ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เรื่องต้นสาละ ที่พระพุทธองค์ทรงประสูติ  (อ่าน 7721 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

   
                             ต้นสาละที่พระพุทธองค์ทรงประสูติ

ความรู้เรื่องต้นสาละ ที่พระพุทธองค์ทรงประสูติ
โดยนัยของต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัติที่กล่าวว่า พระพุทธองค์ทรงประสูติ เสด็จดับขันปรินิพพาน ใต้ ต้นซาล หรือสาละ ในเมืองกุสินารา ป่าซาล หรือป่าสาละ (Sal forest) ซึ่งเป็นป่ายางผลัดใบ (Dry dipterocarp forest) คล้ายกับป่าเต็งรัง ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่พบว่ามี ไม้ซาล เป็นไม้เด่นประจำป่า นอกจากนั้นหลายๆ หลายบทความที่อ่านพบ หรือนำเผยแพร่ใน Internet ได้อธิบายลักษณะต่างๆ ของสาละได้ถูกต้องในชนิดของ สาละ (Sal; Shorea robusta) แต่พบว่าการเลือกใช้ภาพประกอบเป็นชนิด ต้นลูกปืนใหญ่ การนำต้นลูกปืนใหญ่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกับความเป็นจริงทั้งในเรื่องพุทธประวัติ และเขตการกระจายทางพฤกษภูมิศาสตร์ (Plant Geography) ของไม้ลูกปืนใหญ่ ซึ่งมิได้มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในประเทศเนปาล อินเดีย และศรีลังกาแต่ประการใด แต่อยูไกลถึงทวีปอเมริกาใต้

มีหลายท่าน เช่น วัฒน์ (2550) พยายามที่จะสื่อให้ความรู้นี้ ในรูปบทความ และเผยแพร่ในสื่อตาม Website แต่ยังไม่แพร่หลาย จึงขอนำมากล่าวไว้อีก ครั้ง และสามารถ คลิกเข้าไปอ่านหรือชมภาพได้ตาม Website ต่างๆ ที่ได้ Link ไว้ในบทความนี้ ละเอียดของต้นไม้ 2 ชนิด มีดังนี้

1. ลูกปืนใหญ่ หรือสาละลังกา
ชื่อสามัญเรียก Cannon Ball Tree
ชื่อพฤษศาสตร์ Couroupita guianensis Aubl.
วงศ์ Lecythidaceae
ลักษณะพืช เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร เรือนยอดกลมหรือรูปไข่หนาทึบ เปลือกต้นขรุขระตกสะเก็ดเป็นร่อง คล้ายหนามตามลำต้น เปลือกสีน้ำตาล ใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ลักษณะใบยาวรูปหอกหรือรูปไข่ ขอบใบจักสั้น ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว ปลายช่อโน้มลงกลีบดอกหนา 4-6 กลีบ กลีบค่อนข้างแข็ง ดอกตูมจะเป็นสีเหลือง เมื่อบานดอกจะมีสีแดง หรือสีชมพูอมเหลือง กลิ่นหอมฉุน ออกดอกเกือบตลอดปี ผลมีขนาดใหญ่ เปลือกแข็ง ลักษณะคล้ายลูกปืนใหญ่สมัยโบราณ มีเมล็ดจำนวนมาก ชอบแดดจัด น้ำปานกลาง ดอกมักดกมากในช่วงหน้าฝน ดอกบานและร่วงในวันเดียว ตอนเย็น

2. ซาล, สาละ
ชื่อพฤษศาสตร์ Shorea robusta C.F. Gaertn.
ชื่อสามัญ Shal, Sakhuwa, Sal Tree, Sal of India
วงศ์ Dipterocarpaceae
ถิ่นกำเนิด พบในประเทศเนปาล และพื้นที่ทางเหนือของประเทศอินเดีย มักขึ้นเป็นกลุ่ม ในบริเวณที่ค่อนข้างจะชุ่มชื้น เป็นไม้ที่อยู่ในวงศ์ยาง พบมากในลุ่มน้ำยมุนา แถบแคว้นเบงกอลตะวันตก และแคว้นอัสสัม ลักษณะพืช เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ ลำต้น เปลาตรง เปลือกสีเทาแตกเป็นร่อง เป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ปลายกิ่งมักจะลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ใบ เดี่ยว ดกหนาทึบ รูปไข่กว้าง โคนใบเว้าเข้า ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ ผิวใบเป็นมันขอบใบเป็นคลื่น ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลชนิดแห้ง แข็ง มีปีก 5 ปีก ปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก บนแต่ละปีกมีเส้นตามความยาวของปีก 10-15 เส้น

สาละเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน ทำไม้หมอนรถไฟ ทำสะพาน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย

สรรพคุณด้านสมุนไพรของต้นสาละ พบว่ายาง สามารถใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น ผล ใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น
ที่มา :http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=maipradab&topic=4782




ทางออกเบื้องต้นสำหรับการแก้ไขปัญหานี้
สาละ และลูกปืนใหญ่ พันธุ์ไม้ต่างชนิดกัน และมีถิ่นกำเนิดพบกระจายอยู่ห่างไกลต่างทวีปกัน แต่เข้ามาเกี่ยวข้องกันโดยบังเอิญ เนื่องจากความเข้าใจผิดในชื่อเรียกขาน ปัจจุบันความเข้าใจดังกล่าวได้แพร่กระจายออกไปไกล ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้น่าจะช่วยกันเผยแพร่ความรู้นี้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และตามวัดต่างๆ ที่ปลูกต้นลูกปืนใหญ่ หรือที่เรียกและรู้จักในชื่อ สาละลังกา เป็นพันธุ์ไม้ที่มิได้เกี่ยวข้องใดใดกับพุทธประวัติ อาจเปลี่ยนป้ายที่บรรยายว่าเป็นพันธุ์ไม้จากทวีปอเมริกาใต้ มีชื่อพ้องกับสาละอินเดีย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่บุคคลทั่วไป หรืออาจเสาะหา สาละ (Shorea robusta C.F. Gaertn.) มาปลูกเปรียบเทียบด้วย เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สาธารณชนผู้พบเห็น สุดท้ายนี้ ท่านผู้ใดที่มีต้นสาละ (Shorea robusta C.F. Gaertn.) น่าที่จะนำไปถวายวัด เพื่อปลูกเป็นต้นไม้แห่งความรู้ที่เป็นวิทยาทานที่ถูกต้องต่อไป น่าจะเป็นกุศล และเป็นประโยชน์ไม่น้อย


เอกสารอ้างอิง และสิ่งอ้างอิง
วัฒน์. 2550. ข้อแตกต่างระหว่างต้นบัวสวรรค์ ต้นสาละลังกา ต้นสาละอินเดีย.
Available source :http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=maipradab&topic=4782
สาละลังกา (ลูกปืนใหญ่) vs สาละอินเดีย (ซาล)
ฟ้าใสวันใหม่ - http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=fasaiwonmai&month=07-2012&date=11&group=2&gblog=340
-http://www.facebook.com/AKALIGO.com.thailand/posts/632052760154042
>http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4391.15
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 29, 2017, 10:09:51 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข
"ต้นไม้ สวน และป่า"
ต้นไม้ สวนและป่า ในสมัยพุทธกาล
ที่มีความเกี่ยวพันกับพุทธประวัติซึ่งนำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้ดังนี้

ต้นไม้
     ๑. ปาริฉัตตก์ คือต้นทองหลาง เป็นชื่อต้นไม้ประจำสวรรค์ชั้นที่ ๒ คือ ชั้นดาวดึงส์ อยู่ในสวนนันทวัน ของพระอินทร์หรือท้าวสักะจอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในพรรษาที่ ๗ ภายหลังตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จประทับภายใต้ร่มไม้ปาริฉัตตก์ (หรือปาริฉัตร, ปาริชาต) ณ ดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาตลอดสามเดือนพระพุทธมารดาได้ทรงบรรลุพระโสดาปัตติผล ส่วนเทพยดาในโลกธาตุที่มาประชุมฟังธรรมบรรลุผลสุดที่จะประมาณ

     ๒. พหุปุตตนิโครธ ต้นไทรที่อยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา ปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าและขอบวชที่พหุปุตตนิโครธนี้ครั้นบวชล่วงไปแล้ว ๗ วัน ก็ได้บรรลุพระอรหัต พระมหาสาวกมหากัสสปะ (เดิมชื่อ ปิปผลิมาณพ) ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางถือธุดงค์

