โลกนี้มิอยู่ด้วย มณีเดียวนา
ทรายและสิ่งอื่นมี ส่วนสร้าง
ปวงธาตุต่ำกลางดี ดุลยภาพ
ภาคจักรวาลมิร้าง เพราะน้ำ แรงไหน
ภพนี้มิใช่หล้า หงส์ทอง เดียวเลย
กาก็เจ้าของครอง ชีพด้วย
เมาสมมติจองหอง หีนชาติ
น้ำมิตรแล้ง โลกม้วย หมดสิ้น สุขศานติ์ ๚๛
(โลก อังคาร กัลยาณพงศ์)-http://www.reurnthai.com/index.php?action=printpage;topic=1734.0-http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=689 ทุ่งข้าว
๏ ทุ่งข้าวเขียวขจี สีสดชื่นระรื่นลมไหว
ปูปลามาเล็มไคล ในน้ำใสใต้สันตะวา
สาหร่ายชูดอกกระจิดริด แมลงน้อยนิด ไร้เดียงสา
เกาะดอกหญ้าบนคันนา แมงมุมตั้งท่าตะครุบกิน
๏ ควายเคี้ยวเอื้องนอนหนอง แววตาหม่นหมองไม่สิ้น
เหลือบริ้นวนเวียนบิน เกาะกินเลือดล้นพุงกลวง
กบเขียดร้องเสียงใส เสมือนน้ำบนใบบัวหลวง
งูอะไรสีเงินยวง เลื้อยไปล้วงรูปูนา
๏ ยางขาวถลาบิน จิกปลากินเกาะกิ่งหว้า
เงาเมฆสีหม่นลอยมา แสงแดดกล้ากึ่งกลางวัน
ถอนกล้ามาเหนื่อยเมื่อยล้า เข้าร่มไม้ชายคาประหนึ่งสวรรค์
แก้ห่อข้าวออกวางพลัน ชวนกันนั่งล้อมวงกิน
น้ำพริกเจือแมงดา แกล้มยอดหว้าหวั่นใจถวิล
ว่าสวรรค์ในแคว้นแดนดิน คือถิ่นทุ่งทองของไทยเอย ๚๛
(ทุ่งข้าว
: บทกวีของท่านอังคาร กัลยาณพงศ์)
๑
๏ ใครจะอาจซื้อขายฟ้ามหาสมุทร
แสนวิสุทธิ์โลกนี้ที่พระสร้าง
สุดท้ายกายวิภาคจะจากวาง
ไว้ระหว่างหล้าและฟ้าต่อกัน ๚
๒
๏ เรามิใช่เจ้าของฟ้าอวกาศ
โลกธาตุทั่วสิ้นทุกสรวงสวรรค์
มนุษย์มิเคยนฤมิตตะวันจันทร์
แม้แต่เม็ดทรายนั้นสักธุลี ๚
๓
๏ แย่งแผ่นดินอำมหิตคิดแต่ฆ่า
เพราะกิเลสบ้าหฤโหดสิงซากผี
ลืมป่าช้าคุณธรรมความดี
เสียศรีสวัสดิ์ค่าแท้วิญญาณ ๚
๔
๏ สภาวะสรรพสิ่งทุกส่วนโลกนี้
ควรที่สำนึกค่าทิพย์วิเศษวิศาล
อนุรักษ์ดินน้ำฟ้าไว้ตลอดกาล
เพื่อเหนือทิพยสถานวิมานแก้วไกวัล ๚
๕
๏ ทุ่งนาป่าชัฏช้าอรัญญิกาลัย
เทือกผาใหญ่เสียดดาวดึงส์สวรรค์
เนื้อเบื้อเสือช้างลิงค่างนั้น
มดแมลงนานาพันธุ์ทั้งจักรวาล ๚
๖
๏ เสมอเสมือนเพื่อนสนิทมิตรสหาย
เกิดร่วมสายเชี่ยววัฏฏะสังสาร
ชีพหาค่าบ่มิได้นับกาลนาน
หวานเสน่ห์ฟ้าหล้าดาราลัย ๚
๗
๏ ถึงใครเหาะเหินวิมุติสุดฝั่งฟ้า
เดือนดาริกาเป็นมรคายิ่งใหญ่
แต่เราขอรักโลกนี้เสมอไป
มอบใจแด่ปฐพีทุกชีวีวาย ๚
๘
๏ จะไม่ไปแม้แต่พระนิรพาน
จะวนว่ายวัฏฏะสังสารหลากหลาย
แปลค่าแท้ดาราจักรมากมาย
ไว้เป็นบทกวีแด่จักรวาล ๚
๙
๏ เพื่อลบทุกข์โศก ณ โลกมนุษย์
ที่สุดสู่ยุคสุขเกษมศานต์
วานนั้นฉันจะป่นปนดินดาน
เป็นฟอสซิลทรมานอยู่จ้องมอง ๚
๑๐
๏ สิ้นเสน่ห์วรรณศิลป์ชีวิตเสนอ
ละเมอหาค่าทิพย์ไหนสนอง
อเนจอนาถชีวีทุกธุลีละออง
สยดสยองแก่ถ่านเถ้าเศร้าโศกนัก ๚
๑๑
๏ แล้งโลกกวีที่หล้าวูบฟ้าไหว
จะไปรจนารุ้งมณีเกียรติศักดิ์
อำลาอาลัยมนุษย์ชาติน่ารัก
จักมุ่งนฤมิตจิตรจักรวาล ๚
๑๒
๏ ให้ซึ้งซาบกาพย์กลอนโคลงฉันท์
ไปทุกชั้นอินทรพรหมพิมานสถาน
