พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียเสถียร โพธินันทะ
เนื่องจากผมติดเรื่องบรรยายอบรมครูปริยัติธรรม ซึ่งทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่งจัดขึ้นพร้อมกับคณะสงฆ์ทางประเทศลาว บัดนี้การบรรยายธรรมอบรมครูปริยัติธรรมเสร็จสิ้นไปแล้ว ในวันนี้จะได้นำอนุศลสืบมาจากคราวที่แล้วที่พูดค้างไว้คือกล่าวถึงพวกอริยกะได้เข้ามาตั้งมั่นในอินเดียแล้ว ในคราวนี้เมื่อการอริยกะมาตั้งมั่นในอินเดีย ความคิดเห็นในเรื่องทางศาสนาก็ได้พัฒนาขึ้น อันนี้ทางนักประวัติศาสตร์ให้สังเกตุดูว่าชุมชนยังอยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆแยกย้ายกันไปศาสนาที่นับถือในชุมชนนั้นก็มักจะเป็นรูปศาสนาแบบพหุเทวนิยมนับถือพระเจ้าหลายองค์ตามชุมชน อันนี้เป็นจิตวิทยาของสังคมซึ้งสะท้อนไปให้เกิดความเชื่อในเรื่องศาสนาขึ้น ต่อมาเมื่อชุมชนกลุ่มเล็กๆเหล่านั้น สามารถรวบรวมกันเป็นรัฐ เป็นแว่น เป็นแคว้นขึ้นแล้ว ศาสนาที่แตกแยกเป็นรูป พระเจ้าองค์ต่างๆก็มารวมกันเป็นพระเจ้าองค์เดียว เกิดเป็นเอกะเทวนิยมขึ้น วิวัฒนาการทางศาสนาเป็นเช่นนี้ เป็นสภาพธรรมดาทั่วๆไปในหมู่ชนชาติในสมัยโบราณ
เพราะฉะนั้นเมื่อพวกอริยกะเข้ามาในประเทศอินเดีย ในชั้นแรกก็นับถือศาสนาแบบพหุเทวนิยม พระเจ้าประจำธรรมชาติ แต่ต่อมาตั้งมั่นในดินแดนอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำคงคาแล้ว ชาวอริยกะจึงได้สร้างประเทศขึ้นเป็นปึกแผ่นให้ชื่อว่า อริยวัต กำหนดเขตอริยวัตนี้ก็ถือเอาเทือกภูเขาฮินไททางใต้เป็นที่สุดเขต ทางเหนือก็เอาภูเขาหิมาลัยเป็นที่สุดเขต ตกลงว่าระหว่างพื้นแผ่นดิน ตอนตีนเขาหิมาลัยลงมาจนถึงเชิงภูเขาฮินไท ในอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาลนี้เรียกว่า อริยวัต ในบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาลนี้เอง เป็นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด เพราะว่ามีแม่น้ำสายใหญ่ๆหล่อเลี้ยง แม่น้ำเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็เกิดจากภูเขาหิมาลัยเป็นต้นทางไหลเข้ามาสู่ที่ราบ แล้วก็แยกกันไป
