ผู้เขียน หัวข้อ: สนทนาธรรมตามกาล  (อ่าน 5679 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
สนทนาธรรมตามกาล
« เมื่อ: เมษายน 22, 2013, 08:59:28 pm »







"สัมมาคารวะ"
สัมมา แปลว่า ถูกต้อง คารวะ คือ เคารพ
คำว่า สัมมาคารวะ คือความเคารพที่ถูกต้อง
คำว่า " เคารพ" นั้น ไม่ได้แปลว่า กราบ ๆ ไหว้ ๆ
แต่แปลว่า มีปัญญามาก
จนกระทั่งแลเห็นคุณงามความดีที่มีอยู่ในตัวผู้อื่นได้อย่างชัดเจน
คนที่มีคารวะ คือ คนที่
เล็งแลเห็นคุณงามความดี ที่มีอยู่จริง ๆ ในตัวผู้อื่น
แม้จะอายุน้อยกว่าก็ตาม
แล้วปฏิบัติตัวเองต่อผู้นั้นได้อย่างถูกต้อง สามารถถ่ายทอด
เอาความดีเหล่านั้นมาใส่ตัวเองให้ได้
ใครที่มองคุณงามความดีของพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ พี่ป้าน้าอา ผู้ที่ทำงานอยู่ด้วย
ถ้ามองไม่เห็น ไม่ใช่ตาบอดแต่ใจมันบอด ถึงแม้จะอยู่ในวัดปฏิบัติธรรมในวัด
ก็คงไม่มีสิทธิ์จะเห็นธรรมมะได้..

สัมมาคารวะ จึงไม่ได้หมายความถึงเพียงการแสดง
ความเคารพนบนอบผู้ใหญ่เท่านั้น
ยังหมายถึงการเล็งเห็นคุณธรรมความดีของผู้อื่น
แล้วนำมาเป็นแบบอย่างปฏิบัติตาม ทำตามอีกด้วย...

watnantaram Chiang Kham. - สนทนาธรรมตามกาล




"ถ้าเราคิดว่าเราดี นั่นคือความเลวของเรา
ถ้าเราคิดว่าเราเลว นั่นคือความโง่ของเรา
ถ้าเราคิดว่าเราบริสุทธิ์ นั่นคืออัตตาอันสกปรกของเรา
ถ้าเราคิดว่าเราสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว นั่นคือความหลงของเรา
ถ้าเราคิดว่าเราปฏิบัติธรรมไม่ได้ นั่นคือการแก้ตัว
เพราะความขี้เกียจและมักง่ายดูถูกตัวเอง
ปิดประตูและทางเดินของตัวเราเอง.......ธรรมชาติอิสระ

Banyat A  -  สนทนาธรรมตามกาล







ไม่ต้องสูงสุด ก็คืนสู่สามัญได้(Googong)
ธรรมะคือธรรมชาติ ทั้งหมด(ธรรมธาตุ)
ธรรมะคือ กฎธรรมดาของธรรมชาติ(ธรรมธิติ)
ธรรมคือวิวัฒนาการของธรรมชาติ(ธรรมะนิยาม)
ธรรมะคือ เหตุปัจจัยปรุงแต่ง ต่อเนื่อง ของธรรมชาติ(อีทัปจยตา)
ธรรมะคือหน้าที่ของกระแสธรรมชาติ(ตถาตา)
พุทธเจ้าทุกพระองค์เคารพพระธรรมนั้น ตถาคตก็เช่นกัน
(พุทธพจน์)



วิมุติ เป็นอย่างไรเล่า?
วิมุติ คือ ความสุข สงบเย็นมั่นคงของจิต เปรัยบได้ กับสภาวะ ห้าอย่างคือ
-คนที่หิวกระหาย ได้กินอิ่ม
-คนเจ็บไข้ได้ป่วย ได้หาย
-คนถูกจองจำ ได้รับการปลดปล่อย
-คนเดินทางไกล เมื่อยล้า ได้ถึงจุดหมาย
-คนหลงทางในที่มืด มีประทีปแสงสว่าง มาส่องทางให้
ตถาคต เป็นผู้ชี้ทาง การเดินทางเป็นหน้าที่ของท่าน
สาธุ
Suraphol Kruasuwan 
-  Community  -  ชาวพุทธ (สนทนาธรรมตามกาล)


G+ ชาวพุทธสนทนาธรรมตามกาล






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 21, 2013, 07:26:09 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: There are only three days.
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 25, 2013, 06:11:03 pm »



there are only three days.

