ผู้เขียน หัวข้อ: นิทานปู่ลิง :โลกมีสอง....ธรรมมีหนึ่ง?  (อ่าน 10062 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: นิทานปู่ลิง :โลกมีสอง....ธรรมมีหนึ่ง?
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2013, 03:41:25 pm »


เซน มีฌานทุกขณะจิต
//-ชาวเซน มักจะถูกมองว่า"เพี้ยน"
หลักของเซน มีสี่ข้อ
1.-ไม่เกี่ยวกับตัวอักษร
เว่ยหล่าง ปริสังฆนายก องค์ที่หก ของเซน
อ่านหนังสือไม่ออก แต่บรรลุ"เซน"
ในขณะทำงานตำข้าวในครัว
2.-ตรงเข้าสู่จิต
ชาวเซน จะใช้สติ สมาธิ วิริยะ ปัญญา ส่องดูพฤติจิต ทุกลมหายใจเข้าออก
3.-บรรลุโดยฉับพลัน
จริงๆน่าจะเป็นบรรลุโดยไม่เนิ่นช้า ตามหลัก นิปปปัญจธรรมหรือธรรมะ ภาพปฏิบัติ
โพธิปักขิยธรรม37 ประการ เรี่มจากฝึกปลุกสติตื่น
ดู กาย เวทนา จิต ธรรม ทำงาน
4.-ทุกคนมีธาตุ"พุทธะ" ต่องที่มีคนรู้วิธีปลุกให้ตื่น กับไม่รู้
.......................



การฝึกเพื่อบรรลุเซน หรือมีฌานทุกขณะจิต
ทั้ง รูปฌาน อรูปฌาณ โลกุตระฌาน อันมีวิปัสสนาญาน เป็นต้น
จน มีความหนักแน่นใน
-อารมณ์ เหลือแค่ ปิติ สุข อุเบกขา เอกจิต
พวก รัก โกธ โลภ หลง กลัว อิจฉา บ้าอำนาจ ขจัดทิ้งหมดเชื้อบ้า
-วิสัยทัศน์(จักขุมา)
มองโลกด้วยตาปัญญาทั้งสี่
พุทธจักขุ ธรรมจักขุ สมันตะจักขุ(ความรู้รอบตัวหลากหลายวิชาการ) ทิพย์จักษ์ เห็นความละเอียดอ่อน ลึกซึ้งเกินมนุษย์ธรรมดา
-ความคิดหนักแน่น คิด10มิติเป็น
-สติปัญญาตัดสินใจ พึงใจในปัจจุบันธรรมหนักแน่น
(ไม่รำพึงอดีตด้วยอาลัย ไม่กังวลอนาคต ที่มาไม่ถึง มีสติพร้อมในปัจจุบัน ทุกลมหายใจเข่้าออก)
..................................



การฝึกเซน
-ทำหน้าที่ ประจำวัน วัตร ที่สมณะ หรือคนมีครอบครัว พึงทำเป็นปกติวิสัย
(การทำงานที่มีสัมมาสติโพธิปัญญากำกับคือการปฏิบัติธรรม)
-ทำซาเซน สมาธิแบบลืมตา
เห็นโลกข้างนอก เห็นพฤติจิตตนข้างใน)
-ขบคิดโกอาน หรือคิดปริศนาธรรมที่อาจารย์มอบให้เช่น
"เสียงจาก การตบมือข้างเดียว"
.....................................



นิทานเซน มีเรื่องขำๆ มากมายเช่น
วันหนึ่งศิษย์เซน ผ่านศาลเจ้า มีงานประจำปี
ศิษย์ศาลเจ้า กำลังแจกยันต์กันภัย
"กันผี กันโจร กันอัคคีภัย เป็นมงคล รำรวย รุ่งเรือง"
ศิษย์เซนก็ ถามว่า"กันไฟได้จริงเหรอ?"
ถามซำๆ จน คนแจกยันต์ชักยัวะ เสียงดัง คนมามุงกันเต็ม
"เอารับก็ได้" คนแจกยันต์ยิ้ม
ศิษย์เซน เอายันต์โยนเข้ากองไฟ ที่เผากระดาษเงินกระดาษทอง ไฟก็ไหม้
ของดี เอาไปเผาไฟทำไม?
ก็จะดูว่า ยันต์วิเศษจะเอาตัวรอดจากไฟได้อย่างไร?
ช่วยตัวเองก่อนนะยันต์ศักดิ์สิทธิ์
นึกถึง คนแขวนพระเครื่องดังราคาสิบล้าน
ถูกทุบเอาพระไป เวรกรรม
......................................
พระนั้นรอด แต่คน ที่แขวนพระอาจไม่รอด



Suraphol Kruasuwan
สนทนาธรรมตามกาล  -  10:35 AM 27.6.56

             
Suraphol KruasuwanOWNER
การสนทนา  -  Jul 6, 2015
 
55555+
สอนแบบชาวเซน
ลูกศิษย์ไปพบอาจารย์เซน
ถามอาจารย์เซน
"ทำอย่างไร จะทำให้ใจสงบ"
อาจารย์โยนมีดให้
"ควักใจออกเจ้ามา ข้าจะทำให้สงบ"
สักพักศิษย์ตอบว่า"ข้าหาใจข้าไม่เจอ"
อิๆ ขืนเจอ ก็หยุดหายใจไปแล้ว อิๆ
ขอบคุณครับ

          เล่าให้ฟัง :PULING的主頁
G+ communities คนรัก รักษ์ ปัญญา สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง
Suraphol KruasuwanOWNER
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 31, 2016, 08:21:01 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: นิทานปู่ลิง :โลกมีสอง....ธรรมมีหนึ่ง?
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2013, 12:42:13 am »



 
คำสั่งสอน พุทธเจ้าถ่ายทอด
-ธรรมธิษฐาน.......สอนเป็น หลักการเหตุผล
-บุคลาธิษฐาน.....เป็นวรรณกรรมสมมุติเป็นบุคคลเรื่องราว เช่นชาดก
-อวจนะภาษา...ภาษาที่ไม่ใช่คำพูด แบ่งออกเป็นสอง
....ภาษาสัญลักษณ์....เช่นวันหนึ่งพุทธเจ้า ยกดอกบัวชูในหมู่สงฆ์
มีแต่พระมหากัสสปะ ยิ้มอยู่...จึงทรงมอบดอกบัวไว้
คนที่ธาตุเสมอกัน จึงเข้าใจ
...ภาษาศิลป์ เป็นพุทธศิลป์
เช่นพระปฏิมา งานลวดลายศิลป์ ตามศาสนสถาน



//-วัด ภาคเหนือส่วนมากจะมีสิงห์ เฝ้าประตู มีผู้ถอดความหมายไว้สาม
1.พุทธเจ้า ประกาศศาสนา(บรรลือสีหนาถ)
-เราตัรสรู้ชอบด้วยตนเอง
-เราทำอาสวะสิ้นแล้ว
-ผู้ปฏิบัติตามเรามีอยู่(มีพระอริยบุคคลอยู่ในโลก เพราะปฏิบัติตามคำสั่งสอน)
-ธรรมะเราจำแนก แจกแจงไว้ดีแล้ว
ด้วยเหตุทั้งสี่ เราจึงประกาศธรรมด้วยความกล้าหาญดังราชสีห์ คำรน ฉนี้
2.พระเจ้าอโศก ทรงใช้ประกาศธรรมจักร แทนพิชิตด้วยอาวุธ
ธงประจำพระองค์ คือราชสีห์
3.นามธรรมคือความคิด ต้องเฝ้าคัดเลือก สิ่งดีๆ เย็น
ให้แก่ชีวิต
สาธุ


                        Suraphol Kruasuwan
                        สนทนาธรรมตามกาล


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: นิทานปู่ลิง :โลกมีสอง....ธรรมมีหนึ่ง?
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2013, 02:03:46 pm »


 
 //-ทศพลญาณ เป็นกำลังของปัญญาพุทธธรรม
ที่มองเห็นความจริงของธรรมชาติ
ปู่มักเอามาใช้เป็นแว่นส่องโลก
(ในแง่มุมอารมณ์ทุกข์ ของมนุษย์ที่แตกต่างกัน)เสมอ
และไม่ได้จดจำแบบเรียงลำดับในตำรา แต่ก็ครบถ้วน สิบประการเช่นกัน อิๆ

1.-มนุษย์ ประกอบ ด้วย"ธาตุ"ต่างกัน
ทั้งธาตุ ที่เป็นองค์ประกอบเคมีแบบวิทยาศาสตร์ ธาตุที่เป็นคุณภาพของจิต
คุณภาพระดับความเป็นมนุษย์(มนุษย์ธรรม)

2.-มนุษย์ ประกอบด้วย "อินทรีย์ "ต่างกัน
หรือความสามารถ กาย จิต สติ ปัญญา สมาธิไม่เท่ากัน

