ผู้เขียน หัวข้อ: นิทานแฝงปรัชญาเต๋า เรื่อง " ค ว า ม ล้ ม เ ห ล ว ที่ แ ท้ จ ริ ง "  (อ่าน 1478 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




นิทานแฝงปรัชญาเต๋า
เรื่อง " ค ว า ม ล้ ม เ ห ล ว ที่ แ ท้ จ ริ ง "

คัดจากหนังสือ "นิทานแฝงปรัชญาเต๋า" เสถียรพงษ์ วรรณปก ผู้แปล

หลีจื้อเดินทางไปยังรัฐชี้ ไปได้ครึงทาง ก็กลับ สวนทางกับโปหุน
โปหุนถามว่า ทำไมจึงกลับเสียกลางคัน
"ข้าพเจ้ากลัว"
"กลัวอะไร"
"ระหว่างทาง ข้าพเจ้าแวะพักรับประทานอาหารที่โรงเตี๊ยมสิบแห่ง
เจ้าของโรงเตี๊ยมห้าแห่งพอเห็นข้าพเจ้าก็รีบกุลีกุจอเสิร์ฟอาหารข้าพเจ้าก่อนคนอื่น"
"เรื่องแค่นั้นเองหรือ ไม่เห็นมีอะไรน่ากลัว"

"ใครว่าแค่นั้น ท่านไม่รู้หรือว่า เวลาคนเราขาดความมั่นคงภายใน
ความถือตัว ก็จะฉายออกมาข้างนอก ไปสะดุดตาสะดุดใจคนอื่น ทำให้คนอื่นเขา
แสดงอาการพินอบพิเทา นั่นแสดงว่า เขากำลังตกอยู่ในสภาวะลำบาก
จริงอยู่เจ้าของโรงเตี๊ยมย่อมเอาใจลูกค้าทุกคน เพราะผลประโยชน์ของเขาสำคัญกว่าอื่นใด
แต่สำหรับแขกเช่นข้าพเจ้า มิได้ทำรายได้แก่เขามากมายอะไร เขายังพินอบพิเทาถึงขนาดนี้
กษัตริย์แห่งรัฐชี้ ซึ่งจะตั้งข้าพเจ้าในตำแหน่งใหญ่โต

ซึ่งจะอำนวยประโยชน์แก่รัฐมากมาย จะให้เกียรติแก่ข้าพเจ้าขนาดไหน
คิดได้ดังนี้ ข้าพเจ้ากลัวใจ กลัวว่าจะเสียคนเพราะเกียรติยศ"
......."คิดได้ดังนี้ก็ดีอยู่ แต่ถึงคุณจะอยู่ที่นี่ก็หนีมันไม่พ้นดอก"........



หลังจากนั้นมาไม่นานนัก โปหุนเดินทางมาเยี่ยมหลีจื้ออีก คราวนี้เขาเห็นรองเท้าวางอยู่หน้าห้องของหลีจื้อมากมาย จึงหยุดยืนเอาไม้เท้าค้ำคางเดินหน้าหนีจากที่พักของหลีจื้อ ขมวดคิ้วแล้วเดินหนีไป คนเฝ้าประตูเห็นดังนั้นจึงรีบไปรายงานให้หลีจื้อทราบ

หลีจื้อ คว้ารองเท้า ไม่ทันใส่ รีบวิ่งเท้าเปล่าออกไปทันที่ประตูใหญ่ กล่าวว่า
"ท่านอาจารย์กรุณามาถึงที่นี่แล้ว จะไม่ให้โอวาทข้าพเจ้าบ้างหรือ"
"ป่วยการ ฉันได้บอกคุณแล้วมิใช่หรือ ว่าคุณจะหนีมันไม่พ้น ไม่ใช่คุณเก่งที่ทำให้คนมานับถือคุณได้ ตรงกันข้าม มันเป็นความล้มเหลวของคุณ ที่ไม่สามารถป้องกันมิให้เขามานับถือคุณ ความนับถือคนอื่น จะมีประโยชน์อะไร ถ้าคนเราขาดความสงบภายใน"

มิตรแท้เท่านั้นที่กล้าเตือนกันตรง ๆ คนอื่นไหนเลยเขาจะกล้าพูดให้แสลงหู


-http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=balanceofsociety&month=22-04-2006&group=9&gblog=4