จิตคืออะไร
โดย เขมรํสี ภิกขุจิตคือสภาพรู้ รู้อารมณ์นั้นรู้อารมณ์นี้ หรือในขณะที่ปฏิบัติ
จิตที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ก็เหมือนผู้ดูอะไรอยู่
เป็นผู้ดูกายดูใจ ดูโน้นดูนี่ แต่สภาพดูไม่เคยมาระลึกถึงตัวมันเอง
ก็ทำให้หาจิตไม่เจอ จิตจึงมีระดับของมัน
จิตที่ถูกปรุงแต่งคิดนึกออกไป ยังกำหนดง่าย แต่บางคนก็ยังหาไม่เจอ
บางคนเวลาคิด กำหนดความคิดไม่เป็น
ในระดับจิตที่ถูกปรุงแต่ง ก็ต้องมีการนึกคิด
จิตประเภทแบบนี้ระดับนี้ก็ต้องรู้ สติต้องระลึก ดังที่กล่าวในตอนต้นว่า
เวลาคิดให้รู้ที่คิด ก็เป็นการรู้จิตเหมือนกัน แต่เป็น
จิตที่เจตสิกปรุงแต่งจิตอีกระดับหนึ่ง จะรู้ได้ยากขึ้นอีก คือจิตของผู้ที่ปฏิบัติอยู่
เจริญสัมปชัญญะมีความสงบสำรวม ไม่แล่นไปสู่เรื่องราวต่างๆ
จิตตั้งมั่นรู้อยู่ในตัวเอง ไม่คิดอะไร มันอาจจะนิ่งๆ อาจจะสงบอยู่ไม่คิดอะไร
แต่แม้ว่าจิตไม่ถูกปรุงแต่ง ไม่คิดอะไรมันก็ยังเป็นกระแสสภาพรู้
นี่คือสิ่งที่ต้องเข้าไปรู้จัก จิตในระดับนี้เป็นจิตที่ทรงตัวอยู่ นิ่งอยู่ไม่คิดอะไร
มันเฉยๆ มันนิ่งๆ แต่มันก็เป็นสภาพที่เกิดดับ
สภาพรู้นั่นแหละมันดับไปด้วย รู้-ดับ รู้-ดับ รู้-ดับ อย่างรวดเร็ว ถ้า
สภาพรู้มันหันมาดูสภาพรู้ ก็เห็นสภาพรู้ดับ
สภาพรู้ที่ดับไม่ใช่ดับเป็นภาพ เป็นดวง แต่เป็นการ
หายไปของสภาพรู้ แล้วเกิดสภาพรู้ใหม่ ก็หายไปใหม่ แล้วรู้ใหม่
แต่มันถี่ มันไว เมื่อจิตไปดูจิต เห็นจิตดับไปอย่างรวดเร็ว
จิตที่เข้าไปดูก็ดับไปด้วยกัน จิตที่ถูกดูก็ดับ จิตที่เข้าไปดูก็ดับ
หากผู้ใดที่ปฏิบัติดูรู้เท่าทันจิตใจอย่างนี้ ต้องทวนกระแส
ต้องรู้สึกตัวของมัน หัดดูใกล้ๆ กระชั้นเข้ามา อย่าขยายออกข้างนอก
จิตจะรู้จิต ต้องกระชั้นกระชับเข้ามา ฉะนั้นการที่จิตจะรู้ที่จิตได้
ก็ต้องทำให้มันหยุดอยู่ ไม่แล่นไป ไม่เพ่งค้นหา
ถ้าเราทำแบบเพ่งค้นหาอารมณ์ จิตก็ยากที่จะรู้ตัวมันเอง แต่เมื่อทำจิตให้หยุดอยู่
เหมือนกับไม่ขวนขวายไม่ดูอะไร
ไม่ฝักใฝ่ไปหาอารมณ์อันใด จะอยู่เฉยๆ จะทำจิตให้อยู่กับที่นิ่งๆ เฉยๆ
หน้าที่ของการปฏิบัติคือ
#การเข้าไปเรียนรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
#ไม่ได้มีหน้าที่ไปบังคับ
เขาเกิดอย่างไร แสดงอาการอย่างไร
ก็ดูเขาไปอย่างนั้น
#ดูเขาด้วยความวางเฉย #ไม่ยินดียินร้าย
จึงเป็นการทำหน้าที่ ที่ถูกต้อง
F/B Watmaheyongนั่นล่ะจิตจะทวนเข้ามารู้ตัวมันเอง ทำจิตนิ่งๆเฉยๆ จิตก็รู้จิต
คือสภาพรู้ ดูสภาพรู้ ที่เรียกว่าเป็นตัวก็ไม่ใช่ตัวจริงๆ ไม่ใช่เป็นก้อนเป็นแท่ง
เป็นรูปทรง ตัวคือสภาวะหรือสภาพ เราใช้สมมติว่าตัวรู้
สภาพรู้คือจิต หรือตัวที่กำลังมองอยู่ กำลังดูอยู่
หัดให้ระลึกดูตัวรู้ไว้ จะเรียกว่าผู้รู้ก็ได้ ผู้รู้ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงผู้รู้แจ้ง