     ๓. ต้นพระศรีมหาโพธิ ต้นโพธิ ต้นโพธิที่พระพุทธเจ้าประทับภายใต้ร่มเงาของต้นพระศรีมหาโพธิ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม แคว้นมคธ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ภายใต้ร่มเงาของต้นพระศรีมหาโพธิแห่งนี้ นับเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ของะพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
     ในรัชสมัยรัชการที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิ์จากต้นโพธิ์ตรัสรู้ ณ ริ่มฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ซึ่งดินแดน ณ ที่นั้นได้เปลี่ยนชื่อมาเรียกว่า ตำบลพุทธคยา รัฐพิหาร นับเป็นการได้พันธุ์ต้นมหาโพธิ์ตรัสรู้โดยตรงครั้งแรก นำมาปลูกไว้ ณ วัดเปญจมบพิตรและวัดอัษฏางนิมิตร

     ๔.ต้นมุจจลินทร์ หรือต้นจิก ภายหลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้วถึงสัปดาห์ที่ ๖ ทรงประทับภายใต้ร่มเงาของต้นไม้จิกอันมีชื่อว่า มุจจลินทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ใกล้ ๆ กับต้นพระศรีมหาโพธิพระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นมุจจลินทร์เป็นเวลา ๗ วัน โดยมีพญามุจจลินทร์นาคราชมาวางขนดแผ่พังพานปกป้องพระองค์ จากสายลมและสายฝน พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานแสดง ความสุขที่แท้ อันเกิดจาการไม่เบียดเบียนกัน

     ๕. ต้นราชยตนะ หรือต้นไม้เกต ภายหลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้วถึง สัปดาห์ที่ ๗ ทรงประทับภายใต้ร่มเงาของต้นไม้เกตอันมีชื่อว่า ราชายตนะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ใกล้ ๆ กับต้นศรีมหาโพธิ์ พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยสิทุตติสุขเป็นเวลา ๗ วัน นับเป็นสัปดาห์สุดท้ายแห่งการเสวยวิมุตติสุข ณ ที่นี้มีพ่อค้า ๒ คนนำกองเกวียนค่าขายจากแดนไกล คืออุกกลชนบท ได้ถวายเสบียงเดินทาง สัตตุผง สัตตุก้อนแด่พระพุทธเจ้าพ่อค้าทั้งสองคือ ตปุสสะ และภัลลิกะ ได้แสดงตนเป็นปฐมอุบาสกถึงสรณะ ๒ คือถึงพระพุทธและพระธรรม

     ๖. ต้นสาละ เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในดินแดนชมพูทวีป มิได้เป็นชนิดเดียวกับต้นรังหรือต้นสาละลังกาที่ปลูกหรือพบในประเทศไทย แต่อย่างใด ต้นสาละเป็นต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระสัมมาสัมพุทธเข้าตั้งแต่ประสูติ จนถึงปรินิพพาน
     พระพุทธองค์ทรงประสูติภายใต้ต้นสาละใหญ่ ณ อุทยานลุมพินีซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กับกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ ยามนั้นแดดอ่อนดวงตะวันยังไม่ขึ้นตรงศรีษะเป็นวันเพ็ญ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ยามนั้นอากาศโปร่ง ต้นไม้ในป่าสาละอุทยานลุมพินีกำลังผลิดอกออกใบอ่อน ดอกไม้นานาพรรณ กำลังเบ่งบาน ส่งกลิ่นเป็นที่จำเริญใจ
     ครั้นยามสามของวันเพ็ญ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ภายใต้ร่มเงาพระศรีมหาโพธิ ภายในป่า สาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ
     ครั้น วันเพ็ญเดือน ๘ สองเดือนภายหลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระพุทธองค์เสด็จมาถึงบริเวณป่าสาละอันร่มรื่น ณ อุทยานมฤคทายวันหรืออิสิปตนมฤคทายวัน ทางทิศเหนือใกล้เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรก คือ ธัมมจักกัปปวันสุตร โปรดปัญจวัคคีย์ พระรัตนตรัยเกิดครบบริบูรณ์ครั้งแรกในโลกนี้ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
     เมื่อพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ ครบ ๘๐ พรรษาได้เสด็จถึงสาลวโนทยานหรือสวนป่าไม้ สาละ ของมัลลกษัตริย์ใกล้เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ เป็นเวลาใกล้ค่ำของวันเพ็ญ เดือน ๖ วันสุดท้ายก่อนการกำเนิดพุทธศักราช พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดที่บรรทมระหว่างต้นสาละใหญ่ ๒ ต้น ทรงเอนพระวรกายลงโดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ประทับไสยาสน์แบบสีหไสยาสน์เป็นอนุฏฐานไสยาสน์คือเป็นการนอนครั้งสุดท้ายจนกระทั่งสังขารดับ