It is in this world, there are only three days.
Yesterday: I have used it already. And never return.
Today: We're using it. And used only once.
Tomorrow: do not know yet .. How to use it?


วันเวลาในโลกนี้มีอยู่แค่ 3 วัน
เมื่อวาน
: ซึ่งเราได้ใช้มันแล้ว และไม่มีวันหวนกลับมา
วันนี้ : เรากำลังใช้มันอยู่ และใช้ได้แค่ครั้งเดียว
พรุ่งนี้ : ยังไม่รู้เลย.. ว่าจะได้ใช้หรือเปล่า ?
NaiChang Boon - สนทนาธรรมตามกาล







จิตที่สงบ มองกรรมอย่างเข้าใจ
ช่วยลดผลกระทบ..
..อันเกิดจากกรรมได้ ในระดับหนึ่ง...





"กว่าจะรู้จักชีวิต..
ว่ากายมีจิตผสมผสาน
กว่าถอดถอน จิต จาก อุปาทาน
ก็ซมซานด้วยตีนกาเหยียบตาเอา

กว่าจะรู้ว่าไม่รู้
หลังก็คู้ ตาก็มัว หัวก็ขาว
กว่าใจจะหายมัวเมา
ฟันก็กลับบ้านเก่า เหลือแต่เหงือกแดงแดง"




คำประพันธ์ของพระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ
ในหนังสือ"หักหอก เป็นดอกไม้"
ของขวัญปีใหม่ 2556 จาก Vilasinee Sthianrapapong
Manoonthum Thachai - สนทนาธรรมตามกาล

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2015, 02:18:09 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สนทนาธรรมตามกาล
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2013, 11:32:25 pm »


ควรละความโกรธและมานะ
เอาชนะกิเลสเครื่องผูกมัดทุกชนิด
ผู้ที่ไม่ติดในรูปนามหมดกิเลสแล้ว
ย่อมคลาดแคล้วจากทุกข์.

One should give up anger and pried,
One should overcome all fetter ,
I'll never befalls him who is passionless ,
Who clings not to Name and Form

NaiChang Boon




ปัญญาในการเอาชนะกิเลส ....
ปัญญาที่ไม่ควรประมาทอย่างยิ่ง คือ
ปัญญาในการเอาชนะกิเลสหนีไกลจากกิเลส
ไม่ให้กิเลสชนะ
การชนะกิเลสได้ครั้งหนึ่ง
ก็คือการก้าวไกลจากกิเลสได้ช่วงหนึ่ง
ถ้าเอาชนะกิเลสได้หลายช่วง
จะไกลกิเลสได้เป็นอันมาก
และแม้เอาชนะกิเลสได้ทุกครั้ง
ก็จะก้าวไกลกิเลสได้ตลอดไป

คัดลอกจาก
"สัมมาทิฏฐิ
ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ"
ของสมเด็จพระญาณสังวร



นะโมพุทธายะ : ข้าพเจ้าขอนอบน้อมบูชา
ต่อพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ คือ

นะ - พระกกุสันธะ
โม - พระโกนาคม
พุท - พระกัสสป
ธา - พระสมณโคดม
ยะ - พระศรีอริยเมตไตรย

พระพุทธไตรรัตนญาณ : พระพุทธเจ้าซึ่งมีพระญาณแก้วทั้งสาม
อันหมายถึง ปุพเพนิวาสานุสติญาณ, จุตูปปาตญาณ, อาสวักขยญาณ

มณีนพรัตน์ : มีสมบัติคือแก้ว ๙ ประการ มีเพชร, ทับทิม เป็นต้น
ซึ่งหมายถึงพระนวโลกุตรธรรม

สีสะหัสสะ สุธรรมา : มีมือถึงพันมือ หมายถึงการที่พระพุทธองค์
ทรงแจกแจงหลักธรรม คือ พระไตรปิฎก ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

พุทโธ : ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ธัมโม : พระธรรมของพระพุทธเจ้า
สังโฆ : พระสาวกผู้ปฏิบัติตาม

