึงค้นพบวิธีการดับทุกข์ นั้นก็คืออริยมรรค ท่านใช้อริยมรรคมาแทงตลอดปฏิจจ์ฯ
จนสายปฏิจจ์ขาดเกิดเป็นนิโรธ นี่แหล่ะเป็นการค้นพบอริยสัจจ์สี่ที่สมบูรณ์

ความหมายของคำว่า...รู้ ต้องเข้าใจด้วยว่า รู้อย่างหนึ่งเพื่อเอามาดับอีกอย่างหนึ่ง
สองสิ่งที่ว่าจึงไม่ใช่อย่างเดียวกัน อริยสัจจ์สี่กับปฏิจจ์สมุบาทจึงเป็นคนละอย่างและตรงข้ามกัน
คือมีอย่างหนึ่งต้องไม่มีอย่างหนึ่ง

สี่สิบห้าปีของพระพุทธเจ้า เป็นการเพียรพยายามที่จะให้ คนทุกชั้นวรรณะเข้าใจ
แก่นธรรมของพระองค์ หรือพูดง่ายๆว่า พยายามที่จะเปลี่ยนความคิดของคนที่
ยึดแต่เพียงว่า ความดีกับความชั่ว ทำดีแล้วขึ้นสวรรค์เป็นสุข ทำชั่วตกนรกเป็นทุข์
สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบอกก็คือ การเกิดมามีชีวิตแล้ว ไม่ว่าจะทำดีทำชั่วล้วนเป็นทุกข์
การไม่ต้องเกิดมาวนเวียนในการทำดีและชั่วเท่านั้น จึงจะพ้นทุกข์

สิ่งต่างๆที่กล่าวมาข้างบน ล้วนแล้วแต่มีมาก่อนที่พระพุทธองค์จะประกาศศาสนาเสียอีก
ศาสนาพราหมณ์ก็สอนเรื่องความดี ความชั่วแบบนี้ ลัทธิขงจื้อก็สอนเรื่องมงคลต่างๆเหล่านี้

แต่พระพุทธองค์ทรงสอนให้รู้ว่า ความดีความชั่วที่เป็น การกระทำ มันไม่ใช่ สาระ
ความเป็นจริงมันอยู่ที่จิต และสาระของจิตก็คือ ความเป็นกุศลและกุศล

--------------------------
                  .....................

สติปัฎฐานคืออะไร >> สติปัฏฐาน 4 = ที่ตั้งของสติ
การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง
คือตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเอง


อธิบายตามความหมายข้างบน การทำสติปัฏฐาน คือการใช้สติมาระลึกรู้
สัมมาทิฐิมาเป็นหลักในการพิจารณาธรรม ธรรมที่ว่าก็คือทุกข์

นั้นคือผู้ที่จะทำสติปัฏฐานเพื่อการตรัสรู้ได้นั้นจะต้อง
มีปัญญาสัมมาทิฐิแล้วเท่านั้น สติปัฏฐานไม่ใช่ทำเพื่อหาปัญญาสัมมาทิฐิ
แต่สติปัฏฐานเป็นสติที่ประกอบด้วยปัญญาสัมมาทิฐิ
เป็นองค์ธรรมเพื่อปัญญาวิมุตติ หรือการดับทุกข์


เห็นหลายคนในนี้เข้าใจผิดคิดไปเองว่า การทำสติปัฏฐานเป็นการทำ
เพื่อหาปัญญาสัมมาทิฐิ ไม่ใช่ครับ แต่มันเป็นการทำเพื่อละกิเลสครับ

จำไว้เลยว่า การใช้สติปัฏฐานทำเพื่อละกิเลสเพื่อการดับทุกข์
ส่วนสติธรรมดาคือการระลึกรู้ให้จิตอยู่กับปัจจุบัน เพื่อหาไตรลักษณ์
หาปัญญาสัมมาทิฐิ


----------------------------
                    .........................

กองทุกข์ทั้งหมดทั้งมวล อยู่ในปฏิจจสมุบาท ถ้าเราเรียกชีวิตเป็นปฏิจจสมุบาท
กองทุกข์ก็คือชีวิตด้วยเช่นกัน

ทั้งปฏิจจสมุบาทหรือชีวิต มันมีเหตุปัจจัยหนื่งที่ทำให้เกิดทุกข์
นั้นก็คือ อุปาทานขันธ์

มีบางคนเข้าใจผิดคิดว่า ขันธ์ห้าคือชีวิต...ผิดครับ
ส่วนที่เป็นชีวิตหรือปฏิจจ์ เขาเรียกว่า อุปาทานขันธ์

อุปาทานขันธ์ เป็นการรวมกันหรือเป็นปัจจัยร่วมระหว่าง อุปาทานในปฏิจจ์กับขันธ์ห้า
พระพุทธองค์สอนให้รู้การมีอยู่ของขันธ์ห้า ก็เพื่อให้แยกขันธ์ห้าออกมาจากปฏิจจ์
เมื่อแยกขันธ์ห้าออกมาจากปฏิจจ์แล้ว
ปฏิจจ์หรือชีวิตก็เป็นส่วนหนึ่ง ขันธ์ห้าก็เป็นส่วนหนึ่ง

พอจะเรียกได้ว่า ปฏิจจ์หรือชีวิตเป็นทุกข์ ขันธ์ห้าเป็นผู้รู้ทุกข์

---------------------------
                             ...................

การใช้สติในฐานกายหรือที่เรียกว่า กายานุปัสสนา ท่านกำหนดให้ทำเพื่อละกิเลส
กิเลสที่ว่าก็คือการยึดมั่นถือมั่นในกาย นั้นก็คือ สังโยชน์สักกายทิฐิ

อธิบายได้ดังนี้ การใช้สติบนฐานกายก็คือ การเอาสติไประลึกรู้สัมมาทิฐิ
เอาสัมมาทิฐิมาพิจารณากาย ดูกายไปตามความเป็นจริงว่า
กายเป็นเพียงสิ่งที่ จิตหลงไปยึดเป็นตัวเป็นตน
ยกตัวอย่างให้ดูธรรมหนึ่งจากหลายธรรมในเรื่องกาย เช่น
การพิจารณา ธาตุมนสิการ นั้นก็คือการใช่สติ พิจารณากายไปตามความเป็นจริงว่า
กายที่หลงยึดอยู่นั้น แท้จริงเป็นเพียงธาตุ ดิน น้ำ ลมไฟ
มาประชุมกันด้วย เหตุปัจจัยเพียงชั่วขณะ
เหตุปัจจัยที่ว่าก็คือสังขาร สังขารมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มันไม่คงทน
เมื่อมนสิการได้ดังนี้ จิตก็จะคลายจางความยึดมั่น
หรือคลายกำหนัดในกาย เป็นการ ละสังโยชน์สักกายทิฐิ

กายานุปัสสนาในบรรพของอานาปานสติ ท่านมีจุดประสงค์ให้รู้ถึง"กายสังขาร"
กายสังขาร ก็คือการที่จิตไปปรุงแต่งให้กายมีการกระทำไปในลักษณะต่างๆนั้นเอง

ท่านให้รู้ว่าลมหายใจอันเกิดที่กาย ยาวบ้าง สั้นบ้าง มีความแตกต่างกัน
อันความแตกต่างนี้ มันเกิดขึ้นเพราะ จิตสังขารหรือสังขารไปปรุงแต่งกาย
ให้เกิดอาการเหล่านั้น สรุปก็คืออาการเหล่านั้นเกิดได้เพราะ สังขาร
และด้วยเหตุที่ว่า สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั้น
เมื่อกายสังขาร(ลมหายใจ) เกิดเพราะสังขาร เมื่อไม่ยึดมั่นสังขาร มันก็จะทำให้ไม่
ยึดมั่นถือมั่นกายไปด้วย การไม่ยึดมั่นกาย ก็จะเป็นการ ละสักกายทิฐิ


สติที่ใช้ทำสติปัฏฐาน ต้องเป็นอินทรีย์ที่มีพละ หรือเรียกว่า..สติที่มีกำลัง
ที่สำคัญต้องมีความเพียรมาคอยช่วยเกื้อหนุน เกื้อหนุนอะไร ก็คือ...
สติที่มีกำลังดีแล้ว อาศัยความเพียร ให้ไประลึกรู้ สัมมาทิฐิ ให้เกิดอยู่เนื่องๆ

43226.ชีวิต .....เป็นส่วนของปฏิจจสมุบาท เข้าใจมั้ย!
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43226&p=307221#p307221

*  5) สฬายตน (Six sense - bases) ได้แก่ อายตนภายใน 6 อย่างคือ
1. จักขุ ตา
2. โสตะ หู
3. ฆานะ จมูก
4. ชิวหา ลิ้น
5. กายะ กาย
6. มโน ใจ


คำว่า สฬายตน มาจากคำสมาส 2 คำ คือ ฉ+ อายตนะ ฉ แปลว่า หก อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หมายถึง ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้หรือแดนต่อภายใน 6 แห่ง (เมื่อ 2 คำ ต่อกันเข้า ฉ เปลี่ยนเป็น สฬ ตามกฎในภาษาบาลี) หน้าที่ของอายตนภายในทั้ง 6 อย่างก็คือ รับความรู้จากโลกภายนอก แล้วรายงานต่อไปยังใจซึ่งเป็นศูนย์กลาง และขณะเดียวกันใจก็สามารถรับรู้โดยตรงได้ โดยไม่ต้องผ่านอายตนะ (ประตู) อื่น ๆ ได้ด้วย
(+ ผัสสะ อายตนภายนอก 6 = 12)
ปฏิจจสมุปบาท (dependent origination) - http://www.tairomdham.net/index.php/topic,2101.0.html


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 05, 2017, 04:20:37 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๔. ปริญเญยยสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 17, 2012, 02:38:41 pm »


ทำความเข้าใจเพิ่มเติม ในข้อที่ว่า ขันธ์ห้าไม่ใช่ชีวิตและไม่ใช่ปฏิจจสมุบาท
การที่เราเข้าใจไปว่า ตัวเราที่เป็นเราหรือรูปนามในปฏิจจสมุบาทเป็นเรา
เป็นเพราะ สักกายทิฐิ ไปบ่งการให้เกิดตัณหา ไปยีดมั่นถือมั่นรูปนามเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา
หรือเป็นชีวิตตามบัญญัติ ที่อรรถกถาจารย์บางท่านให้ความหมายไว้

การละการยึดถือกายเป็นตัวตนก็เคยกล่าวไว้แล้วว่า ใช้หลักกายานุปัสสนา
แต่มันมันยังมี การการปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่า แม้กระทั้งขันธ์ห้าก็ไม่ใช่ตัวตน

พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่อง การพิจารณาธรรมในบรรพของธัมมาวิปัสสนาฯ
ในเรื่อง...ขันธ์ห้า อายตนะ12
พูดสั้นก็คือ ....

กายนุปัสนา สอนให้รู้ว่ากายที่เราไปยึดแท้จริงไม่ใช่ตัวตนเป็นแค่ธาตุสี่
และสอนให้วิปัสสนาขันธ์ห้า สอนการเกิดดับของขันธ์ห้าและให้รู้ว่า ขันธ์มันเกิดได้อย่างไร
มันมีเหตุปัจจัยมาจากไหน
นั้นก็คือขันธ์ห้ามีเหตุปัจจัยมาจาก อายตนะ12นั้นเอง
เมื่อเกิดการกระทบกันของอายตนะ12 ย่อมเกิดผัสสะเกิดวิญญาณขันธ์ เวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ ขันธ์ทำงานเกิดดับเรียงกันไป

ที่นี้เรารู้แล้วว่า ขันธ์ห้ามีต้นตอมาจากอายตนะ12 แล้วอายตนะมันมีต้นตอมาจากไหน
ต้นตอของอายตนะก็คือ กาย(ธาตุสี่)อาทิ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัสและใจ

ที่กล่าวไว้ตอนแรกว่า การทำกายานุปัสสนาเพื่อให้รู้ว่า กายไม่ใช่ตัวตน
เมื่อกายไม่ใช่ตัวตน สิ่งเกิดจากกายก็ไม่ใช่ตัวตนเช่นกัน
ขันธ์ห้าเกิดจากกาย
ดังนั้นขันธ์ห้าก็ไม่ใช่ตัวตน การที่จะมากล่าวว่า
ขันธ์ห้าคือชีวิต มันไม่ถูกครับ


เราจะแยกให้รู้ว่าขันธ์ห้าไม่ใช่ชีวิตได้อย่างไร ก็ต้องไปดูพระอรหันต์
พระอรหันต์ละขันธ์ห้าได้แล้ว ไม่ยืดขันธ์แล้ว
แต่พระอรหันต์ยังมีรูปนามอยู่ นั้นก็คือท่านยังมีชีวิตอยู่
ถึงบอกว่า ชีวิตเป็นปฏิจจสมุบาท ไม่ใช่ขันธ์ห้า

-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43226&p=308226#p308226


ธรรมดาครับ เขียน:
เรียนถามว่า รู้ทันจิต กับ รู้ตามจิต ต่างกันอย่างไรครับ

--------------
                  ..........................
เช่นนั้น เขียน:
จิต เป็นวิญญาณธาตุ ที่มีธรรมชาติ "รู้"
การ "รู้" ของธาตุนี้ มีลักษณะ แปรปรวนเปลี่ยนแปลงตามเหตุตามปัจจัย
โดยมีลักษณะ
---รู้เสวยอารมณ์ เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอทุกขมสุข
---รู้ จำ อารมณ์ ต่างๆ
---รู้ คิด ตริ ตรึก ปรุงแต่งต่างๆ
ลักษณะ ทั้งสามนี้ เป็นการรู้ตามจิต

