ผู้เขียน หัวข้อ: "I" and "MINE" เพื่อเอาไว้เป็นเครื่อง.. ป้องกันบ้า :พุทธทาสภิกขุ  (อ่าน 6232 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




"I" and "MINE" ตัวกู-ของกู
เพื่อเอาไว้เป็นเครื่อง.. ป้องกันบ้า :พุทธทาสภิกขุ

ชีวิตคนเรานั้น แท้จริงคือ การเดินทางชนิดหนึ่ง
ซึ่งเดินจากความเต็มไปด้วยความทุกข์ ไปยังที่สุดจบสิ้นของความทุกข์
ที่ตนเคยผ่านมาแล้วนั่นเอง ไม่รู้ว่า ผู้นั้นจะทราบหรือไม่ทราบ รู้สึกหรือไม่รู้สึก
ชีวิตก็ยังคงเป็น การเดินทาง เรื่อยอยู่นั่นเอง เมื่อเดินไป ทั้งไม่ทราบ ก็ย่อมมี
ความระหกระเหิน บอบช้ำเป็นธรรมดา

การเดินทางของชีวิตนี้ มิใช่เป็น การเดินทางด้วยเท้า
ทางของชีวิตจึงมิใช่ ทางที่จะเดินได้ด้วยเท้า อีกเช่นเดียวกัน

โลกทุกวันนี้ มีอะไรๆ มากเกินไป ในทางที่จะผูกพันชีวิตนี้ ให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจ
ของสิ่งที่บีบคั้นเผาลน เผลอไปเพียงนิดเดียว ก็จักลื่นไถลลงไปในกองเพลิง
ชนิดที่ยากที่จะถอนตัวออกมาได้ และถึงกับตายอยู่ในกองเพลิงนั้นเป็นที่สุด

เพราะเหตุนั้นจึงเป็นการสมควรหรือจำเป็นสำหรับชีวิตทุกชีวิต ที่จะต้องแสวงหาทาง
และมีทางของตนอันถูกต้องปลอดภัย เพื่อก้าวหน้าไปสู่ความสะอาดหมดจด
สว่างไสว และสงบเย็น สมตามความปรารถนา ไม่เสียที ที่ได้เวียนมา ในเกลียว
แห่งวัฎสงสาร จนกระทั่งมามีชีวิตในวันนี้ กะเขาด้วยชีวิตหนึ่ง

(ทางเดินของชีวิต — พุทธทาสภิกขุ)









เพื่อเอาไว้เป็นเครื่อง.. ป้องกันบ้า [พุทธทาสภิกขุ]





















G+ สานต่อปณิธานพุทธทาส


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: "I" and "MINE" ตัวกู-ของกู :พุทธทาสภิกขุ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 12, 2013, 02:02:13 pm »



About this community
"ถ้าผู้ใดเห็นว่าพุทธธรรมกำมือเดียวนี้ เป็นวิธีลัดของการปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์แล้ว ก็ขอได้ช่วยกันเผยแพร่ต่อๆ ไป โดยไม่ต้องเกรงคำเย้ยหยันของนักบวชที่อวดดีที่เคยหาว่าสอนกันง่ายๆ เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก หรือดังที่เคยพูดถากถางว่า "พวกฆราวาสที่ยังนอนกอดเมียอยู่ ชอบสอนเรื่องนิพพาน" ก็เมื่อพระไม่สอนเรื่องนิพพาน" ก็เมื่อพระไม่สอนเรื่องนิพพาน จึงต้องสอนเสียเอง. 

"If anyone sees that this handful of Buddhist Dhamma is a short-cut to Dhamma practice aimed at the liberation from suffering, may he or she help to propagate this short-cut Dhamma without having to feel scared of some mocking words from some conceited monks who use to jeer at our easy way of teaching, comparing it to the peeling of banana skin, or in even worse cases, even go as far as commenting that "those householders who embrace their wives in their sleep like to teach us about Nibbana." Well, when the monks do not teach about Nibbana, therefore it falls on the householders to do it." 
ที่มา : ภาคผนวก ของหนังสือ "I" and "MINE"
From BUDDHADASA BHIKKHU
ตัวกู-ของกู [พุทธทาสภิกขุ] ------------------------------------- "... ฯลฯ