3.-มนุษย์ มีอัธยาศัยต่างกัน
รวมทั้ง ความสามารถพ้นอุปทานทุกข์

4.-มนุษย์มี"กรรม" ต่างกัน
ด้วยผลของ การกระทำของ
-บิดามารดา
-กรรมพันธุ์
-สิ่งแวดล้อม
-และเจตนาทุกครั้งที่คิด
ปรุงเป็นอารมณ์ อุดมการณ์จุดมุ่งหมายในชีวิต องค์ความรู้

5.-มนุษย์มี"กิเลส" ต่างกัน
และความสามารถหลุดพ้น
อำนาจอุปทานในกิเลสไม่เท่ากัน(วิมุติ)
ไม่ว่ากิเลส ระดับสั่งการ ความคิด อภิสังขาร อารมณ์ มานะ ทิฎฐิ
กิเลส ระดับก่อกวน คือประสพการณ์ การเรียนรู้เดิม ในการแก้ปัญหายามผัสสะโลก
กิเลสระดับ แรงขับ คือพลังสิ่งมีชีวิต คือความอยาก ชนะ ยิ่งใหญ่ อมตะ กลัว



6.-มนุษย์ มีการผุด"เกิดขึ้น"
ในภูมิจิต ธรรม ปัญญาต่างกัน ยามผัสสะโลก ไม่เท่ากัน

7.-มนุษย์มีความสามารถ "ระลึกภูมิ จิต"
ที่ ความรู้สึกว่า ตนมีอยู่เคยอาศัย ไม่เท่ากัน

8.-มนุษย์มีความสามารถ" ทำลายอาสวะ"
ที่เป็นขยะปรุงจิต ที่มาจาก
-การเก็บไว้ในความทรงจำ
-ที่เก็บเข้ามาใหม่
-ที่คิด
-ที่สร้างอารมณ์
-ที่สร้างเจตนา
และสติในการรู้ว่า
คิดอย่างไร จะได้จิตปรุงแต่งภูมิไหน
เป็นภัยต่อชีวิตร่างกายกันหรึอไม่
(พิษเกิดจาก อารมณ์ ที่ร่างกายสร้าง
หรือ มะเร็งในอารมณ์
จนเกิดสารเคมีพิษ กระตุ้นให้เกิดมะเร็งทางสมอง
ร่างกายจริงๆ)

9.มนุษย์ มีความ"ฉลาดในการ ฝึกฝนตน"
-ทั้งทางวจี
-จิต
-บุคลิก
-อารมณ์
-ปฏิสันฐานธรรม
เพื่อพ้นจากอุปทานทุกข์ไม่เท่ากัน

10.มนุษย์มีความสามารถ รับรู้ขีดจำกัด
"ความเป็นไปได้ เป็นไปไม่ได้"
ของมนุษย์ และธรรมชาติ ไม่เท่ากัน
ที่มีต่อ กฎธรรมชาติ วิวัฒน์ พัฒนาการ
ความเป็นเหตุผลต่อเนื่องของการปรุงแต่ง
และการหมุน จิตพ้นจาก
-จิตวิปลาส
-ทิฎฐิวิปลาส
-คติวิปลาส
-สัญญาวิปลาส
ไม่เท่าเทียมกัน



//-ความรู้ที่เป็นทศพลญาณ นี้
ปู่จึงใช้เป็นสิ่งพิจรณาจิตตน และพฤติกรรม ที่ต่างกันของ
เพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตาย ด้วยเมตตาธรรม
ปู่จึงเคารพตนเอง เพราะเป็นผู้ใฝ่รู้ เคารพความดี และเคารพผู้อื่นเพราะเขาไม่เหมือนเรา"อิๆ
เพราะ "เราเหมือนกันในความเป็นมนุษย์
แต่ไม่เท่าเทียม ใน
-ความสามารถ
-โอกาส
-ระดับภูมิจิต ธรรม ปัญญา

"(จาก 108ปัญหาพุทธธรรม ที่ถูกถามมากที่สุด ของปู่ลิง)
Suraphol Kruasuwan
originally shared to ชาวพุทธ (สนทนาธรรมตามกาล):


:http://puling-222.blogspot.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 17, 2014, 11:34:37 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: นิทานปู่ลิง :โลกมีสอง....ธรรมมีหนึ่ง?
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: กันยายน 27, 2013, 12:51:53 pm »
"คนที่น่าสงสาร ในโลก
-คนที่ไม่รู้
-คนที่รู้แต่คิดไม่เป็น
-คนที่พบผู้รู้มีคุณธรรมเตือน แต่ไม่รับฟัง
-คนที่อัตตาใหญ่เกินไป จนไม่มีใครมาสั่งสอน
-คนที่ใกล้หมดลม
จนไม่มีเวลาเปลี่ยนวิสัยทัศน์ นิสัยสู่ทางสว่างฯ"

Suraphol Kruasuwan

คนที่น่าสงสารที่สุดในโลก คือ
-เกิดในชัยภูมิที่ดี แต่ไม่รู้ว่าดี
-พบคนดี มีมโนธรรมดี แต่ลบหลู่คุณท่าน
-ไม่ได้ มีจุดยืนที่เหมาะสม เอาอัตตาเลวตนเป็นที่ตั้ง
-ไม่สร้างคุณความดี
แต่เรียกร้องให้ทุกคนให้สิ่งดีๆให้ตน และพวก
**************

ส่วนใหญ่ คนเรียนรู้เรื่องเซนจากนิทาน
ซึ่งจริงๆแล้ว เซนนั้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
เพราะจบด้วยคำว่า “ว่าง”
จบด้วยคำว่า “ไม่มีในมี”
คือ มีสภาวะแต่ไม่มีตัวตน

และวิถีชีวิตของเซนจะออกมาในรูปของ
นิทานหรือปรัชญา
จะไม่ต้องการคำอธิบายมากมาย
คือเซนจะให้ใช้ปัญญา คือนิ่งคิด
คือต้องการให้คนนิ่งมากที่สุด และพูดน้อยที่สุด
***************
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 21, 2016, 05:00:02 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: 1000 นิทานปู่ลิง :วาสนาและวิบาก
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2014, 09:49:21 am »


1000นิทานปู่ลิง
วาสนาและวิบาก
พุทธศาสนา จะเชื่อว่า
ใครเจริญ วาจา ใจ กาย ในทางกุศล ย่อมเป็นฤกษ์ดี และเป็นที่มาของวาสนา ของคนนั้น

//-ในกรีก มีนิทาน เปรียบเปรยไว้น่าสนใจ
ในการเสด็จ ท่องชมโลก ของซูส(มหาเทพ ผู้ปกครองสวรรค์)
กับเฮอร์เมส(เทพสื่อสาร)ผู้เป็นบุตร
โดยปลอมตัว เป็น"ผู้เดินทาง ยากไร้"
วันหนึ่งมาถึง บึง อุดม มีนกอินทรีย์ กำลังโศก เฝ้า ซากเต่า
มีสัตว์ในบึง มาร่วมไว้อาลัยไม่น้อย เป็นเรื่องแปลก

จึงถามนกอินทรีย์ว่า อาหารอยู่ตรงหน้าไย ท่านจึงโศกเล่า
-มิใช่อาหาร เป็นสหายรักของข้า
-เรื่องเป็นยังไง?
-"ข้ากับเต่า คบหากันมานาน เต่าเป็นผู้สนใจใฝ่รู้
มักจะให้ข้าพูดถึงโลก อันงดงามกว้างไกล ให้ฟังเสมอ
วันหนึ่งเต่า อยากจะเห็นด้วยตาตนเอง
จึงคิดแผน ให้เต่าคาบไม้ และข้าก็ใช้กรงเล็บ หิ้วท่อนไม้นั้น พาเต่าเหิรฟ้า ชมโลก"
-"แต่ข้าก็ห่วง เพราะเต่า มีนิสัยปากเสีย ชอบด่าว่าผู้อื่น เรื่องวาสนาด้อยกว่าตน
ตนแม้นจะไม่ได้ท่องโลก ก็มีความรู้ยิ่งกว่า สัตว์ทุกตัวในบึง
เพราะฟังเรื่องราวจากข้า"
-จึงตกลงกันว่า ระหว่างข้าพาเหิรฟ้า เต่าต้องสำรวม
ไม่เอ่ยวจีใดๆ
........................................
-เต่าก็ไปคุยโวให้สัตว์ ในบึงว่า"พรุ่งนี้ข้าจะบิน"
สัตว์ในบึง ก็ มาชุมนุม ตั้งใจดู"เต่าบิน"
..................................
แล้วนกอินทรีย์ก็เต่าบิน ตามวิธีที่ตกลงกัน
.............................
ตอนกลับมา จะร่อนลง
พวกสัตว์ในบึง ก็ตะโกน เยาะเย้ยเต่า
"เองถ้าไม่มีนกอินทรีย์วางแผนให้ และพาไป
ปัญญาแค่หางเต่าเอง ไยจะได้ท่องโลก"
เจ้าเต่าปากไว้ เดือดฝุดๆ ตอบสวนไปทันที่
ก็ข้ามีวาสนามากกว่าพวกเอง"
พออ้าปาก เต่าก็ร่วง ลงกระแทกพื้น กระดูกมากองนอกตัว สิ้นชีพ อย่างที่เห็น
...............................
ซูสจึงกล่าวแก่ เฮอร์เมส เป็น เรื่องสอนใจมนุษย์อย่างดี
วาสนามาเพราะปาก(ความฉลาดของเต่า)สนทนากับผู้รู้
วาสนา ก็จากไปเพราะปาก(เสีย)
จึงทรงชุบชีวิตเต่าขึ้นใหม่
เป็นผู้มีกระดูกหุ้มเนื้อ อย่างที่เห็น
และมีปาก งุ้มคม ไว้กัดลิ้นตน หากพูด สิ่งที่ไม่เป็นมงคล
.....................................