ยะธาพุทโมนะ : ขอพระพุทธเจ้าปางมหาจักรพรรดิ
ซึ่งมีชัยแก่พญาชมพูผู้มีฤทธิ์มาก
พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ จงบังเกิดขึ้น ณ บัดนี้ด้วยเทอญ

พุทธบูชา : ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า
ธัมมะบูชา : ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรม
สังฆะบูชา : ข้าพเจ้าขอบูชาพระสงฆ์

อัคคีทานัง วะรังคันธัง : ด้วยสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ ธูป เทียน
ไฟ หรือแสงสว่าง และของหอมทั้งมวล มีดอกไม้และน้ำอบ เป็นต้น

สีวลี จะมหาเถรัง : ขอนมัสการพระสีวลีเถระเจ้า
ผู้เป็นเลิศทางลาภสักการะ

อะหังวันทามิ ทูระโต : ขอนมัสการสถานศักดิ์สิทธิ์ทั่วไป
มีสังเวชนียสถาน เป็นต้น
อะหังวันทามิ ธาตุโย : ขอนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ
และพระธาตุทั้งหลาย ทั่วทั้งแสนโกฏิจักรวาล
อะหังวันทามิ สัพพะโส : ขอนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ : ซึ่งเป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ปูเชมิ : ด้วยเทอญ

NaiChang Boon
G+ ชาวพุทธสนทนาธรรมตามกาล



Giving up does not mean you are weak,
it shows that you are strong enough to let go.


วิธีห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศล
ธรรมชาติของจิต ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบนึกคิดไปต่างๆนานา เช่น นึกคิดไปในทางกามบ้าง นึกคิดไปในทางอาฆาตพยาบาทบ้าง การนึกคิดในทางที่ไม่ดีเช่นนี้เรียกว่า อกุศลวิตก การห้ามจิตไม่ให้นึกคิดในทางอกุศลนั้น ทำได้ยาก บุคคลส่วนมากไม่ต้องการคิดในทางอกุศล แต่มักจะอดคิดไม่ได้ คิดจนนอนไม่หลับหรือเป็นโรคประสาทก็มี ตรงกันข้าม เมื่อต้องการคิดเรื่องที่เป็นบุญเป็นกุศล มักจะคิดในทางกุศลไม่ได้นาน การห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศลจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ในที่นี้จะได้กล่าวถึงวิธีห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศล 5 วิธีด้วยกัน

1. เมื่อใส่ใจในอารมณ์ใดอยู่ อกุศลวิตกเกิดขึ้น ก็ให้ใส่ใจอารมณ์อื่นที่เป็นกุศลและเป็นคู่ปรับกัน เช่น เมื่อนึกคิดไปในทางราคะ ก็ให้หันมาเจริญอสุภสัญญา พิจารณาว่า ร่างกายนี้เป็นของเน่าเปื่อยไม่สะอาด มีของโสโครกไหลออกอยู่เนืองๆ จะหาสิ่งที่เป็นแก่นสาร หรือสิ่งประเสริฐในกายนี้ไม่ได้เลย เมื่อมาใส่ใจอารมณ์อื่นที่เป็นกุศล คือ อสุภสัญญา ย่อมละราคะนี้ได้ ถ้าโลภอยากได้ข้าวของเงินทองต่างๆ ก็ให้พิจารณาว่าทรัพย์สมบัติเหล่านั้นเป็นของกลางสำหรับแผ่นดิน ไม่มีใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง เป็นเพียงของยืมมาใช้ชั่วคราว ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้ ต้องทิ้งไว้ในโลกให้คนอื่นใช้ต่อไป เมื่อมาใส่ใจเรื่องอื่นที่เป็นกุศล คือความไม่มีเจ้าของและเป็นของชั่วคราว ย่อมละความโลภในทรัพย์สมบัติได้ ถ้านึกคิดไปในทางเบียดเบียนด้วยอำนาจโทสะ ก็พึงเจริญเมตตาด้วยการระลึกถึงพุทธพจน์ ที่เป็นไปเพื่อคลายความอาฆาต เช่น พุทธพจน์ในกกจูปมสูตร (12/272) ที่ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากจะมีพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้าเอาเลื่อยที่มีที่จับทั้งสองข้าง เลื่อยอวัยวะใหญ่น้อยของพวกเธอ แม้ในเหตุนั้น ภิกษุมีใจคิดร้ายต่อโจรเหล่านั้น ภิกษุนั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น ภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาลามก เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจักมีจิตเมตตาไม่มีโทสะภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น เมื่อมาใส่ใจอารมณ์อื่นอันเป็นกุศล คือ เจริญเมตตา ย่อมละโทสะได้ เหมือนช่างไม้ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็กตอก โยก ถอน ลิ่มอันใหญ่ออก ฉะนั้น

2. เมื่อใส่ใจอารมณ์อื่นอันเป็นกุศล อกุศลวิตกยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ก็ควรพิจารณาโทษของอกุศลวิตกว่า ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ให้ผลเป็นความทุกข์ความเดือดร้อน ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน เมื่อพิจารณาโทษอยู่อย่างนี้ ย่อมละอกุศลวิตกนั้นได้ เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวรู้ว่า มีซากศพซึ่งเป็นของปฏิกูลน่ารังเกียจผูกอยู่ที่คอ ย่อมรีบทิ้งซากศพนั้นโดยเร็ว

3. เมื่อพิจารณาโทษของอกุศลวิตกนั้นอยู่ อกุศลวิตกยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ก็อย่าใส่ใจ อย่านึกถึงอกุศลวิตกนั้น เมื่อไม่นึกไม่ใส่ใจก็ย่อมละอกุศลวิตกนั้นได้ เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ไม่ต้องการเห็นรูปที่ผ่านมา เขาพึงหลับตาเสีย หรือเหลียวไปทางอื่นเสีย

พระโบราณาจารย์ก็เคยใช้วิธีนี้ แก้ความกระวนกระวายของติสสสามเณรที่ต้องการลาสิกขา
เรื่องมีอยู่ว่า ติสสสามเณร คิดจะลาสิกขา จึงแจ้งให้พระอุปัชฌาย์ทราบ พระเถระจึงหาวิธีเบนความสนใจของสามเณร โดยกล่าวว่า ในวิหารนี้หาน้ำได้ยาก เธอจงพาเราไปที่จิตตลดาบรรพต สามเณรก็กระทำตาม พระเถระกล่าวกับสามเณรอีกว่า เธอจงสร้างที่อยู่ใหม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยเฉพาะบุคคลหนึ่ง สามเณรก็รับคำ แล้วสามเณรก็เริ่มสิ่งทั้งสามพร้อมๆกัน คือเรียนคัมภีร์ สังยุตตนิกายตั้งแต่ต้น การชำระพื้นที่ที่เงื้อมเขา และการบริกรรมเตโชกสิณจนถึงอัปปนา เมื่อเรียนสังยุตตนิกายจบลงแล้ว ก็เริ่มทำอยู่ในถ้ำ เมื่อทำกิจทั้งปวงเสร็จแล้ว ก็แจ้งให้พระอุปัชฌาย์ทราบ พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า สามเณร ที่อยู่เฉพาะบุคคล ที่เธอทำเสร็จนั้นทำได้ยาก เธอนั่นแหละจงอยู่ สามเณรนั้น เมื่ออยู่ในถ้ำตลอดราตรี ได้อุตุสัปปายะ จึงยังวิปัสสนาให้เจริญ แล้วบรรลุพระอรหัต ปรินิพพานในถ้ำนั่นแหละ ชนทั้งหลายจึงเอาธาตุของสามเณรก่อสร้างพระเจดีย์ไว้ นี่คือเรื่องของติสสสามเณรที่ถูกพระอุปัชฌาย์เบนความสนใจ ให้ไปกระทำสิ่งอื่นที่เป็นกุศล จนลืมความคิดที่จะลาสิกขา เมื่อไม่ใส่ใจ ไม่นึกถึง ความคิดที่จะลาสิกขาก็ดับไปเอง

4. เมื่อไม่นึกถึงไม่ใส่ใจในอกุศลวิตกนั้น อกุศลวิตกก็ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ก็ควรใส่ใจถึงเหตุ ของอกุศลวิตกนั้นว่า อกุศลวิตกนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย เพราะเหตุไรจึงเกิดขึ้น เมื่อค้นพบเหตุปัจจัยอันเป็นมูลรากแล้ว อกุศลวิตกนั้นย่อมจะเบาบางลง แล้วถึงความดับไปโดยประการทั้งปวง