...เมื่อพระภิกษุไม่ทำหน้าที่ของภิกษุ พวกเราที่เป็นฆราวาสจึงต้องทำการ..
ประกาศพุทธศาสนากันเสียเอง."   (ปุ่น จงประเสริฐ)


- https://plus.google.com/communities/102879107293774602968/stream/e979e885-dc88-411c-a549-df3fb841b18c


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: "I" and "MINE" [พุทธธรรมกำมือเดียว] :พุทธทาสภิกขุ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 12, 2013, 08:22:35 pm »


                     


๓ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]
๑. ลัทธิการเมืองและลัทธิเศรษฐกิจ มุ่งทำความเจริญทางวัตถุให้แก่ชาวโลก ส่วนทุกศาสนานั้นมุ่งทำความเจริญทางด้านจิตใจ คือสอนวิธีทำใจไม่ให้มีความทุกข์ โดยให้หลุดพ้นจากความครอบงำของกิเลสทั้งปวง.

1. All the political and economic idealogies aim at bringing material prosperity to the people of the world but every religion aims at the spiritual and mental well-being of the people. It teaches us how to avoid suffering by liberating ourselves from the control of mental defilements. and human desires.



๔ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]
๒. ถึงแม้ศาสดาทุกองค์จะสอนธรรมะด้วยภาษาของชาวบ้าน แต่บางคำที่ท่านพูดนั้น มิได้มีความหมายอย่างที่ชาวบ้านเข้าใจกันทั่วไป ฉะนั้น ผู้ที่ไม่เคยรู้ว่าฝ่ายธรรมะนั้น อาจผิดความหมายไปจากภาษาของคนธรรมดาได้ จึงเข้าใจคำพูดบางคำของศาสดาผิดไปจากที่ท่านมุ่งหมายไว้เดิม

2. Even though every founder of religion taught by using the language of the ordinary people, there were sometimes words which carried a diferent meaning from that understood by the people in general. Therefore for those who had never known the language of the Dhamma before, the language might have varied from that of the ordinary language, thus people might have misunderstood some of the words originally used by the founder



๕ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]
๓. เมื่อผู้สอนเข้าใจภาษาของฝ่ายธรรมะผิด ก็ย่อมสอนผิด ยิ่งมีความโลภ ความไม่ฉลาด ความหลงผิด ความเห็นแก่ตัวมากขุ้น คำสอนของศาสดาต่างๆ ก็ยิ่งถูกบิดผันไป เพื่อประโยชน์ส่วนตัวของผู้สอนมากขึ้น คือสอนเพื่อเอาประโยชน์จากคนอื่น มิใช่สอนเพื่อให้ประโยชน์แก่ใครๆ

3.  When those who teach understand the language of the Dhamma wrongly, certainly they will have taught wrongly too. The result is more greed, more foolishness, more delusion and more selfishness. The original teaching is often distorted to serve the personal interest of unscrupulous people.


เราเดินตามโลกตั้งแต่นาทีที่เกิดมา
จนถึงนาทีที่มีความรู้สึกนี้
ต่อนี้ไป เราจะไม่เดินตามโลก
จะลาโลกไปค้นหาสิ่งที่บริสุทธิ์
ตามรอยพระอริยะ ที่ค้นแล้วจนพบ


๖ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]
๔. การสอนสัจธรรมนั้นมักไม่ค่อยไ่ด้ลาภผลเข้าตัว เมื่อผู้สอนมีความโลภ จึงออกอุบายต่างๆ เพื่อหาเงินด้วยการประกอบพิธีรีตองต่างๆ ทำพระพุทธรูปขาย ทำเครื่องลางของขลังจำหน่าย หรือแนะนำให้ชาวบ้านบริจาคเงินและข้าวของทำบุญแบบต่างๆ ตลอดปี โดยเอาสวรรค์มาเป็นเครื่องล่อใจจนนักบวชและชาวบ้านต้องวุ่นวาย ไม่มีเวลาศึกษาธรรมหรือปฏิบัติธรรม และเข้าใจหลักคำสอนของศาสนาผิดไปหมด

4.  Teaching true Dhamma does not entail in material gain. Thus some greedy people try to make money by encouragine people to turn to rites and rituals for guidance. Some of them sell the statues of the Buddha and amulets of all sorts to make money while some encourage people to make merits by donating money and material things and in return, a place in the heaven is the promised reward. Monks and householders alike are kept busy with such activities that they find no time to learn or practise Dhamma and thus they do  not know truly about the principles of Buddhist teaching.



