ผู้เขียน หัวข้อ: วิสุทธิมรรค ภาคปัญญา  (อ่าน 2222 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
วิสุทธิมรรค ภาคปัญญา
« เมื่อ: มีนาคม 21, 2014, 04:34:31 am »
ย่อความโดย เกษร สุทธจิตวิปัสสนาญาณ
วิ แปลว่า ชัดเจน แจ่มใส ชัดแจ้ง
ปัสสนา มาจากทัสสนา คือ มองเห็น เข้าใจได้
ญาณคือความรู้ตามความเป็นจริงของนรกโลก สวรรค์ นิพพาน
ญาณ เป็นความรู้ที่พิสูจน์ได้ด้วยตนเอง เป็นความรู้ที่ไม่ต้องใช้วัตถุ ไม่ต้องใช้ตา แต่ใช้กายใน คือจิตใจ วิปัสสนาญาณ ความรู้ ความเข้าใจที่ชัดเจน
แจ่มใส รู้ได้ด้วยการฝึกปฏิบัติธรรม เกิดปัญญาชาญฉลาดด้วยตนเอง เป็นความรู้ยอดเยี่ยมวิเศษ ที่จะนำจิตใจพ้นทุกข์ พ้นกิเลส หมดการเวียนว่าย 
ตาย เกิด จิตเสวย วิมุตติสุข พระนิพพานได้ด้วยตนเอง ไม่มีใครบอกให้เข้าใจได้นอกจากปฏิบัติเองด้วย ศีล สมาธิ พิจารณา คือ ปัญญา
วิปัสสนาญาณ มีหลายแบบ

1. วิปัสสนา แบบมหาสติปัฏฐานสูตร โดยการระลึกถึงร่างกายเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ มารวมกันชั่วคราว มีแต่ความสกปรก เหม็น น่ารังเกียจ เหมือน
ศพเดินได้ พิจารณาดูอารมณ์ สุขทุกข์ แปรปรวน ไม่แน่นอน พิจารณาดูอารมณ์ จิต มีการติดใจหลงใหลในรูป รส กลิ่น เสียง มีนิวรณ์ 5 คือ 
ราคะ ปฏิฆะ ความไม่พอใจ ความฟุ้งซ่าน สงสัย หรือความเบื่อหน่าย ดูจิตดี หรือชั่ว ถ้าชั่วก็ให้ขจัดออกจากจิตคิดแต่สิ่งที่ดี คือ คิดตามเป็นจริงว่าทุกคน
เกิดมาเท่าไร ตายหมดเท่านั้น ไม่มีอะไรที่จิตจะติดใจเยื่อใยในโลกนี้ เป็นการขจัดอุปาทาน กิเลสตัณหา อวิชชา เพื่อมรรคผลนิพพาน
2. วิปัสสนาแบบในพระไตรปิฎก คือ ท่านให้พิจารณาขันธ์ 5 รูป นาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนบังคับไว้ไม่ได้ คือ อนัตตา เหมาะแก่ผู้ที่ชอบ
พิจารณารวมๆ ไม่ต้องแยกจากข้อ 1 ถึง ข้อ 9 หรือถึงข้อ 16 เป็นการพิจารณาแบบอริยสัจ คือ เห็นทุกข์ เห็นโทษภัยของการมีร่างกายว่า
ผู้ใดเห็นขันธ์ 5 ผู้นั้นก็เห็นอริยสัจผู้ใดเห็นอริยสัจ ผู้นั้นเห็นขันธ์ 5

วิปัสสนาญาณ 9
ใช้จิตทำงานโดยนึก คิด พิจารณาเป็นทั้งการวิจัย ค้นคว้าในเรื่องรูปร่างกายขันธ์ 5 
ของคน สัตว์
1. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาความเกิด ความตายของร่างกาย
ภังคานุปัสสนาญาณพิจารณาเห็นความสูญสลายตายไปของคนสัตว์
3. ภยตูปัฏฐานญาณ สังเกตุค้นคว้าหาเหตุหาผลดูว่าร่างกายนั้นเป็นของน่ากลัว เพราะร่างกายเป็นสาเหตุต้นเหตุแห่งความทุกข์ยากทั้งปวง ความหิวกระหาย 
ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน เป็นของน่ากลัว เพราะร่างกายเป็นต้นเหตุแห่งการนำความทุกข์มาให้จิตใจ
4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ สังเกตุวิจัย หรือเฝ้าดูว่าร่างกายมีแต่โทษ ไม่มีคุณประโยชน์ โทษของร่างกายมีความเหนื่อย หนาว ร้อน ปวดโน่น เจ็บนี่ 
แก่มาหูตาไม่ดี ทรุดโทรมทุกอย่างตอนเด็กก็เป็นทุกข์ คือ ทุกข์แบบเด็กๆ เป็นผู้ใหญ่ก็มีภาระต้องทำมาหากิน เป็นคนแก่ยิ่งทุกข์หนักร่างกายผุพัง
ต้องหา ยามาซ่อมแซม ความตายคอยติดตามทุกลมหายใจเข้าออก ถ้าหยุดหายใจ หยุดกิน หยุดถ่าย ก็ต้องตายทันที
5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ พิจารณาสังเกตุดูว่า ร่างกายเราร่างกายเขาน่ารัก หรือน่าเบื่อหน่าย เจ็บปวดกาย ปวดใจมีแต่เรื่องภาระต้องแก้ไข
ตลอดเวลา ถ้ายังเห็นว่าร่างกายดีเป็นสุขเป็นคุณประโยชน์ เพราะร่างกายยังแข็งแรงดีอยู่ เอาความสุขทางรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสมาประคับประคองคิดว่า
เป็นของดี หลงเข้าใจว่าเป็นความสุขจริง นั่นคือความหลง แท้ที่จริงความสุขของรูป รส กลิ่น เสียงก็ตั้งอยู่ในความทุกข์ของการหาเงินทองมาแลก
เปลี่ยนกับของ บำเรอความสุขทางกาย
6. มุญจิตุกามยตาญาณ พินิจคิดค้นคว้าหาหนทางใดที่จะหลุดพ้นจากการมีขันธ์ 5 รูปกาย มีความรู้สึกนึกคิด มีความจำ มีประสาท ตา หู จมูก
ลิ้น กายใจที่แปรปรวนเป็นภาระให้แก้ไข ดูแล ทำความสะอาด หาอาหารมาใส่เติมให้ท้องทุกวัน ร่างกายมีแต่โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ท่านให้
พยายามหาทางพ้นทุกข์ต่อไปด้วยการหาสาเหตุที่มีร่างกายก่อน ถ้าไม่มีร่างกายก็จะไม่มีโทษทุกข์น่ากลัว น่าเบื่อหน่ายเช่นนี้
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงสอนเหตุของการเกิด หรือปัจจัยทำให้เกิดเป็นคน ท่านเรียกปฏิจจสมุปบาท คือ สายโซ่ของการเกิด
เป็นลำดับชั้น เป็นมาจากสาเหตุผลการเกิดจึงตามมา ดังนี้
เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด
เมื่อไม่มีเหตุ ผลจึงไม่มี เพราะเหตุดับ ผลจึงดับ

