ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วยเรื่องของโรค "ตับ"  (อ่าน 3908 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ว่าด้วยเรื่องของโรค "ตับ"
« เมื่อ: สิงหาคม 18, 2013, 08:48:55 pm »
ขอรวบรวม เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ โรค "ตับ"

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วยเรื่องของโรค "ตับ"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2013, 08:50:10 pm »
6 อาการเข้าข่าย "มะเร็งตับ"
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    18 สิงหาคม 2556 13:04 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000102554-


มะเร็งก้อนเนื้อร้ายที่กว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว เนื่องจากมะเร็งในระยะแรกๆ ล้วนแต่ไม่แสดงอาการใดๆ มะเร็งตับก็เช่นกัน ผู้ป่วยจะไม่มีทางทราบได้เลยว่าตนเป็นมะเร็ง แม้กระทั่งตับจะถูกทำลายไปถึง 5 ใน 6 ส่วนแล้วก็ตาม เพราะตับยังคงทำหน้าที่ได้ตามปกติ
       
       อย่างไรก็ตาม เมื่อก้อนมีขนาดโตขึ้นหรือมีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงหรือกระจายไปที่อื่นๆ จะทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

       
       1.มีก้อนในท้องด้านบนขวาหรือบริเวณลิ้นปี่


       2.เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อึดอัดแน่นท้อง ท้องโตขึ้น เนื่องจากมีน้ำในช่องท้อง (ท้องมาน)


       3.ปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา ซึ่งอาจร้าวไปที่ไหล่ขวา


       4.ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม หรือที่เรียกว่า "ดีซ่าน" ซึ่งทำให้มีอาการคันตามมือ เท้า และผิวหนัง
       
       5.อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
       
       และ 6.น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
       
       ทั้งนี้ อาการดังกล่าวอาจจะเป็นจากสาเหตุอื่นก็ได้ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการดังกล่าวไม่ควรนิ่งเฉย แต่ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและหาสาเหตุโดยเร็ว เพราะหากเป็นมะเร็งขึ้นมาแล้วไม่ได้ไปตรวจ ก็เท่ากับกำลังปล่อยให้มะเร็งลุกลามไปเรื่อยๆ ซึ่งกว่าจะรู้ตัวก็อาจเข้าระยะสุดท้ายแล้ว ชีวิตที่ควรจะยืนยาวต่อออกไป อาจจะเหลือเพียงแค่ไม่กี่เดือนเท่านั้น


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วยเรื่องของโรค "ตับ"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 01, 2013, 10:48:06 am »
ตรวจหามะเร็งตับทำอย่างไร?
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    31 สิงหาคม 2556 10:38 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000108838-

มะเร็งส่วนใหญ่มักคุกคามชีวิตเราโดยที่ไม่รู้ตัว บางครั้งกว่าจะรู้ว่าเป็นก็อาจมีชีวิตเหลืออยู่อีกเพียงไม่กี่เดือน เพราะมะเร็งลุกลามจนเกินกว่าที่จะรักษาได้ทัน แต่โรคนี้หากสามารถรู้ได้เร็วก็จะมีโอกาสรักษาได้หายขาดค่อนข้างสูง ดังนั้น การตรวจหามะเร็งจึงเป็นสิ่งสำคัญ
       
       สำหรับการตรวจหามะเร็ง ในส่วนของมะเร็งตับนั้นอาจเริ่มตั้งแต่การตรวจร่างกายทั่วๆ ไป เพื่อดูลักษณะของตับอักเสบเรื้อรังหรือตับแข็ง ดีซ่าน ตับโต หรือน้ำในช่องท้อง จากนั้นจึงทำการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ ได้แก่
       
       1.ตรวจเลือดดูค่าแอลฟาฟีโตโปรตีน (Alpha fetoprotein : AFP) ซึ่งมักจะสูงกว่าปกติในผู้ที่เป็นมะเร็งตับ โดยค่าปกติจะอยู่ที่ 10-20 นาโนกรัม/มิลลิลิตร
       
       2.ตรวจด้วยเครื่องมือที่แสดงผลออกมาในรูปภาพของตับ ซึ่งมักตรวจโดยอัลตราซาวนด์ก่อน ถ้าพบว่ามีก้อนจึงตรวจเพิ่มเติมโดยการเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ หรือตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กของช่องท้อง เพื่อยืนยันและประเมินระยะของโรคในกรณีที่เป็นมะเร็ง
       
       อย่างไรก็ตาม หากผลการตรวจข้างต้นไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าเป็นมะเร็งตับหรือไม่ แพทย์อาจจำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมโดย
       