[พุทธธรรมกำมือเดียว]
๕. นอกจากสอนผิด เพราะ่ตัวเองเข้าไม่ถึงธรรมะที่แท้จริงแล้ว ยังชอบทำสอนง่ายๆ ของศาสดาให้ยุ่งยากเยิ่นเย้อออกนอกลู่นอกทางไป ตอบปัญหาธรรมะไม่ว่าเรื่องใด ก็มุ่งรักษาหรือหาประโยชน์เข้าตัว ชอบนำเอาคำตอบที่ล้าสมัย หรือที่ไม่ประกอบด้วยเหตุผลมาอธิบาย ทำให้คนสมัยใหม่ที่มีการศึกษาทั่วไป ดีกว่าผู้สอนหมดความเลื่อมใสในศาสนาของตน จนพวกคอมมูนิสต์ต้องทำลายสถาบันของศาสนา เพราะเขาเห็นว่าเป็นกาฝากของสังคมที่ทำให้ชาวโลกโง่งมงายไร้เหตุผลและยังมีความเห็นแก่ตัวจัด

5. Besides teaching the wrong stuff, some people like to play with words and turn the simple teaching of the Buddha into something complicating, and they would answer questions of Dhamma in such a way as to benefit only they  themselves. Also they would provide out-of-date answers for questions asked, causing a loss of faith in the religion in amongst people who are modern-minded and who have a batter education than those who teach religion. The communists have destroyed not a few religious institutions for they are regarded as an obstacle for the progress of the society. In the communists' view, resigions make people silly and senseless.

ที่มา : ภาคผนวก ของหนังสือ "I" and "MINE" From BUDDHADASA BHIKKHU ตัวกู-ของกู [พุทธทาสภิกขุ]



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



Toshi Nakamura  -Inokashira Park before dawn. Tokyo

๖ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]
๖. สำหรับพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ถึงแม้ธรรมะจะมีอยู่มาก เปรียบเหมือนใบไม้ทั้งป่า แต่ธรรมะที่จะดับความทุกข์ใจได้นั้น มีเพียงกำมือเดียว และปรากฏว่านักบวชหรือศาสนิกชนส่วนมากยังไม่เคยรู้ธรรมะกำมือเดียวนี้ จึงพากันไม่ได้รับประโยชน์จากพุทธศาสนา ให้คุ้มค่ากับเงินทองที่ประชาชนทุ่มเทกันลงไปอย่างที่มิอาจจะคำนวณได้ทีเดียว

6.  The Buddha said that Dhamma could be compared to to the leaves found in a forest. There were plenty of them but only a handful of Dhamma could  be used to extinguish suffering. It  appears that most monks and Buddhist followers do not know this handful of Dhamma. Thus they receive no benefit at all from Buddhism and are not worthy of the amount of money that people have spent for their sake.




๗ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]

๗. หัวใจ ของการปฏิบัติธรรมนั้น คือ การสำรวมกาย วาจา ใจ อย่าให้มันก่อความทุกข์แก่เราได้เท่านั้นเอง จะเรียกว่าเป็นศีล สมาธิ ปัญญา หรือการไม่ทำความชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ โดยไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ ก็ล้วนเป็นเรื่องของการ "สำรวม" ทั้งสิ้น

7. The core of Dhamma practice is to restrain the body, the speech and the mind, so that no suffering arises out of them, It is called moral-precept observation and the building of mindfulness and wisdom. It is not to commit any evil deed but do only the good acts and make the mind pure by not clinging to anything at all. All these are a matter of restraining




๘ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]

๘. ทั้งนี้ก็เพราะว่า ความสุข ความทุกข์ สันติ หรือวุ่นวาย หรืออย่างที่เรียกโดยบุคลาธิษฐานว่าเป็นสวรรค์ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มันก็เป็นเรื่องความรู้สึกทางจิตใจของเราเองทั้งสิ้น อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านแบ่งจิตใจเป็นภูมิหรือภพ (ภาวะ) ต่างๆ นั้น มันก็อยู่ในกายยาววาหนาคืบของเรานี้เอง ชาวพุทธไทยรุ่นโบราณก็ยังมีคำกล่าวว่า "สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ นิพพานอยู่ที่ไหน ก็ที่ใจอีกนั่นเอง"

8. Happiness, sadness, suffering, peace, confusion, heaven, hell, 'petra' (ghost), 'Asurakaya' or demon and wild beasts are all a matter of the feelings of the mind, and they all can be found in the over metre-long body of ours. Thai Buddhists of the old days used to say that "heaven is within the chest, hell is in the heart ; where then is Nibbana ?" It is in the heart (or mind) too.




