ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วย กามทั้งหลายเกิดจากความดำริ  (อ่าน 1558 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


             

อรรถกถา คังคมาลชาดก
ว่าด้วย กามทั้งหลายเกิดจากความดำริ

               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภอุโบสถกรรม จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า องฺคารชาตา ดังนี้.
               ความย่อมีว่า วันหนึ่ง พระศาสดาตรัสเรียกพวกรักษาอุโบสถมาแล้ว ตรัสว่า
               ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ท่านทั้งหลายทำอุโบสถกรรมให้สำเร็จดีแล้ว ผู้ที่รักษาอุโบสถควรให้ทาน รักษาศีล ไม่โกรธ เจริญเมตตา อยู่รักษาอุโบสถ ก็บัณฑิตครั้งก่อนได้ยศใหญ่ เพราะอาศัยอุโบสถกรรมที่รักษาครึ่งวัน ดังนี้
               พวกอุบาสกเหล่านั้นกราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

               ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี ในพระนครนั้น มีเศรษฐีคนหนึ่งชื่อว่า สุจิบริวาร มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ เป็นผู้ยินดีในบุญกุศล มีให้ทานเป็นต้น. บุตรภรรยาก็ดี บริวารชนของเขาก็ดี โดยที่สุดแม้เด็กเลี้ยงโคในเรือนนั้นก็ดี ทั้งหมดพากันอยู่รักษาอุโบสถ เดือนละ ๖ วัน.
               ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลคนจนตระกูลหนึ่ง รับจ้างเขาเลี้ยงชีพ เป็นอยู่ด้วยความลำบาก. พระโพธิสัตว์คิดว่า เราจักทำงานรับจ้าง จึงได้ไปยังเรือนของสุจิบริวารเศรษฐี ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควรแห่งหนึ่ง เมื่อท่านเศรษฐีถามว่า ท่านมาทำไม จึงกล่าวว่า มาเพื่อรับจ้างทำงานในเรือนของท่าน.
               ท่านเศรษฐีได้เคยพูดบอกแก่ลูกจ้างคนอื่นๆ ไว้ในวันที่มาถึงว่า ผู้ที่ทำงานในเรือนนี้รักษาศีลทุกคน เมื่อท่านอาจรักษาศีลได้ ก็จงทำงานเถิด. แต่สำหรับพระโพธิสัตว์ ท่านเศรษฐีไม่ได้บอกให้รักษาศีล. กล่าวรับพระโพธิสัตว์ว่า ดีแล้วพ่อ ท่านจงอยู่รับจ้างทำงานเถิด.
               นับแต่นั้นมา พระโพธิสัตว์เป็นคนว่าง่าย ทุ่มเทชีวิต มิได้คิดเห็นแก่ความเหนื่อยยากของตน ทำงานทุกอย่างให้ท่านเศรษฐี. พระโพธิสัตว์ไปทำงานแต่เช้าตรู่ ในตอนเย็นจึงกลับมา.