       3.ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์ โดยฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงตับก่อน แล้วเอกซเรย์ดูความปิดปกติ เช่น มีหลอดเลือดผิดปกติที่ไปเลี้ยงเนื้องอกภายในตับ หรือการอุดตันของหลอดเลือดดำที่ไปเลี้ยงตับ เป็นต้น
       
       4.ตรวจชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้องอกในตับ โดยใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังเข้าไปยังบริเวณเนื้องอก แล้วดูดตัวอย่างเนื้อขึ้นมาตรวจผ่านกล้องจุลทรรศน์ เพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งหรือไม่
       
       5.หากผลการตรวจพบว่าเป็นมะเร็งตับ แพทย์จะส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูสภาวะการทำงานของตับ เพื่อเป็นข้อมูลช่วยเสริมในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม โดยการตรวจเลือดเพื่อดูค่าต่างๆ เช่น ค่าระดับน้ำดีในเลือด (bilirubin) ค่าระดับโปรตีนอัลบูมินในเลือด (albumin) และระยะเวลาที่ใช้ในการแข็งตัวของเลือด (prothrombin time)
       
       นอกจากนี้ ยังรวมถึงการตรวจภาวะความผิดปกติทางสมองที่เกิดขึ้นจากการคั่งของสารพิษในเลือดจากโรคตับเรื้อรังด้วย


http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000108838
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วยเรื่องของโรค "ตับ"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 11:28:25 am »
10 สัญญาณอันตราย โรค “ตับแข็ง”
http://health.sanook.com/1921/

ตับ เป็นอวัยวะที่ช่วบทำลายสารพิษ หรือของเสียออกจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อโรค สร้างสารที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว และสร้างน้ำดีเพื่อย่อยอาหาร และดูดซึมวิตามินที่ละลายในน้ำมัน เมื่อตับมีหน้าที่ทำงานหลายอย่างขนาดนี้ หากตับพัง หรือทำงานผิดปกติเมื่อไร ร่างกายย่อมรวนอย่างรวดเร็วแน่นอน หากเป็นโรคตับ จะมีสัญญาณเตือนภัยอะไรบ้าง มาเช็คกันค่ะ

1. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

2. เบื่ออาหาร ทานอะไรไม่ค่อยลง

3. คลื่นไส้บ่อยๆ อย่างไรสาเหตุ



4. น้ำหนักลด ทั้งๆ ที่ไม่ได้อยู่ในระหว่างลดน้ำหนัก

5. เท้าบวม ท้องบวม

6. เลือดออกง่าย เนื่องจากตับไม่สามารถทำให้เลือดแข็งตัวได้ง่าย

7. เกิดอาการคล้ายเป็นโรคนิ่วในถึงน้ำดี (อ่านเกี่ยวกับ โรคนิ่วในถุงน้ำดี ที่นี่ http://health.sanook.com/1617/ )

8. ตัวเหลือง ตาเหลือง เนื่องจากตับไม่สามารถขับน้ำดีออกมาได้

9. อาเจียนเป็นเลือด เนื่องจากความดันในตับสูง ส่งผลให้หลอดเลือดดำในหลอดอาหารมีความดันสูง และหากสูงมากจนหลอดเลือดดำแตก ก็อาจทำให้อาเจียนออกมาเป็นเลือดได้

10. อาจเป็นริดสีดวงทวาร (อ่านเกี่ยวกับ โรคริดสีดวงทวาร ที่นี่ http://health.sanook.com/437/ )


นอกจากโรคตับแข็งจะเกิดขึ้นเมื่อเราดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปแล้วนะคะ ยังอาจมีสาเหตุจากโรคไวรัสตับอักเสบบีอีกด้วย (อ่านเกี่ยวกับ โรคไวรัสตับอักเสบ ที่นี่ http://health.sanook.com/473/)

วิธีป้องกันโรคตับแข็ง

1. งด หรือลดดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญมากของโรคตับ

2.ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคตับในภายหลังได้เช่นกัน

3. ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันโรคอ้วน โรคเบาหวาน ซึ่งอาจส่งผลต่อตับได้

4. ระวังอย่าให้เป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี เพราะอาจส่งผลให้เกิดโรคตับได้ในภายหลัง

5. ไม่ทานยา หรือรับสารพิษชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจเกิดการค้างสะสมที่ตับได้

 