วาสนา มาเพราะปาก
ปากก็พาวิบากมาสู่ ชีวิตได้เช่นกัน สาธุ
Suraphol Kruasuwan
Shared publicly  -  Jun 10, 2014


ออฟไลน์ 時々होशདང一རພຊຍ๛

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1011
  • พลังกัลยาณมิตร 1119
  • แสงทองส่องฟ้าคือชีวิต
    • ดูรายละเอียด
Re: นิทานปู่ลิง :โลกมีสอง....ธรรมมีหนึ่ง?
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2014, 10:03:29 am »


:46: :46: :46:


ขออนุญาตนำไปแปะที่เว็บ ฯ ผม ครับ พี่ แป๋ม
ชิเน กทริยํ ทาเนน


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: นิทานปู่ลิง :โลกมีสอง....ธรรมมีหนึ่ง?
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2014, 10:09:54 am »

 
ธรรมะ..คือ
แบบเซ็น
.......................
ตักม้อโจ้วซือ...พระโพธิธรรมเถระ...ผู้ให้กำเนิดวิชาบู้ของเส้าหลิน
ถามศิษย์ว่า........ธรรมะคืออะไร?
ศิษย์สี่คน ตอบว่า
1.สิ่งที่อยู่เหนือของคู่ (คือ หนังห่อหุ้มธรรมะ)
2.สิ่งที่มองเห็น ทั้งตาเนื้อ และตาปัญญา (คือ เนื้อของธรรมะ)
3.ว่างจากสรรพสิ่ง (คือ กระดูกของธรรมะ)
4.ธรรมะแท้ รู้ได้เฉพาะตน (คือ ไขกระดูกของธรรมะ)
..............................
ของคู่ หรือ นันทวันธรรม....เป็นสิ่งตรงข้าม แต่สร้างสรรพสิ่ง รวมทั้ง ความรู้สึก ดี ชัว/ชอบ ชัง/ ผิด ถูก/ทุกข์ สุข/
ตาปัญญามีห้า ...............พุทธะจักษุ ธรรมะจักษุ สมันตจักษุ(ความรู้รอบตัว) ฌานจักษุ(ผลจากการฝึกฌานสมาบัติ)
ทิพย์จักษุ(การเห็นด้วยปรีชาญาณที่ละเอียดลึกซึ้ง)
ว่าง.............................คือว่างจากสิ่งที่ไม่ควรอยู่ในจิต
คือว่างจาก อุปาทานในตัณหา อุปาทานในขันธ์ห้า
ธรรมะแท้......................อธิบายไม่ได้..ที่บอกได้ คือ ทางเข้าถึงธรรมะ
ภาคปฏิบัติคือ โพธิปักขิยะธรรม37 หรือนิปปปัญจธรรม ไปฝึกเอาเอง สาธุ
.......................................
ฝึก...... อยู่เหนือของคู่ ที่เป็นสิ่งเร้าภายนอก ความปรารถนาภายใน
ฝึก...... เปิดตาปัญญา มองเห็นธรรมชาติ ทั้ง สมมุติ ธรรม ปรมัตถ์ อริยะ
ฝึก...... ทำใจให้ว่าง จากกิเลส ตัณหา อุปาทาน
ฝึก...... สติปัญญา ให้ตื่น เป็นปรีชาญาณ รับรู้ประสบการณ์การเปลี่ยนแปลง ภายใน ด้วยตนเอง
สาธุ


http://www.buddhadasa.com/zen/zen10.html
รู้ละ....รู้วาง....รู้ว่าง.....รู้เย็น....รู้ก่อนชนะก่อน สาธุ
Suraphol Kruasuwan
สนทนาธรรมตามกาล  -  Jun 2, 2014


The Zen - วิถีเซน
Aug 20, 2015
Originally shared by Suraphol Kruasuwan

....ทางสู่เซน มีโศลกธรรม สี่บรรทัด"
1.ไม่เกี่ยวกับอักษร(ในตำรา)
2.ตรงเข้าสู่จิต(สติกุมสภาพจิตเสมอ)
3.บรรลุโดยฉับพลัน(ปฏิภาณตื่นตัว พลิกจิตว่องไวยามกระทบโลก ธรรม )
4.เพราะทุกคนมีธาตุพุทธะ อยู่แล้ว(จิตเอื้อเฟื้อ ใช้สติปัญญาว่องไว ความมั่นคงในอารมณ์ มโนธรรม)

จริงหนอ เวไนยสัตว์ทั้งปวงต่างมีอนุตตรสัมมาสัมโพธิเหมือนกันหมดทุกคน
ต่างกันแต่เพียงมี ผู้รู้ กับไม่รู้เท่านั้น"
.................................
เซน เซ็น....มีฌานทุกขณะจิต
1.รูปฌาน...............เพื่อมีอารมณ์ ที่มั่นคง
เหลือแค่ ปิติ สุข อุเบกขา จิตเป็นหนึ่งเดียวกับทุกธรรมชาติ
2.อรูปฌาน.............เพื่อ มีวิสัยทัศน์ ความรู้ ที่ถูกต้อง
-รู้ว่า จักรวาลที่ปรุงแต่งเปลี่ยนแปลง แปรปรวน ไม่สิ้นสุด
-รู้ว่า ความรู้ ของจักรวาล ไม่มีที่สิ้นสุด
-รู้ว่า ธรรมอันเป็นของคู่ สร้าง มายา ลีลา เกิดเป็นสรรพสิ่ง
-รู้ว่า ทุกสิ่ง มีบทบาทหน้าที่ แต่มนุษย์โชคดี"เขียนบทให้ตนเองเล่นได้ในบางเรื่อง"
3.โลกกุตระฌาน.....เพื่อ ญาน หยั่งรู้ตื่น พ้นอาสวะ สาสวะ ทั้งปวง เย็นฯ
รู้วิธี ปลุกสัมมาสติโพธิปัญญาตื่น มากุมสภาพ จิตปรุงแต่ง
ล้างขยะปรุงแต่งจิต ทั้งที่เป็น อกุศล และกุศล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 31, 2017, 05:31:35 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: นิทานปู่ลิง :โลกมีสอง....ธรรมมีหนึ่ง?
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: ธันวาคม 19, 2014, 09:57:15 am »


 
Zen เซ็น จิตดุจสายฟ้า
นิกายธฺยาน
"ทำบุญแล้วต้องมีกุศล คือ ฉลาดขึ้น"
"ฉลาดรู้ถ้วนทั่ว...................ทำดี
ฉลาดรู้ราวี..........................กำหราบชั่ว
ฉลาดรู้พัฒนาศักยภาพ.........ของตัว
ฉลาดพาจิต พ้น...................ความพันพัวกระแสโลก สู่วิมุติธรรมฯ"

สาธุ

นิกายธฺยานหรือเรียกอีกอย่างก็คือนิกาย "เซ็น" นั่นเอง
มาจากศัพท์ว่า ธฺยาน(สันสกฤต) หรือ ฌาน(บาลี)
นิกายนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมากแม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ ได้แพร่หลายออกไปยังนานาอารยประเทศ เช่น
ในยุโรปและอเมริกา ผู้ตั้งต้นนิกายนี้คือพระโพธิธรรม ชาวอินเดียภาคใต้ ได้เข้ามาเผยแพร่ในเมืองจีน
ในรัชมัยของพระเจ้าเหลียงบูเต้ ครั้งพระโพธิธรรมได้เข้าไปเฝ้าพระองค์ พระเจ้าเหลียงบูเต้รับสั่งถามว่า
โยมสร้างวัดเป็นจำนวนมาก บวชพระเป็นจำนวนมาก จะมีอานิสงส์เป็นอย่างไร
พระโพธิธรรม ตอบว่า ไม่มีเลย เพราะเป็นฝ่ายวัฏฏคามินีทั้งนั้น (ใด้บุญ แต่ไม่ใด้กุศล
คือไม่ใด้ฉลาดขึ้น)

