ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญญา ใน พระพุทธศาสนามี ลักษณะ อย่างไร?  (อ่าน 2145 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



[๑๖] ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ปัญญา อันรู้เห็นตาม เป็นจริงของเราใน อริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓
มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมด จดดีแล้ว เพียงใด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรายังยืนยัน ไม่ได้ว่า
เป็นผู้ตรัสรู้ สัมมาสัม โพธิญาณ อันยอด เยี่ยมในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญา อันรู้เห็นตาม เป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้
มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึง ยืนยันได้ว่า
เป็นผู้ตรัสรู้ สัมมาสัม โพธิญาณ อันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณะ พราหมณ์ เทวดาและ มนุษย์.

อนึ่ง ปัญญาอัน รู้เห็นได้เกิดขึ้น แล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษ ของเราไม่ กลับกำเริบ ชาติ
นี้เป็นที่สุด ภพใหม่ ไม่มีต่อไป.
ก็แล เมื่อพระผู้มี พระภาคตรัส ไวยากรณ ภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี
ปราศจาก มลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่ง หนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับ เป็นธรรมดา.
                      *****************************

การรู้แจ้ง อริยสัจจธรรม มรรคจิต ย่อมรู้ อริยสัจจ์ทั้ง ๔
ด้วยญาณ ๓ คือ สัจจญาณ กิจญาณ กตญาณ ฉะนั้นที่ว่าวน ๓ รอบ ก็คือ
การรู้ อริยสัจจ์ ๔ รู้ด้วย สัจจญาณ ๑ รอบ
รู้ด้วย กิจญาณ ๑ รอบและ กตญาณ ๑ รอบ
ในธรรมจักร จึงมีว่า วน ๓ รอบมีอาการ ๑๒

.......................................................
การจะดับกิเลสได้ ถึงความเป็น พระอริยบุคคล ต้องเป็น
เรื่อง ของปัญญา อย่างแท้จริง
ดังนั้น การรู้ความจริง ในอริยสัจ 4 ก็เป็น ปัญญาเช่นกัน
การถึงการ ดับกิเลสได้ ก็ต้องเป็นปัญญา
เข้าใจอริยสัจ 4 อย่างถูกต้อง แจ่งแจ้ง ซึ่งปัญญา ในการรู้
อริยสัจ 4 ตามความเป็นจริง มี 3 ซึ่งมีแสดงไว้ ในพระไตรปิฎก คือ

สัจจญาณ กิจญาณ และ กตญาณ
สัจจญาณ คือ ปัญญาที่รู้ ความจริงใน อริยสัจ 4 เช่น รู้ว่านี้ทุกข์
รู้ด้วยปัญญา ด้วยความมั่นคงว่า ทุกข์ คือ สภาพธรรมที่ มีจริงในขณะนี้
ไม่ใช่เพียง ความปวดเมื่อยเท่านั้นแต่เป็น สภาพธรรม ที่มีจริงในขณะ นี้
ที่เกิดขึ้นและดับไป
ปัญญาที่รู้ ความจริงในความเป็นทุกข์อริยสัจ เป็นสัจจญาณ
แต่สัจจญาณจะ มีได้ก็ต้องอาศัย การฟังพระธรรม จนปัญญา มั่นคง เห็นถูกว่า
สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เอง ที่เป็นทุกข์นี่คือสัจจญาณ ในทุกขอริยสัจ

 และปัญญาที่รู้ความจริง ในสมุทัยสัจจะ ว่าเป็น อย่างนี้ คือ รู้ตัณหา โลภะโทสะโมหะ
ตามความเป็นจริง
ว่าเป็นอย่างนี้ โดยสัจจะอื่นๆก็ โดยนัยเดียว คือรู้ใน พระนิพพานใน
ขั้นการฟัง ตามความเป็นจริงและรู้ใน หนทางดับทุกข์ คือ อริยมรรค ตามความเป็นจริง
นี่คือ สัจญาณ ปัญญา ในอริยสัจ 4
ซึ่งสัจจญาณ ก็มีหลายระดับ ตามระดับปัญญา
กิจญาณ คือ ปัญญาที่รู้หน้าที่ กิจที่ควรทำใน อริยสัจ 4 เช่น ปัญญาที่รู้ว่า ทุกขอริยสัจ
ควรกำหนดรู้ รู้ว่าสภาพธรรม ที่มีจริงในขณะนี้ ควรกำหนดรู้ รู้ด้วยปัญญา ที่สติปัฏฐาน
เกิดรู้ความจริงในขณะนี้ของ สภาพธรรมว่า เป็นธรรมไม่ใช่เรา

 ดังนั้นจึง ไม่มีเราที่ไป กำหนดรู้ แต่เป็นหน้าที่ ของปัญญาว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ คือ
ปัญญาเกิด รู้ความจริงของสภาพธรรม นั่นเอง ขณะที่ สติปัฏฐานเกิด รู้ความจริงของ
สภาพธรม และปัญญาที่เป็นระดับ วิปัสสนาญาณ เป็นต้น เป็นกิจญาณ ในทุกขอริยสัจ
ปัญญาที่รู้ กิจหน้าที่ใน สมุทัยสัจจะ ว่า โลภะ เป็นสิ่งที่ควรละ ด้วยปัญญา ระดับสูง
เป็นกิจญาน ในสมุทัยสัจจะ ปัญญาที่รู้ ความจริงใน นิโรธสัจจะ คือ รู้ความจริง ว่าควร
ทำให้แจ้ง ให้ถึงพระนิพพาน ด้วยปัญญา ระดับสูง เป็นกิจญาน ในนิโรธสัจจะ
ปัญญาที่รู้ตาม ความเป็นจริงว่า หนทางใน การดับกิเลส คือ สติปัฏฐาน 4 อริยมรรค
ควรเจริญ ควรอบรมให้มาก ปัญญารู้เช่นนี้ เป็นกิจญาณ ในอริยสัจข้อสุดท้าย ที่เป็นหน
ทางดับกิเลส นั่นคือ มรรคอริยสัจจะ