๙ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]

๙. พุทธศาสนาจึงมุ่งสอนให้สำรวม หรือควบคุมความนึกคิดของแต่ละคน พุทธศาสนาฝ่ายหินยานนิกายเซ็นของจีนและญี่ปุ่น จึงกล่าวว่า "ถ้าไม่มีจิตใจ (ความนึกคิด) เสียอย่างเดียวแล้ว ก็ไม่มีเรื่องอะไรเลย" พระพุทธเจ้าก็เคยพูดในทำนองว่า ใครทำตัวเหมือนต้นไม้ต้นหญ้าได้ คนนั้นก็จะพ้นทุกข์ นี่ก็หมายความว่า ความนึกคิดของคน (สังขาร) เป็นต้นเหตุของความทุกข์ทุกใจทุกอย่าง

9. Buddhism emphasize its teaching about 'restraining' restraining and regulating one's own thoughts. The Japanese Zen and Chinese Mahayana Buddhism have mentioned that "Should there be no mind (thoughts), then there would be no matter at all" . The Buddha said that whoever could survive like a tree or grass, he (or she) would be above suffering. This shows that it is our own thinking or thoughts that form the cause of every suffering.




๑๐ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]

๑๐. พระพุทธเจ้ายังกล่าวว่า จิตใจของคนตามปกตินั้น มันประภัสสร (คือผ่องใส ไม่มีทุกข์ สงบ สันติ) ฉะนั้น พุทธศาสนานิกายเซ็นจึงสอนว่า จิตเดิมแท้ของคนเป็นจิตพุทธะ (คือ สะอาด สว่าง สงบ) ทั้งนี้จึงตรงกันข้ามกับตำราอภิธรรมที่สอนว่า จิตของคนนั้นเต็มไปด้วยกิเลสตัณหาอุปาทาน หรือมีอวิชชาเป็นประจำตลอดกาล

10. The Buddha also said that 'under normal circumstances, the mind is pure (calm, peaceful). Therefore Zen Buddhism teaches that the original mind of people is 'Cita-Buddha' or clean, bright and calm. It is just the reverse of what is found in the text of Abhidhamma which says that the mind is all the time full of cravings or desires and 'upadana' (attachment) as well as 'avijja' (ignorance).


                   "I" and "MINE" ตัวกู-ของกู
ที่มา : ภาคผนวก ของหนังสือ "I" and "MINE" From BUDDHADASA BHIKKHU
                      ตัวกู-ของกู [พุทธทาสภิกขุ]
Kungwan AngkaewJan  : G+ สานต่อปณิธานพุทธทาส


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



๑๑ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]

๑๑. พระพุทธเจ้าท่านกล่าวต่อไปว่า "กิเลสต่าง ๆ มันจรเข้ามาสู่จิตใจของเราต่อภายหลัง จิตที่เคยประภัสสรมาเดิมจึงมัวหมองไป" คือ เมื่อสิ่งใดมายั่วยวนตาหูจมูกลิ้นกายใจ เราก็ไปยึดเอาสิ่งนั้นเข้ามาไว้ในความนึกคิดจนเกิดเป็นความรักบ้าง เกลียดบ้าง กลัวบ้าง เพราะการเข้าใจไปว่าสิ่งนั้นมันเป็นคุณหรือโทษแก่ตัวเราหรือของเรา

11. The Buddha further said that all the various mental defilements tend to fight with our mind till it become impure. Whatever thing that comes to entice the eyes, nose, tongue, body and mind, we will cling to it till the feelings of love, hatred, or fear arise because we tend to regard it as either of benefit or harm to us.




