ผู้เขียน หัวข้อ: คัมภีร์ ภควัทคีตา.. บทเพลงแห่งองค์ภควัน.. (บทเพลงของพระเจ้า)  (อ่าน 24687 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ภควัทคีตา
บทเพลงของพระเจ้า

ภควัทคีตา เป็นชื่อคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู
โดยเฉพาะสำหรับนิกายไวษณพ
หรือผู้ที่ยกย่องพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นพระเจ้าสูงสุด
ชื่อคัมภีร์ ภควัทคีตา (ภควตฺ + คีตา)
แปลว่า "บทเพลง (หรือลำนำ) แห่งพระผู้เป็นเจ้า"
คัมภีร์นี้มิได้มีลักษณะเป็นเอกเทศ คือมิได้แต่งขึ้นมาอย่างโดดเดี่ยวเป็นเล่มเฉพาะ
เหมือนดัง คัมภีร์พระเวท แต่ละเล่ม
แท้ที่จริงเป็นเพียงบทสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคล 2 คน
ซึ่งเป็นข้อความที่แทรกเข้ามาในบรรพที่ 6 (ภีษมบรรพ) แห่ง
มหากาพย์[/b]มหาภารตะ

ในบทสนทนาโต้ตอบดังกล่าวนี้ ฝ่ายที่ถามปัญหาคือพระอรชุน
เจ้าชายฝ่ายปาณฑพแห่งจันทรวงศ์ ซึ่งเป็นผู้นำกองทัพใหญ่
มาทำสงครามแย่งชิงเมืองหัสตินาปุระจากฝ่ายเการพ แห่งจันทรวงศ์เช่นเดียวกัน
ซึ่งมีเจ้าชายทุรโยธน์และกองทัพพันธมิตรมากมาย
เป็นศัตรูคู่สงครามด้วย ฝ่ายที่ตอบปัญหาทั้งหมดและเป็นผู้อธิบาย
ตลอดทั้งเรื่องก็คือ พระกฤษณะ ซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายราชสกุลจันทรวงศ์
สาขายาทพ
ในขณะที่ตอบปัญหาอันล้ำลึกดังกล่าวนั้น พระกฤษณะกำลังทำหน้าที่
เป็นสารถีขับรถศึกให้พระอรชุน บทสนทนาโต้ตอบนี้ถ่ายทอดออกมาโดยสญชัย
ผู้เป็นเสวกามาตย์ของพระเจ้าธฤตราษฏร์ พระราชาพระเนตรบอด
แห่งเมืองหัสตินาปุระ
โดยมหาฤษีวยาสหรือพระฤษีกฤษณไทวปายนเป็นผู้ให้ตาทิพย์แก่สัญชัย
เพื่อแลเห็นเหตุการณ์รบพุ่งในมหาสงครามครั้งนั้นอย่างแจ่มแจ้ง
ทั้งๆ ที่นั่งอยู่ในพระราชวัง และคอยกราบทูล
พระเจ้าธฤตราษฎร์ให้ทราบการเคลื่อนไหวทุกขณะในสมรภูมิ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 1970, 07:00:00 am โดย แก้วจ๋าหน้าร้อน »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



ภควัทคีตา
บทเพลงแห่งองค์ภควัน



คัมภีร์ ภควัทคีตา.. บทเพลงแห่งองค์ภควัน..
(บทที่ ๑ - ๑๘)

(สมภาร พรมทา แปลและเรียบเรียง)
    บทที่หนึ่ง
               ราชาธฤตราษฎร์ตรัสถามว่า
               สัญชัย!  เมื่อกองทหารของเรากับกองทัพฝ่ายปาณฑพเผชิญหน้ากัน ณ ทุ่งราบกุรุเกษตร พวกเขาได้ทำอะไรกันบ้าง
               สัญชัยกราบทูลว่า
               เมื่อทุรโยธน์ทอดพระเนตรเห็นกองทัพปาณฑพเตรียมพร้อมอยู่กลางสนามรบก็เสด็จเข้าไปหาอาจารญ์โทรณะพลางรับสั่งว่า
               ดูนั่นเถิดท่านอาจารย์!  กอบทัพมหึมาของราชบุตรวงศ์ปาณฑุ พวกเขาจัดกระบวนทัพตามแบบบุตรแห่งทรุบท(หมายถึงธฤษฏทยุมัน โอรสของราชาทรุบทแห่งแคว้นปาญจาละ-ผู้แปล) ท่านอาจารย์!  นับว่าศิษย์ของท่านฉลาดมากทีเดียว
               ในกองทัพนั้นมีผู้กล้าในเชิงธนูเสมอด้วยภีมะและอรชุนอยู่หลายคน นั่นคือยุยุธาน, วิราฏและทรุบทนักรบผู้ยิ่งใหญ่

               และนั่น!  ธฤษฏเกตุกับเจกิตานและกษัตริย์นักรบผู้กล้าแห่งแคว้นกาศี ส่วนนั่น!  ปุรุชิต, กุนติโภชและไศพยะ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นจอมแห่งคน
               และนั่น!  ยุธามันยุผู้เข้มแข็งกับอุตตเมาช์ผู้กล้าหาญ บุตรของนางสุภัทรา(หมายถึงอภิมันยุ โอรสของอรชุนที่เกิดจากนางสุภัทรา-ผู้แปล)  ล้วนแล้วแต่เป็นยอดแห่งนักรบ
               ท่านอาจารย์!  สำหรับแม่ทัพและนายทหารที่กร้าวแกร่งและมีฝีมือเป็นเลิศของฝ่ายเรานั้น  มีรายนามดังข้าพเจ้าจะเรียนให้ทราบดังนี้
               คนแรกก็คือท่านอาจารย์เอง คนต่อมาคือภีษมะ, กรณะ และกฤปะ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวนามมาต่างก็เคยผ่านสมรภูมิรบและได้รับชัยมาแล้วอย่าง โชกโชนทั้งสิ้น และนั่น!  อัศวัตถามา, วิกรณะกับบุตรของโสมทัตต์

               นอกแต่นั้นยังมีนักรบผู้กล้าหาญที่พร้อมจะสละชีพเพื่อข้าพเจ้าอีกนับอนันต์ พวกเขามีอาวุธครบครันบริบูรณ์ และทุกคนต่างก็ชำนาญเป็นเลิศในการยุทธทั้งสิ้น
               รี้พลของฝ่ายเราภายใต้การนำของภีษมะมีจำนวนมหาศาล ส่วนไพร่พลของฝ่ายโน้นที่ภีมะบัญชาทัพอยู่ดูจะเบาบางกว่าฝ่ายเรา
               มาเถิดท่านทั้งหลาย!  มาช่วยกันสนับสนุนภีษมะแม่ทัพกล้าของฝ่ายเรา!  ผู้ใดอยู่ในตำแหน่งใด ก็ขอให้ตั้งมั่นในตำแหน่งของตนเถิด!

               ฝ่ายภีษมะนักรบผู้เฒ่าแห่งวงศ์กุรุ เพื่อจะยังความฮึกเหิมให้เกิดทุรโยธน์ จึงบันลือสีหนาทกึกก้องแล้วเป่าสังข์เสียงหวีดกังวาน
               ทันใดนั้น บรรดาสังข์, กลอง, บัณเฑาะว์, กลองศึกและเขาสัตว์ก็กระหึ่งเสียงประสานรับอื้ออึง
               และทันทีที่ยุทธมโหรีกระหึ่งก้อง กฤษณะกับอรชุนซึ่งนั่งอยู่บนรถศึกเทียมด้วยม้าสีขาวก็ยกสังขอันไพเราะ ประหนึ่งสังขทิพยของตนขึ้นเป่า

                     

               กฤษณะเป่าสังข์ปาญจชันยะ อรชุนเป่าสังข์เทวทัตตะ ส่วนภีษมะเป่ามหาสังข์เปาณฑระ
               ยุธิษฐิระเป่าสังข์อนันตวิชัย นกุละเป่าสังข์สุโฆษ ส่วนสหเทพนั้นเป่าสังชื่อมณีบุษบก
               ราชาแห่งแคว้นกาศีผู้เชี่ยวชาญเป็นเลิศในศิลปะการยิงธนูก็ดี ศิขัณฑี ผู้เป็นจอมแห่งนักรบทั้งหลายก็ดี ธฤษฏทยุมันและวิราฏ พร้อมทั้งสาตยกิผู้ไม่เคยพ่ายใครทั้งสามนี้ก็ดี
               ทุรบทก็ดี บุตรของนางเทราปทีทั้งห้าก็ดี บุตรของนางสุภัทราก็ดี ทั้งหมดต่างเป่าสังข์ของตนเสียงดังอึงอลทั่วทั้งสนามรบ

               ยุทธมโหรีนั้นกึกก้องไปทั่วแผ่นดินและผืนฟ้า ยังหทัยของเหล่าราชบุตรแห่งธฤตราษฎรราชาระรัวสั่นด้วยเพลงสงครามนั้น
               ข้างฝ่ายอรชุนเมื่อมองเห็นทัพของฝ่ายเการพประชิตเข้ามาจวนเจียนจะปะทะกันด้วย อาวุธเช่นนั้น ก็ยกธนูขึ้นสายเตรียมท่าจะยิง
               แล้วอรชุนก็หันไปตรัสกับกฤษณะผู้ทำหน้าที่สารถีว่า
               นี่แน่ะสหาย! โปรดเคลื่อนรถของเราให้เข้าไปอยู่ระหว่างกองทหารทั้งสองฝ่ายทีเถิด

               เพื่อว่าเราจะได้เห็นพวกกระหายสงครามเหล่านั้นได้ชัดเจนและจะได้รู้ว่าใคร กันที่เราจะสัประยุทธ์ด้วยในมหาสงครามครั้งนี้
               เราอยากจะดูว่าใครบ้างมารวมกันอยู่ที่นั่นเพื่อสนับสนุนทุรโยธน์ผู้ใจบาป
               เมื่ออรชุนกล่าวเช่นนั้น กฤษณะก็เคลื่อนนรถศึกเข้าไปหยุดอยู่ระหว่างกองทัพทั้งสอง
               เบ้องหน้าของอรชุนยามนั้นคือภีษมะ, โทรณาจารย์ พร้อมเหล่าราชวงค์และขุนศึกฝ่ายเการพ

               แล้วกฤษณะก็ตรัสแก่อรชุนว่า
               ดูนั่นอรชุน!จงดูวงค์กุรุที่มาชุมนุมกันอยู่ข้างหน้านั่น!
               อรชุนเห็นภาพเช่นนั้นก็พลันบังเกิดความสะเทือนใจอย่างแรง ลั่นวาจาออกมาว่า
               กฤษณะ! เราได้เห็นญาติพี่น้องที่มาชุมนุมกันด้วยความกระหายอยากในการเข่นฆ่าแล้ว!
               แขนขาของเราอ่อนล้าเหลือเกิน ปากของเราแห้งผาก ตัวเราสั่น ขนตามตัวของเราลุกชันด้วยความสยดสยอง

  นั่น! คาณฑีวะธนูศึกของเราร่วงจากมือเราแล้ว ตัวเราร้อนผ่าวไปหมดแล้ว เราจวนเจียนจะทรงกายอยู่ไม่ไหวแล้ว หัวใจเรามันจะหยุดเต้นแล้วเพื่อนเอ๋ย
  กฤษณะ! เรามองเห็นลางร้ายเสียแล้วเวลานี้ มันจะม่เป็นนิมิตร้ายได้อย่างไรเล่าในเมื่อญาติพี่น้องพากันยกทัพมาเพื่อ เข่นฆ่ากันเองเช่นนี้
  กฤษณะเอ๋ย! เราไม่ต้องการชัยชนะ ไม่ต้องการความเป็นเจ้า หรือความสุขที่ต้องแลกมาด้วยเลือด จะมีประโยชน์ใดเล่ากับสิ่งทเหล่านี้หรือแม้แต่ชีวิต
  มิใช่เพราะความกระหายอยากในราชทรัพย์ ความมั่งคั่ง และความสุขดอกหรือที่พี่น้องร่วมสายเลอดต้องหันหน้าเข้าเข่นฆ่ากันอยู่เวลา นี้
  นั่นครูของเรา! นั่นบิดาเรา! นั่นบุตรของเรา!นั่นปู่เรา!นั่นลุงของเรา! นั่นพ่อตาเรา! นั่นหลานเรา! นั่นน้องเขาของเรา! และนั่นก็ล้วนแต่ญาติมิตรของเราทั้งสิ้น!

  เราถึงจะถูกเข่นฆ่าก็ไม่ปรารถนาจะทำร้ายพี่น้องร่วมสายเลือด ต่อให้เอาสมบัติในไตรโลกมาเป็นรางวัล ก็อย่างหมายว่าเราจะยอมเอาเลือดของพี่น้องเข้าละเลงแลกมา
  ฆ่าฟันพี่น้อง จะมีความสุขใดตามมาหรอ จะมีก็แต่ผลกรรม อันเป็นบาปเท่านั้นตามติดเราไป
  อย่างนี้แล้ว เรายังจะคิดประหัตประหารกันและกันอยู่หรือ บอกหน่อยซิสหาย! หากเราฆ่าพี่น้องของเราด้วยมือเราแล้ว เรายังจะมีสุขอยู่หรือ!