กตญาณ คือ ปัญญาที่ รู้แจ้งในกิจ ที่ได้ทำแล้ว ในอริยสัจ 4 ตามความ เป็นจริง อัน
หมายถึง การบรรลุธรรม ดับกิเลสได้นั่นเอง
ดังนั้นปัญญา 3 ระดับ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ ในอริยสัจ 4 จึงหมายถึง
การวนรอบ 3 มีอาการ 12 คือ ปัญญาที่ สัจจญาณ รู้ในอริยสัจ 4 ในทุกข์ สมุทัย นิโรธ
มรรค (สัจจญาณ x อริยสัจ 4 = 4)
กิจญาณ ปัญญาที่รู้ใน อริยสัจ 4 (กิจญาณ x อริยสัจ 4 = 4 )
กตญาณ ปัญญาที่รู้ใน อริยสัจ 4(กตญาณ x อริยสัจ 4 = 4)
ปัญญา 3 อย่าง 3 รอบ (สัจจญาณ กิจญาณ กตญาณ) ในแต่ละ อริยสัจ ในอริยสัจ 4 จึง
เป็นอาการ 12

การรู้แจ้ง อริยสัจจ์ มีญาณ วน ๓ รอบ อาการ ๑๒ คือ
รู้ทุกข อริยสัจจ์ ด้วย สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ
รู้สมุทัย อริสัจจ์ ด้วย สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ
รู้นิโรธ อริยสัจจ์ ด้วย สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ
รู้มรรค อริยสัจจ์ ด้วย สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ
แต่ละสัจจะ มีวน ๓ รอบ สัจจทั้งหมด มี ๔ จึงมีอาการ ๑๒

...............................................



ปัญญา เกิดจาก ความเฝ้าดู เฝ้าเห็น เฝ้ารู้ (สัมมาทิฐิ) และ
การเฝ้าสังเกต พิจารณา (สัมมาสังกัปปะ) สัจจธรรม ความจริง และ สิ่งต่างๆ

ปัญญา ใน พระพุทธศาสนามี ลักษณะ อย่างไร?
ปัญญาใน พระพุทธศาสนามี 3 คือ
1.สุตตมย ปัญญา ปัญญา ความรู้ จาก การฟัง การศึกษา
2.จินตมย ปัญญา ปัญญา ความรู้ จาก การคิด นึก พิจารณา
3.ภาวนามย ปัญญา ปัญญา ความรู้จาก การสังเกต ลงมือทำจริง
การรู้ ความจริง ครั้งแรก เป็น ปัญญา แล้วจะเก็บ สิ่งที่รู้นั้นไว้ใน สัญญา
ความรู้ใน เรื่องเดิมนั้น ครั้งที่ 2 เป็นสัญญา
ความคิดนึก ปรุงแต่ง ทั้งหมดเป็น ไปด้วย อำนาจของ สัญญา ทั้งสิ้น
ปัญญา หมายถึง ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความเข้าใจ, ความรู้แจ้ง คือ ความรอบรู้ทั้ง ตนเอง และ
วิชาการ ต่าง ๆ สิ่งแวดล้อม สังคม และ ความเป็นไป ของโลก อย่างชัดเจน

กระบวนการที่ ทำให้เกิด ปัญญา มี 3 วิธีคือ
1. สุตมย ปัญญา คือ ปัญญาเกิด จากการฟัง อันได้แก่ ฟังการอบรม ฟังการบรรยาย ฟังการอภิปราย ฟังการเสวนา ฟังการระดม สมอง การอ่านตำรา หรือ เอกสารต่าง ๆ การได้ดูได้ฟัง จากสื่อต่าง ๆ เป็นต้น

2. จิตตามย ปัญญา คือ ปัญญาเกิด จากความคิด เป็นความคิดที่ เป็นระบบถูกต้อง ความคิดที่ ละเอียดลึกซึ้ง ความคิด แบบแยบคาย ความคิด รอบด้าน ที่เรียกว่า ความคิด แบบ โยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็น บ่อเกิดแห่ง ความรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมาย

3. ภาวนามน ปัญญา คือ ปัญญา เกิดจาก การอบรม ตนเอง โดยเน้น กระบวนการ ศึกษาจิตและ กายอย่างชัดแจ้ง เข้าใจ ความสัมพันธ์ ระหว่างกาย กับจิต เมื่อทราบว่า ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว ก็ให้การฝึกจิต ควบคุมจิต จนกระทั่งมี ความสงบ สามารถนำ ไปตรึกตรอง เรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่าง แตกฉาน เป็นระบบ สงบ ไม่วุ่นวาย ทำงานได้ผล มีประสิทธิภาพ มีความสุข


-facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 19, 2014, 03:32:24 am โดย ฐิตา »