ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน เป็นอย่างไรเล่า ?  (อ่าน 1104 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


                 

ผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
เธอพึงทำความสำเหนียกว่า “เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน” ดังนี้เถิด.


ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนชายหนุ่มหญิงสาว ที่ชอบแต่งตัว
ส่องดูเงาหน้าของตนที่แว่นส่องหน้า หรือที่ภาชนะน้ำอันบริสุทธิ์หมดจดใสสะอาด
ถ้าเห็นธุลีหรือต่อมที่หน้า ก็พยายามนำธุลีหรือต่อมนั้นออกเสีย
ถ้าไม่เห็นธุลีหรือต่อม ก็ยินดีพอใจว่า เป็นลาภหนอ บริสุทธิ์ดีแล้วหนอ ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! การพิจารณาของภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ
จะมีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายในเมื่อเธอพิจารณาว่า

“เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีอภิชฌา หรือไม่มีอภิชฌา
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีจิตพยาบาท หรือไม่มีจิตพยาบาท
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่ หรือปราศจากถีนมิทธะ
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีความฟุ้งซ่าน หรือไม่ฟุ้งซ่าน
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีวิจิกิจฉา หรือหมดวิจิกิจฉา
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยเป็นผู้มักโกรธ หรือไม่มักโกรธ
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีจิตเศร้าหมอง หรือไม่มีจิตเศร้าหมอง
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีกายอันเครียดครัดในการปฏิบัติธรรม หรือมีกายไม่เครียดครัด
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยเป็นผู้เกียจคร้าน หรือเป็นผู้ปรารภความเพียร
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีจิตตั้งมั่น หรือไม่มีจิตตั้งมั่น” ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า
เราอยู่โดยมาก โดยความเป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท
ถีนมิทธะกลุ้มรุม ฟุ้งซ่าน มีวิจิกิจฉา มักโกรธ มีจิตเศร้าหมอง
มีกายเครียดครัด เกียจคร้าน มีจิตไม่ตั้งมั่น
” ดังนี้แล้ว

ภิกษุนั้น พึงกระทำซึ่งฉันทะ (ความพอใจ) วายามะ (ความพยายาม)
อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ความขมักเขม้น) อัปปฏิวานี (ความไม่ถอยหลัง)
สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า
เพื่อละเสียซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
เช่นเดียวกับ บุคคลผู้มีเสื้อผ้าหรือศีรษะอันไฟลุกโพลงแล้ว จะพึงกระทำ
ฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติและสัมปชัญญะอันแรงกล้า
เพื่อจะดับไฟที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะนั้นเสีย, ฉันใดก็ฉันนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า
“เราอยู่โดยมาก โดยความเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ไม่มีจิตพยาบาท
ไม่ถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ฟุ้งซ่าน หมดวิจิกิจฉา ไม่มักโกรธ มีจิตไม่เศร้าหมอง
มีกายไม่เครียดครัด ปรารภความเพียร มีจิตตั้งมั่น” ดังนี้แล้ว
ภิกษุนั้น พึงตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแหละ
แล้วประกอบโยคกรรม เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป.

ทสก. อํ. ๒๔/๙๗/๕๑.


-http://www.oknation.net/blog/nun2504/2013/01/03/entry-2