ผู้เขียน หัวข้อ: ทีดีอาร์ไอวิเคราะห์ผลดี/ผลเสียนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท  (อ่าน 1024 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด

ทีดีอาร์ไอวิเคราะห์ผลดี/ผลเสียนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
-http://www.dailynews.co.th/businesss/177744-

รศ.ดร. ยงยุทธ แฉล้มวงษ์และคณะ ทำการวิจัยภาพรวมนโยบายรายได้ไม่น้อยกว่า 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  โดยชี้ให้เห็นว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับแรงงานไทยยังไม่เหมาะสมกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น รายงานดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่า ยังมีแรงงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำมากกว่า 4 ล้านคนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ความไม่สมดุลดังกล่าวเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า การคุ้มครองแรงงานยังครอบคลุมไม่ทั่วถึงที่จะทำให้แรงงานได้รับค่าจ้างสอดคล้องกับค่าครองชีพอีกเป็นจำนวนมากทั่วประเทศ ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของแรงงานตกต่ำเสี่ยงต่อความยากจนและภาระหนี้สิน

การดำเนินนโยบาย “ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท” ของรัฐบาลให้ครบทุกจังหวัดใน 2 ครั้งคือ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 และวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 คิดเป็นการเพิ่มค่าแรงถึงร้อยละ 80 ของค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ย ซึ่งนโยบายดังกล่าวถือว่าเป็นนโยบายที่มีความสำคัญและจะมีผลกระทบอย่างมหาศาลกับตลาดแรงงานไทย ผลการศึกษานำเสนอข้อดีและข้อเสียของนโยบายดังกล่าว ดังนี้
ข้อดี:

• ทำให้ผู้ใช้แรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ มีฐานะความเป็นอยู่โดยรวมดีขึ้นเนื่องจากมีเงินทุนหมุนเวียนจากการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น รัฐสามารถจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น

• การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทำให้แรงงานได้ประโยชน์โดยตรงประมาณ 3.2 ล้านคน หรือเกือบร้อยละ 30 ของลูกจ้างเอกชนทั้งหมด

• ค่าจ้างใหม่ที่เพิ่มขึ้นช่วยลดความเหลื่อมล้ำให้กับแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ต่ำและมีอำนาจต่อรองน้อย
ข้อเสีย:

• ทำให้ต้นทุนรายจ่ายของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น หรือ แรงงานฝีมือสูงขึ้นมาก เช่น กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กลุ่มอุตสาหกรรมการค้าและบริการ เป็นต้น

• มีความเสี่ยงที่เงินเฟ้ออาจจะเพิ่มขึ้นได้ถึงร้อยละ 1 จากกรณีปกติ และอาจจะลดความสามารถในการแข่งขันเนื่องจากต้นทุนเชิงเปรียบเทียบที่สูงขึ้นของไทย ทำให้ราคาสินค้าไทยสูงขึ้น

• ภาระด้านต้นทุนค่าแรงงานของนายจ้างจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งอาจส่งผลให้สัดส่วนการจ้างงานของธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมลดลงมากและเคลื่อนย้ายไปสู่เศรษฐกิจนอกระบบ (informal economy) มากขึ้น

• ถ้าไม่สามารถปรับระดับผลิตภาพแรงงานให้สูงขึ้นอีกร้อยละ 8 – 10 อาจจะส่งผลให้การขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ลดลงมากกว่าร้อยละ 1.7 จากกรณีปกติ

 

ผลกระทบด้านต่าง ๆ จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท

 

1. ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม

ผลการศึกษา พบว่า การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้เป็นการปรับขึ้นสูงและทันที และเมื่อพิจารณาถึงสาขาที่จะได้รับผลกระทบต่อต้นทุนค่าจ้างรวมมากที่สุดคือ สาขาเกษตรกรรมซึ่งอาศัยแรงงานเป็นหลัก (labour intensive) โดยหากคิดเป็นจำนวนเงินแล้ว นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นจำนวน 2,125 – 2,936 ล้านบาทต่อเดือน คิดเป็นการเพิ่มร้อยละ 21.71 – 29.99
สาขาที่จะได้รับผลกระทบมากอันดับที่ 2 ได้แก่ สาขากิจการโรงแรงและบริการด้านอาหาร ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้น 465 – 861 ล้านบาทต่อเดือน คิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.82 – 14.32 อันดับต่อมาคือ สาขาก่อสร้าง โดยจ่ายเพิ่มขึ้น 836 – 1,308 ล้านบาท คิดเป็นค่าจ้างที่ต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.01 – 10.98
จะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดนั้นเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานเข้มข้น คือ พึ่งพาแรงงานที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในสัดส่วนสูงและอัตรากำไรสุทธิต่ำ
โดยสรุปแล้ว การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระยะกลางและระยะยาว ซึ่งอาจจะมีผลดังนี้

1.1 ผลกระทบด้านการส่งออก

ภาคส่งออกของไทยมีมูลค่ากว่าร้อยละ 62-65 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) และมีแรงงานอยู่ในระบบกว่า 5.5 ล้านคน ซึ่งอุตสาหกรรมใช้แรงงานเข้มข้น 15 กลุ่มในภาคส่งออกจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากค่าจ้างแรงงานของไทยยังสูงกว่าค่าจ้างแรงงานของประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย บังคลาเทศ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของไทยลดลงและจะเป็นปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว

1.2 ผลกระทบทางด้านเงินเฟ้อ

การปรับค่าจ้างตามนโยบายจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างอุตสาหกรรมเป็นลูกโซ่ทั้งแผง เนื่องจากสินค้ากว่าจะมาถึงผู้บริโภคได้ต้องผ่านห่วงโซ่อุปทานประมาณ 10 อุตสาหกรรม แต่ละช่วงต้องมีการผลักภาระค่าจ้างบางส่วนใส่เข้าไปในตัวสินค้า ทำให้สินค้าเมื่อถึงมือผู้บริโภคมีราคาสูงขึ้น เป็นต้นทุนของภาคการผลิต ซึ่งผู้บริโภคจะเป็นผู้รับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

1.3 การกระจายรายได้และการกระจุกตัว

การใช้ค่าจ้างขั้นต่ำ ในอัตราเดียวทั่วประเทศจะส่งผลให้อุตสาหกรรมกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองใหญ่ โดยเฉพาะในปริมณฑล เพราะไม่มีแรงจูงใจที่จะกระจายการผลิตไปในต่างจังหวัดซึ่งมีรัศมีระยะทางเกินกว่า 300 กิโลเมตร เนื่องจากระยะทางที่ยาวไกลจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้น ในระยะยาวจะเป็นการทำลายโครงสร้างค่าจ้างปัจจุบันที่เน้นให้อุตสาหกรรมขยายตัวไปในจังหวัดที่ห่างไกลเพื่อเป็นการกระจายรายได้และกันคนให้อยู่ในพื้นที่

1.4 ผลกระทบด้านการลงทุน

ไทยยังจำเป็นต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากไทยจำเป็นที่จะต้องขยายภาคการผลิตเข้ามารองรับแรงงานใหม่ในแต่ละปี หากค่าจ้างของไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามซึ่งอัตราค่าจ้างต่ำกว่าไทย 2.3 เท่า จะทำให้การลงทุนในประเทศมีการชะลอตัว ทั้งนี้ ในระยะสั้นและกลาง ภาคการผลิตของไทยจำเป็นต้องใช้การผลิตที่มีแรงงานเข้มข้นอยู่ในระบบการผลิตก่อนที่ไทยจะปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้ทักษะเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Productive Industry) มากขึ้น

1.5 แรงงานผิดกฎหมายจะไหลเข้ามาสู่ระบบมากขึ้น

ค่าแรงที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านของไทยจะเป็นการกดดันให้มีแรงงานผิดกฎหมายไหลเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้นกว่าเดิม โดยตารางข้างล่างเปรียบเทียบค่าแรงไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้

 

รายชื่อประเทศ ค่าจ้างขั้นต่ำต่อเดือน (เหรียญสหรัฐ)