สร้างสรรค์กุศลศิลป์ไว้อนันตกาล
นานช้าอมตะอกาลิโก ๚๛ @ โอม กราบพระศรีรัตนตรัย
บุญญฤทธิ์ยิ่งใหญ่วิเศษวิศาล
คุ้มครองปกป้องพี่น้องนาน
เกษมศานติ์อยู่คู่ฟ้าดินเอย ๚๛
อังคาร กัลยาณพงศ์
วันศุกร์ที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะโรง************ (Sakol Sandhiratne :
"ท่านอาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ได้เสียชีวิตลงแล้ว ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
เมื่อเวลาประมาณ 24.30 น.ของเช้าวันใหม่ 25 ส.ค. 55
ด้วยโรคชรา ในวัย 86 ปี 6 เดือน โดยมีพิธีสวดพระอภิธรรมที่วัดตรีทศเทพ ศาลา 2
ตั้งแต่วันที่ 25-31 ส.ค. หลังจากนั้นจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพต่อไป")
****************************************************
-http://www.facebook.com/notes/
พรรคดินน้ำลมไฟ/ปณิธานกวี-อังคาร-กัลยาณพงศ์-อาลัย/459866534053649สิเนหาอาลัย...อังคาร กัลยาณพงศ์รัตนกวีศรีสยาม
♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥“เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง
มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า
มิหวังกระทั่งฟากฟ้า
ซบหน้าติดดินกินทราย...”
*****
อหังการ์จอมกวี....
ลับหล้าธาตรีร่วงสลาย
ฝนหลั่งสั่งสวรรค์พรรณราย
เสียดายคนดีศรีแผ่นดิน
จะเจ็บจำไปถึงปรโลก
รัตติกาลวิปโยคไปเสียสิ้น
ลมเหงาูกระเพื่อมพ้อธรณิน
ไยหนอชีวินต้องล่วงลับ
จันทร์เจ้าจ่อมเคล้าเมฆขาว
ดื่นดาวเปล่าประกายปุบปับ
ระทดเทพวรรณศิลป์ท่าวทับ
ย่อยยับสิเนหาภาษาทิพย์
จากรุ้งโค้งสู่ดงดอย
มิเคยละหลงรอยกะล่อยกะหลิบ
โพ้นโลกสุนทรีย์ลี้ลิบ
ระยับระยิบจิตหนึ่งซึ้งรัก
มืดสนิท...
หนึ่งชีวิต..หนึ่งปัญญา..ฟ้าประจักษ์
เอนกายคลายร้อนผ่อนพัก
พำนักอมตะดุจราชันย์ ๚๛ ระพี พชระ๒๖ สิงห์ ๒๕๕๕
-http://www.facebook.com/RaPhiPhchra ***************************************
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ถือได้ว่าเป็นการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงสำหรับวงการกวีและจิตรกรเลยทีเดียว กับการจากไปของ "อังคาร กัลยาณพงศ์" ศิลปินแห่งชาติด้านกวีนิพนธ์ (พ.ศ. 2536) ที่เสียชีวิตอย่างสงบด้วยโรคหัวใจและโรคเบาหวานเรื้อรัง เมื่อเวลา 01.30 น. ของวันที่ 25 สิงหาคม ที่ผ่านมา ด้วยวัย 86 ปี
วันนี้กระปุกดอทคอม ก็ขอย้อนเล่าถึงประวัติความเป็นมาของ ครูอังคาร กวีชื่อดังของเมืองไทย ที่ได้ร้อยเรียงเขียนบทกวีอันซึ้งกินใจ ให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้สัมผัสและตระหนักถึงความสวยงามภาษา ถึงแม้ว่าบทกวีของครูอังคารจะไม่ถูกเรียงร้อยด้วยอักษรและรูปแบบที่ตายตัว แต่กลอนของครูอังคารนั้น คงความเป็นไทยเอาไว้ในทุกกระเบียดนิ้ว...