สายหนึ่งลงไปทางอ่าวบอมเบย์ลงในทะเลอาหรับ สายนี้คือแม่น้ำสินธุ ซึ่งมีสาขาแยกออกไปอีกหลายสายเรียกว่าแม่น้ำ ชีนับบ้าง แม่น้ำศุภเรศบ้าง จันทรภาคาบ้าง รวมหมดแล้วก็เรียกว่า ปัญจมหาทนี หรือเรียกว่าปัญจนเทศ มีแม่น้ำ 5 สายไหลผ่านซึ่งปัจจุบันนี้เรียกกันว่ามณฑลปัญจาบ ตามเสียงที่เพี้ยนมากจากปัญจมเทศ ต่อมา
ส่วนสายหนึ่งเป็นสายใหญ่เหมือนกันแต่ว่าไหลลงมาสู่อ่าวเบงกอล ลงสู่มหาสมุทรอินเดีย แต่ว่าทั้งสองสายใหญ่นี้ เป็นแม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตจิตใจของชาวอารยันในครั้งกระนั้น แม่น้ำคงคานี่ก็มี 2 สาขาใหญ่ สาขาหนึ่งเรียกว่ายมุนา แม่น้ำคงคากับยมุนาไหลมาคู่เคียงกัน คนละสาย แต่มาบรรจบพบกันที่ตำบลเรียกกันว่า พยาบ หรือพยาธ ตำบลนี้ปัจจุบันเรียกว่า อารหบัด ในท้องที่จังหวัดอารหบัดเดี๋ยวนี้เป็นที่บรรจบของคงคากับยมุนา ความเปรียบเทียบของแม่น้ำสองสายนี้พระพุทธองค์ก็เคยนำมาเปรียบ เมื่อทรงตรัสสอนสาวกว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตแสดงธรรมปฏิปทาเทียบด้วยนิพพาน นิพพานเทียบด้วยปฏิปทา ทั้งปฏิปทากับนิพพานนั้นย่อมมีความกลมกลืนกัน ไม่เป็นอริกัน คือไม่เป็นที่กีดขวางต่อกัน แต่กลมกลืนกันได้ จนกระทั่งแยกกันไม่ออก อุปมาเหมือนสายแม่น้ำคงคากับยมุนา ที่มาบรรจบสมทบกันเป็นสายเดียว ฉะนั้น อันนี้มีอยู่ในบาลีพระไตรปิฎกนะครับ
เมื่อเกิดดินแดนที่เรียกว่าอริยวัตแล้ว ดินแดนทางแถบใต้ลงมาจากภูเขาฮินไท ในชั้นแรกพวกอารยันยังไม่รู้จักว่าจะเป็นไปในรูปลักษณะอะไร เพราะว่าเป็นป่าสูง แล้วก็ในป่าสูงนี้ชาวอารยันก็ยังเดินกันมาไม่ถึง ตามความเชื่อของชาวอารยันว่า ผู้ที่นำเอาวัฒนธรรมแบบอารยกะลงมาสู่ดินแดนทักษินาบทนั้น คือฤษีอคัสยะ อคัสยมุมี ซึ่งเป็นคนเดียวกับฤษีองคตในรามเกียรติ์ ฤษีอคัสนี้เป็นอริยกะคนแรกที่มาสอนอริยธรรมแบบอริยกะให้กับชาวทักษิณาบท ซึ่งเป็นชาติภารวิต หนีจากทางเหนือลงมาทางใต้ ในเทพนิยายก็ผูกเป็นทำนองว่า ฤษีอคัสนี้ จะเดินทางมาสู่ทักษิณาบทเห็นภูเขาวินไทนั้นสูงใหญ่ เดิมภูเขาวินไทกับภูเขาหิมาลัยสูงเท่ากัน แก่ก็แก่ชราแล้วจะข้ามภูเขาก็เหนื่อย เพราะฉะนั้นเลยสั่งภูเขาฮินไทบอกว่า จงย่อตัวให้เตี้ยลงข้าจะได้ข้ามง่ายๆหน่อย เพราะข้าแก่แล้วเดินทางลำบาก ภูเขาฮินไทก็ไม่สามารถจะทนทานต่อวาจาสิทธิ์ของฤษีอคัสได้ จึงได้ย่อตัวลงมา ตั้งแต่นั้นมาภูเขาฮินไทก็เตี้ยกว่าหิมาลัยกระทั่งตราบเท่าทุกวันนี้ นี่เป็นความเชื่อในเรื่องเทพนิยายนะครับ ก็เป็นอันแสดงให้เห็นว่า ทิวภูเขาใหญ่ฮินไท เคยเป็นภูเขาสูงมาแล้ว ตามหลักธรณีวิทยา แต่ว่าในสมัยใดสมัยหนึ่งคงมีปรากฏการณ์อะไรเปลี่ยนแปลงขึ้น ภูเขาฮินไทจึงได้เกิดหดตัวสั้นลงกว่าภูมเขาหิมาลัย