อะไรเป็นตัว รู้ที่ จะทำให้เห็นอาการรู้ตามจิตเหล่านี้ได้
ก็ต้องอาศัย รู้ที่สำคัญตัวหนึ่ง คือ ลักษณะรู้ ปรุงแต่ง ที่เรียกว่า "สติ"
เพราะ ธรรมชาติ ของสติ จะเป็นตัวระลึก ตัวกำหนดได้
ร่วมกับการปรุงแต่งอื่นๆ เข้าไปกำหนด ตัวลักษณะต่างๆ ของจิตที่ปรากฏในขณะนั้นๆ

******************************
โฮฮับ เขียน:
การรู้อารมณ์ต้องอาศัย....ปัญญา
การ"ระลึกรู้"หรือสติต้องอาศัย...สัญญา

การรู้ด้วยปัญญา คือการรู้ตามจิต....เพราะการรู้ตามจิต จะเกิดได้
ต้องอาศัยสติและปัญญาเป็นตัวนำ

ส่วนการรู้ทันจิต คือ มีสติตามหลัง นั้นก็คือจะต้องเกิดเวทนาและสัญญาเสียก่อน
และสติเป็นอาการของจิต ที่เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดกายสังขารและวจีสังขาร
**
การกำหนดรู้เป็นสัญญาไม่ใช่สติ ความหมายก็คือ จำได้หมายรู้กุศลธรรมไว้
เมื่อจิตไประลึกรู้สัญญา คือตัวกุศลธรรมนั้น จึงเกิดเป็นอาการของจิตที่เรียกว่าสติขี้น
**
การรู้ทันมันต้องอาศัยสติ และการจะมีสติได้
มันต้องมีการกำหนดไว้ก่อนหน้า เช่นการรู้ว่าจิตที่เป็นกุศลเป็นอย่างไร
จิตที่เป็นอกุศลเป็นอย่างไร เมื่อรู้แล้วเก็บไว้เป็นสัญญา สติจะเกิดต่อเมื่อ
จิตนั้นขณะนั้นเป็นอกุศล จิตจะไประลึกรู้ธรรมหรือสัญญาที่เป็นกุศล
เพื่อมาดับความเป็นอกุศลนั้น แบบนี้เรียกว่า...
รู้ทันจิต ความหมายก็คือรู้ทันอกุศลจิตนั้นเอง

จิตที่เป็นอกุศล ถ้ามีเหตุปัจจัยให้เกิดมันก็ต้องเกิด เพราะจิตปุถุชนย่อมมีกิเลส
แต่เมื่อเกิดแล้วสามารถดับมันได้ด้วยสติ
สติไม่ใช่การไม่ให้อกุศลจิตเกิด แต่เป็นการรู้ทันอกุศลจิต
นั้นคือเมื่อเกิดอกุศลจิต จึงเกิดสติเพื่อมาดับอกุศลจิตนั้น
ไม่ให้เกิดการปรุงแต่งกายและวาจา
**
เช่นนั้น เขียน:
จิต เป็นธรรมชาติ รู้ อารมณ์ ...ไม่มีปัญญา ก็รู้อารมณ์ได้
------------------

จิตไม่มีปัญญาก็ไม่รู้ เขาเรียกจิตที่ไม่มีปัญญาว่า.....หลงอารมณ์
"เช่นนั้น" แยกแยะให้มันถูกระหว่าง"รู้"กับ"รู้สึก"
"รู้" หมายถึง รู้ความเป็นมา รู้ความเป็นไป มันเป็น..วิชชา
ส่วน"รู้สึก" หมายถึง อาการเมื่อเกิดการกระทบแล้วเข้าไปยึด
และปรุงแต่งต่อ เขาเรียก...อวิชา

ขันธ์ห้าเป็นสังขารการปรุงแต่ง การหลงของปุถุชนและอริยชนจะหลงไปกับขันธ์
ขึ้นอยู่กับระดับการภาวนาเช่น...ปุถุชนพระโสดาบันยังหลงในสังขารขันธ์
แต่มีปัญญารู้กายรู้วาจา พระสกิทาคายังหลงในสัญญา แต่มีปัญญารู้สังขารขันธ์
พระอนาคายังหลงเวทนา แต่มีปัญญารู้สัญญา พระอรหันต์มีปัญญาวิมุตติ ไม่หลงแล้ว

เช่นนั้น เขียน:
สติ เป็นสังขารขันธ์
สัญญา เป็นสัญญาขันธ์
การระลึก จึงต้องอาศัย สังขารขันธ์ อื่นๆ ด้วยกัน จึงเกิดขึ้นได้ และจึงระลึกต่อสัญญา
การรู้ด้วยปัญญา หรือเห็นแจ้ง เป็นการรู้ตามจิตอย่างหนึ่ง ที่สำเร็จด้วยการภาวนา ด้วยการอบรม
การรู้ทันจิต คือความกำหนดได้ เมื่อเวทนา และสัญญาปรากฏพร้อมกันกับ สติ
เพราะความปรากฏ พร้อมกัน จึงรู้ทัน
..................................................

ทั้งสติและสัญญาล้วนแล้วแต่เป็นสังขาร หรือเป็นอาการของจิต
อาการของจิตไม่สามารถเกิดพร้อมกันได้ อาการแต่ละอาการของจิตเกิดและดับ
ไปพร้อมกับจิต สัญญาจะเกิดได้จะต้องให้อาการเวทนาดับไปก่อน และสติจะเกิดได้
สัญญาต้องดับไปก่อน (ตามหลักสันตติ)

เช่นนั้น เขียน:
สติเป็น อาการของจิต ในสังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เพื่อไม่ให้เกิดกายสังขาร หรือ วจีสังขาร
ถ้าเป็นดั่งที่ โฮฮับ อธิบายจริง ขณะมีสติ ก็คงกลายเป็นก้อนหินไปแล้ว
..................................................

สงสัยฟังไม่ได้ศัพท์ อ่านที่มาไม่ละเอียด ที่บอกว่า มีสติเพื่อไม่ให้เกิดกายและวจีสังขาร
ต้องดูที่มา สติเป็นอาการของจิตที่เป็นกุศล มันตรงข้ามกับจิตที่มีอาการเป็นอกุศล

การมีสติเพื่อไม่ให้เกิดกายสังขารและวจีสังขาร หมายถึง ในขณะที่จิตมีอกุศล
ต้องระลึกถึงธรรมที่เป็นกุศลเพื่อไม่ให้กายและวาจา ไปกระทำตามจิตที่เป็นอกุศล

เมื่อมีสติจะเกิดจิตที่เป็นกุศล กายและวาจาก็จะเกิดการกระทำที่เป็นกุศลตามจิต
อย่างเช่น มีใครมาพูดจากระทบกระเทียบจนเกิดความโกรธ ในขณะที่โกรธต้องรู้ทัน
ให้เกิดสติ สติจะไปยับยั้งไม่ให้เกิดการกระทำในการตอบโต้ แต่จะไปกระทำในสิ่งที่ตรงข้าม
เพราะจิตได้เปลี่ยนจากอกุศลเป็นกุศลแล้ว

อย่าลืมว่า สติเป็นอาการของจิตที่เป็นกุศล มันตรงข้ามกับอาการของจิตที่เป็นอกุศล
เมื่อจิตเปลี่ยนเป็นกุศลย่อมไม่เกิดการกระทำที่เป็นอกุศล แต่จะเกิดการกระทำที่เป็นกุศลแทน
การที่"เช่นนั้น" แย้งความเห็นผมว่า จะกลายเป็นก้อนหิน แสดงว่าไม่ได้รู้ในรายละเอียดของจิต

43687.รู้ทัน กับ รู้ตาม
-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43687&start=15
--------------...................

โฮฮับ เขียน:
สัญญาที่แปลว่า ความจำได้น่ะ
ไม่ได้หมายถึง ความจำในเรื่องเนื้อหาความคิด ความจำได้ในความหมาย
ของสัญญาคือ หมายรู้อารมณ์อันเกิดจากเวทนา ไม่ใช่จำได้ที่เกี่ยวกับสมอง

ในกระบวการขันธ์ สัญญาเป็นอาการของจิต ที่ไม่ได้เป็นทั้งกุศลและอกุศล
การจะเกิด กุศลและอกุศลได้จะต้องมีการปรุงแต่งของเวทนาและสัญญาจนเป็น.... จิตสังขาร


ขณะที่ตาเห็นสิ่งของ เขาเรียกสิ่งที่เห็นว่ารูป เมื่อเกิดเวทนา ในลักษณะเฉยๆ
กระบวนการขันธ์จะจบที่โมหะ แต่ถ้าเวทนาเกิดเป็นสุขหรือทุกข์ อาการจิตเป็น
โทสะหรือโลภะ จะเกิดการปรุงแต่งต่อที่ใจและธัมมารมณ์
ไอ้สีต่างๆ สวยหล่อ มันเกิดจากธัมมารมณ์(อาการของจิตเป็นเหตุ)มากระทบกับใจ
จนเป็นสมมุติสัจจะขึ้น สมมุติสัจจะคือ เหลือง แดง สวยหล่อ ปรมัตถ์สัจจะคือ แสงและรูป

สัญญามันเป็นสังขารการปรุงแต่ง มันเกิดจากการปรุงแต่งของเวทนา
มันไม่เกี่ยวว่าเป็นอกุศล ทั้งสัญญาที่มีเหตุปัจจัยที่มาจากกุศลและอกุศลล้วนเป็นกิเลส
เพราะสัญญาเป็นการปรุงแต่งของขันธ์
ตัวการของการปรุงแต่งก็คือกิเลส(สังโยชน์)

ขันธ์ห้าทั้งหลาย เกิดจากการปรุงแต่ง มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา
รู้ขันธ์ห้าแล้วต้องละ ไม่ใช่รู้แล้วปรุงแต่งขยายความไปมากขึ้น

สัญญาก็คือขันธ์ห้า มันเป็นสังขารการปรุงแต่ง เป็นเพราะจิตยังมีกิเลส
มันจึงเกิด เมื่อมันเกิดแล้วต้องดับ เมื่อมันดับก็ต้องปล่อยให้ดับ
อย่าไปเอามันมาเป็นเหตุปรุงแต่งต่อ แบบนี้เขาเรียก..อวิชา

-----------.......................
ธรรมอริยสัจสี่ก็เช่นกัน พระองค์ทรงสอนเรื่องขันธ์ห้าเป็นสังขาร
มันเป็นการปรุงแต่งอย่าไปยึด
บุคคลก็รู้ตามแบบที่พระพุทธเจ้าบอก แต่พอเวลากระทบก็เกิดขันธ์ห้าทุกที
แบบนี้เขาเรียกว่า....โลกียะ นั้นคือรู้แต่ทำไม่ได้
แต่ถ้ารู้แล้วทำได้เรียก.....โลกุตตระ


พวกเรากำลังเข้าใจผิดว่า ความรู้ที่เราได้รับจากโรงเรียนหรือจากไอสไตน์
เป็น โลกียะ และความรู้ที่พระพุทธเจ้าสอนเป็นโลกุตตระ มันไม่ใช่อย่างที่เราเข้าใจ
ความรู้ที่มาจากพระพุทธเจ้าหรือไอสไตน์ เป็นความรู้ที่เป็นจริงทั้งสองท่าน
แต่ในความเป็นโลกุตตระหรือโลกียะ มันขึ้นอยู่กับบุคคลที่มีต่อความรู้นั้นว่า
ยามเมื่อประสบเหตุการณ์ผลจะเป็นอย่างไร

ในความรู้ของไอสไตน์และพระพุทธเจ้า ชี้ว่าอะไรผิดไปจากธรรมชาติ
และชี้ให้เห็นว่า ธรรมชาติที่แท้จริงเป็นอย่างไร ความรู้ทั้งสองเป็นปัญญา
มันขึ้นอยู่กับเราเองว่า จะสามารถมองเห็นความรู้หรือปัญญาไปตามความเป็นจริงมั้ย
ถ้าเห็นตามความเป็นจริงก็เป็นโลกตตระ ถ้าไม่เห็นก็เป็นโลกียะ
เห็นตามความเป็นจริงนั้นคือ
การได้ประสบกับเหตุการณ์จริง
ไม่ใช่การมานั่งคิดเอาเองว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น ฉันต้องเป็นแบบนี้
อย่างนี้เขาเรียกจินตนาการไม่ใช่ความจริง

การมองเห็นธรรมชาติตามความเป็นจริง จึงจะปล่อยวาง พ้นทุกข์ได้
ปัญญาวิมุติ เกิดจากอริยมรรคมีองค์แปดหรือมรรคสมังคี
มรรคสมังคีจะเกิดได้ต้องมี สัมมาทิฐิหรือการเห็น
สภาพธรรมตามความเป็นจริง
เป็นผู้นำทาง


43814.ความรู้ และ ปัญญา
-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43814&start=15

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 19, 2012, 11:58:43 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กราบ-
*ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ที่เกิดมาแล้วที่พ้นจากชราและมรณะ
มีอยู่บ้างหรือไม่ ฯ

[๓๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรมหาบพิตร คนเกิดมาแล้วที่
จะพ้นจากชรามรณะไม่มีเลย แม้กษัตริย์มหาศาลซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี
โภคะมาก มีทองและเงินมากมาย มีทรัพย์เครื่องอุปกรณ์น่าปลื้มใจมากมาย มี
ทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย ก็ไม่มีพ้นจากชรามรณะ แม้พราหมณ์มหาศาลซึ่งเป็น
ผู้มั่งคั่ง ฯลฯ ก็ไม่มีพ้นจากชรามรณะ แม้คฤหบดีมหาศาล ก็ไม่มีพ้นจากชรา
มรณะ ภิกษุแม้ทุกองค์ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ หมดสิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว กระทำกรณียะเสร็จแล้ว วางภาระหนักลงได้แล้ว ได้บรรลุประโยชน์ของตน
แล้ว หมดสิ้นกิเลสเครื่องประกอบไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

