จวงจื่อ หรือจวงโจวเดิมชื่อจวงโจว เป็นปรัชญาเมธีและนักศิลปศาสตร์ผู้โด่งดัง แห่ง ลัทธิเต๋าในสมัยจั้นกั๋วอีกท่านหนึ่งต่อจากเหลาจื้อ
จวงจื้อเป็นชาวรัฐซ่ง(มณฑลเหอหนันในปัจจุบัน)เคยเป็นข้าราช การชั้นผู้น้อย เล่ากันว่า จวงจื้อเป็นคนเฉลียวฉลาด และชอบอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก เคยท่องเที่ยวไปตามรัฐต่างๆเพื่อ ศึกษาหาความรู้ด้านประเพณีนิยมพื้นเมือง จวงจื่อถือหลักการว่า จะ ต้องทำตนให้เป็นอิสระ หลุดพ้นจากโลกอันวุ่นวายนี้ ประท้วงจารีต ประเพณีและดูหมิ่นเชื้อพระวงศ์ กษัติริย์รัฐฉู่เคยเชื้อเชิญให้ดำรง ตำแหน่งเสนาบดีรัฐฉู่ด้วยเงินทองก้อนมหึมา แต่ถูกจวงจื้อปฏิเสธ เนื่องจากไม่พอใจสถานการณ์ทางการเมืองและสังคม ในสมัยนั้น จวงจื้อลาออกจากข้าราชการ เลี้ยงชีพด้วยการถักรองเท้าฟาง ไปถ่ายทอดแนวคิดลัทธิเต๋าและ ประพันธ์หนังสือ”จวงจื้อ”ที่มีตัวหนังสือถึงกว่า100,000คำ
หนังสือเรื่อง“จางจื้อ” แบ่งเนื้อหาทั้งหมดเป็น 3 เล่ม ได้แก่
ความเรียงใน ความเรียงนอก และความเรียงปกิณกะ รวม 33 บทด้วยกัน ความเรียงในเป็นบทประพันธ์ของจวงจื้อ
ส่วนความเรียงนอก และความเรียงปกิณกะ อาจเป็นบทประพันธ์ของลูกศิษย์และนักปราชญ์รุ่นหลัง
เนื้อหาของ ความเรียงในแบ่งเป็น3บท ได้แก่”ฉีอู้ลุ่น” “เซียวเหยาอิ๋ว” และ“ต้าจงซือ” นับเป็นแก่นสารหลักของคัมภีร์เต๋าเล่มนี้ บทประพันธ์เรื่อง”จวงจื้อ” เป็นหนังสือทั้งไพเราะและพิสดาร ถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมปรัชญาที่ดี ที่สุดเล่มหนึ่งของโลก ผู้เชี่ยวชาญทั้งจีนและต่างประเทศ ต่างยกย่อง จวงจื้อว่าเป็นนักปรัชญาที่มีความรอบรู้ในวิชาการต่างๆอย่าง กว้างขวาง และมีภาษาหนังสือที่น่าอัศจรรย์ที่สุด
ทางด้านแนวคิดปรัชญานั้น จวงจื้อได้สืบทอดและเชิดชู ส่งเสริมแนวคิดของเหลาจื้อและลัทธิเต๋า ก่อรูปเป็นระบบแนวคิดทาง ปรัชญาที่มีเอกลักษณ์ของตนและท่วงทำนองในการใช้ภาษาหนังสือ ที่มีลักษณะพิเศษของตนขึ้นจวงจื่อเห็นว่า“เต้า”หรือ”เต๋า”เป็นการ ดำรงอยู่ในความเป็นจริงทางภววิสัย “เต๋า”เป็นบ่อเกิดสรรพสิ่งในโลกนี้ สรรพสิ่งในโลกเคลื่อนไหวอย่างไม่รู้สิ้นสุดและก็มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อุบัติจนดับสูญ อันเป็นกระบวนการที่มักเปรียบเทียบกับพระจันทร์ ที่มีข้างขึ้นข้างแรม โลกนี้ปราศจากขอบเขตทั้งในอวกาศและกาลเวลา
“จวงจื้อฝันเห็นฝีเสื้อ” เป็นเรื่องที่จวงจื้อเล่าในหนังสือ”จวงจื้อ”นั้น นับเป็นเรื่องที่คนรุ่นหลังนำมาอ้างอิงกันมากที่สุดเรื่องหนึ่ง กล่าวคือ ”
ครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าฝันไปว่าเป็นผีเสื้อโบยบินไปมาอย่างสบายใจ ไม่มีความวิตกกังวลใดๆ ผีเสื้อตัวนี้ไม่รู้เลยว่า มันคือจวงโจว แต่แล้วในทันใดก็ตื่นขึ้นรู้สึกตัวว่า ตัวคือจวงโจว ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นการยากที่จะบอกได้ว่า ตนเองเป็นจวงโจวที่ฝันไปว่าเป็นผีเสื้อตัวนั้น หรือว่า ผีเสื้อตัวนั้นฝันไปว่า มันเป็นจวงโจว ระหว่างผีเสื้อกับจวงโจวนั้น จะต้องแตกต่างกันแน่ๆ ”
จวงจื้อเลื่อมใสศรัทธาในธรรมชาติ ส่งเสริมเจตนารมณ์ที่ว่า “
ฟ้าดินอยู่เคียงคู่กับข้าพเจ้า สรรพสิ่งต่างๆกับข้าพเจ้า เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ” และให้ความเห็นว่า อาณาจักรแห่งชีวิตสูงสุดคืออิสระและ ไม่มีอะไรมาบังคับความเป็นอิสระทางจิตใจได้ หากไม่ใช่การเสพสุข ทางวัตถุและชื่อเสียงอันจอมปลอม แนวคิดดังกล่าวของจวงจื้อได้ส่ง อิทธิพล ต่ออารยธรรมจีนทุกด้านอย่างกว้างขวางลึกซึ้งนับเป็นสิ่ง ล้ำค่าทางจิตใจในประวัติแนวคิดของมนุษยชาติ
“จวงจื้อ”ได้กลายเป็นหนึ่งในคัมภีร์อมตะแห่งลัทธิเต๋าอย่างเป็นทางการในราชวงศ์ถัง(ราวปี618-907) แนวการประพันธ์ของจวงจื้อ มักใช้รูปแบบเล่านิทานบรรยายอุดมคติของตน ทำให้ผู้อ่านเพลิน เพลินไปกับอารมณ์ของตนโดยไม่รู้สึกตัว กลวิธีการเขียนก็มีความพลิกแพลง ตื่นเต้น ลึกลับซับซ้อน เป็นหนึ่งในหนังสือที่เด่นที่สุดของหนังสือ ปรัชญาทั้งหลายในประวัติศาสตร์จีนและก็มีฐานะสำคัญในประวัติ วรรณกรรมของจีน หนังสือเรื่อง”
จวงจื้อ”ร่วม กับหนังสืออีกสองเรื่องได้แก่
”เต้าเต๋อจิง”หรือ“เหลาจื่อ”และ
”โจวอี้” หรือ”อี้จิง”รวมเป็นหนังสือสำคัญ3เล่มที่สะท้อนถึงคุณค่าของลัทธิเต๋าซึ่งเป็นปรัชญาแนวธรรมชาตินิยมได้เป็นอย่างดีที่สุด
-http://thai.cri.cn/chinaabc/chapter17/chapter170202.htm-http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=7906.msg32067#msg32067อ่านต่อ.. ปรัชญา: อิสรภาพของอิสรชนในคัมภีร์จวงจื๊อ ค่ะ...-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,8267.0.html