เมื่อพวกอริยกะมาตั้งประเทศอริยวัตขึ้น ก็ยังแตกแยกออกเป็นแคว้น ยังมีเป็นกษัตริย์ เพราะฉะนั้นความรู้สึกในทำนองเป็นพระเจ้าจักรพรรดิจึงได้เกิดขึ้น อยากจะให้มีพระเจ้าจักรพรรดิสำหรับรวบรวมแว่นแคว้นใหญ่น้อยทั้งปวงเป็นแผ่นดินเดียวกัน เพราะฉะนั้นเรื่องจักรพรรดินี้เป็นเรื่องอุดมคติของชาวอารยันที่ใฝ่ฝัน อยากจะให้มีสังคมจักรพรรดิปกครองโดยกษัตริย์องค์เดียว ดีกว่าที่จะปกครองด้วยราชาหลายแว่นแคว้น หลายๆประเทศอย่างนี้ ความคิดใฝ่ฝันในเรื่องนี้ก็สำเร็จขั้น จักรพรรดิองค์แรกที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ชื่อท้าวภรต ซึ่งสามารถแผ่อาณาเขตอย่างที่สำนวนเรียกว่า แผ่นดินจดมหาสมุทรทั้ง 4 เป็นเขตแดน ท้าวภรตเป็นต้นตอของบรรดากษัตริย์ทั้งหลายในอินเดียเพราะเหตุนั้นชาวอินเดียจึงเรียกประเทศของตนว่า ภรตวัต หรือประเทศภรต แปลว่าประเทศของท้าวภรต ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์แรกในประวัติศาสตร์อินเดีย และมีเนื้อมีตัวตนจริง ไม่ใช่กษัตริย์ในเทพนิยาย อย่างพระกฤษณะหรือพระรามอะไรต่างๆพวกนี้ มาในชั้นนี้บรรดานักคิดชาวอารยันเมื่อมีความเป็นอยู่ที่เป็นหลักฐานมั่นคงทิ้งระบบแบบเลี้ยงปศุสัตว์ร่อนเร่มาเป็นระบบเกษตรกรรมในไร่นาสาโทเป็นของตัวเองแล้ว ความใฝ่ฝันในทางปรัชญาก็เปลี่ยนแปลงขึ้น คือใฝ่ฝันในทางการเมืองอยากจะรวมแว่นแคว้นต่างๆอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าจักรพรรดิองค์เดียวฉันใด ในทางศาสนาก็ฉันนั้น
พวกพราหมณ์คณาจารย์ก็คิดที่จะให้มีพระเจ้าเพียงองค์เดียวซึ่งเป็นองค์แห่งสัจจะ เป็นอนันต์ เป็นกฤต รวมบรรดาพระเจ้าปลีกย่อยทั้งหลายมาสู่องค์เดียวกัน ความคิดในระยะนี้จึงได้เกิดระบบพรหมขึ้น สมมติเป็นพรหมขึ้น เพราะฉะนั้นพระพรหมในสมัยแรกนั้นเป็นเพียงนามธรรมมิใช่บุคคลาธิษฐาน เป็นปุงศักรินทร์ มีเพศเป็นปรากฏ เป็นรูปนามธรรมเท่านั้นเอง เป็นเพียงแต่ความใฝ่ฝันอุดมคติของชาวอารยันที่จะรวมพระเจ้าทั้งหลายให้มาสู่องค์พรหม ลักษณะของพรหม ปรัชญาฮินดูเขาเรียกกันว่ามีลักษณะ สัต, กฤต, อนันต์ สามอย่าง สัตติย คือองค์จริงแท้ , กฤต คือเป็นผู้ที่เป็นเจ้าแห่งความรู้ความนึกความคิด , อนันต์คือมีความสุขอยู่เป็นนิตย์ไม่เปลี่ยนแปลง ลักษณะของพรหมในสมัยแรก มีสามลักษณะเรียกว่า สัต, กฤต,อนันต์ แต่เมื่อสร้างพระพรหมขึ้นแล้วความรู้ที่ต้องไปเกิดเข้ารวมกับองค์พรหมจึงได้เกิดคัมภีร์ชุดใหม่ขึ้นเรียกว่า อุปนิษัท ซึ่งแตกต่างไปจากคัมภีร์ไตรเภท
คัมภีร์ไตรเภทเป็นประเภทสดุดีคุณพระเจ้าและเห่กล่อมบวงสรวงสังเวยเท่านั้นเอง ในขณะเดี๋ยวกันก็เป็นประวัติศาสตร์ของชาวอริยกะด้วย แปลว่าถ้าเราอ่านคัมภีร์พระเวทแล้วก็เท่ากับเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชนชาตินี้ว่ามีมาอย่างไร ในพระเวทเล่าไว้หมดแต่เล่าในรูปของคำบวงสรวงสังเวยพระเจ้าที่เขานับถือ พอมาถึงขั้นอุปนิษัท อุปนิษัททิ้งเรื่องลักษณะบวงสรวงสังเวยหมด แต่มาขบปัญหาของชีวิตว่า โลกนี้มาแต่ไหน ชีวิตเกิดมาแต่อะไร จะลงเอยไปที่ใด อันนี้เป็นเหตุให้บรรดานักปราชญ์ฤาษีชีไพร พากันขบคิดแล้วก็สร้างเป็นคัมภีร์อุปนิษัทขึ้นมา คัมภีร์อุปนิษัทจึงเป็นเรื่องธรรมาธิษฐาน ไม่เกี่ยวกับเรื่องฤทธิ์เดช ไม่เกี่ยวกับเรื่องบุคคลาธิฐานที่เป็นตัวเป็นตนอย่างในไตรเภท เป็นเรื่องธรรมาธิษฐานล้วนสำหรับตอบเฉลยปัญหาของชีวิตว่า ชีวิตนี้ตั้งต้นมาอย่างไร แล้วก็จะลงเอยไปที่ใด เพราะฉะนั้นปรัชญาในธรรมทั่วโลก ยกเว้นพุทธปรัชญา มีข้อที่แตกต่างกันอยู่ข้อหนึ่งคือว่า ปรัชญาไม่ว่าตะวันตกหรือตะวันออก การบ่อเกิดของปรัชญาเหล่านั้นตั้งต้นจากการตั้งปัญหาถามบอกว่า ตัวเรานี้มาแต่ไหน เป็นใคร โลกเป็นมาอย่างไร แล้วก็จะไปไหน
เพราะฉะนั้นลักษณะการตอบปัญหาพวกนี้ จึงเพ่งออกนอกตัว เพ่งออกนอกตัว อย่างประเภทศาสนาที่เป็นประเภทเทวะนิยมก็เพ่งในรูปว่ามีพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกเป็นปฐมเหตุ แล้วก็เป็นผู้ประทานชีวิตมาให้ ประเภทนี้เป็นประเภทต่ำ ยังไม่ถึงขั้นธรรมธิษฐาน ยังติดในเรื่องบุคคลาธิษฐาน แต่พวกอริยกะในชั้นนี้ได้ทิ้งระบบ ความคิดเรื่องพระเจ้าภายนอกไปนมนานแล้ว ไม่ต้องการแล้ว มาในชั้นนี้บรรดา คนเจ้าความคิดซึ่งมีเวลาปลีกตนไปหาความวิเวก ปฏิบัติทางจิต จนกระทั่งเกิดสมาธิชั้นสูง เกิดความสงบระงับในทางใจชั้นสูงมากๆเข้า ก็เลยไปนึกว่า