ประเทศไทย 260 เหรียญสหรัฐ

ประเทศพม่า 50-60 เหรียญสหรัฐ (ต่ำกว่าไทย 5.2 เท่า)

ประเทศกัมพูชา 60-70 เหรียญสหรัฐ (ต่ำกว่าไทย 4.3 เท่า)

ประเทศลาว 70 เหรียญสหรัฐ (ต่ำกว่าไทย 3.7 เท่า)

ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวในไทยประมาณ 3.8 ล้านคน ในจำนวนนี้มีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายประมาณ 8.9 แสนคนเท่านั้น ผลกระทบของค่าแรงที่สูงขึ้นมากในไทยเป็นแรงจูงใจสำคัญที่จะทำให้เกิดปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย รวมถึงปัญหาด้านความมั่นคง สวัสดิการสังคมและอื่น ๆ ตามมา

 

2. ผลกระทบต่อภาคการผลิต ภาคการค้า และภาคบริการ

โดยภาพรวม ต้นทุนการผลิตรวมจะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงครั้งนี้โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 4.0 โดยหากพิจารณาผลกระทบเป็นรายกลุ่ม พบว่า ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลาง ใหญ่จะได้รับผลกระทบเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 90-94 เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบรายภาค พบว่า ภาคตะวันออกได้รับผลกระทบมากที่สุดร้อยละ 98 ตามมาด้วยภาคเหนือร้อยละ 96 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ95ภาคใต้ร้อยละ 90 และภาคกลางได้รับผลกระทบน้อยที่สุดร้อยละ 89
สำหรับผลกระทบกับรายสาขาธุรกิจ พบว่า ธุรกิจที่มีการใช้แรงงานเข้มข้นในภาคการผลิต เรียงลำดับผลกระทบมากไปน้อย ได้แก่ ผลิตเฟอร์นิเจอร์หวาย ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ ผลิตพลอยเจียระไน เครื่องนุ่งห่ม เครื่องกระเป๋าหนัง เป็นต้น ในส่วนภาคบริการ ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างบ้านและธุรกิจการขนส่งทางบก เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วมีการคาดการณ์ว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอาจส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปิดกิจการหรือย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศอื่น ๆ อันจะนำไปสู่การลดลงของความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน

 

หมายเหตุ : ข้อมูล ณวันที่ 28 ตุลาคม 2554มาเลเซียและสิงคโปร์ไม่มีค่าแรงขั้นต่ำ ค่าแรงที่แสดงของสองประเทศนี้เป็นการคำนวณจากเงินเดือนเฉลี่ยของแรงงานไร้ฝีมือ
กราฟข้างบนแสดงให้เห็นว่า หากปรับค่าแรงของประเทศไทยเป็น 300 บาทต่อวันแล้ว ค่าแรงของไทยจะสูงเป็นอันดับ 3 รองจากประเทศสิงคโปร์และฟิลิปปินส์ หากพิจารณาค่าแรงของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว เวียดนาม กัมพูชา จะพบว่าประเทศเหล่านี้มีค่าแรงน้อยกว่าไทยกว่า 3 เท่า ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าในอุตสาหกรรมประเภทที่ใช้แรงงานเข้มข้นจะหันไปพึ่งแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้แทน

 

บทสรุป

 

การตัดสินใจขึ้นค่าแรงสูงที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนเป็นประเทศที่มีค่าแรงสูงทันทีซึ่งอาจจะอยู่ในช่วงเวลาที่ค่อนข้างเหมาะสม คือ ตลาดแรงงานกำลังขาดแคลนแรงงาน (ระดับล่าง) อย่างรุนแรง ภาคธุรกิจโดยเฉพาะเอสเอ็มอีจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและผลิตภาพแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจะมีการลดการจ้างงาน ลดคนงานเดิมและชะลอรับคนงานใหม่ รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีที่ประหยัดการใช้แรงงาน ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรมีการประสานความร่วมมือเพื่อปรับและเพิ่มทักษะให้กับแรงงานให้มีสรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของตลาด สิ่งเหล่านี้จะทำให้โครงสร้างตลาดแรงงานไทยมีความแข็งแกร่งและลดผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นได้กับหลายภาคส่วนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

 

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)