1. สาเหตุจากการเกิดเป็นคน ความแก่ ชรา ความเจ็บป่วย ความตายจึงตามมา
2. ชาติ ความเกิดมีได้ เพราะมีภพ คือ ความเป็นอยู่เป็นปัจจัย
3. ภพ ความเป็นอยู่ เป็นคน สัตว์ เทวดา ได้ เพราะ อาศัยอุปาทาน ความยึดมั่นในภพ
4. อุปาทาน ความยึดมั่นมีขึ้นได้ เพราะอาศัยตัณหา ความทะยานอยากมี อยากเป็น 
อยากไม่มี ไม่เป็น
5. ตัณหาความอยากมีขึ้นได้ เพราะอาศัยผัสสะความสัมผัส ความกระทบทางกาย
6. ผัสสะอารมณ์สัมผัสมีได้ เพราะอาศัยอายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ได้รู้รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เพราะมีอวัยวะทั้ง 6 เป็นปัจจัย
ส่งเสริมให้รู้ อายตนะ 6 มีขึ้นได้ เพราะอาศัยนาม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และรูปร่างกาย คือ ขันธ์ 5 หรือเรียกว่า รูป นาม เป็นปัจจัย
ให้มีอายตนะ 6 นี้
8. นามรูป หรือขันธ์ 5 ร่างกายมีขึ้นได้ เพราะอาศัย วิญญาณปฏิสนธิ คือ จิตวิญญาณปฏิสนธินี้ท่านหมายถึง จิต ไม่ได้หมายความเอาวิญญาณ
ในขันธ์ 5 (วิญญาณในขันธ์ 5 คือ ระบบประสาททุกส่วนในร่างกาย คือ ความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ เป็นระบบประสาทรวมทั้งสมอง)
นามรูปมีขึ้นได้ เพราะอาศัยจิต เข้ามาอยู่ในนามรูป
วิญญาณปฏิสนธิหรือจิตเข้ามาอยู่ในรูปนามได้เพราะมีสังขารสังขารคือความรู้สึกนึกคิดชอบใจพอใจในรูปในนามในการเกิด
10. สังขาร ความรู้สึกนึกคิด ชอบใจ พอใจในการเกิดเป็นคน เทวดา พรหม ได้เพราะอาศัย อวิชชา ความไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า คน เทวดา พรหม
ไม่ใช่แดนเป็นสุขจริง อวิชชา คือ ความไม่ฉลาด ความหลงงมงาย เพราะมีความรัก ความพอใจใจมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เป็นสา
เหตุแห่งการเวียนว่าย ตาย เกิด ดังนั้น การที่จะดับทุกข์ต้องดับที่ต้นตอสาเหตุแห่งทุกข์เป็นทางที่จะพ้นทุกข์ องค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า 
จึงทรงเน้นให้ดับทุกข์ที่อวิชชาคือ ตัดความโง่หลงงมงายของจิตออกด้วยการให้พิจารณาร่างกายขันธ์ 5 ตามความเป็นจริง ว่า ร่างกายเต็มไปด้วย
ความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เปลี่ยนไปทางทรุดโทรม สูญสลาย มีเจ็บปวดทรมานจากความหิว ความเหนื่อย เมื่อยล้า เจ็บปวดทนร้อนทนหนาว หาอาหาร หาเสื้อผ้า หาที่อยู่
อาศัย หารถยนต์ เงินทองแสนยากลำบากอยู่ไม่นานก็เจ็บป่วย ตายจากกัน ภัยอันตรายก็รบกวนรอบด้าน ถ้ามองเห็นโทษทุกข์ ของร่างกายได้ จิตก็
ปล่อยวางจากร่างกาย หมดการยึดติดมั่นจิตก็เป็นอิสระเสรี พระท่านเรียกว่า มีวิชชา หรือมีปัญญาหลุดพ้นทุกข์ คือหลุดจากขันธ์ 5 ร่างกายที่เคย
หลงใหลใฝ่ฝันนั้นเอง 
7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาหาหนทางที่จะพ้นจากขันธ์ 5 ร่างกาย พิจารณาซ้ำตามแบบปฏิจจสมุปบาท หาเหตุหาผลของการเกิด สรุปแล้ว
สาเหตุการเกิดที่สำคัญ คือ 5 อย่าง คือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กิเลส อกุศลกรรม ทำผิดศีล 5