สำหรับครูอังคาร กัลยาณพงศ์ นั้น เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ จ.นครศรีธรรมราช เป็นบุตรของกำนันเข็ม และนางขุ้ม กัลยาณพงศ์ ในวัยเด็กร่างกายเคยเป็นอัมพาตเคลื่อนไหวไม่ได้ แต่หมอมารักษาด้วยสมุนไพรจนหายเป็นปกติ ต่อจากนั้น ครูอังคารได้เข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดจันทาราม จนกระทั่งจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงย้ายไปเรียนโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด นั่นก็คือ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยม ครูอังคารก็เริ่มรู้ว่าตนเองสนใจด้านศิลปะเป็นอย่างมาก จึงได้เข้าศึกษาเฉพาะด้านศิลปะต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง และที่คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ในช่วงวัยเรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ครูอังคารเป็นลูกศิษย์ของศิลปินใหญ่หลายต่อหลายคน อาทิ ศ.ศิลป์ พีระศรี, อ.เฟื้อ หริพิทักษ์ และ อ.เฉลิม นาคีรักษ์ ทำให้ครูอังคารได้มีโอกาสทำงานร่วมกับอาจารย์ และศึกษาค้นคว้างานในด้านต่าง ๆ อย่างเจาะลึก ทั้งศิลปกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์
ส่วนเส้นทางความเป็นกวีและจิตรกรนั้น ด้วยความที่ครูอังคารเกิดใน จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นจังหวัดถูกกล่าวว่าเป็นเมืองแห่งกาพย์กลอนอยู่แล้ว ความเป็นกวีจึงค่อย ๆ ซึมซับมาตั้งแต่เด็ก ๆ จากการฝึกหัดแต่งกลอน บวกกับพรสวรรค์ที่มีอยู่ อีกทั้งครูอังคารยังมีมุมมองและแง่คิดในการใช้ชีวิตที่อิสระ จึงทำให้บทกวีของครูอังคารโดดเด่นมีเอกลัษณ์ที่ไม่เหมือนใคร พร้อมนำเสนอมุมมองแบบใหม่ ๆ โดยไม่มีรูปแบบตายตัวมากำหนด หรือเรียกได้ว่ากวีผู้แหกกฎกลอนโบราณของไทย และแสวงหาแนวทางกวีใหม่ของตนเอง ซึ่งเหตุนี้นี่เองที่ทำให้ครูอังคารถูกขนานนามว่า "ผู้บุกเบิกกวีนิพนธ์ยุคใหม่"
สำหรับผลงานชิ้นแรก ๆ ของครูอังคาร เป็นบทกวีที่อยู่ในหนังสือ "อนุสรณ์น้องใหม่" ของมหาวิทยาลัยศิลปากร จนกระทั่งครูอังคารได้พบกับ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ผู้ก่อตั้งและเป็นบรรณาธิการคนแรกของ "สังคมศาสตร์ปริทัศน์" ทำให้บทกวีของครูอังคาร ได้พิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง และมีผลงานที่จัดพิมพ์อย่างมากมาย ซึ่งเป็นการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวงการวรรณกรรมไทยเลยทีเดียว
ผลงานกวีนิพนธ์ของครูอังคารในขณะนั้นเป็นที่นิยมอย่างมาก จนถูกรวบรวมและนำมาตีพิมพ์เป็นเล่ม โดยในเล่มแรกชื่อว่า หนังสือกวีนิพนธ์ จากนั้นชื่อเสียงของครูอังคารก็กลายเป็นที่ยอมรับและรู้จักอย่างรวดเร็ว
ผลงานกวีนิพนธ์ของท่านที่ได้ตีพิมพ์เป็นเล่ม มีดังนี้
พ.ศ. 2507 กวีนิพนธ์ ของ อังคาร กัลยาณพงศ์
พ.ศ. 2512 ลำนำภูกระดึง
พ.ศ. 2525 บางบทจากสวนแก้ว
พ.ศ. 2521 บางกอกแก้วกำศรวญ หรือ นิราศนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2529 ปณิธานกวี
พ.ศ. 2530 หยาดน้ำค้างคือน้ำตาของเวลา
ครูอังคารได้รับรางวัลเกียรติคุณต่าง ๆ ดังนี้
พ.ศ. 2512 รางวัลกวีดีเด่น ของมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประธีป
พ.ศ. 2529 รางวัลซีไรต์ จาก ปณิธาณกวี
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2532 ครูอังคารยังได้รับคัดเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ด้านกวีนิพนธ์ ซึ่งเป็นกวีร่วมสมัยที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น "จินตกวี" ผู้ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในด้านวรรณศิลป์และทัศนศิลป์
ก่อนที่ครูอังคารจะจากโลกไป ท่านได้มีพิพิธภัณฑ์ศิลปะและวรรณศิลป์แห่งชีวิต ณ บ้านอังคาร กัลยาณพงศ์ แสดงผลงานทั้งทางด้านงานประพันธ์ และภาพเขียนของเขาทั้งหมด พิพิธภัณฑ์นี้เปิดเป็นทางการเมื่อ วันวิสาขบูชา พ.ศ. 2545
โดยครูอังคารได้กล่าวถ้อยคำที่แสดงถึงจิตวิญญาณของจิตรกร และกวีที่แท้จริงเอาไว้ว่า...