               อยู่มาวันหนึ่ง เขาป่าวประกาศมหรสพในพระนคร. มหาเศรษฐีเรียกนางทาสีมาสั่งว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ เจ้าจงหุงข้าวให้พวกกรรมกรในเรือนแต่เช้าทีเดียว ถึงเวลาเขาจักได้กินแล้วรักษาอุโบสถ. พระโพธิสัตว์ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ไปทำงาน ไม่มีใครบอกแก่พระโพธิสัตว์ว่า วันนี้ท่านพึงรักษาอุโบสถ พวกกรรมกรที่เหลือบริโภคอาหารแต่เช้า แล้วรักษาอุโบสถ. แม้ท่านเศรษฐีพร้อมด้วยลูกเมียบริวารชน ได้อธิษฐานอุโบสถ. พวกที่รักษาอุโบสถแม้ทั้งหมด ไปที่อยู่ของตนๆ นั่งนึกถึงศีล.
               พระโพธิสัตว์ทำงานตลอดวัน กลับมาในเวลาที่พระอาทิตย์ตกแล้ว.
               ลำดับนั้น พวกจัดอาหารได้ให้น้ำล้างมือแก่พระโพธิสัตว์ แล้วคดข้าวใส่ถาดส่งให้.
               พระโพธิสัตว์ถามว่า วันอื่นๆ ในเวลาเช่นนี้ได้มีเรื่องอื้ออึง แต่วันนี้เขาไปไหนกันหมด เมื่อได้ฟังว่า ทุกคนสมาทานอุโบสถไปที่อยู่ของตนๆ จึงคิดว่า เราเป็นคนทุศีลคนเดียว จักอยู่ไม่ได้ในกลุ่มของคนผู้มีศีลเหล่านี้ เมื่อเราอธิษฐานองค์อุโบสถเดี๋ยวนี้ จักเป็นอุโบสถกรรมหรือไม่หนอ คิดดังนี้แล้ว จึงไปถามท่านเศรษฐี.
               ลำดับนั้น ท่านเศรษฐีกล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า แน่ะพ่อ จะเป็นอุโบสถกรรมไปทั้งหมดไม่ได้ เพราะไม่ได้อธิษฐานแต่เช้า แต่ก็เป็นเพียงกึ่งอุโบสถกรรมเท่านั้น
. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เพียงเท่านี้ก็ช่างเถอะ ได้สมาทานศีลในสำนักของท่านเศรษฐี อธิษฐานอุโบสถแล้วเข้าที่อยู่ของตน นอนนึกถึงศีลอยู่.
               ครั้นราตรีล่วงเข้าปัจฉิมยาม ลมสัตถกวาตก็เกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์ เพราะอดอาหารมาตลอดวัน. แม้ท่านเศรษฐีจะประกอบเภสัชต่างๆ นำมาให้บริโภค. พระโพธิสัตว์ก็กล่าวว่า ข้าพเจ้าสมาทานอุโบสถแล้วโดยยอมสละชีวิตด้วยคิดว่า จักไม่ทำลายอุโบสถ. เวทนากล้าแข็งได้เกิดขึ้น. เวลารุ่งอรุณ พระโพธิสัตว์ไม่อาจดำรงสติไว้ได้ คนทั้งหลายคิดว่า พระโพธิสัตว์จักตายในบัดนี้ จึงได้นำไปให้นอนอยู่ ณ ที่โรงเก็บอาหาร.
               ขณะนั้น พระเจ้าพาราณสีทรงรถพระที่นั่งทำประทักษิณพระนครด้วยบริวารใหญ่ เสด็จถึงที่นั้น. พระโพธิสัตว์ได้เห็นสิริราชสมบัติของพระเจ้าพาราณสี เกิดความโลภอยากได้ราชสมบัติ. เมื่อดับจิตแล้ว ได้ไปปฏิสนธิในครรภ์อัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ด้วยอานิสงส์แห่งอุโบสถกรรมกึ่งหนึ่ง. พระอัครมเหสีได้ครรภบริหารแล้ว พอถ้วนทศมาสก็ประสูติพระราชโอรส. พระประยูรญาติทั้งหลายพากันถวายพระนามว่า อุทัยกุมาร.

