ผู้เขียน หัวข้อ: กรรม  (อ่าน 84400 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
กรรม
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2014, 06:25:47 am »
กรรม   

-http://www.sdsweb.org/sdsweb/index.php/2010-09-04-06-22-40/2010-09-04-10-30-09/89-2010-09-05-09-38-11-

"ชนกกรรม กรรมที่นำให้เกิด, กรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลก็ตามที่เป็นตัวแต่งสัตว์ให้เกิด คือชักนำให้ถือปฏิสนธิในภพใหม่ เมื่อสิ้นชีวิตจากภพนี้"

กรรม การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้อยู่ว่าบ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม)

กรรม ๒ กรรมจำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ มี ๒ คือ
๑. อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล กรรมชั่ว คือเกิดจากอกุศลมูล
๒. กุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศล กรรมดี คือเกิดจากกุศลมูล

กรรม ๓ กรรมจำแนกตามทวารคือทางที่ทำกรรม มี ๓ คือ

๑. กายกรรม การกระทำทางกาย
๒. วจีกรรม การกระทำทางวาจา
๓. มโนกรรม การกระทำทางใจ

กรรม ๑๒ กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ
หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่
๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป
๔. อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล
หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่
๕. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด
๖. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
๗. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า
๘. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว
หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่
๙. ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน
๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา
๑๑. อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น
๑๒. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล

กรรมกิเลส กรรมเครื่องเศร้าหมอง, การกระทำที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง มี ๔ อย่างคือ
๑. ปาณาติบาต การทำชีวิตให้ตกล่วงคือ ฆ่าฟันสังหารกัน
๒. อทินนาทาน ถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้คือลักขโมย
๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาท พูดเท็จ

กุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล,
กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือ
ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เข้ามิได้ให้
๓. กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม
ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
๘. อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา
๙. อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา
๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม

อกุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล,
กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ
ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
๑. ปาณาติบาต การทำลายชีวิต
๒. อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้
๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
๔. มุสาวาท พูดเท็จ
๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
๘. อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา
๙. พยาบาท คิดร้ายเขา
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม;

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2014, 06:26:01 am »
กุศล

-http://www.sdsweb.org/sdsweb/index.php/2010-09-04-06-22-40/2010-09-04-10-30-09/88-2010-09-05-09-35-40-

กุศล บุญ, ความดี, ฉลาด, สิ่งที่ดี, กรรมดี
กุศลกรรม กรรมดี, กรรมที่เป็นกุศล, การกระทำที่ดี คือเกิดจากกุศลมูล

กุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือ
ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เข้ามิได้ให้
๓. กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม

 

ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ

๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
๘. อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา
๙. อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา
๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม

กุศลบุญจริยา ความประพฤติที่เป็นบุญ เป็นกุศล, การทำความดีอย่างฉลาด
กุศลมูล รากเหง้าของกุศล, ต้นเหตุของกุศล, ต้นเหตุของความดีมี ๓ อย่าง คือ
๑. อโลภะ ไม่โลภ (จาคะ)
๒. อโทสะ ไม่คิดประทุษร้าย (เมตตา)
๓. อโมหะ ไม่หลง (ปัญญา)

กุศลวิตก ความตริตรึกที่เป็นกุศล, ความนึกคิดที่ดีงามมี ๓ คือ
๑. เนกขัมมวิตก ความตรึกปลอดจากกาม
๒. อพยาบาทวิตก ความตรึกปลอดจากพยาบาท
๓. อวิหิงสาวิตก ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 26, 2014, 05:41:26 am โดย sithiphong »
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2014, 12:42:10 pm »
บุญ ๑๐ วิธี
-http://www.kanlayanatam.com/sara/sara41.htm-

ตามหลักพุทธศาสนา มีการทำบุญด้วยกัน ๑๐ วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ) คือ

๑. ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย) การให้ทานเป็นการช่วยขัดเกลาความเห็นแก่ตัว ความคับแคน ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไปก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดยส่วนรวม

๒. รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิกความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นเป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงามและพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ

๓. เจริญภาวนา ก็เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนาเป็นการพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ผู้ที่ภาวนาอยู่เสมอย่อมเป็นหลักประกันว่า จิตจะมีความสงบ ชีวิตมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น

๔. อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้น้อยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรมรวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกันทั้งในความคิด ความเชื่อและวิถีปฏิบัติของบุคคลและสังคมอื่น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ (อปจายนมัย)

๕. ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง ช่วยเหลือสละแรงกาย เพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็เป็นบุญ (ไวยาวัจจมัย)