ร่างกายนี้แม้แห่งพระอรหันต์เหล่านั้น ก็เป็นสภาพแตกดับ ถูกทอดทิ้งเป็น
ธรรมดา ฯ

-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
-------------------------

ฝึกจิต เขียน:
ชีวิตที่มี ตัณหา นำมาซึ่งทุกข์ จึงเป็นส่วนของปฏิจจสมุปบาท
พระอรหันต์ ก็ยังเรียกว่า มีชีวิตใช้ชีวิต แต่ไม่มีทุกข์
ความเห็นครับ
----------------------


พระอรหันต์ ถ้ายังมีชีวิตท่านยังต้องมีเวทนาทางกายอยู่ แต่ไม่มีเวทนาทางใจแล้ว
เวทนาทางกายไม่ส่งผลให้เกิดทุกข์ใหม่

ไม่มีทุกข์ใหม่ในที่นี่ก็คือการที่ไม่ต้องไปเกิดในรูปนามใหม่
ทุกข์เก่าก็คือรูปนามเดิมที่ยังมีชีวิตครับ


พระอรหันต์ยังมีร่างกายอยู่ ย่อมต้องมีผัสสะ เมื่อมีผัสสะมากระทบท่านย่อมรู้สึก
ความรู้สึกนี่เรียกว่าเวทนาทางกาย แต่เวทนาทางกายไม่ส่งผลไปถึงเวทนาทางจิต
ผัสสะมากระทบกายแรงๆท่านก็รู้ว่าแรง เบาก็รู้ว่าเบา มันจบตรงนั้น

------------------------
ฝึกจิต เขียน:
ท่านโฮ ครับ ตายแล้วไม่มีชีวิต ใช่มั้ย คนที่ยังมีอวิชชา ตายแล้วยังเหลือขันธ์มั้ยครับ
------------------------


คนที่ยังมีอวิชาตายแล้วก็ไม่มีชีวิต จนกว่าสังขารและวิญญาณจะจุติและปฏิสนธิ์
มายังรูปนามใหม่ เรียกว่าชีวิตใหม่

คนที่มีอวิชา ตายแล้วไม่มีขันธ์เพราะรูปกับนามแยกออกจากกันแล้ว
ขันธ์ห้าเกิดจากรูป(กาย) และขันธ์ห้าเกิดขี้น ตั้งอยู่และดับไปแล้ว
ร่างกายก็กลายสภาพเน่าเปื่อยไปแล้วย่อมไม่สามารถ ทำให้เกิดกระบวนการขันธ์ใหม่ได้
นามที่แยกออกไปก็ไม่ใช่ขันธ์ มันเป็นกองทุกข์ที่จิตยึดมั่นถือมั่นไว้ในลักษณะ
ที่เรียกว่า....สังขาร

สังขารในที่นี้ไม่ใช่สังขารขันธ์ แต่เป็น วิบาก ที่เกิดจาก  กรรม ของรูปนามเดิม ที่แตกสลายไป

อย่าลืมว่า กระบวนการขันธ์ห้า มันเป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ
ดังนั้นการจะพูดว่ามีขันธ์ห้ามันไม่ถูกต้องนัก ที่ถูกต้องเป็นรู้ขันธ์ห้า
และการที่บุคคลจะรู้ขันธ์ห้าได้จะต้องเป็นผู้มี วิชชา คือเห็นไตรลักษณ์แล้ว


ดังนั้นคนที่มีอวิชา จะเรียกว่ารู้ขันธ์ห้าไม่ได้ เป็นแค่ชีวิตๆหนึ่งเท่านั้น

อย่าเข้าใจผิดว่า การรู้ปริยัติเรื่องขันธ์ห้า แล้วจะบอกว่ารู้ขันธ์ห้า
ขันธ์ห้าเป็นปรมัตถ์ธรรม การจะรู้ต้องรู้ด้วยตนเอง การรู้ปริยัตมันเป็นแค่การรู้
สมมุติบัญญัตฺ(สัจจะ) มันไม่ใช่การรู้ที่แท้ครับ

----------------------

ฝึกจิต เขียน:
ถามท่านโฮต่อนะครับ
ที่ท่านโฮว่า คนที่ยังมีอวิชาตายแล้วก็ไม่มีชีวิต จนกว่าสังขารและวิญญาณจะจุติและปฏิสนธิ์
มายังรูปนามใหม่ เรียกว่าชีวิตใหม่
และวระหว่างนั้นเป็นอะไรเรียกว่าอะไรครับ
-------------------------------------------------
จะอธิบายตามปฏิจจสมุบาทนะครับ ถ้าเผื่อเรื่องที่คุณถามเป็นเรื่องในคัมภีร์
ต้องบอกด้วยว่า คัมภีร์อะไร อย่าลืมน่ะว่าผมอธิบายตามพระไตรปิฎก ไม่ใช่คัมภีร์
คัมภีร์บางเล่มเป็นการแต่งของอรรถกถาจารย์ใช้อ้างอิงไม่ได้ครับ
ถ้าจะให้อธิบายก็ได้ แต่ต้องบอกที่มาที่ไป

ในปฏิจจสมุบาท จะเห็นในส่วนของสังขาร
สังขารก็คือ วิบากหรือผลของกรรมอันเกิดจากการที่จิตไปยึดในกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมไว้
ความดีและความชั่วทุกอย่าง ที่ได้กระทำ ทุกอย่างที่กล่าวมา มันจะหมุนเวียนของ
มันเป็นไปเรื่อยซ้ำไปซ้ำมา ถ้าพูดแบบชาวบ้านอาจพูดได้ว่า กำลังชดใช้กรรมครับ

มันเป็นของมันอย่างนั้น จนกว่าสังขารจะเกิดวิญญาณ ไปรู้รูปใหม่
นั้นแหล่ะเรียกว่าไปเกิดใหม่ เป็นรูปนามใหม่ ธาตุสี่มีนามหรือวิญญาณ
มาประชุมร่วมกัน

---------------------------------------

ฝึกจิต เขียน:
ถามท่านโฮต่อนะครับ
แล้ว สัตตานัง นั้นหมายถึง สัตว์ผู้มีอวิชชา ที่ตายแล้วหรือ เปล่าครับ
ขอบคุณครับ
-------------------------------------------


มันรวมทั้งหมดแหล่ะครับ ทั้งคนและเดรัจฉาน
เดรัจฉานเหมือนคน เฉพาะคนที่มีอวิชาอยู่ เป็นทุกข์เกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน
ดังนั้นสัตว์ผู้มีอวิชา ก็หมายถีง คนหรือเดรัจฉานที่ยังมีชีวิต


คนแตกต่างจากเดรัจฉานตรงที่ คนสามารถมีปัญญาดับอวิชาได้
แต่เดรัจฉานทำไม่ได้
และต้องเข้าใจด้วยว่า "สัตว์" หมายถึง คนและเดรัจฉาน

------------------------
ฝึกจิต เขียน:
งั้นสรุปว่าตายแล้วเหลือสังขารอย่างเดียวหรือครับ สังขารโดดๆ หรือจิตที่มีสังขาร ครับ ช่วงระหว่างที่มีแต่สังขารอย่างเดียวเรียกว่าอะไรครับ ข่วงที่สังขาร+วิญญาณ เรียกว่าอะไร
...........................


คุณต้องเข้าใจก่อนครับว่า จิตเป็นบัญญัติที่ตั้งขี้นมา เพื่อใช้เรียกสิ่งที่เป็นนามธรรม
สังขารมันก็เป็นจิตอย่างหนี่ง แต่มันไม่มีวิถีจิตแบบขันธ์ จึงไม่ใช่สังขารขันธ์หรือขันธ์

วิถีของสังขารเป็นไปในลักษณะการหมุนวนแต่ของเก่า หรือสัญญาที่เก็บไว้ตอนยังมีชีวิต
เมื่อยังมีชีวิต จิตจะเก็บการปรุงแต่งทุกอย่างไว้เป็นสัญญา และไอ้สัญญานี่แหล่ะจะไปเป็น
สังขารเมื่อตายลง


ข่วงที่มีสังขารอย่างเดียว มันก็แล้วแต่จะเรียก ถ้าคนเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ ก็อาจเรียกว่า
การเสวยสุขเสวยทุกข์ ขึ้นสรรค์ตกนรกทำนองนี้ แต่ถ้าจะให้ถูกมันเป็น วิบากของการยีดมั่น
ถือมั่น
ครับ

ถ้าสังขารไปบวกกับวิญาณเมื่อไร มันก็กลายเป็นรูปนามแล้วครับ
หมายถึงเกิดการปฏิสนธิ์มาเกิดใหม่แล้ว แต่การที่สังขารจะเกิดวิญญาณได้
มันก็ต้องรอให้สังขารไปรู้
สภาวะธรรมใหม่ครับ สภาวะธรรมใหม่ก็คือ
สภาวะที่มีลักษณะคล้ายกับ สังขารที่ยึดมั่นถือมั่น
ไว้ก่อนนั้นเอง

อ่านแล้วกรุณาใช่วิจารณญาณเอาเองนะครับ

มีต่อค่ะ


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


ฝึกจิต เขียน:
ไม่ได่กวนนะครับ แต่ อยากรู้

-------------------------------------
ไม่เป็นไรไม่ต้องกลัวผมโกรธ ขอแต่ให้คุณตั้งสติ อย่าใช้โทสะเองก็แล้วกัน
เพราะผมจะเข้าประเด็นปัญหา ทีทำให้คุณถามชนิดที่หาที่สิ้นสุดไม่ได้
ตั้งใจฟังด้วยใจที่เป็นกุศลนะครับ

ก่อนที่ผมจะอธิบายเรื่องที่คุณถาม ผมจะบอกให้ว่า ผมตอบไปคุณก็ไม่รู้เรื่อง
จำได้มั้ยว่า ทุกครั้งที่คุณตั้งกระทู้ที่เกี่ยวกับปฏิจจสมุบาท ผมมักจะตำหนิคุณว่า"เดี่ยวก็สับสนเองหรอก"

เรื่องปฏิจจสมุบาท ถ้าบุคคลใดยังไม่รู้เรื่องอริยสัจจ์สี่ยังไม่เข้าใจเรื่อง อวิชาแปดและวิชชาสามก็ไม่มีทางเข้าใจปฏิจจสมุบาท
สรุปก็คือจะเข้าถึงปฏิจจสมุบาทได้ คุณจะต้องศึกษาและปฏิบัติในเรื่องไตรสิกขาให้สำเร็จก่อน
นั้นแสดงว่า มีแต่พระอรหันต์ที่เข้าถึงปฏิจจสมุบาท
ที่ผมมาอธิบายให้คุณฟังไม่ใช่ว่าผมเป็นอรหันต์นะครับ พอรู้บ้างแต่ปฏิบัติยังไม่ถึงครับ

--------------------------------
ฝึกจิต เขียน:
เหลือสังขารอย่างเดียว ไม่เหลือสัญญา แล้วสังขารเอาอะไรมาคิดวนไปมา

---------------------------------------------------------------------------
ทำความเข้าใจกับคำว่า"สัญญา"เสียก่อน สัญญาเป็นผลอันเกิดจากการนึกคิดปรุงแต่ง
เมื่อคิดเรื่องใดแล้ว สิ่งนึกคิดถ้าจิตไปยึดมันก็จะกลายเป็นสัญญา และการที่จิตไปนึกไปดึง
สัญญาเก่ามา สัญญาเก่าก็จะกลายเป็นสัญญาใหม่ ควรสังเกตุให้ดีก่อนว่า....
ผมบอกว่า สังขารเป็นสัญญาเก่า แต่ไม่ใช่ขันธ์ นั้นก็หมายถึง มันไม่ใช่สัญญาใหม่

-----------------------------------------
ฝึกจิต เขียน:
แล้วสังขารเอาอะไรมาคิดวนไปมา

-----------------------------------------

มันไม่ต้องคิด เพราะไม่มีร่างกายแล้วคิดไม่ได้ ความคิดมันหมายถึงการทำให้เกิดสัญญาใหม่
แต่สังขารเป็นสัญญาเก่า เป็นพลังงานที่อยู่ในธรรมชาติ มนุษย์ถ้าไม่มีสัญญาเก่าก็ไม่สามารถ
นึกคิดปรุงแต่งเรื่องต่างๆได้
และที่เราต้องมาเกิดแล้วเกิดอีก ก็เป็นเพราะ สัญญาเก่า ที่เรียกว่า...สังขารนี่แหล่ะ

เพื่อให้เข้าใจ คุณฝึกจิต รู้จักภวังคจิตมั้ย
ถ้าคุณเอาสภาวะทั้งสองมาเปรียบเทียบกัน
ภวังคจิต ก็เหมือนกับสังขาร แต่ไม่ใช่สังขารนะครับ
เพียงแต่จะยกมาให้ดูว่ามีบางลักษณะที่เหมือนกัน
นั้นก็คือ เมื่อตกอยู่ในภวังคจิต จะไม่มีวิถีแห่งจิต หมายความว่า...ไม่มีการทำงานของทวารทั้งหก
มันก็เหมือนกับคนที่ตายครับ แต่ไม่ใช่ตายนะครับ เพราะจิตยังยึดอารมณ์เก่าเป็นองค์แห่งภพ
นั้นก็คือยังมีสัญญาเก่า และยังมีมโนทวารตัวเดิมอยู่


เอาเป็นว่า สังขารและภวังคจิตเหมือนกันตรงที่ไม่มีวิถีแห่งจิต แต่ต่างกันที่..
ภวังคจิตยังมีมโนทวาร มโนทวารยังไม่มีวิญาณรับรู้
นั้นคือยังสามารถปรุงแต่งสัญญาใหม่ได้ โดยมีสัญญาเก่าเป็นเหตุปัจจัย