หากมีสัญญาณเตือนภัยเหล่านี้ โดยเฉพาะอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด และเท้าบวม ท้องบวม ควรรีบพบแพทย์โดยด่วนเลยนะคะ เพราะตับเป็นอวัยวะสำคัญที่ไม่สามารถตัดออกไปข้างหนึ่งได้อย่างไต หรือปีกมดลูก และตับทำหน้าที่สำคัญหลายอย่างในร่างกาย หากทำงานผิดปกติเมื่อไร ทรุดหนักฮวบฮาบเลยเชียวค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก siamhealth.net
ภาพประกอบจาก istockphoto

เนื้อหาโดย : Sanook!
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วยเรื่องของโรค "ตับ"
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 11:30:10 am »
โรคไวรัสตับอักเสบ
-http://health.sanook.com/473/-



โรคไวรัสตับอักเสบ

โรคไวรัสตับอักเสบ มีสาเหตุมาจากไวรัสหลายชนิดคือ เอ บี ซี ดี อี ไวรัสกลุ่มนี้ชอบอาศัยอยู่ในเซลล์ตับ ทำให้เกิดตับอักเสบ เซลล์ตับถูกทำลาย เมื่อตับถูกทำลายมากจะกลายเป็นเนื้อเยื่อพังผืดและอาจกลายเป็นตับแข็งหรือกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด

หน้าที่ของตับ ตับเป็นอวัยวะภายในที่ใหญ่ที่สุด อยู่บริเวณชายโครงขวา มีหน้าที่สำคัญคือ เปลี่ยนสารพิษหรือยาต่างๆ ที่กินเข้าไปให้ไม่มีพิษ สร้างน้ำดีช่วยย่อยไขมัน สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างสารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด สร้างเม็ดเลือดแดงในเด็กและเก็บพลังงาน

โรคไวรัสตับอักเสบเกิดได้อย่างไร

โดยทั่วไปเมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ ระบบภูมิคุ้มกันของเราจะสามารถกำจัดเชื้อได้และจะหายเอง (อาจใช้ระยะเวลานานประมาณ 6 เดือน) มีบางรายร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อได้หมด เชื้อจึงอยู่ในเลือดอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีอาการ ซึ่งเรียกว่าพาหะ บางรายมีการอักเสบและมีการทำลายของเซลล์ตับไปเรื่อยๆเรียกว่า “ตับอักเสบเรื้อรัง”

โรคไวรัสตับอักเสบมีอาการและอาการแสดงอย่างไร ไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิดจะมีอาการคล้ายคลึงกัน คือ

1. ไม่มีอาการหรืออาการแสดงอะไรเลยหลังจากได้รับเชื้อ
2. มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด มีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดข้ออยู่ 2-3 วัน เป็นแล้วหายได้เอง อาจมีอาการกดเจ็บที่ตับ บางรายมีอาการตัวตาเหลืองร่วมด้วย ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าเป็นตับอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งเมื่อเป็นแล้วโดยส่วนใหญ่จะหายไปในเวลา 6-8 สัปดาห์ ผู้ป่วยกลุ่มนี้พบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพทั่วไป กรณีไวรัสตับอักเสบชนิดบีนั้น บางรายอาจมีอาการถ่ายปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลือง ตาเหลือง ซึ่งเป็นอาการเด่นที่ทำให้มาพบแพทย์และจะตรวจพบเอนไซม์ตับสูง
3. ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเหลือง บางรายอาการรุนแรงมาก ตัวตาเหลืองไม่หายแต่กลับเป็นมากขึ้น อุจจาระมีสีซีด คันตามตัว อ่อนเพลีย ปวดท้อง ถ้าได้รับเชื้อมากอาจมีอาการรุนแรงคือ ท้องและขาบวม พูดเลอะเลือน เพ้อ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องใช้เวลาเป็นเดือนในการรักษาให้ดีขึ้น

คนที่สบายดีตรวจพบว่าเป็นพาหะอย่าเพิ่งตกใจ ควรปรึกษาแพทย์/พยาบาล เพื่อเจาะเลือดประเมินค่าเอนไซม์ อาจบอกภาวะได้ชัดเจนว่า มีตับอักเสบเฉียบพลัน เรื้อรังหรือเป็นพาหะนำเชื้อ ซึ่งควรได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเองหรือจัดการแก้ไข

โรคไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิด

ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ เชื้อจะอยู่ในอุจจาระของผู้ป่วย จึงอาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ไม่สะอาด อาหารสุกๆ ดิบๆ ผักสดที่ล้างไม่สะอาด และติดต่อทางอาหารและน้ำดื่มได้ดังนั้นกลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอสูงคือ กลุ่มที่มีสุขอนามัยหรือการสุขาภิบาลไม่ดี ผู้ที่อยู่ในสถานที่แออัด เช่น สถานเลี้ยงเด็ก กองทหาร เป็นต้นผู้ได้รับเชื้อมีโอกาสหายขาดเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงส่วนน้อยที่กลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ในปัจจุบันมีวัคซีนฉีดป้องกันแต่ยังมีราคาสูง

ไวรัสตับอักเสบชนิดบี เป็นไวรัสที่เป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับ 9 ของโลก ในประเทศไทยเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดตับอักเสบเรื้อรัง เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีมีผนังหุ้มตัวเอง ตายยาก สามารถหลบอยู่ในเซลล์ของตับ ดื้อยา ในอากาศภายนอกมีชีวิตอยู่ได้เป็นเดือน อยู่ในตู้เย็นได้เป็นปี ผู้ได้รับเชื้อเพียงเล็กน้อยก็มีโอกาสเป็นโรค (มีโอกาสกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังร้อยละ 10)

การติดต่อ ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ติดจากมารดาสู่บุตรขณะคลอด ทางการสัมผัสน้ำคัดหลั่งเช่น เลือด น้ำลาย ดังนั้นคนที่เสี่ยงในการสัมผัสเลือดหรือน้ำคัดหลั่งที่มีเชื้อ เช่น ผู้ที่ใช้แปรงสีฟัน มีดโกน ร่วมกัน ผู้ได้รับเลือดมีโอกาสเป็นโรคสูง บางรายติดโดยไม่ทราบสาเหตุ

การป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบี

ในหญิงตั้งครรภ์ที่เจาะเลือดพบไวรัสตับอักเสบชนิดบี ต้องมาพบแพทย์ตามนัด หลังคลอดแพทย์จะฉีดภูมิคุ้มกันโรคให้ทารกและจะฉีดเป็นระยะๆ การฉีดมี 2 แบบ คือ ฉีดเมื่อแรกเกิด 1 เดือน และ 6 เดือน หรือฉีดเมื่อแรกเกิด 1 เดือน 2 เดือน และ 12 เดือน แล้วแต่ชนิดของวัคซีน ต้องฉีดให้ครบ ทารกจึงจะมีภูมิคุ้มกันเพียงพอที่จะป้องกันโรคได้ดี หลังคลอดมารดาสามารถให้นมบุตรได้ สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี และต้องการรับภูมิคุ้มกัน ให้เจาะเลือดดูภูมิคุ้มกันก่อน ถ้ามีภูมิคุ้มกันแล้วก็ไม่ต้องฉีดวัคซีน แต่ถ้ายังไม่มีภูมิคุ้มกันจะฉีดครั้งแรก อีก 1 เดือน และอีก 6 เดือนต่อมา (0, 1, 6)

ไวรัสตับอักเสบชนิดซี ระบาดมากในอเมริกา แต่ในระยะ 10 ปีนี้พบในประเทศไทยมากขึ้น ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีมักไม่ค่อยมีอาการ ส่วนใหญ่พบจากการตรวจสุขภาพทั่วไป จึงนับเป็นภัยเงียบ ผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบซีสามารถกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังถึงร้อยละ 85 การติดต่อเหมือนไวรัสตับอักเสบชนิดบี แต่ทางเพศสัมพันธ์พบน้อย มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ติดเชื้อโดยไม่ทราบสาเหตุ ไวรัสตับอักเสบซียังไม่มีวัคซีนป้องกัน จึงต้องป้องกันโดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง

ไวรัสตับอักเสบชนิดดี จะไม่เกิดเองตัวเดียวโดดๆ จะเกิดร่วมกับไวรัสตับอักเสบชนิดบี ผู้ป่วยที่เป็นไวรัสตับอักเสบชนิดบีอยู่แล้ว เมื่อเกิดไวรัสตับอักเสบดีร่วมอาการจะรุนแรงขึ้น การติดต่อเหมือนไวรัสตับอักเสบชนิดบี

ไวรัสตับอักเสบชนิดอี มีลักษณะคล้ายไวรัสตับอักเสบชนิดเอ แต่รุนแรงน้อยกว่าและหายเร็วกว่า แต่ถ้าพบในหญิงตั้งครรภ์อาการจะรุนแรงและอันตรายโดยเฉพาะในระยะ 3 เดือนท้ายก่อนคลอด

