By: Toshi Nakamura ภิกษุทั้งหลาย !
สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด.
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กระทำกรรมใดไว้ดีก็ตามชั่วก็ตาม
จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ :-
ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต
วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย
ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย
เขาไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) กาย
ไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) วาจา
ไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) ใจ
กายกรรมของเขาตรง
วจีกรรมของเขาตรง
มโนกรรมของเขาตรง
คติของเขาตรง อุปบัติ (การเข้าถึงภพ) ของเขาตรง.
ภิกษุทั้งหลาย ! สำหรับผู้มีคติตรง
มีอุปบัติตรงนั้น
เรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาคติสองอย่างแก่เขา
คือ เหล่าสัตว์ผู้มีสุขโดยส่วนเดียว
หรือว่าตระกูลอันสูง
คือตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณ์มหาศาล
หรือตระกูลคหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
มีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์มาก.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภูตสัตว์ ย่อมมีด้วยอาการ
อย่างนี้ คือ อุปบัติ ย่อมมีแก่ภูตสัตว์
เขาทำกรรมใดไว้
เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น
ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้อง
ภูตสัตว์นั้นผู้อุปบัติแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่าสัตว์ทั้งหลายเป็น
ทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.
(
ในกรณีแห่งบุคคลผู้ไม่กระทำอทินนาทาน ไม่กระทำ
กาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณี
ของผู้ไม่กระทำปาณาติบาต ดังกล่าวมาแล้วข้างบนทุกประการ
และยังได้ตรัสเลยไปถึง..
วจีสุจริตสี่ มโนสุจริตสาม ด้วยข้อความอย่างเดียวกันอีกด้วย)
ทสก. อํ. ๒๔/๓๑๑/๑๙๓.
>>> F/B >> พระพุทธเจ้า