๑๒ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]

๑๒. ปุถุชนทั่วๆ ไป ย่อมมีความโน้มเอียงไปในทางที่จะยึดอารมณ์ทุกชนิดเข้ามาไว้ในใจ และชอบนึกคิดติดอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ ในศาสนาคริสเตียนสมัยใหม่ เขาจึงถือว่านี่แหละเป็นบาปดั้งเดิมของมนุษย์ คือไม่เข้มแข็งพอที่จะวางใจไว้เป็นกลาง ๆ คือไม่ชังและไม่ชอบ ทางศาสนาพุทธก็เรียกความโน้มเอียงอย่างนี้ว่าอวิชชา หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความโง่ ความหลงผิด ซึ่งจะต้องละให้ได้ มิฉะนั้นจะไม่พ้นทุกข์

12. The ordinary people tend to cling to whatever 'arom' or feelings that arise in their mind and they normally think in the context of such feelings.
They lack the sense of impartiality. In modern Christianity, this is regarded as the original sin of humankind-not strong enough to stay neutral, i.e not to hate nor to like. Buddhist regards this inclination as 'avijja' or ignorance which has to be removed if one wishes to be liberated from suffering.


                   

๑๓ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]

๑๓. จริงอยู่ ทุกคนที่เ่กิดมาย่อมมีนิสัยสันดานสืบมาจากบิดามารดาและบรรพบุรุษบ้างทางพันธุกรรม (อนุสัย) แต่มันก็นอนนิ่งอยู่ในสันดาน ไม่เป็นอันตรายแก่ใคร ถ้าไม่ไปกวนอนุสัยให้มันฟุ้งขึ้นมา สิ่งแวดล้อมหรือกิเลสต่างๆ ที่จรเข้ามาใหม่ต่างหาก ที่ทำให้สิ่งที่นอนสงบนิ่งอยู่นั้นฟุ้งขึ้นมา ถ้าเรามี "วิชชา" กล่าวคือความรู้ในการดับทุกข์ อวิชชาก็เกิดขึ้นมาไม่ได้

13. It is true that everybody who is born into this world is bound to carry the trails from the parents or ancestors in a hereditary way. It simply lies dormant but the enviromental factors or human desires may 'sneak' in to disturb it, causing it to burst forth with full force ; if we possess 'vijja' or the knowledge to extinguish suffering, 'avijja' will not be able to surface.




๑๔ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]

๑๔. หากมันเกิดขึ้นแล้วมันก็ตั้งอยู่ได้สักพักหนึ่ง แล้วมันก็ดับไปเช่นสิ่งทั้งหลายในโลก อวิชชามิได้มีอยู่เป็นประจำตลอดไปอย่างที่คัมภีร์อภิธรรมว่า สิ่งที่สงบนิ่งอยู่ในสันดานก็ยังไม่ใช่อวิชชาเพระามันยังไม่เป็นโทษแก่ใคร ดุจโคลนตมที่จมอยู่ก้นบ่อน้ำ ย่อมไม่ทำให้น้ำในบ่อขุ่น น้ำที่อยู่เหนือโคลนตมก็ยังผ่องใสสะอาด ใช้อาบใช้กินได้ แต่ถ้าใครไปกวนโคลนก้นบ่อให้มันลอยขึ้นมา หรือไปเอาโคลนตมที่อื่นมาใส่ ความโง่เช่นนั้นหรือการกระทำเช่นนั้นจึงเป็นอวิชชา

14. Should 'anusaya' or latent tendency explode into full action, it will be there for some time and then it will get extinguished, just like many other thing in the world. 'Avijja' is not there to stay forever as in stated in Abhidhamma ; the thing that lies dormant in the instinct is not 'avijja' because it is still not yet a harm to anyone. It is like the mud that lies at the bottom of a well ; it does not make the water muddy. The water above the mud is still clear and clean, and it can be used for bathing and drinking ; but if some one were silly enough as to stir the mud that is lies at the bottom, the water will then turn muddy, unfit for bathing and drinking. Such an act of foolishness is 'avijja'.


