ผู้เขียน หัวข้อ: ลักษณะการตัดสินพระธรรมวินัย 8 ประการ  (อ่าน 1399 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



ลักษณะการตัดสินพระธรรมวินัย 8 ประการ

เนื้อแท้ หมายถึงเนื้อที่เกิดขึ้นในร่างกายมาแต่เดิมรวมเป็นองคาพยพของชีวิตคนและสัตว์ เนื้องอก หมายถึงเนื้อร้ายที่แฝงเกิดขึ้นมาภายหลัง ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและชีวิต ทางการแพทย์ ต้องทำลาย หรือตัดทิ้ง ชีวิตจึงจะปลอดภัย

คำสอนต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา ก็เช่นเดียวกัน เนื้อแท้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งที่เป็นส่วนพุทธพจน์ (พระพุทธเจ้าตรัสเอง) และพุทธมติ (บุคคลอื่นเช่นสาวก สาวิกา พูด แต่ก็อยู่ในหลักการของพระพุทธเจ้าไม่ออกนอกลู่นอกทาง)

เนื้องอก คือคำสอนที่เกิดขึ้นใหม่ นอกพุทธพจน์ และพุทธมติ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า สัทธรรมปฏิรูป ..เป็นการอธิบายธรรมที่ออกนอกกรอบคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งปัจจุบันนี้เกิดขึ้นมากมาย แล้วนำไปยื่นใส่พระพุทธโอษฐ์ คนที่ไม่รู้ความจริง คิดว่านี่คือคำสั่งสอนพระพุทธเจ้า ย่อมหลงยึดถือ ปฏิบัติตาม เป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

พระพุทธเจ้าจึงให้ตรัส วิธีตัดสินอันไหนเป็นพระธรรมวินัยจริงหรือปลอม
ในหลักธรรมที่เรียกว่า "ลักษณะการตัดสินพระธรมวินัย 8 ประการ และ ปหาปเทส 4

ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 8 ประการ
ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ 1.
เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ 1.
เป็นไปเพื่อความสะสมกองกิเลส 1.
เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ 1.
เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษยินดีด้วยของมีอยู่
คือมีนี่แล้วอยากได้นั่น 1.
เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ. 1.
เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน 1.
เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก 1.

ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอน
ของพระศาสดา.
ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด 1.
เป็นไปเพื่อความปราศจากทุกข์ 1.
เป็นไปเพื่อความไม่สะสมกองกิเลส 1.
เป็นไปเพื่อความอยากอันน้อย 1.
เป็นไปเพื่อความสันโดษยินดีด้วยของมีอยู่ 1.
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่ 1.
เป็นไปเพื่อความเพียร 1.
เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย 1.
ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของ
พระศาสดา. องฺ. อฏฺก. 23/288



มหาปเทส 4
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความรังเกียจในพระบัญญัติ บางสิ่งบางอย่างว่า สิ่งใดหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระมีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประทานสำหรับอ้าง 4 ข้อ ดังต่อไปนี้.

1. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.

2. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควรหากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.

3. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควรหากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.

4. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควรหากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม 5 ภาค 2 - หน้าที่ 190


>>> F/B อุบาสก ผู้หนึ่ง