  เวลานี้พี่น้องเราถูกความละโมบเข้าบดบังดวงตา ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะมองไม่เห็นโทษของการทำลายวงศ์ตระกุลและญาติมิตร
  แต่เราสิสหาย เรานั้นเห็นโทษภัยดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง ก็ไฉนเราจึงไม่เลี่ยงจากบาปนั้นเล่า
  การทำลายวงศ์สกุลก็เท่ากับการทำลายกุลธรรมอันมีมาแต่โบราณและเมื่อธรรมถูก ย่ำยี มีหรือที่อธรรมจะไม่ครอบงำวงค์ตระกุลนั้น
  เมื่ออธรรมเติบใหญ่ สตรีในตระกูลก็จะพากันเลวลง เมื่อสตรีเลวลง วรรณะก็ย่อมจะพลอยมัวหมอง
  ผู้ทำให้วรรณะมัวหมองย่อมไม่พ้นจากนรก แม้กระทั่งบรรพบุรุษของคนผู้นั้นที่ล่วงลับไปแล้วก็ต้องพลอยลำบากเพราะไม่มี ผู้คอยอุทิศข้าวและน้ำไปให้ในปรภพ

  อนึ่งเล่า การที่วรรณะมัวหมองก็เท่ากับเป็นการทำลายชาติธรรมและกุลธรรมให้พินาศ
  กฤษณะ! เราเคยฟังมาว่ามนุษย์ผู้มีกุลธรรมอันพินาศแล้วย่อมทนทุกขอยู่ในขุมนรกตราบชั่วนิรันดร์
  โอ! นี่มิใช่บาปมหันต์ดอกหรือที่เราจะมาฆ่าฟันญาติพี่น้องเพื่อแย่งชิงกันเสวยสุขในราชสมบัติ
  หากว่าราชบุตรเการพสามารถสังหารเราผู้ไม่คิดตอบโต้และปราศจากอาวุธในมือได้
  เราจะไม่เสียใจอันใดเลย!
   เมื่ออรชุนกล่าวจบก็ทรุดตัวนั่งลงบนรถศึก ทิ้งธนูและลูกศรออกไป หทัยท่วมท้นด้วยความโศกสะเทือน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 1970, 07:00:00 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



ภควัทคีตา
บทเพลงแห่งองค์ภควัน

สมภาร พรมทา แปลและเรียบเรียง

บทที่สอง
             สัญชัยกราบทูลต่อว่า
             เมื่อราชากฤษณะทอดพระเนตรเห็นอรชุนบังเกิดความท้อถอยเช่นนั้นก็ตรัสขึ้นว่า
             อรชุน! เหตุใดท่านจึงทำใจให้หดหู่ในช่วงเวลาคับขันเช่นนี้เล่า ความท้อแท้เช่นนี้น่าจะเป็นวิสัยของอนารยชน หาใช่วิสัยของอารยชนเช่นท่านไม่ มันคือทางปิดกั้นมิให้เราเข้าสู่ประตูสวรรค์ อนึ่งเล่าความท้อถอยนี้แหละที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเกียรติ อย่าเพิ่งท้อแท้ซิอรชุน ความอ่อนแอเช่นนั้นไม่สมควรกับท่านผู้เป็นนักรบเลย จงขจัดความอ่อนแอในจิตใจ แล้วลุกขึ้นสู้เถิดสหาย
             อรชุนตอบว่า
             กฤษณะ!ท่านจะให้เราจับอาวุธขึ้นสังหารท่านภีษมะ และอาจารย์โทรณะที่เราเคารพบูชากระนั้นหรือ!  ฟังนะกฤษณะ! สำหรับเรานั้น การขอทานเขากินย่อมประเสริฐกว่าการฆ่าครูผู้มีคุณ!
การสังหารครูผู้มีพระคุณเพราะความละโมบในทรัพย์และความยิ่งใหญ่ จะต่างอะไรเล่ากับการบริโภคอาหารอันระคนด้วยเลือด แม้เราทั้งสองฝ่ายก็ทีเถิด ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าใครหรือพวกไหนดีเลวกว่ากัน ทั้งการรบก็ไม่อาจพยากรณ์ได้ว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายมีชัย จะให้เราฆ่าพี่น้องร่วมสายเลือด แล้วแสร้งฝืนทำหน้าชื่นมีชีวิตอยู่ต่อไป ข้อนี้เราทำไม่ได้ดอกเพื่อนเอ๋ย

             เวลานี้จิตใจของเราถูกความสงสารครอบงำจนกลายเป็นความอ่อนแอ เราไม่ทราบว่าอะไรคือหน้าที่ของนักรบแล้วยามนี้ เราขอถามท่าน จงตอบเราเถิดว่าเราจะทำอย่างไรดีกับสภาพจิตใจเช่นนี้ ขอท่านจงให้ความกระจ่างแก่เรา โดยถือเสียว่ายามนี้เราคือศิษย์คนหนึ่งของท่านเถิด  เรามืดมนเกินที่จะมองเห็นสิ่งอันจะมาขจัดความเศร้าสลดที่ครอบงำจิตใจได้ ความเป็นใหญ่ในผืนแผ่นดินและไอศูรย์สมบัติในแดนสวรรค์ก็ไม่อาจช่วยเหลือเราได้

             เมื่อกล่าวกับกฤษณะเช่นนั้นแล้ว อรชุนก็ลั่นวาจาสุดท้ายออกมาว่า “เราไม่รบ!”แล้วนิ่งเงียบ
             กฤษณะเห็นเช่นนั้นก็ยิ้มพลางกล่าวขึ้นกับอรชุนว่า
             ใยท่านจึงมัวเศร้าสลดกับสิ่งอันไม่ควรเศร้าสลดเช่นนั้น ถ้อยคำที่ท่านพูดมาทั้งหมดก็น่ารับฟังดีหรอก แต่สมควรหรือที่ผู้มีความคิดจะพึงไปพะว้าพะวงกับความตายหรือการมีชีวิตอยู่

                               
             ไม่ว่าเรา, ท่าน, หรือราชบุตรเการพเหล่านั้น ทั้งหมดไม่มีใครเกิดและไม่มีใครตาย


             อาตมันที่สิงอยู่ในร่างของเราต่างหากที่ลอยล่องผ่านร่างเด็ก, ร่างหนุ่มสาว, และร่างชราของเราไป อาตมันนี้ย่อมจะเข้าสิงอาศัยร่างใหม่เรื่อยไป เมื่อร่างเก่าขำรุดจนใช้งานไม่ได้ ผู้มีปัญญาย่อมไม่คลางแคลงในเรื่องนี้* (โศลกนี้ท่านผู้อ่านพึงทำความเข้าใจให้ดี เพราะนี่คือหัวใจของแนวคิดแบบฮินดูที่ถือว่าขีวิตเป็นเพียงกระแสไหลเวียนของอาตมันอันเป็นอานุภาพที่แยกย่อยออกมาจากปรมาตมันซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งในจักวาล ชีวิตจึงไม่มีการเกิดและการตาย ที่เราสมมติเรียกว่าตายหรือเกิดนั้นเป็นเพียงการเปลี่ยนที่สิงสถิตของอาตมันที่ละร่างเก่าไปหาร่างใหม่ ระหว่างการเวียนว่ายเพื่อเข้าปรมาตมันอันเป็นแดนสงบสูงสุดของชีวิตเท่านั้น-ผู้แปล)

             หนาว, ร้อน, สุข, ทุกข์ ฯลฯ เกิดจาการประจวบกันระหว่างอารมณ์ภายนอกกับการรับรู้ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ไม่แน่นอน นึกจะมามันก็มา นึกจะไปมันก็ไป เพราะฉะนั้น ท่านจงหัดอดทนในสิ่งเหล่านี้เสียบ้างเถิด
             ผู้ที่วางใจให้เป็นปกติเมื่อประสบกับสุขทุกข์ได้ ชื่อว่า ทำขีวิตตนเองให้เป็นอมตะ
             ในอสัตยภาวะ ย่อมไม่มีภาวะแห่งความจริง เช่นกันกับที่ในสัตยภาวะย่อมไม่ปราศจากภาวะแห่งความจริง ผู้ประจักษ์สัจจะย่อมมองเห็นความจริงสองประการนี้
             ขอท่านจงทราบเอาไว้ว่าในสกลจักรวาลนี้มีอานุภาพอย่างหนึ่งแผ่ซ่านอยู่ทั่ว อานุภาพนี้ไม่รู้จักพินาศแตกดับ ไม่มีใครทำลายมันได้ มันคืออาตมัน มันสิงอยู่ในร่างมนุษย์ มันคือภาวะนิรันดรเหนือการพิสูจน์หยั่งรู้
             ใครก็ตามที่คิดว่าอาตมันนี้เป็นผู้ฆ่า หรืออาตมันนี้เป็นผู้ถูกฆ่า คนผู้นั้นไม่รู้ความจริง เพราะอาตมันนี้ไม่เคยฆ่าใคร และใครฆ่าไม่ได้

             อาตมันนี้ไม่เกิด ไม่ตาย เป็นสภาวะนิรันดร เที่ยงแท้ไม่มีแปรเปลี่ยน
             เมื่อร่างกายของคนถูกฆ่า อาตมันหาได้ถูกฆ่าด้วยไม่
             อรชุน! ใครก็ตามที่รู้ซึ้งถึงอาตมันอันเป็นสภาวะนิรัดรไม่รู้จักพินาศแตกดับอย่างนี้แล้ว เขาผู้นั้นจะได้ชื่อว่าฆ่าใครหรือถูกใครฆ่าอยู่หรือ
             อุปมาเหมือนคนถอดเสื้อผ้าที่เก่าชำรุดทิ้งแล้วสวมเสื้อผ้าใหม่เข้าแทน อาตมันก็ฉันนั้น ละร่างเก่าแล้วก็ลอยล่องออกสิงสู่ร่างใหม่
             อาตมันนั้นไม่มีอาวุธหรือศาสตราชนิดใดตัดขาด ไฟก็เผาไหม้ให้พินาศ น้ำก็มิอาจพัดพาให้เปียกละลาย กระทั่งลมก็ไม่สามารถกระพือพัดให้แห้งระเหยไป

             เพราะตัดไม่ขาด เผาไม่ไหม้ ถูกน้ำถูกลมก็ไม่ละลายหรือแห้งเหือด อาตมันจึงชื่อว่าเป็นสภาวะอันนิรันดร แผ่ซ่านอยู่ทุกอณูของจักรวาล ยืนยงไม่รู้จักแปรเปลี่ยนตามกาลเวลา
             อาตมันนี้ไม่ปรากฏให้เห็นแจ่มแจ้ง คิดตามก็ไม่อาจหยั่งทราบทั้งยังเป็นสภาวะอันเที่ยงแท้ชั่วนิตย์นิรันดร์
             อรชุน! รู้อย่างนี้แล้ว ท่านยังจะเศร้าสลดอยู่ไย
             อนึ่งเล่า ท่านก็รู้อยู่ไม่ใช่หรือว่าตนเองต้องเกิดและตายเวียนว่ายอยู่อย่างนั้นไม่รู้จักจบสิ้น ฉะนี้แล้วท่านยังจะท้อแท้อยู่ทำไม
             เมื่อเกิดก็ต้องตาย ตายแล้วก็ต้องเกิด นี่คือสภาพอันแน่นอน ไม่มีใครหลีกเลี่ยงการเกิดและการตายได้ ก็เมื่อเลี่ยงไม่ได้
ไฉนท่านจึงมัวหดหู่กับมันอยู่เล่า
             ชีวิตคนเรานั้น ก่อนก่อเกิดเราก็ไม่ทราบว่ามันมาอย่างไร ครั้นหลังจากตายไปแล้วเราก็ไม่อาจคาดรู้ว่ามันจะไปอย่างไร มีเพียงปัจจุบันของชีวิตเท่านั้นที่เราพอจะรู้และเห็นตามมันได้

             เมื่อเป็นเช่นนี้
เราจะมัวไปกังวลกับชีวิตกันทำไม

             เรื่องราวของอาตมันนี้ใครได้เห็นก็ต้องออกปากว่าน่าอัศจรรย์ ใครได้พูดถึงมันก็พูดถึงด้วยความอัศจรรย์ใจ กระทั่งคนที่รับฟังเรื่องราวของมันก็รับฟังด้วยความอัศจรรย์ แม่เมื่อรับฟังแล้ว ก็ไม่มีใครสักคนรู้จักมัน
             อรชุน! เมื่อรู้ว่าชีวิตมีอาตมันอันเป็นนิรันดรเป็นแก่นแท้เช่นนี้แล้ว สมควรอยู่หรือที่ท่านจะมัวกังวลกับชีวิต
             จงคำนึงถึงหน้าที่ของตนให้มั่นเถิด อย่าได้หวั่นไหวกับสิ่งเหล่านี้เลย
เพราะในโลกนี้ไม่มีความดีอันใดของกษัตริย์เทียบเท่ากับการทำสงครามเพื่อปกป้องความถูกต้อง*นี้ได้เลย (คำว่า “การทำสงครามเพื่อปกป้องความถูกต้อง”นี้ ภาษาสันกฤตท่านใช้ว่า “ธรรมสงคราม”ในโศลกนี้ว่า “หน้าที่”ผู้แปลเห็นว่าทรรศนะของท่านก็น่ารับฟัง หากแต่ที่แปลต่างออกมาเช่นนั้นก็เพราะมีความเห็นว่า คำว่าธรรมสงครามน่าจะหมายเอาการรบที่ทำไป เพื่อพิทักษ์ความถูกต้องซึ่งย่อมจะตรงกันข้ามกับการทำสงครามเพื่อรุกรานอันเป็นสงครามอธรรม-ผู้แปล)


The Universal Form of Sri Krishna, seen by Arjuna before the Battle of Kurukshetra

             อรชุน! กษัตริย์ที่ทำสงครามแล้วได้เสวยสุขอันเกิดจากสงสงครามที่ทำมาด้วยมือนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้เผยประตูสวรรค์ให้แก่ตนเอง
             ถ้าท่านไม่ยอมทำสงครามเพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งความเป็นธรรมครั้งนี้ ก็เท่ากับว่าท่านนั้นได้ละทิ้งหน้าที่และเกียรติของตนเอง การละเลยหน้าที่นั้นจะพาให้ท่านประสบกับบาปกรรม
             คนทั้งหลายจะพากันประณามท่าน ท่านก็เคยฟังมาไม่ใช่หรืออรชุน ว่าสำหรับบุคคลผู้ถือกำเนิดมาในตระกูลที่สูงส่ง เขาย่อมเลือกเอาความตายแทนการมีชีวิตอยู่อย่างในไร้เกียรติและศักดิ์ศรี