     ๗.อปชาลนิโครธ ต้นไทรที่พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๕ ภายหลังทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ประทับนั่งภายใต้ร่มเงาของอปชาลนิโครธเป็นเวลา ๗ วัน ต้นอปชาลนิโครธอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นศรีมหาโพธิ์

     ๘.อัสสัตถพฤกษ์ คือต้นพระศรีมหาโพธิ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม อันเป็นสถานที่ซึ่งพระมหาบุรุษได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

     ๙. อานันทมหาโพธิ เป็นต้นโพธิ์ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งใต้ร่มเงาได้ตรัสรู้ ได้นำเมล็ดไปปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการปลูกที่ประตูวัดพระเชตวันมหาวิหาร พระนครสาวัตถี แคว้นโกศล ต้นโพธิ์นั้นเรียกว่า อานันทมหาโพธิ์ ทุกวันนี้ยังปรากฏอยู่
     ทั้งนี้พระยามที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่พระเชตวันมหาวิหารนั้น แต่ละปี พระพุทธเจ้าประทับเพียงปีละ ๓ เดือนในฤดูพรรษาส่วนอีก ๙ เดือนนอกพรรษา พระพุทธเจ้าต้องเสด็จไปสู่ที่อื่นเสียปีละ ๙ เดือน ชาวนครสาวัตถีก็เกิดวิปฏิสารร้อนใจ ใคร่ทูลให้ประทับอยู่ตลอดปี พระพุทธเจ้าทรงทราบความทุกข์ของชาวเมือง จึงรับสั่งให้พระอานนท์นำเมล็ดจากต้นศรีมหาโพธิ มาปลูกไว้หน้าประตูมหาวิหารเชตวัน เพื่อเป็นเครื่องหมายแทนพระองค์ เพื่อว่าสมัยใดที่พระพุทธเจ้าไม่ประทับพักอยู่ มหาชนจะได้บูชาต้นโพธิ์นั้นแทนองค์พระพุทธเจ้า

สวนและป่า
     ๑.ชีวกัมพวัน คือ สวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้ถวายเป็นสังฆาราม ด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้าและปรารถนาจะเข้าเฝ้าวันละ ๒-๓ ครั้ง หมอชีวกโกมารภัจจซึ่งบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันและเป็นแพทย์ประจำประองค์พระพุทธเจ้า ได้สร้างวัดถวายในสวนมะม่วงแห่งนี้ชีวกัมพวันอยู่ในพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ

     ๒.ตโปทาราม สวนซึ่งอยู่ใกล้บ่อน้ำพุร้อน ชื่อตโปทาอยู่ใกล้ภูเขาเวภารบรรพต ใกล้พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ สถานที่แห่งนี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

     ๓.ปาจีนวังสทายวัน ป่าปาจีนวังสทายวัน อยู่ในแคว้นเจตี เป็นที่ตั้งสำนักของพระสารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าพระอนุรุทธะ พระมหาสาวกองค์หนึ่งซึ่งเป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เรียนกรรมฐานได้บรรลุพระอรหัต ณ ที่นี้

     ๔. ปาวาริกัมพวัน เป็นสวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี อยู่ในเมืองนาลันทา ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้ง

     ๕. เภสกลาวัน เป็นป่าไม้สีเสียด ใกล้เมืองสุงมารคีรีนครหลวงของแคว้นภัคคะ ในพรรษาที่ ๘ ภายหลังจากทรงตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาอยู่ที่เภสกลาวัน

     ๖.ป่ามหาวัน กรุงกบิลพัสดุ์ เป็นป่าใหญ่ใกล้ครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปทรงพักผ่อนระหว่าประทับอยู่ที่นิโครธารามซึ่งเป็นอารามที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์เช่นกัน พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๑๕ ภายหลังจากทรงตรัสรู้ที่นิโครธาราม

     ๗. ป่ามหาวัน นครเวสาลี เป็นป่าใหญ่ ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในพรรษาที่ ๕ ภายหลังจากทรงตรัสรู้ พระพุทธเจ้า ประทับจำพรรษาอยู่ที่กูฏาคารในป่ามหาวัน นครเวลาลี ณ ที่นี้ พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก

     ๘. มัททกุจฉิมิคทายวัน มีความหมายถึง ป่าเป็นที่อภัยแก่เนื้อชื่อ มัททกุจฉิ อยู่ที่พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

     ๙.มิคจิรวัน ป่ารักขิตวันอยู่ในแดนบ้านปาริเลยยกะ ใกล้เมืองโกสัมพี แคว้นวังสะ ในพรรษาที่ ๑๐ ภายหลังจากทรงตรัสรู้พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยอยู่ในป่ารักขิตวัน ด้วยทรงปลีกพระองค์จากพระสงฆ์ผู้แตกกัน ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี พญาช้างปาริเลยกะคอยเฝ้าปรนนิบัติรับใช้พระพุทธองค์ ในป่ารักขิตวัน

     ๑๑.ไร่ฝ้าย ขณะพระพุทธเจ้าเสด็จแวะเข้าไปประทับพักอยู่ที่ไร่ฝ้ายแห่งหนึ่ง คณะสหาย๓๐ คน ชื่อคณะภัททวัคคีย์ได้พากันเข้ามาที่ไร่ฝ้ายแห่งนี้ เพื่อเที่ยวตามหาหญิงแพศยาผู้ลักห่อเครื่องประดับหนีไปเมื่อได้พบพระพุทธเจ้าและได้ฟังเทศนาอนุปุพพิกถา (เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้น ๆ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจ) จากนั้นพระพุทธองค์ทรงเทศนาอริยสัจ ๔ (คือความจริงอย่างประเสริฐมี ๔ อย่าง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) คณะภัททวัคคีย์ ทั้ง ๓๐ คนได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วขออุปสมบท

     ๑๒. ลัฏฐิวัน สวนตาลหนุ่ม อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระนครราชคฤห์ เชิงภูเขาปัพภาระ แคว้นมคธ ณ กาลนั้นเป็นตอนปลายของพรรษาที่ ๑ ภายหลังจากทรงตรัสรู้ พระเจ้าพิมพิสารราชาผู้ครองแคว้นมคธพร้อมด้วยราชบริพาร ๑๑ นหุต (๑ นหุต = ๑๐,๐๐๐ จึงเป็นจำนวนหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นคน) เสด็จต้องรับพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยหมู่ภิกษุสาวกซึ่งเสด็จถึงพระนครราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ ลัฏฐิวันบรรดาราชบริพารเหล่านี้ยังไม่รู้จักพระพุทธศาสนา จึงแสดงอาการกริยาต่าง ๆกัน บางพวกถวายบังคม บางพวกประนมมือ บางพวกกล่าววาจาปราศรัย บางพวกประกาศชื่อและโคตรของตน บางพวกนิ่งอยู่พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามนำพระอุรุเวลากัสสปะ ผู้เคยเป็นคณาจารย์ใหญ่หัวหน้าชฏิลสามพี่น้อง เป็นผู้ที่ชาวนครราชคฤห์นับถือมากพระพุทธองค์ทรงถามว่า ทำไมจึงเลิกบูชาไฟ พระอุรุเวลกัสสปะกราบทูลประกาศความไม่มีแก่นสารแห่งลัทธิเดิม บรรดาราชบริพารทราบแล้วก็เชื่อถือ จึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาที่พระองค์แสดงพระเจ้าพิมพิสารและราชบริพารจำนวนมาก เมื่อสดับพระธรรมเทศนาได้ธรรมจักษุ พระเจ้าพิมพิสารประกาศพระองค์เป็นอุบาสก ณ ที่นี้

     ๑๓. ลุมพินีวัน เป็นสวนที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ภายใต้ต้นสาละใหญ่ ในเวลาใกล้เที่ยง เมือวันเพ็ญเดือน ๖ วันศุกร์ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เป็นสังเวชนียสถาน ๑ ใน ๔ แห่ง ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ และกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ (ปัจจุบันนี้ อยู่ในตำบลลุมมินเด แขวงเปชวาร์ ในเขตประเทศเนปาล ห่างจากเขตแดนประเทศอินเดีย ไปทางเหนือประมาณ ๖ กิโลเมตร ครึ่ง บัดนี้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นสิทธารถนคร