                   

๑๕ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]

๑๕. น้ำในทะเลตามปกติมันควรจะเรียบเป็นหน้ากลอง เพราะธรรมชาติเดิมของน้ำมันเรียบอย่างนั้น แต่ที่มันไม่เรียบหรือกลายเป็นคลื่นใหญ่ ๆ ก็เพราะลมพายุ แผ่นดินไหว หรือแม้แต่การแล่นของเรือ จิตใจของคนเราก็เป็นอย่างเดียวกัน คือ มันควรสงบไม่วุ่นวายเป็นปกติวิสัย ถ้าจิตใจเกิดหวั่นไหวผิดธรรมดาไป ก็เป็นเพราะมีสิ่งใดมากระทบกระเทือนความนึกคิดของเรา

15. Sea water ought to be smooth and at one same level, because water in Nature has a smooth surface, but then the sea is rough with rising and falling waves because of the wind or the movement of the earth or even the sailing ships. Our mind is also the same. Under normal circumstances, it ought to be calm ; but when something 'strikes' the mind, it sends ripples across and the mind no longer remains still.

                   "I" and "MINE" ตัวกู-ของกู
ที่มา : ภาคผนวก ของหนังสือ "I" and "MINE" From BUDDHADASA BHIKKHU
                      ตัวกู-ของกู [พุทธทาสภิกขุ]
Kungwan AngkaewJan  : G+ สานต่อปณิธานพุทธทาส


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



๑๖ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]

๑๖. งานด้านปฏิบัติธรรมจึงมีอย่างเดียว คือ อย่าให้สิ่งแวดล้อมมาทำจิตของเราให้หวั่นไหวไปตามอารมณ์ได้ นี่คือการรักษาพรหมจรรย์ที่ถูกต้อง เป็นการปฏิบัติธรรมที่ลัดที่สุดของทุกศาสนา โดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเสียทองหรืออะไรๆ เลย เพียงทำตนให้เป็นเหมือน "ไม้กวาด" คอยจ้องกวาดสิ่งสปกรกที่จะมาเกาะจิตใจหรือความนึกคิดของเรา ถ้าเราหมั่นระวังจิตใจก็จะประภัสสรตามสภาพเดิมแม้ของมัน ความสงบสุขก็จะมีอยู่เรื่อยไป ดุจเราหมั่นซักเสื้อผ้ารักษาให้ขาวให้สะอาดไว้ตามสภาพเดิมของมันนั่นเอง เคยมีผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยการพิจารณาผ้าที่สะอาดซึ่งกลายเป็นผ้าสกปรกไป เพราะสิ่งสกปรกเกิดขึ้นในภายหลัง

16. With regard to Dhamma practice, there is only one main task to do : that is - do not let the mind be affected by the environment and react according to the feelings that emerge in it. Be like a broom, always ready to sweep away any filthy thing that tries to cling to the mind or to our thoughts. If we keep bewaring of it, the mind will stay clean as it originally is Calmness and peace will prevail. It can be compared to our washing of the clothes regularly to keep them clean. There had been cases of people becoming 'arahants' by merely contemplating on pieces of clean clothes wich had later become contaminated.


                 

๑๗ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]

๑๗. นอกจากคอยกวาดสิ่งสกปรกให้ออกไปจากความนึกคิดแล้ว ควรรู้จักคลุมจิตใจ อย่าให้กิเลสลอยเข้ามาเกาะมันได้ด้วย แบบเดียวกับการเอาผ้าหรือสิ่งอื่นใดคลุมเข้าของที่สะอาดอยู่แล้ว มิให้ฝุ่นละออลงเกาะได้ ฉันนั้น ฝุ่นสกปรกของจิตใจก็ได้แก่ ความโลภ โกรธ หลงงมงาย และความเห็นแก่ตัวจัด จะเรียกว่าความอยาก ความยึด ความยุ่งก็ได้ เรียกว่าตัณหาอุปาทานก็ได้ กล่าวคือกิเลสชนิดต่างๆ นั่นเอง ซึ่งถ้าใครลงมือกวาดได้บ้างแล้ว ก็จะเริ่มเป็นพระอริยบุคคลถ้ากวาดออกได้หมด ก็เป็นพระอรหันต์

17. Besides sweeping away whatever filthy things out of mind, one should know how to protect it by not allowing any mental defilement to cling to it. It is just like covering a piece of cloth over something clean to prevent dust from settling on it. The filthy dust of the mind consists of greed (lobha), anger (dasa) and delusion (moha) and also selfishness. Some call it desire, others may call it attachment or craving, but they are all different kinds of mental defilements. If someone his way to become 'ariya-puggala' ; if he were to be able to sweep all the dust away, he would be on 'arahant'.