             บรรดานายทหารทั้งหลายที่เคยยกย่องท่านว่าเป็นผู้กล้า ก็จะพากันหยามหมิ่นว่าท่านกลัวตายจนต้องลนลานหนีจากสนามรบ
             ทั้งศัตรูเล่าก็จะพากันปรามาสท่านว่าหมดสิ้นความสามารถ จะมีทุกข์อะไรอีกเล่ายิ่งไปกว่าการถูกหยามหยันทั้งจากศัตรูและพวกพ้องเดียวกันเช่นนี้         
             
            รบเถิดอรชุน! เพราะหากท่านตายในสนามรบ สวรรค์ก็ยังเปิดประตูรอท่านอยู่ แม้นหากว่าท่านมีชัย ความเป็นใหญ่ในแผ่นดินก็รอให้ท่านครอบครองอยู่แล้ว
             จงวางใจให้เสมอในสุขและทุกข์ ในลาภและความเสื่อมลาภ ตลอดจนในชัยชนะและความพ่ายแพ้ แล้วเตรียมพร้อมเพื่อการรบเถิด
             ทำได้อย่างนี้ท่านจึงจะปลอดพ้นจากบาป


             หลักคำสอนที่เรากล่าวแก่ท่านนี้เรียกว่าสางขยพุทธิ และต่อไปนี้ ขอท่านจงสดับพุทธิอันอยู่ในฝ่ายโยคปรัชญา
             อรชุน! พุทธิอันได้แก่ความรู้แจ้งในเรื่องโยคะนี้ หากท่านสามารถเข้าถึงย่อมจะพาให้ท่านปลดเปลื้องตัวเองออกจากพันธนาการแห่งกรรมได้หมดสิ้น
             ในปรัชญาโยคะนี้มีหลักปฏิบัติง่ายๆ อยู่คือ ไม่เสียใจกับสิ่งที่สูญเสียไปกับไม่ดีใจในสิ่งที่ได้มา หลักปฏิบัติเพียงเล็กน้อยนี้หากใครสามารถทำตามได้ เขาย่อมสามารถพาตนเองข้ามมหันตภัยแห่งชีวิตอันใหญ่หลวงได้


มีต่อค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 1970, 07:00:00 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



บทที่สอง(ต่อค่ะ)

อรชุน! แท้ที่จริงโยคะคือการกระทำจิตให้บริสุทธิ์นี้ก็คือการรวบรวมความคิดนึกให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เมื่อใดที่ความคิดของเราซัดส่ายเมื่อนั้นจิตย่อมไร้สมาธิ
               ใครก็ตามที่หยังหลงงมงายในอักขระแห่งคัมภีร์พระเวท ใครก็ตามที่ใจแคบกล่าวอ้างว่าสิ่งที่ตนเชื่อถือเท่านั้นถูกต้อง นอกนั้นผิดหมด คนผู้นั้นแม้ใจจะปรารถนาเข้าสู่สวรรค์ สู้บำเพ็ญบุญทานนานาประการก็ยังชื่อว่าเป็นคนโง่อยู่ดี
               จิตของบุคคลผู้ติดข้องในทรัพย์และอาจย่อมไม่อาจตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ฉันใด จิตที่ถูกความงมงายในคัมภีร์ครอบคลุมไว้ ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่ความแน่วแน่ได้ฉันนั้น

               อรชุน! คัมภีร์พระเวทนั้นประกอบด้วยหลักคำสอนใหญ่ๆ อยู่สามประการคือ สัตตวะ, ระชะ, และ ตมะ* (หลักคำสอนสามประการนี้เรียกว่าองค์คุณทั้งสามของพระเวท เป็นหลักคำสอนที่กล่าวถึงธรรมชาติพื้นฐานของชีวิต โดยจำแนกเป็นสัตตวะ-ความดีงาน, รชะ-ความทะยานอยากในทางที่ผิด, และ ตมะ-ความลุ่มหลงมืดบอด ธรรมชาติสามอย่างนี้ศาสนาฮินดูถือว่าเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวคนมาแล้วแต่กำเนิด สัตตวะเป็นธรรมชาติฝ่ายดีงาม สร้างสรรค์, ส่วนรชะกับตมะเป็นธรรมชาติฝ่ายเลวและทำลาย คำอธิบายขององค์คุณทั้งสามนี้มีละเอียดในบทที่ ๑๔ ข้างหน้า หลักคำสอนสามประการนี้ถือเป็นหลักคำสอนในขั้นศีลธรรมเหมือนคำสอนเรื่องกุศลกับอกศลของพุทธศาสนา การจะเข้าถึงหลักธรรมขั้นปรมัตถ์ท่านจึงสอนให้ละเรื่องเหล่านี้เสีย เหมือนที่ชาวพุทธถือกันว่าละบุญละบาปได้จึงจะถึงนิพพาน-ผู้แปล)

               แม้หลักคำสอนสามประการนี้ เมื่อถึงที่สุดแล้วท่านก็จำต้องละเพื่อความบริสุทธิ์ของตนเอง
               จงทำใจให้ข้ามพ้นสภาวธรรมอันเป็นคู่ทั้งหลาย เช่น สุข-ทุกข์, นินทา-สรรเสริญ, หรือ ได้ลาภ-เสื่อมลาภ ฯลฯ เป็นต้นเสีย แล้วหันมายึดเหนี่ยวเอาความผ่องใสของดวงใจเป็นที่พึ่งเถิด
               อุปมาดังบ่อน้ำอันอำนวยประโยชน์แก่ผู้คนก็เนื่องเพราะเหตุที่บ่อนั้นเปี่ยมเต็มด้วยน้ำอันใสสะอาด ประโยชน์แห่งคัมภีร์พระเวทจะมีก็เฉพาะแก่ผู้รู้แจ้งในแก่นแท้แห่งคัมภีร์เท่านั้น
               การบรรลุถึงสัจจะที่ถูกต้องจะมีได้ก็ด้วยการปฏิบัติตามหลักคำสอนเท่านั้น การรอคอยผลโดยไม่ทำการใดๆ ย่อมไม่อาจพาบุคคลเข้าสู่ความจริงได้ เพราะฉะนั้น จงเริ่มลงมือปฏิบัติเถิดอรชุน อย่ามัวนั่งรอผลแห่งกรรมโดยไม่กระทำอะไรเลย
               ขอท่านจงยึดมั่นในโยคะอันได้แก่การทำใจให้บริสุทธิ์เถิด และสำหรับความยึดติดที่ผิดๆ ในตัวตนก็ขอให้ท่านละเสีย จงวางใจให้เป็นกลางทั้งในความสำเร็จและล้มเหลวของชีวิต ทำได้ดังที่ว่ามา ท่านย่อมจะได้ชื่อว่าปฏิบัติครบถ้วนสมบูรณ์ตามหลักแห่งโยคะ แท้ที่จริงนั้นโยคะนี้ก็คือการทำใจให้สม่ำเสมอไม่เอนเอียงในทุกสภาวธรรม ไม่ว่าสภาวธรรมนั้นๆ จะดีหรือเลวก็ตาม
           
               บาป กับ ปัญญา สองอย่างนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
               อรชุน! จงแสวงหาที่พึ่งคือปัญญาเถิด
               บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญาย่อมมองเห็นว่าทั้งความดีและเลวล้วนแต่เป็นสิ่งที่พึงสละทิ้งทั้งสิ้น เพราะเหตุนั้น จงมั่นใจในโยคะเถิดอรชุน เพราะโยคะนี้คือหลักยึดสำหรับช่วยให้เราทำกรรมได้โดยไม่ผิดพลาด
               อนึ่งเล่า ผู้ประกอบด้วยปัญญา สละผลกรรมแล้วย่อมพ้นจากพันธนาการอันได้แก่การเกิด มุ่งหน้าสู่ภูมิอันปราศจากความทุกข์โศกชั่วนิรันดร์

               เมื่อใดก็ตามที่ปัญญาของท่านข้ามพ้นคลื่นปั่นป่วนแห่งทะเลความลุ่มหลง เมื่อนั้นท่านจะหมดสิ้นความสงสัยในสิ่งที่เคยฟังมาก่อนและในสิ่งอันไม่เคยสดับฟัง
               ยามใดที่ปัญญาของท่านแปรปรวนไม่แนบแน่นอยู่ในสิ่งอันได้รับฟังมา, ยามนั้นขอท่านจงตั้งปัญญาให้มั่นด้วยอำนาจแห่งสมาธิ ทำได้อย่างนี้ ท่านจะบรรลุถึงโยคะ


The Beginning of the Battle of Kurukshetra

               อรชุนถามว่า
               กฤษณะ! บุคคลผู้มีปัญญาและสมาธิตั้งมั่นนั้นมีลักษณะเช่นใด คนเช่นนั้นเขาพูด เขานั่ง หรือเขาเดินอย่างไร
               กฤษณะตอบว่า
               อรชุน! บุคคลผู้ละความทะยานอยากทั้งมวลในจิตใจได้หนึ่ง, บุคคลผู้ยินดีในอาตมันของตนหนึ่ง, บุคคลที่มีลักษณะดังว่ามานี้ท่านเรียกว่าผู้มีปัญญาตั้งมั่น
               อนึ่ง ผู้ไม่หวั่นไหวในคราวประสบทุกข์และไม่กระหายอยากในการแสวงหาสุขอันจอมปลอมใส่ตน คนเช่นนี้เป็นผู้ข้ามพ้นจากความดิ้นรนทะยานอยาก จิตใจเยือกเย็นมั่นคง ท่านเรียกคนเช่นนี้ว่าผู้มีปัญญาตั้งมั่นเช่นกัน

               อีกประการหนึ่ง ผู้มีใจเป็นกลางในสรรพสิ่ง ไม่ยินดีเมื่อประสบสิ่งถูกใจหรือขัดใจเมื่อประสบสิ่งอันไม่ถูกใจ ผู้มีลักษณะดังกล่าวนี้ท่านก็เรียกว่าผู้ปัญญาตั้งมั่นอีกเช่นกัน
               อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้สำรวมความรู้สึกให้มั่นคงเมื่อกระทบกับอารมณ์ต่างๆ ดุจเต่าเก็บซ่อนอวัยวะให้ปลอดภัยภายในกระดอง ผู้มีลักษณะเช่นนี้ก็เรียกว่าผู้มีปัญญาตั้งมั่นเหมือนกัน
               ผู้สำรวมความรู้สึกได้ดังกล่าวมาจนความรู้สึกนั้นวางเฉยเป็นนิจในทุกอารมณ์ เขาย่อมชื่อว่าเข้าถึงสิ่งสูงสุดในชีวิตแล้ว
               อรชุน! คนเราหากเพียรพยายามเข้าหาความบริสุทธิ์ ความพากเพียรนั้นย่อมช่วยให้เขาสามารถเอาชนะใจตนองได้
               ผู้ใดสำรวมความรู้สึกให้ตั้งมั่นสม่ำเสมอในทุกอารมณ์ ผู้นั้นย่อมปัญญาแจ่มจ้าและหนักแน่น

               สำหรับผู้มีใจผูกแน่นอยู่ในอารมณ์ต่างๆ อันผ่านเข้ามาทางตาและหูเป็นตน ความที่เขามีใจติดข้องในอารมณ์ย่อมทำให้เขาเกิดความกระหายอยาก ความกระหายอยากนั้นเมื่อไม่ได้สมหวังย่อมแปรเป็นความเคียดแค้น
               ความเคียดแค้นคือบ่อเกิดของความหลง เมื่อลุ่มหลงย่อมขาดสติ ครั้นสติขาดหาย ปัญญาก็เป็นอันถูกกระทำให้พินาศ ผู้มีปัญญาพินาศย่อมประสบกับความหายนะ

               ส่วนผู้มีจิตอันอบรมมาดีแล้วจนสามารถควบคุมความนึกคิดให้มั่นคงเสมอต้นเสมอปลายได้ คนเช่นนั้นย่อมบรรลุถึงความบริสุทธิ์แห่งจิต
               เมื่อจิตบริสุทธิ์ ทุกข์ทั้งปวงก็ย่อมเป็นอันหมดสิ้นไป
               ปัญญาและสมาธิย่อมไม่มีแก่ผู้ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้ เมื่อไม่มีสมาธิ ความสงบก็ไม่มี ความสงบไม่มีแล้วสุขจะมีได้อย่างไร

               เมื่อใจปรวนแปรไปตามอารมณ์ต่างๆ ปัญญาก็ย่อมจะลอยล่องไปพร้อมกับความไม่แน่นอนของใจนั้น เสมือนเรือถูกคลื่นลมซัดหอบสู่ห้วงทะเลลึกฉะนั้น
               ดังนี้แลอรชุน ปัญญาจะตั้งมั่นก็เฉพาะแก่ผู้ควบคุมความนึกคิดได้เท่านั้น
               ขณะที่คนทั้งหลายพากันแสวงหาความสุขจากการนอนในยามราตรี ณ เวลานั้น มุนีผู้สำรวมตนย่อมตื่นอยู่ด้วยความมีสติในการบำเพ็ญเพียร
               แควน้อยใหญ่บรรจบไหลหลากล้นสู่ทะเล ทะเลไม่เคยหวาดหวั่นต่อสายน้ำที่ถั่งนองลงมาสู่ตนฉันใด ผู้ควบคุมความรู้สึกได้ย่อมไม่หวั่นไหวเมื่อกระแสอารมณ์ถั่งโถมเข้ามาฉันนั้น

