ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.ชี้ “โรคคอตีบ” รู้ทัน ป้องกันและรักษาได้  (อ่าน 1136 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
สธ.ชี้ “โรคคอตีบ” รู้ทัน ป้องกันและรักษาได้
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1351866517&grpid=&catid=19&subcatid=1904-

สร้างความตกใจไม่น้อยจากกระแสข่าวการระบาดของโรคคอตีบ เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ นายแพทย์ทวี  โชติพิทยสุนนท์ จากกระทรวงสาธารณสุข ให้ความรู้ความเข้าใจว่า “โรคคอตีบ” หรือ “ดิพทีเรีย”เป็นโรคที่เกิดมาก่อนและมีมานานแล้วและไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย ในอดีตโรคนี้เคยเกิดการระบาดใหญ่มาแล้วหลายครั้งในหลายๆประเทศ  จนกระทั่งในช่วง 40 กว่าปีที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาวัคซีนโรคคอตีบ กระทั่งสามารถควบคุมโรคคอตีบได้ในระดับหนึ่ง แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการพบผู้ป่วยโรคคอตีบประปรายในบางจังหวัดของพื้นที่ชายแดนใต้ และปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยโรคคอตีบในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ป่วยโรคคอตีบที่พบครั้งนี้ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคนที่มีอายุระหว่าง 10-15 ปี ซึ่งมีมากถึง 25-29% ของผู้ป่วยทั้งหมด

สาเหตุที่ทำให้โรคคอตีบกลับมาเกิดขึ้นได้อีก เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค ไม่เคยฉีดวัคซีนคอตีบมาก่อน หรือถ้าเป็นผู้ที่เคยฉีดวัคซีนแต่ฉีดไม่ครบและไม่ไปรับการกระตุ้นซ้ำทุก 10 ปี จะทำให้ภูมิคุ้มกันต่อโรคลดต่ำลง 

นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวและการเดินทางเข้าออกของแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่ได้รับการฉัดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบทำให้ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค จึงเป็นได้ทั้งผู้รับเชื้อและผู้แพร่เชื้อ เนื่องจาก“โรคคอตีบ”เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ ที่ติดต่อกันได้โดยตรงจากการไอ จามรดกัน หรือพูดคุยในระยะใกล้ชิด เชื้อจะเข้าสู่ผู้สัมผัสทางปากหรือทางการหายใจ บางครั้งอาจติดต่อกันได้โดยการใช้ภาชนะร่วมกัน

ทั้งนี้ จะพบเชื้ออยู่ในจมูกหรือลำคอของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ และจะทำให้เกิดการอักเสบ มีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นในลำคอ ในรายที่รุนแรงจะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ จึงได้ชื่อว่าโรคคอตีบ และจากพิษ (exotoxin) ของเชื้อจะทำให้มีอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาทส่วนปลายซึ่งถ้าเป็นรุนแรงจะทำให้ถึงตายได้

ส่วนการกลับมาของโรคคอตีบในครั้งนี้ นายแพทย์ทวีให้ความเห็นว่า เป็นสัญญาณเตือนให้เราทุกคนตระหนักในการป้องกันควบคุมโรคนี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการล้อมกรอบควบคุมโรคให้หมดไปจากพื้นที่ที่พบว่ามีผู้ป่วย เพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคไปยังพื้นที่อื่นๆให้ได้โดยเร็ว โดยมุ่งเป้าไปที่พื้นที่เสี่ยง คือพื้นที่ตามแนวชายแดนของประเทศ และพื้นที่ที่เคยเกิดการระบาดของโรค

คนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคซึ่งก็คือเด็กเล็กและผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบมาก่อน 
 
การฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันควบคุมโรค เพื่อช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อสู้กับโรคคอตีบได้ ในเด็กทั่วไปต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบตามตารางการแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข คือ  5 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6 และ 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่ออายุ 4 ปี  ส่วนหญิงตั้งครรภ์ ผู้หญิงเพิ่งคลอดลูกที่ต้องดูแลทารกหลังคลอด และผู้ที่เสี่ยงที่ไม่เคยฉีดวัคซีนนี้มาก่อน ควรรับวัคซีนป้องกันคอตีบสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ (dT) โดยต้องฉีดตามคำแนะนำของแพทย์ และฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน

สำหรับประชาชนทั่วไปหรือผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ตามแนวชายแดน ต้องรู้จักการป้องกันตนเอง ด้วยการมีสุขนิสัยที่ดีในการป้องกันโรค คือ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือสถานที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรค ผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัดควรสวมหน้ากากอนามัย รวมถึงรู้จักสังเกตอาการผิดปกติของตัวเองและคนใกล้ชิด เช่น มีอาการไข้ต่ำๆ มีอาการคล้ายหวัดในระยะแรก มีอาการไอเสียงก้อง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ในเด็กโตอาจจะบ่นเจ็บคอคล้ายกับคออักเสบ บางรายอาจจะพบต่อมน้ำเหลืองที่คอโต เมื่อตรวจดูในคอพบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นอยู่บริเวณทอนซิล และบริเวณลิ้นไก่ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นโรคคอตีบต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาโดยเร็วและควรติดตามสถานการณ์โรคในพื้นที่และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด โรคคอตีบถึงแม้จะน่ากลัว แต่ถ้าเรารู้ทันก็สามารถป้องและรักษาให้หายได้

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)