คำตอบของพระโพธิธรรมไม่เป็นที่พอใจของพระเจ้าเหลียงบูเต้
หลังจากนั้นพระโพธิธรรมก็เดินทางไปจำพรรษาที่วัดเสี่ยวลิ่มยี่ นั่งเข้าฌานหันหน้าเข้าหาฝาผนังอยู่ ๙ ปี
ไม่ลุกขึ้น ท่านโพธิธรรมได้แต่งตั้งพระภิกษุฮุ้ยค้อ เป็นสังฆนายกนิกายเซ็นเป็นลำดับที่ ๒
แต่นั้นก็มีอาจารย์สืบมาจนถึงองค์ที่ ๖ คือ ท่านเว่ยหล่าง

"นิกายเซ็นนั้น ถือว่าการบรรลุมรรรคผลนั้น ไม่ใช่อยู่ที่ตัวบทอักษร หรือความรู้ในด้านปริยัติ
แต่ต้องอยู่ที่การขัดเกลาจิตใจของตนเองเป็นสำคัญ"
แม้จะเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกแต่เป็นผู้รกรุงรังอยู่ภายในจิตใจก็ใช้ไม่ได้ ต้องบริสุทธิ์ทั้งภายนอกและภายใน
"นิกายเซ็นถือเป็นนิกายแห่งปัญญาวิมุตติ"ถือปัญญาเป็นเรื่องสำคัญ มีวาจาที่เป็นประดุจดาบสองคม
คือพูดสอนตรงประเด็นเลย คนรับได้ก็ดีไป คนที่ไม่เข้าใจหรือรับไม่ได้ก็อาจเป็นปรปักษ์ไปเลยทีเดียว

มีคำขวัญประจำนิกายเซ็นว่า "ปุกลิบบุ้นยี่ ติกจี้นั้งซิม เกียงแส่ ซั่งฮุด"๒ แปลว่า
"ไม่ต้องอาศัยหนังสือ แต่ชี้ไปตรงจิตของมนุษย์ให้เห็นแจ้งในภาวะที่แท้จริง
แล้วจะบรรลุเป็นพุทธะ" นิกายเซ็นถือว่าสรรพสัตว์มีพุทธภาวะอยู่ภายในตัวทุก ๆ คน
คำพูดหรือตัวหนังสือไม่เพียงพอที่จะอธิบายสัจภาวะอันนี้ได้ เพราะฉะนั้น
บางคราวจำต้องอาศัยปริศนาธรรมและคำพูดที่เสียดแทงเข้าไปถึงหัวใจ วิธีนี้นิกายเซ็นเรียกว่า
"โกอาน" แปลว่า ตามตัวควรจะมีปริศนาธรรม สำหรับมอบไปให้ศิษย์ไปขบคิด ผู้ใดขบคิดปัญหาโกอานแตก
ผู้นั้นก็มีดวงตาเห็นธรรมได้

ดังมีตัวอย่างปริศนา โกอาน ครั้งหนึ่งในฤดูหนาวมีหลวงจีนท่านหนึ่ง
เมื่อหิมะตกจัดจึงเดินเข้าไปในโบสถ์แล้วนำเอาพระพุทธรูปมาทำฟืนเผาไฟ
บังเอิญสมภารในวัดเดินผ่านมาพบเข้าจึงทักท้วงว่าทำไมกระทำเช่นนั้น
หลวงจีนท่านนั้นจึงบอกว่าจะเผาหาพระบรมธาตุ สมภารบอกว่าจะหาพระบรมธาตุมาจากไหนได้พระพุทธรูปเป็นไม้
หลวงจีนท่านนั้นก็กล่าวกะสมภารอีกว่า งั้นก็ขอเอาพระพุทธรูปมาเผาอีกสัก ๒ - ๓ องค์
สมภารเมื่อได้ฟังดังนั้นก็มีดวงตาเห็นธรรมในทันที
"ปริศนาธรรมตรงนี้หมายความว่า จะหาพุทธะในภายนอกนั้นไม่ได้ พุทธะอยู่ภายในตัวของเรานี้เอง
วัตถุบูชาเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น"
---------------------------------------------------------

ยกประวัติ เซ็น ในจีนมาไว้นิดหนึ่ง เป็นแนวทางก่อน
---------------------------------------------------------
คนที่เข้ามาสู่ การใฝ่ธรรม มักจะแยกเป็นสองสาย
1.นำไปสู่ ความศัทธาใน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ลึกลับ พิศดาร
พิธีกรรม และปฏิบัติ เพื่อผลอันเป็นทิพย์นั้น
2.นำไปสู่ สติปัญญา ชีวิตมีชีวา เห็นคุณค่าเคารพธรรมชาติ
ในอริยะธรรม มนุษย์ธรรม และลงมาทำหน้าที่
ด้วยความไม่ติดยึด ทั้งชั่วดี และอัตโนมติของใคร
และพบเสรีธรรมแห่งชีวิต ด้วยตนเอง
----------------------------------------------------------

เซ็นก็อยู่ในกลุ่มที่สอง ดังนั้นพฤติกรรมคนที่ถึงเซ็นแท้
ไม่ใช่อ่านหนังสือแล้วคิดว่า ตนเป็นเซ็น ทั้งๆยังไม่ผ่าน
ระบบระเบียบ แลเข้าถึง"ซาเซ็น" หรึอฝึกสมาธิจนเกิดเป็น
ฌานทุกขณะจิต หรึอมีชีวิตอยู่ในองค์ฌาน1-4 ตลอดเวลา
มีนิทานเซ็นรับรองคือ
มีศิษย์เซ็น คิดว่าตนสำเร็จ จะมาลาอาจารย์
เมื่อแจ้งความประสงค์แล้ว
อาจารย์ก็ถามว่า "ท่านเอาร่มวางไว้ตรงไหน"
ศิษย์ก็คิดสักครู่ แล้วก็กราบอาจารย์
กลับไปทำงานวัดตามเดิม
เพราะท่านรู้ว่า"ตนยังไม่สำเร็จเซ็น"
ด้วยความประหม่า เลยไม่สังเกตุเห็นว่า ตนวางร่มไว้ตรงไหน? ทำให้ ไม่อยู่ในองค์ฌาน ที่อุดมด้วยสัมมาสติ
ทุกขณะจิตเป็นธรรมชาติธรรมดา ตามวิถีเซ็น สวัสดีครับ
"""""""""""""""""""""""""""

พระพุทธเจ้าแยก จิต ไว้ง่ายๆ สามระดับ
1.จิตแบบแผลเก่า ที่ทุกข์ทรมาน ด้วยเพลิงทุกข์ เพลิงกิเลส ที่ตนเองชงขึ้น
2.จิตแบบสายฟ้า(พลิกจิต กลับร้ายเป็นดีได้ ทันด้วยสติที่ว่องไว ปัญญาเฉียบคม ดังสายฟ้าฟาด)เห็นอริยสัจจะ ที่เกิด ดับในจิตทันทีด้วยสติที่ว่องไว ดุจสายฟ้า
3.จิตแบบเพชร(แข็งแรง มั่นคง สว่าง ไม่เก็บแสง ทุกอย่างผ่าน ไป ไม่ปรุงแต่ง อารมณ์ทุกข์ กิเลสได้อีก) หรือมีเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ พร้อมกัน
เซ็น ตั้งเป้าหมายอยู่ที่"จิตแบบสายฟ้า"
.....................

เซน เซ็น

Suraphol KruasuwanOWNER
การสนทนา  -  Nov 28, 2014
คนรัก รักษ์ สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง
https://plus.google.com/u/0/communities/102080888916677168217

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: นิทานปู่ลิง :โลกมีสอง....ธรรมมีหนึ่ง?
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2016, 05:19:26 pm »


เล่าสู่กันวันหยุด
Originally shared by Suraphol Kruasuwan

นาคารชุนะ (नागार्जुन; ละติน: NĀGĀRJUNA; เตลูกู: నాగార్జునా; จีน: 龍樹; มีชีวิตในช่วงประมาณ พ.ศ. 700 - 800) เป็นนักปรัชญาอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสำนักมัธยมกะ (ทางสายกลาง) ในนิกายมหายาน แห่งพุทธศาสนา และนับเป็นนักคิดชาวพุทธที่มีอิทธิพลสูงสุด ถัดจากพระพุทธเจ้า เป็นที่ศรัทธาและกล่าวถึงในหมู่นักศึกษาพุทธศาสนาชาวยุโรปมาโดยตลอด ท่านเป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่มีผลงานโดดเด่นในด้านปรัชญาและตรรกวิทยา ผลงานสำคัญของท่านคือ มาธยมิกการิกา (มาธยมิกศาสตร์)อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดศูนยวาท ประกอบด้วยการิกา 400 การิกา ใน 27 ปริเฉท หนังสือเล่มนี้ได้รับการยกย่องตลอดมา และเป็นที่ยอมรับกันว่านักตรรกวิทยาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระนาคารชุนะไม่เคยมีปรากฏในโลก[ต้องการอ้างอิง] ศาสนิกชนมหายานทุกนิกายยกย่องท่านในฐานะคุรุผู้ยิ่งใหญ่เสมอ อย่างไรก็ตาม ประวัติของท่านกลับไม่ชัดเจนเท่าที่ควร(วิกิพีเดีย)
..
..
หลังพุทธกาล พุทธศาสนา
ได้ถูกดึงไปสู่ ลัทธิ เทวะนิยม ที่มาจากกรีก
และ ลัทธิโพธิสัตว์ ซึ่งกำเนิดมหายาน
นาคารชุน เห็นว่า แก่นแท้ คำสอน
"สุญตาวิหาร" จะสูญไปตามกระแสสังคม