     ๑๔. เวฬุวัน เป็นป่าไผ่ สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสารราชาผู้ครองแคว้นมคธ อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระนครราชคฤห์ เป็นที่ร่มรื่นสงบเงียบ มีทางไปมาสะดวก ภายหลังจากพระเจ้าพิมพิสารทรงสดับพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ได้ธรรมจักษุประกาศพระองค์เป็นอุบาสก ณ ลัฏฐิวัน พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงพระราชดำริหาที่ประทับให้พระพุทธเจ้า ทรงเห็นว่าพระราชอุทยานเวฬุวันสวนไม่ไผ่เหมาะสม จึงถวายเป็นสังฆาราม พระพุทธเจ้าทรงรับและประทานพุทธานุญาตให้ภิกษุรับอารามที่ทายกถวายได้ การถวายอารมเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ที่นี้ นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา

     ๑๕.สักกะ เป็นดงไม้ที่อยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ แถบเทือกเขาหิมาลัยในเขตป่าหิมพานต์

     ๑๖.สาลวโนทยาน สวนป่าไม้สาละของมัลลกษัตริย์ ราชาผู้ครองแคว้นมัลละ ตั้งอยู่ใกล้เมืองกุสินารา พระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพานภายใต้ร่มไม้ต้นสาละใหญ่ ๒ ต้นในสาลวโนยาน ในยามค้ำของวันเพ็ญเดือน ๖ ปีมะเส็ง วันสุดท้ายก่อนเริ่มพุทธศักราช

     ๑๗. หิมพานต์ ป่าหิมพานต์เป็นป่าใหญ่เชิงเขาหิมพานต์ ซึ่งเป็นภูเขาสูงใหญ่ทางตอนเหนือของชมพูทวีป พระนาลกะ หนึ่งในพระมหาสาวก หลานชายของอสิตดาบสออกบวชตามคำแนะนำของลุง และไปบำเพ็ญสมณธรรมรอการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ณ ป่าหิมพานต์ ครั้น พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้มาทูลถามเรื่องโมไนยปฏปทา (ข้อปฏิบัติธรรมที่ทำให้เป็นปราชญ์) และกลับไปบำเพ็ญสมณธรรมในป่าหิมพานต์ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ดำรงอายุอยู่อีก ๗ เดือน ก็ปรินิพานในป่าแห่งนี้

     ๑๘. อนุปิยอัมพวัน สวนป้าไม้มะม่วง อนุปิยอัมพวัน อยธในเขตอนุปิยนิคม แขวง มัลลชนบท พระมหาบุรุษเสด็จพักแรม ณ ที่นี้ ๗ วัน ครั้ง วันที่ ๘ จึงเสด็จดำเนินจากอนุปิยอัมพวันเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยกิริยาสงบอยู่ในอาการสังวร สมควรแก่ภาวะของสมณะเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสของทุกคนที่ได้เห็น พวกราชบุรุษนำความที่ได้พบเห็นไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิศาร มีรับสั่งให้สะกดรอยติดตามเพื่อทราบความเท็จจริงของพรรพชิตเศษรูปนี้ ครั้นทรงสดับความจริงแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทรงพระประสงค์ จะได้พบกับพระมหาบุรุษ
     ต่อมาเจ้าชายศากยวงศ์ทั้ง ๖ คือพระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระภัคคุ พรกิมพิละ พระเทวทัต และมีอบาลีอำมาตย์ ช่างกัลบก รวมเป็น ๗ พร้อมใจออกบรรพชา ได้ออกบวช ณ สวนป่าไม้ มะม่วงอนุปิยอัมพวันแห่งนี้

     ๑๙.อัมพปาลีวัน สวนที่หญิงแพศยาชื่อ อัมพปาลี ถวายเป็นสังฆาราม ไม่นานก่อนพุทธปรินิพพาน อยู่ในเขตเมือเวสาลี แคว้นวัชชี (แพศยา หมายถึง หญิงหาเงินในทางร่วมประเวณี หรือ โสเภณีในปัจจุบัน)

     ๒๐. อิสิปตนมฤคทายวัน คือป่าที่ให้อภัยแก่เนื้อชื่อ อิสิปตนะอยู่ใกล้เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ณ ป่าแห่งนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร (พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป)ประทานปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ รูป ในวันเพ็ญ เดือน ๘ พระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้เกิดขึ้นบริบูรณ์ในกาลนั้น ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-
ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข
นำมาแบ่งปันโดย... sithiphong
-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3985.10.html