"การวาดรูปกับการแต่งบทกวีต้องใช้ความคิดกับจินตนาการ อาจจะผิดกันในเรื่องเทคโนโลยีกับเทคนิค แต่ใช้จิตใจดวงเดียวกัน ทั้งงานเขียนรูปและเขียนหนังสือก็ต้องอาศัยมโนคติ บางคนเขาเรียก อิมเมจิเนชั่น ต้องมีจินตนาการความคิด เหมือนคนที่สร้างนครวัด เขาต้องมีภาพมาก่อนว่าทำอย่างไรจึงจะมีปราสาทขึ้นมา ถ้าเรามีมโนภาพกว้างใหญ่ไพศาล เราก็สามารถสร้างสรรค์อะไรที่ใหญ่โตขึ้นมา ถ้ามีมโนภาพคับแคบก็สร้างสรรค์อะไรอยู่ในกะลาเท่านั้น"
"คนอื่นเขาอาจจะไปทำขนมครก ไปรับเหมาทางด่วน ไปทำอะไรก็ได้ แต่กวีต้องเป็นกวีอยู่ทุกลมหายใจ คือโดยหลักจริง ๆ แล้วผมยังเขียนบทกวีอยู่เรื่อย ๆ จะชำระของที่ดูไม่ค่อยเรียบร้อยให้เรียบร้อย ให้หมดจดขึ้น มีถ้อยคำที่ลงตัว คือพูดง่าย ๆ ว่า ถ้าเราตายไปแล้ว เราก็หมดโอกาสที่จะเปิดฝาโลงขึ้นมาชำระโคลงของเราให้เรียบร้อย คนที่เขียนกวี ถ้าบทกวีชิ้นใดไม่สมบูรณ์ ก็เหมือนเราไปปรโลกแล้วยังมีห่วงอยู่"
"โดยหลักการ การเขียนกาพย์กลอนต้องโปร่งใส ต้องใช้อิสระเสรี ถึงจะทำได้ดี ก็เหมือนทะเลเวลามีคลื่นลมมากเรือที่ลอยอยู่ก็สามารถจมได้ บางครั้งอารมณ์ไม่ดีก็ทำไม่ได้"
http://hilight.kapook.com/view/75384จากข่าวการเสียชีวิตของท่านศิลปินแห่งชาติยอดฝีมือแห่งกวีและจิตรกร
อังคาร กัลยาณพงศ์ ด้วยวัย 86 ปี
ขอนำบทกวีที่น่าประทับใจของท่านมาให้อ่านกันครับ
เสียเจ้า
๑.เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า
มิหวังกระทั่งฟากฟ้า ซบหน้าติดดินกินทรายฯ
๒.จะเจ็บจำไปถึงปรโลก ฤารอยโศกรู้ร้างจางหาย
จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย อย่าหมายว่าจะให้หัวใจฯ
๓.ถ้าเจ้าอุบัติบนสวรรค์ ข้าขอลงโลกันตร์หม่นไหม้
สูเป็นไฟเราเป็นไม้ ให้ทำลายสิ้นถึงวิญญาณฯ
๔.แม้แต่ธุลีมิอาลัย ลืมเจ้าไซร้ชั่วกัลปาวสาน
ถ้าชาติไหนเกิดไปพบพาน จะทรมานควักทิ้งทั้งแก้วตาฯ
๕.ตายไปอยู่ใต้รอยเท้า ให้เจ้าเหยียบเล่นเหมือนเส้นหญ้า
เพื่อจดจำพิษช้ำนานา ไปชั่วฟ้าชั่วดินสิ้นเอย ๚๛
โลก
๑.โลกนี้มิอยู่ด้วย มณี เดียวนา
ทรายและสิ่งอื่นมี ส่วนสร้าง
ปวงธาตุต่ำกลางดี ดุลยภาพ
ภาคจักรพาลมิร้าง เพราะน้ำแรงไหนฯ
๒.ภพนี้มิใช่หล้า หงส์ทอง เดียวเอย
กาก็เจ้าของครอง ชีพด้วย
เมาสมมุติจองหอง หินชาติ
น้ำมิตรแล้งโลกม้วย หมดสิ้นสุขศานต์ฯ
ปณิธานของกวี
๑.ฉันเอาฟ้าห่มให้ หายหนาว
ดึกดื่นกินแสงดาว ต่างข้าว
น้ำค้างพร่างกลางหาว หาดื่ม
ไหลหลั่งกวีไว้เช้า ชั่วฟ้าดินสมัยฯ
๒.พลีใจเป็นป่าช้า อาถรรพณ์
ขวัญลิ่วไปเมืองฝัน ฟากฟ้า
เสาะทิพย์ที่สวรรค์ มาโลก
โลมแผ่นทรายเส้นหญ้า เพื่อหล้าเกษมศานต์ฯ
๓.นิพนธ์กวีไว้เพื่อกู้ วิญญาณ
กลางคลื่นกระแสกาล เชี่ยวกล้า
ชีวีนี่มินาน เปลืองเปล่า
ใจเปล่งแววทิพย์ท้า ตราบฟ้าดินสลายฯ
๔.จิตกาธารกรุ่นไหม้ โฉมไป ก็ดี
กาพย์ร่ำหอมแรงใจ ไป่แล้ว
จุติที่ภพไหน ภพนั่น
ขวัญท่วมทิพย์รุ้งแก้ว ร่วงน้ำมณีสมัยฯ
๕.ลายสือไหววิเวกให้ หฤหรรษ์
ฝนห่าแก้วจากสวรรค์ ดับร้อน
ใจปลิวลิ่วไปฝัน โลกอื่น
หอมภพนี้สะท้อน ภพหน้ามาหอมฯ
