วัดเกตุมดีศรีวราราม
-http://www.watsamutsakhon.com/a_muang/getum.htm-
สภาพฐานะและที่ตั้งวัด
ชื่อโดยทางการ “วัดเกตุมดีศรีวราราม” ชื่อที่ชาวบ้านเรียก “วัดเกตุม” สังกัดมหานิกาย อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ตำบลบางโทรัด อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสาคร ภาค ๑๔ เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙/๑ หมู่ที่ ๖ ตำบลบางโทรัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร รหัสไปรษณีย์ ๗๔๐๐๐ ถนนพระราม ๒ (ธนบุรี-ปากท่อ) กม.ที่ ๔๒ ได้รับการอนุญาตให้สร้างวัด เมื่อวันที่ ๑๘ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ กระทรวงศึกษาธิการประกาศเป็นวัดเมื่อ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๕๖.๖๐ เมตร ยาว ๑๐๖.๓๕ เมตร เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๑
อาณาเขตและอุปจารวัด
วัดเกตุมดีศรีวราราม ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่จำนวน ๖๙ ไร่ ๒ งาน ๒๙ ตารางวา มีโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๙๔๖ มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ยาว ๘ เส้น ๖ วา ๓ ศอก จดคลองสาธารณประโยชน์
ทิศใต้ ยาว ๘ เส้น ๖ วา ๓ ศอก จดแพรกสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันออก ยาว ๘ เส้น ๖ วา ๓ ศอก จดแพรกสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันตก ยาว ๘ เส้น ๖ วา ๓ ศอก จดคลองสาธารณประโยชน์
พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม ชายเลน ดินเลน ดินเค็ม ใต้ดินเป็นดินนิ่มอ่อน ปลูกต้นไม้ลำบากมาก
ความเป็นมา
วัดเกตุมดีศรีวราราม เกตุ ส่วนสูงสุด,มดี มติ ความปรารถนา ปณิธาน , ศรี สิริมงคล, วร ประเสริฐ , อาราม ที่อยู่ แปลรวมกันว่า ที่อยู่อาศัยอันประเสริฐที่เป็นมงคลมหาสถานของผู้ที่มีความปรารถนาอันสูงสุด วัดนี้ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ท่านพ่อบัณฑูรสิงห์ (เจิม คุณาบุตร) พร้อมด้วยญาติมิตรเป็นผู้มอบถวายที่ดินให้สร้างวัด ท่านพ่อบัณฑูรสิงห์ผู้ปรารถนาพระโพธิญาณ ท่านเป็นผู้บุกเบิกและคนหาที่สร้างบารมี ได้เปิดสถานที่นี้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมกรรมฐานและได้เป็นสำนักสงฆ์ปฏิบัติธรรม ต่อมา นายสมควร คุณาบุตร เป็นคนยื่นเรื่องราวขอสร้างวัด โดยมีท่านพ่อบัณฑูรสิงห์ นางสาวเจือ คุณาบุตร คุณแม่-เจียม คุณาบุตร คุณแม่กิมลี้ คุณาบุตร และอีกหลายคนยกที่ดินให้สร้างวัด โดยมีพระบรมเจดีย์เป็นจุดศูนย์กลาง ซึ่งหลวงพ่อรอด วัดบางน้ำวน เป็นองค์แรกที่ก่อพระเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นนิมิตหมายไว้ก่อน ท่านพ่อจึงได้มาพบสถานที่นี้เพื่อสร้างบารมี โดยท่านสร้างครอบที่เดิมเป็นองค์เล็กสูง ๙ ศอก และสร้างครอบอีกครั้งสูง ๑๘ วา ต่อมา พระครูภาวนาวรคุณ ได้สร้างอีกเป็นครั้งที่ ๓ โดยสูง ๖๐ เมตร ข้างในโปรงมองเห็นองค์เดิมได้ เมื่อหลวงพ่อพระครูภาวนาวรคุณมรณภาพลง พระครูไพศาลสาครกิจ ก่อสร้างต่อจนเสร็จ เหตุการณ์อัศจรรย์ขององค์พระบรมธาตุที่ปรากฏแก่ฝูงชนที่เคารพนับถือ ได้กล่าวขานสืบต่อกันมาว่ า บางวันจะได้ยินเสียงดนตรีไทยเดิม มโหรีปี่พาทย์บรรเลง บางวันก็ได้ยินเสียงสวดมนต์ประมาณพระเป็นจำนวนเป็นร้อยพัน ดังแว่วมาให้ได้ยินทั่วกัน บางคราวก็ปรากฏแสดงแสงสว่างที่ฉายองค์พระบรมธาตุ สามารถถ่ายรูปติดให้เห็นทั่วไป เรื่องเล่านี้ยังมีอีกมากที่บุคคลผู้เคารพศรัทธาได้สัมผัสปรากฎชัดกับตัวเอง ปัจจุบันเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นต้นมา มีประชาชนทั้งใกล้ไกลที่อยู่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเคารพเลื่อมใสในองค์พระบรมธาตุเกตุมวดีย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์บรรดามีในวัด พากันมากราบไหว้สักการะมิได้ขาดเป็นจำนวนมาก