8. สังขารุเปกขาญาณ ท่านสอนให้ทำจิตทำใจวางเฉย ในร่างกายของตนเอง วางเฉยในร่างกายคน สัตว์ วางเฉยในเหตุการณ์ทุกสิ่งทุกอย่าง
ในโลกที่มีแต่ ความวุ่นวาย แปรปรวน มีปัญหาไม่รู้จบ โดยตกลงปลงใจว่าเป็นธรรมดาของโลก ของคน สัตว์ ต้องเป็นอย่างนี้หนีไม่พ้น ทำจิตให้สบาย 
ไม่สุข ไม่ทุกข์กับเรื่อง ของโลก ไม่เสียใจ ไม่ดีใจ ไม่น้อยใจ จิตใจจะนิ่งเฉยๆ สบาย ไม่มีความหวั่นไหว ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพราะมีปัญญายอมรับ
สภาพสภาวะตามความเป็นจริง 
9. สัจจานุโลมิกญาณ ให้พิจารณาหาเหตุผลกลับไปกลับมา ให้เห็นอริยสัจ คือ ความจริงแท้ว่า ร่างกายขันธ์ 5 เป็นบ่อเกิดต้นเหตุสาเหตุแห่งความ
ทุกข์ยากลำบาก กาย ใจ เห็นทุกข์ในการมีร่างกายเขา ร่างกายเราเป็นปกติ จิตจะได้เลิกละตัณหาความพอใจ ความอยากมี อยากได้ อยากเกิด 
อยากรวย อยากสวยอยากเด่น ไม่ต้องการอีกต่อไป ร่างกายตายสลายเมื่อไรจิตเราขอติดตามองค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
เข้าแดนเอกันตบรมสุขนิพพาน สถานเดียว จิตใจเราตั้งมั่นคงในศีล สมาธิ วิปัสสนาญาณ แบบนี้ ทุกข์ทั้งหมดจะไม่มีเพราะจิตสะอาด ฉลาด 
เห็นสาเหตุของทุกข์ จิตใจฉลาด ไม่ทุกข์ยากตาม ร่างกาย จิตไม่หลงมัวเมาในร่างกาย ความโลภ ความโกรธ ความหลง อวิชชา ตัณหา 
อุปาทานก็หมดไป จิตฝึกฝนพิจารณาตลอดเวลาจนจิต ตัดขาด จากสังโยชน์ 10 กิเลสใหญ่ๆ 10 อย่างได้ ความมั่นใจ มั่นคงเกิด 
จิตท่านก็จะได้ญาณรู้ว่าจิตเป็นสุขอย่างยิ่ง คือ จิตเป็นจิตนิพพานทั้งๆ ที่มีกายเป็นทุกข์จิตนิพพาน จิตบริสุทธิ์ ไม่เป็นทุกข์ไปกับร่างกายขันธ์ 5