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ทำไม...จึงไม่รู้จัก"ต้นสาละ"
ทำไม...จึงเข้าใจสับสน
ทำไม...จึงเข้าใจกันผิด

     คนไทยมักรู้จักแต่ชื่อ"ต้นสาละ"ในพุทธประวัติกันมานาน แต่มาเข้าใจสับสนเข้าใจต้นสาละกันผิดๆ เพราะในช่วงแรกไปได้ข้อมูลผิดๆมาจากชาวศรีลังกาที่เขาก็เข้าใจมาผิดเช่นกัน

     ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ท่านพุทธทาสภิกขุได้ไปเยือนอินเดีย และกลับมาในปี พ.ศ.๒๔๙๙  โดยได้นำต้นสาละมาปลูก ณ สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานีเป็นต้นแรกในประเทศไทย  และหลังจากนั้นก็มีท่านอื่นๆได้ไปนำต้นสาละจากอินเดียมาปลูกอีกหลายต้น  จนกระทั่งต้นสาละที่ปลูกไว้ในประเศไทยได้ออกดอกออกผล  จึงได้เพาะขยายพันธุ์นำไปปลูกต่อๆกันมา
     นับเวลาที่มีการปลูกต้นสาละในประเทศไทยถึงปัจจุบัน ปี๒๔๙๙ - ๒๕๖๓ ได้ ๖๔ ปี แต่ทำไมคนไทยยังไม่รู้จักต้นสาละที่แท้จริง ก็เพราะด้วยสาเหตุต่างๆ
     ๑.ต้นสาละเป็นไม้วงศ์ยาง ต้องใช้เวลานานถึง ๑๕ ปีถึงจะออกดอกออกผล
     ๒.ต้นสาละเป็นไม้ในถิ่นอินเดีย  เมื่อนำมาปลูกในไทยทำให้ปลูกให้รอดยาก ต้องมีเหตุปัจจัยต่างๆช่วยให้เหมาะสม
     ๓.ต้นสาละจะออกดอกออกผลได้ต้องมีอากาศและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเท่านั้น  และอาจจะไม่ได้ออกดอกทุกปี
     ๔.การเพาะเมล็ดสาละให้โตเป็นต้นกล้าที่แข็งแรงพร้อมจะนำไปปลูกต้องใช้เวลาประมาณ ๓ ปี
     ๕.การปลูกต้นสาละต้องเลือกพื้นที่น้ำไม่ขัง  ไม่แฉะ  ไม่ท่วม  และเป็นดินระบายนำ้ได้ดี
     ๖.การปลูกต้นสาละต้องดูแล บำรุง รักษา ต่อเนื่อง และยาวนานถึง ๕ ปี จึงจะปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติต่อไป
     ๗.การดูแลต้นสาละต้องให้นำ้เป็นประจำ หากนำ้น้อยอาจจะไม่รอด  ไม่โต นำ้น้อยได้แค่ประทังกันตายเท่านั้น  หากให้นำ้มากพอเปียกถึงรากจะทำให้ต้นสาละโตไว
     ๘.ด้วยสาเหตุที่ปลูกต้นสาละแล้วไม่ได้รับการดูแลต่อเนื่อง จึงทำให้มีต้นสาละที่โตเป็นไม้ใหญ่ให้เห็นกันน้อยมาก  จากการสำรวจของชมรมรักษ์สาละ  ทั่วประเทศไทยมีต้นสาละที่โตเป็นไม้ใหญ่จำนวนไม่ถึง  ๒๐  ต้น เป็นสาเหตุที่คนไทยไม่รู้จักต้นสาละที่แท้จริง
     ๙.ด้วยต้นสาละต้องมีสิ่งแวดล้อมและอากาศที่เหมาะสมจึจะออกดอกออกผล  คนไทยส่วนใหญ่จึงไม่เคยเห็นดอกสาละที่แท้จริง  และไปหลงเข้าใจผิดว่าดอกลูกปืนใหญ่เป็นดอกสาละแทน  และทางชมรมรักษ์สาละได้มีการสำรวจต้นสาละที่เคยออกดอกทั่วทั้งประเทศไทย มีจำนวนเพียง  ๘  ต้น ใน  ๘  จังหวัดเท่านั้น คือ
   ๑.เชียงใหม่
   ๒.ลำปาง
   ๓.สระบุรี
   ๔.อ่างทอง
   ๕.ชลบุรี
   ๖.กรุงเทพมหานคร
   ๗.เพชรบุรี
   ๘.ปัตตานี
     ซึ่งมีอากาศและสิ่งแวดล้อมเหมาะสม จึงทำให้ต้นสาละสามารถออกดอก