๖.ข้ายอมสละทอดทิ้ง ชีวิต
หวังสิ่งสินนฤมิต ใหม่แพร้ว
วิชากวีจุ่งศักดิ์สิทธฺ์ สูงสุด
ขลังดั่งบุหงาป่าแก้ว ร่วงฟ้ามาหอมฯ
บทกวีที่หาอ่านได้ยากอีกบทหนึ่ง
o เกิดมาทำไมในชาตินี้ เพื่อมีงานทิพย์แด่ดินฟ้า
เสาะแสวงมิแล้งแรงปัญญา ใช้คุณค่าอมตะวิญญาณ
o โลภอะไรไหมในโลก โลภลบโศกเพื่อสุขเกษมศานติ์
แผ่เมตตากรุณาจบจักรวาล ทุกกาลสมัยให้อโหสิกรรม
o โกรธอะไรไหมในฟ้านั้น โกรธมิ่งขวัญจะหายบ้าระห่ำ
เพราะสงครามกักขฬะอธรรม ครอบงำจิตร์มนุษย์สุดต่ำทราม
o หลงอะไรบ้างกลางแดนดิน หลงถวิลเสน่หาทั่วฟ้าสาม
อยากทะนุถนอมโลกงดงาม อร่ามคุณค่ากว่าสวรรค์ใด
o แล้วปราถนาอะไรในพิภพ จบอุดมคติทิพย์ยิ่งใหญ่
นำงานชีวิตถึงหลักชัย รวงรุ้งแห่งสมัยอกาลิโก
o เจ้าบำเพ็ญตบะอะไรบ้าง ชำระล้างจิตร์หยาบหยิ่งยโส
เพื่อทำทานน้ำใจใหญ่โต แด่คนโซยากแค้นทั้งแดนดิน
o มีมรดกไหมหฤทัยนั้น มีฝันทิพย์ตักตวงไป่สิ้น
เป็นมูลนิธิทิพย์ไร้มลทิน ระรินคติธรรมร่ำหอมเมือง
o เจ้ารักอะไรในโลกนี้ รักวรรณคดีสุนทรีย์ฟุ้งเฟื่อง
เพราะช่วยมนุษย์ชาติรุ่งเรือง เปรื่องปราชญ์พ้นสัตว์มหัศจรรย์
o อโหมนุษย์น้อยกระจิดริด แง่คิดเจ้าเหลวเปล่าเงาฝัน
เหตุมนุษย์ชาติชั่วช้าอาธรรม์ จะจุดประลัยกัลป์ล้างโลกแล ๚๛๏ อังคาร กัลยาณพงศ์ ๚๛
อนิจจาน่าเสียดาย ฉันทำชีวิตหายครึ่งหนึ่ง
ส่วนที่สูญนั่นลึกซึ้ง มีนํ้าผึ้งบุหงาลดามาลย์ ฯ
ครึ่งหนึ่งหลงเหลือในอกนี้ สั่นชีวีเสียสะเทือนสะท้าน
ซํ้าโซ่ตรวนพันธนาการ ทรมานปานทาสจะขาดใจ ฯ
อีกครึ่งหนึ่งอยู่ที่น้องแก้ว ขึ้งโกรธพี่แล้วจะทำไฉน
ถึงใกล้ก็อย่างห่างไกล ไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ฯ
เสียแรงชายบริสุทธิ์ซื่อ ควรหรือนางมล้างค่าใฝ่ฝัน
ทิ้งให้เทวษหาจาบัลย์ ที่ไหนนั่นมิ่งขวัญจะกลับคืน ฯ
หมายทะนุถนอมไว้กะอก กลับตกในมือของเขาอื่น
แสนเจ็บแสนปวดปูนปื้น พิษมาเสียบเสียววิญญาณ ฯ
ใจนางอย่างนํ้าค้างกลางดึก ดั่งผนึกเพชรใสไหวสะท้าน
ชั่วครู่ก็แตกดับกับดินดาน ไร้แก่นสารจะหวังมิยั่งยืน ฯ
บุราณว่าพรากจากนารี ลับลี้สามวันฝันเป็นอื่น
เสียเจ้าโศกเศร้าทุกวันคืน สุดจะฝืนสู้ทุกข์ขุกเข็ญใจ ฯ
แค้นหญิงชิงชังไปทั่วโลก จะทุกข์โศกกะนารีหรือไฉน
เสียแรงเป็นบุรุษรัตน์อาชาไนย มาหลงใหลหล่มล้มจมดิน ฯ
ระอัปยศแก่วิญญาณ อัปประมาณอดสูฤารู้สิ้น
จึงตัดใจหลั่งนํ้าไหลริน ลงดินขาดกันจนวันตาย ๚๛
๏ อังคาร กัลยาณพงศ์ ๚๛ _friendship Posted 25 August 2012 - 12:09 Pm
-ขอคารวะและไว้อาลัย ยอดกวีศิลปินแห่งชาติ อังคาร กัลยาณพงศ์
:http://siamnaliga.com/index.php?/topic/218547- ขอคารวะและไว้อาลัย-ยอดกวีศิล/บทที่สอนเรื่องคุณค่าของเวลา”
น้ำไหลอายุขัยก็ไหลล่วง
ใบไม้ร่วงชีพก็ร้างอย่างความฝัน
ฆ่าชีวาคือพร่าค่าคืนวัน
จะกำนัลโลกนี้มีงานใด
๏ อังคาร กัลยาณพงศ์ ๚๛ หลังจากการจากไปของอังคาร ผู้เคยบอกว่า
“ผมหาวเป็นลายกนก และ ฝันเป็นโคลงสี่สุภาพ”
พระมหาวุฒิชัย ได้เขียนบทกวีเพื่อเป็นการไว้อาลัยว่า
“อังคาร” เป็นถ่านเถ้า ธุลีดิน
“กัลยาณพงศ์” บิน บ่ายฟ้า