ความรุนแรงของไวรัสตับอักเสบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

- เพศ เพศชายจะมีโอกาสเป็นมะเร็งในตับมากกว่าเพศหญิง
- อายุ ผู้ที่เป็นตับอักเสบตั้งแต่วัยเด็ก การพยากรณ์โรคจะไม่ดี
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงร่วม เช่น ใช้เข็มยาเสพติด รับประทานยาหลายชนิดที่มีผลต่อตับ อาการจะเลวลง ในทางตรงข้ามผู้ที่แข็งแรง มีภูมิต้านทานดีเมื่อได้รับเชื้อ ร่างกายจะสามารถกำจัดเชื้อได้

การรักษา

การรักษาในปัจจุบันคือการรักษาในไวรัสตับอักเสบบีและซีภายใต้การวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยารักษาเป็นยาฉีดชื่ออินเตอร์เฟอร์รอน (Interferon) ยานี้จะช่วยลดจำนวนไวรัส ช่วยลดการอักเสบของตับ และทำให้สภาพเนื้อตับดีขึ้น และต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ยาก็มีผลข้างเคียงที่ต้องพึงระวังมาก แพทย์จะเลือกใช้เฉพาะกับผู้ป่วยที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังแล้วเท่านั้น โรคไวรัสตับอักเสบส่วนมากจะสามารถดำรงชีวิตได้อย่างคนปกติ มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นตับอักเสบเรื้อรังข้อปฏิบัติตัวของผู้ป่วยมีความสำคัญในการป้องกันการดำเนินของโรค บางรายอาจไม่มีอาการกำเริบเลยตลอดชีวิต

ข้อปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยในขณะตับอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง

1. เพื่อให้ตับทำงานน้อยลง ต้องพักผ่อนอย่างจริงจังในระยะที่มีอาการและ ไม่ควรออกกำลังกาย
2. รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ดูดซึมง่าย เช่น อาหารประเภทข้าว ของหวาน เป็นต้น แม้จะเบื่ออาหารควรฝืนใจเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น รับประทานเนื้อสัตว์ได้แต่ไม่ควรเป็นเนื้อติดมัน หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน เพราะทำให้ท้องอืด
3. งดดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
4. หลีกเลี่ยงการซื้อยารับประทานเองเพราะจะเป็นอันตรายต่อตับ

คำแนะนำสำหรับผู้ที่เป็นพาหะ

1. ทำงานได้ตามปกติ

2. ตรวจเลือดซ้ำหลังการตรวจครั้งแรก 3-6 เดือน

3. งดสูบบุหรี่และดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

4. ไม่ควรซื้อยารับประทานเองโดยไม่มีความจำเป็น

5. ดูแลรักษาสุขภาพตามปกติคือ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ควรหลีกเลี่ยงอาหารมันๆ ออกกำลังกายได้แต่ไม่ควรหักโหมหรือออกแรงมาก ไม่ควรเล่นกีฬาที่ต้องแข่งขัน

6. รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคล โดยใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกัน งดใช้เครื่องใช้ส่วนตัวหรือของมีคมร่วมกับผู้อื่น

7. ฉีดวัคซีนให้คู่สมรสและบุตรของผู้เป็นพาหะ (กรณีที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน)

8. งดบริจาคเลือดและอวัยวะต่างๆ ตลอดจนน้ำอสุจิที่ใช้ผสมเทียม

9. ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ กรณีที่ไปรับการตรวจรักษาหรือทำฟัน

10. ควรพบแพทย์ ตรวจสุขภาพเป็นระยะ

การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ

1. รับประทานอาหารที่สุกสะอาด ล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหาร และหลังออกจากห้องน้ำ
2. ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับคนอื่น เช่น กรรไกรตัดเล็บ มีดโกน ฯลฯ
3. ให้แยกซักเสื้อผ้าของผู้ป่วย อุจจาระ ปัสสาวะ เลือด อาเจียนเทลงส้วม ในกรณีทีมีผู้ป่วยที่อยู่ในระยะตับอักเสบอยู่ในบ้าน
4. ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับผู้สงสัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบชนิดบี
5. ตรวจเลือดหาเชื้อไวรัสตับอักเสบก่อนที่จะสมรส
6. กรณีตั้งครรภ์ ฝากครรภ์เสียแต่เนิ่นๆ
7. ฉีดวัคซีนป้องกันกรณีที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน

เอกสารอ้างอิง

ชมรมตับอักเสบแห่งประเทศไทย (ม.ป.ป.).ไวรัสตับอักเสบมฤตยูเงียบ.เชอริง-พราว จำกัด.

