ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ใช้มือถืออย่าประมาท'มัลแวร์'  (อ่าน 1872 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
 ผู้ใช้มือถืออย่าประมาท'มัลแวร์'
-http://www.komchadluek.net/detail/20130901/167108/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C.html#.UiKkQD8h-AI-



                ทุกวันนี้โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตกลายเป็นอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ที่ติดตัวผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา แต่จะมีใครรู้บ้างหรือไม่ว่าโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตของตน ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ ไอโอเอส และซิมเบียน นั้น เสี่ยงต่อการถูกโจมตีด้วย "มัลแวร์" หรือซอฟต์แวร์ไม่หวังดี ที่มุ่งทำลายหรือขโมยข้อมูลสำคัญของผู้ใช้ที่อยู่ภายในเครื่องบ้างหรือไม่ แต่ด้วยรายงานของฟอร์ติการ์ดแล็ปส์ฉบับนี้ น่าจะช่วยเตือนสติผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เหล่านั้นได้ จึงขอใช้พื้นที่นี้เผยแพร่เพื่อเตือนผู้ใช้มือถือและแท็บเล็ตให้พึงระวังกันไว้ โดยหาแอพพลิเคชั่นป้องกันมัลแวร์ และไวรัสมือถือ มาใช้ โดยสามารถดาวน์โหลดกันได้ผ่านแอพสโตร์ เพลย์สโตร์ ของแต่ละระบบปฏิบัติการ

                ศูนย์ฟอร์ติการ์ดแล็ปส์ของฟอร์ติเน็ตผู้นำด้านความปลอดภัยเครือข่ายทรงประสิทธิภาพได้รายงานภัยคุกคามระหว่าง 1 มกราคม - 31 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พบมัลแวร์บนโมบายเพิ่ม 30% พบตัวอย่างใหม่ 1,300 แบบต่อวัน

 

พบมัลแวร์บนโมบายพุ่งสูงขึ้น

 

                ศูนย์ฟอร์ติการ์ดแล็ปส์พบมัลแวร์บนโมบายเพิ่ม 30% และพบตัวอย่างใหม่เกิดขึ้น 1,300 แบบต่อวัน โดยทีมงานกำลังติดตามตระกูลมัลแวร์บนแอนดรอยด์กว่า 300 ตระกูลบนตัวอย่างที่น่าสงสัยถึง 250,000 ตัวอย่าง

 

               
การนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในงานยังมีภัย

 

                แอคเซล แอปฟริล นักวิจัยแอนตี้ไวรัสอาวุโสแห่งศูนย์ฟอร์ติการ์ดแล็ปส์กล่าวว่า “3 ปีที่แล้ว ผู้ใช้งานและองค์กรธุรกิจยังไม่ให้ความสนใจกับโมบายมัลแวร์เท่าใดนัก เนื่องจากเป็นพวกที่เรียกว่า แอนนอยแวร์ (Annoyware) เช่น ไวรัส Cabir ที่เข้ามารบกวนเปลี่ยนไอคอนบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต แต่ในปัจจุบัน ผู้ใช้งานนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในงาน มีมากขึ้น จึงเกิดโมบายมัลแวร์กระจายมากขึ้นเช่นกัน"

 

พบซิมเบียนเป็นจุดเริ่ม

 

                ในปี 2552 พบโมบายมัลแวร์ส่วนใหญ่มุ่งคุกคามที่ระบบปฏิบัติการซิมเบียนซึ่งในขณะนั้น ไอโอเอส และ แอนดรอยด์ ยังถือว่าใหม่ในตลาดอยู่ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสความนิยมสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบซิมเบียนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ยอดขายสมาร์ทโฟนของแอปเปิล ที่ใช้ระบบปฏิบัติการไอโอเอส และสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพิ่มขึ้นมาก จนกลายเป็นเจ้าตลาด ทำให้ผู้ไม่หวังดีหันมาเจาะระบบปฏิบัติการทั้งสองแบบมากขึ้นและเห็นได้ชัดเจนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

 

               
สมรภูมิภัยคุกคามในปี 2556 เปลี่ยนไป

 

                ในปีค.ศ. 2013 สมรภูมิภัยคุกคามเปลี่ยนไปอย่างมาก อันเป็นผลจากความนิยมของแอนดรอยด์โอเอสของค่ายกูเกิลในตลาด อาชญากรทางไซเบอร์จึงใช้แพลตฟอร์มนี้กระจายภัยคุกคามเช่นกัน

                มร.ริชาร์ด เฮนเดอร์ นักยุทธศาสตร์การรักษาความปลอดภัยของฟอร์ติการ์ดแล็ปส์ กล่าวถึงจุดเริ่มภัยคุกคามที่โมบายโฟนว่า "ย้อนกลับไปเมื่อปี 2555 เราพบว่า Ransomware ได้รับความสำเร็จในการสร้างรายได้ให้แก่อาชญากรไซเบอร์อย่างไม่น่าเชื่อ ก็ไม่แปลกใจที่พวกเขาได้หันความสนใจของพวกเขาไปยังอุปกรณ์มือถือ โดยมัลแวร์ Defender ปลอมบนแอนดรอยด์ จะแสร้งทำเป็นซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสที่ไม่มีพิษภัย แต่ในความเป็นจริง มันฝังตัวรอคอยที่จะเปิดตัวในรูปแบบที่แท้จริงของมัน มัลแวร์ชนิดนี้จะล็อกโทรศัพท์ของเหยื่อให้ใช้งานไม่ได้ แล้วจะเสนอข้อเรียกร้องให้จ่ายเงินก่อนที่จะปลดล็อกอุปกรณ์ ความจริงคือเมื่อโทรศัพท์ถูกล็อก เหยื่อมีโอกาสอาจสูญเสียภาพถ่ายและข้อมูลทั้งหมดของเขา นอกเสียจากว่า เหยื่อได้เคยสำรองข้อมูลเต็มรูปแบบที่อื่นๆ ไว้แล้ว"

 

นอกจากนั้นยังพบภัยใน Acrobat/Acrobat Reader มากมาย

 

                ในเดือนกุมภาพันธ์ พบการคุกคามที่อาศัย อะโดบี รีดเดอร์ (เวอร์ชั่น 9.5.X, 10.1.X, and 11.0.X) มากมายและบนไมโครซอฟท์วินโดว์สเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งรวมถึง วินโดว์ส 7 รุ่น 64-bit และระบบ OS X ของแอปเปิล ทั้งนี้ ผู้ไม่ประสงค์ดีใช้ช่องโหว่ในไฟล์พีดีเอฟ (Exploit PDF) เป็นเครื่องมือในการติดตั้งมัลแวร์ลงในเครื่องเป้าหมายที่ต้องการ ถึงแม้ว่าอะโดบีจะออกแพทช์ให้แก่ อะโดบี รีดเดอร์แล้ว แต่ยังพบว่าผู้ไม่ประสงค์ดียังใช้พยายามเวอร์ชั่นที่เป็น Repackaged versions ของกระบวนการแก้ไขทางออนไลน์มาคุกคามอยู่ ซึ่งทำให้มีภัยคุกคามเข้าทางช่องโหว่อยู่และผู้ที่ไม่ได้ใช้แพทช์ยังมีความเสี่ยงอยู่
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)