๑๘ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]

๑๘. ตามธรรมดาคนมักเผลอตัวบ่อย ๆ หรือไม่ก็ประมาท โดยถือเสียว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ร้ายแรงอะไร บางคนกลับเห็นไปว่าการเข้าคลุกกับกิเลสต่างๆ นั้น มันสนุกดี หรือโลดโผนมีชีวิตชีวา พระพุทธเจ้าจึงเตือนอยู่ตลอดเวลา (แม้กระทั่งตอนที่พระองค์ปรินิพพาน) ว่า จงอย่าประมาท จงมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอๆ

18. Some people tend to be negligent or even careless about having to deal with human desires. for they regard it as something rather ordinary, not in the least dangerous at all. Some even think it is fun to have to deal with human desires. It provides stimulation and excitement. The Buddha thus took pain to warn us (at the time just before his decease). not to be careless but to be mindful, alert and wise always.


                 

๑๙ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]

๑๙. คนที่มีปัญญาและรู้ตัวทันกาลเวลาแล้ว ก็คงจะไม่ปล่อยให้กิเลสเข้ามาชักใยพันจิตใจและความนึกคิดของเขาให้วุ่นวายไปกับมัน เพราะมองเห็นว่ามันได้ไม่คุ้มเสีย ในเรื่องนี้ก็ควรใช้คติพจน์ที่ว่า รู้แล้วนิ่งเสีย คือไม่ไปรับเอากิเลสเหล่านั้นเข้ามาไว้ในความนึกคิด หรือไม่ยอมกวนเอาสิ่งที่มันนอนนิ่งอยู่ในสันดานให้ฟุ้งขึ้นมา คอยควบคุมความนึกคิดให้ถูกต้องตามคลองธรรม ไม่ว่าจะทำอะไรก็ใช้ปัญญาและเหตุผลเสมอๆ 

19. Those who are wise and consciously catching up with the time are not likely to allow mental defilements to spin around their mind and thoughts, rendering it chaotic because they simply could see that it is not worth the trouble. In this matter, one should follow the advice : Once you know it, remain still, do not allow the desire to take charge of your thoughts, or do not let what already lies dormant burst forth with such vehemence. Just try to rein-in the thoughts so that they go in line with the Dhamma. No matter you do, always do it with wisdom and reasons.


       

๒๐ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]

๒๐. โดยพิจารณาหรือปลงให้ตกว่า สิ่งที่กระทบจิตใจเรานั้น มันเป็นเรื่องธรรมดาของโลก ไม่ว่าใครก็จะต้องพบเป็นครั้งเป็นคราว มันผ่านแล้วมันก็ผ่านไป เหมือนความร้อนความหนาวของอากาศ นิ่งทนมันไปชั่วคราว ไม่ต้องไปดีใจ เสียใจ ถ้าจะกินเหยื่อก็อย่าให้ถูกเบ็ดเกี่ยว ถ้ากินปลาก็อย่าใหถูกก้างติดคอ หากพิจารณาเห็นโทษมากกว่าคุณแล้ว  ก็ทำใจเฉยไว้ต้องเอาชนะความอ่อนแอของตนเองให้ได้ คือ ไม่ยอมโน้มเอียงไปเคล้ากับกิเลส เมื่อเข้ามากระทบเราแล้ว เราก็ปลงตก มันก็เป็นการ "กระทบล่อน" คือ กระทบแล้วไม่ติดตัวเรา แต่ถ้าปลงไม่ตกมันก็เป็นการ "กระทบติด"​ คือติดจิตใจ ติดความนึกคิดของเรา จนเราเป็นทุกข์เป็นร้อนขึ้นมา

20. Do contemplate and take a good insight into this : It is a natural phenomenum of the world that our mind has to come into contact with myriads of things and events of life. Anyone would have to encounter with it one time or another. It comes and goes just like the coldness and the hotness of the weather. Remain still and put up with it for temporary period. There is no need for feeling glad or sad over it. There is a Thai saying which goes like this : "If you want to eat the bait, make sure you don't get hooked by the hook ; if you want to eat the fish, make sure your throat doesn't get pricked by the fish bone". If upon consideration, there somes to be move harm than good, then stay still and be neutral. One should overcome one's own weakness and not get carried away by one's own craving. We renounce it when craving strikes our mind, then it slips away, but should we fail to renounce it, it becomes a 'striking that sticks' - that is - it gets glued to the mind till we begin to suffer.