วิปัสสนาญาณ 16 แบบไตรลักษณ์
นามรูปปริจเฉทญาณให้คิดพิจารณารู้ว่ากายนั้นส่วนหนึ่งจิตเป็นอีกส่วนหนึ่งคนละส่วนกันไม่ใช่อันเดียวมี2 อย่างในบุคคลคนเดียว คือ กายกับจิต
2. นามรูปปัจจัยปริคคญาณ ให้กำหนดรู้ว่าจิตเป็นผู้สั่งบังคับบัญชาให้กายพูดให้กายเคลื่อนไหวและให้พิจารณาดูรูปร่างกายเปลี่ยนแปลง
เคลื่อนไปหาความเฒ่าแก่ทรุดโทรมกันทั้งหมด ทั่วทุกคนแล้วก็ตาย กายเป็นผลจากกรรมดี กรรมชั่ว จิตนั้นมาอาศัยกายชั่วคราว
3. สัมมสนญาณ พิจารณาไตร่ตรองให้รู้กายกับจิตแยกกันต่างหากได้ทั้งๆ ที่ยังไม่ตาย และตายแล้ว จิต คือ อาทิสมานกาย คือกายในที่มองด้วยตาไม่เห็น
4. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาสังเกตุติดตามให้รู้ความเกิดความดับของขันธ์ 5 รูปนาม
ภังคญาณให้จิตกำหนดรู้รูปนามขันธ์5 เคลื่อนไปหาความตาย ตายจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ ตายจากผู้ใหญ่เข้าวัยชราตลอดเวลา
6. ภยตูปัฏฐาน สังเกตดูว่า ขันธ์ 5 รูป นาม เป็นภัยอันตรายน่ากลัว เพราะนำมาซึ่งความทุกข์ยาก ตลอดเวลามีโรคภัยไข้เจ็บ ต้องลำบากหาเงินมาซื้อรถยนต์ 
อาหาร บ้าน เสื้อผ้าที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยให้ร่างกาย
7. อาทีนวานุปัสสนาญาณ เอาจิตพิจารณาเห็นโทษของขันธ์ 5 ร่างกายนำมาซึ่งความยากลำบาก มีแต่โทษ ทุกข์ไม่มีคุณความดี
8. นิพพิทานุปัสสนาญาณ จิตพิจารณาให้เห็นว่า การมีขันธ์ 5 รูป – นาม หรือร่างกายเป็นของที่น่าเบื่อหน่ายเพราะมีแต่ปัญหา มีแต่ทุกข์ แต่โทษ ไม่มีวันจบ
สิ้นต้องดูแลทำความสะอาดหาอาหาร หาที่อยู่อาศัย ต้องซ่อมแซมบ้าน รักษาดูแลร่างกายมิให้เจ็บป่วยผุพัง ร้อนหนาวทุกวัน
มุญจิตกามยตาญาณจิตคิดพิจารณาหาทางที่จิตจะหลุดพ้นจากร่างกายขันธ์5 ที่เป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นโทษ น่าเบื่อหน่าย เหม็น สกปรกตลอดเวลา
10. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ จิตคิดค้นหาหนทางที่จะให้พ้นจากขันธ์ 5 รูป นาม โดยเร็ว ตายเมื่อไรจะดีใจมาก แต่มีศีล 5 ครบ ไม่ต้องการฆ่าตัวตาย จิตไม่ติด
ในร่างกาย สังขารุเปกขาญาณจิตเมื่อหาหนทางออกจากร่างกายไม่ได้ก็ปล่อยตามเรื่องของร่างกายจิตเริ่มวางเฉยไม่สนใจร่างกายตนเองและผู้อื่นไม่ตื่นเต้นดีใจ
หรือเสียใจกับทุกสิ่งทุกอย่างใดๆในโลกมีปัญญารู้เท่าทันว่าในไม่ช้าทุกอย่างก็เสื่อมสลายผุพังเป็นของชั่วครู่ชั่วคราวทั้งสิ้น
12. สัจจานุโลมิกญาณ จิตคิดพิจารณาจากญาณ 1 ถึง 11 ถอยหน้า ถอยหลังทบทวนความรู้เรื่องขันธ์ 5 ร่างกายไม่มีอะไรดี ไม่ใช่ตัวตนจริงของจิต เป็นของสมมุติ
จะชั่วครู่ ชั่วคราวเท่านั้น
13. โคตรภูญาณ จิตมีความรู้ ความฉลาดในเรื่องขันธ์ 5 ร่างกาย จิตไม่เกาะในร่างกาย จิตเข้าสู่ความบริสุทธิ์ เข้าสู่กระแสพระนิพพาน มีความมั่นคงในศีลใน
พระรัตนตรัย ไม่สงสัยในผลปฏิบัติในศีล สมาธิ วิปัสสนาญาณ
14. มรรคญาณ จิตมีปัญญาฉลาดคลายถอนจากความหลงว่าร่างกายเป็นของจิต ไม่เกาะติดกับลาภยศสรรเสริญ เจริญสุขจิตมีจุดมุ่งหมายปลายทางคือ 
พระนิพพานในชาตินี้ เรียกว่า จิตเข้าสู่อริยมรรค มีโสดาปฏิมรรค เป็นต้น
15. ผลญาณ จิตมีความรู้เกิดขึ้นว่า การพิจารณาขันธ์ 5 ร่างกายตามไตรลักษณ์ว่า เป็นทุกขัง อนิจจัง แปรปรวน อนัตตา แตกสลายตายกันหมดสิ้น ให้ผล
เป็นสุขใจ เพราะจิตไม่ผูกพันติดในร่างกาย มีพระนิพพานเป็นที่ไปแน่นอนชาตินี้ คือ จิตเข้าสู่อริยผล อริยบุคคล อริยชน เป็นโสดาปฏิผล สกทาคามีผล 
อนาคามีผล อรหัตตผล
16. ปัจจเวกขณญาณ จิตจากอริยผลนั้นมีปัญญาในการสละตัดกิเลสสังโยชน์ 10 ให้หมดสิ้นไป จิตเบา กายเบา จิตหมดจดจากกิเลส โลภ โกรธ หลง 
จิตมีความก้าวหน้า มีปัญญารอบรู้ฉลาด ทั้งทางโลก ทางธรรม จิตมีวิมุตติสุข สุขตลอดกาล ทั้งๆ ที่ยังมีขันธ์ 5 ร่างกายแต่จิตเป็นนิพพาน
เหตุปัจจัยในการบรรลุมรรคผล
นักเจริญวิปัสสนาญาณ ที่หวังอริยมรรค อริยผล เป็นอริยบุคคลเข้ากระแสพระนิพพานในชาตินี้ องค์สมเด็จพระสัพพัญญูบรมครูพระพุทธเจ้า ทรงสอนให้จิต 
กาย วาจา ใจ มีบารมี 10 คือ มีความตั้งใจจริงเต็มกำลังของจิต 10 ข้อ ถ้าข้อใดข้อหนึ่งขาดตกบกพร่อง ผลจากการพิจารณาวิปัสสนาญาณจะไม่มี
ผลสมบูรณ์การสละละกิเลสสังโยชน์ 10 ก็ช้าลง