               ข้อนี้เป็นเพราะบุคคลผู้สำรวมตนนั้นได้บรรลุถึงความสงบแห่งจิตอันมั่นคงแล้ว บุคคลผู้ยังลุ่มหลงอยู่ในสิ่งยั่วยวน ไม่มีทางจะบรรลุถึงความสงบแห่งใจเช่นนั้นเลย
               ผู้ใดละความกระหายอยากในสิ่งยั่วยวนเสียได้ ขณะเดียวกันก็ขจัดความรู้สึกว่านี่คือเรา-นี่ของเราได้หมดสิ้น ผู้นั้นย่อมเข้าถึงความสงบชั่วนิรันดร์
               อรชุน! ความสงบชั่วนิรันดร์นี้เป็นเสมอแดนสวรรค์ ใครได้บรรลุถึง ย่อมหลุดพ้นจากความงมงาย มีสุขสถิตมั่นอยู่อาณาจักรแห่งพรหมชั่วกัลปาวสาน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 1970, 07:00:00 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



ฤๅษีวยาส.. ผู้รจนามหาภารตะยุทธ
ภควัทคีตา
บทเพลงแห่งองค์ภควัน

สมภาร พรมทา แปลและเรียบเรียง)

บทที่สาม
                  อรชุนถามว่า
                     กฤษณะ!ก็หากท่านเห็นว่าปัญญาเป็นตัวนำสำคัญในการกระทำทุกอย่างแล้ว เหตุใดท่านจึงชักนำเราให้ทำสงครามอันเป็นบาปมหันต์เล่า   
                  ถ้อยคำอันวกวนของท่านทำให้เราสับสน ขอจงไขความให้กระจ่างหน่อยได้ไหม เอาให้แน่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น   
                  กฤษณะตอบว่า   
                  อรชุน! หนทางสำหรับเดินไปสู่นิรันดรของชีวิตนั้นประกอบด้วยส่วนหนุนส่งอยู่สองส่วน คือ ความรู้แจ้งด้วยปัญญาหนึ่ง, กับการลงมือปฏิบัติตามความรู้แจ้งนั้นอีกหนึ่ง
                     ผู้ละเว้นการปฏิบัติย่อมไม่อาจข้ามพ้นห้วงแห่งกรรมออกไปสู่ความเป็นอิสระและความสมบูรณ์ของชีวิตได้
                     ไม่มีใครในโลกนี้จะอยู่เฉยๆ โดยไม่กระทำสิ่งที่เรียกว่ากรรมได้แม้เพียงชั่วอึดใจเดียวก็ตาม ทุกขีวิตล้วนแต่ถูกสร้างมาเพื่อให้ทำสิ่งนี้   
                  ผู้ใดแสร้งเป็นคนสำรวมตนต่อหน้าคนอื่น แต่ภายในใจกลับว้าวุ่นด้วยอารมณ์อันปั่นป่วน ผู้นั้นชื่อว่าลวงทั้งตนเองและคนอื่น
                     ส่วนผู้ใดควบคุมอารมณ์ให้มั่นคงได้ด้วยใจโดยที่การสำรวมนั้นมิได้เป็นไป เพราะการแสร้งเส ผู้นั้นนับว่าเป็นคนประเสริฐแท้
   
                  จงรีบขวนขวายทำความดีเถิด การทำความดีย่อมประเสริฐกว่าการหายใจทิ้งเปล่าๆ โดยไม่ได้ทำสิ่งอันเป็นคุณประโยชนแก่ตนและคนอื่น   
                  ร่างกายของคนเราเมื่อวันเวลาล่วงผ่านย่อมทรุดโทรมชำรุด ถึงเวลานั้นแล้ว แม้อยากจะกระทำความดีก็ยากที่จะทำได้ดังใจนึก   
                  ทุกชีวิตในโลกถูกลิขิตให้เดินไปตามแรงบันดาลของกรรม แต่การกระทำที่มุ่งความหลุดพ้นจากห้วงกรรมไม่จัดเป็นกรรม เพราะฉะนั้นเมื่อจะกระทำกรรมขอจงอุทิศการกระทำนั้นเพื่อความหลุดพ้นเถิด อรชุน
   
                  เมื่อแรกที่พระประชาบดีพรหมทรงเนรมิตโลก พระองค์ได้สร้างมนุษย์ขึ้นพร้อมกับทรงบัญญัติพิธีให้เป็นแบบแห่งการดำเนิน ชีวิตของมนุษย์ว่า
                     “ด้วยยัญกรรมนี้ สูเจ้าทั้งหลายจะรุ่งเรืองและสมบูรณ์พูนสุข ด้วยสิ่งอันตนปรารถนาทุกประการ”
                     เพราะเหตุนี้แล มนุษย์จึงควรเกื้อหนุนเหล่าเทพยดาด้วยยัญพิธี* (ยัญพิธีหรือการบูชายัญคือการเซ่นไหว้เทพเจ้าตามความเชื่อของชาวฮินดู จากความตอนนี้เราจะเห็นได้ชัดว่าเดิมทีเดียวการบูชายัญมีจุดประสงค์จะให้ มนุษย์ระลึกถึงคุณของธรรมชาติฟ้าดินอันเป็นการปลูกสำนึกที่ดีงามตามหลัก ศาสนา แต่ภายหลังคำสอนนี้ได้ถูกบิดเบือนจนการบูชายัญกลายเป็นพิธีกรรมที่โหดร้าย ป่าเถื่อนถึงขนาดมีการเซ่นสรวงยัญด้วยการสังเวยชีวิตมนุษย์ เมื่อพุทธศาสนาอุบัติขึ้น พระพุทธองค์ก็ทรงพยายามชี้ให้ผู้คนหันกลับไปหาความหมายที่แท้ของยัญกรรมอัน บริสุทธิ์แต่ดั้งเดิมอีกครั้ง แต่ความพยายามนั้นก็ประสบผลเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่อาจขจัดความเข้าใจผิดของคนรุ่นต่อมาได้อย่างสิ้นเชิง-ผู้แปล)ด้วยว่าเทพ ทั้งหลายเมื่อได้รับการบำรุงอุปถัมภ์จากมนุษย์เช่นนั้นแล้วก็จักอำนวยผลตอบแทนแก่ผู้ที่เซ่นไหว้ตน เมื่อต่างฝ่ายต่างก็จุนเจือกันและกันเช่นนั้น ทั้งสองฝ่ายย่อมจะประสบสิ่งดีงามร่วมกัน
   
                  สิ่งใดที่มนุษย์ปรารถนา สิ่งนั้นหากเป็นความดีงาม มนุษย์ก็อาจได้มาสมประสงค์ เพราะการบันดาลของเหล่าเทพที่ตนอุทิศยัญพิธีถวาย
                     ผู้ใดได้รับการหนุนส่งจากเทพยดาแล้วลืมตนไม่ตอบแทนการเกื้อกูลจากสวรรค์นั้น ผู้นั้นนับว่าเป็นมหาโจรแท้
                     สาธุชนผู้มีใจเผื่อแผ่เมื่อบริโภคของเซ่นไหว้อันเหลือจากยัญกรรมแล้ว ย่อมพ้นจากบาปทั้งมวล แต่สำหรับทุรชนผู้เห็นแก่ตัว ไม่ปรารถนาจะเผื่อแผ่อานิสงส์แห่งยัญกรรมของตนแก่คนข้างเคียง การบริโภคของเซ่นไหว้นั้นก็คือการบริโภคบาปของตนเอง
                     ทุกชีวิตในโลกอยู่ได้ด้วยอาหาร อาหารเกิดมีเพราะน้ำฝน ฝนตกต้องตามฤดูกาลเพราะการประกอบยัญพิธี ส่วนยัญพิธีนั้นเล่าก็เกิดมีด้วยการกระทำของมนุษย์
   
                    การลงมือกระทำสิ่งดีงามเป็นคำสอนที่มีมาแต่คัมภีร์พระเวทและพระเวทนั้นแท้ก็ คือคำสั่งสอนอันกำเนิดมาแต่ปรมาตมันอันสูงสุด ด้วยเหตุนี้ พระเวทจึงไม่ใช่คัมภีร์ หากแต่เป็นสภาวะที่ดำรงอยู่ในทุกอณูของสรรพสิ่งตลอดจนดำรงอยู่ชั่วนิจนิรันดรในยัญกรรม
                     อรชุน! โลกเรานี้นับวันก็มีแต่จะหมุนไปข้างหน้า ผู้ใดจมชีวิตตนเองไว้กับกระแสโลกียสุขไม่ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับการเปลี่ยนแปรของวันคืน ชีวิตของคนผู้นั้นนับว่าสูญเปล่าปราศจากแก่นสารแท้
                     แต่สำหรับบุคคลผู้มีใจเอิบอิ่มในอาตมัน พอใจในอาตมัน และยินดีในอาตมันอันสูงสุดนั้น กรรมอันได้แก่หน้าที่ที่จะพึงปฏิบัติอย่างอื่นของบุคคลนั้นย่อมเป็นอันจบสิ้นไม่อีกแล้ว
                     บุคคลเช่นนั้นย่อมข้ามพ้นทั้งกรรมและอกรรม เขาไม่ต้องพึ่งพิงสิ่งใดเพื่อให้ลุถึงประโยชน์ของตน
                     เพราะฉะนั้น จงปฏิบัติในสิ่งอันพึงปฏิบัติโดยไม่ยึดมั่นเถิด บุคคลผู้กระทำกรรมโดยไม่หวังผลตอบแทนจากการกระทำนั้นย่อมบรรลุถึงปรมัตถภาวะ อันสูงสุด


                  เพราะกระทำกรรมโดยไม่ยึดติดในผลแห่งกรรมนี่เอง บรรพชนของเราในอดีตเป็นต้นว่าชนกราชา*(ชนกราชาในโศลกนี้หมายถึงท้าวชนก เจ้ากรุงมิถิลาราชบิดาของนางสีดาในมหากาพย์รามายณะ-ผู้แปล)จึงได้บรรลุถึงความ บริสุทธิ์และสมบูรณ์ชีวิต   
                  เพื่อเห็นแก่เพื่อนมนุษย์ จงกระทำคุณความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเถิดอรชุน   
                  เมื่อผู้มีอำนาจในแผ่นดินปฏิบัติอย่างไร คนทั้งหลายที่อยู่ใต้ปกครองย่อมจะปฏิบัติตามกฎระเบียบนั้น   
                  อรชุน! สำหรับเราเองนั้นกรรมอันพึงกระทำไม่มีอีกแล้วในไตรโลกนี้ เราไม่มีสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุอันจะต้องพยายามบรรลุถึงอีกแล้ว กระนั้นก็ดี เราก็ยังเอาตัวเข้าคลุกคลีกับเพื่อนมนุษย์ แปดเปื้อนอยู่กับการกระทำกรรมเพราะเราเห็นแก่เพื่อนร่วมแผ่นดินเหล่านั้น   
                  แม้นว่าเรามีใจวางเฉย ไม่เอาตัวเข้าแปดเปื้อนกับการกระทำกรรม มุ่งเสวยสุขเพียงอย่างเดียว มนุษย์ทั้งหลายก็จะพากันหันไปหาการเสพสุขด้วยเข้าใจว่านั่นคือความถูกต้อง ของชีวิต
   
                  เมื่อเป็นเช่นนั้น โลกทั้งโลกจะพลันวุ่นวายจนถึงพินาศแตกดับ ตัวเราเล่าก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำลายความเป็นระเบียบของโลกและเป็น ผู้ล้างผลาญ ประชานิกรทั้งหมดให้ฉิบหายล่มจม
   
                  อรชุน! คนโง่เมื่อกระทำกรรมย่อมยึดมั่นในการกระทำนั้น ส่วนผู้รู้กระทำกรรมแล้วหาได้ยึดติดในการกระทำนั้นไม่ ปราชญ์ทำกรรมเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ไม่ได้กระทำเพื่อตนเอง              
                  ปราชญ์ย่อมไม่ตัดหนทางในการก้าวไปสู่ความดีงามของคนเขลาผู้ยังติดข้องอยู่ใน วังวนแห่งกรรม หากแต่หาโอกาสให้คนเขลานั้นได้กระทำกรรมดี อันจะส่งผลเป็นความสุขสงบแก่ชีวิตของเขาเอง
   
                  กรรมทั้งปวงมนุษย์ไม่ใช่ผู้กระทำ กรรมทั้งหลายเหล่านั้นถูกขับเคลื่อนด้วยพลังแห่งธรรมชาติ*(คำ ว่า “พลังแห่งธรรมชาติ”นี้แปลมาจากศัพท์เดิมในภาษสันสกฤตว่า ปฺรกฺฤติ คำนี้ในภาษาไทยเรามักแปลทับศัพท์ว่า ประกฤติ ส่วนในภาษาอังกฤษท่านมักแปลเป็น Nature หรือ Forces of Nature ครูอาจารย์ที่สอนภาษาสันสกฤตให้ผู้แปล เคยอธิบายให้ฟังว่า ปฺรกฺฤติ นี้เป็นพลังลึกลับอย่างหนึ่งที่ชาวฮินดูเชื่อกันว่าเป็นสิ่งผลักดันให้ชีวิต ทุกชีวิตในจักรวาลหมุนเหวี่ยงไป ซึ่งนั่นก็หมายความว่าชีวิตของคนเราต่างก็ล้วนดำเนินไปตามการลิขิตของปฺรกฺฤติ ชีวิตหาได้เป็นอิสระในตัวมันเองไม่ ความเชื่อเช่นนี้เองที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางความคิดอันแตกออกมาเป็นศาสนา หรือลัทธิที่ปฏิเสธคัมภีร์พระเวทในยุคต่อมา เพราะคนรุ่นนั้นเริ่มสงสัยกันแล้วว่าชีวิตไม่มีอิสระในตัวมันเองจริงหรือ พุทธศาสนาถึงกำเนิดมาก็ด้วยแรงหนุนส่งจากปฏิกิริยาดังกล่าวด้วยเช่นกัน-ผู้แปล)คนโง่เขลาไม่เข้าใจความเป็นจริงอันนี้ย่อมหลงผิดว่าตนคือผู้กระทำกรรม
   