ความสงบระงับที่ตัวได้จากอำนาจฌานสมาธินี้เป็นจุดสูงสุดของชีวิต ความสงบระงับนี้เป็นจุดสูงสุดของชีวิต เป็นพรหม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ พรหม ซึ่งเป็นนปุงศักรินทร์ แล้วก็เป็นต้นตอที่มาของโลกด้วย เพราะในภาวะแห่งความสงบนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งในอดีตปัจจุบัน อนาคต มาปรากฏหมดตามกำลังอำนาจของสมาบัติที่ตัวจะตามระลึกไปได้ เพราะเหตุนี้ก็เลยทิ้งเรื่องพระเจ้าไปเป็นบุคคลาธิษฐาน มายึดถือเรื่องอัตตาคือภาวะของจิตที่สู่ความสงบในฌานนี้มันดับเป็นอัตตาเป็นตัวตนของโลกเป็นบ่อเกิดของโลก แล้วก็เป็นที่ดับของโลก คือตัวอัตตานี้เป็นผู้กำชีวิตเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆหมด อยู่ที่ตัวอัตตานี้
ในคัมภีร์อุปนิษัทได้กล่าวถึง นักจิเกตัก ซึ่งเป็นคนสำคัญคนหนึ่งกับฤาษี ยาวัลคัลไกร ฤาษียาวัลคัลไกรนี้ก็ พูดกับนักจิเกตักอย่างทำนองสนทนาโต้ตอบ บอกว่าในเวลากลางวันนี้นะเราอาศัยอะไรเป็นแสงสว่าง อาศัยแสงพระอาทิตย์ แล้วเวลากลางคืนละอาศัยอะไรเป็นแสงสว่าง อาศัยแสงจันทร์ แต่ถ้าไม่มีจันทร์อาศัยแสงดาว ไม่มีแสงดาวก็ยังอาศัยแสงประทีปคือดวงไฟ ฤาษียาวัลคัลไกรถาม นักจิเกตักไปเรื่อยๆ พอถามปัญหาข้อหนึ่งบอกว่าถ้าหากสิ้นแสงทิวาวานละ สิ้นแสงโสม สิ้นแสงดารกาแล้ว กอบทั้งสิ้นแสงประทีปหมดสิ้นละ ท่านจะเอาอะไรส่องชีวิต อะไรคือแสงสว่างของท่าน ถ้าหากว่าสิ้นแสงภายนอกพวกนี้ ก็ปรากฏว่าคำตอบออกมาบอกว่า สิ่งที่ข้าพเจ้าเอาเป็นแสงสว่างของข้าพเจ้าคือตัวของข้าพเจ้านี่เอง อาตมันนี่แหละจะเป็นดวงประทีปในชีวิตของตัวข้าพเจ้าเอง เป็นแสงสว่างของข้าพเจ้า นี่จากคำสนทนาในอุปนิษัทระหว่างฤาษียาวัลคัลไกรกับนักจิเกตักนี้ จึงแสดงให้เห็นว่า ปรัชญาของพวกอริยกะนั้นวิวัฒนาการมาเป็นลำดับชั้น จากการยึดถือสิ่งภายนอกค่อยๆทิ้งไปที่ละชั้น ทีละชั้น ละชั้น จนกระทั่งมาปรากฏในสิ่งภายในคือตัวตน เอาตัวตนนี้เป็นพรหมเป็นสมมุติฐานของโลกเป็นสมมุติฐานของชีวิต เป็นลำดับชั้น