ทวีศักดิ์ แทนวันดี.(ม.ป.ป.).โรคตับอักเสบจากไวรัสซี. เชอริง-พราว จำกัด.

ยง ภู่วรรณ.(2539).ไวรัสตับอักเสบและการป้องกัน. กรุงเทพฯ : ชัยเจริญ.

สมพนธ์ บุณยคุปต์.(2538).ตับอักเสบ. งานการพยาบาลป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.แผ่นพับ.

งานการพยาบาลป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ
ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
เรียบเรียง จริยา วิรุฬราช
ที่ปรึกษา รศ. ประคอง อินทรสมบัติ

จัดทำโดย หน่วยแนะแนวและปรึกษาปัญหาสุขภาพ โทร. 0-2201-2520-1

ขอบคุณข้อมูล จาก -http://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th/main/?q=node/83-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วยเรื่องของโรค "ตับ"
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 11:32:51 am »
ริดสีดวงทวารป้องกัน...ดีกว่าแก้
-http://health.sanook.com/437/-


ริดสีดวงทวารป้องกัน...ดีกว่าแก้
ริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกเพศ ทุกวัย แต่ความชุกของโรคมีจำนวนเท่าใดระบุชัดไม่ได้ เนื่องจากผู้ป่วยจำนวนมากมักจะมีความอายที่จะมาพบแพทย์ จึงเก็บอาการของโรคไว้เป็นความลับส่วนตัว จนกระทั่งมีอาการมากแล้วจึงมาพบแพทย์

ริดสีดวงทวารคืออะไร?
ริดสีดวงทวาร คือ ภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักเกิดการปูดพอง(ขอด)เป็นหัว ซึ่งอาจมีได้หลายหัวและเป็นพร้อมกันได้หลายแห่ง ริดสีดวงทวารสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. ริดสีดวงทวารชนิดภายใน คือ กลุ่มหลอดเลือดดำที่อยู่ใต้ชั้นเยื่อบุลำไส้ภายในรูทวารหนักปูดพอง(ขอด) ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อใช้กล้องส่องตรวจ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 เริ่มมีหัวริดสีดวงเกิดขึ้นแต่ไม่มีก้อนเนื้อยื่นออกมา และจะมีเลือดสดๆออกขณะถ่ายหรือหลังถ่ายอุจจาระ
ระยะที่ 2 หัวริดสีดวงทวารจะโผล่ออกมาเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระและจะหดกลับเข้าไปได้เองภายหลังถ่ายอุจจาระเสร็จ
ระยะที่ 3 หัวริดสีดวงทวารจะโผล่ออกมาเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระ ไอ จาม ยกของหนัก หรือออกกำลังกาย และจะไม่กลับเข้าไปเอง ต้องใช้นิ้วมือดันเข้าไป
ระยะที่ 4 หัวริดสีดวงทวารโผล่ออกมาคาอยู่ข้างนอกตลอดเวลา ไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้ ผู้ป่วยจึงรู้สึกเจ็บปวด

2. ริดสีดวงทวารชนิดภายนอก คือ กลุ่มหลอดเลือดดำที่อยู่ใต้ผิวหนังบริเวณปากทวารหนักปูดพอง(ขอด) ซึ่งสามารถมองเห็นและคลำได้ เพราะผิวหนังรอบๆทวารจะถูกดันจนโป่งออกมา ผู้ป่วยจึงรู้สึกเจ็บปวด

สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มักพบในผู้ที่

1. ท้องผูกเรื้อรัง
2. ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระบ่อย ๆ
3. มีอุปนิสัยเบ่งถ่ายอุจจาระอย่างมาก เพื่อพยายามขับอุจจาระออกไป
4. มีอุปนิสัยใช้เวลานั่งถ่ายอุจจาระนาน
5. ตั้งครรภ์ ทำให้ถ่ายอุจจาระไม่สะดวก
6. ภาวะโรคตับแข็ง ทำให้เลือดดำไหลเข้าตับไม่ได้ จึงเกิดเส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักโป่งพอง
7. อายุมาก
8. ไอเรื้อรัง
9. น้ำหนักมาก

อาการที่พบคือ

1. มีเลือดสีแดงสดออกมาขณะถ่ายอุจจาระหรือหลังถ่ายอุจจาระ แล้วเสร็จ
2. มีก้อนเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ
3. คันหรือระคายเคืองรอบๆ ปากทวารหนัก
4. คลำได้ก้อนที่บริเวณทวารหนักและมักมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย

การรักษา แพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาตามความรุนแรงของโรค ซึ่งมีหลายวิธีคือ
1. การใช้ยาเหน็บทวาร ครีมทาทวาร (ถ้าซื้อใช้เองไม่ควรใช้นานเกิน 1 สัปดาห์) และรับประทานยาระบายเพื่อลดการอักเสบและระคายเคือง
2. การฉีดยาเข้าไปที่หัวริดสีดวงทวารหรือใช้แถบยางรัดโคนหัวริดสีดวงทวาร เพื่อให้ฝ่อไป
3. การจี้หัวริดสีดวงทวารด้วยความร้อนหรือความเย็น
4. การผ่าตัดเอาหัวริดสีดวงทวารออก
หลังการรักษาอาการของโรคจะดีขึ้นหรือหายขาดได้ แต่ถ้ายังมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ไม่ถูกต้องก็อาจมีหัวริดสีดวงทวารเกิดขึ้นใหม่ ดังนั้นการปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองให้ถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

วิธีการปฏิบัติตัวในการป้องกันและดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคริดสีดวงทวาร

1. รับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น รำข้าว ข้าวซ้อมมือ งาดำ ผักและผลไม้ทุกชนิด
2. ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 6- 8 แก้ว การดื่มน้ำแก้วใหญ่ ทันทีหลังตื่นนอนตอนเช้าจะช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้
3. หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารรสจัด อาหารที่ไม่สุกสะอาด
4. หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
5. หลีกเลี่ยงการกลั้นหรือเบ่งถ่ายอุจจาระ และควรฝึกหัดการขับถ่ายให้เป็นเวลา
6. ทำความสะอาดบริเวณทวารหนักภายหลังการขับถ่ายด้วยน้ำ เพื่อความสะอาดและลดการระคายเคือง
7. หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบายอย่างรุนแรง หรือการสวนถ่ายอุจจาระเป็นประจำจนเป็นนิสัย
8. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
9. ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะทำให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้น
10. พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
11. หลีกเลี่ยงความเครียด ทำจิตใจให้สบายอยู่เสมอ

ในผู้ที่มีอาการปวดริดสีดวงทวารรุนแรงเฉียบพลันควรรีบมาพบแพทย์ภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อมารับการตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆที่เป็นอันตรายเกิดขึ้น สำหรับผู้ที่มีอาการปวดและไม่มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นสามารถรับประทานยาแก้ปวดและนั่งแช่ก้นในน้ำอุ่นวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 15-30 นาที เพื่อลดอาการเจ็บปวดได้
แม้ว่าโรคริดสีดวงทวารจะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่ก็มีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การนั่ง ยืน หรือเดินอาจไม่สะดวกเนื่องจากอาการเจ็บปวด ซึ่งการมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องจะป้องกันการเกิดโรคหรือลดอาการรุนแรงของโรคได้ และเพื่อแยกโรคริดสีดวงทวารจากโรคอื่นๆ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่แน่นอน

ตัวอย่างปริมาณกากใยในอาหารแต่ละชนิด
ดูที่รูป



เอกสารอ้างอิง

ธีรพล อังกูรภักดีกุล.(2546).ริดสีดวงทวาร.Healthtoday,ปีที่ 3(ฉบับที่ 25),หน้า 68 - 73.
ปริญญา ทวีชัยการ.(2544).ริดสีดวงทวารหนัก.เอกสารเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการของชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก.พิมพ์ครั้งที่ 1
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2546). ท้องผูกและริดสีดวงทวาร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ.(2544).ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป.(พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพ : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.
www.md.chula.ac.th

งานการพยาบาลป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ
ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ผู้เรียบเรียง รุ่งฤดี จิณณวาโส และ ภัทราพร พูลสวัสดิ์


จัดทำโดยหน่วยแนะแนวและปรึกษาปัญหาสุขภาพ โทร 0-2201-2520-1


ขอบคุณข้อมูล จาก -http://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th/main/?q=node/74-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วยเรื่องของโรค "ตับ"
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 11:34:02 am »
สงสัยไหม? ทำไมใครๆ ก็เป็น นิ่วในถุงน้ำดี?
-http://health.sanook.com/1617/-



ตามบริษัทใหญ่ๆ มักให้พนักงานไปตรวจสุขภาพ เอ็กซ์เรย์ร่างกาย หรืออัลตร้าซาวนด์อยู่เป็นประจำ ซึ่งถือเป็นเรื่องดีมากที่เราจะได้รู้ความเป็นไปของร่างกายเราว่ายังปกติดีอยู่หรือไม่ แต่แทนที่จะสบายใจ กลับกลายเป็นหนักใจกว่าเดิม เพราะตรวจทีไรก็เจอความผิดปกติตรงนู้นตรงนี้ตลอด ล่าสุดคนรอบข้างเป็นกันหมด เหมือนเป็นโรคฮิตชนิดติดต่อถึงกันได้ยังไงยังงั้น มันคือโรค “นิ่วในถุงน้ำดี” ค่ะ