                  ส่วนผู้ฉลาดย่อมรู้จักแยกแยะกรรมกับพลังแห่งธรรมชาติอันผลักดันกรรมนั้นว่า ปรากฏการณ์อันเรียกว่ากรรมแท้ก็คือการแสดงตนของพลังธรรมชาติ คนเช่นนั้นย่อมไม่ยึดติดในกรรม   
                  คนเขลาไม่เข้าใจถึงพลังธรรมชาติอันอยู่เบื้องหลังกรรม ย่อมเข้าใจสับสนว่ากรรมกับพลังแห่งธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งเดียวกัน ปราชญ์ควรชี้แนะให้บุคคลผู้หลงผิดเช่นนั้นเข้าใจความเป็นจริง   
                  เพราะเหตุนี้แลอรชุน จงสลัดกรรมทั้งปวงของท่านมาไว้ที่เราแล้วประสานใจอันบริสุทธิ์เข้ากับอาตมัน จงขจัดความกังวลแล้วจับอาวุธขึ้นรบเถิด   
                  ผู้ใดเชื่อมั่นในคำสอนของเรา รับเอาคำสอนนี้ไปปฏิบัติด้วยใจบริสุทธิ์ ผู้นั้นย่อมพ้นจากการเวียนว่ายในห้วงแห่งกรรม 
                  ส่วนบุคคลใดดูแคลนคำสอนของเรา ไม่รับเอาคำสอนนี้ไปปฏิบัติ เพราะมานะอันแข็งกร้าวในใจ บุคคลนั้นคือคนเขลา ปัญญามืดบอด คนเช่นนั้นจะต้องประสบกับความฉิบหายเพราะความโง่ของตนเอง
   
                  แม้แต่ปราชญ์ที่ฉลาดหลักแหลมก็ยังต้องปฏิบัติตัวให้สอดคล้องกับธรรมชาติ อนึ่งเล่า ทุกชีวิตในโลกก็ล้วนแต่ต้องดำเนินชีวิตให้คล้อยตามธรรมชาติ อย่างนี้แล้วเรายังจะคิดดื้อรั้นฝืนกฎแห่งธรรมชาติอยู่หรือ   
                  ความดีใจกับความเสียใจเกิดจากการกระทบกันระหว่างอารมณ์ภายนอกกับความรู้สึก คนเราไม่พึงตกอยู่ในอำนาจของมัน เพราะไม่ว่าความดีใจหรือความเสียใจ
ทั้งสองอย่างล้วนแต่เป็นอุปสรรคในการก้าวไปสู่ความบริสุทธิ์แห่งชีวิตเหมือน กัน   
                  จงปฏิบัติหน้าที่ของตนไปเท่าที่ความสามารถจะอำนวยให้ แม้จะกระทำได้เพียงเล็กน้อย การกระทำนั้นก็นับว่าประเสริฐกว่าการปฏิบัติหน้าที่ของคนอื่นที่เขากระทำได้ อย่างสมบูรณ์ไม่มีขาดตก   
                  คนที่ตายเพราะทำหน้าที่ของตนย่อมชื่อว่ามีชีวิตยืนนานเป็นอมตะ ส่วนบุคคลผู้ตกเป็นทาสอาณัติของคนอื่น แม้จะมีชีวิตอยู่ก็เสมือนหนึ่งคนที่ตายแล้ว
   
                  อรชุนถามว่า   
                  กฤษณะ! อำนาจอะไรหนอที่ผลักดันให้คนเรากระทำบาปทั้งที่โดยความเป็นเหตุเป็นผลแล้วคง ไม่มีใครในโลกประสงค์จะกระทำความชั่ว การกระทำของเขาน่าจะมีอะำำำไรสักอย่างเป็นเครื่องชักนำใช่หรือไม่   
                  กฤษณะตอบว่า   
                  ถูกแล้วอรชุน สิ่งที่กระตุ้นให้คนกระทำความชั่วคือความกระหายอยากอันจะแปรเป็นความเคียดแค้นเมื่อไม่ได้สมอยากในทันที สิ่งนี้นี่เองที่เป็นศัตรูของความดี   

                  ควันบดบังความโชติช่วงของเปลวไฟ ฝุ่นธุลีบดบังความสดใสของกระจก รกหุ้มห่อทารกเอาไว้ด้วยอาการฉันใด ความกระหายอยากหุ้มห่อจิตใจให้เศร้าหมองมืดมัวด้วยอาการดังของสามอย่างที่ กล่าวฉันนั้น   
                  อรชุน! เหตุที่คนเราไม่อาจประจักษ์แจ้งซึ่งสัจจะก็เพราะอำนาจการครอบงำของกิเลสดัง กล่าวนี่เอง กิเลสทำให้คนไม่รู้จักอิ่มพอ เหมือนไฟไม่เคยอิ่มเชื้อฉันใดก็ฉันนั้น   
                  ความรู้สึก, จิตใจ และความรู้ ท่านกล่าวว่าเป็นทางเล็ดลอดเข้ามาของกิเลสหากว่าเราไม่รู้เท่าทันมัน เมื่อกิเลสอันได้แก่ความทะยานอยากอันไม่รู้จักจบสิ้นเข้าครอบงำการรู้แจ้ง คนเราย่อมจะหลงทางไม่อาจเข้าถึงอาตมันได้เป็นของธรรมดา
   
                  เพราะเหตุนี้แลอรชุน จงควบคุมความรู้สึกเอาไว้ให้มั่นเมื่อมีอารมณ์ภายนอกมากระทบ จากนั้นจึงพยายามขจัดบาปอันเป็นสิ่งปิดกั้นการรู้แจ้งออกไปจากจิตใจ   
                  ท่านกล่าวว่าอำนาจของความรู้สึกเป็นสิ่งมีพลัง แต่ที่มีพลังเหนือความรู้สึกนั้นได้แก่พลังแห่งจิตใจ   
                  จิตใจที่ว่ามีพลังก็ยังพ่ายแพ้อำนาจแห่งปัญญา กระนั้นก็ดีปัญญาก็ยังด้อยอำนาจกว่าอาตมัน   
                  อรชุน! เมื่อประจักษ์ชัดว่าความทะยานอยากเป็นศัตรูของการเข้าหาความดี ทำไมท่านไม่รีบขจัดมันเสียด้วยปัญญาเล่า


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 1970, 07:00:00 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
อนุโมทนาครับพี่แป๋ม  :13:
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


ทุรโยธน์ และ โทรณาจารย์
ภควัทคีตา
บทเพลงแห่งองค์ภควัน
(สมภาร พรมทา แปลและเรียบเรียง)

บทที่สี่
   
                 กฤษณะตรัสว่า   
                 โยคปรัชญาอันเป็นอมตะนี้เราเปิดเผยครั้งแรกแก่วิวัสวานสุริยเทพ ต่อมาสุริยเทพได้ถ่ายทอดโยคปรัชญานี้แก่มนูโอรสของตน เมื่อมนูได้โอรสชื่ออิกษวากุ มนูก็ถ่ายทอดโยคปรัชญานี้ให้แก่ราชาอิกษวากุนั้น   
                 อรชุน! โยคปรัชญานี้สืบทอดกันมาในหมู่กษัตริย์ที่ยึดถือธรรมมานาน จนเมื่อกาลผ่านพ้น ความยาวนานของกาลเวลานั้นก็ทำให้คนรุ่นหลังค่อยๆ ลืมเลือนหลักธรรมอันนี้เสีย
   
                 บัดนี้เราได้นำหลักคำสอนที่ลี้ลับซึ่งสูญหายไปจากโลกเป็นเวลานานนั้นมาให้ท่านได้รับรู้ ที่เรากล้านำเอารหัสยธรรมอันนี้มาแสดงแก่ท่านก็ด้วยเห็นว่าท่านนั้นเชื่อมั่นในเราทั้งยังเป็นสหายผู้ซื่อตรงของเราอีกด้วย   
                 อรชุนถามว่า   
                 ก็ตัวสหายเองเกิดทีหลังท่านวิวัสวานสุริยเทพไม่ใช่หรือ ไฉนจึงบอกเราว่าโยคะนี้สหายเป็นคนประกาศแก่สุริยเทพเล่า   
                 กฤษณะตอบว่า   
                 ฟังนะอรชุน! ทั้งเพื่อนและเราต่างก็เวียนว่ายตายเกิดกันมาไม่รู้คนละกี่ภพกี่ชาติแล้ว การเวียนว่ายตายเกิดนั้นทั้งหมดเราสามารถระลึกได้ แต่ท่านไม่อาจทำได้เช่นเรา ท่านจึงสงสัย   
                 แม้ว่าเราจะไม่มาเกิดยังโลกมนุษย์ ชีวิตของเราก็เป็นอมตะไม่มีวันพินาศเสื่อมสลาย ครั้นถึงเวลาที่เราต้องอวตารลงมาปราบยุคเข็ญในฐานะอิศวรมหาเทพผู้เป็นเจ้าชีวิตของสรรพชีวิตในจักรวาล เราก็บังคับอาตมันอธิษฐานให้ร่างปรากฏด้วยกำลังแห่งมหิทธิฤทธิ์อันทรงอานุภาพ

   
                 อรชุน! เมื่อใดก็ตามที่ธรรมเสื่อมทรุดปล่อยให้อธรรมงอกงามขึ้นมาแทนที่ เมื่อนั้นเราจะปรากฏร่างยังมนุษย์โลก เพื่อพิทักษ์คนดีและปราบปรามคนเลวทันที!   
                 ที่เราเผยกายให้ชาวโลกเห็นในแต่ละยุคนั้น จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันเอาไว้ซึ่งความเที่ยงธรรมในโลกนี้

                 อรชุน! ใครก็ตามที่ประจักษ์เบื้องหลังการอุบัติของเรา ผู้นั้นเมื่อละร่างไปสู่ปรภพแล้วเขาไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายในห้วงสังสารวัฏฏอีก หากแต่ชีวาตมันของเขาจะลอยล่องไปรวมเป็นหนึ่งเดียวกับปรมาตมันของเราในทิพยโลก   
                 บุคคลใดปราศจากความกระหายอยาก ความกลัวและความโกรธ มุ่งยึดเหนี่ยวเอาเราเป็นอารมณ์ในทุกขณะเวลา ปลงใจรับเอาเราเป็นสรณะของชีวิต บุคคลนั้นชื่อว่ามีชีวิตบริสุทธิ์ด้วยปัญญาและความพากเพียรของตนเอง บุคคลเช่นที่กล่าวมานี้นับอนันต์ทีเดียวที่ละร่างจากโลกนี้แล้วได้ร่วมเสวยทิพยสุขกับเรา ณ ทิพยสถานโพ้น   
                 นี่คือสิ่งที่แสดงว่าผู้ที่ดำเนินชีวิตเพื่อเข้าถึงเราย่อมได้รับการตอบสนองจากเรา ทางเดินแห่งชีวิตของมนุษย์นั้นมีอเนกอนันต์นานา แต่เมื่อสาวไปจนถึงที่สุดแล้ว ทางเหล่านั้นล้วนตรงดิ่งมาที่เรา   
                 มนุษย์นั้นเมื่อประสงค์จะให้กรรมของตนสำเร็จผลก็พากันเซ่นสรวงเทพเจ้าด้วยเข้าใจว่าการให้ผลของกรรมสามารถเกิดขึ้นได้โดยพลัน
   
                 วรรณะทั้งสี่* (วรรณะทั้งสี่ได้แก่ กษัตริย์ –นักรบหรือชนชั้นปกครอง, พราหมณ์ –นักบวช หรือ ศาสนาจารย์, แพศย์ –พ่อค้าหรือผู้ประกอบกิจการด้านพาณิชยกรรม และศูทร –ชนชั้นกรรมกรที่ไม่มีกิจการเป็นของตนเอง ต้องอาศัยแรงงานรับจ้างยังชีพ วรรณะทั้งสี่นี้เป็นการจำแนกชนชั้นของผู้คนในสังคมอินเดียโบราณที่ยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จากข้อความในโศลกนี้เราจะเห็นว่าแนวคิดในเรื่องวรรณะดั้งเดิมนั้นเป็นเพียงการจำแนกผู้คนออกเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมทางด้านอาชีพ (ในภาษาสันสกฤตท่านใช้คำว่า กรฺม) และพื้นฐานทางธรรมชาติที่แตกต่างกันเช่นความสนใจ ความชอบ หรือความถนัด (ภาษาสันสกฤตใช้ว่า คุณ) ไม่ได้ประสงค์จะแบ่งแยกว่าใครดีใครเลวหรือใครสูงใครต่ำอย่างที่เป็นในยุคหลัง-ผู้แปล) เราเป็นผู้สร้างขึ้นโดยกำหนดเอาธรรมชาติและการกระทำของพวกเขาเป็นเกณฑ์จำแนก เราคือผู้สถาปนาวรรณะและท่านจงทราบด้วยว่าเวลานี้ผู้ก่อตั้งระบบวรรณะขึ้นนั้นยังดำรงอยู่ไม่ได้เสื่อมสูญไปไหน
   
                 ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อเรากระทำกรรม กรรมจึงไม่แปดเปื้อนเรา เรากระทำกรรมโดยไม่ต้องรับผลของการกระทำนั้น ผู้ใดทราบภาวะอันอยู่เหนือกรรมของเรา ผู้นั้นย่อมพ้นจากพันธนาการแห่งกรรม   
                 ท่านผู้แสวงหาความหลุดพ้นในอดีตทราบความเป็นจริงดังกล่าวนี้แล้วย่อมพากันกระทำกรรมโดยไม่หวาดหวั่น ตัวท่านเองก็จงกระทำกรรมโดยไม่กังวลเยี่ยงบรรพบุรุษเถิดอรชุน   
                  กรรมคืออะไร อกรรมหมายถึงสิ่งใด แม้ปราชญ์ก็จนปัญญาในเรื่องทั้งสองนี้   
                  ฟังนะ! เราจะเฉลยไขเรื่องราวอันลี้ลับแห่งกรรมแก่ท่าน เมื่อทราบความข้อนี้แล้ว ท่านจะพ้นจากบาปทั้งมวล