จึงตั้ง "ลัทธิศูนยวาท" คือ อยู่กลางระหว่าง
อุจเฉททิฎฐิ (กายคือชีวิตแท้)
สัสสตทิฎฐิ(จิตคือชีวิตแท้)
ทั้งคู่คือมายา ที่อัตตาหลอก จิตแท้จิตเดิม
เพราะ ไม่มีอะไรเที่ยงแท้อยู่ได้ด้วยตัวมันเอง

เมื่อจิตว่างจากการปรุงแต่ง ย่อมเห็น ความจริงนั้น
และ เป็นการเริ่มต้น ของ ความคิดแบบเซน
คือมีฌานทุกขณะจิต เห็นความไม่มีแก่นสารของกาย และจิต
จนมายา ลีลา ธรรมชาติ
หลอก  สร้างอารมณ์ทุกข์ได้อีก
........................................

มีนิทานเซ็น ท่านเมตไตรย
(พระจีนที่มีชีวิตอยู่จริง ที่มีกระสอบแบกอาหาร ที่เหลือ
ไปแจกเด็ก คนชรา คนด้อยโอกาส)
วันหนึ่ง มีคนถามท่านว่า "เซ็นคืออะไร"
ท่านก็วางกระสอบลง นั่งทำท่าครุ่นคิด
จนคนถามรอนาน ก็ เดินจากไป
ท่านก็แบกกระสอบ ไปแจกอาหารให้เด็กๆต่อไป
.................................

สมณะชี่ฉื่อ 契此 หรือภิกขุถุงย่าม 布袋和尚 เป็นชาวมณฑลเจ้อเจียง เกิดปีไม่ทราบชัด มรณะภาพในราวปี ค.ศ.916-917 ซึ่งอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์ถัง ต่อเนื่องไปถึงโฮ่วเหลียง 后梁 ของยุคห้าราชวงศ์สิบแคว้น

ราชวงศ์ถังที่ยิ่งใหญ่วัฒนาสถาพรอยู่ได้ร่วมสามร้อยปี ที่สุดก็ล่มสลายลงในปี ค.ศ.907 แต่กว่าราชวงศ์ซ่ง (แบ่งเป็นซ่งเหนือและซ่งใต้) จะตั้งราชวงศ์ใหม่ขึ้นได้ ก็เป็นตกเข้าไปปี ค.ศ. 960 ในช่วงเวลาสั้นๆ เพียงห้าสิบกว่าปีระหว่าง ค.ศ. 907-960 มีราชวงศ์ที่คนไทยไม่ค่อยรู้จักเกิดขึ้นถึง 5 ราชวงศ์ ทั้งยังมีแว่นแคว้นอีก 10 แว่นแคว้น ประวัติศาสตร์จีนเรียกยุคสมัยนี้ว่า “อู่ไต้สือกั๋ว” 五代十国

สมัยราชวงศ์โฮ่วเหลี่ยง ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าราชวงศ์สมัยนั้น (ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ.907-923) ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ลักษณะท่าทางแปลกกว่านักบวชทั่วไป กล่าวคือมีรูปร่างอ้วนพุงพลุ้ย แถมยังครองจีวรค่อนข้างหลุดลุ่ย คือเปิดเผยส่วนหน้าอกและส่วนท้อง มือข้างหนึ่งถือลูกประคำ ส่วนอีกข้างหนึ่งถือไม้เท้า ส่วนปลายไม้เท้า มีถุงผ้าหรือย่ามอยู่หนึ่งใบ มักเดินไปมาตามถนนหนทาง บอกบุญขอบิณฑบาตกับชาวบ้านอยู่เป็นประจำ พอได้ปัจจัยและอาหาร ก็รีบเก็บใส่เข้าไปในถุงย่าม หิวเมื่อใดก็หยิบอาหารออกมาฉันท์ ฉันท์เหลือก็เก็บใส่ถุงย่ามดังเดิม นักบวชรูปนี้วางตัวตามสบาย ไม่อนาทรร้อนใจ ใบหน้ายิ้มเริงร่าตลอดเวลา แต่มีคุณลักษณะพิเศษคือ สามารถบอกฤกษ์งามยามดีให้แก่ชาวบ้าน อีกทั้งสามารถเตือนให้รู้ถึงดินฟ้าอากาศ ฝนตกฟ้าร้องได้ล่วงหน้า เป็นผู้ให้กำเนิดกรมอุตินิยมฯ ของเมืองจีนประมาณนั้น

บางครั้ง พระภิกษุถุงย่ามเดินไปทางใด จะมีเด็กๆ เดินตามเป็นทิวแถว เพราะหลวงพี่มักล้วงเอาของจากย่ามมาแจกเด็กๆ แถมแจกเท่าไหร่ก็ไม่หมด (สังเกตดูเครื่องกระเบื้องรูปพระอ้วนยิ้มร่าบางรูป มีเด็กเล็กเกาะเต็มตัวยั้วเยี้ยไปหมด)

ราวปี ค.ศ. 916-917 สมณะขี่ฉื่อ หรือพระภิกษุถุงผ้า(ย่าม) มรณะภาพที่วัดเวี่ยหลินเมืองหมิงโจว 明州岳林寺 (ปัจจุบันอยู่ในเมืองหนิงโป มณฑลเจ้อเจียง) ก่อนท่านจะละสังขาร ท่านได้เอื้อนเอ่ยปริศนาธรรมขึ้นว่า
「弥勒真弥勒,分身千百亿,时时示时人,时人自不识。」
.......................................................
http://www.manager.co.th/mwebboard/listComment.aspx?QNumber=294686&Mbrowse=33
สาธุ
19.11.59
Suraphol KruasuwanOWNER
https://plus.google.com/u/0/+SurapholKruasuwan

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: นิทานปู่ลิง :โลกมีสอง....ธรรมมีหนึ่ง?
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2016, 08:40:13 pm »
มุมกาแฟ
"จริงๆปู่ลิง ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ
อาจตกใจสำหรับบางคน
แต่นับถือ"ปรัชญาพุทธ" และเลือกเอา วิถีแบบ"เซน"
เป็นสารณะ มาหลายปีแล้ว
เพราะคำว่าศาสนา หมายถึงสิ่งที่เราพึ่งพา
มีหลายด้าน ทั้งศาสนาธรรม ศาสนาวัตถุ ประเพณี
พิธีกรรมที่งอกเงยตาม
ความเห็นของอาจารย์ที่สอน(อัตโนมติ)
มีทั้งชวนให้บ้าบุญ (เอาสวรรค์มาหลอกขาย)
เป็นนักสิทธิ(มีฤทธิ์ มีอำนาจ)
แทนที่จะเป็นพระอริยะ
พึ่งรูปเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์(เป็นวัฒนธรรมกรีก)
แทนที่จะพึง สติปัญญา เจตนาแท้ๆของพุทธเจ้า
คือ
1."พ้นเพลิงอารมณ์ทุกข์ เพลิงกิเลส"
ด้วยการฝึกล้างขยะในใจตนเอง
เลิกลงโทษ ผู้อื่น
และเร่งฝึกตน(คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร)
2.สุขจากการแบ่งปัน(หิตายะสุขายะ)
ทำหน้าที่ที่เป็นมงคลชีวิต"(มงคล คือโชคดีที่ต้องทำเอง)
3.ไม่ประมาทในสิ่งปรุงแต่ง
อันไม่เที่ยง ไม่แท้ ยึดแล้วทุกกินหัวใจเรา อิๆ
แต่ก็ยินดีเป็นมิตรกับ ผู้ที่เชื่อ ชอบ ในทุกศาสนา นะครับ
...........................................
ส่วนใหญ่ คนเรียนรู้เรื่องเซนจากนิทาน
ซึ่งจริงๆแล้ว เซนนั้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
เพราะจบด้วยคำว่า “ว่าง”
จบด้วยคำว่า “ไม่มีในมี”
คือ มีสภาวะแต่ไม่มีตัวตน
และวิถีชีวิตของเซนจะออกมาในรูปของนิทานหรือปรัชญา
จะไม่ต้องการคำอธิบายมากมาย
คือเซนจะให้ใช้ปัญญา คือนิ่งคิด
คือต้องการให้คนนิ่งมากที่สุด และพูดน้อยที่สุด 