               อุทัยกุมารนั้น ครั้นเจริญวัยแล้ว สำเร็จการศึกษาศิลปะทุกอย่าง ระลึกถึงบุพพกรรมของตนได้ด้วยญาณเครื่องระลึกชาติ จึงเปล่งอุทานเนืองๆ ว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมเล็กน้อยของเรา ดังนี้.
               ครั้นพระราชบิดาสวรรคตแล้ว ได้ครองราชสมบัติ ทอดพระเนตรดูสิริราชสมบัติอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ แล้วเปล่งอุทานเช่นนั้นอีก.
               อยู่มาวันหนึ่ง ชาวเมืองเตรียมการเล่นมหรสพในพระนคร มหาชนพากันสนใจดูการเล่น. ครั้งนั้น บุรุษรับจ้างคนหนึ่ง อยู่ใกล้ประตูทิศอุดรเมืองพาราณสี เก็บทรัพย์กึ่งมาสกที่ได้มาด้วยการรับจ้างตักน้ำไว้ที่ซอกอิฐกำแพงเมือง ได้อยู่ร่วมกับหญิงกำพร้าคนหนึ่งซึ่งเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างตักน้ำเหมือนกัน ในพระนครนั้น.
               หญิงนั้นกล่าวกะเขาว่า นาย ในพระนครเขามีมหรสพกัน ถ้าท่านพอมีทรัพย์อยู่บ้าง แม้เราทั้งสองก็จะไปเที่ยวเล่นกัน. เขาตอบว่า จ๊ะ เราพอมีทรัพย์.
               มีเท่าไรนาย?
               มีอยู่กึ่งมาสก
               ทรัพย์นั้นอยู่ไหน?
               ฉันเก็บไว้ในซอกอิฐใกล้ประตูทิศอุดร ที่เก็บทรัพย์ไกลจากที่เราอยู่นี้ ๑๒ โยชน์ ก็ทรัพย์ในมือของเจ้า มีบ้างหรือ?
               มีจ๊ะ
               มีเท่าไร?
               มีอยู่กึ่งมาสกเหมือนกัน
               ทรัพย์ของเธอกึ่งมาสก ของฉันกึ่งมาสก รวมเป็นหนึ่งมาสก เราจักเอาทรัพย์นั้น ส่วนหนึ่งซื้อดอกไม้ ส่วนหนึ่งซื้อของหอม ส่วนหนึ่งซื้อสุรา แล้วไปเที่ยวเล่นกัน ท่านจงไปนำทรัพย์กึ่งมาสกที่เก็บไว้มาเถิด.
               บุรุษรับจ้างร่าเริงยินดีว่า ภรรยาเชื่อถือถ้อยคำของเรา จึงกล่าวว่า น้องรักเจ้าอย่าวิตกไปเลย ฉันจักนำทรัพย์นั้นมา ดังนี้แล้วหลีกไป. บุรุษรับจ้างมีกำลังเท่าช้างสาร เดินล่วงมรรคาไปได้ ๖ โยชน์
               ครั้นเวลาเที่ยง เดินเหยียบทรายร้อนราวกะว่าถ่านไฟ เขาร่าเริงยินดีเพราะอยากได้ทรัพย์ นุ่งห่มท่อนผ้ากาสาวะ ประดับใบตาลที่หู เดินขับร้องเพลงเฉื่อยเรื่อยไปผู้เดียว เดินผ่านไปทางพระลานหลวง.

               พระเจ้าอุทัยราชเปิดสีหบัญชรประทับยืนอยู่ ทอดพระเนตรเห็นบุรุษรับจ้างเดินมาอย่างนั้น ทรงพระดำริว่า อะไรหนอที่ทำให้บุรุษนี้ไม่ย่อท้อต่อลมและแดดเห็นปานนั้น มีความร่าเริงยินดีเดินร้องเพลงไป เราจักถามเขาดู ดังนี้ แล้วทรงส่งบุรุษไปคนหนึ่งให้เรียกมา.
               เมื่อบุรุษนั้นไปบอกว่า พระราชาตรัสเรียกท่าน เขาตอบว่า พระราชาเป็นอะไรกับเรา เราไม่รู้จักพระราชา ดังนี้. จึงถูกนำตัวไปโดยการใช้กำลัง ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.
               ลำดับนั้น พระราชา เมื่อจะตรัสถามเขา ได้ตรัสคาถาสองคาถา ความว่า :-
               แผ่นดินร้อนเหมือนถ่านไฟ ดารดาษไปด้วยทรายอันร้อนเหมือนเถ้ารึง เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้ายังทำเป็นทองไม่รู้ร้อน ขับเพลงอยู่ได้ แดดไม่เผาเจ้าดอกหรือ
               เบื้องบนก็ร้อน เบื้องล่างก็ร้อน เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้ายังทำเป็นทองไม่รู้ร้อน ขับเพลงอยู่ได้ แดดไม่เผาเจ้าดอกหรือ
?

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า องฺคารชาตา ความว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ แผ่นดินนี้ร้อนระอุประดุจถ่านเพลิง.
               บทว่า กุกฺกุฬานุคตา ความว่า ดาษไปด้วยทรายร้อนราวกะเถ้ารึง กล่าวคือเถ้าอันร้อนทั่วแล้ว.
               บทว่า วตฺตานิ ความว่า เจ้ายังทำเป็นทองไม่รู้ร้อน ขับเพลงขับอยู่ได้.