๖. เปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำบุญกับเรา หรือในการทำงานก็เปิดโอกาสให้คนอื่นมีส่วนร่วมทำ ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ (ปัตติทานมัย)

๗. ยอมรับและยินดีในการทำความดี หรือทำบุญของผู้อื่น การชื่นชมยินดีหรืออนุโมทนาไม่อิจฉาหรือระแวงสงสัยในการกระทำความดีของผู้อื่น ก็เป็นบุญ (ปัตตานุโมทนามัย)

๘. ฟังธรรม บ่มเพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดีมีประโยชน์ต่อสติปัญญา หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมสวนมัย)

๙. แสดงธรรม ให้ธรรมะและข้อคิดที่ดีกับผู้อื่น แสดงธรรมนำธรรมะไปบอกกล่าว เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงามก็เป็นบุญ (ธรรมเทศนามัย)

๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้องและเหมาะสม มีการปรับทิฏฐิ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญ ถือเป็นบุญด้วยเช่นกัน (ทิฏฐุชุกรรม)

ทิฏฐุชุกรรมหรือสัมมาทัศนะ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำบุญทุกชนิดและทุกโอกาส จะต้องประกบและประกอบเข้ากับบุญกิริยาวัตถุข้ออื่นทุกข้อ เพื่อให้งานบุญข้อนั้น ๆ เป็นไปอย่างถูกต้องตามความหมายและความมุ่งหมาย พร้อมทั้งได้ผลถูกทาง

การทำบุญ ๑๐ ประการนี้ สามารถสรุปเป็นข้อความคล้องจองกันว่า

๑. แบ่งปันกันกิน             ๒. รักษาศีล คือ กาย วาจา

๓. เจริญสมาธิภาวนา       ๔. กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม

๕. ยอมตนรับใช้              ๖. แบ่งให้ความดี

๗. มีใจอนุโมทนา            ๘. ใฝ่หาฟังธรรม

๙. นำแสดงออกไม่ได้เว้น  ๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้อง


-------------------------------------------------------



บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ

บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ
-http://www.youtube.com/watch?v=_Ch27L0FcM4-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2014, 12:45:19 pm »

บุญ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D-

บุญ คือสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจสงบทำให้เลือก คิดเฉพาะสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่ควร ที่เป็นประโยชน์ แล้วพูดดี ทำดี ตามที่คิดนั้น

คนทั่วไปแม้จะมองไม่เห็น "บุญ" แต่ก็สามารถรู้อาการของบุญ หรือผลของบุญได้ คือเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตใจชุ่มชื่นเป็นสุข

ในอรรถกถากล่าวถึงเผื่อแผ่บุญไว้ว่าสามารถเผื่อแผ่เพิ่มให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่มีประมาณ เปรียบได้กับการจุดเทียนส่งต่อไปเรื่อย ๆ คือผู้จุดก็มีความสว่างอยู่ตามเดิม และความสว่างยังเพิ่มไปอีกกว้างขวางได้[1]
วิธีทำบุญ

วิธีการทำบุญในพระพุทธศาสนาเรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ในพระไตรปิฎกระบุไว้ 3 อย่าง ได้แก่

    [[ทานมัย คือการบริจาคทรัพย์สิ่งของแก่ผู้ที่ควรให้
    ศีล คือการสำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น
    ภาวนา คือการสวดมนต์ ทำสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ ฯลฯ

คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย ขยายความเพิ่มอีก 7 ประการ ได้แก่

    อปจารยะ คือมีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม
    เวยยาวัจจะ คือการขวนขวายช่วยเหลือในกิจที่ชอบ
    ปัตติทานะ คือการอุทิศส่วนบุญต่อผู้อื่น
    ปัตตานุโมทนา คือการอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำ
    ธัมมัสสวนะ คือการฟังธรรม
    ธัมมเทสนา คือการแสดงธรรม
    ทิฏฐุชุกัมม์ คือการปรับปรุงความคิดเห็นของตนให้ถูกต้อง

จึงรวมเป็น บุญกิริยาวัตถุ 10
อ้างอิง

    อรรถกถาพระไตรปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต อรรถกถาสูตรที่ ๕ ประวัติพระอนุรุทธเถระ . อรรถกถาพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [1]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 1-7-52

แหล่งข้อมูลอื่น

    มงคลชีวิต 38 ประการ
    การทำบุญในวันเข้าพรรษา และออกพรรษา



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2014, 10:17:24 am »
ผมขอรวบรวมเรื่องราวของ "กรรม"  ที่ผมสนใจ จะรวมเป็นลิงค์ เพื่อง่ายกับการติดตามอ่านครับ