บารมี 10
บารมี คือ ความตั้งใจ มั่นใจ เชื่อใจ เต็มกำลัง ไม่หวั่นไหว
1. ทาน จิตมีความเต็มใจ พร้อมที่จะทำบุญให้ทานตามกำลังฐานะของตนเอง เพราะรู้ว่าการให้ทานให้ผลดีมีแต่ความสุขกาย สุขใจ ยิ่งให้จิตยิ่งมีความร่ำรวย
บุญบารมีเป็นการตัดละความโลภเข้าพระนิพพานได้ง่าย เพราะไม่หลงใหลติดใจในทรัพย์สินของนอกกาย
ศีลรักษาศีล5 เคร่งครัดเป็นปกติ ไม่ละเมิดทั้งทางกาย วาจา ใจ ไม่ยุยงส่งเสริม ไม่ดีใจเมื่อคนอื่นละเมิดศีล
เนกขัมมะการบวชในที่นี้คือบวชจิตถ้าเป็นฆราวาสถือศีล5 เคร่งครัด ระงับอารมณ์ที่ติดใจหลงใหลในกามคุณ 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มีสมาธิ 
ทรงฌานเป็นปกติ อย่างต่ำปฐมฌาน ถ้านักบวช ภิกษุ สามเณร ก็เคารพในศีลของท่านพร้อมกับกำจัดนิวรณ์ 5 ออกจากจิตโดยทรงฌาน ฌาน 1 คือ
ปฐมฌาน เช่นกัน
4. ปัญญา จิตมีความรู้ ความคิดเท่าทันสภาวะของกฎธรรมชาติ คือ เกิดขึ้น เสื่อมสลาย สูญหายตายไป เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามปกติ จิตไม่ลุ่มหลง
เป็นสุขกับของสมมุติมีมาได้มาก็หมดไป เช่น ข้าวของ เงินทอง เป็นต้น
วิริยะมีความขยันหมั่นเพียรละเลิกการยึดจิตไม่ติดใจหลงใหลในร่างกายลาภยศสรรเสริญขยันทำงานหาเลี้ยงชีพโดยสุจริตคิดว่าชาตินี้เป็นชาติสุด
ท้ายของการเกิดเป็นคนทำความดีทุกอย่างทั้งทางโลกทางธรรมเพื่อพระนิพพาน
6. ขันติ มีความอดทนต่อความยากลำบากทั้งกาย ใจ ฝึกใจระงับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ อดกลั้นไม่หวั่นไหว คิดว่าทนเอาไม่นานเราก็ตาย ทำความดีต่อ
ไปจนตายไม่ย่อท้อ
7. สัจจะ มีความจริงใจที่จะทำความทั้งทางดีกาย วาจา ใจ เพื่อพระนิพพาน เพื่ออริยมรรค อริยผลด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
8. อธิษฐาน ตั้งใจ มั่นใจ เพื่อสละละให้จิตตัดขันธ์ 5 ให้เด็ดขาด ไม่มีเยื่อใยกันอีกต่อไปไม่เวียนว่าย ตาย เกิดใน 3 โลก ตั้งใจในการกระทำคุณงาม
ความดีตามที่องค์พระชินวรศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ตั้งจิตอธิษฐานเพื่อพระนิพพานอย่างเดียว
เมตตาจิตทรงไว้ซึ่งพรหมวิหาร4 มีเมตตาปรานีต่อคน สัตว์ทั่วไป ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
10. อุเบกขา มีจิตใจวางเฉย นิ่งๆ ไม่สะทกสะท้านสะเทือนเมื่อมีอะไรมากระทบจิตใจ ไม่เสียใจ ไม่ดีใจ คิดว่าไม่ช้าไม่นานก็ตายกันหมดจะมาหลงเสียใจ 
ดีใจทุกข์โศก หรือเพลิดเพลินเจริญสุขทำไม ทุกอย่างในโลกเป็นเช่นนี้ เห็นทุกอย่างเป็นของธรรมดา
บารมีทั้ง 10 สำคัญมากสำหรับนักปฏิบัติเพื่อหวังมรรคผลนิพพาน วิปัสสนาญาณ ไม่เจริญก้าวหน้า เพราะขาดบารมี 10 ท่านที่ปรารถนาพุทธภูมิต้อง
บำเพ็ญบารมีแต่ละชาติให้ครบ 10 ชาติ ท่านที่ปรารถนาสาวกภูมิพระท่านกล่าวว่าบำเพ็ญบารมีเพียงชาตินี้ชาติเดียว ถ้าบารมี 
1 ใน 10 อันใดอันหนึ่งจิตท่านเต็มเปี่ยม 100% เช่นทานบารมี ท่านให้ไม่หวังผลตอบแทน ให้เพื่อสละละเลิกยึดติดเพื่อจิตขจัดความโลภ
เพื่อพระนิพพานอย่าง นี้อีก 9 บารมี ก็เข้ามาเพิ่มในจิตครบเต็ม 10 จิตเข้าถึงอริยมรรค อริยผลในชาติเดียวได้

คุณประโยชน์ของการพิจารณาตามความเป็นจริงของร่างกาย
อานิสงส์ของปัญญาภาวนา หรือ วิปัสสนาญาณ ทำให้เกิดคุณประโยชน์มากมายหลายร้อยอย่าง แต่ควรพึงทราบอานิสงส์ของปัญญาภาวนาโดยย่อ ดังนี้
1. นานากิเลสวิสุทธังสนัง ทำลายอวิชชาตัณหากิเลสอุปาทานต่าง ๆ ได้หลุดพ้นทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิด
2. อริยผลรสานุภวนัง เสวยรสของอริยผล คือความสุขสดชื่นเบิกบานมีพระนิพพานอยู่ในใจ
อาหุเนยฺยภาวนาทิสิทธิสำเร็จความเป็นบุคคลที่ควรเคารพนับถือเป็นปูชนียบุคคล
จิตนี้หลงเวียนว่ายตายเกิดในทะเลทุกข์ ซึ่งเป็นของน่ากลัวยากที่จะหลุดออกจากทะเลทุกข์นี้ได้ ทะเลทุกข์แห่งการหมุนเวียนสุขๆ ทุกข์ๆ มี นรก ผีเปรต
ผีคน ผีอสุรกาย สัตว์ คน เทพ พรหม วิปัสสนาปัญญาที่ผู้ปฏิบัติทำได้แล้ว สามารถทำลายสังโยชน์ 10 กิเลสเครื่องร้อยรัดผูกพันจิต มานานให้พินาศย่อยยับไปอย่างรวดเร็วเหมือนสายฟ้าที่ฟาดลงมาด้วยความเร็วน่าหวาดกลัว ทำลายภูเขาศิลาทั้งหลายให้พังพินาศ เหมือนไฟไหม้ป่าที่ลุก
โหมขึ้นด้วยแรงพายุ ทำลายป่าให้มอดไหม้ไป เหมือนดวงอาทิตย์ซึ่งมีมณฑลรัศมีรุ่งโรจน์ด้วยความร้อนของตน กำจัดความมืดให้สลายไป