การที่คนรอบข้างทยอยกันเป็นเรื่อยๆ แสดงว่ามันต้องมีปัจจัยอะไรใกล้ตัวที่ทำให้เกิดโรคนี้ โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวก็ได้ จริงไหม? Sanook! Health เลยหาคำตอบมาให้ทุกคนได้ลองเช็คกันค่ะ ว่าคุณกำลัง “มีความเสี่ยง” ต่อโรคนิ่วในถุงน้ำดีอยู่หรือเปล่า


นิ่วในถุงน้ำดี ลักษณะเป็นอย่างไร

ลักษณะเป็นก้อนกลมหรือเหลี่ยมๆ สีเข้มๆ ซึ่งเกิดจากการตกผลึกของหินปูน (แคลเซียม) หรือคอเลสเทอรอลที่มีอยู่ในน้ำดี เป็นผลมาจากการขาดสมดุลของน้ำดี


อันตรายของนิ่วในถุงน้ำดี

หากก้อนนิ่ว (ซึ่งจะเป็นก้อนใหญ่ก้อนเดียว หรือเป็นก้อนเล็กๆ หลายก้อนก็ได้) ไปอุดถุงน้ำดี อาจทำให้ถุงน้ำดีอักเสบ และหากมีก้อนนิ่วติดค้างอยู่ที่ถุงน้ำดีเป็นเวลานาน อาจกระตุ้นให้เกิดเป็นมะเร็งถุงน้ำดีได้


ใครที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นนิ่วในถุงน้ำดี

- ผู้หญิง อายุ 40 ปีขึ้นไป รูปร่างท้วม และอาจมีบุตรหลายคน

- ผู้ป่วยที่มีภาวะเป็นเบาหวาน โรคอ้วน

- ผู้ป่วยทาลัสซีเมีย โลหิตจาง

- ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง บริโภคอาหารมัน อาหารทอดมากเกินไป

- ผู้ที่ทานยาลดไขมันบางชนิด ทำให้คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง

- ผู้ที่ลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเกินไป ทำให้ละลายไขมันมากเกินไป


อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดี

1. ปวดท้อง แน่น จุกเสียด บริเวณใต้ชายโครงขวา หรือลิ้นปี่

2. ท้องอืด อิ่มง่าย อาหารไม่ย่อย โดยเฉพาะหลังทานอาหารมันมาก หรือทานอาหารมื้อใหญ่

3. ในรายที่เกิดอาการถุงน้ำดีอักเสบ อาจมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน

4. ในบางรายอาจมีภาวะดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง


วิธีการรักษา

ชนิดไม่มีอาการ อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ เพียงแต่เข้ามาตรวจเช็คร่างกายเรื่อยๆ หากไม่แสดงอาการเลย ก็อาจไม่ต้องทำการรักษาใดๆ ตลอดชีวิต

ชนิดมีอาการ หากมีอาการข้างเคียง เช่น ปวดท้อง แพทย์อาจสั่งยาให้ทาน หรือแนะนำให้ผ่าตัด ขึ้นอยู่กับขนาดนิ่ว และความรุนแรงของอาการ โดยสมัยนี้จะใช้วิธีใช้กล้องส่องผ่านหน้าท้อง ทำให้เจ็บแผลน้อย ฟื้นตัวเร็วภายใน 1-2 วัน


วิธีป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดี

1. ควบคุมอาหาร ไม่ทานอาหารทอด อาหารมันมากจนเกินไป รวมไปถึงอาหารหวานจัด เช่น น้ำอัดลม อาหารกระป๋อง สำเร็จรูป และอาหารแช่แข็งด้วย

2. ควบคุมน้ำหนัก และระดับน้ำตาลในเลือด และระดับคอเลสเตอรอล อย่าให้สูงจนเกินไป

3. เลือกทานอาหารจำพวกแป้งไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ผักผลไม้สด ถั่ว และธัญพืชต่างๆ

4. ออกกำลังกายเป็นประจำ อาทิตย์ละ 2-3 ครั้งเป็นอย่างน้อย ครั้งละ 20-30 นาที

5. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก 6 เดือน หรือทุกปี

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก -bangkokhospital.com-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)