                   "I" and "MINE" ตัวกู-ของกู
ที่มา : ภาคผนวก ของหนังสือ "I" and "MINE" From BUDDHADASA BHIKKHU
                      ตัวกู-ของกู [พุทธทาสภิกขุ]
Kungwan AngkaewJan  : G+ สานต่อปณิธานพุทธทาส
-https://plus.google.com/communities/102879107293774602968/stream/e979e885-dc88-411c-a549-df3fb841b18c


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




































จงคิดกับเพื่อนมนุษย์ว่า...
ท่านพุทธทาส อินฺทปัญฺโญ ได้กล่าวขอคิดธรรมะให้มนุษย์ได้มองเห็น
ถึงเพื่อนมนุษย์ด้วยกันนั้น ให้ใช้ชีวิตในสังคมโดยเข้าใจกัน
โดยใช้หลักธรรมธรรมะอธิบายสัจธัมของมนุษย์ที่เกิดมาบนโลกนี่ ให้มนุษย์นั้นเข้าใจ

จงคิดกับเพื่อนมนุษย์ว่า...
เขาเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ของเรา..
เขาเป็นเพื่อน เวียนว่าย อยู่ในวัฏฏสงสาร ด้วยกันกะเรา..
เขาก็ตกอยู่ใต้ อำนาจกิเลส เหมือนเรา ย่อมพลั้งเผลอไปบ้าง..
เขาก็มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่น้อยไปกว่าเรา..
เขาย่อมพลั้งเผลอบางคราว เหมือนเรา..
เขาก็ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม เหมือนเรา ไม่รู้จักนิพพาน เหมือนเรา..
เขาโง่ในบางอย่าง เหมือนที่เราเคยโง่..

เขาก็ตามใจตัวเอง ในบางอย่าง เหมือนที่เราเคยกระทำ..
เขาก็อยากดี เหมือนเรา ที่อยาก ดี - เด่น - ดัง..
เขาก็มักจะกอบโกย และ เอาเปรียบ เมื่อมีโอกาส เหมือนเรา..
เขามีสิทธิที่จะ บ้าดี - เมาดี - หลงดี - จมดี เหมือนเรา..
เขาเป็น คนธรรมดา ที่ยึดมั่น ถือมั่นอะไรต่างๆ เหมือนเรา
เขาไม่มี หน้าที่ ที่จะเป็นทุกข์ หรือตายแทนเรา..
เขาเป็น เพื่อนร่วมชาติ ร่วมศาสนา กะเรา..
เขาก็ทำอะไร ด้วยความคิดชั่วแล่น และ ผลุนผลัน เหมือนเรา..
เขามีหน้าที่รับผิดชอบ ต่อครอบครัวของเขา มิใช่ของเรา..
เขามีสิทธิ ที่จะมีรสนิยม ตามพอใจของเขา..
เขามีสิทธิ ที่จะเลือก (แม้ศาสนา) ตามพอใจของเขา
เขามีสิทธิ ที่จะใช้ สมบัติสาธารณะ เท่ากันกับเรา
เขามีสิทธิ ที่จะเป็น โรคประสาท หรือ เป็นบ้า เท่ากับเรา
เขามีสิทธิ ที่จะขอความช่วยเหลือ เห็นอกเห็นใจจากเรา..
เขามีสิทธิ ที่จะได้รับอภัยจากเรา ตามควรแก่กรณี..
เขามีสิทธิ ที่จะเป็นสังคมนิยม หรือ เสรีนิยม ตามใจเขา..
เขามีสิทธิ ที่จะเห็นแก่ตัว ก่อนเห็นแก่ผู้อื่น..
เขามีสิทธิ แห่งมนุษย์ชน เท่ากันกับเรา, สำหรับจะอยู่ในโลก..
ถ้าเราคิดกันอย่างนี้ จะไม่มีการ ขัดแย้งใดๆ เกิดขึ้น..

ท่านพุทธทาส อินฺทปัญฺโญ

>>> G+ วัดเจ็ดเสมียน น้อมนำธรรมะสู่สังคม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 14, 2014, 10:44:33 pm โดย ฐิตา »