เอกอัครศิลปิน ปราชญ์โลก
กายจากหากงานท้า เทพทั้งนาครถวิล
สิ้นอังคารไม่สิ้นศรีกวีแก้ว
ยังเจื่อยแจ้วจำเรียงอยู่ไม่รู้หาย
ทั้งกาพย์กลอนโคลงฉันท์พรรณราย
อมรรตายตราบดินฟ้าล่มหล้าลง
“สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา”
พระพุทธาย้ำเตือนอย่าเลือนหลง
สรรพสิ่งสังขาร์ว่าหยัดยง
วันหนึ่งคงร่วงรุ้งฟุ้งกระจาย
“สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา”
พระพุทธาเน้นหนักจำหลักหมาย
ประดาสิ่งผสมอย่างมงาย
ว่าไม่ตายไม่ภินท์พังอย่าหวังเลย
“สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา”
พระพุทธาสอนสั่งอย่าฟังเฉย
สรรพสิ่งสากลไม่ทนเอย
ที่สุดเผย “แก่นกลวง” ทะลวงตา
อังคารลับลาโลกอย่าโศกเศร้า
กวีเก่ามิเคยแก่ลองแลหา
หากคิดถึงท่านอังคารผ่านเวลา
จงเหลือบตาเริงรสบทกวี.
คิดถึงท่านอังคาร โดย ว.วชิรเมธี >>>แรงบันดาลใจ
ย้อนกลับไปเกือบยี่สิบปี วันหนึ่งขณะกำลังนั่งอยู่ในห้องสอบวิชา “การประพันธ์ไทยสำหรับครู” ผู้เขียนได้อ่านพบกวีนิพนธ์บทหนึ่งซึ่งเป็นข้อสอบที่นักศึกษาจะต้องวิจารณ์ลงในกระดาษคำตอบ พออ่านกวีนิพนธ์บทนั้นจบแล้ว ก็สัมผัสได้ว่า “นี่ไม่ใช่กวีนิพนธ์ธรรมดา” รู้สึกขึ้นมานาทีนั้นว่า ตั้งแต่อ่านกวีนิพนธ์มา ยังไม่มีกวีบทไหนที่ทำให้เรารู้สึกได้ถึงความลึกซึ้งขนาดนี้มาก่อน
เมื่อเขียนคำตอบเสร็จแล้ว จึงพยายามขออนุญาตเอากระดาษข้อสอบออกมาจากห้อง เพราะต้องการจะได้กวีนิพนธ์บทนั้นมาไว้สืบค้นว่าใครกันหนอเป็นผู้แต่ง แต่อาจารย์ผู้คุมห้องสอบไม่อนุญาต เมื่อไม่รู้จะทำอย่างไร จึงใช้วิธีคัดกวีนิพนธ์บทนั้นลงบนฝ่ามือ เมื่อออกมาจากห้องสอบแล้ว จึงพยายามตามหาว่า ใครแต่งกวีนิพนธ์บทนั้น หากันอยู่พักใหญ่ ในที่สุดก็ไปได้หนังสือรวมบทกวีชื่อ “กวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงษ์” จากร้านหนังสือเก่าที่จตุจักร นับแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้เขียนก็นับท่านอังคาร กัลยาณพงษ์เป็นครูกวีในแบบครูพักลักจำมาโดยตลอด
กวีนิพนธ์บทที่คัดใส่ฝ่ามือออกมาจากห้องสอบนั้น ก็คือ
“โลกนี้มิอยู่ด้วย มณี เดียวนา
ทรายและสิ่งอื่นมี ส่วนสร้าง
ปวงธาตุต่ำกลางดี ดุลยภาพ
ภาคจักรพาลมิร้าง เพราะน้ำแรงไหน”
“ภพนี้มิใช่หล้า หงส์ทอง เดียวเลย
กาก็เจ้าของครอง ชีพด้วย
เมาสมมมุติจองหอง หินชาติ
น้ำมิตรแล้งโลกม้วย หมดสิ้นสุขศานต์”
เหตุที่ความลึกซึ้งของกวีนิพนธ์บทนี้ทำให้ผู้เขียน “ประทับใจ” ในระดับที่เรียกกันว่าเกิดอาการ “องค์กวีลงประทับ” ก็เพราะเนื้อหาทั้งหมดไปสอดคล้องกับหลักธรรมชื่อ “อิทัปปัจจยตา” (สิ่งนี้มีเพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย) อันเป็นหลักธรรมระดับปรมัตถธรรมของพุทธศาสนานั่นเอง
ท่ามกลางกวีที่เขียนกวีเพื่อส่งประกวดรายปี ซึ่งเด่นและแม่นในทางฉันทลักษณ์ ทว่าเบาหวิวในแง่เนื้อหาสาระ งานของท่านอังคาร กัลยาณพงษ์ ซึ่งสุขุมลุ่มลึกและมากด้วยอหังการของกวีที่สำแดงออกผ่านโคลงฉันท์กาพย์กลอนจึงเหมือนกับเพชรนิลจินดาที่สุกสว่างอยู่ท่ามกลางกองกรวดกองทรายนับอนันต์