มหาวิปัสสนา 18 อย่าง
การละกิเลสด้วยการพิจารณาตามความเป็นจริง
1. นิจจสัญญา หลงนึกว่าความสุขในโลก สวรรค์ พรหม เป็นของจริงเที่ยงแท้ ละด้วยการ
พิจารณา อนิจจานุปัสสนาจำเอาว่าเป็นความสุขที่ไม่เที่ยงแท้เพราะแปรปรวน
2. สุขสัญญา หลงคิดว่าร่างกายเป็นสุข ละด้วยการเฝ้าสังเกตดู ทุกขานุปัสสนา พิจารณาว่าเป็นทุกข์
3. อัตตสัญญา เคยจำว่าเป็นตัวตน เปลี่ยนเป็น อนัตตาสัญญา พิจารณาว่าแตกสลาย
4. ความเพลิดเพลิน เคยเพลิดเพลิน เปลี่ยนเป็น นิพพิทานุปัสสนา เห็นว่าน่าเบื่อหน่าย
5. ความกำหนัดยินดี เปลี่ยนเป็น วิราคานุปัสสนา ไม่ยินดีไม่น่าฝักใฝ่ ไม่น่าหลงใหลทุกสิ่งใดๆ
ในโลก
6. สมุทัย มองหาต้นเหตุของทุกข์ การมีร่างกาย เปลี่ยนเป็น นิโรธานุปัสสนา จิตไม่สนใจกายเข้า
นิโรธ ดับความรู้สึกทางกายสังขาร
7. ความยึดถือในตัวตน ในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เปลี่ยนเป็น ปฏินิสสัคคานุปัสสนา จิตเลิกยึดมั่น
ถือมั่น คือ จิตปล่อยวางไม่ยึดถือ มองเห็นว่าไม่น่าหลงใหล
8. ความหมายรู้ว่ากายเป็นแท่งทึบ เปลี่ยนเป็น ขยานุปัสสนา จิตแยกแยะดูกายเป็นชิ้น ๆ
9. ความขวนขวายหาความสุขทางโลก เปลี่ยนเป็น วยานุปัสสนา จิตเลิกขวนขวายเห็นว่าทุกอย่าง
เกิดแล้วดับสิ้น
10. ความหมายรู้ว่าโลกสมบัติยั่งยืน เปลี่ยนเป็น วิปริณามานุปัสสนา จิตเห็นว่าทุกสิ่งแปรปรวน
เห็น ความเกิด ความแก่ ความตาย ความผุพังมีอยู่ ทั้งคน สัตว์และสิ่งของ
11. นิมิต เปลี่ยนเป็น อนิมิตตานุปัสสนา เห็นว่ากายและสภาวะทุกอย่างใด ๆ ในโลกไม่ยั่งยืน
12. ความตั้งมั่นในกายเรากายเขา เปลี่ยนเป็น อัปปณิหิตานุปัสสนา เห็นว่ากายนี้ไม่น่าสนใจ ไม่น่า
ใส่ใจ
13. ความยึดมั่นในทรัพย์สมบัติ ในคนที่รักใคร่ เปลี่ยนเป็น สุญญตานุปัสสนา จิตพิจารณาว่าทุก 
อย่าง หรือกายสูญสิ้นสลาย
14. ความยึดมั่นโดยยึดถือว่าเป็นสาระ เปลี่ยนเป็น อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา เห็นว่าสภาวะในโลก
ไม่มีสาระประโยชน์
15. ความยึดมั่นคือความลุ่มหลง เปลี่ยนเป็น ยถาภูตญาณทัสสนะ กำหนดรู้ร่างกายตามความเป็น
จริงว่าเป็นของสกปรกเหม็น เป็นบ่อเกิดของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย
16. ความยึดมั่นด้วยความอาลัย ด้วยอาทีนวานุปัสสนา พิจารณาโทษความชั่วร้ายของร่างกาย มีแต่
โรคหิว ร้อน หนาว เจ็บปวด ทุกขเวทนา
17. ความไม่พิจารณาทบทวนในร่างกายคนว่ามีแต่ปัญหากาย ใจ 108 อย่าง เช่น เจ็บป่วย ต้องหาเงิน
มาเลี้ยงร่างกาย ผิดหวัง มีอันตรายรอบด้าน เปลี่ยนเป็นปฏิสังขานุปัสสนา พิจารณากำหนดรู้
ทบทวนให้พ้นไป
18. ความยึดมั่นด้วยความผูกพัน เปลี่ยนเป็น วิวัฏฏานุปัสสนา จิตหวนกลับวกกลับพิจารณาเป็นข้อๆ
ข้างต้นนั้น

ปัญญาในการละกิเลสมี 3 แบบ
1. วิกขัมภนปหาน การละกิเลสด้วยการข่มไว้ชั่วครั้งชั่วคราว
2. ตทังคปหาน ละกิเลสแต่ละอย่างที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง
3. สมุทเฉทปหาน ละกิเลสได้โดยเด็ดขาด คือ พระอริยบุคคล พระอรหันต์

