ผู้เขียน หัวข้อ: ปรัชญาจังจื๊อ  (อ่าน 1442 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ปรัชญาจังจื๊อ
« เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2013, 10:48:59 pm »

                     

ปรัชญาจังจื๊อ

จังจื้อ เป็นชาวเมืองซ้อง มีชีวิตร่วมสมัยกับ เม่งจื้อ เป็นนักปรัชญาจีนคนเดียวที่สอนหนักในทางละโลกิยะวิสัย เขาเคารพนับถือ เหลาจื๊อมาก ทำหน้าที่อรรถาธิบาย คติธรรมของเหลาจื๊อ จังจื๊อใช้ชีวิตอย่างสมถเรียบง่าย เขาไม่ปรารถนาลาภยศชื่อเสียงใดๆ เขามองเห็นการเมืองเป็นเรื่องที่ขาดคุณธรรมจึงไม่ยอมรับตำแหน่งใดๆเหมือนกับเมธีคนอื่น เช่น ขงจื๊อ เม่งจื๊อ บั๊คจื้อ ซึ่งล้วนแต่ผิดหวังมาก่อน

ทัศนะของจังจื๊อ เห็นว่า โลกและชีวิตเกิดมาด้วยวิวัฒนาการ แบบเดียวกับทัศนะของ ชาล์ล ดาร์วิน จังจื๊อกล่าวว่าชีวิตเริ่มต้นจากจุลินทรีย์ ที่แหวกว่ายอยู่ในสายชล แล้ววิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงภาวะ จนกลายเป็นมนุษย์ ความเห็นของเขาน่าทึ่งมาก ที่เขาพูดถึงทฤษฎีวิวัฒนาการแห่งชีวิตไว้ก่อน ดาร์วินจะพูดถึง 2 พันปี จังจื๊อปฏิเสธเรื่องพระเจ้าสร้างโลก เขาว่าโลกดำรงอยู่ด้วยธรรมชาติของมันเอง

จังจื๊ออสอนว่าอย่าทะเยอทะยานต่อสิ่งที่อยู่เหนือวิสัยเรา เพราะอาจจะเกิดทุกข์กับสิ่งนั้น มิหนำซ้ำใช่ว่าจะรู้สิ่งนั้นทะลุปรุโปร่งเจนจบอันติมะจริงๆ ตัวเราต้องตายไปก่อนที่จะรู้สิ่งต่างๆที่สมบูรณ์ จังจื้อชี้โทษของความรู้ที่ท่วมหัวเอาไม่รอดว่า เสือต้องตายเพราะหนังมันสวยงาม ลิงถูกจับเพราะมันฉลาด บางครั้งจังจื้อก็สอนคล้ายทางสายกลางแบบพุทธ เช่น ครั้งหนึ่งเขาพร้อมศิษย์เดินทางผ่านป่า เห็นต้นไม้ใหญ่ แต่ไม่มีใครสนใจ คนตัดไม้ไปตัดต้นอื่น เขาจึงถามว่าทำไมไม่ตัดต้นใหญ่นั้น คนตัดไม้บอกว่า ต้นนี้เป็นไม้เนื้อไม่ดี ทำประโยชน์อะไรไม่ได้ เขาจึงสอนศิษย์ว่า ต้นไม้ตนนี้ดำรงอยู่ได้เพราะไม่มีประโยชน์ จึงรอดพ้นอันตราย


เขาเดินผ่านป่ามาได้แวะพักบ้านสหายเก่าคนหนึ่ง สหายท่านนั้นได้สั่งให้คนใช้ไปฆ่าห่านเอามาทำอาหารเลี้ยง คนใช้ถามว่าจะให้ฆ่าตัวไหน สหายจังจื๊อบอกให้ฆ่าตัวที่ไม่ร้อง เถิด เพราะไม่มีประโยชน์ ศิษย์จังจื้อจึงถามอาจารย์ว่า ตกลง สิ่งที่มีประโยชน์กับสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ สิ่งใหนจะอยู่อย่างปลอดภัย จังจื้อหัวร่อแล้วตอบว่า"ฉันของอยู่ระหว่างกึ่งกลาง ระหว่างมีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ จึงอยู่รอดปลอดภัยอันธรรมดาผู้รู้ย่อมไม่ยึดติดกับโลกธรรมมากนัก ไม่ยินดีในชื่อเสียงลาภยศก็ย่อมไม่ทุกข์มาก อุปมาดังพญามังกร บัดเดี๋ยวก็แผลงฤทธิ์ บัดเดี๋ยวก็หายเข้าไปในกลีบเมฆ ถ้ารู้มากไปก็เหนื่อย ถ้าโง่มากไปก็จะถูกรังแกเอารัดเอาเปรียบ ไม่อาจพ้นภัยได้เช่นกัน


- https://www.facebook.com/profile.php?id=100002417793924
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 13, 2013, 11:53:11 am โดย ฐิตา »