ตอนที่เริ่มเรียนเขียนกลอนใหม่ๆ ผู้เขียนยังเคยเอารูปของท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ (และรูปอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์) ซึ่งตัดมาจากนิตยสารสกุลไทยมาใส่กรอบตั้งไว้ในห้อง เดินเข้าเดินออกก็เห็นท่านทุกวัน ทำให้ไฟกวีในตัวรุ่งโรจน์โชตนาอยู่เสมอ และที่รักการเขียนโคลงอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะความหลงไหลในโคลงของท่านอีกนั่นเอง
>>>ความเมตตาของครู
เวลาไปร่วมงานบางงานที่มีท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ เป็นผู้อ่านกวีนิพนธ์ บ่อยครั้งเมื่ออ่านกวีนิพนธ์เสร็จแล้ว ท่านอังคารจะนำเอาต้นฉบับกวีนิพนธ์บทนั้นที่เขียนด้วยลายมือมามอบให้กับผู้เขียนด้วยมือตนเอง โดยท่านมักพูดขำๆ ด้วยเสียงดังอย่างเป็นเอกลักษณ์ว่า “ผมขอมอบให้พระอาจารย์เก็บไว้ดีกว่า เพราะคนพวกนั้นไม่รู้จักคุณค่าของบทกวีหรอก”
>>>อัจฉริยลักษณ์ของท่านอังคาร
ลักษณะพิเศษในงานของท่านอังคาร คือ
(๑) ความลุ่มลึกของทัศนะต่อโลกและชีวิต ที่แสดงออกมาอย่างมีความเป็นสากล โดยเฉพาะในงานยุคต้นๆ ที่มีความสดใหม่ ดุดัน กราดเกรี้ยว คมกริบ เช่น บทที่ว่า
“ใครดูถูกดูหมิ่นศิลปะ
อนารยะไร้สกุลสถุลสัตว์
ราวลิงค่างเสือสางกลางป่าชัฏ
ใจมืดจัดกว่าน้ำหมึกดำ
เพียงกินนอนสืบพันธุ์นั้นหรือ
ชื่อว่าสิ่งประเสริฐเลิศล้ำ
หยาบยโสกักขฬะอธรรม
เหยียบย่ำทุกหย่อมหญ้าสาธารณ์
ภพหน้าอย่ามีรูปมนุษย์
จงผุดเกิดในร่างดิรัจฉาน
หน้าติดดินกินขี้เลื้อยคลาน
ทรมานทุกร้อนร้ายนิรันดร์เอย” ที่ว่าเป็นสากลคือกวีนิพนธ์ของท่านนั้นมีความลุ่มลึกเลยระดับปรากฏการณ์ต่างๆ เฉพาะหน้าออกไป ใกล้เคียงกับงานของคาลิล ยิบราน คือ มีความเป็นวรรณกรรมและสัจธรรมพร้อมกันอยู่ในตัว เช่น บทกวีที่ชื่อ “โลก” ที่ยกมาให้อ่านข้างต้นนั้น
(๒) ความเป็นนายของภาษา ท่านอังคารใช้ภาษาในงานกวีของท่านโดยไม่แคร์ราชบัณฑิตยสถานและไม่แคร์ครูภาษาไทย บางบทใช้คำหยาบ แรง และดิบเถื่อนจนอ่านแล้วแทบได้ยินทั้งเสียง สัมผัสทั้งสีและกลิ่น
(๓) ความกล้าหาญทางจริยธรรมในการวิพากษ์วิจารณ์สังคมชนิดที่ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม ถ้าท่านเห็นว่า ไม่ถูกต้องแล้ว ท่านจะสับแหลก โดยเฉพาะกับนักการเมืองจอมฉ้อฉลด้วยแล้ว ท่านไม่เพียงร่ายกวีถึงหากแต่ท่านแช่งผ่านกวีเลยด้วยซ้ำ
(๔) ความคิดนอกกรอบกล้าที่จะแหกขนบเดิมๆ ออกมาจนสามารถสร้างอัตลักษณ์ที่เป็นตัวของตัวเองได้อย่างโดดเด่นทั้งทางวรรณศิลป์และทางวิจิตรศิลป์
งานเขียนของท่านอังคารเป็นทั้งวิจิตรวรรณกรรมและเป็นทั้งวิจิตรศิลปกรรมที่หาคนเสมอเหมือนได้ยาก โดยเฉพาะงานปาดเกรยองของท่านนั้นคมกริบจนเวลาเราดูภาพก็ให้รู้สึกเกรงไปว่ายอดแหลมๆ ของลายกนกจะทิ่มตาเอาได้
ดูงานศิลปะของท่านจึงต้องเจริญสติให้ดีๆ ฟังท่านอ่านกวีก็ต้องฟังอย่างลึกซึ้ง มิเช่นนั้นแล้ว ท่านอาจหยุดอ่านแล้วด่าเอาซึ่งๆ หน้า หรือเวลาที่ท่านซึ้ง ท่านก็ร้องให้ออกมาเหมือนเด็กๆ ที่อุ้มความไร้เดียงสาเอาไว้เต็มที่