การยึดถืออย่างนี้ ในตะวันตกนั้นปรัชญาในศาสนาคริสต์ เราจะไม่พบเลย เพราะในศาสนาคริสต์นั้นจะพูดแล้วเป็นเพียงแต่พระเจ้าขั้นเริ่มแรก ขั้นพื้นฐาน ไปมองพระเจ้าข้างนอก สุภาษิตบทหนึ่งในศาสนาพราหมณ์ได้บอกว่า คนโง่นะมองหาพระเจ้าในน้ำในดิน คนฉลาดขึ้นมาหน่อยมองหาพระเจ้าบนท้องฟ้า แล้วเมทีชนมองหาพระเจ้าในภายในคือตัวเอง อัตตานี่แหละเป็นพระเจ้า เป็นพรหมเป็นชั้นๆ คนโง่ดักดานมองหาพระเจ้าในน้ำในดิน ที่ฉลาดขึ้นมาหน่อยก็มองหาบนท้องฟ้า แต่สำหรับบัณฑิตที่ฉลาดยิ่งกว่านั้นหาพระเจ้าในตัวเอง อยู่ในตัวเอง นี่เป็นภาษิตในศาสนาพราหมณ์ เพราะฉะนั้นในขั้นยุคอุปนิษัทนี้เรียกว่าเป็นยุค ปัญญา พัฒนาการทางปัญญาของมนุษย์ ก็ว่าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาเจ้าลัทธิในอินเดียก็ว่าได้ ตอนนี้แหละเกิดก่อนพุทธกาลราว 100 ปี เหตุการณ์ตอนนี้เกิดก่อนพุทธการณ์ราวๆ100 ปี ได้มีสถานการณ์เช่นนี้
การที่เกิดมีสถานการณ์เช่นนี้ ก็เกิดมีปฏิกิริยาเหมือนกันครับ คือเป็นปฏิกิริยาจากศาสนาพราหมณ์ในพระเวท ซึ่งเต็มไปด้วยพิธีรีตองมากมายก่ายกอง ประชาชนเอือมระอาเต็มทีจนกระทั่งจำไม่ได้ว่ามีพิธีจะต้องทำอะไรบ้าง เพราะพราหมณ์ ได้บัญญัติพิธีสำหรับป้องกันตำแหน่งของตัวไม่ให้หลุดลอยไปง่ายๆ พูดง่ายๆพราหมณ์ถึงกับแต่งเป็นคำพูดในพระเวทบอกว่า พระเจ้านี้เป็นผู้บังคับกำโชคชะตาชีวิตของมนุษย์ พระเจ้านี้กำชะตาชีวิตของมนุษย์ แต่ว่าพระเจ้านั้นก็ต้องอยู่ใต้บังคับบัญชาของมนต์ แต่มนต์นั้นเล่าก็เกิดอยู่ใต้บังคับบัญชาของพราหมณ์ เพราะฉะนั้นพราหมณ์นี่เป็นพระเจ้าของมนุษย์จริงๆ คำสอนเช่นนี้เท่ากับว่าพวกพราหมณ์นะได้เขียนขึ้นเพื่อกอบกู้ฐานะอันศักดิ์สิทธิ์ของตัว ไม่ให้สลายไป พูดง่ายๆว่า พระเจ้าบังคับเราใช่ไหม แต่พระเจ้าก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมนต์ ของมนตรา แล้วมนตราละใครเป็นผู้กำกงเองไว้ละ ก็พราหมณ์ ฉะนั้นพราหมณ์นี่แหละเป็นผู้บังคับพระเจ้าได้ เหตุนั้นจึงมีเรื่องว่ายักษ์เอยมนุษย์เอยที่เพียรบำเพ็ญตบะเป็นพันๆหมื่นๆปีร้อนถึงพระศิวะพระนารายณ์ลงมาให้พร กระทั่งไปสร้างความเดือนร้อนมีของอาวุธวิเศษ ไปสร้างความเดือนร้อนในสวรรค์ ก็เกิดจากพระเจ้าทนตบะของมนุษย์ที่มีตบะแรงกล้าไม่ได้ ต้องลงมาประสาทพรให้ อันนี้เราจะเห็นว่าเป็นผลสะท้อนของพวกพราหมณ์ที่ต้องการจะดึงอำนาจไว้กับวรรณะของตัวไม่ให้สูญสลายไป แล้วพิธีกรรมที่พวกพราหมณ์บัญญัติมากๆนี้ก็เป็นปฏิกิริยาออกมา 2 แนว แนวหนึ่งคัดค้านพวกหนึ่ง อีกแนวหนึ่งเป็นพวกโลกายตลัทธิ 2 แนว