อาคารเสนาสนะต่าง ๆ
พระบรมธาตุเกตุมวดีย์
เริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ สูง ๖๐ เมตร ข้างในโปร่ง พระครูภาวนาวรคุณ (พยนต์ เขมเทโว) เป็นผู้ริเริ่มสร้าง วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ พระครูภาวนาวรคุณมรณภาพลง พระครูไพศาลสาครกิจ (สมบัติ ฉนฺทชาโต) เป็นผู้ดำเนินการสร้างต่อจนเสร็จ
อุโบสถหลังใหม่
ลักษณะทรงไทย โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๕๖.๖๐ เมตร ยาว ๑๐๖.๓๕ เมตร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระพุทธชินราช หลวงพ่ออู่ทอง หลวงพ่อมหาแสน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เขตวิสุงคามสีมากว้า ง ๕๖.๖๐ เมตร ยาว ๑๐๖.๓๕ เมตร
วิหารแก้ว ๙ ห้อง (อุโบสถแก้วบูรณะใหม่)
ลักษณะเป็นไม้ชั้นเดียว มีช่อฟ้าหน้าบันแบบ ร.๕ ทรงไทย มีหลังคามุงกระเบื้อง กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์เงินแท้หนัก ๙๐ กิโลกรัม
ปราสาทท่านพ่อบัณฑูรย์สิงห์
ลักษณะทรงไทย มี ๔ หน้าบัน โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๑๖ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐
ตำหนักแพนุ่ม คุณาบุตร
ลักษณะทรงไทย ขนาดกว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๑๓ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗
หอประชุมสงฆ์สังฆบัณฑิต
ลักษณะเป็นตึกพื้นไม้ ขนาดกว้าง ๘.๖๐ เมตร ยาว ๕๒.๖๐ เมตร สูง ๑๔.๒๐ เมตร หลังคามุง-กระเบื้อง พร้อมอุปกรณ์ให้ความสะดวก และเครื่องตกแต่ง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗
หอพักสามเณร (สามเณรอาคาร)
มีลักษณะเป็นตึกไม้ สองชั้น หลังคามุงกระเบื้อง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นที่พักสารเณรและ อาคันตุกะชั่วคราว
ศาลาไตรสรณาคมน์
โครงสร้างเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องชั้นเดียว พื้นหินขัด ขนาดกว้าง ๕๒ เมตร ยาว ๕๔ เมตร เพื่อเป็นที่จัดงานในศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น งานกฐิน เป็นที่ประชุมของญาติโยมผู้ที่มาถือศีลอุโบสถ เป็นที่ทำวัตรเช้า-เย็น ของศีลชีวินี และเป็นที่ปฏิบัติพระกรรมฐานของพระภิกษุและญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา เวลา ๒๐.๐๐ น. ทุกวัน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐
กุฏิพระภิกษุสงฆ์จตุรทิศ
โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง ๓๒ ห้อง ชั้นเดียว กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๗๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นที่พักพระสงฆ์ภายในวัด
หอพุทธภาวนา
ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้น โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง เป็นที่พักของสามเณรภาคฤดูร้อน กว้าง ๘ เมตร ยาว ๖๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗
โรงเรียนปริยัติธรรมบัณฑูรสิงห์ธรรมบัณฑิต
ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้น โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง เป็นสถานที่เรียนนักธรรมและธรรมศึกษา ตรี ,โท ,เอก ของพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๐๓ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗
ศาลาโภชนาคารที่ฉันภัตตาหาร
โครงสร้างหลังคาเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง กว้าง ๓๐.๕ เมตร ยาว ๗๖.๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙
ศาลาโอชาวดี
ลักษณะทรงไทย เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงสร้างหลังคาเหล็ก มุงหลังคาด้วยกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๓๕.๗๕ เมตร ยาว ๔๒.๑๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔ เพื่อเป็นที่รับประทานอาหารสำหรับญาติโยมที่มาประพฤติปฏิบัติธรรม อยู่ดิถีปริวาสกรรม และใช้ในเทศกาลต่าง ๆ
๑๔.โรงหุงข้าวและศาลาเลี้ยงอาหาร (ศาลามหาทาน)
ลักษณะทรงไทย เสาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นเป็นคอนกรีต โครงสร้างเป็นเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๑๕.๓๐ เมตร ยาว ๕๓.๖๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒
๑๕.ศาลาเรือนไทย (เป็นที่พักของพระภิกษุสงฆ์)
ลักษณะทรงไทยใต้ถุนสูง กว้าง ๑๓.๗๐ เมตร ยาว ๑๖.๕๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐
๑๖.คลังมหาสมบัติ (คลังเก็บพัสดุสงฆ์)
ลักษณะเป็นตึกชั้นเดียว เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงสร้างเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง กว้าง ๒๔ เมตร ยาว ๓๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐
๑๗. กุฏิพระสงฆ์
ลักษณะโครงสร้างเหล็ก ทรงไทยชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้องแดง ๑๘ หลัง กว้าง ๓ เมตร ยาว ๓ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖
๑๘.วิมานเมฆ
ลักษณะเป็นตึกชั้นเดียว เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องแดง กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๑๑ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗
๑๙. ร้านอำนวยความสะดวก
ลักษณะเป็นตึกชั้นเดียว เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องแดง กว้าง ๑๒.๕๐ เมตร ยาว ๑๑ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗
๒๐. สำนักงานกลาง
ลักษณะเป็นตึกชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นที่ตั้งมูลนิธิ ภาวนา-แถบ-กิมลี้ คุณาบุตร และมูลนิธิเกตุมวดีย์ชีพอนุรักษ์
๒๑. ร้านปานะของวัด
ลักษณะตึกชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓
๒๒. วี ดี โอ ธรรมสภา
ลักษณะเป็นตึกชั้นเดียว โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๖ เมตร ยาว ๓๖ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖
๒๓. ศาลาอเนกประสงค์ (ศาลาแดง)
ลักษณะทรงไทย โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นปูกระเบื้อง โครงสร้างหลังคาเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๑๕.๙๐ เมตร ยาว ๓๘.๘๐ เมตร ใช้ในงานบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙
๒๔. อาคารศีลชีวินี อาคาร ๑
ลักษณะเป็นปูนครึ่งไม้ ๒ ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๔๙ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘
๒๕. อาคารศีลชีวินี อาคาร ๒
ลักษณะเป็นปูนครึ่งไม้ ๒ ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๔๙ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘
๒๖. อาคารศีลชีวินี อาคาร ๓
ลักษณะเป็นปูนครึ่งไม้ ๒ ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘
๒๗. บ้านพักครู
ลักษณะเป็นอาคารไม้ยกพื้นสูง ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕
๒๘. อาคารเรียนหลังเก่า
ลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ๑ หลัง กว้าง ๗ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑
๒๙. สระน้ำ
หน้าวิหารแก้ว ลอกและตกแต่งขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ เพื่อเป็นที่ลอยกระทง บูชารอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี
๓๐. หอระฆัง
ลักษณะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๑๕ เมตร กว้างเท่ากันด้านละ ๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓
๓๑. ภูเขาอุตตมบรรพต และพระสีวลี
เป็นภูเขาข้างหน้าก่อด้วยอิฐ ข้างหลังถมดินเป็นภูเขาจำลอง เป็นที่ประดิษฐานพระสีวลีเถระ สูง ๓ เมตร หล่อด้วยโลหะ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
๓๒. อนุสาวรีย์ท่านพ่อบัณฑูรสิงห์
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑
๓๓. ท้าวเวสสุวรรณมหาราช
สูง ๕ เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒
๓๔. ท้าวปรายันติ (ทหารของท้าวเวสสุวรรณ) และพาหนะ คือ เสือ
สูง ๕ เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔
๓๕. ปู่หมอโกมารภัจจ์ และมณฑป
สูง ๗ เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖
๓๖. ท้าวมหาราชทั้ง ๔
ดั้งเดิมท่านพ่อบัณฑูรสิงห์ ท่านสร้างไว้ประจำบ่อยาทั้ง ๔ ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่
๓๗. บ่อยาฤๅษีลิงลม
ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ขององค์พระบรมธาตุเกตุมวดีย์
๓๘. บ่อยาช้างสาร
ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกขององค์พระบรมธาตุเกตุมวดีย์
๓๙. บ่อยาราชสีห์
ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือขององค์พระบรมธาตุเกตุมวดีย์
๔๐. บ่อยากาน้ำ
ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ขององค์พระบรมธาตุเกตุมวดีย์
๔๑. พระฤๅษีโพธิสัตว์
ประดิษฐานอยู่ซุ้มด้านทิศตะวันออกขององค์พระบรมธาตุเกตุมวดีย์
๔๒. พระแม่ธรณี
ประดิษฐานอยู่หลังวิหารแก้ว ด้านซ้ายของภูเขาอุตตมบรรพต
๔๓. อนุสาวรีย์พระปิยมหาราช
ประดิษฐานอยู่หลังวิหารแก้ว ด้านซ้ายของภูเขาอุตตมบรรพต ใกล้กับพระแม่ธรณี
๔๔. ศาลาอเนกประสงค์
ลักษณะโครงเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง หน้าวัดทางเข้าของวัด กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๔๘ เมตร
๔๕. ห้องอาบน้ำ ห้องสุขา
ลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก มีอยู่ตามจุดต่าง ๆ ของวัด ดังนี้
อยู่บริเวณด้านหลังหอสามเณราคาร จำนวน ๓๒ ห้อง
อยู่บริเวณด้านหลังศาลาโอชาวดี จำนวน ๔๒ ห้อง
อยู่บริเวณด้านข้างศาลาเรือนไทย จำนวน ๑๐ ห้อง
อยู่บริเวณด้านข้างศาลาอเนกประสงค์ (ศาลาแดง) จำนวน ๘๐ ห้อง
อยู่บริเวณเขตกำแพงวิหารแก้วด้านทิศตะวันตก จำนวน ๖ ห้อง
อยู่บริเวณหน้าวัดหลังศาลาอเนกประสงค์มีอยู่ ๘๐ ห้อง
๔๖. โครงป้ายใหญ่หน้าวัด
กว้าง ๔ เมตร ยาว ๔๐ เมตร
ปูชนียวัตถุและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
๑. มีองค์พระบรมธาตุเกตุมวดีย์ เป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ทั้งใกล้และไกล ถือเป็นหลักชัยของวัด
๒. พระพุทธสิหิงค์ จำลองจากองค์จริง ประดิษฐานอยู่ที่อุโบสถหลังเก่า หล่อด้วยเนื้อโลหะเงินแท้ น้ำหนัก ๙๐ กิโลกรัมเศษ โดยมีพระบรมราชโองการพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้หล่อประดิษฐานวัดเกตุมดีศรีวราราม เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๑ เวลา ๐๖.๔๑ น.