5. เมื่อใส่ใจถึงเหตุแห่งอกุศลวิตกนั้นอยู่ อกุศลวิตกยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ก็พึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิต เมื่อข่มจิตอย่างนี้ ย่อมละอกุศลวิตกนั้นเสียได ้เหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยไว้ได้ แล้วบีบกด เค้นที่ศรีษะ คอหรือก้านคอไว้ให้แน่น ทำบุรุษนั้นให้เร่าร้อน ให้ลำบาก ให้สยบ ฉะนั้น (วิตักกสัณฐานสูตร 12/256)

วิธีควบคุมอกุศลวิตกทั้ง 5 วิธีนี้ อาจย่อให้สั้น เพื่อให้จำได้ง่ายดังนี้คือ
1. เปลี่ยนนิมิต หันมาคิดเรื่องที่เป็นกุศลและเป็นคู่ปรับกัน
2. พิจารณาโทษา พิจารณาโทษของความคิดฝ่ายชั่ว
3. อย่าไปสน อย่าสนใจความคิดฝ่ายชั่ว หางานอื่นทำ
4. ค้นเหตุที่คิด หาสาเหตุของความคิดฝ่ายชั่ว
5. ข่มจิต เอาฟันกัดฟัน เอาลิ้นกดเพดาน เพื่อข่มจิต


ผู้ที่ฝึกหัดตามวิธีทั้ง 5 นี้จนชำนาญ ย่อมควบคุมความคิดของตนได้ เมื่อต้องการความคิดเรื่อง ใดก็คิดเรื่องนั้นได้ ไม่ต้องการคิดเรื่องใดก็เลิกคิดเรื่องนั้นได้ การควบคุมความคิดได้ดังใจนึกเช่นนี้ เป็นประโยชน์อย่างมากทั้งทางโลกและทางธรรม

G+ Suchart Good
Shared publicly - Apr 6, 2013
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 20, 2015, 04:27:03 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สนทนาธรรมตามกาล
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 01:29:34 pm »



watnantaram Chiang Kham.

" เศรษฐธรรม-นำสุข"
..ในความว่าง มีธรรมะ หากรู้หมาย..
..ในความคล้าย มีความต่าง หากมองเห็น..
..ในความมืด มีสว่าง หากมองเป็น..
..ในยากเข็ญ มีความสุข หากรู้พอ..
(อ.อารยวังโส)
watnantaram Chiang Kham.




"พุทธเจ้า อดีต นิพพานไปแล้ว
พุทธเจ้า อนาคต ยังมาไม่ถึง
เราจะพึ่งพุทธเจ้า องค์ไหน?"
(สวนโมกข์)

"ฉลาดรอบรู้โลกข้างนอก เป็นปราชญ์
สติปัญญาเคารพธรรมตื่น
ฉลาดรู้ทัน พลักจิตตน สู่กุศลวิมุติ ทันทีเป็นพุทธะ(เซน)"
(วรธัมโม สวนโมกข์)

คน คิดว่า..."ตนจัดดอกไม้"
หรือ.........."ดอกไม้จัดคน"
(สวนโมกข์)

ภาพ พระศรีอริยะเมตไตร ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย
ท่าข้าวเปลือก แม่จัน เชียงราย
ซูม ผ่าน เวียงหนองหล่ม โยนกนาคนคร


Suraphol Kruasuwan




ในโลกนี้ ไม่มีใครจะเป็นที่รักหรือจะเป็นที่ชังโดยส่วนเดียว
แท้ที่จริง เราจะพบเจอทั้งความรักและความชังอยู่เสมอๆ
ธรรมดาของโลกย่อมเป็นเช่นนี้เอง
ธรรมะจากท่าน ว.วชิระเมธีครับ


อวยชัย อนุญาหงษ์

"การทำบุญ"โจรมันก็ทำได้
มันเป็น......"ปลายเหตุ"
"การไม่กระทำบาป"ทั้งหลายทั้งปวงนั้นนะ
เป็น................"ต้นเหตุ"
(หลวงพ่อชา สุภัทโท)




เกิดเป็นคน...อย่าอวดเบ่ง...ริแข่งขัน
คิดว่าฉัน...ดีกว่าใคร...ในแหล่งหล้า
อย่าอวดดี...อย่าอวดเก่ง...ทุกเวลา
แก่ชรา...แล้วต้องตาย...........สัจธรรม
โดย กวี ฟ้าใส