               บุรุษรับจ้างนั้นได้ฟังดำรัสของพระราชาแล้ว ได้กราบทูลเป็นคาถาที่ ๓ ความว่า:-
               ข้าแต่พระราชา แดดหาเผาข้าพระองค์ไม่ แต่ว่าวัตถุกามและกิเลสกาม ย่อมเผาข้าพระองค์ เพราะว่าความประสงค์หลายๆ อย่างมีอยู่ ความประสงค์เหล่านั้น ย่อมเผาข้าพระองค์ แดดหาได้เผาข้าพระองค์ไม่.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาตปฺปา ได้แก่ วัตถุกามและกิเลสกาม ก็วัตถุกามและกิเลสกามเหล่านั้น ย่อมแผดเผาบุรุษ เพราะเหตุนั้น บุรุษรับจ้างจึงเรียกวัตถุกามและกิเลสกามเหล่านั้นว่า อาตัปปา.
               บทว่า อตฺถา หิ วิวิธา ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ความประสงค์หลายอย่าง กล่าวคือกิจการต่างๆ ที่จะต้องทำ เพราะอาศัยวัตถุกามและกิเลสกามของข้าพระองค์มีอยู่ วัตถุกามและกิเลสกามเหล่านั้นเผาข้าพระองค์ ส่วนแดดไม่ชื่อว่าเผาข้าพระองค์.

               ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามบุรุษรับจ้างว่า ความประสงค์ของเจ้าเป็นอย่างไร?
               เขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์อยู่ร่วมกับหญิงกำพร้าใกล้ประตูทิศทักษิณ นางนั้นถามข้าพระองค์ว่า นายเราจักไปดูการเล่นมหรสพ ท่านมีทรัพย์อยู่ในมือบ้างไหม? ข้าพระองค์ได้กล่าวกะนางว่า ทรัพย์เราฝังเก็บไว้ที่ซอกกำแพงใกล้ประตูด้านทิศอุดร นางกล่าวว่า ท่านจงไปนำทรัพย์นั้นมา เราทั้งสองจักไปดูการเล่นมหรสพ แล้วส่งข้าพระองค์มา ถ้อยคำของนางนั้นจับใจข้าพระองค์ เมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงถ้อยคำของนางนั้น ความร้อนคือกามย่อมเผาเอาความประสงค์ของข้าพระองค์เป็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า.
               พระราชาตรัสว่า ถ้าเมื่อเจ้าไม่ย่อท้อต่อลมและแดดเห็นปานนี้ อะไรเป็นเหตุให้เจ้ายินดีเดินร้องเพลง. บุรุษนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์นำทรัพย์ที่ฝังไว้นั้นมาได้แล้ว จักอภิรมย์กับนางนั้น ด้วยเหตุดังกราบทูลมานี้ ข้าพระองค์จึงยินดีขับเพลงขับ.