   
                  กรรมก็ดี วิกรรมก็ดี อกรรมก็ดี สามสิ่งนี้บุคคลพึงทำความเข้าใจให้ถ่องแท้* (กรรม, วิกรรม และอกรรม สามอย่างนี้เป็นการจำแนกลักษณะของกรรมคือ กรรม-หมายถึงการกระทำความดี, วิกรรม-หมายถึงการกระทำความชั่ว, ส่วน อกรรม-หมายถึงการกระทำที่อยู่เหนือกรรม หรือการกระทำที่ทำลงไปแล้วผู้กระทำไม่ต้องรับผลของกรรมนั้น เรื่องกรรม, วิกรรมและอกรรมนี้ หากจะเทียบกับเรื่องกรรมในพุทธศาสนาจะเทียบได้ดังนี้คือ กรรม (ของฮินดู) เทียบได้กับกุศลกรรม (ของพุทธ) วิกรรม (ของฮินดู) เทียบได้กับอกุศลกรรม (ของพุทธ) ส่วนอกรรม (ของฮินดู) เที่ยบได้กับวิมุตติกรรม (ของพุทธ) ฉบับแปลภาษาอังกฤษส่วนใหญ่แปลคำสามคำนี้ตรงกันว่า กรรม-Aciton วิกรรม-Wrong Action และอกรรม-Inactionผู้แปล)เรื่องราวอันเกี่ยวแก่กรรมนี้ช่างเป็นสิ่งลึกซึ้งและลึกลับ ยากแก่การเข้าใจยิ่งนัก
   
                  บุคคลใดมองเห็นอกรรมในกรรม ส่วนในอกรรมเล่าก็สามารถมองเห็นกรรม บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาเหนือสามัญมนุษย์ กรรมที่เขากระทำลงไปทุกอย่างถือเป็นอันสมบูรณ์ไม่มีบกพร่อง   
                  ผู้ใดกระทำกรรมด้วยความรู้สึกเป็นอิสระจากการยึดมั่นถือมั่น ผู้ใดสามารถเผากรรมของตนให้มอดไหม้ด้วยไฟ คือปัญญา ปราชญ์เรียกผู้นั้นว่าบัณฑิต   
                  ผู้สลัดความยึดมั่นในผลของกรรมทิ้งได้ มีใจแนบสนิทในปรมาตมันอยู่เสมอ และเป็นผู้ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใดอีกแล้วในโลกนี้ คนเช่นนั้นแม้คลุกคลีอยู่ในกรรม ก็ไม่ชื่อว่ากระทำกรรม
   
                  ใครก็ตามที่ข้ามพ้นแล้วซึ่งความทะยานอยาก สามารถควบคุมจิตใจให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม และสละได้ทุกสิ่งอย่างอันเป็นมายาชีวิต คนเช่นนั้นเมื่อกระทำกรรม การกระทำของเขาก็หาได้จัดเป็นกรรมไม่ ร่างกายอันเป็นเนื้อหนังของเขาเท่านั้นที่ทำ จิตใจหาได้กระทำไม่ เมื่อจิตอยู่เหนือกรรม เขาย่อมบริสุทธิ์จากบาปทั้งหลาย
   
                  บุคคลใดพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่หรือพึงมีพึงได้ ไม่ยึดติดในความลวงของมายาการทั้งที่เป็นความสุขและที่เป็นความทุกข์ ไม่ริษยาผู้ประสบผลสำเร็จกว่าตน และสามารถวางใจให้เป็นปกติเมื่อประสบความล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จในชีวิต บุคคลนั้นถึงกระทำกรรมก็ไม่ถูกกรรมผูกดึงเอาไว้   
                 สำหรับบุคคลผู้อยู่เหนือความยึดมั่นถือมั่น ผู้ข้ามพ้นจากโลกียธรรม ผู้มีใจตั้งมั่นหนักแน่นเพราะประจักษ์แจ้งสัตยธรรม หรือผู้ประกอบยัญกรรมด้วยความไม่ยึดติด กรรมของเขาย่อมบริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทินมัวหมอง
                  บุคคลเช่นนั้นเมื่ออุทิศทานในยัญพิธี ทานของเขาย่อมชื่อว่าเป็นทานที่ถวายแด่พรหมอย่างแท้จริง ของที่เขาถวายในพิธีก็ย่อมชื่อว่าเป็นของเหมาะสมแก่พรหม ทานวัตถุที่เขาโปรยลงในกองไฟย่อมจะล่องลอยไปถึงพรหมอย่างไม่ต้องสงสัย
   
                  ผู้ยึดมั่นในพรหมด้วยดวงใจอันบริสุทธิ์ย่อมเข้าถึงพรหมด้วยประการฉะนี้แล   
                  ในบรรดาโยคีที่บำเพ็ญตละทั้งหลาย บางพวกพากันกราบไหว้เซ่นสรวงเทพเจ้าเหล่าอื่น บางพวกประกอบยัญกรรมอุทิศแด่พระพรหมองค์เดียวเท่านั้น   
                  บางพวกบูชาพรหมด้วยการสำรวมกาย วาจาและใจให้มั่นคง เมื่อประสบกับอารมณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามากระทบ   
                  บางพวกบูชาพรหมด้วยการสละทรัพย์ บางพวกบูชาด้วยการบำเพ็ญตบะ บางพวกบูชาด้วยการปฏิบัติตามโยคธรรมอันได้แก่การชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ บางพวกบูชาด้วยการบำเพ็ญสมาธิและเจริญภาวนาปัญญา   
                  บางพวกบูชาด้วยการควบคุมลมหายใจเข้าออกมิให้เป็นไปตามปกติ   
                  บางพวกอดอาหาร เป็นการบูชาพรหม
                  เหล่าโยคีทั้งหมดที่กล่าวมานี้ หากเป็นผู้ประจักษ์แจ้งในความหมายของยัญกรรมอย่างแท้จริง เมื่อบูชายัญด้วยวิธีการดังกล่าวแล้วย่อมห่างไกลจากความชั่วร้าย
   
                  อรชุน! เมื่อโยคีผู้ประจักษ์แจ้งในความหมายที่แท้ของการบูชายัญ บริโภคอาหารภายหลังจากที่ได้อุทิศเป็นในยัญพิธีแล้วย่อมชื่อว่าได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพรหมอันเป็นแดนเกษมสำราญชั่วนิรันดร์   
                  ก็หากว่าโลกนี้ไม่มีสุขมอบให้แก่ผู้ประกอบคุณความดีแล้ว โลกหน้าที่ยังไม่มาถึงยังจะมีสุขอะไรให้หวังอยู่หรือ!   
                   ยัญกรรมซึ่งมีอยู่มากมายหลายประเภทนี้ ท่านกล่าวไว้ชัดเจนในคัมภีร์พระเวท จงทราบว่ายััญกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งสูงส่ง และเป็นกรรมอันจะส่งผลให้ผู้เข้าใจและปฏิบัติตาม พ้นจากห้วงแห่งสังสารวัฏฏ์
   
                   อรชุน! การกระทำยัญกรรมด้วยความรู้เข้าใจย่อมประเสริฐกว่าการประกอบยัญกรรมนั้นเพียงด้วยทรัพย์สินเงินทอง   
                   ปัญญาหรือความรู้ความเข้าใจนี้เป็นสิ่งสูงสุดในบรรดาสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการกระทำกรรมทั้งหลาย   
                   ปัญญานี้สามารถอบรมให้เกิดมีได้ด้วยการรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน เข้าหาท่านผู้มีปัญญากว่าตน ผู้มีปัญญาประจักษ์แจ้งในสัจจะเท่านั้นจึงจะสามารถถ่ายทอดปัญญาให้แก่ผู้อื่นได้
   
                   อรชุน! หากท่านรู้ความเป็นจริงในสิ่งต่างๆ รอบกายด้วยปัญญาแล้ว ท่านจะไม่คลางแคลงในสิ่งนั้นๆ อีกต่อไป   
                   ปัญญาจะทำให้ท่านประจักษ์ชัดว่า อันสรรพชีวิตทั้งหลายทั้งปวงในจักรวาลนี้ต่างมีต้นกำเนิดมาจากเราทั้งสิ้น   
                   เมื่อจำเป็นที่จะต้องกระทำบาป ก็จงกระทำไปเถิด หากแต่เมื่อกระทำแล้วจงอาศัยนาวาคือปัญญานำตัวเองให้ข้ามพ้นห้วงทะเลแห่งบาปนั้น   
                   อุปมาดังไฟเผาฟืนให้เป็นเถ้าธุลี ไฟคือปัญญาย่อมเผาไหม้กรรมทั้งปวงให้พินาศสิ้นสลายได้ฉันใดก็ฉันนั้น   
                   ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดจะชำระล้างชีวิตให้บริสุทธิ์ได้ยกเว้นปัญญาและปัญญานั้นก็เป็นผลมาจากการปฏิบัติตามโยคกรรม
   
                   บุคคลใดเชื่อมั่นในการประกอบคุณความดี ใฝ่ใจแสวงหาปัญญาและรู้จักควบคุมตนเอง บุคคลนั้นย่อมสามารถสร้างเสริมความรอบรู้ให้เกิดแก่ตน เมื่อรอบรู้เขาย่อมอาจเข้าสู่สันติแห่งชีวิตโดยอาศัยความรอบรู้นั้นเป็นสิ่งชักนำตน
   
                   ผู้ใดไม่มั่นใจในการประกอบกรรมดี มีใจคลางแคลงในอาตมัน ผู้นั้นย่อมประสบความพินาศหายนะ ชีวิตทั้งชีวิตเขาจักหาความสุขอันใดไม่ได้เลย   
                   อรชุน!บุคคลใดสลัดกรรมทั้งปวงทิ้งได้ด้วยโยคะและตัดความเคลือบแคลงสงสัยในสิ่งต่างๆ ได้ด้วยปัญญา กรรมทั้งหลายที่บุคคลนั้นกระทำมาย่อมไม่อาจผูกมัดเขาไว้ภายในพันธนาการแห่งมัน   
                   เพราะฉะนั้น! จงตัดความลังเลในใจของท่านให้ขาดสะบั้นด้วยดาบคือปัญญา
แล้วลุกขึ้นจับอาวุธทำสงครามเถิดอรชุน!



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 1970, 07:00:00 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

ภควัทคีตา
บทเพลงแห่งองค์ภควัน
(สมภาร พรมทา แปลและเรียบเรียง)

บทที่ห้า

               อรชุนกล่าวว่า           
               กฤษณะ! แรกทีเดียวท่านสรรเสริญการสลัดกรรมว่าเป็นสิ่งประเสริฐ แต่ภายหลังกลับยกย่องการประกอบกรรมว่าเป็นความดีงาม ช่วยบอกเราให้แน่ทีเถิดว่า ระหว่างการสลัดทิ้งซึ่งกรรม กับการประอบกรรม สองอย่างนี้ สิ่งไหนประเสริฐกว่ากัน

               กฤษณะตอบว่า
               ทั้งการสลัดกรรมและการประกอบกรรมต่างสามารถทำให้จิตหลุดพ้นได้เหมือนกัน หากแต่เมื่อเทียบกันแล้ว การกระทำกรรมด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นย่อมดีกว่าไม่ยอมกระทำกรรมอันใดเลย
               อรชุน! บุคคลใดวางใจให้เป็นปกติเมื่อประสบกับความพลาดหวังหรือสมหวังได้ ทั้งในใจของเขาเล่าก็บริสุทธิ์สะอาดจากความกระหายอยาก พึงทราบเถิดว่าบุคคลนั้นเป็นสันยาสีอันมีความหมายว่าผู้สลัดกรรมทิ้งได้
               ผู้ไม่ลุ่มหลงในมายาการของสิ่งคู่เช่น สุข-ทุกข์ หรือดีใจ-เสียใจ เป็นต้น ย่อมหลุดพ้นจากพันธนาการแห่งชีวิตได้ไม่ยาก
               คนโง่ย่อมกล่าวว่า สางขยะ และโยคะ นั้นแตกต่างกัน แต่ผู้รู้หาได้กล่าวเช่นนั้นไม่ ด้วยว่าหลักปฏิบัติทั้งสองประการนี้หากใครทำตามได้สมบูรณ์เพียงส่วนหนึ่ง ก็สามารถได้รับผลของการปฏิบัติในอีกส่วนหนึ่งพร้อมในคราวเดียวกันด้วย


               ทิพยสถานใดที่ผู้ปฏิบัติตามสางขยะปรัชญาได้บรรลุถึงทิพยสถานนั้น ผู้ปฏิบัติตามโยคปรัชญาก็บรรลุถึงได้เท่าเทียมกัน
               ผู้ใดมองเห็นสางขยะและโยคะว่าเป็นหลักปฏิบัติที่แนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวจนไม่อาจแยกกันได้ ผู้นั้นนับว่าเห็นชอบแท้
               อรชุน!การสละกรรมจะกระทำได้ยากยิ่ง หากว่าผู้ปฏิบัตินั้นละเลยโยคะอันได้แก่การประกอบกรรม มุนีผู้บำเพ็ญโยคธรรมพร้อมกับการสละกรรมย่อมบรรลุถึงพรหมได้เร็วพลัน
               ผู้ใดบำเพ็ญโยคธรรมได้บริบูรณ์ มีอาตมันอันบริสุทธิ์ เอาชนะตนเองได้ และสามารถควบคุมประสาทสัมผัสมิให้แปรปรวนเมื่อมีอารมณ์กระทบ อาตมันของคนผู้นั้น ย่อมเข้ารวมเป็นหนึ่งเดียวกับปรมาตมัน อันเป็นที่รวมแห่งอาตมันทั้งปวงในสากลจักรวาล