ขอตามทางพุทธองค์ให้คงอยู่
ขอเป็นผู้นำทางสายกลางนี้
ขอเป็นผู้สืบทอดคุณความดี
ขอมั่งมีกิจ กุศล ผลบุญทาน


NaiChang Boon
G+ ชาวพุทธสนทนาธรรมตามกาล



..รู้จักเพียงพอดีที่จะรับ...!!
ไชย กมลาสน์ originally shared:


wuttichai khongkhunthod




การให้อภัยทานกับผู้อื่น...
ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่ได้ทำความผิด...แต่เป็นเพราะ....
เราต้องการสร้างกุศลและปล่อยวาง
จากความขุ่นมัวภายในใจของเราเองต่างหากเล่า~~
P̄hū̂h̄ỵing Thx f̄ạn

***




กรรมชั่ว ทำเพื่อยึดมั่นถือมั่น ทำเพื่อตนเอง


กรรมดี ทำเพื่อสละ ละ ทำเพื่อผู้อื่น
Sarachai Oct Booppanon


"มือน้อยๆ.......สัมผัสเหมือนกัน!!!
"ความคิด........ที่ต่าง......ไม่เหมือนกัน!!!
Kitti Saiboonruen originally shared
**********
ข้อแตกต่างระหว่างโลกีย์กับโลกุตตร
เป็นเช่นนี้เองหนอ..........[[[788979789[/[[[[[[[[[.....
P. Apawan

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 21, 2013, 05:07:42 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สนทนาธรรมตามกาล
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2013, 07:23:05 pm »







สิ่งที่เรารู้... คนอื่นอาจจะไม่เห็น
สิ่งที่เราเป็น... คนอื่นอาจจะไม่เข้าใจ
สิ่งที่เราเจอ... คนอื่นอาจจะหาไม่ได้
สิ่งที่เราเข้าใจ... คนอื่นอาจะคิดไปอีกอย่าง
นี่แหละโยม สัจธรรม ของชีวิตคนเรา
หลวงพี่โน๊ต นักบุญ




สุขคือ.. ทุกข์ให้น้อยลง




ความสุข ก็ยึดไว้ มิได้ดอก
ความทุกข์ ก็หลอกๆ จริงที่ไหน
ทุกๆสิ่ง เพียงผ่านมาแล้วผ่านไป
เหลือไว้แ่ ความว่าง อย่างนั้นเอง

กลอนสอนใจ จากวัดสายลา จ.สมุทรปราการ
F/B มีธรรมะ เป็นที่พึ่ง







สรรพสิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป
การปล่อยวาง ความยึดมั่น ได้
...  ย่อมอยู่   เหนือทุกข์   ทั้งปวง  ...







รู้จักพอ ก่อสุข ทุกสถาน
รฺ้จักกาล ก่อสุข ทุกสมัย
รู้จักรอ รู้จักรัก ก็สุขใจ
รู้จักใคร ไม่สู้ รู้จักตน




G+ งามจิต ไม่ มี อะไร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 21, 2013, 07:18:15 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สนทนาธรรมตามกาล :ทรงสอนให้เรา "รู้จักเรา"
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2013, 10:28:21 pm »




พระพุทธเจ้ามิได้ทรงสอนอะไรไปมากกว่า...
........................สอนให้เรา "รู้จักเรา"




อนิจจัง ไม่เที่ยง เพราะเกิดดับ
ทุกขัง เป็นทุกข์ เพราะถูกบีบคั้น
อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้
สุดท้ายแล้วไม่มีอะไรให้ยึด ไม่มีให้ทุกข์

NaiChang Boon
G+ ชาวพุทธ สนทนาธรรมตามกาล



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 30, 2013, 01:28:42 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สนทนาธรรมตามกาล
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2013, 08:00:18 pm »




ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหา.. เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี่ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี่
ตัณหา.. เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี่









งามจิต เงินเย็น



ความสุขคือ... ความ ไม่ต้องการ ความสุข..
- พุทธทาสภิกขุ -



G+ ชาวพุทธสนทนาธรรมตามกาล

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 21, 2013, 07:52:24 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สนทนาธรรมตามกาล
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2013, 04:59:54 pm »