แต่สังขารไม่สามารถปรุงแต่งสัญญาเก่า เพราะไม่มีมโนทวารแล้ว

สังขารเป็นความรู้สึกในตัวของสังขารเอง มันเกิดความ ความไม่รู้ของจิต
เกิดอารมณ์ใดขี้นก็ปล่อยให้จิตเป็นไปในอารมณ์เดียวกัน จิตก็เลยเป็นอารมณ์
จิตยังไม่รู้อารมณ์


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๔. ปริญเญยยสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 17, 2012, 07:26:17 pm »

-------------------------------------
ฝึกจิต เขียน:
หรือไอ้ตอนที่สัญญากลายเป็นสังขาร มันมีการจำได้อยู่ด้วยหรือครับ

---------------------------------------
คุณกำลังเข้าใจสภาวะผิดอยู่นะครับ คุณจะเอาเรื่องขันธ์ห้ามาพูดด้วนๆไม่ได้
มันยังมีกระบวนการของมัน ยังมีวิถีจิต สัญญาถ้าคุณไปนึกถึงมันเมื่อไร
มันก็ไม่ใช่สัญญา
มันจะเป็นผัสสะตัวใหม่ เป็นมโนวิญญาณตัวใหม่ทันที

สังขารมันไม่ต้องอาศัยความจำ เพราะมันก็คือความจำหรือสัญญาเก่านั้นเอง
ที่บอกว่าสังขารคือสัญญาเก่า แล้วทำไมรู้ได้ ที่บอกว่ารู้เป็นเพราะคนที่เขามีปัญญาไม่ยึดใน
สัญญาแล้วมาเป็นคนพูดมาสอนให้ฟัง มันมีเพียงแต่ผู้ที่ไม่ยึดสัญญาจึงจะเข้าใจ
คนที่ยึดสัญญาจนเป็นสังขาร นั้นก็คือจิตที่เป็นสังขารนั้นเอง จิตแทนที่จะรู้และแยกออกมาต่างหาก
แต่จิตกลับเป็นในลักษณะรู้สึก หรือ
เป็นสัญญาเก่าเอง


หวังว่าคงเข้าใจว่า"รู้" กับ"รู้สึก" รู้คือมีอารมณ์แล้วไม่ยึดแยกตัวรู้ออกมาต่างหาก
แต่รู้สึกคือมีอารมณ์มากระทบก็เป็นไปกับอารมณ์นั้นๆ

----------------------------
ฝึกจิต เขียน:
ตอน จิตเป็นสังขารอย่างเดียวนั้น เรียกว่า อะไรครับ

--------------------------------------------------------
ถ้าเป็นในส่วนของปฏิจจสมุบาท เขาเรียก...วิบากครับ
หมายความว่า กรรมของรูปนามทุกอย่างที่จิตไปยึดจนเกิดเป็นกองทุกข์
ไอ้กองทุกข์ที่ว่าจะเปลี่ยนเป็นสังขาร วนเวียนอยู่กับสิ่งที่เป็นกองทุกข์ จนกว่าจะมีวิญญาณรู้
จิตก็จะปฏิสนธิ์ไปเป็นรูปนามใหม่ครับ
---------------------------------
ฝึกจิต เขียน:
และที่ท่านโฮว่า อธิบายตามพระไตรปิฏกนั้น ช่วยยกมาให้อ่านหน่อยซิครับ
ขอบคุณครับ

----------------------------------
พูดเป็นเล่นไป ให้ยกพระไตรปิฎก มาให้คุณดู คุณรู้มั้ยเรื่องที่มันเกี่ยวกับที่เราคุยกัน
ผมมิต้องเอาพระไตรปิฎกทั้ง84000พระธรรมขันธ์หรอกหรือ

พระไตรปิฎกโดยเฉพาะพระสูตร มีไว้แก้จริตเป็นเรื่องๆไป
มันไม่ใช่นึกจะโพสก็โพส

และอีกอย่างที่ผมคุยให้คุณฟัง มันไม่ใช่การแปลบัญญัติ
แต่เป็นการพิจารณาธรรมเป็นการให้ความเห็น ถ้าคุณจะเอาพระไตรปิฎก
คุณก็เคยเห็นแล้ว ก็ตัวคุณเองนั้นแหล่ะที่ชอบเอาโพสบ่อยๆ
จนผมต้องตำหนิว่า เอาประไตรปิฎกเรื่องปฏิจจสมุบาทมาโพส ถามหน่อย
เข้าใจสิ่งที่โพสหรือเปล่า

-----------------------------
ฝึกจิต เขียน:
ก็ท่านโฮบอกมาแบบนั่นนี้ครับว่าอธิบายตามพระไตยปิฏก ก็เลยถามเพื่อว่ามีอธิบายไว้ จะได้รู้ว่าปรุงแต่งตามความเข้าใจของตนหรือป่าว แต่ก็ขอบคุณมากครับ ที่ให้ความรู้

--------------------------------------------------------------

พุทธพจน์หรือพระไตรปิฎก ไม่ใช่เป็นแบบเรียน
แต่พุทธพจน์เป็นคำสอนเฉพาะบุคคลที่พระพุทธเจ้าได้พบมา

พระไตรปิฏกเป็นการ รวบรวมพุทธพจน์มาไว้ในที่เดียวกัน ดังนั้นการจะอ่านพระไตรปิฎก
บุคคลนั้นจะต้องเป็นผู้พิจารณาธรรมเป็น เพราะพุทธพจน์ดังกล่าว ไม่ใช่เป็นคำสอน
ที่สอนเรา แต่เป็นการสอนผู้อื่นไว้
ฉะนั้นการจะเข้าใจพุทธพจน์ได้ จะต้องเป็นผู้พิจารณาธรรมเป็น


การพิจารณาธรรมไม่ใช่การแปลบัญญัติ การอ่านอรรถกถาก็ไม่ใช่การพิจารณาธรรม
อรรถกถาเป็นเพียง คำแปลบัญญัติหรือแปลบาลีเท่านั้น


ความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า จะมีได้ย่อมต้องเชื่อก่อนว่าพระพุทธเจ้ามีอยู่จริง
ในกิเลสสังโยชน์ มันมีกิเลสเบื้องต่ำอยู่ตัวหนึ่ง มันทำให้บุคคลไม่เชื่อความมีอยู่ของพุทธเจ้า
พระพุทธองค์ทรงรู้ไว้ล่วงหน้าแล้ว จึงได้ตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรากถาคต"

ที่ทรงกล่าวแบบนี้ก็เพื่อให้ผู้ที่จะมาศืกษาพุทธศาสนา กำจัดกิเลสที่เรียกว่า "วิจิกิจฉา"ให้ได้เสียก่อน
เพราะผู้ใดยังมี..."วิจิกิจฉา" ย่อมต้องไม่เข้าถึงธรรมของพระพุทธเจ้า

การจะละวิจิกิจฉาต้องอาศัย ปัญญาสัมมาทิฐิมาดับ
เมื่อมีปัญญาและละวิจิกิจฉาได้แล้ว ย่อมเข้าใจที่มาที่ไปของธรรม
การพิจารณาธรรมเป็นความคิดอย่างหนึ่ง ความคิดตัวนี้ เรียกว่า...
"ธัมมวิจยะ" ผู้ที่สามารถใช้ธัมมวิจยะเป็น ธัมมวิจยะตัวนี้จะพัฒนาเป็น..สัมมาสังกัปปะ**ต่อไป   

การโพสพุทธพจน์ขึ้นมาแบบไม่มีสาเหตุ มันผิดหลักของการพิจารณา
พุทธพจน์มีไว้เทียบเคียง เมื่อผู้ศึกษาหรือปฏิบัติเกิดติดขัดสงสัย
ในธรรมที่กำลังปฏิบัติอยู่ จืงต้องเป็นผู้ที่พิจารณาหาธรรมใดหรือพุทธพจน์
มาแก้สิ่งที่ติดขัดได้ แบบนี้เรียกว่าการเลือกเฟ้นธรรม

ดังนั้นแสดงให้เห็นว่าบุคคลใด โพสพระไตรปิฎกโดยไม่เป็นไปในลักษณะ
เพื่อแก้จริตหรือแก้ข้อสงสัยในธรรม เป็นการแสดงถึงการด้อยปัญญา
ถูกกิเลสวิจิกิจฉาครอบงำ

- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43226&start=120

สัมมาสังกัปปะ สมฺมา ( ชอบ , ถูก ) + สงฺกปฺป ( ความดำริ )
ความดำริชอบ หมายถึง  วิตกเจตสิกที่ตรึกที่ลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรม
ที่กำลังปรากฏ เพื่อสติจะได้ระลึก ปัญญาจะได้ศึกษาในลักษณะของนามรูป 
สัมมาสังกัปปะมีอาการ ๓ อย่าง คือ ...
๑. ดำริในการออกจากกาม
๒. ดำริในการไม่พยาบาท
๓. ดำริในการไม่เบียดเบียน

-http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=9881



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


เช่นนั้น เขียน:
พระไตรปิฏกเป็นการ รวบรวมพุทธพจน์มาไว้ในที่เดียวกัน
เพื่อเป็นหลักอันมั่นคง ต่อผู้ศึกษา ในการพิจารณาธรรม อย่างถูกต้อง

---------------------------
ขอย้ำพุทธพจน์ไม่ใช่แบบเพื่อให้ศีกษา ยิ่งในพระสูตรยิ่งไม่ใช่ พูดให้ตรงความหมายก็คือ
พุทธพจน์ คือการปฏิบัติ ซึ่งต้องอาศัย การเลือกเฟ้นธรรม(ธัมมวิจยะ)
โดยมีปัญญาเป็นหลัก

เริ่มแรก พุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน เรียกว่า"พระธรรมวินัย"
นั้นคือมีในเรื่อง วินัยของสาวกและธรรมต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงสอนบุคคลต่างสถานที่
ต่างสถานะ


แต่ต่อมาหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว เหล่าสาวกที่ทำสังคายนา
ได้เพิ่ม บทพระอภิธรรมปิฎกเข้าไป จากพระวินัยหรือคำสอนของพระพุทธเจ้าแท้ๆ
จีงกลายเป็น พระไตรปิฎก ดังนั้นส่วนที่ใช่สำหรับศึกษาก็คือ...พระอภิธรรมปิฎก ไม่ใช่พระสูตร

คุณเช่นนั้นครับ ผมเห็นคุณแย้งผมหัวชนฝาเรื่อง "ไตรลักษณ์"
คุณบอกว่า"ไตรลักษณ์ไม่ใช่พุทธพจน์" แล้วนี่ไม่เข้าใจหรือว่า พระอภิธรรมก็ไม่ใช่พุทธพจน์

------------------------------
เช่นนั้น เขียน:
การศึกษาพุทธพจน์ และน้อมนำเข้าสู่จิตสู่ใจ แม้เพียงในชั้นบัญญัติ ก็ยังสามารถ
นำให้เกิดสุตตมยปัญญาได้ และนำไปปฏิบัติยิ่งขึ้นไป ก็นำให้เกิดจินตามยปัญญา
ต่อๆไป ซึ่งหากขาดเสียซึ่งความเข้าใจในบัญญัติ
ก็อย่าหวังว่าจะรู้ธรรมในปรมัตถสภาวะ คือมรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 อีกต่อไปเลย
----------------------------------------------------------


ก็เป็นแบบนี่ไงครับ เข้าใจผิดกัน สอนกันมาผิด หยิบเอาพุทธพจน์มาสอน
โดยไม่เข้าใจ

ปัญญาที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงมีหลายระดับ
สุตตะ จินตะและภาวณา มันเป็นวิธีการพัฒนาปัญญา
นั้นก็คือใช่ สุตตะ จินตะและภาวนามาพัฒนาปัญญาให้สูงขึ้น

แต่ที่แน่ๆ บุคคลที่พระพุทธเจ้าทรงสอนในเรื่องนี้
จะต้องเป็นบุคคลที่ผ่านสภาวะไตรลักษณ์มาแล้ว จึงจะเข้าใจในสุตตะได้
การได้เห็นสภาวะไตรลักษณ์ คือเห็นการเกิดดับของสภาวะ และเมื่อได้มาได้รับฟัง
จากผู้อื่นว่า สภาวะที่เห็นคือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวตนของขันธ์ห้า
นี่แหล่ะเรียกว่า......การเกิดสุตตมยปัญญา เป็นปัญญาขั้นต้นเรียกว่า..สัจจานุโลมิกญาณ

สรุปก็คือไม่ใช่อยู่ดีๆ แล้วแค่ฟังแค่อ่านจะทำให้เกิดปัญญา
บุคคลนั้นจะต้องเคยผ่านสภาวะไตรลักษณ์มา ไตรลักษณ์ก็เป็นปัญญาเบื้องต้น
แต่เพราะยังไม่เข้าใจในสภาวะที่เห็น จึงต้องอาศัยการฟังการอ่านอธิบายว่า.
ไตรลักษณ์คืออะไร เมื่อรู้แล้วจีงเรียกว่าปัญญาเบื้องต้นที่แท้จริง

---------------------------------

เช่นนั้น เขียน:
เมื่อในขณะที่จิตยังมี วิจิกิจฉา อันสืบเนื่องจากความเข้าใจต่อความรู้เดิมๆ
ขัดแย้ง กับความรู้ความเข้าใจ ซึ่งแสดงไว้ในพุทธธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ..
----------------------------------------


วิจิกิจฉา อันเกิดจาก ทิฏฐานุสัยในชั้นแรกๆนั้น จำเป็นต้องอาศัย ศรัทธาปสาสทะ ในการขจัดออก เพื่อเปิดโอกาสให้จิตนั้น ได้น้อมนำคำสอนมาสู่จิตสู่ใจ ซึ่งเรียกว่า โยนิโสมนสิการ อันจะนำไปสู่ความเห็นชอบในกาลต่อไปได้

