สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗ - ๒๓๑.
ได้ทราบความหมายของ 4 คำที่ควรทราบเรื่องกรรมไปแล้ว
คงทำให้ชาวพุทธรู้เรื่องๆ กรรมได้มากขึ้น และรู้ต่อไปว่าจะต้องจัดการกับกรรมอย่างไร
วันที่ : 28 กันยายน 55 9:40
-http://www2.manager.co.th/mwebboard/listComment.aspx?Mbrowse=8&QNumber=340253
...................................
สาธุ...ขอบคุณที่ยกมาครับผม...
1. กรรมเก่า (ปุราณกัมม)
พ้นโดยกำหนดสัจจะกริยาว่า "บัดนี้รู้แล้ว จักไม่ทำต่อไป"
2. กรรมใหม่ (นวกัมม)
พ้นโดย ละอกุศล เจริญกุศลให้ยิ่ง ชำระใจให้แจ่มใจ ทุกลมหายใจเข้าออก
3. กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม)
ตั้งเป้าหมายชีวิต
-ไม่แบกอารมณ์ทุกข์
-ไม่เป็นทาสกุญแจไขความสุข
- แต่เย็น
4. กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม)
ฝึกฝนตนตาม นิปปปัญจธรรม
หรือโพธิปักขิยธรรม ธรรมภาคปฏิบัติ 37 ประการ อย่างจริงจัง...สาธุ
Suraphol Kruasuwan//- เหตุแห่งทุกข์ นอกความเชืื่อ ของพุทธ
ดั้งเดิมคือ
-ไม่ใช่เรื่องของ กรรมเก่า (ข้ามภพชาติ)
-ไม่ใช่เรื่องของ ผู้มีฤทธิ์บันดาล(เป็นกฎธรรมชาติ)
-ไม่ใช่เรื่อง บังเอิญ (มีกฎ เหตุปัจจัยปรุงแต่ง)
-ไม่ใช่เรื่องปฏิกริยาของธาตุ (วัตถุนิยม)
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
101] ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3
(บาลีเรียกว่า ติตถายตนะ แปลว่า แดนเกิดลัทธิ, ชุมนุมหรือประมวลแห่งลัทธิ
— beliefs of other sects; grounds of sectarian tenets; spheres of wrong views;
non-Buddhist beliefs)
1. ปุพเพตกเหตุวาท (ลัทธิกรรมเก่า คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบจะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนเป็นเพราะกรรมที่ได้ทำไว้ในปางก่อน — a determinist theory that whatever is experienced)
2. อิสสรนิมมานเหตุวาท (ลัทธิพระเป็นเจ้า คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้ยิ่งใหญ่ — a determinist theory that whatever is experienced is due to the creation of a Supreme Being; theistic determinism) เรียกสั้นๆ ว่า อิศวกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท
3. อเหตุอปัจจัยวาท (ลัทธิเสี่ยงโชค คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนหาเหตุหาปัจจัยมิได้ คือ ถึงคราวก็เป็นไปเอง — an indeterminist theory that whatever is experienced is uncaused and unconditioned; accidentalism) เรียกสั้นๆ ว่า อเหตุวาท
ทั้งสามลัทธินี้ ไม่ชอบด้วยเหตุผล ถูกยันเข้า ย่อมอ้างการถือสืบๆ กันมา เป็นลัทธิประเภท อกิริยา (traditional doctrines of inaction) หากยึดมั่นถือตามเข้าแล้ว ย่อมให้เกิดโทษ คือ ไม่เกิดฉันทะ และความพยายาม ที่จะทำการที่ควรทำและเว้นการที่ไม่ควรทำA.I.173;
Vbh.367. องฺ.ติก. 20/501/222;อภิ.วิ. 35/940/496.พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