๓. พระสีวลีเถระ ในอิริยาบถเดินแบกกลดสะพายบาตร หล่อเป็นเนื้อโลหะสูง ๓ เมตร หล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ประดิษฐานอยู่บนเขาอุตตมบรรพต หลังอุโบสถแก้ว
๔. พระพุทธสิหิงค์เนื้อสัมฤทธิ์ ๑ องค์ หน้าตัก ๒๕ นิ้ว
๕. พระพุทธสิหิงค์หยก จากประเทศแคนาดา หน้าตัก ๒๕ นิ้ว
๖. พระพุทธสิหิงค์สร้างด้วยโลหะนาค หน้าตัก ๒๕ นิ้ว
๗. พระพุทธชินราช เป็นพระประธานในอุโบสถหลังใหม่ หน้าตัก ๙ ศอก ๙ นิ้ว
๘. พระพุทธรูปอู่ทอง ประดิษฐานอยู่ที่อุโบสถหลังใหม่
๙. พระพุทธรูปมหาแสน ประดิษฐานอยู่ที่อุโบสถหลังใหม่
๑๐. รูปหล่อท่านพ่อบัณฑูรสิงห์ ในอิริยาบถนั่งสมาธิ ประดิษฐานอยู่ที่หอประชุมสงฆ์สังฆบัณฑิต
๑๑. รูปหล่อท่านพ่อบัณฑูรสิงห์ หล่อด้วยเนื้อโลหะ ในอิริยาบถยืน ประดิษฐานอยู่ที่หลังอุโบสถหลังใหม่
๑๒. รูปปั้นท้าวเวสสุวรรณ สูง ๕ เมตร ประดิษฐานอยู่หน้าวัด
การศึกษา
วัดเกตุมดีศรีวรารามได้ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา คือ
๑. ได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม ระดับนักธรรมตรี, โท, เอก และธรรมศึกษาตรี, โท, เอก ขึ้นภายในวัด โดยพระภิกษุในวัด เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม พระภิกษุสามเณร ผู้เรียนธรรมศึกษาได้สอบไล่ได้ในสนามหลวง ทั้งระดับนักธรรมและธรรมศึกษาตรี, โท, เอก เป็นจำนวนมาก และวัดนี้ได้เคยทำการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในปัจจุบันนี้ได้เลิกไป
๒. ได้เปิดการสอนธรรมศึกษา ระดับธรรมศึกษาตรี, โท, เอก ให้กับนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนเกตุมดีศรีวราราม และนักเรียนมัธยมโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ สมุทรสาคร
๓. ส่งพระภิกษุไปสอนโรงเรียนเกตุมดีฯ และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ สมุทรสาคร เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในหมวดสังคม
๔. จัดการเรียนการสอนสามเณรภาคฤดูร้อน
การสาธารณสงเคราะห์
๑.สร้างโรงเรียนในเนื้อที่ของวัด ๒ โรงเรียนคือ โรงเรียนเกตุมดีศรีวราราม และโรงเรียนเฉลิม-พระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ สมุทรสาคร
๒. มีหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือคณะแพทย์พยาบาลโรงพยาบาล เลิศสิน บางรัก กรุงเทพฯ
สำหรับวันธรรมสวนะและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ทางวัดได้จัดให้มีการบำเพ็ญกุศล และประกอบพิธีทางศาสนา เป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีตลอดมาเป็นประจำ
๑. ทำบุญถวายสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์ทุกวันพระตลอดปี เวลา ๐๘.๐๐ น.
๒. ทำบุญวันเข้าพรรษา ๓ วัน เริ่มวันขึ้น ๑๔ – ๑๕ ค่ำ ถึงแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ มีพิธีเวียนเทียนในวันอาสาฬหบูชา (๑๕ ค่ำ) และถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระภิกษุสงฆ์
๓. ทำบุญฟังเทศน์พระธรรมจักกัปปวัตนสูตร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เวลา ๑๓.๐๐ น.
๔. ทำบุญสารทไทย ๓ วัน เริ่มแรม ๑๔ -๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ถึงขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
๕. ทำบุญออกพรรษา ๓ วัน เริ่มวันขึ้น ๑๔ – ๑๕ ค่ำ ถึงแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ มีตักบาตรเทโวรอบองค์พระบรมธาตุเกตุมวดีย์ ในวันแรม ๑ ค่ำ ด้วย