               บุคคลผู้มีอาตมันแนบสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับปรมาตมันเช่นนั้นกระทำกรรมอันใดลงไปก็ไม่แปดเปื้อนเพราะกรรมนั้น
               บุคคลผู้รู้เท่าทันมายา ย่อมทราบว่าตนเองไม่ได้กระทำอะไร การที่ตามองเห็น หูได้ยินเสียง กายได้สัมผัส จมูกได้สูดกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส หรือการที่คนต้องเดิน ต้องหลับนอน ต้องหายใจ ต้องพูด ต้องขับถ่าย ต้องหยิบโน่นฉวยนี่ ต้องลืมตาและหลับตา เป็นต้น ทั้งหมดล้วนเป็นธรรมชาติของชีวิต เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น เขาก็ปล่อยให้มันสักแต่ว่าเกิดขึ้น ไม่ยึดมั่นถือมั่น


               ผู้ใดกระทำกรรมโดยไม่หวังผลของกรรมนั้น หากแต่มุ่งอุทิศการกระทำความดีนั้นแด่พรหม ผู้นั้นย่อมไม่แปดเปื้อนบาปประหนึ่งใบบัวไม่แปดเปื้อนหยดน้ำฉะนั้น
               โยคีที่แท้ย่อมบำเพ็ญตบะธรรมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งอาตมัน เมื่อโยคีนั้นละทิ้งความยึดมั่นถือมั่นเสียได้ ร่างกาย จิตใจ ประสาทสัมผัส ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดส่วนอื่นของเขาย่อมสักแต่ว่าดำเนินไปตามหน้าที่ของมัน ไม่จัดเป็นกรรมอันจะกลับผูกมัดเขา
               ผู้บำเพ็ญโยคธรรมโดยไม่หวังผลของการบำเพ็ญธรรมนั้นย่อมบรรลุถึงความสงบสูงสุดของชีวิต ส่วนผู้หวังผลของการบำเพ็ญธรรม ถึงปฏิบัติโยคธรรมอยู่ทุกขณะ ก็ไม่ถือว่าเป็นผู้บำเพ็ญโยคะ ชีวิตของเขามีแต่จะติดแน่นในโลกียมายา ไม่มีทางหลุดพ้น

               อาตมันที่ตัดกรรมทั้งปวงได้ ย่อมอาศัยอยู่ในร่างกายของคนอย่างเป็นสุข เจ้าของร่างนั้นไม่ต้องกระทำกรรมเพื่อเข้าถึงความสงบสูงสุดของชีวิตอันใดอีกแล้ว
               ปรมาตมันอันยิ่งใหญ่ไม่ได้ควบคุมการกระทำกรรมและการให้ผลของกรรมนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นกฎแห่งกรรมล้วนดำเนินไปตามธรรมชาติของมัน
               ปรมาตมันไม่อาจถ่ายถอนบาป หรือรับเอาบุญของใครได้ ปัญญาของคนคนนั้นต่างหากที่จะช่วยฉุดดึงเขาให้พ้นจากห้วงบาป
แต่เพราะเหตุที่ปัญญามักถูกความรู้เท่าไม่ทันจริงปกปิดไว้ คนทั้งหลายจึงต้องเวียนว่ายอยู่ในห้วงทุกข์ ไม่อาจพาตัวหลุดรอดออกมาจากห้วงกรรมนั้นได้

               บุคคลใดทำลายความไม่รู้ได้ด้วยปัญญา ปัญญาของบุคคลนั้นย่อมจะส่องสว่างให้เขามองเห็นปรมาตมันดุจอาทิตย์อุทัยสาดส่องผืนโลกให้คนมองเห็นสรรพสิ่งอย่างแจ่มชัด
               จิตของบุคคลใดยึดเหนี่ยวเอาปรมาตมันเป็นอารมณ์แนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวในปรมาตมัน บุคคลนั้นชื่อว่าเดินไปสู่ทิพยสถานอันเป็นสุขชั่วนิรันดร์ เขาไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายในห้วงสังสารวัฏฏ์อีกแล้ว บาปทั้งปวงของเขาถูกชำระล้างให้หมดสิ้นไปด้วยปัญญาแล้ว


                บัณฑิตย่อมมองสรรพชีวิตในจักรวาลว่ามีค่าเสมอกัน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะถูกยกย่องว่าเลอเลิศเช่นพราหมณ์ผู้คงแก่เรียน หรือถูกเหยียดหยามว่าต่ำทรามดังเช่นสัตว์เดรัจฉานและคนในวรรณะจัณฑาล เป็นต้น
                ผู้ใดมีจิตตั้งมั่น ผู้นั้นย่อมเอาชนะทุกสิ่งในชีวิตได้
                พรหมเป็นสภาวะที่เที่ยงตรง ไม่มีความเอนเอียงในสรรพสิ่ง ผู้ตั้งมั่นในความไม่เอนเอียงชื่อว่าตั้งมั่นในพรหม
                บุคคลใดมีปัญญาตั้งมั่น ไม่งมงายในสิ่งไร้เหตุผล รู้แจ้งถึงสภาวะที่แท้จริงของพรหม และมีใจยึดมั่นในพรหม บุคคลนั้นย่อมไม่ยินดีเมื่อประสบสิ่งอันน่าพอใจ และไม่ขุ่นเคืองเมื่อประสบสิ่งอันไม่น่าพึงใจ

                เมื่อจิตใจไม่แปรปรวนไปตามอารมณ์ภายนอก บุคคลย่อมประสบความสุข ยิ่งผู้มีใจแนบสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับพรหมผู้สูงสุด ยิ่งประสบความสุขอันไม่อาจพรรณนาได้

                อรชุน! ความยินดีอันเกิดจากความลุ่มหลงเมื่อได้สัมผัสอารมณ์อันน่าพอใจนี่เองคือต้นตอของทุกข์
                ผู้ใดสามารถต้านทานกระแสแห่งความทะยานอยากและความโกรธได้ กระทั่งร่างกายของตนก็อาจสละได้เพื่อสิ่งสูงสุด ผู้นั้นนับว่าเป็นโยคีแท้
                บุคคลใดพบความสุขในอาตมัน เกิดปีติเอิบอิ่มในอาตมันและมองเห็นความสว่างไสวแห่งชีวิตในอาตมันนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าได้ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพรหมแล้ว เขาได้บรรลุพรหมนิรวาณอันได้แก่การหมดสิ้นความเร่าร้อนในชีวิตสถิตมั่นเป็นส่วนหนึ่งของปรมาตมันแล้ว

                ผู้ใดทำลายบาปได้หมดสิ้น ตัดขาดความสงสัยในสภาวธรรมทั้งปวงได้สิ้นเชิง มีจิตอันฝึกฝนมาดีแล้ว และเป็นผู้ปรารถนาประโยชน์สุขแก่สัตว์นิกรทั้งปวงในโลก ผู้นั้นเป็นผู้ประเสริฐ ผลของความดีนั้นจักหนุนส่งให้เขาบรรลุถึงพรหมนิรวาณอย่างแน่แท้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 21, 2014, 02:13:17 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

ภควัทคีตา
บทเพลงแห่งองค์ภควัน
(สมภาร พรมทา แปลและเรียบเรียง)

บทที่แปด

                อรชุนถามว่า
                กฤษณะ! พรหมผู้สูงสุดนั้นเป็นอย่างไร อาตมันคืออะไร กรรมคือสิ่งใด ผู้เป็นใหญ่เหนือแผ่นดินและสวรรค์คือใคร โปรดตอบข้อสงสัยเหล่านี้ของเราที
                ในบรรดาสิ่งอันประกอบขึ้นเป็นร่างกายของคน ส่วนใดเป็นผู้รับผลของความดีที่คนผู้นั้นกระทำลงไปและได้รับโดยวิธีใด
                เราจะแน่ใจด้อย่างไรว่าหากควบคุมใจให้แน่วแน่ต่อท่านในชาตินี้แล้ว เมื่อตายไปจะได้พบท่านในทิพยโลกโปรดตอบ!
                กฤษณะตอบว่า
                ธรรมชาติอันหนึ่งไม่รู้จักเสื่อมสลายไปตามกาล เป็นใหญ่เหนือทุกสิ่งในจักรวาล นั่นล่ะพรหมอันสูงสุด
                สภาวะรู้รูปอย่างหนึ่งสถิตอยู่ในร่างกายของมนุษย์ เป็นตัวรับรู้อารมณ์และคิดนึก สภาวะนี้เรียกว่าอาตมัน
                มีพลังลึกลับชนิดหนึ่งเป็นตัวผลักดันให้เกิดชีวิตใหม่ สิ่งมีชีวิตทุกอย่างในจักรวาลต่างเวียนว่ายตายแล้วเกิดตามแรงผลักดันของพลัง อันนี้ พลังที่ว่านี้เรียกว่ากรรม

                สสาร* เป็นใหญ่ในแผ่นดิน จิต* เป็นใหญ่ในสวรรค์
                *(สสาร Matter นี้ในภาษาสันสกฤตใช้ว่า กฺษรภาวะ หมายถึงสิ่งที่ถูกต้องสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า และเป็นสิ่งสูญสลายไปได้ตามกาลเวลา -ผู้แปล)
                * (จิต Spirit ในโศลกสันสกฤตท่านใช้ว่า บุรุษ ได้แก่ สภาวะ นิรันดรอย่างหนึ่งที่เวียนว่ายอยู่ในห้วงจักรวาล จิตสามารถดำรงอยู่ได้ทั้งในร่างมนุษย์และในสภาพล่องลอยเป็นอิสระ และจะสถิตอยู่ในร่างคนสลับกับการล่องลอยไปจนกว่าจะเข้าถึงพรหม -ผู้แปล)
                เมื่อบุคคลกระทำกรรมดีลงไป ผู้รับผลของกรรมดีนั้นได้แก่อาตมัน
                ดังนั้น ความดีที่กระทำลงไปจึงไม่มีทางสูญเปล่า เพราะอาตมันเป็นสภาวะนิรันดร์ไม่รู้จักแตกทำลาย ถึงผู้กระทำความดีจะตายไป อาตมันที่จะคอบรับผลของกรรมดีก็ยังคงอยู่
                แน่ใจได้เลยว่าผู้ที่มีใจแนบแน่นในเรา เมื่อเขาละโลกนี้ไปแล้วเขาจักได้พบเรา ณ ทิพยสถานอันเป็นบรมสุข

                อรชุน! เมื่อจิตใจของคนยึดเหนี่ยวสิ่งใดเป็นพิเศษในเวลาก่อนตาย สิ่งที่ใจของเขาหน่วงดึงเอาไว้นั้นย่อมจะชักพาเขาไปสู่สภาวะของสิ่งนั้น
                เพราะฉะนั้นอย่าวิตกไปเลยอรชุน! จงรบ! แล้วพยายามระลึกถึงเราเอาไว้ตลอดเวลา! หาท่านตายเพราะการสู้รบในขณะที่ใจยึดเหนี่ยวเอาเราเป็นสรณะ ท่านก็จักได้ไปเสวยสุข ณ ทิพยสถานกับเรา!
                อรชุน! บุคคลผู้มีใจแนบแน่นใน “สิ่งสูงสุด” บำเพ็ญเพียรเพื่อ “สิ่งสูงสุด” นั้น ย่อมลุถึง “สิ่งสูงสุด” สมประสงค์เพราะความพากเพียร

                “สิ่งสูงสุด” นี้รอบรู้ทุกสิ่งอย่างในจักรวาล หยั่งทราบอดีตและอนาคต เป็นผู้พิทักษ์คุ้มครองโลก เป็นสภาวะที่อยู่เหนือการคาดหวัง เป็นแสงสว่างแห่งจักรวาลประดุจดวงตะวันที่สาดส่องขจัดความมืดมน
                ใครก็ตามยึดเหนี่ยวเอา “สิ่งสูงสุด” นี้เป็นสรณะแห่งชิวิต บำเพ็ญเพียรด้วยใจที่ศรัทธามั่นคงต่อ “สิ่งสูงสุด” นั้น เขาเมื่อละร่างนี้ไปแล้วย่อมเข้าถึง “สิ่งสูงสุด” ณ ทิพยสถานแดนสงบชั่วนิรันดร์
                อรชุน! ท่านผู้รู้เรียก "สิ่งหนึ่ง" ว่าเป็นสภาวะอมตะ ไม่รู้จักเสื่อมสลาย สภาวะนั้นจะบรรลุถึงได้ก็เฉพาะบุคคลผู้ประพฤติพรหมจรรย์ปฏิบัติด้วยใจอันบริสุทธิ์สะอาดเท่านั้น
                ณ บัดนี้เราจะหยิบยกเอาสภาวะนั้นมาแสดงให้ท่านฟังโดยสังเขป

                อรชุน! ผู้ใดสำรวมกาย วาจา ใจให้มั่นคง ปฏิบัติโยคธรรมด้วยใจที่ตั้งมั่นในเรา ผู้นั้นเมื่อละร่างนี้ไปสู่ปรโลก เขาจะได้บรรลุถึงบรมศานติ
                ผู้ใดมีใจยึดเหนี่ยวในเรา และหน่วงเหนี่ยวเอาเราเป็นอารมณ์ ในการบำเพ็ญสมาธิธรรม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงเราได้เร็วพลัน
                เมื่อบรรลุถึงเราแล้วเขาจะ
กลายเป็นหนึ่งเดียวกับเราไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายในห้วงสังสารวัฏฏ์อันเต็มไปด้วยความทุกข์เข็ญเจ็บปวดนั้นอีก
                อรชุน! การเวียนว่ายตายเกิดนี้
เป็นกฎของชีวิต ทุกคน ทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป้นมนุษย์หรือเทพล้วนแล้วแต่ต้องเวียนว่ายไปตามกฎของชีวิตอันนี้
                ยกเว้นแต่ผู้เข้าถึงเราเท่านั้นที่
อยู่เหนือกฎการเวียนว่ายนี้               
                แม้แต่เหล่าพรหมในพรหมโลกที่ว่าอายุยืนยาวนักก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดเมื่อถึงกาลอันสมควร*
                (* หมายถึงพรหมชั้นต่ำลงมายกเว้นมหาพรหมที่ดำรงภาวะแห่งปรมาตมัน พรหมเหล่านี้ก็คือเทพประเภทหนึ่งแต่เป็นเทพชั้นสูง ที่มีอายุการเสวยสุขในทิพยโลกยาวนานกว่าเทพอื่นๆ -ผู้แปล)