หนทางแห่งความดี มีพุทธองค์เป็นที่พึ่ง


บิณฑบาตร


การพูดตรง เป็นสิ่งที่ดี
แต่ถ้าไม่ตรงคน ไม่ตรงเรื่อง
ไม่ตรงกาลเทศะ
พูดเมื่อไหร่ก็หายนะเมื่อนั้น


หมั่นเพียร


เมตตาจิต


เกื้อการุณย์


เราเป็นใคร มาจากไหน เราไม่รู้
เรามาอยู่ เพื่ออะไร ใครรู้บ้าง
เราจะไป แห่งไหน ใครรู้ทาง
หากจิตว่าง จะรู้เท่า เราไม่มี


ทำดีให้ลูกดู กตัญญูให้ลูกเห็น
เป็นร่มโพธิ์ให้ลูกเย็น
ทำบุญ.. บำเพ็ญ.. ให้ลูกตาม


เราไม่สามารถ เปลี่ยน คนอื่น..
..ให้ได้ดั่งใจเรา
แต่เราสามารถ ปรับใจตนเอง
ให้เข้ากับ คนอื่น ได้


สังขารไม่เที่ยงหนอ

>>> G+ Tony lee


*********************




/อย่าไปจมกับสิ่งหนึ่ง.. สิ่งใด.. ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสุขหรือทุกข์
/ระวังอย่าติดในสิ่งใด.. ให้รู้ว่าสิ่งนั้น.. มันไม่เที่ยง
/เกิดขึ้นแล้ว มันก็ดับไปเป็นธรรมดา
/อย่าไปเหนี่ยวรั้ง.. ให้มันอยู่นาน อย่าไปผลักต้าน..
ให้มันหายไป /เพราะใจจะเป็นทุกข์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2015, 04:19:15 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สนทนาธรรมตามกาล
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2013, 10:00:30 pm »




หน้าที่ของเรานั้น.. ทำเหตุ.. ให้ดีที่สุด เท่านั้น...






จงให้เมื่ออยากให้ ..."ให้" ด้วยใจ "บริสุทธิ์"
อย่าให้เพราะ อยากได้ เพราะใจ "ไม่บริสุทธิ์"
ทาน"อันบริสุทธิ์" ประกอบด้วย ๑.ผู้ให้ ให้ด้วยใจบริสุทธิ์
๒.สิ่งของที่ให้ ได้มาโดยบริสุทธิ์
๓.ผู้รับ เป็นผู้มีความบริสุทธิ์





ประพฤติ ..."ธรรม" เพื่อขัดเกลา ..."ตนเอง"



คนที่โชคดีที่สุด คือ.. คนที่ไม่ถือโทษโกรธใคร
.. คนที่ไม่อิจฉาริษยาใคร
.. คนที่ไม่ผูกจิตพยาบาทใคร
.. คนที่มองโลกตามความเป็นจริง และคนที่ยอมรับความจริงได้
แม้ว่า ความจริง จะเจ็บปวดก็ตาม.



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 08, 2014, 06:22:59 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สนทนาธรรมตามกาล
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2013, 06:22:31 pm »


พระพุทธองค์ตรัสว่า ความสุดโต่งของมนุษย์ มี ๒ ด้าน คือ ความพอใจสุดโต่ง  และความไม่พอใจสุดโต่ง  มนุษย์ส่วนมากจะตกไปอยู่ในที่สุด ๒ ด้านนี้ตลอด ความพอใจก็คือความโลภ ความไม่พอใจก็คือความโกรธ ตามความพอใจกับไม่พอใจไม่ทันก็คือความหลง ชีวิตของคนเราจึงไปหลงพอใจไม่พอใจอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสพบความพอดีในชีวิต ความพอดีของชีวิตก็คือหลักทางสายกลาง หรือหลักความจริง รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต ไม่ไปเกี่ยวข้องกับความพอใจ ไม่พอใจ กฎธรรมชาติ ๒ กฎที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ กฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ เกิดขึ้น คงอยู่ ดับไป และกฎของเหตุปัจจัย ในโลกนี้ไม่มีอะไรเกิดขึ้นลอยๆ มีเหตุปัจจัยให้เกิดเสมอ..
****************