ผู้รู้แจ้งแทงตลอดในทุกขสัจจะ เป็นผู้รู้แจ้งนิพพาน
ไม่ใช่หมายถึงระดับนั้น ผู้รู้ในที่นี้หมายถึงรู้อารมณ์อยู่ คือมีสภาวะที่
กำลังรับรู้อารมณ์ รับรู้อารมณ์หมดไป.. หมดไป.. กำลังเจริญสติ
สติก็เกิดกับจิต ก็กำลังดูอะไรต่ออะไรอยู่นี่คือผู้รู้ คือผู้รู้อารมณ์ ไม่ได้หมายถึง
รู้แจ้งแทงตลอด นั่นเป็นอีกระดับหนึ่ง บางครั้งใช้คำว่า ตัวดู
ตัวรู้ ตัวมอง ต้องการที่จะให้มีสติระลึกถึงสิ่งที่กล่าวเหล่านี้ ถ้าการปฏิบัติ
มารู้จักจิตในระดับอย่างนี้ก็จะเห็นความดับไปของจิต
ความดับไปหมดไปอย่างรวดเร็วของจิต การปฏิบัติก็ไม่ไร้จากสภาวะ ไม่ว่างเปล่า
ว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย ก็เป็นบัญญัติ เป็นสมมติ ในความว่างเปล่านั้น
มีตัวรู้หรือสภาวะรู้อยู่ มีตัวดูว่างอยู่ นั่นเป็นปรมัตถ์ที่เกิดที่ดับอยู่ ต้องน้อมสังเกต
เข้ามาที่สภาวะที่รู้ นิดหนึ่งหมดไป นิดหนึ่งหมดไป ต้องอาศัยการเข้าใจ
และประคับประคอง วางให้เหมาะสม การที่เราฝึกมามากๆ แล้ว กำลังของการเพ่ง
การค้นหาสภาวะของการติดตามสภาวะจะมีอยู่แล้ว แม้จะทำจิตอยู่นิ่งๆ
จิตก็คอยจะรู้อยู่แล้ว ไม่ดูมันก็ดูอยู่ พยายามจะไม่ดูมันก็ดู ยิ่งจะไม่ดูก็ยิ่งรู้
ยิ่งจะดูก็ยิ่งไม่เห็น ยิ่งจะทำก็ยิ่งไม่เป็น นี่เป็นเรื่องแปลกยิ่งจะดูก็ไม่เห็น
คนที่ทำพยายามจะดูจะค้นหายิ่งไม่เห็น หยุดดูก็จะรู้ได้ ฉะนั้นการปฏิบัติ
เมื่อมีการฝึกหัดมากๆ ขึ้น ก็หยุดที่จะไปดู ไปฝักใฝ่ค้นหา พอมาทำแบบหยุด
มันกลับยิ่งรู้ ยิ่งรู้ได้ดีกว่าเข้าไปติดตามค้นหา คือจิตมันจะรู้ตัวมันเอง
แล้วเห็นอาการของมันเอง เห็นสิ่งที่มาสัมพันธ์ตัวของมันเอง
เห็นความจริงของตัวมันองที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมยิ่งดูก็ยิ่งรู้ ยิ่งไม่ทำก็ยิ่งทำ
เรียกว่าทำเหมือนไม่ได้ทำ ยิ่งจะทำก็ยิ่งไม่เป็น พูดมาเช่นนี้ คงทำให้
ท่านทั้งหลายไม่เข้าใจ งง แต่คงพอจะเป็นประโยชน์กับบางท่าน สำหรับบางท่าน
ที่ปฏิบัติอยุ่ในระดับฝึกมามากขึ้น เรื่องนี้ก็คงเป็นประโยชน์ได้ในการดูจิตดูใจ
การปฏิบัติเช่นนี้ ยังไงก็หนีไม่พ้นต้องมารู้ที่จิตใจ มาดูที่จิต
ถ้าปฏิบัติดูจิตไม่เป็น การปฏิบัติก็คงไม่ก้าวไปไหน ดูเป็นแต่ดูกายเรื่อยๆ
แต่ดูจิตไม่ได้ จะไม่ไปไหน อย่างดีก็อยู่แค่ความว่าง พอกายไม่รู้สึกแล้ว ก็แค่
ว่างเปล่าสงบใจสบาย นิ่ง ว่าง หรือดับความรู้สึกไปหมด ก็ได้แค่นั้น
ไม่เห็นสภาวะรูปนามที่แท้จริง เมื่อเรามีสมาธิ กายก็ไม่ค่อยรู้สึก เมื่อไม่รู้มันก็ว่าง
เมื่อว่างก็ดูไม่ออก ไม่มีอะไรให้ดู มีแต่ว่าง อย่างนี้ก็เป็นสมถะอยู่
แต่ถ้าดูจิตใจเป็น ในภาวะที่ว่าง มันก็มีตัวรู้ มีสภาพรู้ มีสภาวะของจิตของเจตสิกที่ปรุง
ถ้าดูจิตเป็น ก็จะเห็นสภาวะเกิดดับอยู่เรื่อยๆ มีสภาวะให้ดู ให้รู้ อยู่ตลอด