     ๑๐.ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้มีคณะคนไทยไปยังประเทศศรีลังกา  ได้ไปพบเห็นต้นไม้ชนิดหนึ่งเป็นไม้ยืนต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน มีงวงออกจากลำต้นมากมาย และในงวงก็จะมีช่อดอกมีสีชมพูส้มสวยมาก  มีลูกกลมใหญ่คล้ายลูกปืนใหญ่โบราณ โดยชาวศรีลังกาได้บอกว่าเป็นต้นซาล(Sal)  ซึ่งปกติต้นซาล(Sal) คือ ช่ือทางพฤกษศาสตร์ของต้นสาละ(สาละอินเดีย) แต่ลักษณะของต้นดังกล่าวมันไม่ใช่ต้นสาละในพุทธประวัติ  แต่คณะคนไทยก็ได้นำต้นดังกล่าวมาปลูกในประเทศไทย  ด้วยความคิดที่ว่าน่าจะไม่ใช่ต้นสาละในพุทธประวัติ  จึงเรียกต้นนั้นว่าสาละลังกา(คือ ต้นสาละตามที่ชาวศรีลังกาบอกและนำมาจากศรีลังกา)   คิดว่าหากเป็นต้นซาล(Sal) หรือ สาละจริงๆคงจะเรียกว่า ต้นซาล(sal) หรือ ต้นสาละแล้วตั้งแต่นั้น  ด้วยต้นสาละลังกา เป็นพืชที่เติบโตง่าย จึงมีการขยายพันธุ์ปลูกกันไปทั่วประเทศด้วยความหลงเข้าใจผิดกัน  เพราะคนที่เอาไปปลูกก็ไม่ได้รู้จริงโดยรู้ตามที่เขาบอกต่อๆกันมาผิดๆ  และอีกสาเหตุเนื่องจากคนไทยมักชอบเรียกอะไรง่ายๆสั้นๆ เขียนกันสั้นๆว่า ต้นสาละ  และเมื่อต้นสาละไปอยู่ในวัดของพุทธศาสนา  จึงเป็นการตอกย้ำให้ชาวพุทธเข้าใจว่าเป็นต้นสาละในพุทธประวัติโดยไม่ได้ศึกษาข้อเท็จจริงให้เข้าใจกันให้ถูกต้อง
     ต่อมาภายหลังชาวศรีลังกาได้ทราบข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้องของต้นไม้ที่ให้คนไทยมาปลูก ว่าที่เคยบอกไปนั้นมันผิดพลาด จึงได้ทำหนังสือถึงประเทศไทย พร้อมชี้แจงข้อเท็จจริงว่าเป็น #ต้นลูกปืนใหญ่(Cannon ball Tree)โดยชื่อนี้เป็นชื่อสามัญทางพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้องโดยมีที่มาจากลักษณะของผล ลูกปืนใหญ่  แต่ด้วยมีการเรียกผิดๆว่าต้นสาละ และฝังในหัวคนไทยมานาน  อีกทั้งก่อนนั้นการสื่อสารประชาสัมพันธ์ก็ไม่ทันสมัยเหมือนเช่นปัจจุบันที่มีโซเชียลมีเดีย ทำให้คนไทยเข้าใจกันได้น้อยมาก

     คนไทยทั้งหลายเมื่อทราบแล้วว่าต้นไหนคือ ต้นสาละ(Sal)ที่แท้จริง  และ ต้นไหนคือ ต้นลูกปืนใหญ่(Cannon ball Tree) ได้โปรดศึกษาทำความเข้าใจให้ถูกต้อง และเผยแพร่บอกต่อข้อเท็จจริงนี้  อย่าได้ฝืนกระแสความจริงนี้เลย...สาธุ  สาธุ  สาธุ
               หลวงสิน ชมรมรักษ์สาละ
                    ๑๔  ตุลาคม  ๒๕๖๓

https://www.facebook.com/groups/630313774119219/permalink/954228358394424/