พุทธวจน..ทางพ้นทุกข์"
พาหิยะ เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น
เมื่อใดฟังเสียงแล้ว สักว่าฟัง
ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสทางผิวกาย
ก็สักว่า ดม ลิ้ม สัมผัส
ได้รู้แจ้งธรรมมารมณ์ ก็สักว่าได้รู้แจ้งแล้ว
เมื่อนั้นเธอจัก ไม่มี เมื่อใดเธอ ไม่มี
เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกใบนี้ ไม่ปรากฏในโลกอื่น
ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสองนั่นละ.. ที่สุดแห่งทุกข์ละ
******************************

..ในหลักธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น ท่านวางหลักในเรื่องนี้ไว้ว่า..
“อตีตํ นานวาคเมยฺย นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ ปจฺจุปฺปนฺนญฺจ โย ธมฺมํ ตตฺถ ตตฺถ วิปสฺสติ”
บอกว่า อย่าคิดถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว อย่าคิดถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ให้เพ่งพิจารณาในเรื่องนั้น
เพื่อให้รู้ชัดเห็นชัดตามสภาพที่มันเป็นอยู่จริงๆ อันนี้เป็นหลักการอันหนึ่ง ซึ่งเราน่าจะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา..
สิ่งใดที่มันผ่านไปแล้วก็ปล่อยไป ช่างมันเถอะผ่านพ้นไปแล้ว เราจะไปคิดถึงสิ่งนั้นทำไม ให้มันเป็นอดีตไป อดีตมันก็ผ่านพ้นไปแล้วปัจจุบันมันก็ผ่านพ้นไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง แต่ถ้ามาถึงเข้า เราก็พิจารณาต่อไปด้วยปัญญาว่าสิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นแก่เรา แต่ว่าสิ่งนี้มันไม่เที่ยงมันมีความเปลี่ยนแปลง คอยดูว่ามันจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรต่อไป ให้เราทำตนเป็นคนดูด้วยปัญญา อย่าดูด้วยความยึดมั่นถือมั่น อย่าดูด้วยความหลงผิดในเรื่องนั้นๆ จิตใจเราก็จะสบายขึ้นไม่มีปัญหา ไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อนใจ..
นี้เป็นประการหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหา คือความไม่ สบายใจ
หรือว่าความเหน็ดเหนื่อยใจที่เกิดขึ้น ให้พอคลายไปได้ จากการคิดนึกในรูปอย่างนี้..
********************



ภารา หเว ปัญจักขันธา = ขันธ์ทั้งห้า เป็นภาระหนักเน้อ
ภาระหาโร จะ ปุคคะโล = บุคคลนั่นแหละเป็นผู้แบกของหนักพาไป
ภาราทานัง ทุกขัง โลเก = การยึดถือของหนักไว้เป็นความทุกข์ในโลก
ภาระ นิกเขปะนัง สุขัง = การสลัดของหนักลงเสียได้เป็นความสุข
นิกขิปิตวา คะรุง ภารัง  = พระอริยเจ้าสลัดทิ้งของหนักลงเสียแล้ว
อัญญัง ภารัง อนาทิยะ = ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก
สะมูลัง ตัณหัง อัพพุยหะ = ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้ กระทั่งราก
นิจฉาโต ปะรินิพพุโต = เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ
******************

"การทำจิตให้ไม่ตกอยู่ในความประมาท" ก็คือ การไม่หลงไปตามสิ่งที่มากระทบสัมผัส ไม่ให้เกิดความพอใจ ไม่พอใจ จนกลายเป็นหลง การที่จะดับความพอใจไม่พอใจและความหลง ได้นั้นต้องดับด้วยความจริง เพราะความพอใจไม่พอใจเป็นความเห็น ความจริงที่จะนำมาดับความพอใจไม่พอใจได้นั้น คือ ความจริงของโลกและชีวิต ..
*************************

  "เหตุที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน"
"พระกิมพิละกราบทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แล้วอะไรเล่าหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นานในเมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว" "ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในพระธรรมวินัยนี้ เคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา เคารพยำเกรงกันแลกัน. นี้แล กิมพิละ เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้นานในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว."
;..ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๕
*****************

"ผู้มีศรัทธา.." ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนามีสี่อย่าง คือ..
"กัมมสัทธา" เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
"วิปากสัทธา" เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
"กัมมัสสกตาสัทธา" เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน
"ตถาคตโพธิสัทธา" เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้..


wat nantaram Chiang Kham.
สนทนาธรรมตามกาล