แนวที่คัดค้านพราหมณ์แนวแรกไม่เรียกตัวเองว่าเป็นพราหมณ์ เรียกตัวเองว่าสมณะ พวกสมณะ สมณะจึงแตกต่างจากพราหมณ์ เปรียบเหมือนงูเห่ากับพังพอน สมณะกับพราหมณ์นั้นเข้ากันไม่ได้ เหมือนน้ำมันกับน้ำไม่มีทางจะสมานเชื่อม เป็นภาวะเดียวกันได้ พวกสมณะมี ความคิดคัดค้านไม่รับรองคัมภีร์ไตรเพท ไม่รับรองความสำคัญของพราหมณ์ พระพุทธเจ้าอยู่ในพวกสมณะนี้ ลัทธิครูทั้งหกก็อยู่ในพวกสมณะด้วย เพราะฉะนั้นพวกพราหมณ์จึงเรียกพระพุทธเจ้าว่า สมณะโคตมะ เรียกสมณะโคตมะเรียกในฐานะเสมอกันนะครับ ตีเสมอนะครับ ไม่ใช่เรียกในฐานะเคารพนะ
เพราะฉะนั้นเมื่อพูดถึงคำนี้แล้วผมก็เลยอยากจะเสนอความเห็นว่า เรื่องทางจังหวัดสุพรรณบุรีสร้างพระพุทธรูปองค์มหึมาไม่น่าจะถวายพระนามว่าพระพุทธโคดม คำว่าโคดม หรือโคตมะนะชาวพุทธเราไม่เรียกพระองค์อย่างนี้ เป็นคำที่คนต่างศาสนาที่ยังไม่เคารพพระพุทธเจ้า เรียกพระองค์อย่างในฐานะตีเสมอว่า สมณะโคตรโม เราเรียกพระพุทธเจ้าวาภควา ชาวพุทธเรียกพระองค์ว่าภควาทั้งนั้น ตถาบ้าง ภควาบ้าง สองคำนี้ เพราะฉะนั้นถ้าจะมีทางเปลี่ยนแปลงพระนามพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุพรรณได้ เลี่ยงคำว่าโคตรมะดีกว่า เพราะคำนี้ ปรากฏชัดในประวัติศาสตร์ในวรรณคดีบาลีมาแล้ว ไม่มีชาวพุทธเรียกพระองค์ว่าโคตมะ พูดง่ายๆเป็นการเรียกชื่อโคตรพระองค์ คนเราถ้าไม่เคารพกันเรียกชื่อโคตรกันได้ ถ้าคนเคารพกันแล้วไม่กล้าเรียกชื่อโคตร การเรียกชื่อโคตรเป็นการตีเสมอหนึ่ง เป็นการไม่เคารพหนึ่ง จะต้องเรียกในฐานภควา เรียกในฐานะศาสดา หรือ ตถา ไม่กล้าเรียกคำอื่นนอกกว่านี้
เพราะฉะนั้น พระคุณเจ้ารูปใดที่หากว่ารู้จักกับท่าน สมภารที่จะสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ก็น่าจะถวายความเห็นนี้นะครับ บอกว่าไม่ควรจะถวายพระนามว่าพระพุทธโคดม เพราะคำว่าโคดมนี้นะเป็นการเรียกไม่เคารพ ตีเสมอพระศาสดา ไม่ควรเรียกอย่างยิ่ง มีพวกพราหมณ์ที่ไม่นับถือพุทธศาสนาเท่านั้นที่เรียกพระองค์ว่าสมณะโคตโม แต่เมื่อมากลับใจนับถือพุทธศาสนาแล้วพวกนี้เรียกพระองค์ว่า ภควาหมด เรียกพระผู้มีพระภาค , ภควา ภควาจึงเป็นคำที่ชาวพุทธเรียกศาสดาของตัวเอง ส่วนคำว่าสมณะโคตโมเป็นพวกนักบวชนอกศาสนาเรียกหรือช่วงที่ยังไม่เคารพพระพุทธเจ้าเรียก จึงเรียกในฐานะตีเสมอ
มีต่อค่ะ