จิตที่มีวิจิกิจฉา มันไม่ได้เกี่ยวกับความรู้เดิมๆ มันไม่เกี่ยวกับบัญญัติที่อ่านสักนิด
มันเกี่ยวกับสภาวะที่มาบดบังธรรม มันเป็นเรื่องเหตุปัจจัย การยึดมั่นถือมั่นสิ่งหนึ่ง
ทำให้ไม่เชื่ออีกอย่างหนึ่ง อาจจะมีใครบ้างคนบอกว่า เชื่อซิทำไมไม่เชื่อ
ก็ขอบอกเลยว่า งมงาย

สิ่งที่ทำให้ให้เกิดวิจิกิจฉา มันเป็นกิเลสอีกตัวที่เรียกว่า สักกายทิฐิ
แล้วสักกายะคืออะไร มันก็คือการหลงว่า กายนี้ใจนี่เป็นตัวเป็นตน
ผู้ซี่งยังไม่เคยผ่านไตรลักษณ์ ไม่รู้ความเป็นอนิจจัง ทุกขังและอนัตตาของสังขาร

ฉะนั้นผู้ที่จะสิ้นวิจิกิจฉา จะต้องเป็นผู้มองสภาวะตามความเป็นจริงเสียก่อน
เพราะมันเป็นต้นเหตุหรือเหตุปัจจัยของสัมมาทิฐิ เมื่อมีสัมมาทิฐิ วิจิกิจฉาก็จะหมดไป
ทำให้สามารถพิจารณาธรรมของพระพุทธองค์ได้ เพราะธรรมของพุทธองค์ก็เป็นเรื่องราว
ตามความเป็นจริงของธรรมชาติ

ธรรมชาติในที่นี้คือ ธรรมชาติของรูปนามน่ะ ที่สำคัญรูปนามเป็นปรมัตถ์
การอ่านการฟังโดยไม่เห็นการทำงานของรูปนามก่อน ย่อมต้องไม่ใช่การเห็น
ธรรมตามความเป็นจริง
ก็บอกแล้วไงแค่งมงาย


---------------------------------------

เช่นนั้น เขียน:
เมื่อ โยนิโสมนสิการ เกิดขึ้นจนดวงจิต เป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว
---------------------------------------------------------


โยนิโสนมสิการเกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีสัมมาทิฐิมาน้อมนำ โยนิโสฯเกิดจากมีสัมมาทิฐิเป็นเหตุ
ที่คุณเช่นนั้นบอกว่า "โยนิโสฯเกิดขึ้นจนดวงจิตเป็นสัมมาทิฐิ" แบบนี้มันเป็นเพียงความคิด

ความหมายของโยนิโสฯ คือการเอาสัมมาทิฐิเป็นหลักในการ
น้อมนำลงไปพิจารณาธรรม เพื่อดับสังโยชน์ พูดง่ายโยนิโสฯเป็นตัวเชื่อมระหว่าง..
สัมมาทิฐิกับธรรมที่กำลังพิจารณา

-----------------------------------------------
เช่นนั้น เขียน:
สติปัญญาอันได้ตั้งแต่ถือกำเนิดมาเพราะกุศลนำอยู่ในขณะที่มีโอกาสเป็นคนนั้น
แม้มีกำลังอ่อนก็สามารถพัฒนาให้มีกำลังมากขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการพิจารณาธรรม
ตามสมควรแก่กำลังสติปัญญาในเวลาต่างๆกันไป
ซึ่งเรียกว่า การทำจิตตภาวนา โดยอาศัยพุทธพจน์เป็นมรรค เป็นทางดำเนินไป
-------------------------------------------------------------------------------


สัตว์โลกไม่ว่าคนหรือเดรัจฉาน ที่ต้องเกิดมาเวียนว่าย ก็เพราะขาดปัญญา
ไม่ใช่ว่า การได้เกิดเป็นคนเพราะมีปัญญา เกิดเป็นเดรัจฉานเพราะไม่มีปัญญา

คนแตกต่างจากเดรัจฉานตรงที่ คนมีสติที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการได้มาแห่งปัญญา
แต่เดรัญฉานไม่มี

การกล่าวโดยเอาสติกับปัญญามาร่วมเป็นสิ่งเดียวกัน มันผิดผิดหลักความเป็นจริง
เพราะสติก็คือสติ ปัญญาก็คือปัญญา เป็นคนละส่วนกัน


คนไม่มีปัญญาก็สามารถมีสติได้
ส่วนคนมีปัญญาต้องอาศัยสติเป็นเครื่องนำทาง

ที่กล่าวมาเพื่อจะชี้ให้เห็นว่า การเอาพระสูตรเอาพุทธพจน์มาเป็นบทเรียน
ผลก็อย่างที่เห็น คือไม่เข้าใจในสภาวะที่เป็นจริง สับสนกับอาการของจิต

จำไว้เลยว่า พระสูตรมีไว้เพื่อแก้จริต จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้จะใช้ต้องมีสัมมาทิฐิ
เพื่อน้อมนำมาพิจารณาพระสูตร ไม่ใช่มาอ้างกันลอยๆ

การจะเข้าใจในพระธรรมได้ต้องอาศัยพระไตรปิฎก ในส่วนของ พระอภิธรรม
พระอภิธรรมที่มีขึ้นมา เพราะเหล่าพระอรหันต์สาวก มีจุดประสงค์มีไว้เพื่อศึกษา
ทั้งหมดทั้งมวลเป็นการอธิบายสภาวะธรรมต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้


---------------------------------------------
เช่นนั้น เขียน:
ดังนั้น การแสดงธรรม แม้เพียงพยายามอ้างพุทธพจน์ ด้วยความสำรวมระวัง
ก็เป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนา แต่หากแสดงธรรมเอง แล้วคิดเองเออเอง
ว่าเป็นธรรมที่พระองค์แสดงไว้
ย่อมเป็นการแสดงถึงความด้อยปัญญา อันเป็นทิฏฐานุสัยเดิมที่แสดงออกมา
-----------------------------------------------------


ต้องแยกแยะให้ดีว่า ธรรมที่บุคคลอื่นแสดงเป็นการคิดเองเออเอง หรือเป็นเพราะตัวเองไม่รู้
เลยทำให้เกิดอคติ เพราะความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนหลง จนเกิดอกุศลต่อต้าน

การอ้างพุทธพจน์เพื่อให้ระลึกนึกถีงพระพุทธเจ้า นั้นเป็นกุศล
แต่ถ้าจะเอาพุทธพจนน์มาอ้างโดยขาดความเข้าใจ อาจเป็นกุศลแต่มันขาดปัญญาครับ

ถ้าคุณเช่นนั้น จะโพสพระอภิธรรมปิฎก อธิบายว่า..
ปรมัตถ์คืออะไร จิต เจตสิก รูปและนิพานคืออะไร ผมจะไม่เถียงเลยว่า..
มันเป็นบทเรียน เป็นปริยัติ แต่ไม่ใช่เอาพระสูตรมาโพสโดยไม่มีที่มาที่ไป
พอมีคนเขาถาม ก็ตอบแต่บัญญัติในลักษณะแปล กลับไปกลับมาระหว่าง...บาลีกับภาษาไทย

43226.ชีวิต .....เป็นส่วนของปฏิจจสมุบาท เข้าใจมั้ย!


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


รูปนามมันก็ประกอบด้วยขันธ์ห้านั้นแหล่ะ และขันธ์ห้าก็คือชีวิต
แต่ชีวิตจะเป็นขันธ์ห้าได้ ต้องกำหนดรู้หรือรู้

คนจึงแตกต่างจากสัตว์ในเรื่องขันธ์ห้า ทั้งๆที่มีชีวิตเหมือนกัน
สัตว์กำหนดรู้ไม่ได้ ส่วนพืชมันไม่มีขันธ์ห้า...

แล้วทำไมต้องรู้หรือกำหนดรู้ เพราะพระพุทธเจ้าทรงบอกว่า
การรู้ต้องรู้ด้วยสัมมาทิฐิ รู้สภาพตามความเป็นจริง
ดังนั้นถ้ามีใครบอกว่า ชีวิตคือขันธ์ห้ามันไม่ถูกต้องเพราะ
ขันธ์ห้าต้องกำหนดรู้ด้วยตัวของตัวเอง ไม่ใช่อ่านตามตำรา

43170.ชีวิต (ชีวิตินทรีย์- อินทรีย์คือชีวิต)
-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43170&p=306880#p306880

------------................

ต้นไม้ไม่ใช่สัตว์ แต่มันมีชีวิต
เหตุที่มันไม่ใช่สัตว์เพราะ รูปนามของมันไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง...หรือไม่มีขันธ์ห้า

ต้นไม้เป็น....... วิสังขาร และเป็นอสังขตธาตุ
----------.......
อ่านพระสูตรเรื่อง รูปกายกับนามกายเพิ่มเติม
อาจจะเข้าใจถึง การมีปัจจัยที่อาศัยซึ่งกันและกัน
------------.............
ไตรลักษณ์ไม่ใช่สังขตธรรม
ไตรลักษณ์เป็น อสังขตธรรม

ไตรลักษณ์ไม่ใช่สังขาร(การปรุงแต่ง) แต่ไตรลักษณ์เป็นสภาวะที่รู้เห็น
ตามความเป็นจริงของสังขาร

ดังนั้นไตรลักษณ์และสังขตธรรมจึงเป็นธรรมคนละตัวหรือคนละสภาวะ
พูดง่ายก็คือ .......ไตรลักษณ์เป็นตัวผู้รู้ สังขตธรรมเป็นตัวถูกรู้

ท่านแบ่งสังขารในลักษณะของรูปไว้คือ
อุปาทินนกสังขาร.....สังขารที่มีกรรมยึดครอง บางท่านว่าใจครอง บางท่านว่าอุปาทานขันธ์
อนุปาทินนกสังขาร....สังขารที่ไม่มีกรรมยึดครอง บางท่านว่าไม่มีใจครอง หรือไม่อุปาทานขันธ์ครอง


พระอรหันต์ที่มีอารมณ์นิพพาน ท่านอยู่ในลักษณะของ..อนุปาทินนกสังขาร รวมทั้งต้นไม้
ก้อนดิน ก้อนหิน

สมุฐานสี่ อุตุ กรรม จิตและอาหาร เขาหมายถึง......รูป

ถ้าจะพูดถึงต้นไม้ มันต้องไปดูเรื่อง........นิยาม๕
นิยาม๕มันมีอะไรบ้างก็คือ

๑.ธรรมนิยาม
๒.จิตนิยาม
๓.กรรมนิยาม

๔.อุตุนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของปรากฏการณ์ ในธรรมชาติ
เกี่ยวกับวัตถุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด หลักของอุตุนิยาม ตามแนวพระพุทธศาสนามุ่งให้ผู้ที่เข้าใจ
เกี่ยวกับกฎธรรมชาติที่ว่าด้วยวัตถุ อุตุนิยาม คือลักษณะสภาวะต่างๆของธาตุทั้ง5
คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ

๕.พืชนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปในพันธุกรรม กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์
กฎข้อนี้จึงหมายรวมในเรื่องของร่างกายและกระบวนการทำงานของสิ่งมีชีวิตต่างๆ
ที่เกิดจากการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมด้วย
กฎพืชนิยามนี้ทำให้เมื่อเรานำเมล็ดข้าวเปลือกไปเพาะ ต้นที่งอกออกมาจะต้องเป็นต้นข้าวเสมอ
หรือสัตว์อย่างไร ย่อมออกลูกอย่างนั้นเสมอ
ความเป็นระเบียบนี้พระพุทธศาสนาค้นพบว่าเป็นผล มาจากการควบคุมของธัมมตาทั้ง3
คือ สมตา(การปรับสมดุล) วัฏฏะ(การหมุนวนเวียน) และ ชีวิต(การมีหน้าที่ต่อกัน)


44063.มารู้จักกับขันธ์ ๕ กันดีกว่าไหม

- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44063&p=313999#p313999
*****************
--------------------------....................................