Originally shared by Suraphol Kruasuwan
**************************

เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
เซนกับพุทธศาสนา ตอนที่ 1
22 พ.ค. 2558
 
        ตอนนี้กระแสของเซนนั้นกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน  ไม่ว่าจะเป็นการจัดสวน  การจัดบ้านและการจัดห้องพระแบบเซน  เป็นต้น
 
        ความหมายของเซน  คือ  ปรัชญาหรือธรรมะขั้นสูงที่จะเป็นองค์ประกอบของคำว่าไม่มีอะไร  ซึ่งเป็นแนวทางการใช้ปัญญาที่พิจารณาสรรพสิ่งว่าไม่มีแก่น ไม่มีสาระ และไม่มีตัวตน
 
        และเป็นการใช้ปัญญาพิจารณา กายในกาย  ความหมายของกายในกายคือ  เรากลับไปพิจารณาว่า กายมีอะไรบ้าง และในที่สุด กายของเราก็ไม่เที่ยงเหมือนกับศัพท์คำว่า  ฝุ่นเกาะกระจก ต้องคอยเช็ดให้สะอาด  แต่ลองคิดว่า ถ้าไม่มีกระจกก็จะไม่มีฝุ่นมาเกาะ นี่เป็นวิธีคิดแบบเซ็น คือตัดที่ต้นตอ หรือรากเหง้า
 
        เซน นั้นเป็นลัทธิหนึ่งของญี่ปุ่น  ซึ่งคำว่านิกายหรือว่าลัทธิ จะเป็นลักษณะของปรัชญาที่เด่นในเรื่องอะไร  แต่ทุกอย่างจะอยู่ในเรื่องของสมาธิและการแสวงหาธรรมกับคำว่า “ไม่มี”
 
        ยกตัวอย่างนิทานเซน  มีพระอยู่  2 รูปและไปเจอผู้หญิงแต่งตัวสวยแบบผู้ดี ซึ่งเจอหนองน้ำสกปรกแล้วไม่อยากจะข้ามไป   แล้วพระก็อุ้มผู้หญิงข้ามน้ำไป  พระอีกรูปที่ตามมาด้วยก็ข้องใจว่าท่านเป็นพระแล้ว ท่านไปอุ้มสีกาได้อย่างไร  ต่อมาก่อนจะจำวัด พระรูปนั้นก็เลยถามพระที่อุ้มหญิงสาวองค์นั้น  พระที่อุ้มสีกาก็บอกว่า “ข้าพเจ้าวางไว้ตรงนั้นแล้ว แต่ทำไมท่านยังอุ้มผู้หญิงคนนั้นมาอีกหรือ”  นี่คือเซน  คือการไม่ข้อง จบแล้วจบเลย
 
        อีกกรณีหนึ่ง มีผู้หญิงเป็นลม แต่ว่ามีผู้ชายอยู่ใกล้ๆเยอะเลย แต่ไม่ได้อุ้มผู้หญิงคนนั้นไปส่งโรงพยาบาลเพราะเกรงว่าจะไปล่วงละเมิดผู้หญิงคนนั้น ผู้ชายจะดูไม่สุภาพ  แต่ว่าเวลาคนเจ็บป่วยไม่ปกติ คนจะไม่นึกถึงเกียรติหรือศักดิ์ศรีอะไรแล้ว  จริงๆแล้วเซนลงลึกซึ้งไปถึงจิตใจของคนที่ส่วนลึกของคำว่าว่าง  และวาง  นี่คือคำพูดของเซนง่ายๆที่กินใจ เป็นลักษณะของการปฏิบัติที่มุ่งเน้นที่ใจอย่างเดียว
 
        ยกตัวอย่างพุทธศาสนา มีพระศาสดา มีการประกาศพระศาสนา  และแบ่งคนออกเป็น  4  เหล่า เป็นการแยกแยะให้ชัดเจนว่าบุคคลที่สอนได้เป็นเวไนยสัตว์ ส่วนที่สอนไม่ได้คือ อเวไนยสัตว์  ดังนั้นเมื่อแยกแยะแล้ว พระองค์จะไปในที่ที่สมควร  ที่สอนแล้วมีผล ส่วนที่สอนแล้วไม่เป็นผล สถานที่นั้นก็เป็นที่อโคจร
 
        แต่ว่าเซนไม่มีระเบียบหรือมีหลักเกณฑ์อะไรตรงนี้  เซนไม่ยึดอะไร  ไม่มีกฏมีเกณฑ์   ไม่เผยแพร่  ไม่พูด  แต่เน้นไปที่จิตใจ  แต่สุดท้ายแล้วก็ไปถึงเหมือนกันกับศาสนาพุทธคือ  “ความว่าง”
 
        มีคนกล่าวถึงศาสนาพุทธว่า  หินยานให้นั่งสมาธิ  มหายานให้ท่องบทภาวนา  เซนบอกว่าให้ท่องตามลำธารน้ำเล่น
 
        มาเริ่มต้นดูที่เซนก่อน  เซน กล่าวว่าให้ท่องตามลำธารน้ำเล่น  คือ  นั่งดูไปตามธรรมชาติและใจไปตามกระแสน้ำ  กลืนกับธรรมชาติ  กับความว่าง กับน้ำ  สิ่งที่อยู่รอบๆตัว ไม่ว่าจะเป็นการไหลของน้ำ  เสียงของลม  แต่ว่าตัวเราไม่แยกระหว่างเรากับธรรมชาติ  แต่ทุกอันคืออันหนึ่งอันเดียวคือ  ความนิ่ง ความเงียบ  อยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน เป็นสมาธิแบบเซน
 
        ส่วนของนิกายมหายานที่ให้ท่องบทภาวนา  คือ  เอาจิตไปผูกกับคำภาวนาเพราะเป็นคำภาวนาที่อ่อนโยน  การสรรเสริญเป็นการผูกใจให้อยู่กับไตรสรณะคม(พระพุทธ  พระธรรม พระสงฆ์)  เข้าสู่ความเป็นอุบาสก  อุบาสิกาและปฏิบัติต่อในแนวของหินยาน
 
        ถ้าเปรียบหินยาน ถือว่าพระรัตนตรัยสูงสุดอยู่บนยอดเขา   มหายานจะอยู่ตรงเนินเขาก่อนที่จะก้าวเข้าไปสู่ขั้นสูง  เป็นการเตรียมจิต และจะได้พื้นฐานของจิตที่สงบ ฉะนั้น จึงจำเป็นจะต้องอาศัยสมาธิจากการท่องบ่น หรือสวดมนต์ ออกเสียง เป็นการปรับพื้นฐาน  ให้จิตผูกอยู่กับคำพูดตรงนั้นซึ่งเป็นคำพูดที่เป็นมงคลเป็นภาษาเดียวกัน  สัมผัสด้วย อายตนะ  คือ หู ได้ยินเสียงที่ตนสวด  รูปที่เห็นทั้งบทสวด และรูปพระพุทธรูป
 
       บางครั้งเสียงตัวเองอาจจะไม่ไพเราะ เพียงแต่ว่าเป็นถ้อยคำที่ไพเราะ  ดังนั้นหากเป็นเสียงเพลงที่เป็นบทสวด  และจิตตามก็เป็นสมาธิได้ และที่เปล่งวาจาด้วยตนเองออกมา ด้วยเสียงสวดนั้นทำให้เกิดความเลื่อมใสและศรัทธาในเสียงที่ก้องกังวาลของตน และผู้อื่นรวมกัน อันนี้จะทำให้เกิดสมาธิได้  เป็นอุบายอย่างหนึ่งในการสร้างสมาธิ
 
        ฉะนั้น มหายานคือการรวมจิตเสียก่อนของบุคคลที่มีความทุกข์ยากลำบาก  ที่ไม่รู้จักคำว่าศาสนา  มีแต่ประเพณีที่กระทำต่อมาโดยหาสาเหตุไม่ได้  ประเทศที่กว้างใหญ่  ภาษาที่มากมาย หรือว่าการนับถือบูชาเทพเจ้ายังคงอยู่  อันนี้จำเป็น  การท่องมนต์ในการบูชาพระโพธิสัตว์ก็ดี  หรือว่าพระรัตนตรัยก็ดี เป็นการรวมจิตเพื่อให้สงบนิ่งและเกิดปัญญาในการพิจารณา
 
        ถ้าเปรียบหินยาน พระรัตนตรัยอยู่บนยอดเขา  มหายานอยู่รอบๆเขา  ส่วนเซนอยู่ทั่วไปหมดเป็นธรรมชาติทั้งหมด
 
        ภาษาของเซนจะบอกว่า มีคือมี ไม่มีก็คือไม่มี  ตรงๆ  และ ความมีในไม่มี  ถ้าภาษาเซนบอกว่า ความมีสภาวะแต่ไม่มี คือ  สูญ  ทุกอย่างคือสูญแต่ว่ามันมีสภาวะอยู่  ในคำว่าไม่มีคือไม่มีอัตตา ตัวตน  แต่ที่มีอยู่คือสภาวะ  เช่นทุกคนรู้ว่าอากาศมีอยู่ แต่ก็ไม่มีแต่ว่ามีสภาวะที่จับต้องได้ และนี่คือ มีในไม่มี  คือเซน
 
        และในความหมายของเซนคือ  เรากับทุกอย่างรอบๆตัว คืออันหนึ่งอันเดียวกัน และถ้าเปรียบ  ภูเขาลูกหนึ่ง เซนก็คือทุกอย่าง มหายานคืออยู่ตรงเนินเขา  หินยานก็คืออยู่บนยอดเขา 
..
..

เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
เซนกับพุทธศาสนา ตอนที่ 2
22 พ.ค. 2558
 
        เคยมีคำกล่าวว่าหินยานมีนิพพาน  มหายานเรียกสุขาวดี  เซนบอกว่า ว่างเปล่า
        ในส่วนของหินยาน คือการสิ้นอาสวะทั้งหลายที่ไม่มีอัตตา คือตัวตน แต่มีสภาวะที่ดำรงอยู่แต่ไม่มีอัตตา
 
        ยกตัวอย่าง  พระสารีบุตรท่านจะอยู่หรือจะไปมีค่าเท่ากัน เพราะพระสารีบุตรเวลาใครมาทุบตีท่านเพราะความสงสัยในความเป็นพระอรหันต์ของท่าน ท่านก็ไม่คิดจะไม่หันไปดู  เพราะว่าอารมณ์ทุกอย่างมันไม่เกิดแล้ว ไม่อยากรู้ ไม่อยากเห็น ไม่เกิดอารมณ์ใดๆที่ข้องกับร่างกาย ดังนั้นไม่จำเป็นต้องดู  ฉะนั้นท่านจะอยู่หรือจะไป มันคือสภาวะเดียว  เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ ไม่จำเป็นที่จะต้องพูด  ไม่จำเป็นที่จะต้องมีอะไรที่สัมผัสอีกแล้ว นั่นคือความเป็นพระอรหันต์  คือจะมีวงจรของพระอรหันต์ก็คือการนิพพาน  นิพพานทั้งๆที่มีชีวิตอยู่  มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็คือนิพพานไปแล้วเพราะว่าไม่ได้รับอะไรแล้ว
 
        มหายานมีสุขาวดี  ต้องเล่าย้อนกลับไปเมื่อ  10 กัปป์มาแล้ว พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระสูภูติและพระอานนท์ว่า มีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งได้ขอพรกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายให้กับพระองค์เองว่า  สรรพสัตว์มีมากมายที่ยังไม่พ้นภัยและพระองค์ก็ไม่อยากจะไปนิพพาน  ขอให้มีดินแดนอันหนึ่งที่เป็นแดนที่สามารถจะมีพระโพธิสัตว์ที่ไม่ปรารถนาที่จะเป็นปัจเจกหรือไม่ปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้า  มาบำเพ็ญบารมีเพื่อช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ขึ้นมาให้เกิดความเข้าใจในธรรมต่างๆ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
 
        ก็ได้รับพรให้มีดินแดนนั้น  พระพุทธเจ้าองค์นี้ได้รับขนานนามว่าอามิตภะ  แปลว่าแสงสว่าง เพราะดินแดนแห่งนี้มีแสงสว่างประดุจทองคำ  และดินแดนนี้เรียกว่าสุขาวดี  เป็นดินแดนที่อยู่ระหว่างชั้นพรหมกับอกนิพรหมกับชั้นที่เป็นเทวนิพพาน   อกนิพรหมคือ ไม่ถึงนิพพาน ไม่กลับลงมาเกิด  หรือจะลงมาทำหน้าที่นั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง  นี่คือดินแดนที่แยกออกไป ถ้าอนาคามี ไม่จำเป็นต้องลงมาเกิดอีก  แต่สุขาวดีเป็นกลุ่มของพระโพธิสัตว์ที่จะลงมาช่วยสรรพสัตว์
 
        บ้างก็บอกว่า พระกวนอิมแบ่งภาคมาจากอามิตภะ  คือ  อมิตภะพระพุทธเจ้าได้แบ่งภาคมาเพื่อทำหน้าที่โปรดสัตว์ทั้งหลาย ในลักษณะ ให้เข้าใจในธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยการนำคำสอนของพระพุทธเจ้าในแต่ละกัปป์ มาสอน มาขยายความให้เกิดความเข้าใจ นี่คือมหายาน
 
        แต่ในความเป็นจริงแล้ว  มหายานเกิดขึ้นเพราะพระมหากัสสปะได้ขอพระพระพุทธเจ้าไว้ว่า  เมื่อพระพุทธศาสนาไปยังดินแดนที่ใด หากว่าจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามประเพณีท้องถิ่น ต้องขออนุญาตไว้ในการที่จะปรับวินัย  ปรับกฎประเพณีให้สอดคล้อง
 
        ต่อมาพระปุณณะเถระ และกลุ่มภิกษุภัททวัคคีย์ ได้เพิ่มเติมปรับเปลี่ยนเพื่อความสอดคล้องกับท้องถิ่นที่ท่านไปโปรดสัตว์
 
        ทีนี้ เมื่อพระพุทธศาสนาไปสู่ประเทศจีน  มันต้องปรับให้เป็นเขาแล้วถึงสอนเขา มหายานถึงเกิด  เพื่อให้เข้าถึงพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์ในที่สุด เพราะฉะนั้นพระมหายานจึงเป็นเขาก่อน คือ เป็นชาวบ้าน  พระในมหายานจึงมีหน้าที่สองลักษณะก็คือ ทำกิจของสงฆ์ และอันที่สองคือต้องเข้ากับชาวบ้านให้ได้  ต้องเป็นเหมือนเขา แบบคนทั่วไป พระภิกษุในมหายานต้องมีหน้าที่ทุกคน  อย่างจะเห็นว่าพระที่งอไบ้ พระจะมีกิจทุกอย่างเหมือนฆราวาส แต่ว่าทานอาหารสามเมื้อเป็นอาหารเจเพื่อไม่ไปเบียดเบียน  และสอนทุกสิ่ง  ประเพณีท่านก็สอนชงชา  ดึงชาวบ้านเข้าวัดและใส่ธรรมะใส่สมาธิลงไป คือ  เป็นการปรับพื้นฐานให้ทุกคนรับธรรมโดยที่ไม่กระทบกระเทือนกับชีวิตประจำวัน อันนี้คือมหายาน  ทั้งทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่า ฆราวาสก็สามารถปฏิบัติได้ไม่จำเป็นต้องบวช
..
..

เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
เซนกับพุทธศาสนา ตอนที่ 3
22 พ.ค. 2558

        เพราะฉะนั้น มหายานจึงเป็นลักษณะของพระที่พระมหากัสปะขอไว้ร่วมกับพระอานนท์และพระสูภูติ  ที่วัดจีน เราจะมองเห็นภาพของพระพุทธเจ้า คือพระอามิตภะ ณ แดนสุขาวดี  และภาพของพระพุทธเจ้าของเรา ให้ทุกคนระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันคือ พระศักกายมุนี  และเราจะเห็นพระพุทธเจ้าสามพระองค์ ซึ่งมีความหมายดังนี้
            พระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าสัมโพคะ คือ  คือภาคบนสวรรค์ก่อนลงมาบนโลกมนุษย์
            พระพุทธเจ้าองค์ที่สอง คือ  นิรมานกาย คือ ภาคที่ลงมาบำเพ็ญเพียร
            พระพุทธเจ้าที่ประทับนั่งเรียงกันองค์ที่สาม คือ ธรรมกาย  คือภาคที่ได้สำเร็จธรรมตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
        ที่ชาวจีนเรียกง่ายๆว่า พระพุทธเจ้าสามองค์ คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ความจริงมีความหมายดังที่กล่าวมา


 
        ข้างๆจะเป็นพระอรหันต์สองรูป รูปที่มีหน้าที่มีอายุคือ พระมหากัสปะ  และอีกข้างคือพระอานนท์ ไม่ใช่พระโมคลานะกับพระสารีบุตร
        ถ้าเกิดว่ามีพระศักกายมุนีตรงที่ด้านหน้า  ถ้าเราเดินไปคล้อยหลังก็จะเห็นพระพุทธเจ้าที่ฐานตรงกันข้ามกัน  ปกติพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ที่ต้นโพธิ์ด้านตะวันออก  ก็มีคำกล่าวว่าพระพุทธรูปหันไปทางไหนให้ถือทางนั้นเป็นตะวันออก  ดังนั้น พระอามิตภะจึงหันตรงกันข้ามกับพระศักกายะมุนีจึงเรียกพระพุทธเจ้าตะวันตก
        จากที่กล่าวมา พระพุทธศาสนาแยกเป็นหลายทาง แต่สุดท้ายแล้วก็มีจุดรวมจุดเดียวกัน  เซนก็คือธรรมชาติ  อย่างเต๋าก็คือวิถีที่จะไปถึงธรรมชาติ ซึ่งเหมือนกับเซนที่ไปสู่ความว่างเปล่าก็เป็นลัทธิหนึ่ง  แต่ศาสนาไม่เหมือนกัน เพราะว่าศาสนามีอุบายในการปฏิบัติตามจริตหรืออุปนิสัยของบุคคลที่มีความแตกต่างกัน

        ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคที่ลักษณะของการปฏิบัติในฌานต่างๆมีขั้นตอนอย่างชัดเจน  มีระเบียบปฏิบัติ  มีพระวินัย  มีพระธรรม  และมีพระไตรปิฏก  อันนั้นคือพระพุทธศาสนาหินยาน เพราะว่ามีกฎเกณฑ์ มีพระรัตนตรัย  มีการประกาศศาสนา  มีพระวินัยอย่างชัดเจน  มีเรื่องราวโดยลำดับ ไม่ได้แบ่งเป็นทางใดทางหนึ่งเพื่อที่ใดที่หนึ่ง เป็นการนำคนทั้งหมดเลย
        ทีนี้ ในการนำคนที่จะเข้าสู่ในดินแดนพระพุทธศาสนาก็เป็นมหายานอย่างที่บอก  แต่ว่าลัทธิต่างๆที่แตกออกไป คือเป็นอุบายให้คนเข้าง่ายที่สุดตามท้องถิ่น ซึ่งโดยมากจะเกี่ยวกับธรรมชาติ  และควรทำความเข้าใจง่ายๆว่าธรรมะคือธรรมชาติ
        ส่วนใหญ่ คนเรียนรู้เรื่องเซนจากนิทาน   ซึ่งจริงๆแล้ว เซนนั้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เพราะจบด้วยคำว่า “ว่าง”  จบด้วยคำว่า  “ไม่มีในมี”  คือ  มีสภาวะแต่ไม่มีตัวตน  และวิถีชีวิตของเซนจะออกมาในรูปของนิทานหรือปรัชญา จะไม่ต้องการคำอธิบายมากมาย  คือเซนจะให้ใช้ปัญญา คือนิ่งคิด คือต้องการให้คนนิ่งมากที่สุด และพูดน้อยที่สุด

        ในส่วนตัว ข้าพเจ้าจะประทับใจนิทานของเซน คือรู้จักเซนจากนิทาน  นิทานเรื่องนี้ มีชายคนหนึ่งเข้าไปหาสังคปรินายก แล้วก็ขอไปเป็นศิษย์ ท่านบอกว่าเป็นได้แต่ต้องไม่พูด  คือ  เซนพูดน้อยมาก  ก็ตกลงเป็นศิษย์ จะไม่พูดก็ชงชา ในขณะที่ชงชาและรินชา จิตต้องเป็นสมาธิ  ในขณะที่จิตเป็นสมาธิ  เขามีความรู้สึกว่าเขาได้เกิดใหม่  เปลี่ยนไปชาติแล้วชาติเล่า เป็นเรื่องราวต่างๆของชีวิตมนุษย์  เกิดมาแล้วทำงาน มีทุกข์ แต่ว่าเขาไม่เคยพูดอะไรเลยทุกชาติ  และในชาติสุดท้ายเขาถูกโจรปล้น เขาแต่งงาน เขาเป็นผู้หญิง แต่ว่าชาติที่เขารินชานั้นเป็นผู้ชาย  เสร็จแล้วผู้หญิงแต่งงานมีสามีและโจรปล้นบ้านก็ฆ่าสามีตายและทำร้ายเขา เขาก็ไม่ได้พูดอะไรสักคำ  แต่สุดท้ายโจรจะทำร้ายลูก เขาก็เปล่งเสียงร้องขึ้นมา  ภาพทุกอย่างก็หายไปหมดเลย อยู่ในภาพที่เขาชงชาอยู่ และ อาจารย์คนนั้นก็บอกว่าเขาเรียนไม่ได้ เพราะจิตเขายังผูกติดกับบางสิ่งบางอย่าง จึงเข้ามาบวชในศาสนาเซนไม่ได้  นั่นหมายความว่าการบวชเข้าไปในเซน มันต้องวางมาขั้นตอนหนึ่งแล้ว  ถ้าหากว่าชายคนนี้กลับไปคิดและกลับไปฝึกมาใหม่  ก็อาจจะได้รับการทดสอบแบบอื่น เพื่อที่ว่าจะไปก้าวสู่ความว่างอย่างแท้จริง

        ที่ชอบเรื่องนี้ เพราะว่าตอนที่เรากำลังดำเนินชีวิตอยู่ มันเป็นการรินชาอยู่หรือเปล่า ชีวิตเราตอนนี้เป็นเรื่องสมมติ เหมือนคนชงชาหรือเปล่า
        มันเป็นการสอนที่ว่า ชีวิตไม่ใช่ชีวิต และที่เรายืนอยู่ทุกวันและทำอยู่ทุกวัน มันคือความว่างหรือเปล่า  คือตัวเราเป็นตัวเราไหม  หรือไม่ใช่ตัวเรา  เวลาเราฝัน เราไม่มีตัวตนในความฝัน  ในขณะที่เราดำเนินชีวิตอยู่  มันก็ไม่ได้มีตัวตน  จริงๆแล้วตรงไหนเรียกว่าตัวตน  เฉพาะหัวเราหรือเปล่าถึงเป็นเรา หรือว่าเฉพาะแขน หรือว่าเฉพาะขา ลองแยกส่วนออกมา ตรงไหนที่เป็นเรา มันก็เหมือนความฝัน เหมือนกับชายคนนี้ที่รินชา แล้วเห็นภาพเหมือนจริงทุกอย่างจนกระทั่งเขาร้องออกมา  คือ การไม่พูด หมายความว่าการวางเฉย เพราะว่านั่นคือมายา  แต่ว่าเขาทำใจให้คิดเป็นมายาไม่ได้เพราะนั่นคือวัตถุตัวตน
 
        เซนนั้นสอนให้คิด  เราแค่อ่านออกมาประโยคเดียว แต่ว่าเราคิดออกมามากมาย คือมันใช้ความคิดหมดทุกอย่าง  เซน คือความเงียบ หรือเซ้นท์  เราจะแปลว่าอย่างนั้นก็ได้  เซนสอนให้เรารู้จักเริ่มตั้งแต่รินชา ว่าสิ่งที่คุณมาตอนนี้คือเป็นมายา  ไม่ได้เป็นวัตถุ ไม่ได้เป็นอะไรเลย  ก็เลยนึกถึงว่า ศาสนาพุทธของเรามีการฝึกกสิณ เช่น รัตนกสิณหรือกสิณที่เกิดจากการเพ่งพระพุทธรูป  หรือการเพ่งกสิณสีต่างๆ  และเราก็ลองฝึกเพ่งกสิณและเราก็เพ่งไม่ได้  ทั้งนี้เป็น เพราะว่าเราพยายามให้วัตถุที่เราเพ่งมันมาอยู่ในใจเรา ในเมื่อวัตถุมันไม่มี มันแค่นึกเห็น และการนึกเห็นมันคือจินตนาการและตัวของเรานี้ก็อาจจะเป็นการนึกเห็น ไม่ใช่ของจริง  ตัวเรากำเนิดมาด้วยของผลแห่งกรรม มันอาจจะเป็นสิ่งที่สมมติว่า... แล้วเราก็มายึดในสิ่งสมมตินั้น มันไม่ใช่ตัวตนจริงๆ

        ทั้งหมดที่อธิบายนี้ คือ เซน  ที่มีดวงตาสภาวธรรมจริงๆ สอดคล้องกันกับศาสนาพุทธ ไม่แตกต่างกัน
        เคยมีนิทานของท่านพระพุทธทาส  คือ  มีพระรูปหนึ่ง ท่านถามความเห็นจากลูกศิษย์ว่า ใครที่สามารถเห็นถึงแก่นแห่งธรรมได้ดีที่สุด  ถามทุกรูป แต่ละรูปก็ตอบด้วยหลักที่ลึกซึ้งของธรรมะ  แต่พอมาถึงพระรูปหนึ่ง ท่านเงียบและไม่ตอบ  พระอาจารย์ก็เลยบอกว่านี่แหละคือแก่นของธรรม
        มาถึงตอนนี้ คงพอจะเข้าใจแล้ว ถึงความเกี่ยวพันระหว่างพุทธศาสนากับเซน....

http://www.sana-anong.com/v4/works_detail.php?id=24&catg=2
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 21, 2016, 08:55:49 pm โดย ฐิตา »