               พระราชาตรัสถามว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ก็ทรัพย์ที่ฝังเก็บไว้ที่ประตูด้านทิศอุดร มีประมาณแสนหนึ่งได้ไหม? เขากราบทูล ไม่มีถึงดอก พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามโดยลำดับว่า ถ้าเช่นนั้น มีห้าหมื่น สี่หมื่น สามหมื่น สองหมื่น หนึ่งหมื่น ห้าพัน ห้าร้อย สี่ร้อย สามร้อย สองร้อย หนึ่งร้อย ห้า สี่ สาม สอง หนึ่งกหาปณะ ครึ่งกหาปณะ หนึ่งบาท สี่มาสก สาม สอง หนึ่งมาสก.
               บุรุษรับจ้างปฏิเสธทุกขั้นตอน
               เมื่อพระราชาตรัสว่า ครึ่งมาสก เขากราบทูลว่า ใช่แล้ว พระเจ้าข้า ทรัพย์ของข้าพระองค์มีเพียงเท่านี้ ข้าพระองค์เดินมาด้วยนึกในใจว่า นำทรัพย์มาได้แล้ว จักอภิรมย์กับนางดังนี้ ด้วยปิติโสมนัสนั้น ลมและแดดนั้นจึงไม่ชื่อว่าแผดเผาข้าพระองค์.
               ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะบุรุษนั้นว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ แดดร้อนถึงเพียงนี้ เจ้าอย่าไปที่นั้นเลย เราจะให้ทรัพย์ครึ่งมาสกแก่เจ้า. เขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์จักตั้งอยู่ในพระดำรัสของพระองค์ รับเอาทรัพย์ครึ่งมาสกนั้น และจักไม่ทำทรัพย์ที่ฝังไว้ให้เสียไป ข้าพระองค์จักไปถือเอาทรัพย์นั้น ไม่ยอมให้เสียเป้าหมายของการเดินทาง.
               พระราชาตรัสว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าจงกลับเถิด เราจักให้ทรัพย์แก่เจ้าหนึ่งมาสก สองมาสก พระองค์ตรัสพระราชทานเพิ่มขึ้น โดยทำนองนี้จนถึงโกฏิ ร้อยโกฏิ และทรัพย์กำหนดนับไม่ได้ แล้วตรัสให้เขากลับเสีย เขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์ขอรับทรัพย์ที่พระราชทาน แม้ทรัพย์ที่ฝังไว้ ก็จักไปเอา.

               ต่อจากนั้น พระราชาได้ตรัสเล้าโลมด้วยฐานันดรมีตำแหน่งเศรษฐีเป็นต้นจนถึงจะให้ดำรงตำแหน่งอุปราช ด้วยพระดำรัสว่า เราจักให้ท่านครองราชสมบัติครึ่งหนึ่ง จงกลับเสียเถิด ดังนี้ เขาจึงยินยอมรับพระดำรัส.
               พระราชาทรงบังคับอำมาตย์ทั้งหลายว่า พวกเจ้าจงไปแต่งหนวดให้สหายของเรา แล้วให้อาบน้ำแต่งตัว แล้วนำมาหาเรา. พวกอำมาตย์ได้กระทำตามรับสั่งนั้น. พระราชาแบ่งราชสมบัติออกเป็นสองส่วน พระราชทานให้บุรุษรับจ้างนั้น ครอบครองราชสมบัติครึ่งหนึ่ง.
               บางอาจารย์กล่าวว่า ก็บุรุษรับจ้างนั้น ครองราชสมบัตินั้นแล้ว ยังไปข้างทิศอุดร ด้วยความรักทรัพย์ครึ่งมาสก. เหตุนั้นเขาจึงได้นามว่า อัฑฒมาสกราช.

               พระเจ้าอุทัยราชกับพระเจ้าอัฑฒมาสกราช ทรงสามัคคี สนิทสนมกัน ครองราชสมบัติ
               วันหนึ่ง เสด็จไปพระราชอุทยาน พระเจ้าอุทัยราชทรงกีฬาในพระราชอุทยานนั้น จนเหนื่อยแล้ว เอาพระเศียรพาดลงบนพระเพลาของพระเจ้าอัฑฒมาสกราช บรรทมหลับไป.
               เมื่อบรรทมหลับสนิทแล้ว พวกราชบริพารก็พากันไปเล่นกีฬาในที่นั้นๆ พระเจ้าอัฑฒมาสกราชทรงดำริว่า ประโยชน์อะไรที่เราจะเสวยราชสมบัติกึ่งหนึ่งอยู่เป็นนิตย์ เราจักปลงพระชนม์พระเจ้าอุทัยราชเสียแล้ว เสวยราชสมบัติแต่ผู้เดียวดีกว่า ดังนี้แล้ว จึงชักพระแสงดาบออกจากฝัก คิดจะปลงพระชนม์พระเจ้าอุทัยราชเสีย
               แล้วมาหวนคิดขึ้นว่า พระราชาองค์นี้ได้ทำเราผู้เป็นคนจน คนกำพร้าให้มียศศักดิ์เสมอด้วยพระองค์ และตั้งเราไว้ในอิสรภาพใหญ่ยิ่ง การที่เราเกิดปรารถนาจะฆ่าผู้ที่ให้ยศแก่เราถึงเพียงนี้ เป็นเรื่องที่เราไม่สมควรทำเลย คิดดังนี้แล้ว จึงยั้งสติได้ สอดพระแสงดาบเข้าฝัก
               แต่หวนคิดแล้วคิดเล่าถึงสองครั้งสามครั้ง จิตคิดฆ่านั้น ยังไม่สงบลงได้.
               ทีนั้นจึงตั้งพระทัยสะกดจิต คิดว่า จิตดวงนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ ก็จะพึงประกอบเราไว้ในกรรมลามก จึงแข็งพระทัยขว้างพระแสงดาบไปบนพื้นดิน ปลุกพระเจ้าอุทัยราชให้ตื่นบรรทม แล้วหมอบลงแทบพระบาท กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ขอพระองค์จงงดโทษแก่ข้าพระองค์เถิด.