ความเป็นกวีของท่านอังคารนั้นต่างจากกวีทั่วไป คือ ท่านเป็นกวีทั้งเนื้อทั้งตัว ไม่ได้เป็นบางฤดูเหมือนกวีบางคน ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า
“ผมหาวเป็นลายกนก และฝันเป็นโคลงสี่สุภาพ”
เวลาท่านอ่านกวีจึงต้องฟังทั้งกวีและต้องอ่านสิ่งที่ท่านแสดงออกมาในเวลานั้นไปพร้อมๆ กัน ท่านเล่าว่า ท่านจะยังไม่รีบบรรลุนิพพาน ขออยู่เขียนกวีที่ท่านรักไปพลางๆ ก่อน เนื่องเพราะท่านเป็นกวีมาหลายภพหลายชาติ แม้ชาติหน้าก็จะขอกลับมาเป็นอีก หรือต่อให้ตกนรกไปหมกไหม้อยู่ในกระทะทองแดง หากไม่ร้อนเกินไปนัก ท่านก็จะร่ายกวีกลางกระทะทองแดงให้สัตว์นรกฟัง
(๕) อารมณ์ขันอันร้ายเหลือ พอ ๆ กับอาจารย์ ส.ศิวรักษ์ เป็นอารมณ์ขันปนเมตตา อารมณ์ขันที่กลั่นมาจากปฏิภาณเฉพาะหน้า ไม่ใช่มาจากมุขตลกตื้นๆ แต่เกิดจากการจบโลกเจนธรรมจนหยิบมาอำมาด่าได้อย่างมีศิลปะ คือ ใครถูกด่าแล้วถ้าไม่ขมขื่นก็เกือบบรรลุธรรมน้อยๆ ที่สำคัญเราไม่รู้ว่าท่านจะขำหรือด่าใครเมื่อไหร่ อยู่ใกล้ๆ ท่านในงานต่างๆ จึงต้องดูทิศทางลมให้ดี แต่นี่ก็เป็นเสน่ห์ที่หาคนเลียนแบบได้ยาก
(๖) เป็นนักอุดมคติ กล่าวคือ เป็นศิลปินที่ไม่ยอมขายจิตวิญญาณของตัวเองให้แก่คนที่ไม่เห็นคุณค่าของงานศิลปะที่ตนเองสร้างสรรค์ ชีวิตของท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ ในแง่นี้สอดคล้องกับโคลงโลกนิติที่ว่า
“ถึงจนทนสู้กัด กินเกลือ
อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ พวกพ้อง
อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ สงวนศักดิ์
โซก็เสาะใส่ท้อง จับเนื้อกินเอง”
:http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9550000105999
**********************************************
https://youtu.be/coum_KnH9OIPublished on Apr 9, 2012
๏ ฤาแผ่นดินสิ้นกวี..................จึ่งมีปีศาจฉกาจร้าย
กบเขียดน้อยรอยควาย.............หลั่งน้ำลายใบ้บ้าน่าชัง ฯ
เฉกสวะปฏิกูล......................ไป่ปูนรุ้งแก้วมณีหวัง
กะลาน้อยนิดอนิจจํ..................อึ่งคลั่งหนักว่าจักวาล ฯ
๏ ถึงปูนดาวคู่ฟ้า ......เดือนปี ก็ดี
วารหนึ่งอาจเป็นผี ......พุ่งใต้
อย่าดูหมิ่นปฐพี ......เหยียบย่ำ ใดเลย
ลางแห่งซ่อนเพชรไว้ ......ค่าล้ำ ภายหลัง
๏ ถึงน้ำเน่าขังท่อ...........ข้างถนน
มันย่อมเป็นเมฆฝน ..... แห่งฟ้า
ถึงต่ำแต่หวังผล ............อันเลิศ
เพียงเปรี่องปราชญ์มิช้า....ช่วยขึ้นภูมิสรวง
...
๏ โลกนี้มิอยู่ด้วย ................. มณี เดียวนา
ทรายและสิ่งอื่นมี ............... ส่วนสร้าง
ปวงธาตุต่ำกลางดี .............. ดุลยภาพ
ภาคจักรพาลมิร้าง .............. เพราะน้ำแรงไหนฯ
๏ ภพนี้มิใช่หล้า .............. หงส์ทอง เดียวเอย
กาก็เจ้าของครอง .............. ชีพด้วย
เมาสมมุติจองหอง ............. หินชาติ
น้ำมิตรแล้งโลกม้วย............... หมดสิ้นสุขศานต์ฯ
อ.ถวัลย์ ดัชนี ร่ายบทกวีของ อ.อังคาร กัลยาณพงษ์