ตัวอักษรที่เขียนว่าชีวิต เขาบัญญัติขึ้นมาใช้แทน สิ่งที่มีอยู่จริงหรือสัจจะ
สิ่งที่มีอยู่จริงเดินได้ กินได้ อุจจาระได้ เขาเรียกว่า...อุปาทินนกสังขาร
นั้นคือสังขารที่มีใจครอง

ดังนั้นชีวิตที่เป็นตัวอักษรหรือคำพูดเขาหมายสมมุติ
แต่ถ้าชีวิตที่หมายถึงสิ่งมีชีวิตหรือเรียกอีกอย่างว่า อุปาทินนกสังขาร มันเป็นสัจจะ
มันมีอยู่จริงไม่ใช่สมมุติ

ชีวิตก็คือมีรูปกับนามอยู่ รวมเรียกว่า อุปาทินนกสังขาร
อันนี้ได้แก่ คน สัตว์ สิ่งมีชีวิต
ส่วนมรณานั้นแสดงว่ามีแต่รูป ปราศจากนามแล้ว เรียกว่า ..อนุปาทินนกสังขาร
คนและสัตว์ที่ตายแล้วเหลือแต่ร่าง

อนุปาทินนกสังขารยังมีความหมายถึงสิ่งไม่มีชีวิตด้วยเช่น ภูเขา ก้อนหิน รถ
แต่ที่ว่ามายกเว้น พระอรหันต์ พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต แต่
ท่านจัดอยู่ในอนุปาทินนกสังขาร
ใจท่านไม่ปรุงแต่งแล้ว
----------......  ----------........  ----------........
สิ่งที่ทำให้คนเข้าใจผิดว่า ชีวิตคือขันธ์ห้า เป็นเพราะผู้ที่หลงเข้าใจผิด
กำลังหลงในสถานะของตนเอง นั้นก็คือไม่แยกแยะว่า คำพูดที่ตัวเองกำลังพูด
เป็นคำกล่าวของผู้ที่หลุดพ้นแล้ว ผู้ที่หลุดพ้นการยึดมั่นในขันธ์ห้าก็คือพระอรหัต์
กำลังกล่าวถึงอธิบายความให้เข้าใจว่าชีวิตคืออะไร ขันธ์ห้าเป็นอย่างไร

ถ้าเรามีสมาธิพิจารณาให้ดีแล้ว คำกล่าวคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์
ท่านไม่ได้กล่าวในขณะที่ท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านกำลังกล่าวในสิ่งที่เกิดก่อนที่ท่าน
จะมาเป็นพระอรหันต์

ถ้าเรารู้จักการใช้สติ ใช้สมาธิแยกธรรมก็น่าจะเข้าใจได้ แต่ทำไมมันเป็นแบบนี้ไปได้
ก็เป็นเพราะไม่รู้จักการใช้สติเบื้องต้น ไม่เข้าใจสมาธิมาตั้งแต่แรกแล้ว จึงทำให้ไม่เกิดการ
พิจารณาธรรม
----------------.........  -------------............  -------------..............
มาดูว่าทำไมจึงบอกว่า ขันธ์ห้าไม่ใช่ชีวิต
ขันธ์ห้าเป็นสังขาร ขันธ์ห้าเกิดจากสังขารไปปรุงแต่ง
สังขารคือ การปรุงแต่ง สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง
สังขตธรรม คือ ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง นั้นก็คือสังขาร
อสังขตธรรม คือ ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง นั้นก็คือวิสังขาร


ที่นี้มาดูความหมายของ สังขารที่หมายถึงรูปนาม
สังขารที่เป็นรูปนาม คือ สังขารที่มีใจครอง เรียกว่า อุปาทินนกสังขาร
นั้นคือสิ่งมีชีวิตต่างๆ

ส่วนสังขารอีกอย่างคือ สังขารที่ไม่มีใจครอง เรียกว่าอนุปาทินนกสังขาร
นั้นคือสิ่งไม่มีชีวิต.......ประเด็นสำคัญอยู่ตรงนี้ นั้นคือพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต
มีใจครอง เพียงแต่เราเรียกชีวิตของท่านไปในลักษณะรูปนาม
รูปนามของพระอรหันต์จึงเป็น.....อนุปาทินนกสังขาร

สภาวะธรรมของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต สภาวะของท่านคือ รูปนามของท่านเป็น.....
อนุปาทินนกสังขาร นั้นคือสังขารนั้นยังมีใจครอง แต่เป็นธรรมธาตุที่เรียกว่า..อสังขตธรรม

อสังขตธรรมที่ว่าก็คือ.....วิสังขาร
วิสังขาร ก็คือ อนุปาทินนกสังขาร นั้นคือสังขารที่มีใจครองแต่ไม่ปรุงแต่งแล้ว
อันได้แก่ พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต

ดังนั้นขันธ์ห้าเป็น สังขารที่มีปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมา ที่เราคิดว่าขันธ์ห้าคือชีวิต
เป็นการเข้าใจผิด เป็นเพราะอวิชา หลงไปยึดสิ่งที่ถูกปรุงแต่งเอามาเป็นตัวตน

ดังนั้นขันธ์ห้าเป็นสังขาร เกิดดับตามกฎไตรลักษณ์
มันเกิดขึ้นดับไปตลอดเวลา แต่การเกิดขึ้นดับไปของขันธ์ ไม่ได้ทำให้สิ่ง
ที่เรียกว่าชีวิตดับไปด้วย แสดงว่าขันธ์ห้าไม่ได้เกี่ยวข้องกับชีวิต

ก็เหมือนกับพระอรหันต์ที่มีชีวิต ท่านไม่ได้มีการปรุงแต่งขันธ์ห้าแล้ว
ขณะที่ท่านมีชีวิตในสถานะอรหันต์ ท่านมีใจครอง แต่เป็นอนุปาทินนกสังขาร
นั้นคือ เป็นวิสังขาร ไม่ปรุงแต่งขันธ์ห้าแล้ว
ภาษาธรรมะวันละคำวันนี้เสนอคำว่า... กิริยาจิต
**
ก่อนอื่นเราต้องรู้จุดประสงค์สุดท้ายที่เรามาปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
การไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด หรือการไม่ต้องมีชีวิตซ้ำแล้วซ้ำอีก นี่แหล่ะคือผลที่เราต้องการ

สิ่งที่พระพุทธองค์กำลังชี้ให้พวกเราเห็น ก็คืออะไรเป็นสาเหตุ ให้เกิดชีวิต
อะไรเป็นเหตุให้เกิดวัฏสงสาร
พระองค์กำลังบอกว่า ชีวิตที่มีอยู่นี้เกิดจากเราไปยึดเอาขันธ์ให้เป็นตัวเป็นตน

ชันธ์ห้าไม่ได้อาศัยกันและกัน การเกิดขึ้นของขันธ์มันมีสาเหตุมาจากสังขาร
แท้จริงแล้ว ชีวิตเป็นแค่รูปกับนาม แต่ที่เกิดเป็นขันธ์ห้าก็เพราะ
นามไปปรุงแต่งรูปจนเกิดเป็นขันธ์ห้าขึ้น

ดังนั้นการเกิดของขันธ์มีเหตุปัจจัยมาจากการปรุงแต่ง มันไม่มีอยู่จริง
พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นความไม่มีมีอยู่ของขันธ์ห้า ก็ด้วยกฎแห่งไตรลักษณ์
**
การที่บุคคลเห็นจิตลึกลับซับซ้อนเป็นเพราะ อวิชา
ถ้าว่าโดยชีวิต จิตใจเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันกับรูปหรือกาย
ต่างพึ่งพากันเพื่อให้ชีวิตดำรงค์อยู่
ส่วนความลึกลับซับซ้อนของชีวิต มันเกิดจากสมองที่เป็นส่วนของรูป
สมองสามารถจินตนาการให้เกิดเรื่องราวปรุงแต่งไปต่างๆนาๆ
**
นามขันธ์มันเกิดตามเหตุปัจจัย และเหตุที่เกิดไม่ใช่ความสัมพันธ์และอิทธิพล
ตัวอิทธิพลที่ทำให้เกิดขันธ์ มันก็คือสังขาร ถ้าไม่มีสังขารก็ไม่มีเหตุให้เกิดขันธ์ห้า
**
ตามหลักอริยสัจจ์สี่ มันเป็นเหตุแห่งทุกข์--- ..  พระพุทธองค์ให้รู้แล้วละเสีย
นั้นก็คือรู้เหตุนั้นก็คือสังขาร รู้ว่าสังขารทำให้เกิดอะไร ที่เรียกว่าการยึดมั่น
เป็นเพราะอะไรจึงเกิดการยึดมั่น  สรุปก็คือท่านให้รู้แล้วอย่าทำ รู้แล้วละมันเสียด้วยมรรคมีองค์แปด
---.....
ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่เวทนา ความสำคัญมันอยู่ที่การรู้รูปรู้นาม
การรู้รูปรู้นามเพียงแค่นี้ก็เป็นการรู้ที่แท้จริงปราศจากการปรุงแต่ง

เวทนามันเกิดจากการปรุงแต่งผัสสะ ตามความจริงแล้ว
พระพุทธองค์ทรงสอนว่า มีสิ่งใดมากระทบกายก็แค่รู้ว่าเกิดการกระทบขึ้นแล้วให้จบ
อยู่ตรงที่ผัสสะการกระทบ อย่าให้นามปรุงแต่งจนเกิดเวทนาขึ้น

เวทนาทางกายไม่ได้หมายถึงเวทนาขันธ์
เวทนาทางกาย มันเป็นผัสสะอย่างหนึ่ง
---....
เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ มันเป็นขันธ์
มันเป็นผลหรือบทสรุปในการกระทำของรูปกับนาม ตัวอย่าง เช่นเกิดการกระทบทางกาย
ส่วนที่รับรู้คือประสาทกาย เมื่อรู้แล้วเกิดการปรุงแต่งมันจะเป็นสภาวะนามที่เรียกว่าวิญญาณขันธ์
ถ้ารู้ผัสสะเฉยๆ เรียกวิญาณหรือจิตผู้รู้ แต่ถ้ารู้แล้วปรุงแต่งจิตรู้จะกลายเป็นขันธ์ และขันธ์ตัวนี้
จะกลายเป็นเวทนาทางใจ    *** ธรรมะวันละคำ วันนี้เสนอ... อริยสัจจ์สี่
----------------...........................
การเวียนว่ายตายเกิดหรือการมีชีวิตหลายครั้ง พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า...เป็นทุกข์
การหลงว่าขันธ์ห้าคือชีวิต แท้จริงมันเป็นการปรุงแต่ง
เพราะขันธ์ห้าเป็นเพียงสังขารที่ไปปรุงแต่งรูปนาม
ดังนั้นขันธ์ห้าไม่มีอยู่จริง สิ่งที่มีอยู่จริงคือ รูปกับนาม
การมองเห็นรูปนามตามความเป็นจริง นั้นคือเห็นปฏิจสมุบาท
การมองเห็นขันธ์ห้าเป็นเพียงสังขารการปรุงแต่งของรูปนามนั้นคือ เห็น...ไตรลักษณ์
รูปนามเป็นทุกข์..ขันธฺห้าเป็นเหตุแห่งทุกข์..ไตรลักษณ์เป็นมรรค..การดับของขันธ์ห้าเป็นนิโรธ
- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/

43600.แท้จริงแล้วขันธ์ของคนก็ คือ.....งงล่ะซิงง?
-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43600&start=15

----------------------------....................

(อาภัพบุคคล) หมายถึงบุคคลที่ไม่สามารถ เข้าถึงธรรมของพระพุทธเจ้า
ได้แก่คน ๔ ประเภทคือ .....
---------------..........................
---------------------------------
อายตนะภายนอกทั้งหก ที่เราสามารถรับรู้หรือเกิดการกระทบจนเกิดเป็น อารมณ์หรือนามได้
เป็นเพราะ อายตนะภายในทั้งหก อายตนะภายในทั้งหกก็คือ หู ตา จมูก ลิ้น กายและใจ

อารมณ์ต่างๆที่เกิดการกระทบของอายตนะ แล้วเราก็เข้าไปยึด กายหรือร่างกายทั้งของเรา
และคนอื่น ทั้งสัตว์และสิ่งที่เรียกว่าชีวิต เราไปยีดมั่นจนเป็นตัวเป็นตน

และสาเหตุหรือสมุฐานที่ทำให้เกิดการยึดมั่น เพราะตาเราไปเห็น กายหรือร่างกายเป็นตัวเรา
ตาจึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เห็น สมุทัย เมื่อเห็นเหตุแห่งทุกข์จึงสมารถดับทุกข์ได้

การใช้หลักของโยนิโสฯก็คือ น้อมจิตเอาปัญญารู้ไตรลักษณ์ เอาสภาวะไตรลักษณ์ที่ว่า...
สังขาร ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เอามาพิจารณาธรรมที่เกิดหลังจากการกระทบจนเป็นอารมณ์
แท้จริงแล้ว เป็นแค่สังขาร ไม่เที่ยงเป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวตน
พิจารณาดังนี้จะทำให้ไม่ไปยึดเอาอารมณ์เป็นตัวตน รู้แค่ว่ามันเป็นการปรุงแต่ง
เมื่อมันเกิดแล้วก็ดับ


ทำได้อย่างนี้จิตที่เคยมองเห็นสิ่งภายนอกเป็นตัวตนเราเขาก็จะดับ
ที่สำคัญการมองเห็นเมื่อในอดีตว่า ร่างกายที่เรามองเห็นเป็นตัวตน
มันเป็นแค่รูปที่ตาไปกระทบ แล้วเกิดอารมณ์สังขารปรุงแต่ง...
........................ แท้จริงแล้วมันเป็นมหาภูติรูปสี่ เป็นแค่ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ

ที่กล่าวข้างบน ต้องผ่านการละ สักกายทิฐิให้ได้ก่อนจึงจะเห็นสภาวะนั้น
หลักการละสักกายทิฐิ ต้องอาศัยตาและจักขุปสาทรูปเพี่อหาสมุฐานหรือเหตุ
จึงจะดับเหตุนั้นได้
------------------------..........................
*ปรโตโฆสะ*คือธรรมภายนอก เป็นธรรมที่ต้องพิจารณา
*ปัญญาสัมมาทิฐิ* คือการมองธรรมตามความเป็นจริง นั้นคือการไม่ยึดเอาธรรมที่
กำลังพิจารณาเป็นตัวตน

*โยนิโสฯ คือ การที่จิตน้อมเอาปัญญาสัมมาทิฐิมาเป็นหลัก แล้วไล่หาเหตุและผลในธรรม
หรือปรโตโฆสะนั้น กล่าวได้ว่า....โยนิโสฯเป็นปัญญา(ธัมวิจยะ)ที่มุ่งตรงต่อ.....
ปัญญาสัมมาสังกัปปะ

-------------............................
หลักกาลามสูตรใช้ไม่ได้ทุกกรณีมั้ง
มันใช้ได้ถ้าเราใช้โดยมีสัมมาทิฐิคอยกำกับ
ตรรก ถ้ามีสัมมาทิฐินำหน้า เขาเรียกตรรกนั้นว่า ......
ปัญญาสัมมาสังกัปปะ

43771.ปวดหัวกับคำศัพท์จริงๆ
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43771&start=30

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 21, 2012, 06:30:53 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๔. ปริญเญยยสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2012, 12:47:46 pm »


ความสุข ความทุกข์และเวทนาคืออะไร
ความสุขมันเป็นกิเลสตัณหาหรือสังโยชน์อย่างหนึ่ง
มันเป็นเป็นเป็นเหตุทำให้เกิดกระบวนการชันธ์ห้าหรืออุปาทานขันธ์
แล้วมันมาเกิดในจิตในใจได้อย่างไร ก็เพราะเราไปรับมันเข้ามาพร้อมกับ
อายตนะภายนอกเมื่อเกิดการกระทบของสฬายตนะ

ความทุกข์ ในความหมายของพระพุทธเจ้านั้นก็คือ
การ เกิด แก่ เจ็บ ตายวนเวียนกันไม่รู้จบสิ้น แบบนี้จึงเรียกว่า...ความทุกข์

ส่วนเวทนา คือการรับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น
อารมณ์ที่ว่านี้ มันไม่ใช่ ความสุขหรือความทุกข์ มันเป็นเพียงสภาวะที่เกิดจากผัสสะ
ผลของผัสสะหรือสภาวะต่างๆที่ได้รับจากทวารแต่ละทวารของทวารทั้งหกต่อเมื่อเกิดสัญญาขึ้น
นั้นก็คือการจำได้หมายรู้ในลักษณะที่เคยเกิดการกระทบในอดีต
คือ เย็น ร้อน อ่อนแข็ง.....ฯลฯ สิ่งที่ตามมาก็คือ อาการของจิตสังขาร คือ....
โมหะ โทสะและโลภะ

ที่เราเข้าใจว่า เป็นสุข เป็นทุกข์นั้น แท้จริงเป็นการเข้าใจผิดมาก
มันเป็นอาการของจิตที่เกิดความหลง เกิดเป็นโทสะและโมหะสลับสับเปลี่ยนกันของจิต
เมื่อเกิดอกุศลจิตสาม มันทำให้เกิดขันธ์ห้า

------------------...........................