               พระเจ้าอุทัยราชตรัสว่า ดูก่อนสหาย โทษในระหว่างท่านกับเราไม่มีมิใช่หรือ?
               มีพระองค์ หม่อมฉันได้ทำอย่างนี้ๆ.
               ถ้าเช่นนั้น เรายกโทษให้ท่าน ก็เมื่อท่านอยากได้ครองราชสมบัติ ก็จงครองราชสมบัติเถิด ส่วนเราจักเป็นอุปราชทำนุบำรุงท่าน.
               พระเจ้าอัฑฒมาสกราชกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระองค์ไม่ต้องการราชสมบัติ เพราะตัณหานี้จักให้ข้าพระองค์ไปเกิดในอบาย พระองค์จงครอบครองราชสมบัติของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวเถิด ข้าพระองค์จักขอลาบวช มูลรากแห่งกามคุณ ข้าพระองค์เห็นแล้ว ความจริงกามคุณนี้เจริญแก่ผู้ดำริอยู่ บัดนี้แต่นี้ไป ข้าพระองค์จักไม่ดำริถึงอีกเลย ดังนี้
               เมื่อจะเปล่งอุทาน จึงตรัสคาถาที่ ๔ ความว่า :-

       ดูก่อนกาม เราได้เห็นมูลรากของเจ้าแล้ว เจ้าเกิดจากความดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีกละ เจ้าจักไม่เกิดด้วยอาการอย่างนี้.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ ความว่า เจ้าจักไม่มีในภายในของเราด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า น โหหิสิ ความว่า เจ้าจักไม่เกิดขึ้น.

               ก็แหละครั้นตรัสดังนี้แล้ว
               เมื่อจะแสดงธรรมแก่มหาชนผู้ประกอบในกามต่อไป จึงตรัสคาถาที่ ๕ ความว่า :-
               กามแม้น้อยก็ไม่พอแก่มหาชน มหาชนย่อมไม่อิ่มด้วยกามแม้มาก น่าสลดใจที่พวกคนพาลพากันบ่นว่า รูป เสียงเหล่านี้ จงมีแก่เรา กุลบุตรผู้ประกอบความเพียร พึงเว้นให้ขาดเถิด.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหหา เป็นบทแสดงถึงความสลดใจ.
               บทว่า ชคฺคโต แปลว่า ผู้เพียรเจริญอยู่.
               ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้
               ข้าแต่มหาราชเจ้า วัตถุกามและกิเลสกามแม้น้อย ก็ไม่พอเพียงสำหรับมหาชนนี้ มหาชนย่อมไม่อิ่มด้วยวัตถุกามและกิเลสกามแม้มาก น่าสลดใจที่พวกคนพาลพากันบ่นว่า รูป เสียงเหล่านี้จงมีแก่เรา กุลบุตรผู้หมั่นประกอบความเพียร เจริญโพธิปักขิยธรรม ยังวิปัสสนาให้เจริญแล้ว พึงรู้แจ้งแทงตลอดได้
คือรู้แจ้งได้ด้วยการกำหนดรู้ การละ และการตรัสรู้ แล้วละได้.

       
       มีต่อค่ะ - http://www.84000.org/tipitaka/attha/jataka.php?i=271155