๖. ทำบุญทอดกฐิน ๒ วัน ตามกำหนดการของญาติโยมที่จะกำหนดขึ้นแต่ละปี
๗. ทำบุญงานนมัสการพระบรมธาตุเกตุมวดีย์ ฟังเทศน์คาถาพัน พิธีเวียนเทียนทักษิณาวัตร, ลอยกระทง ลอยโคม ๓ วัน เริ่มวันขึ้น ๑๔ – ๑๕ ค่ำ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ มีตักบาตรจตุรทิศและญาติโยมอธิษฐานธุดงควัตรปฏิบัติบูชา
๘. ทำบุญงานปริวาสกรรม รุ่นอุกฤษฎ์ ๑๐ วัน เริ่มวันแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑ ถึงวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๒
๙. ทำบุญส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ เริ่มวันที่ ๓๑ ธันวาคม ถึง ๑ มกราคม ของทุกปี
๑๐. งานถือศีลกินเจในเทศกาลตรุษจีน ๔ วัน เริ่มตามเทศกาลตรุษจีนของแต่ละปี
๑๑. ทำบุญงานปริวาสกรรมรุ่นใหญ่ ๑๐ วัน มีงานนมัสการพระพุทธสิหิงค์ , ฟังเทศน์คาถาพัน ฟังพระสงฆ์สวดปาติโมกข์ พิธีเวียนเทียนวันมาฆบูชา, พิธีมหาพุทธาภิเษก (และมักควบงานอื่น ๆ เช่น งานสังคายนา ถวายสังฆทานทั้งสำรับ ซึ่ง ๗ ปี ทำครั้งหนึ่ง เริ่มขึ้น ๗ ค่ำ ถึงแรม ๑ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี (ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองหน ก็เลือนไปเดือน ๔ ให้ตรงกับวันมาฆบูชา โดยจะมีกำหนดการแจ้งให้ทราบแต่ละปี)
๑๒. วันทำบุญตรุษไทย ๓ วัน เริ่มวันแรม ๑๔ -๑๕ ค่ำ เดือน ๔ และขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕
๑๓. ทำบุญสงกรานต์ ๕ วัน มีงานสรงน้ำหลวงพ่อเกตุมดีฯ และพระภิกษุสามเณร ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับ มีในเดือนเมษายน (จะมีกำหนดการแจ้งให้ทราบเป็นปี ๆ ไป)
๑๔. ทำบุญสลากภัตมะม่วงและผลไม้ต่าง ๆ เป็นสังฆทาน ๑ วัน กำหนดเลื่อนตามฤดูมะม่วงสุก ซึ่งจะแจ้งให้ทราบเป็นปี ๆ ไป
๑๕. ทำบุญวันวิสาขบูชา ๓ วัน มีทอดผ้าป่าบูชาพระอริยสงฆ์ ๑๐๘ เวียนเทียนรอบองค์พระ-บรมธาตุเกตุมวดีย์ , ญาติโยมอธิษฐานธุดงควัตร, ตักบาตรจตุรทิศ เริ่มวันขึ้น ๑๔ -๑๕ ค่ำ ถึงแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ (ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเดือน ๗ จะได้มีกำหนดการแจ้งให้ทราบเป็นปี ๆ ไป)
การบริหารและการปกครอง
วัดเกตุมดีศรีวรารามดำเนินการปกครองภายในวัดตามพระธรรมวินัย ระเบียบข้อบังคับคณะสงฆ์ กฎหมายคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคม มีเจ้าอาวาสเป็นผู้ปกครองพระภิกษุสงฆ์ภายในวัด และมีพระภิกษุช่วยปฏิบัติงานในหน้าที่ต่าง ๆ และมีไวยาวัจกรช่วยในการบริหารวัด
กิจวัตรประจำของพระภิกษุสามเณร
เวลา ๐๔.๑๕ น. ทำวัตรเช้า เสร็จแล้วนั่งปฏิบัติพระกรรมฐาน
เวลา ๐๖.๐๐ น. ออกรับบิณฑบาต เว้นวันพระ กลางวันสร้างบารมี ทำความสะอาดบูรณปฏิสังขรณ์ต่าง ๆ ภายในวัด
เวลา ๑๖.๑๕ น. ทำวัตรเย็น เสร็จแล้วนั่งปฏิบัติพระกรรมฐาน
เวลา ๒๐.๐๐ น. นั่งปฏิบัติพระกรรมฐานรวมกับญาติโยม ทุก ๑๔ ค่ำ นั่งปฏิบัติกรรมฐานรวม เวลา ๒๐.๐๐ น.(เดือนขาดเป็น ๑๓ ค่ำ) ที่อุโบสถ
ทุก ๑๕ ค่ำ ทำอุโบสถสังฆกรรม (ฟังสวดพระปาติโมกข์) ทุกกึ่งเดือนตลอดปี
ทุกวันพระ เวลา ๐๘.๐๐ น. ลงรับสังฆทานจากญาติโยม
เวลา ๒๐.๐๐ น. สวดพุทธคุณ ๑๐๘ พร้อมนั่งกรรมฐานรวมกับญาติโยมทั้งวัด
รายนามเจ้าอาวาสผู้ปกครองวัดนี้ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน คือ
๑. พระครูภาวนาวรคุณ (พยนต์ เขมเทโว)
๒. พระครูไพศาลสาครกิจ (สมบัติ ฉนฺทชาโต)