เหตุมันทำให้เกิดผลที่เรียกว่า...สุข
แต่เนื่องด้วยความรักและความสุข มันเป็นกิเลส มันจะส่งผลให้เกิดทุกข์(วัฏสงสาร)
พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ใช้ พรหมวิหารสี่มาเยียวยาโลก เพราะเราต้องวางอุเบกขา
ต่อความรักและความสุขนั้น
------............
กระบวนการขันธ์ห้ามันเกิดจาก มีเหตุปัจจัยไปปรุงแต่งกิเลสตัณหา มันจึงทำให้เกิดขันธ์ห้า
ถ้าเรามีปัญญารู้เห็นสภาพสังขารเกิด ตั้งอยู่ ดับไปตามความเป็นจริง มันก็จะไม่เกิดขันธ์ห้า
ที่เราเกิดขันธ์ห้า เพราะเรายังไม่เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป

-----------............
อาการจิตที่แท้จริงมันคือความหลง
ถ้ามันเกิดกับปุถุชน มันจะเป็นอาการของ โลภะและโทสะ สลับกันไป
----------...........

ความหมายของ "สุข"ตามพระธรรมมันคือความทุกข์
เราต้องเห็น"สุข"เป็นทุกข์ให้ได้ จิตมันจะได้เลิกไขว่คว้าหาสุข
แบบนี้เรียกว่า จิตวางอุเบกขาหรือปล่อยวาง
----------..........

บุคคลหรือพระอริยะยังมีขันธ์ห้า แต่พระอรหันต์ไม่มีแล้ว
พระอริยะที่ยังมีขันธ์อยู่เป็นเพราะ ยังละกิเลสสังโยชน์ได้ไม่หมด
กิเลสสังโยชน์เป็นเหตุแห่งทุกข์ เหตุการปรุงแต่งให้เกิดขันธ์ห้า ก็มาจากกิเลสสังโยชน์ที่ว่านี้

พระอรหันต์มีเพียงรูปกับนามที่ไม่มีเหตุมาปรุงแต่งแล้ว เมื่อไม่ปรุงแต่งย่อมต้อง
ไม่มีกระบวนการขันธ์ห้า

รูปของพระอรหันต์เป็นเพียงกายที่มีธาตุสี่มาประชุมกัน นามของพระอรหันต์ไม่ไปยึดรูปมาปรุงแต่ง
มันจึงไม่เกิดรูปขันธ์ และนามที่เกิดจากผัสสะหรือกายที่เป็นธาตุสี่ เป็นเพียงกิริยาจิตหรือเป็นเพียง
จิตผู้รู้ เป็นนามแต่ไม่ใช่นามขันธ์

กายของพระอรหันต์ไม่ได้ประคองอะไร ไม่ได้ประคองจิต ยิ่งบอกประคองขันธ์ยิ่งไม่ใช่
พระอรหันต์ย่อมรู้ว่า .....จิตหรือนามมันเกิดขึ้นมาตามเหตุปัจจัย
เกิดแล้วก็ดับ และเหตุปัจจัยที่ว่าก็คือ ทวารทั้งหกหรือกาย เมื่อกายแตกสลายลง
ย่อมต้องหมดเหตุ จิตก็ย่อมหมดไปตามกายที่ว่านั้น วัฏฏะแห่งรูปนามก็หมดไปด้วย


ลักษณะของปุถุชน ขันธ์ห้าเป็นกองทุกข์
ถ้าไปดูในวงปฏิจสมุบาท ไล่ตั้งแต่อวิชามาจนถึงชรา มรณะ
ทั้งหมดรวมเรียกว่ากองทุกข์ ขันธ์ห้าก็คือกองทุกข์ในปฏิจฯ
------------......................

จิตที่เป็นขันธ์ห้าในปุถุชน มันจะเกิดกระบวนการเริ่มต้น ตั้งแต่ได้รับกิเลสทางทวารทั้งห้า
เมื่อได้รับกิเลสมาทางทวารใดทวารหนึ่งแล้ว ย่อมต้องต้องเกิดเป็นกระบวนการขันธ์

กระบวนการขันธ์จากผัสสะนั้นจะมาจบที่ สังขารขันธ์(อาการของจิต)
อาการของจิตที่เป็นอกุศล(โมหะ โทสะและโลภะ) มันจะเกิดการปรุงแต่งต่อ
ในรูปของ ธัมมารมณ์นั้นก็คือก็เกิดการคิดขึ้นที่สมองหรือหทัยวัตถุ
----------...................

ความว่างมันจะเกิดขึ้นได้มันต้องปิดทวารทั้งหก
ปิดเพี่อไม่ให้เกิดผัสสะ เมื่อไม่มีผัสสะจิตก็ว่าง
----------................
จิตวางอุเบกขากับจิตว่าง
พระอรหันต์จิตว่าง ท่านยังมีทวารทั้งหกอยู่
ท่านยังใช้ทวารนั้น ท่านใช้แล้ววางอุเบกขา
---------..................
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44088&start=15


อาการหลงเชื่อไปตามความคิดว่าเป็นจริงแบบนี้เขาเรียก.......อัตตา
ส่วนอนัตตาก็คือ เมื่อมันเกิดความคิดอย่างนี้ขึ้น ก็รู้ตัวว่า ตัวเราคิดไปเองความคิดนี้
มันไม่ได้ป็นความจริง
------------------.................................

ความไม่มีตัวตัวตน ไม่ได้หมายถึง ร่างกายของเรา แต่มันหมายถึง จิตของเราไม่ยอมให้สิ่ง
ที่เป็นอดีตจบไป พยายามเอาอดีตมาเป็นปัจจุบัน ซึ่งในความเป็นจริง มันเป็นไปไม่ได้
อดีตและอนาคตมันไม่มีตัวตน
ไม่ใช่ร่างกายไม่มีตัวตน
-----------------------------..................................

ความหมายของจิตว่าง เราต้องพิจารณาให้ดี จิตว่างในความหมายของพระพุทธเจ้า
มันไม่ใช่จิตว่างแบบโยคี จิตว่างแบบโยคีมันหมายถึงการไม่ให้จิตเกิดดับตามความเป็นจริง
แบบให้เข้าใจง่ายๆก็คือไปบังคับไม่ให้สมองคิดอะไร เมื่อสมองไม่คิดความว่างมันก็เกิด


แต่จิตว่างแบบของพระพุทธเจ้าคือ คิดแต่ในสิ่งที่อยู่ในกรอบของความเป็นจริง
อย่างเช่นเรากำหนดราคาสินค้าไว้แล้ว มีลูกค้ามาต่อราคา เราย่อมรู้อยู่แล้วว่า
เรื่องแบบนี้มันเป็นเรื่องปกติของการซื้อขาย เมื่อคิดได้อย่างนี้
จิตเราก็จะไม่เกิด โทสะหรือจิตที่เป็นอกุศล..........แบบนี้จึงเป็นจิตว่างในทางพุทธศาสนา
-----------------------.........................

สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงเน้นในความเป็นแก่นธรรม กรรมที่ส่งผลให้เกิดเป็นวิบาก
นั้นก็คือ การต้องไปเกิดใหม่ในชาติหน้า
------------------................
ความหมายของวิปัสสนา มันกว้างแท้จริงแล้วมันหมายถึงการปฏิบัติ
การปฏิบัติมันก็เป็นระดับขั้นของเหตุและผล
นั้นคือการเอาเหตุอย่างหนึ่งมา ให้เกิดผลอีกอย่างหนื่ง
เอาสติสร้างปัญญาขั้นต้นและเอาปัญญาขั้นต้นไปสร้างปัญญาในขั้นต่อไป

เอาแค่ในวันหนี่งๆ หูได้ยินเสียงก็รู้ว่า ได้ยินเสียง
ตามองเห็นก็รู้ว่าตามองเห็น สมองกำลังคิดก็รู้ว่ากำลังคิด แบบนี้ก็เรียกว่า...
เป็นการปฏิบัติหรือวิปัสสนาแล้ว

---------------..........................

ครูบาอาจารย์บัญญัติคำว่า"ชีวิต"ขึ้นมา ก็ได้ให้ความหมายไว้ว่า
ชีวิตคือรูปกับนาม รูปก็คือธาตุสี่ นามก็คือจิตหรือมโน...ฯลฯ
และครูบาอาจารย์ยังได้อธิบายในรายละเอียดว่า...
จิตที่ว่ามีลักษณะเกิดดับตลอดเวลาเป็นสันตติ
ความหมายของชีวิตก็คือ รูปนามนี่ มีธาตุสี่ที่มีจิตให้ธาตุสี่ประชุมกันไม่ให้แตกสลาย
---------------...........................
พระพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าจะยึดจิตเป็นตัวเป็นตน
ให้ยึดกายซะยังดีกว่า

-------------...................
วัฎสงสาร = เกิด แก่ เจ็บ ตาย แบบนี้เขาถึงเรียกว่า ความตาย
ความตายก็คือ จิตละทิ้งรูปกายเดิมนั้น ส่วนเกิดดับหมายถึง..........
จิตเกิดดับตลอดเวลา มันเป็นธรรมชาติของจิต
ตรงข้ามถ้าในรูปกายนั้นไม่มีจิตที่เกิดดับ
นั้นหมายความว่า........ไม่มีชีวิตหรือตาย

44131.ตัวเราขณะนี้กับตัวเราเมื่อวินาทีก่อน เป็นคนละคนกัน?
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44131&start=15

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 28, 2012, 04:38:07 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๔. ปริญเญยยสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ธันวาคม 28, 2012, 04:52:34 pm »


เรื่องของรูปที่มาจากสมุฐานสี่ คุณกำลังเข้าใจผิดในบัญญัตินะครับ
ตา..หู..จมูก..ลิ้น..กาย..ใจ ทั้งหมดนี้มันรวมอยู่ใน...มหาภูติรูปสี่
ทั้งหมดที่คุณกล่าวมา มันเกิดมาจาก สมุฐานสี่เช่นเดียวกับมหาภูติรูปสี่
เพราะมันเป็นมหาภูติรูปสี่เช่นเดียวกัน มันจึงเกิดมาจาก กรรม..อุตุ..จิตและอาหาร

สิ่งที่คุณกำลังสับสน มันเกิดมาจากคุณเข้าใจผิดไปว่า ตา..หู..จมูก..ลิ้น..กายและใจ
เป็นอุปาทายรูป แท้จริงแล้วมันไม่ใช่อุปาทายรูป เพียงแต่มันเป็นที่ตั้งของอุปาทายรูป
เช่นตาเป็นที่ตั้งของจักขุปสาทรูป หูเป็นที่ตั้งของโสตปสาทรูป.......ฯลฯ

ในมหาภูติรูปสี่ ถ้าสมุฐานสี่ที่ทำให้เกิดมหาภูติรูปสี่
ขาดความสมดุลย์ จะทำให้ อุปาทายรูปขาดความสมดุลย์ไปด้วย
----------------..............................
เรื่องสมุฐานสี่ เราต้องลงลึกลงไปในรายละเอียด
ของรูปทั้ง28 ไม่งั้นจะเกิดความสับสน ที่พูดแบบนี้เป็นเพราะรูป28มีสมุฐานไม่เหมือนกัน

และที่คุณบอกว่า ถ้าพูดถึงตาคำเดียวแท้จริงหมายถึง จักขุปสาทและจักขุวิญญาณรวมอยู่ด้วย
พูดแบบนี้ไม่ถูก เคยเห็นคนพิการ"ตาบอด"มั้ย เขามีดวงตาอยู่นะครับ แต่ที่เขามองไม่เห็น
เป็นเพราะจักขุปสาทเขาใช้การไม่ได้ เมื่อไม่มีจักขุปสาทย่อมไม่มี จักขุวิญญาณ

หรือแม้จะไม่พิการ ยามเมื่อเราตกอยู่ในภวังคจิต ตา หู จมูก...ฯลฯ ยังอยู่ครบถ้วน
แต่ปสาทรูปก็เหมือนไม่มี เพราะมันไม่ทำงาน

ดังนั้นจะกล่าวถึงพระอภิธรรม ต้องรู้ให้ลึกลงไปในรายละเอียด
ไม่งั้นจะเกิดความสับสน อยากแนะนำครับ จิตยังไม่มีสัมมาทิฐิ
หรือมองอะไรตามความเป็นจริง
ก็อย่าพึ่งสนใจพระอภิธรรมเลย
มันทำให้เกิดวิจิกิจฉา
-------------......................................