บุพกรรมของพระพุทธองค์ (องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,711.0.html-




บุพกรรมของพระอัครสาวก

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,5665.0.html-




บุพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะ

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,5658.0.html-




บุพกรรมของพระสิวลี

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,5660.0.html-




บุพกรรมขององคุลีมาล

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,5659.0.html-




ระวัง....การล่วงเกิน "ผู้มีธรรม"

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,6654.0.html-




มุสาวาท

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9826.0.html-









แผนที่นรกดูซะ กันหลงทาง

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,708.0.html-




พิภพมัจจุราช (พญายมราชเจ้า)

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,709.0.html-




กฎแห่งกรรม ตอน ผู้ผ่านยมโลก

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9790.0.html-




ความเชื่อเรื่องกรรมโดยพระธรรมปิฎก

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,710.0.html-




กรรมฐานแก้กรรมได้อย่างไร ?

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,5667.0.html-




-----------------------------------------------------------------------------


ความเห็นส่วนตัวผม สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ


กฎใดๆในโลกนี้  หากกฎที่ตั้งขึ้นโดย"คน"  ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย  , กฎระเบียบใดๆของหน่วยงานต่างๆ  หรือ กฎของกู (กฎนี้มักเป็นกับคนที่มีอำนาจที่มักหลงระเริงกับอำนาจที่ตนเองมีอยู่ และนำอำนาจที่มีอยู่  ไปกระทำกับผู้ใต้บังคับบัญชาโดยไม่ถูกต้องกับกฎแห่งกรรม) 

หากขัดกับ "กฎแห่งกรรม" ที่พระพุทธองค์ทรงมีพระเมตตาสั่งสอนเวนัยสัตว์โลก เพื่อให้พ้นทุกข์ 

กฎนั้นๆ  ต้องเป็นโมฆะ  ผู้ที่กระทำผิดในเรื่อง "กฎแห่งกรรม"  ต้องได้รับผลของกรรม

ส่วนคนที่มีอำนาจ ที่มีกฎของกูเป็นที่ตั้ง  มักจะไม่เชื่อในกฎแห่งกรรม  ดังนั้น  ผมพยายามให้คนเหล่านี้  ปรามาส "ผู้มีธรรม"  ซึ่งทำให้คนเหล่านี้  มีกรรมเพิ่่มขึ้นไปอีกนอกเหนือจากกรรมที่ได้กระทำกับผู้ใต้บังคับบัญชา  จะได้ไปอยู่ในนรก ให้นานแสนนาน  จะได้เรียนรู้ว่า "กฎของกู"  ไม่ได้อยู่เหนือ "กฎแห่งกรรม"

ส่วนหนทางไปนรก  ไม่ต้องดู  เพราะจะมีท่านผู้ที่มีหน้าที่ นำพาคนเหล่านี้  ไปนรกเอง


"กรรม" เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนมาก  มีเรื่องราวมากกว่าที่ผมนำมาโพสให้อ่านกันอีกมากมายมหาศาล  จึงควรระมัดระวังในการกระทำของตนเองให้มากที่สุด


โมทนา
sithiphong





















คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 06, 2014, 09:56:33 am »
ผู้ที่ไม่เชื่อในกฎแห่งกรรม 

มันผู้นั้น เป็นผู้ที่ด่า(ทางอ้อม)องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระอรหันต์ , พระมหาโพธิสัตว์ หรือ พระโพธิสัตว์ และ พระภิกษุผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ ว่า ธรรมะที่สอนกับเวไนสัตว์โลกทั้งหลาย ว่า โกหก

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 06, 2014, 10:28:56 am »
รูปนี้ ผมทำขึ้นจากรูปที่ผมไปกราบพระตามวัดต่างๆ  ผมนำเรื่อง บุญกริยาวัตถุ 10 นำมาลงไว้ด้วยครับ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรม
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 06, 2014, 10:30:19 am »
รูปนี้ ผมทำขึ้นจากรูปที่ผมไปกราบพระตามวัดต่างๆ  ผมนำเรื่อง บุญกริยาวัตถุ 10 นำมาลงไว้ด้วยครับ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรม
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กันยายน 06, 2014, 10:30:43 am »
รูปนี้ ผมทำขึ้นจากรูปที่ผมไปกราบพระตามวัดต่างๆ  ผมนำเรื่อง บุญกริยาวัตถุ 10 นำมาลงไว้ด้วยครับ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรม
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กันยายน 06, 2014, 10:31:10 am »
รูปนี้ ผมทำขึ้นจากรูปที่ผมไปกราบพระตามวัดต่างๆ  ผมนำเรื่อง บุญกริยาวัตถุ 10 นำมาลงไว้ด้วยครับ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)