กิเลส 10 อย่าง ทำให้จิตใจสกปรกไม่สดใส
1. โลภะ อยากได้เกินกำลังทรัพย์ กำลังปัญญาตนเอง
2. โทสะ คิดประทุษร้าย
3. โมหะ ความหลงว่าลาภยศสรรเสริญเจริญสุขเป็นของดีเลิศ
4. มานะ ความถือตัวว่าดีกว่าเขา เสมอเขา ด้อยกว่าเขา
5. ทิฏฐิ ความเข้าใจผิดจากความจริงคิดว่าชาตินี้ชาติเดียว ตายแล้วสูญหมด
6. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของความดีหรือในพระธรรมคำสอน สงสัยใน ศีล 
สมาธิ วิปัสสนาญาณ
7. ถีนะ จิตใจหดหู่ท้อแท้ ท้อถอย ไม่มีความเพียรพยายามทำความดี
8. อุทธัจจะ ฟุ้งซ่านรำคาญใจในเรื่องไร้สาระ
9. อหิริกะ ไม่มีความละอายต่อบาป คิดว่าละเมิดศีล 5 ข้อได้ ไม่เป็นบาปกรรม
10. อโนตตัปปะ ไม่มีความเกรงกลัวต่อบาปคิดว่าบาปบุญไม่มีจริง

มรรคญาณ ทางแห่งความสว่างทางจิตหรือทางดับทุกข์ จากการเวียนว่ายตายเกิด คือ พระอรหันต์ พระท่านหลุดพ้นจากสังโยชน์ 10 อย่าง หลุดพ้นได้
6 แบบหรือ วิธีใดวิธีหนึ่งใน 6 วิธี
1. สัทธาวิมุตติ หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา
2. ปัญญาวิมุตติ หลุดพ้นจากกิเลสด้วยปัญญา
3. อุภโตภาควิมุตติ หลุดพ้นจากกิเลส ด้วยศรัทธาและปัญญา
4. เตวิชโช หลุดพ้นจากกิเลสด้วยความรู้ 3 อย่าง คือ รู้ด้วยจิตเป็นทิพย์ 
รู้อดีตชาติ รู้ละกิเลสให้หมดไป
5. ฉฬภิญโญ หมดกิเลสแถมมีอภิญญาความรู้พิเศษ 6 อย่าง
6. ปฏิสัมภิทัปปัตโต ความรู้รอบฉลาดทั้งมีอภิญญา มีปัญญา มีเตวิชโช รู้ทุก ๆ ภาษา
โดยไม่ต้องเรียน

คนตาย กับท่านผู้เข้านิโรธสมาบัติแตกต่างกันอย่างไร
คนตาย – จิตออกจากร่างกาย วาจา อารมณ์ดับหมดแตกแยก ดิน น้ำ ลม ไฟ สลาย
ท่านผู้เข้านิโรธสมาบัติ – จิตสงบตั้งมั่น อายุสังขารยังไม่หมดอายุร่างกาย ไม่แตกแยก
ท่านที่เป็นพระอรหันต์เข้านิโรธสมาบัติ
1. เป็นบุคคลที่ควรเคารพนับถือ อาหุไนย
2. เป็นบุคคลที่ควรให้การต้อนรับ ปาหุไนย
3. เป็นบุคคลที่ควรเคารพของคนและเทวดา ทักขิไนย
4. เป็นบุคคลที่ควรไหว้บูชา อัญชลีกรณียะ
5. เป็นเขตแห่งเนื้อนาบุญอย่างเยี่ยมยอดของโลก โลกานุตตรปุญญเขตตะ 
พระโสดาบัน 3 ชนิด
1. สัตตักขัตตุง อย่างอ่อน เกิด 7 ชาติ จึงจะถึงอรหัตตผล
2. โกลังโกละ อย่างกลาง เกิด 2 – 3 ชาติ เข้านิพพาน
3. เอกพิซี อย่างแก่ ชาติสุดท้าย 1 ภพ ถึงนิพพาน