                ในพรหมโลกนั้น วันหนึ่งของเหล่าพรหมเท่ากับพันกัปในโลกมนุษย์ และคืนหนึ่งในพรหมโลกก็เป็นเวลาพันกัปของมนุษย์เช่นกัน
                ในเวลากลางวันพรหมทั้งหลายจะแสดงร่างออกมาให้ปรากฏ ครั้นล่วงเข้าสู่ราตรีร่างเหล่านั้นก็จะกลับประลัยละลายหายไปสู่ความว่าง เปล่าอีกครั้ง
                การปรากฏและการประลัยของเหล่าพรหมก็คือการที่ภาวะก่อเกิดจากอภาวะ แล้วภาวะนั้นก็กลับคืนสู่อภาวะอีกที
                อภาวะอันอยู่เบื้องหลังภาวะ และเป็นแดนกำเนิดของเหล่าพรหมตลอดจนสรรพสิ่งในจักรวาลนี้มีเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อักษรภาวะ*
                (* อักษรภาวะ The Imperishable
มาจากคำว่า อ+กฺษร+ภาว, อ-แปลว่าไม่, กฺษร-แปลว่าสิ้นไปได้, อักษรภาวะจึงแปลได้ความว่าสภาพหรืออานุภาพชีวิตหนึ่งที่เป็นอมตะ ไม่มีวันพินาศเสื่อมสลาย -ผู้แปล)

                อักษรภาวะนี้โดยเนื้อแท้ก็คือสิ่งสิ่งเดียวกับบรมศานติสถานที่เราพูดถึง เป็นอมตสถานที่เสวยสุขชั่วนิรันดร์ของผู้หลุดพ้น และเป็นสถานที่ที่เราดำรงอยู่               
                อรชุน! อักษรภาวะนี้เป็นชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด บุคคลจะเข้าอักษรภาวะนี้ได้ก็ด้วยความภักดีอันมั่นคงไม่คลอนแคลนในเราเท่านั้น
                ทางเดินของชีวิตมีอยู่สองสาย สายหนึ่งตรงไปสู่ความสว่างไสวรุ่งเรือง ส่วนอีกสายตรงไปหาความมืดมิดตกต่ำ
                อรชุน! ผู้ฉลาดย่อมรู้จักเลือกทางเดินชีวิตให้ตนเอง ผู้เลือกทางถูกย่อมจะเข้าถึงความสงบแห่งชีวิต ไม่ตกต่ำอับจนเพราะการเลือกที่ผิดพลาดของตนเอง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 08, 2014, 11:16:56 pm โดย แก้วจ๋าหน้าร้อน »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

ภควัทคีตา
บทเพลงแห่งองค์ภควัน
สมภาร พรมทา แปลและเรียบเรียง

บทที่เก้า

                กฤษณะตรัสว่า
                อรชุน! เราจะบอกสิ่งลึกลับอย่างยิ่งสามประการแก่ท่าน เมื่อท่านทราบรหัสยภาวะสามประการนี้แล้ว ท่านจะพ้นจากบาปทั้งปวง
                สิ่งลึกลับอย่างยิ่งที่เราจะบอกแก่ท่านนี้ได้แก่ อธิปัญญา หนึ่ง, อธิรหัสยภาพ หนึ่ง, และอธิวิสุทธิ อีกหนึ่ง
                สามสิ่งนี้เป็นทางแห่งการเข้าสู่ความหลุดพ้นโดยตรง
                อรชุน! ผู้ใดไม่เชื่อมั่นในทางสามสายนี้ ผู้นั้นย่อมไม่อาจเข้าถึงเรา เขาจักต้องเวียนว่ายทุกข์ทนอยู่ในห้วงสังสารวัฏฏ์อีกต่อไป
                สรรพสิ่งอันปรากฏเป็นรูปเป็นร่างในจักรวาลล้วนแต่ต้องพึ่งพิงเรา! เราเป็นเจ้าและเป็นนายของสรรพสิ่งไม่มียกเว้น!
                อุปมาดังอากาศที่แทรกซึมอยู่ทั่วทุกอณูของที่ว่าง อากาศนั้นจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทั้งปวงฉันใด เราก็จำเป็นต่อการพึ่งพาสำหรับสรรพสัตว์ฉันนั้น

                อรชุน! เมื่อถึงเวลาที่กัลป์ประลัย จักรวาลถูกไฟประลัยกัลป์แผดเผาเป็นผุยผงสิ้น ชีวะของสัตว์ทั้งปวงจะเข้าไปรวมอยู่กับเรา จนเมื่อถึงเวลาเริ่มต้นกัลป์ใหม่ เราถึงจะส่งสัตว์เหล่านั้นลงมาจุติอีครั้ง
                เราคือผู้สร้างสรรพสิ่งขึ้นใหม่ในจักรวาลเมื่อกัลป์ใหม่เริ่มต้น! เราเนรมิตทุกสิ่งอันอย่างนี้ครั้งแล้วครั้งเล่าไม่มีที่จบสิ้น! สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนแต่เกิดขึ้น, ดำรงอยู่, และพินาศไป
ภายใต้การควบคุมของเราทั้งสิ้น!
                เราสร้างสรรพสัตว์ แต่
ไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบกรรมของสัตว์ทั้งหลาย
                กรรมใดใครก่อ! ผู้นั้นต้องรับผลของกรรมนั้น!
                คนเขลาไม่หยั่งทราบอานุภาพของเราก็พากันลบหลู่เรา
ผู้อยู่ในร่างมนุษย์สามัญ หารู้ไม่ว่านี่คือเจ้าชีวิตของมันเอง!
                คนผู้ด้อยความคิดเหล่านั้นเมื่อไม่เข้าใจภาวะของเราเสียแล้วจะคิดจะหวังหรือ จะกระทำสิ่งใดก็มีแต่พลาดแต่ผิดวิบัติไปหมดสิ้น

                ผู้ฉลาดสามารถมองผ่านร่างมนุษย์ที่หุ้มห่อเราเข้าไปเห็นทิพยภาวะ ย่อมหยั่งทราบว่าเราคือแหล่งกำเนิดของสรรพสิ่งรวม ทั้งตัวเขาเองด้วย เมื่อหยั่งรู้เช่นนั้น เขาย่อมมีใจภักดีต่อเรา หมั่นเพียรบำเพ็ญคุณความดี เพื่อเข้าถึงเราด้วยจิตใจที่มั่นคงหนักแน่น

                อรชุน! ภาวะแห่งเรานี้เป็นได้ทั้ง
เอกภาวะและพหุภาวะ
                การที่เราเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งหรืออีกนัยหนึ่ง สรรพสิ่งทั้งหลายก่อกำเนิดมาจากเราผู้เดียว นี่เรียกว่า
เอกภาวะของเรา
                ส่วนการที่เราเป็นธรรมชาติในสรรพสิ่ง นั่นคือ
พหุภาวะของเรา
                เราเป็นหัวใจของการประกอบยัญพิธี!
เป็นมรรคาสู่ความหลุดพ้น! เป็นผู้ให้กำเนิดโลก! เป็นผู้ปกป้องโลก! และเป็นผู้ทำลายโลก!
                เราเป็นสักขีพยานในการทำความดี! เป็นที่พึ่งพิงของคนทุกข์!
เป็นเพื่อนของผู้ต้องการเพื่อน!

                เราเป็นความร้อนในแสงตะวัน! เป็นความฉ่ำเย็นในสายฝน!
                เราเป็นชีวิตของสิ่งมีชีวิต! และเป็นความตายของสิ่ง
ที่วงจรชีวิตเดินมาครบเงื่อนไขการดำรงอยู่แล้ว!เราเป็นทั้งสิ่งที่มีอยู่และที่ไม่มีอยู่! เป็นภาวะและอภาวะ!
                ผู้ใดหยั่งทราบ
ภาวะแห่งเราทั้งที่เป็นเอกภาวะและพหุภาวะอย่างนี้แล้ว มีใจภักดีหมั่นเพียรประกอบกรรมดีเพื่อนบูชา ผู้นั้นย่อมจะได้รับความเกษมศานดิ์จากเราเป็นเครื่องตอบแทน

                แม้เหล่าชนที่บูชาเทพเจ้าเหล่าอื่นนอกเหนือจากเราก็เช่นกัน เพราะเหตุที่เขาไม่เข้าใจถึงภาวะของเรา
ที่ครอบคลุมทุกสิ่งอย่างไม่เว้นกระทั่งเทพเหล่านั้น พวกเขาจึงพากันกราบไหว้เทพที่ตนเข้าใจว่าเป็นสิ่งสูงสุด แต่เพราะความที่พวกเขาเซ่นไหว้เทพด้วยใจบริสุทธิ์ แม้จะยังเดินไปไม่ตรงทางนัก พวกเขาก็จะได้รับผลแห่งความดีนั้นตามสมควรแก่การกระทำจากเรา
                นั่นคือผู้ใดเซ่นไหว้เทพองค์ใด เมื่อสิ้นชีวิตลง ผู้นั้นย่อมจะได้ไปร่วมเสวยสุขกับเทพองค์นั้น
                ผู้ใดกราบไหว้ผีบรรพบุรุษก็จะได้ปอยู่ร่วมภพเดียวกันกับบรรพบุรุษนั้น
                ผู้เซ่นสรวงภูตผีระดับใดก็จะได้ไปร่วมเป็นสมาชิกของภูตผีระดับนั้น

                บุคคลที่กล่าวมาทั้งหมดแม้จะได้รับผลของกรรมในทางที่ดี แต่นั่นก็
ไม่ใช่ทางหลุดพ้น!

                ผู้บูชาเราด้วยการปฏิบัติโยคธรรมจนจิตใจบริสุทธิ์สะอาจากมลทินทั้งปวงเท่านั้นจึงจะพบกับความหลุดพัน!
                การบูชาเรา เราถือเอาความบริสุทธิ์ใจและแรงศรัทธาเป็นประการสำคัญ ดังนั้นหากใครมีใจเชื่อมั่นในเราแม้ทานวัตถุของเขาจะด้อยราคาแค่เพียงเป็น ใบไม้, ดอกไม้, ผลไม้ หรือน้ำเปล่าๆ ทานนั้นเราก็ถือว่าเป็นทานที่ยิ่งใหญ่ จงทราบว่าเรารับเอาทานนั้นไว้
ด้วยใจที่เบิกบานและชื่นชมยิ่งแล้ว

                ดังนี้แลอรชุน! เมื่อท่านจะทำ, จะกิน, จะประกอบยัญกรรม, จะให้ทาน, หรือจะบำเพ็ญเพียร ขอจงอุทิศการกระทำทั้งหมดนั้นมาที่เรา
                หากทำได้เช่นนั้น ท่านจะหลุดพ้นจากบุญและบาป อันจะให้ผลเป็นการเวียนว่ายในสังสารวัฏฏ์ต่อไป
                จงสลัดกรรมทั้งปวงออกจากจิตใจให้หมดสิ้น
                เมื่อสลัดกรรมทิ้งได้ ท่านย่อมได้ชื่อว่าเข้าถึงเราแล้ว
                อรชุน! เราเป็นผู้วางตนเสมอในทุกสิ่งบนผืนแผ่นดินนี้ เราไม่เลือกชอบหรือชัง
                ผู้ใดศรัทธาในเรา ปฏิบัติตนให้ดีเพื่อเข้าถึงเรา ผู้นั้นย่อมจะได้ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับเรา
                แม้แต่ผู้เคยประกอบกรรมชั่วมาก่อน ต่อภายหลังจึงกลับใจเลิกละความชั่วนั้นเพื่ออุทิศแก่เรา คนเช่นนั้นก็ควรแก่การยกย่องสรรเสริญเสมอสาธุชนคนดีทั้งหลาย

                อรชุน! บุคคลผู้มีใจ
ตั้งมั่นในธรรมและยึดมั่นในเราย่อมได้รับศานติ ไม่มีความเสื่อมตลอดนิรันดรกาล

                คนบาป, สตรี, แพศย์, และศูทร แม้คนสี่ประเภทนี้จะถือกันว่าเป็นคนชั้นต่ำ แต่เมื่อเขามีความเพียรพยายามประกอบคุณความดีอุทิศเพื่อเรา เขาก็สามารถบรรลุบรมศานติร่วมเสวยทิพยสุขกับเราเยี่ยงสาธุชนอื่นๆ ได้เช่นกัน

                ทั้งนี้ไม่ต้องจำเอ่ยถึงบรรดาพราหมณ์และกษัตริย์ชั้นสูงที่ภักดีในเรา เพราะขนาดชนชั้นต่ำที่ภักดีในเรายังอาจบรรลุถึงความสุขอันสูงสุดนั้นได้ ไฉนชนในวรรณะสูงจะไม่ได้รับสุขอันเป็นอมตะเล่า
                อรชุน! โลกนี้เป็นอนิจจังผันแปรไม่แน่นอนหลากรายด้วยทุกข์โศกนานาประการ ทราบเช่นนี้แล้วใยท่านไม่น้อมยึดเอาเราเป็นสรณะเสียเล่า

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 21, 2014, 02:06:19 pm โดย ฐิตา »