การอธิบายความในปรมัตถ์ธรรม ต้องแยกกันให้ดีหว่าง จิต เจตสิก รูป นิพพาน
เป็นเพราะ ไม่แยกแยะให้ดี ระหว่างรูปปรมัตถ์และจิตปรมัตถ์

ความสับสนมันเกิดขึ้นเพราะ ในมหาภูติรูปสี่ มันต้องมีจิตหรือนามเป็นตัวเชื่อม
ให้ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมรวมตัวกันอยู่ได้

พิจารณาให้ดีแล้ว จิตเป็นตัวกรรมหรือกระทำ ส่วนวิบากเป็นรูป

ดังนั้นมันจึงตรงกับ สมุฐานที่ว่า มหาภูติรูปสี่เกิดจาก กรรม..จิต..อุตุและอาหาร
จิตก็คือ.....วิญญาณตัวรู้รูป
กรรมก็คือ...การกระทำของจิตหรือวิญญาณจนเกิดรูป
อุตุก็คือ....สภาพแวดล้อมที่พอเหมาะ อันสามารถทำให้รูปดำรงอยู่
อาหารก็คือ...ธาตุที่ช่วยให้รูปเจริญขี้น

******************************

รูปปรมัตถ์............
รูปในที่นี้หมาย.......กายของเราครับ
กายของเราประกอบด้วย รูป28 แบ่งเป็นมหาภูติรูป4 และอุปาทายรูป24

ตั้งสติดีๆให้สติอยู่ที่กายใจของตน
แล้วใช้จิตตัวเองมองรู้ไปที่กาย แล้วก็เอารูป28มาเปรียบเทียบกับกายตนเอง
ก็จะรู้ว่ากายของเรามีรูป28อยู่

คำพูดของผมที่ว่า"วิญญาณไปรู้รูป" มันไม่ได้หมายถึง การเอาตาของเราไปดูรูปภายนอก

แต่มันหมายถึงจิตหรือวิญญาณ ไปรู้รูป28หรือรู้กายของเรา
และอยากจะบอกให้อีกอย่างว่า ........ถึงแม้มันจะเป็นการรับรู้อารมณ์หกประการที่คุณบอก
เขาก็เรียกว่า.....วิญญาณไปรู้รูป
เพราะว่า .....การจะเกิดอารมณ์ที่รับจากอายตนะภายนอกได้นั้น
มันจะต้องเกิดการกระทบกับ ปสาทรูป5และหทยรูปอีกหนึ่ง
เมื่อกระทบแล้ว มันจึงจะเกิดวิญาณไปรู้ตัวปสาทรูปนั้นๆ

อย่างเช่นกระทบที่"จักขุปสาทรูป" ก็จะเกิดวิญญาณรู้ ที่เรียกว่า"จักขุวิญญาณ"
หรือกระทบที่"โสตปสาทรูป" วิญญาณรู้ก็เรียกว่า "โสตวิญญาณ"
แบบนี้เรียกว่า.....วิญญาณไปรู้รูป

รูปที่ว่า ไม่ได้หมายถึงการเอาตาไปมอง แต่หมายถึงความรู้สึก
ที่เกิดขึ้นที่ณ. ปสาทรูปทั้งหลาย
ในกายใจเราครับ

**********

จิตในลักษณะไหน / มีอะไรเป็นเหตุปัจจัย ที่ว่าจิตเดิมเป็นจิตที่มีสาเหตุมาอย่างไร
ภวังคจิตเป็นจิตที่รักษาภพเอาไว้ ในขณะที่ทวารทั้งหกไม่ทำงาน
นั้นแสดงว่า รูปกับนามยังอยู่ครบ จิตที่รักษาภพยังยึดมั่นในรูปของตนอยู่
จิตย่อมต้องเป็นวิบากของจิตดวงสุดท้ายก่อนที่จะหลับ

ส่วนจิตเดิมที่ผมกล่าวมันเป็นจิตหรือวิญญาณในปฏิจฯ มันเป็นจิตก่อนที่จะมีรูป
ที่เรียกมันว่าจิตเดิมประภัสสร เพราะมันยังไม่มีรูปหรือทวารทั้งหกไปรับกิเลส
----------------..............................

ธัมมารมณ์ต้องผ่านทาง....มโนทวาร
มโนทวารเป็นรูปเรียกว่า.........หทยรูป
จิตต้องอาศัยรู้หทยรูปหรือรู้รูปเสียก่อน จึงจะรู้ธัมมารมณ์ได้

ด้วยสติปัฏฐานเราจะรู้ได้ว่า นามเกิดจากรูป ก็คือเกิดที่ทวารทั้งหก
จิตหรือนามเกิดแล้วก็ดับ แต่ตัวที่ยังปรุงแต่งก็คือ ....หทยรูป
ถ้าจะกล่าวถึงจิตอย่างเดียว จะต้องกล่าวแต่ในแง่ของ.... ธรรมนิยาม
นั้นก็คือจิต เกิดแล้วก็ดับ ไม่เที่ยงไม่แน่นอน ดังนั้นจะกล่าว จิตเกิดจากกรรมไม่ได้
เพราะกรรมคือเจตนา เจตนาก็คือจิต ดังนั้นจิตก็คือกรรม
เมื่อเกิดเจตนาหรือกรรมใดขึ้นที่จิต มันจะส่งผลเป็นวิบากขึ้นที่...รูปหรือกาย

เรื่องกรรมเราต้องไปดูในเรื่องกรรมนิยาม ผู้ก่อกรรมหรือเจตนาก็คือจิต
ผลแห่งกรรมหรือวิบากก็คือ รูปหรือกาย

ดังนั้น จิตหรือวิญญาณไม่ได้เกิดเพราะกรรม และจิตก็ไม่ได้เป็นวิบาก
ที่เรียกว่า จิตวิบากก็เพราะ......จิตเป็นตัวเจตนาก่อกรรมวิบาก

ถ้าจะกล่าวในแง่สมุฐานสี่.....จิตเกิดจากจิต ไม่ได้เกิดจากกรรม

44130.กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี / อ่านรายละเอียดต่อ หน้า3-4
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44130&start=30

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 06, 2013, 04:57:55 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


ในความเป็นจริงนั้นสิ่งที่จะทำให้เราเข้าใจถึงสภาวะปรมัตถ์ธรรมได้ง่ายนั้น
เราจะต้องเห็นสังขารธรรมซะก่อน มันจึงจะเห็นสภาวะที่เป็นจริงในใจของเรา

** "มหากิริยาจิต"ของอรหันต์ กับ "กิริยาจิต"ปุถุชน
ถ้าเปรียบวิญญาณเป็นจิต คุณอย่าเข้าใจว่า วิญญาณกับตัวผู้รู้เหมือนกันนะครับ
วิญญาณคือตัวความรู้สึก แต่จิตผู้รู้คือ ตัวผู้รู้ว่าเกิดการกระทบขึ้น

จิตที่เป็นตัวความรู้สึก มันจึงเป็นวิบาก
แต่จิตรู้ถึงการกระทบ จึงเป็นกิริยา


ปุถุชนมีแค่ความรู้สึก มันจึงเกิดการปรุงแต่งเป็นอารมณ์ เป็นขันธ์๕
นามหรือขันธ์ทั้งหมดที่เกิด หลังจากเกิดการกระทบของอายตนะภายนอก
กับปสาทรูป สิ่งที่เกิดตามมาจึงเป็นวิบากในตัวของมันเอง พูดให้ชัดก็คือ
อายตนะภายใน(ปสาทรูป)กับอายตนะภายนอก กระทบกันขึ้นเมื่อใด เกิดวิญญาณ
ถ้าวิญญาณมีเจตนาในการกระทบที่เกิดขึ้น มันจะเกิดเป็นรูปขันธ์และวิญญาณขันธ์เป็นวิบาก
เกิดการปรุงแต่งเป็นวิบากต่างๆจนครบขันธ์ห้า

พระอรหันต์ รู้การกระทบด้วยญาณหรือปัญญา วิญญาณจึงเป็นจิตผู้รู้
ที่ว่ารู้ หมายความว่าอย่างไร นั้นก็คือรู้เหตุก่อนว่า มีการกระทบเกิดขึ้นเมื่อใด
มันจะเกิดเจตนาตามมา มันจะก่อให้เกิดขันธ์๕ ซึ่งมันเป็น...วิบาก
ถ้ามีญาณปัญญารู้ก่อนว่า สิ่งที่เกิดตามมาหลังจากการกระทบ
มันเป็น"สังขาร" มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป ไม่คงทนถาวร
แบบนี้วิบากก็ไม่เกิด สิ่งที่เกิดเป็นเพียงกิริยา มันเป็นเพียงธรรมชาติของรูปนาม

เอาพุทธพจน์มาเทียบเคียง.......................
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็อายตนะภายในอาตนะภายนอก อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ตรัสไว้ชอบนี้ มีอย่างละ ๖ แล คือจักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่นชิวหาและรส
กายและโผฏฐัพพะ มโนและธรรมารมณ์..... ก็จิตของท่านผู้มีอายุรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า
จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ?

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว..... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่า
มีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า
จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นสำรอก ดับสละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด
ความยินดี ตัณหา อุปาทาน ที่ยึดมั่นและอนุสัยคือความตั้งใจ และความปักใจมั่นในจักษุ
ในรูปในจักษุวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ..... ในโสต ในเสียง
ในโสตวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ...... ในฆาน ในกลิ่น
ในฆานวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ.... ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ ..... ในมโน ในธรรมารมณ์ ในมโนวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ.....
จิตของข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล
จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้.....”
สูตร อุ. ม. (๑๖๗-๑๗๑)


ความแตกต่างของวิญญาณ ระหว่างปุถุชนและอรหันต์มันอยู่ตรงนี้
เจตนา(วิบาก)กับกิริยา มันก็อยู่ตรงนี้
----------..................
ปุถุชน จึงเรียกวิบากจิต
แต่ถ้าเป็นอรหันต์เรียก....กิริยาจิต

------------------------..................

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์
อัพยากตธรรม
กามาวจรวิบาก
วิญญาณ ๕ ที่เป็นกุศลวิบาก
             [๓๓๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
             จักขุวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นเพราะกามาวจร
กุศลกรรมอันได้กระทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิต อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรม
ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
             สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

             [๓๓๙] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
-----------......................................
------------.............................
- http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 023&Z=3128


.......................ปุถุชนก็สามารถมีอัพยากฤตธรรม
แต่ถ้าจะกล่าวถึงอัพยากฤตธรรมของอรหันต์ ต้องอ้างอภิธรรมบทนี้ครับ....

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์
[๔๙๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล
และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคต
ด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์
ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคต
ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ...
เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคต
ด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุต
จากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง
ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

- http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... agebreak=0
------------------------------

จิต ปุถุชน มี 4 ชาติคือ กุศลชาติ อกุศลชาติ วิบากชาติ กิริยาชาติ
วิบากชาติ และกิริยาชาติ รวมเรียกว่า อัพยากฤตธรรม

จิต พระอรหันต์ มีแค่ 2 ชาติคือ ชาติวิบาก และชาติกิริยา
จิต พระอรหันต์ จึงมีแต่เฉพาะ อัพยากฤตธรรม

จิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นจิตชาติวิบาก ......... ซึ่งมีทุกคน ไม่เว้นเลย
จิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย .....นี้รวมเรียกว่า วิญญาณห้า
วิญญาณที่6 คือมโนวิญญาณ

มโนวิญญาณ ของพระอรหันต์มีทั้งส่วนที่เป็นวิบากจิต และกิริยาจิต
มโนวิญญาณ ของปุถุชน มีทั้งส่วนที่เป็นวิบากจิต และกิริยาจิต กุศลจิต และอกุศลจิต
นี่คือความต่างของพระอรหันต์ และปุถุชน
****************

ทำความเข้าใจกับธรรมทั้ง๓ธรรมนี่ก่อน
๑. มหากุศลจิต
๒. มหาวิบากจิต
๓. มหากิริยาจิต

อภิธรรม ของ มหาจุฬาฯ
- http://www.buddhism-online.org/ContentSect03A.htm


พระอรหันต์ไม่มีจิตกุศลและอกุศล
พระอรหันต์จึงไม่มีกรรม เพราะกุศลและอกุศลเป็นกรรม
เมื่อไม่มีกรรมจึงไม่มีวิบาก เพราะผลของกรรมคือวิบาก

ส่วนเรื่อง อัพยากฤตธรรม ปุถุชนรู้ด้วยวิญญาณหรือทวารที่เป็นวิบาก
ถึงแม้สภาวะธรรมจะเป็นอัพยากฤต แต่ก็ยังเป็นจิตวิบาก เพราะยังมีการ
สั่งสมกรรมเก่าไว้

ส่วนอัพยากฤตธรรมของอรหันต์ ท่านรู้ด้วยมโนธาตุที่เป็นกิริยา
ไม่ใช่กุศล อกุศลและวิบาก อัพยากฤตธรรมนั้นจึงเป็น กิริยาจิต
เพราะจิตของอรหันต์ได้ตัดกรรม ไม่มีเจตนาในสมัยหรือชาตินั้นแล้ว
ดังนั้นจิตของพระอรหันต์จึงมีเพียงแต่.....กิริยาจิต เพียงอย่างเดียว