วิมุตติญาณทัศนะ คือ ท่านที่มีสมถะภาวนาตั้งแต่ปฐมฌาน ถึงจตุตถฌาน คือ ฌาน 1 ถึงฌาน 4 แล้วเจริญวิปัสสนาญาณเห็นทุกสิ่งทุกอย่างแปรปรวน 
สูญสลายตายจากกันทั้งหมดทั้งสิ้น มีจุดหมายปลายทางชีวิตคือ นิพพาน ยกระดับจิตขึ้นสู่อริยมรรค อริยผลเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา แปลว่า 
หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตให้ติดอยู่ในการเวียนว่ายตายเกิด คือ สังโยชน์ 10 พระนิพพานปรากฏชัดในจิตในใจโดยอาศัยสมถะสมาธิภาวนา
ท่านเรียกว่า พระอริยเจ้า มี “วิมุตติญาณทัศนะ” สำหรับท่านที่เริ่มปฏิบัติใหม่ๆ ทุกครั้งที่จะเจริญวิปัสสนา ท่านให้ฝึกจิตเป็นสมาธิเสียก่อน ถ้าท่านไม่มีสมถะสมาธิ คือไม่มีฌานการพิจารณาวิปัสสนาญาณก็มีผลเพียงวิปัสสนึกเท่านั้นเองไม่มีอะไรดีไปกว่านั่งนึก นอนนึก แล้วในที่สุดก็เลิกนึก แล้วประกาศโฆษณาตนเองว่า
ทำมานานหลายปีไม่มีอะไรดีขึ้นต้องทนทุกข์ในการเกิดเป็นคนสัตว์ต่อไป ดังนั้นจงอย่าลืมก่อนพิจารณาโลกเป็นทุกข์แปรปรวน สูญสลายเป็นอนัตตา ต้องเข้าฌานมีจิตตั้งมั่นในกรรมฐาน 40 ก่อน แล้วถอยจากฌานมาหยุดเพียงอุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณ จึงจะมีปัญญาเห็นเหตุผลตัดอวิชชาตัณหากิเลสอุปาทานได้ง่ายๆ ผลสมาบัติ คือ การเข้าฌานเสวยรสของอริยผล คือโลกุตตระสุขของพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปจนถึงพระอรหัตตมรรคเข้าฌาน 1 ถึงฌาน 4 ตามกำลังของท่าน เพื่อความอยู่เป็นสุข ระงับทุกขเวทนาทางกาย ระงับดับกิเลสให้หมดไป เป็นการยกระดับจิตให้เข้าถึงอรหัตตผล สำหรับพระอรหัตตผล ท่านเข้าฌานผลสมาบัติเพื่อเสวยรสของพระอรหัตตผล เพื่อระงับทุกขเวทนาทางกาย ผลสมาบัตินี้ท่านกำหนดเอง จิตมีอารมณ์นิพพาน คือความสุขอย่างยิ่ง ความสงบ สดชื่น เบิกบาน ผ่องใสบริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสอยู่ในจิต เป็นอานิสงส์ของวิปัสสนาภาวนาในอริยมรรค
สมาธิ คือ จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง มี 2 ชนิด
1. มิจฉาสมาธิ จิตคิดตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ไม่ดีผิดศีล ผิดธรรม เช่น คิดทำร้าย คิดทำลายคน และสัตว์ ใช้วิธีไสยศาสตร์ เป็นต้น
2. สัมมาสมาธิ จิตคิดที่จะสร้างสรรค์ ประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า หรือคิดหาเงินเลี้ยงครอบครัวโดยสุจริต คิดทำประโยชน์ให้คนในโลกมีความสุข
คือ จิตตั้งมั่นคิดหาทางพ้นทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิดโดยปฏิบัติกรรมฐาน 40 แบบ เลือกเอาแบบใดแบบหนึ่งเป็นทางถึงซึ่งพระนิพพาน นิโรธสมาบัติ คือ การเข้าฌานเสวยความสุขอันประเสริฐ ระงับความทุกขเวทนาทางกายเป็นความสุขเหนือโลก คือ โลกุตตระสุขนิพพานของ
พระอนาคามี และพระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลาย ผู้ได้สมาบัติ 8 เป็นกำลังของสมถะวิปัสสนาภาวนา สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 กับอรูปฌาน 4 รวมกันเป็นสมาบัติ 8 จุดประสงค์นอกจากความสุขอันประเสริฐ และระงับทุกขเวทนาทางกายแล้ว พระอรหันต์ พระอนาคามีเข้าสมาบัติ 8 หรือ นิโรธสมาบัติ เพื่อให้โลกคลายความเดือดร้อนวุ่นวายจากภัยอันตรายของธรรมชาติ ด้วยการแผ่เมตตาให้สัตว์ คน ไม่ขัดสนทุกข์ยากทรมานจาก
กฎของกรรม ผู้ใดได้ทำบุญกับพระที่ออกจากนิโรธสมาบัติ จะได้รับผลบุญทันทีทันใดในวันนั้น คือ ความร่ำรวย
ทางโลก ปรารถนาสิ่งใดได้ตามแรงอธิษฐาน พระท่านเข้านิโรธสมาบัติแล้วแต่ตามกำหนดเวลาของท่านตั้งแต่ 1 ชั่วโมง ถึง 7 วัน เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญเป็นบุคคลที่ควรได้รับความเคารพของเทวดา และมนุษย์ การต้อนรับอย่างดียิ่งเป็นเขตแห่งบุญอย่างยอดเยี่ยมของโลก
สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ อารมณ์จิตของพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ หรือ พระอนาคามีระดับปฏิสัมภิทาญาณเท่านั้นที่มีจิตที่ว่างจากอารมณ์ทุกชนิด โดยจิตไม่ยอมรับรู้อารมณ์อะไรเลย แม้จะเป็นพระอรหันต์ระดับเตวิชโช หรือฉฬภิญโญ ก็ไม่สามารถทำจิตว่างจากอารมณ์ใดๆ ได้ พระคาถาภาวนา เป็นพระคาถาให้จิตติดนิ่งอยู่กับพระคาถาภาวนา เพื่อระงับการฟุ้งซ่าน วิตก กังวล คิดไปเรื่อยเปื่อยไม่มีจุดหมายปลายทางของจิต
พระคาถา มีหลาย 100 ชนิด ดีเหมือนกันหมด เมตตากรุณายินดี และวางเฉย ผู้ที่มีจิตสงสารเมตตาผู้อื่นเป็นปกติ เป็นผู้มีศีลง่าย จิตใจชุ่มชื่นเบิกบานมีฌาน มีสมาธิสมาบัติผ่องใสแม้จะเป็น ฌานโลกีย์ เมื่อมีจิตมั่นคงในพระนิพพานไม่สงสัยเคารพพระรัตนตรัยด้วยจริงใจแท้ ก็จะเข้าถึงอริยมรรค อริยผลเป็นอริยบุคคลได้โดยง่าย เมื่อ จิตเป็นสมาธิ ทรงฌาน 1 ถึง ฌาน 4 ท่านเรียกว่า โลกุตตระฌาน เนื่องจากมีพรหมวิหาร 4 เป็นปกติ

 

Category: ข้อธรรมจากพระไตรปิฏก ย่อโดยคุณแม่เกษร